<VSN><<<มาใหม่ สายเขาอ้อ อ.ชุม,อ.ปาล,อ.คง, สรุปรายการหน้า๑๐๓>>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 25 ธันวาคม 2010.

  1. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    เหรียญหลวงปู่เอี่ยม ออกวัดโคนอน ปี15 หลังยันต์ห้า

    วัดโคนอน เขตภาษีเจริญ ธนบุรี ในอดีต เคยเป็นที่จำพรรษาของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง และหลวงปู่รอด อาจารย์ของท่าน และได้สร้างพระปิดตาเนื้อชินตะกั่ว บรรจุกรุไว้ และมีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการในราวปี 2512

    จนมากระ ทั่งปี 2514-2515 ทางวัดโคนอนได้มีการยกช่อฟ้าอุโบสถหลังใหม่ ท่านเจ้าอาวาสจึงได้นำแท่งชินเก่าของหลวงปู่เอี่ยม และเศษพระปิดตาที่พบจากกรุวัดโคนอนที่ชำรุดมาหลอมรวมสร้างพระขึ้นใหม่ และนิมนต์พระเกจิผู้ทรงคุณจากทั่วประเทศ มาร่วมพิธีปลุกเสกพระชุดนี้เพื่อแจกแก่ผู้มีจิตศรัทธาเป็นที่ระลึกเมื่อวัน ที่ 1 เมษายน 2515 กล่าวสำหรับการสร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่เอี่ยม ปี พ.ศ. 2515 ได้มีชนวนมวลสารอันสำคัญ คือ "แผ่นทองจารอักขระของพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในสมัยนั้น" อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร หลวงพ่อบุญมี วัดอ่างแก้ว กรุงเทพฯ หลวงพ่อมิ่ง วัดกก กรุงเทพฯ หลวงพ่อกรับ วัดโกรกกราก สมุทรสาคร หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ หลวงพ่อโด่ วัดนาตูม ชลบุรี หลวงพ่อพัฒน์ วัดบ้านบึง ชลบุรี หลวงพ่อหอม วัดชานหมาก ระยอง หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ เป็นต้น

    ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกและชัยมงคลภิเษก ณ อุโบสถวัดโคนอนในงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต โดยหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นประธานร่วมกับพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณอีก 55 รูป อาทิ
    หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
    หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
    หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา สมุทรสาคร
    หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
    หลวงพ่อบุญมี วัดอ่างแก้ว กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อมิ่ง วัดกก กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
    หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
    หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี
    หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
    หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
    หลวงพ่อแจ๋ วัดคลอง 20 ฉะเชิงเทรา
    หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน พิจิตร
    หลวงพ่อผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิฯ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อหอม วัดชานหมาก ระยอง
    พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ปัตตานี
    หลวงพ่อมุม วัดนาสัก ชุมพร
    หลวงพ่อมุม วัดปราสาท ศรีสะเกษ
    พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา พัทลุง
    พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
    หลวงพ่อเพิ่ม วัดจักรวรรดิฯ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อช้วน วัดหนัง กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง นครปฐม ฯลฯ


    องค์นี้เป็นเหรียญรูปหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปลุกเสกร่วมพิธีเดียวกันกับพระปิดตา พระรอด นางพญา นางกวักเนื้อตะกั่วและพระอื่นๆในพิธีนี้

    เหรียญเนื้อทองแดง หลังยันต์ห้า อุคว่ำ หายากกว่าหลังยันต์สี่ครับ รับประกันความแท้ครับ

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3715.jpg
      SAM_3715.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      419
    • SAM_3718.jpg
      SAM_3718.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      341
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2016
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    เหรียญกระไหล่ทองหลวงพ่ออุตตมะ หลังนามาภิไธย สมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก (วาสน์) ปี2523

    สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) ทรงเป็นประธานในพิธีเททองหล่อพระประธานศาลาการเปรียญ วัดรวกฯ กรุงเทพฯ พร้อมร่วมพิธีพุทธาภิเษก กับ หลวงปู่ศรี เขาถ้ำบุญนาค หลวงปู่คง วังสรรพรส ฯลฯ

    เหรียญยังอยู่ในสภาพสวยงาม เหมือนท่านมาก ไม่ผ่านการบูชา รับประกันความแท้100%

    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3666.jpg
      SAM_3666.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      166
    • SAM_3668.jpg
      SAM_3668.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      192
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
    พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่ออุตตมะเรื่อง"กรรม"

    [​IMG]

    (หลวงพ่ออุตตมะ ได้แสดงหลักกรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อให้สาธุชนทั้งหลายเห็นแจ้งตามความเป็นจริง อันจะทำให้เกิดความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป และส่งเสริมให้เกิดสัมมาปฏิบัติยิ่งๆขึ้นไป จะเห็นได้จากธรรมบรรยายต่อไปนี้)
    คนเราบางทีก็ไม่น่าสงสัยกันเรื่อง นรก – สวรรค์ พระพุทธองค์ก็แสดงธรรมอยู่ว่า ภุมมานัง เทวานัง...(...เหล่าภุมมเทวดาทั้งหลาย...) ตอนที่พระพุทธองค์เกิด เทวดาก็มีอยู่ และมีชื่อเรียกกันอยู่ทุกชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี
    พรหมก็มีชื่ออยู่ทุกชั้น เริ่มตั้งแต่ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา จนถึงอวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐะ
    อรูปพรหม ก็มีชื่อ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
    ที่มีปัญหากันอยู่ในปัจจุบันนี้ เพราะเราไปคิดในสิ่งที่เราไปไม่ถึง เราจะไปสงสัยอะไร เราต้องปฏิบัติตัวเรา เราต้องเชื่อพระพุทธเจ้าของเรา ต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เราจะถึงภวสมบัติ มนุษย์สมบัติ ก็ต้องเชื่อเรื่อง กรรม เราจะไปสงสัยทำไม เราต้องพิจารณากรรม กุสะลา ธัมมา (ธรรมอันเป็นกุศล) อกุสะลา ธัมมา (ธรรมอันเป็นอกุศล) มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องสงสัย
    อบายภูมิ หรือ นรก ก็มีอยู่คือ
    ๑.สัญชีวนรก
    ๒.กาฬสุตตนรก
    ๓.สังฆาฏนรก
    ๔.โรรุวะนรก
    ๕.มหาโรรุวะนรก
    ๖.ตาปนรก
    ๗.มหาตาปนรก
    ๘.อเวจีนรก
    กรรมที่เราทำดี – ไม่ดี ทำกรรมดีก็ไปสวรรค์ ทำกรมไม่ดีไปนรก นรก – สวรรค์นี้ จะมีอยู่จริงหรือไม่มีจริง เราจะแสดงนอกเหนือไปจากบาลีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ได้อย่างไร เราก็ต้องแสดงตามบาลี ทำไมเขามีชื่ออยู่ และในนรก ๘ นี้ คือ สัญชีวนรก กาฬสุตตนรก สังฆาฏนรก โรรุวะนรก มหาโรรุวะนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก และมีอุสสุททนรกเป็นบริวารของนรกใหญ่ ๘ ขุมนี้ คือ นรกใหญ่แต่ละขุมๆ มีบริวาร ๑๖ ขุม นรกนี้แบ่งออกไปมากมาย ทั้งนรกใหญ่ นรกเล็ก รวมแล้วมีนรกอยู่ ๑๓๖ ขุม
    ในบาลีของพระพุทธองค์ ก็มีแสดงไว้ให้ปรากฏอยู่แล้ว แต่คนบางคนก็ยังสงสัยอยู่จะมีจริงหรือ นรกจะมีจริงหรือ สวรรค์จะมีจริงหรือ พรหมจะมีจริงหรือ แต่บางทีทั้งๆที่สงสัยเขาก็ไม่รู้เหมือนกัน เขาไปเอารูปมหาพรหมมาตั้งไว้ เขายังนับถือพรหมอยู่
    เขาบอกว่า สวรรค์ – นรก นี้จะมีจริงหรือ
    หลวงพ่อ รูปที่คุณไปเอามานี้เป็นรูปพรหม พรหมนี้มีจริงไหม
    เขาบอกว่า มีจริง
    หลวงพ่อ อยู่ที่ไหน
    เขาบอกว่า อยู่ในมนุษย์เรานี้
    หลวงพ่อ ไม่ใช่ พรหมเขาอยู่กันเป็นชั้นๆ ปฐมะ ทุติยะ ตติยะ จตุตถะ เขามีชื่อเรียกอยู่ เช่น พรหมปุโรหิตา พรหมปาริสัชชา มหาพรหมา เป็นชั้นหนึ่งเป็นต้น
    เขาบอกว่า ผมก็นับถือพรหมอยู่ แต่คิดว่าพรหมนี้อยู่อีกภวะหนึ่ง จะมาโปรดมนุษย์ไม่ได้ คิดว่าพรหมอยู่ข้างบน
    หลวงพ่อ ถ้าอย่างนั้น คุณก็ไม่ได้คิดว่า เทวดาบ้าง พรหมบ้าง มีอยู่ข้างบน ไม่เชื่อใช่ไหม ถ้าคุณไม่เชื่อคุณจะนับถือพรหมทำไมเล่า
    พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มีอยู่ในพระสูตรหลายสูตร เช่นในอาฏานาฏิยสูตร ก็กล่าวถึงเทวดาจำนวนมาก และในมหาสมัยสูตร ก็กล่าวถึงพรหมบ้าง เทวดาบ้าง นับไม่ถ้วน
    หลวงพ่อ ตอนนี้เชื่อหรือยัง
    เขาบอกว่า เชื่อแล้วครับ หลวงพ่อ
    หลวงพ่อ เรื่องกรรมนี้ พระพุทธองค์เทศน์ไว้ในสติปัฏฐาน ๔ เพราะกลัวว่ามนุษย์เรานี้ ไม่เชื่อบ้าง กลัวว่ามนุษย์เรานี้ ยังไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจบ้าง พระพุทธองค์ต้องไปเทศน์อยู่บนสวรรค์ เทศน์ให้เทวดาบ้าง เรื่อง “อภิธรรม”
    ต่อมา พระองค์จึงเทศน์ให้พระสาวกที่สำเร็จโสดาปัตติผลฟัง เทศน์เรื่องกรรม เรื่อง “อภิธรรม”
    มนุษย์ธรรมดานั้น บางทีก็ไม่รู้ว่า เราเกิดมาอย่างไร เราอยู่กันอย่างไร เราเกิดมาด้วยกุศล เราเกิดมาด้วยมนุษย์สมบัติ นี่ก็จัดเป็นกรรมเหมือนกัน
    กรรมนั้น ว่าตามอำนาจกิจ คือหน้าที่ในการให้ผลทางกรรมมีอยู่ ๔ อย่างคือ
    ๑.ชนกกรรม กรรมอันทำให้เกิด กตัตตารูป เริ่มตั้งแต่ น้ำกลละ เกิดขึ้น
    ๒.อุปัตถัมภกกรรม กรรมอุปการะ เหมือนกับอุปัฏฐากอยู่ในน้ำกลละนั้น แล้วก่อเกิดเป็นอวัยวะต่างๆ เป็นรูป เป็นมือ เป็นเท้า เป็นต้น กรรมก็อุปัฏฐากอยู่ ไม่ให้เสีย ให้เป็นไปตามกรรมที่บุคคลทำไว้ ซึ่งกรรมของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น รูปเขานี้ อวัยวะทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นอิตถีภาวะหรือปุริสภาวะ อุปัตถัมภกรรมนี้ อุปัฏบากขึ้นให้เป็นรูปร่างขึ้นส่วนรูปที่เกิดมาจะสวยหรือไม่สวย แล้วแต่กรรมที่ทำไว้ และบางครั้ง กรรมที่เราทำไว้ หมดกรรมไปในปฏิสนธิก็หมดอายุไป สิ้นชีวิตไปตั้งแต่อยู่ในครรภ์ อุปัตถัมภกรรม อุปัฏฐากขึ้นมาเป็นรูปร่างก็จริง แต่ว่ากรรมหมดอายุไป ก็สิ้นชีวิตไป อุปัฏฐากขึ้นมาเป็นรูปร่างก็จริง แต่เรื่องกรรม แก้ไม่ตก
    ๓.อุปปีฬกกรรม เป็นกรรมเบียดเบียน กรรมบีบคั้น เป็นกรรมฝ่ายตรงกันข้ามกับชนกกรรม ให้ผลบีบคั้นผลแห่งชนกกรรม และอุปัตถัมภกรรม ทำให้สุขหรือทุกที่เกิดขึ้นในขันธ์ ซึ่งเป็นวิบากนั้น ไม่เป็นไปนาน
    ๔.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน ได้แก่ กรรมฝ่ายตรงข้ามที่มีกำลังแรง เข้าตัดรอนกรรมอื่นที่มีกำลังน้อยกว่าเสีย แล้วเปิดช่องแก่วิบากของตนเช่น ถ้าเราทำดีมาก ก็ได้รับผลดีไปเลย ถ้าทำชั่วมากก็ได้รับผลชั่วไปเลย
    กรรม ว่าโดยปากทานปริยาย คือลำดับความแรงในการให้ผลมี ๔ อย่างคือ
    ๑.ครุกรรม กรรมหนัก ได้แก่กรรมที่มีผลแรงมาก ทั้งฝ่าย กุศลกรรมและอกุศลกรรมย่อมให้ผลก่อน
    ๒.อาจิณณกรรม กรรมที่สะสมมา กรรมที่ทำมากหรือกรรมชิน เช่น เป็นคนมีศีล หรือทุศีล เป็นต้น เมื่อไม่มีคุรุกรรม ย่อมให้ผลก่อน
    ๓.อาสันนกรรม กรรมที่ทำเวลาใกล้จะตาย ถ้าไม่มีกรรม ๒ ข้างต้น ก็จะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ
    ๔.กตัตตากรรม กรรมสักว่า ทำ กรรมที่มีกำลังอ่อนๆ เต็มที เป็นกรรมเบา เมื่อไม่มีกรรม ๓ ข้อก่อน กรรมนี้จึงจะให้ผล
    กรรม ๔ นี้ เกิดขึ้นด้วยกรรมที่เราได้เคยทำมา ด้วยบุญที่เราเคยทำมา บุญดีไม่ดีก็อยู่ที่กรรมนี้ กรรมทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ถ้าแยกออกเป็นคนละส่วนๆ แยกออกไป กรรมหนึ่งๆ นั้น แยกออกไปหลายประการ แยกออกไปด้วยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง ในเจตนาก็แยกออกไปอีกหลายประการ ในกรรมที่เราทำ มีเรื่องยกเป็นอุทาหรณ์มากมาย เพราะฉะนั้น กรรมนี้ยาว จึงกล่าวไว้โดยสรุปเท่านั้น
    กรรมว่าโดยปากทาน คือ จำแนกตามกาลที่ให้ผลของกรรม มี ๔ อย่างคือ
    ๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน เช่น ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม ผู้ที่ฟังพระธรรมเทศนาได้บรรลุธรรม
    ๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันบ้าง ในภพหน้าบ้าง
    ๓.อปราปรเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป
    ๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล อโหสิไป กรรมหนัก กรรมเบา อโหสิกรรมไป เช่น พระอรหันต์ หรือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี เป็นอโหสิกรรมมาก มีพระองคุลิมาล เป็นต้น อโหสิไป
    กรรมว่าโดยปากัฏฐาน คือสถานที่หรือภพที่ให้ผล มี ๔ คือ
    ๑.อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ย่อมทำให้บังเกิดในอบายภูมิ ๔
    ๒.กามาวจรกุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศลระดับกามาวจร ได้แก่บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ย่อมทำให้บังเกิดในกามสุคติภพ ๗ (มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖)
    ๓.รูปาวจรกุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศลระดับรูปาวจร ได้แก่รูปฌาน ๔ หรือ ๕ ของผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ย่อมทำให้บังเกิดในรูปภพ(พรหม ๑๖)
    ๔.อรูปาวจรกุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศลระดับอรูปาวจร คือ อรูปฌาน ๔ ของผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ย่อมทำให้บังเกิดใน อรูปภพ(อรูปพรหม ๔)
    กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ได้แก่
    ก.กายกรรม ๓ คือ
    ๑.ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
    ๒.อทินนาทาน ลักทรัพย์
    ๓.กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
    ข.วจีกรรม ๔ คือ
    ๔.มุสาวาท พูดเท็จ
    ๕.ปิสุณวาจา พูดส่อเสียด
    ๖.ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
    ๗.สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
    ค.มโนกรรม ๓ คือ
    ๘.อภิชฌา เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
    ๙.พยาบาท คิดปองร้ายผู้อื่น
    ๑๐.มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
    เรื่องอกุศลกรรมบถนี้ ของง่าย ใครๆ ก็รู้ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ทุจริต ๑๐ ประการนี้ จัดเป็นกรรม กรรมปาณาติบาต ก็ยาว กรรมอทินนาทาน ก็ยาว ท่านยกให้เห็นเป็นเรื่อง เป็นนิทาน บุคคลที่ผิดในปาณาติบาต ได้รับผลอย่างไร บุคคลที่ผิดในอทินนาทาน ได้รับผลอย่างไร บุคคลที่ผิดในกาเมสุมิจฉาจาร ได้รับผลอย่างไร ก็ยกเป็นบุคคล เป็นนิทานไป ยาวเหลือเกิน และบุคคลที่ผิดในมุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ ก็ยาว บุคคลที่ทำผิดใน อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ จะได้รับผลจากกรรมนั้นอย่างไร ก็ยาวเหลือเกิน จึงนำมากล่าวโดยสรุป
    ทุจริตนี้ เราไม่เอา เราจะเอาสุจริต สร้างแต่บารมีเราสร้างธรรมที่เป็นกุศล ก็เป็นกรรมดี และเราสร้าง บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ
    ๑.ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ทาน
    ๒.สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล
    ๓.ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิต
    ๔.อปจายนมัย ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
    ๕.เวยยาวัจจมัย ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายในงานต่างๆ
    ๖.ปัตติทานมัย ทำบุญด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้อื่น
    ๗.ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น
    ๘.ธัมมัสสวนมัย ทำบุญด้วยการฟังธรรม
    ๙.ธัมมเทสนามัย ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมแก่ผู้อื่น
    ๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง
    นี่เราทำบุญด้วยการให้ทาน เป็นต้น ทิฏฐุชุกัมม์ คือเรามีจิตเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เราไม่ทำอกุศล ทำแต่กุศลและสุจริต ๑๐ ประการ
    ทุจริต ๑๐ สุจริต ๑๐ นี้ เราไม่เอาทุจริต เราไม่ฆ่าสัตว์ เป็นต้น เราทำแต่บุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เรานับถือพระภิกษุ นับถือพระรัตนะทั้ง ๓ เราทำกิจวัตรในพระรัตนตรัยทั้ง ๓ เราก็ยกเว้นทุจริต เราเอาทางสุจริต ถ้าเราทำอย่างนี้ เราจะพ้นจากความทุกข์ เราจะได้ภวสมบัติ มนุษย์สมบัติ ถ้าเราประพฤติทุจริต ๑๐ เราจะต้องไปเกิดในอบายภูมิอันดับแรก เราต้องเชื่อเรื่องกรรมเสียก่อน
    กรรมนี้ ตั้งแต่เราเกิดขึ้นมาก็เป็นกรรมแล้ว อุปการะให้เราเกิดขึ้นมาโดยสมบูรณ์ กรรมเราดีขนาดไหน อุปการะเรามานี้เรื่องสำคัญ บาลี ก็มีปรากฏอยู่ แต่ถ้าเราจะยกนิทานในบาลีมาก็ยาว เพราะฉะนั้น ไม่ต้องยกนิทาน นี่เรื่องกรรม ที่เราอยู่กันในปัจจุบันนี้ อยู่ด้วยกามาวจรกรรม แล้วรูปาวจรกรรม อรูปาวจรกรรม เขาก็มีขึ้น เกิดขึ้นด้วยการปฏิบัติธรรม
    กรรมนี้ เขากล่าวไปถึง พรหม และอรูปพรหม อสัญญสัตตพรหม เขามีนิมิต เขาบรรลุฌานขึ้นไป กรรมของเขาเป็นไปด้วยนิมิต แต่กรรมของเราที่อยู่ปัจจุบันนี้ เราต้องทำความดีประพฤติสุจริตไป มนุษย์เราต้องเชื่อเรื่องกรรม
    บุคคลจะสิ้นชีวิต เพราะเหตุ ๔ คือ
    ๑.อายุกขะเยนะ เพราะสิ้นอายุ
    ๒.กัมมักขะเยนะ เพราะสิ้นกรรม
    ๓.อุภยักขะเยนะ เพราะสิ้นอายุและกรรมทั้งสองนั้น
    ๔.อุปัจเฉทกกรรม เพราะกรรมเข้าไปตัดรอน
    เพราะฉะนั้น ในเหตุ ๔ ประการนี้ ทุกคนต้องตายด้วยเหตุ ๔ ประการนี้ และกรรม ๔ ประการนี้อุปการะเราไว้ เหมือนเป็นการรักษาเราไว้ คนเราทุกคน สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องตายด้วย มรณุปปัตติ (เหตุแห่งความตาย) ๔ ประการ ดังที่กล่าวมานี้
    ในขณะที่เราจะตาย มีอารมณ์ ๓ อย่างปรากฏขึ้นแก่คนกำลังจะตาย ปรากฏขึ้นในทวารหนึ่ง ในทวารทั้ง ๖ ด้วยกำลังกรรมคือ
    กรรมอารมณ์ กรรมที่มีหน้าที่ทำให้ปฏิสนธิเกิดให้มีอารมณ์ เฉพาะหน้า ปรากฏขึ้นในระหว่างภพนี้ ภพหน้า
    กรรมนิมิตอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์เกิดอารมณ์เกิดขึ้น มีอารมณ์เหมือนเครื่องอุปกรณ์ มีรูปารมณ์เป็นต้น อันตนสั่งสมไว้ในเวลาที่ทำกรรมนั้นๆ
    คตินิมิตอารมณ์ มีอารมณ์เป็นเครื่องบริโภคอันตนพึงไปเสวยในภพที่จะเกิดมาปรากฏบริสุทธิ์หรือ เศร้าหมอง ตามสมควรแก่กรรมที่กำลังให้ผล ดุจโอนเอนไปในภพที่จะบังเกิดนั้นตามสมควรแก่ภพที่จะเกิด ย่อมเป็นไปไม่ขาดสาย
    กรรมนี้ไปเป็นชนกกรรม ปรากฏขึ้นทางทวาร ด้วยอำนาจการปรุงแต่งจิต
    ในที่สุดแห่งวิถีจิต หรือในการสิ้นไปแห่งภวังคจิตของผู้ที่มีความตายปรากฏเฉพาะหน้านั้น จุติจิตอันเป็นที่สุดแห่งภพปัจจุบัน เกิดขึ้นแล้วดับไปด้วยอำนาจแห่งการจุติ (ตาย)
    นี่จิตเรา จุติแล้ว ดับไป
    ในที่สุดแห่งจุติจิตที่ดับไปแล้วนั้น ปฏิสนธิจิต กำลังจะเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งความสืบต่อในภพใหม่ ซึ่งจะอาศัยวัตถุเกิดก็ดี ไม่อาศัยวัตถุเกิดก็ดี เพราะปรารภอารมณ์ ๓ อย่าง ในทวารใดทวารหนึ่งอันตนยึดถือกันไว้ เช่นนั้น ต่อเนื่องมาจาก มรณาสันนชวนวิถีนั้น เมื่ออวิชานุสยะแวดล้อม มีสังขาร ซึ่งมีตัณหานุสยะเป็นมูล ปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ตามสมควร อันสัมปตุตตธรรมทั้งหลายประคับประคองไว้ เป็นหัวหน้าโดยความเป็นประธานเพราะเป็นที่ตั้งแห่งธรรมที่เกิดร่วมกัน (สหขาดธรรม) ก็ปรากฏ (ตั้งอยู่) ในภพใหม่
    ในมรณสันนวิถี มีชวนจิต ๕ ขณะ มีความเป็นไปด้วยภาวะอ่อนมาก เพราะฉะนั้น เมื่อมรณสันนชวนจิต ซึ่งมาปรากฏในอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันแล้ว ตั้งอยู่ จุติจิตจึงจะเกิดขึ้น
    ในลำดับมรณาสันนวิถีนั้น สำหรับปฏิสนธิจิต และภวังคจิตต้องได้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น เพราะกรรมนิมิต คตินิมิต อันกามาวจรปฏิสนธิยึดถือตามทวารทั้ง ๖ ต้องได้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบันและอดีต ถึงจะเกิดขึ้น ส่วนกรรมเป็นอดีตอย่างเดียวและกรรมนั้น มโนทวารยึดถือ
    อารมณ์ทั้งหมดนี้ รวมแล้วมาเป็นกรรม เป็นอารมณ์ที่เป็นกามาวจรอย่างเดียว
    ที่กรรม ในบาลีมีอยู่นี่แปลออกมาตามบาลี เราไม่เชื่อได้อย่างไรเพราะพระพุทธองค์สวดบาลี เทศน์ ให้เทวดาฟังบ้าง ให้มนุษย์ฟังบ้าง เรื่องกรรมนี้ พระพุทธองเทศน์ให้เทวดาฟังแล้วมาเทศน์ในเมืองมนุษย์ให้มนุษย์ฟัง ให้พระภิกษุฟัง เพราะพระพุทธองค์เทศน์ที่ไหน ต้องใช้คำว่า ภิกขะเว ทั้งนั้น ตุมเห สาธะโว ไม่ค่อยมี เพราะพระพุทธองค์เทศน์ให้พระภิกษุฟัง และบริษัททั้ง ๔ มาฟัง
    พระพุทธองค์ เทศน์เรื่องกรรม บางคนเข้าใจ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน เป็นต้น มากมาย ในสมัยพระพุทธองค์
    พระพุทธองค์ เทศน์เรื่องหรรมนี้ เทศในเมืองกบิลพัสดุ์ เพราะพวกกบิลพัสดุ์ดื้อด้านมาก และมาเทศน์ในเมืองราชคฤห์ ให้พระภิกษุฟัง พระภิกษุบางรูป ก็ค่อยไม่เชื่อเรื่องกรรม จึงต้องเทศน์ให้ฟัง เพราะฉะนั้นรวมความว่า มนุษย์เราเกิดมาเพราะกรรม
    พลตรี ปรีชา
    ขอกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า ที่ว่าคนเราเวลาใกล้จะตายมีกรรมมาปรากฏนั้น มาปรากฏในลักษณะไหนครับ
    หลวงพ่อ
    ในเวลามรณาสันนะ (ใกล้จะตาย) ภวังคจิตเกิดขึ้นทางมโนทวารก่อนภวังค์จะตก เราต้องรับอารมณ์ปัจจุบันกับอดีตพร้อมกัน แล้วจุติเกิดขึ้น จุติแล้วก็ดับไป
    ในขณะจุติเกิดขึ้น ชวนจิตตั้งอยู่ ปรากฏขึ้นในอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันแล้วจุติจิตจะเกิดขึ้น ในตอนมรณาสันนะ ถ้าไม่อย่างนั้น เขาก็ไม่สัมพันธ์กัน ที่เราไปเกิดนั้น เขาก็ไม่ได้ว่าไปเกิดในภพนั้น ภพนี้ แต่จุติแล้วก็ต้องไปเกิด จะเป็นเปรตหรือจะเป็นอะไร จะเป็นเดรัจฉานหรือจะเป็นอะไรก็เป็นไป
    แต่ถ้าจะกล่าวตามนิทาน ก็เหมือนกับ โฆสกกุมาร ทำบุญมาก่อนจะตาย อารมณ์ปัจจุบันเสวยอยู่ ตอนที่อดข้าวอดน้ำ พอเห็นลูกสุนัขกินข้าวอร่อยอยู่ อารมณ์ก็เกิดขึ้นว่าถ้าได้เป็นสุนัข จะได้กินอย่างนี้ พอภวังคจิตปัจจุบันและอนาคตดับ ก็ไปเกิดเป็นสุนัข เรื่องอย่างนี้มีมากมาย ต้องศึกษาดูในพระสุตตันตปิฎก หรือเหมือนอย่าง พระติสสเถร ก่อนจะตายยังคิดเสียดายจีวรแพรอยู่ เลยไปเกิดเป็นอูกา (เล็น) อยู่ในจีวร อารมณ์ปัจจุบันนี้ดับลง ก็ไปติดกับอารมณ์อนาคต
    พลตรี ปรีชา
    มีผู้สงสัยว่า คนที่ทำกรรมชั่วมามากๆ เวลาใกล้จะตายถ้าเกิดกุศลจิตขึ้น เขาก็ไปเกิดในภพดี กรรมชั่วที่เขาทำมาก็ไม่ได้ให้ผลอะไร ใช่ไหมครับ
    หลวงพ่อ
    กรรมเขาต้องตามเราไป สมมติว่า เราไปเกิดในที่ดีกรรมชั่วเขายังไม่ละทิ้ง เขาต้องไปให้ผล เพราะยังไม่ได้อโหสิกรรม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบารมีของบุคคลด้วย เช่น องคุลิมาล บารมีเขาแก่กล้า ถึงแม้จะเคยสร้างกรรมมาก่อน พอบรรลุพระอรหันต์ กรรมทั้งหมดก็เป็นอันอโหสิไป หลุดไปเลย
    คนโบราณเขาถือว่า ก่อนจะตาย ให้สวด อรหังๆๆ หรือพุทโธๆๆ เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ดี ไม่ให้คิดถึงกรรมที่เคยสร้างมาให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยทั้ง ๓ จะได้ไปเกิดในภพดีๆ ได้สมบัติดี แต่กรรมก็ยังไม่หมด กรรมเขายังตามไปให้ผลอยู่ ยังไม่อโหสิ
    ในอภิธรรรมก็มีเรื่อง เช่น บางคนทำความดีมาตลอด สร้างกุศลมามาก เวลาใกล้จะตายไประลึกถึงกรรมชั่วบางอย่าง ที่ตนเคยทำมา ก็เลยไปเกิดในภพที่ไม่ดี เพราะกรรมในอดีตตามมาให้ผลกรรมในอดีต ที่เราทำไว้
    สิ่งที่สำคัญที่ทำให้เราทำกรรมคือ เจตนา เจตนาเป็นเหตุให้เราทำต้องทำด้วยเจตนา ถึงจะเป็นกรรม ในขณะที่เราทำ เราพูด หรือเราคิด ในทางทุจริต เจตนาในขณะนั้น เรียกว่า กรรม กรรมนี้เราทำที่มีอยู่ ๓ อย่างคือ ทำดี ไม่ดี หรือระหว่างดีกับไม่ดี
    ที่เขาสงสัยกันอยู่ในปัจจุบัน คือ บางคนสร้างกรรมไม่ดี แต่เขามีเงินทองขึ้น ก็เพราะกรรม บางคนเกิดมารูปร่างไม่สวยไม่งาม แต่รักกัน ชอบพอกัน เหมือนรู้จักกันมานาน บางคนสวยงามก็จริง แต่ว่าไม่ชอบพอกัน อันนี้ก็เกี่ยวกันกับกรรมและปัจจัยที่เราเคยทำกันมาก่อน เคยคบกันเป็นมิตรกันมาก่อน
    พลตรี ปรีชา
    ขอเรียนถามหลวงพ่อว่า กรรมที่เราทำไว้นี้ ตัดได้ไหมครับ
    หลวงพ่อ
    ตัดไม่ได้ ถ้าเป็นคุรุกรรม (กรรมหนัก) เช่น อนันตริยกรรม ๕ คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ และทำสงฆ์ให้แตกกัน
    พลตรี ปรีชา
    แล้วกรรมอื่นๆ จะตัดได้ไหมครับ
    หลวงพ่อ
    กรรมอื่นๆ นั้น เราทำบุญไป ก็หลุดไปมาก แต่ถ้าเป็นครุกรรมแล้วจะทำบุญขนาดไหน ก็ไม่พ้น เหมือนอย่างพระเจ้าอชาตศัตรู ทำบุญไม่รู้เท่าไร แต่เพราะกรรมที่ปลงพระชนม์พระราชบิดา จึงต้องตกนรก หนีไม่พ้น
    ถ้าเป็นลหุกรรม (กรรมเบา) เราทำบุญมากๆ กุศลบุญที่เราทำนั้นอาจจะให้ผลก่อน แต่กรรมเราก็ยังไม่หลุด ถ้าเราทำบุญไปเรื่อยๆ บางทีเราไปเกิดในกาลที่ไม่มีพระพุทธเจ้า เราก็มีเจตนาทำบุญอยู่เนื่องนิตย์ ผลบุญก็ให้ผลก่อนเรื่อยไปกรรมก็ตามไม่ทัน นี่ลหุกรรม แต่เราต้องทำบุญมากๆ เรื่องการทำบุญนี้จะติดเป็นนิสัย ถ้าเราเคยทำอยู่ในชาตินี้ เราระลึกถึงบุญอยู่เสมอ บุญนี้ให้ผลเราก่อน กรรมที่ไม่ดีก็ตามมาไม่ทัน เพราะบุญ หรือมหากุศลของเรามากขึ้น
    เพราะฉะนั้นก่อนจะทำบุญ เขาให้รับศีล ๕ ก่อน เป็นการทำบุญด้วยศีล ก็ได้ทั้งทานบารมี และศีลบารมี เราปฏิบัติตามรอยบาทของพระพุทธองค์ พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ตลอดเวลา เวรกรรมก็ตามมาเรื่อย แต่ไม่ชนะ แต่พระองค์ยังได้รับวิบากของกรรมอยู่เรื่อยเหมือนกัน
    เรื่องกรรมนี้ เป็นเรื่องลึกซึ้ง บางคนไม่เคยเข้าวัด ไม่เคยสนใจในศาสนา พออายุมากขึ้นหันมาเข้าวัด บางทีปฏิบัติดีกว่าคนที่ทำมาก่อนก็มี จิตใจเปลี่ยนไปด้วยกรรมในอดีต บางคนจนพอกรรมหมดไป ก็ได้เอกลาภมีสมบัติขึ้นมีเงินมีทองขึ้น
    เพราะฉะนั้น เรื่องกรรมนี้ เราไม่เชื่อไม่ได้ ตามอภิธรรมเขากลัวกันว่า ทำบุญมามากมาย แต่เวลาใกล้จะตาย ตอนที่ภวังค์ไปตก เขากลัวกันว่าจะไปคิดเรื่องที่เคยทำกรรมไว้ ถ้าคิดอยู่อย่างนั้น ตายไปจะไปถือปฏิสนธิในอบายภูมิ ดังนั้น ก่อนจะตายเขาจึงให้สวด อรหังๆ ไว้ ให้จิตคิดแต่ในสิ่งที่ดีๆ หรือบางทีเขาก็นิมนต์พระสงฆ์ ไปสวดมนต์ให้คนใกล้จะตายฟัง
    เรื่องสวดนี้ ไม่ใช่เฉพาะพระพุทธศาสนาเท่านั้น พวกพราหมณ์เขาก็สวดเหมือนกันที่แม่น้ำคงคา เขาสวดนำทางให้คนไป และพวกอเจลกเขาก็ถือกรรมเหมือนกัน พวกที่ไม่นุ่งผ้ามีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์
    เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องคิดมาก ขอให้เราประพฤติโดยสุจริต เราต้องกลัวกรรม ไม่กลัวไม่ได้ เราจะตายเมื่อไรก็ยังไม่รู้ในขณะที่เราใกล้จะตาย ก่อนจะสิ้นใจ มรณสันนชวนจิตเขาต้องคิดอารมณ์ปัจจุบันกับอนาคต เพราะฉะนั้นเราอย่าลืมสติ เราต้องเชื่อกรรม
    ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ว่าไทย มอญ พม่า หรือชาติอื่นๆ ถ้าเราไปถามเขาว่าคนเราเกิดมาเพราะอะไร เขาจะตอบทันทีว่า เพราะกรรม ตายเพราะอะไร... พม่า,มอญนี้ เขาเชื่อเต็มที่เลยเรื่องกรรม เพราะเขาเรียนอภิธรรมกันมาก.

    ---------
     
  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]

    หลวงปู่สงฆ์ เป็นนามที่ ชาวกรุงเทพมหานคร เรียกชื่อท่าน ด้วยความ เคารพ เลื่อมใส ท่านเป็นพระคณาจารย์ สมถวิปัสสนา ที่ชาวจังหวัดชุมพร และชาวกรุงเทพๆ ภูมิใจเป็นหนักหนา
    หลวงปู่ท่าน มีความเมตตาปรานีแก่ทุกๆคน ไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้บุคคล ใดไปขอพรจากท่านแล้ว จะได้รับความสมหวังอย่างมั่นคง ด้วยทุกคนเชื่อว่า ท่านหลวงปู่สงฆ์ มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
    หลวงปู่สงฆ์ ท่านเป็นคนชาว จังหวัดชุมพร โดยกำเนิด ท่านเกิด ที่หมู่บ้านวิสัยเหนือ อ.สวี จ.ชุมพร เมื่อวันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล พ.ศ.๒๔๓๓
    บิดา ชื่อ นางแดง มารดาชื่อ นางนุ้ย มีอาชีพทำนา-ไร่สวน อายุได้ ๑๘ ปี ท่านได้บรรพชาเป็น สามเณร ที่วัดสวี อันเป็นวัดใกล้ๆบ้านเกิดท่าน
    เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ ๒ ปี จึงได้ลาสึก ออกไปช่วยบิดา มารดา ประกอบอาชีพทำงานท้องนาและไร่สวน
    ครั้น อายุครบอุปสมบท ท่านได้มาฝากตัวแก่พระอุปัชฌาย์ ที่วัดสวี ขอบวชเป็น พระภิกษุสงฆ์ ได้รับความเมตตาจาก พระอาจารย์ชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า "จันทสโรภิกขุ"
    หลัง จากบวชเป็นพระแล้ว ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดควน อ.สวี จ.ชุมพร ๑ พรรษา ในระหว่างพรรษา ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม จนพอรู้แนวทางการ ดำเนินชีวิตในเพศพรหมจรรย์
    ออก พรรษาแล้ว ท่านมีความสนใจทางสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แต่ในจังหวัดชุมพร ไม่มีพระอาจารย์สอนทางด้านนี้เลย ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์ -อาจารย์ ออกจากจังหวัดชุมพร มุ่งหาพระอาจารย์สอนกรรมฐานในถิ่นอื่นๆ
    โดยได้ออกเดินทางไปท่ามกลางป่าเขาอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง เพราะท่าน ยังไม่รู้จักคำว่า " เดินธุดงค์" ในสมัยนั้น
    แต่ หลวงปู่สงฆ์ มีความแน่ใจว่า การเดินทางอยู่ในป่าดงพงไพรนี้ จะต้องพบกับ พระผู้ปฏิบัติบ้าง เพราะพระกรรมฐานชอบอยู่ป่าดง มากกว่า อยู่วัดวาอาราม
    หลวง ปู่สงฆ์ รอดพ้นจากอันตรายรอบด้าน เช่น สัตว์ป่า ไข้ป่าอันดุร้ายไปได้ ก็เพราะแรงใจที่มุ่งปฏิบัติธรรม กับพระอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อพบก็จะมอบตัวเป็น ศิษย์ ขอฝึกอบรมด้วยเท่านั้น
    หลวง ปู่สงฆ์ประสบความสมหวัง เมื่อได้ทราบว่า .... พระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ หรือตอแซ เป็นพระอาจารย์ที่ทรงฌานสมาบัติสูงองค์หนึ่ง ในจังหวัดภูเก็ต ท่านจึงได้ไป ฝากตัวเป็นศิษย์ ขอฝึกอบรม ปฏิบัติพระกรรมฐาน อยู่กับพระอาจารย์รอด ๒ พรรษา
    หลวง ปู่สงฆ์ มีความพากเพียร อย่างคร่ำเคร่ง มีสมาธิแก่กล้า สามารถในทาง ปฏิบัติมากแล้ว ท่านพระอาจารย์รอด ได้ให้ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ป่าช้า ตามถ้ำผาป่าดง ต่อไป เพื่อความรุ้แจ้งในจิตใจ และจะได้ปรารภธรรมตามสติปัญญา
    หลวงปู่สงฆ์เดินธุดงคกรรมฐานไปจนถึงชายแดนด้านมาลายู จากนั้นท่านก็ ได้เดินธุดงค์ ย้อนกลับมาจนถึงจังหวัดเพชรบุรี
    หลวง ปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านมีความชำนาญในเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยก่อนโน้น ทางภาคใต้ นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลง ไป ครูบาอาจารย์ต่างๆ มักจะสนใจปฏิบัติสมถกรรมฐานแล้ว เดินจิตเล่นฤทธิ์ กันเสีย โดยส่วนมาก
    สำนัก เรียนวิชาต่างๆ ภายใน(จิต) สำนักเขาอ้อ มีชื่อเสียงมากในเรื่องนี้ แต่ หลวงปู่สงฆ์ ก็ดี หลวงปู่หมุนก็ดี ตามที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านสามารถหัน เข้ามาดำเนินจิตสู่วิปัสสนากรรมฐานเสีย เพราะเป็นหนทางออกจากความยึดมั่น ในอำนาจจิต อำนาจฌานได้อย่างสิ้นเชิง เป็นความจริงดังนี้
    ต่อ มาหลวงปู่สงฆ์ ท่านเกิดสติปัญญา มองเห็นภัยในวัฎสงสาร ที่มันเคย แปรปรวน หมุนเวียน ไม่รู้จบ ท่านเกิดเบื่อหน่าย คิดดำเนินชีวิตในป่าดงพงไพร ทำจิต เร่งบำเพ็ญเพียร เพื่อความพ้นทุกข์
    การ เดินธุดงคกรรมฐานของครูบาอาจารย์นั้น มิใช่ว่าจะเดินไปในที่แห่งหนึ่ง แล้วไปในที่แห่งหนึ่ง พึงรีบเดินเพื่อให้ถึงเร็วๆนั้น หาไม่ แต่การเดินธุดงค์ก็เหมือนการเดินแบบปกติ หรือเดินจงกรมนั่นเอง
    ท่านเดินอย่างมีสติ .... คือ ขณะที่ก้าวเดินไปนั้น ท่านกำหนดคำบริกรรม หรือพิจารณาธรรมไปเรื่อยๆ โดยไม่นับก้าวแต่อย่างใด
    ท่าน เดินด้วยสติ แม้อะไรจะเกิดขึ้นมาในช่วงนั้น ท่านก็รู้ชัด ไม่มีอาการของ จิตแส่ส่ายไปมา เพราะสติเป็นกำลังอันสำคัญขณะทำความเพียร เช่นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
    หลวง ปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านได้อาศัยชีวิตอยู่ในป่าดงเป็นเวลาหลายปี อาศัยโคน ไม้ ถ้ำผาต่างๆ เป็นที่พักผ่อน ไม่มีความอาลัยในชีวิตว่าจะสุข หรือทุกข์ ท่านมุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้ธรรม
    เมื่อ รู้ธรรมแล้ว ท่านก็นำธรรมะนั้น มาสอนจิตสอนใจตนเอง ขัดเกลา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นสมบัติประจำสันดานมนุษย์ ให้หลุดให้ลอกออกไปจากจิตใจ ชำระจิตใจด้วยธรรม เพื่อความสะอาดหมดจดแห่งชีวิต
    ๗ ปี แห่งการทรมานกิเลส ภายในจิตใจของท่าน ซึ่งไม่เคยออกจากป่าสู่เมือง เลย ทำให้สภาพจิตสดใสแจ่มแจ้งในธรรมะ
    แต่สภาพสังขาร ดูออกจะเป็นฤาษีชีไพร หนวดเครารุงรัง ผมเผ้ายาว จีวร สบง ขาดรุ่งริ่ง นั่งภาวนาในป่าเมืองชุมพร
    คล้าย กับวาสนาท่านจะต้องมาอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จึงมีชาวบ้านป่า เดินตามนกตัวหนึ่ง ที่ร้องเป็นภาษามนุษย์ว่า " หนักก็วางเสีย ! หนักก็วางเสีย " ชาวบ้านป่า เดินตามนก จนพบหลวงปู่สงฆ์ และได้นิมนต์มาอยู่วัดร้างแห่งนั้น
    หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความอดทน ค้นคว้า สัจธรรม ความเป็นจริง ของพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน
    ๑๐ พรรษา ท่ามกลางป่าดง ท่านอาศัยภูเขาลำเนาไพรมาโดยตลอด การบิณฑบาต ท่านโคจรไปในหมู่บ้านชาวป่า ได้บ้างอดบ้าง ตามอัตภาพ จนมีความพอดีแก่จิตใจ ปล่อยวางของหนักได้หมดสิ้นแล้วอย่างมั่นใจ
    ท่าน จึงออกจากป่า สู่วัดร้างแห่งหนึ่ง ท่านได้จำพรรษาก่อสร้างวัดร้างแห่งนั้น จนเจริญรุ่งเรืองในปัจจุบัน โดยขนานนามว่า วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อ.เมือง จ.ชุมพร
    หลวง ปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ในจังหวัดชุมพร บัดนี้ท่านได้วางแล้วซึ่งขันธ์อันหนักหน่วงของท่าน และได้ทิ้งรากฝากความดีงามให้แก่ชนรุ่นหลังระลึกถึง ณ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย

    สิ่งมงคลและยาวิเศษ
    สิ่ง อันเป็นมงคลที่หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร อนุเคราะห์ชาวบ้านที่ได้รับความทุกข์ร้อน โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เมื่อมาหาท่าน ท่านจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือจนหายจากโรคภัยไข้เจ็บโดยสิ้นเชิง และสิ่งของที่ท่านมอบให้นั้นก็ไม่กี่บาท ขอยกให้เห็นชัดดังนี้
    ที่ ข้าง ๆ บันไดกุฏิของท่านจะมีตุ่มใส่น้ำมนต์ตั้งไว้ใบหนึ่ง ท่านจะลงมาจากกุฏิทำน้ำมนต์ ในเวลากลางคืนแล้วนำมาใส่ตุ่มไว้ ตอนเช้ามืดอีกครั้งหนึ่ง ท่านจะลงมาเทใส่ตุ่มที่หมดทุกวัน ๆ น้ำมนต์ในตุ่มนั้นจะมีผู้ที่รู้แหล่งเข้ามาขอตักไปบูชาหรือดื่มกิน
    น้ำมนต์ ของหลวงปู่สงฆ์เป็นสิ่งมงคลที่มีความขลัง และศักดิ์สิทธิ์ สามารถอาราธนาให้เกิดผลในสิ่งที่ตนปรารถนาได้ทุกประการตามแต่คำอธิษฐานจิต ของผู้ใช้
    โอ่ง น้ำมนต์ของท่านเรียงรายอยู่ตามบันได ทางขึ้นลงกุฏิทั้งด้านซ้ายด้านขวา แท้จริงถ้ามองเผิน ๆ มันจะเป็นโอ่งน้ำล้างเท้า แต่ทว่าไม่ใช่ เพราะคนสมัยนี้สวมรองเท้า ไม่ได้มาเท้าเปล่าแล้วมาล้างเชิงบันได เมื่อตื่นขึ้นตอนเช้าหลวงปู่จะทำน้ำมนต์ มาเทลงในโอ่ง ท่านทำอย่างนี้ทุกวัน
    น้ำมนต์ ไล่ผีอย่างเห็นได้ชัด ครั้งหนึ่งมีคนแถวสามแก้วได้พาลูกสาวซึ่งมีอาการเหมือนถูกผีเข้าสิง ดิ้นทุรนทุรายร้องเอะอะเสียงดัง ญาติผู้ชายร่างกายแข็งแรงต้องช่วยกันพามาที่วัด มานั่งรออยู่เชิงบันได เพราะบนกุฏิหลวงปู่นั้น ผู้หญิงขึ้นไม่ได้ แล้วพ่อของเด็กก็ขึ้นไปเล่าอาการให้ฟัง
    เมื่อ ได้ฟังอาการแล้วหลวงปู่ก็เดินมาที่หน้ากุฏิมองลงมาที่เด็กสาวคนนั้น ชายสองคนจับแขนเอาไว้แน่น ขณะที่เด็กสาวสะบัดจะให้หลุด ปากก็ร้องเสียงดังเอะอะ หลวงปู่มองดูสักครู่ท่านก็ร้องบอก
    “นิ่งเสียบ้างซิ”
    เด็กสาวที่ร้องครวญครางส่งเสียงดังก็หยุดชะงักลงทันทีเมื่อสิ้นเสียงหลวงปู่ที่พูดลงมา สักครู่ก็ร้องอีก
    นาย สร้าง คนติดตามหลวงปู่มานานหลายปีได้ยื่นขันน้ำที่ตักจากในโอ่งบนกุฏิส่งให้ หลวงปู่หยิบขันน้ำมาก็เทโครมลงมาทันที ถูกร่างของเด็กสาวคนนั้นอ่อนแรงจนนอนราบเรียบสงบ หลวงปู่หันหลังกลับเข้ากุฏิ สักครู่เด็กสาวคนนั้นก็ลุกขึ้นงัวเงีย อาการผิดปกติหายไปราวกับปลิดทิ้ง
    น่า สังเกตตรงที่ว่า น้ำที่นายสร้างตักใส่ขันความจริงเป็นน้ำดื่มกินธรรมดา เมื่อหลวงปู่รับขันมาท่านก็เทโครมทันที ไม่ได้เสกหรือเป่าใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าเป็นรูปแบบของคณาจารย์อื่น ๆ จะต้องมีการเสกการเป่าเสียก่อน แต่หลวงปู่ไม่ต้อง ได้มาเททันที
    เรื่องของการใช้น้ำมนต์ไล่ผีเข้าเจ้าสิงของหลวงปู่นั้นโด่งดังอยู่ ดังนั้นน้ำมนต์ของหลวงปู่จึงมีคนต้องการมาก
    ยา เส้น ตามปกติหลวงปู่สงฆ์ท่านชอบใช้ยาเส้นสีปากแล้วอมเอาไว้ ดังนั้นยาเส้นที่ท่านใช้แล้วเหล่านั้น จะกลับกลายเป็นของวิเศษ เป็นของที่มีมงคลศักดิ์สิทธิ์ คือ กลายเป็นของขลังอย่างยอดเยี่ยม
    สมัย ก่อนนั้น คนที่ไปวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยจะหายาเส้น ไปสักจำนวนหนึ่ง บางคนก็เอาไปเป็นห่อ แล้วก็ให้หลวงพ่อเสกให้ต่อจากนั้นก็นำมาเป็นวัตถุมงคลติดตัว ต่อมาทางวัดมีความคิดดีนำเอายาเส้นอัดพลาสติกห้อยคอ ทำเหมือนกับลูกอม ปิดทองอีกด้วย
    เพราะยาเส้นโด่งดังและเป็นที่ต้องการของผู้ที่เข้าวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เรื่องมันมีอยู่ ค่อนข้างเกรียวกราวในชุมพร คือ
    ครั้ง หนึ่ง ได้มีคนมาหาหลวงปู่ ท่านก็มอบยาเส้นไปให้ ยาเส้นนี้เดิมทีเป็นของใช้ประจำวันของหลวงปู่ ท่านเอามาสีฟัน คนที่เคารพนับถือเห็นว่าอะไรก็ตามที่ท่านใช้ย่อมจะเป็นมงคลทั้งสิ้น ก็เลยขอยาเส้นท่านไป เมื่อได้แล้วก็นำไปไว้ในเซฟ รวมกับเอกสารและของมีค่า เขาถือว่า ยาเส้นของหลวงปู่ เป็นของมีค่าด้วยชนิดหนึ่งต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี
    หลัง จากนั้นไม่นานนักขโมยเกิดเข้าบ้านชายคนนี้ เมื่อมันเปิดเซฟออกมา มันก็เบือนหน้า เพราะในเซฟไม่มีสมบัติอะไรเลย ภายในเซฟมีแต่ยาเส้นกองเต็มไปหมดไม่มีของมีค่า
    แต่แล้วคนพวกนี้ก็ไปไม่รอด โดนจับได้ ของกลางไม่มีอะไร เพราะมันไม่ได้อะไรไปเลย บอกกับตำรวจเพียงว่า
    “ในเซฟมีแต่ยาเส้น ใครจะเอาไปทำไม”
    ความ จริงยาเส้นในเซฟนั้นมีเพียงก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือเท่านั้น แปลกใจทำไมมันจึงมองเห็นว่ามีมากมายไปได้หรือจะเป็นเพราะ อภินิหารยาเส้นมงคลของหลวงปู่
    ยา เส้นของหลวงปู่นั้นแท้จริงก็คือ ยาเส้นที่หลวงปู่ชอบอมเอาไว้ หรือเรียกกันแบบภาษากลางว่า ถุนยา คือเอายาเส้นใส่ปากอมเอาไว้ เมื่อมีคนอยากได้ บางคนขอเอาจากปากท่านเลยก็มี ท่านก็คายออกใส่มือที่แบรออยู่
    น้ำ ปลา...ยาวิเศษ เรื่องนี้ได้ทราบจากชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อหลายปีมาแล้วว่า เขาปวดท้องมานาน ๑๐ กว่าปี ไปรักษาที่ไหนตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เสียเงินไปเป็นแสนบาท นายแพทย์เก่งขนาดไหนก็รักษามาแล้ว ที่ไหนว่าเก่ง ๆ พอเจอโรคของบุคคลนี้เข้า ยอม กลัว รักษาไม่หาย
    ต่อ มาได้ยินเขาเล่าลือว่าทางจังหวัดชุมพรมีพระที่วิเศษรูปหนึ่ง เคยรักษาโรคมาเป็นพันๆ คน และก็หายจนหมดสิ้นทุกคนคนป่วยจึงได้หอบสังขารชนิดผอมติดกระดูกมาหา หลวงปู่สงฆ์ นี่แหละ
    ทันที ที่เห็นหน้าหลวงปู่สงฆ์ คนป่วยก็มีความรู้สึกศรัทธาอย่างมากมาย ขนลุกขนพองอยู่ตลอดเวลา แม้ท่านจะกลับเข้ากุฏิไปแล้วก็ตาม ศิษย์ของท่านจึงนำน้ำปลาไปให้ท่านเพ่งกระแสจิตให้สัก ๑๐ นาที แล้วนำน้ำปลานั้นมาให้และบอกว่าให้กินน้ำปลานี้ ยาอื่นท่านบอกว่าไม่ต้องกินแล้ว ถึงกินก็ไม่หาย
    ด้วย ความศรัทธาในองค์หลวงปู่สงฆ์ หญิงคนนั้นจึงเปิดขวดน้ำปลาดื่มเข้าไป แม้ว่าน้ำปลาจะมีรสเค็มจริงอยู่ แต่เวลาน้ำปลาผ่านลำคอไปแล้ว รู้สึกเย็น ๆ พอไปถึงท้องแล้วอาการปวดท้องเสียด ๆ นั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง ไม่เกิดขึ้นอีกเลย
    เกิด ความตื้นตันขึ้นมา ดื่มเข้าไปอีกต่อหน้าลูกศิษย์หลวงปู่สงฆ์ มีอาการยิ้มแย้มฉายให้เห็นท่าทีว่า อาการภายในสงบ ภายนอกก็แจ่มใส ผู้ป่วยนั้นก็ก้มลงกราบตรงเชิงบันไดกุฏิของหลวงปู่สงฆ์ แล้วได้ร่วมทำบุญกับวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยด้วยความศรัทธาแล้วจึงลากลับบ้านของตน
    สำหรับ ชาวบ้านจะนำน้ำปลาเอามาให้หลวงปู่สงฆ์เสกเป่าเป็นมงคลขึ้น เสร็จพิธีแล้วน้ำปลาจะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีความขลังในการรักษาโรคผิวหนัง แผลเน่าเปื่อยได้ชะงัดดีนัก โดยเฉพาะผู้ที่ติดยาเสพติด น้ำปลาของหลวงปู่สงฆ์จะรักษาได้เป็นอย่างดี นับเป็นสิ่งมงคลในการรักษาโรคภัยอย่างไม่เคยมีผู้ใดกระทำมาก่อน
    น้ำ ล้างบาตร นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อท่านฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านจะเอาน้ำใส่บาตรเพื่อล้าง ผู้ประสงค์ก็จะคอยรับน้ำล้างบาตรกัน เมื่อผู้ใดได้น้ำล้างก้นบาตรแล้ว ก็จะนำเอาไปอธิษฐานบารมีเป็นที่พึ่ง เพื่อนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้วก็ได้รับความสำเร็จทั่วหน้า
    เรื่อง น้ำล้างบาตรของหลวงปู่สงฆ์ นี้ ก็มีเรื่องเล่ากันว่ามีสุภาพสตรีผู้หนึ่ง มีกิจการโรงแรมในจังหวัดชุมพร ได้เดินทางมาที่ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย และได้ขอน้ำล้างก้นบาตรจากหลวงปู่สงฆ์ เพื่อจะเอาไปแก้โรคภัยไข้เจ็บชนิดเรื้อรังที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เมื่อได้น้ำก้นบาตรใส่ขันใบใหญ่แล้ว เธอก็นั่งรถกลับจังหวัดชุมพร
    แต่ ขณะนั่งรถมาระหว่างทางเธอได้พิจารณาดูน้ำล้างบาตรในขันที่ใส่มา เห็นเม็ดข้าวขาว ๆ และชิ้นเศษอาหาร ลอยปะปนอยู่ ดูสกปรกน่ารังเกียจ ก็เกิดเสื่อมความศรัทธาขึ้นมา และไม่เชื่อว่าน้ำล้างก้นบาตร นี้จะรักษาโรคได้จริง
    คิด ได้ดังนั้นก็หยิบยกขึ้นมาเทลงข้างทางเสีย แล้วก็นั่งรถกลับมาถึงบ้าน คืนนั้นขณะกำลังนอนหลับอยู่ พอเริ่มเคลิ้ม ๆ หลับได้นิดเดียวก็รู้สึกคันระยิบระยับไปทั้งตัวเป็นที่น่าสงสัยนัก เธอผู้นั้นจึงลุกขึ้นไปเปิดไฟดูก็พบว่า หนอนตัวขาว ๆ จำนวนมากมาย ไต่ตามตัว และที่นอนยั้วเยี้ยเต็มไปหมด
    สตรีผู้นั้นตกใจและขยะแขยงแทบเป็นลม จึงร้องเรียกคนรับใช้ให้มาช่วยกันกวาดเอาตัวหนอนขาว ๆ เหล่านั้นออกมาจากห้องไปทิ้งเสีย
    สตรี ผู้นั้นก็มิได้สนใจคิดอะไร ล้มตัวลงนอนต่อไป พอเกือบจะเคลิ้มๆ ได้สักเล็กน้อยก็รู้สึกเจ็บ รู้สึกว่าหนอนยังมีหลงเหลืออยู่อีกแต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งแรก จึงรีบเปิดไฟฟ้าขึ้นดู
    ทีนี้พบหนอนสีขาวๆ มากมายกว่าเก่า มีขนขึ้นเต็มตัว
    สตรี ผู้นั้นเกิดความกลัวสุดขีด จึงวิ่งหนีออกมานอกห้องนอน แล้วเรียกคนใช้ออกมาให้กวาดหนอนไปทิ้งอีก คนใช้ทุกคนรีบกวาดหนอนตัวขาวๆ นั้นมารวม ๆ กัน เพราะครั้งนี้ดูมันคลานกันเต็มห้องไปหมด แต่ยังมิได้เอาไปทิ้งก็เกิดเหตุที่ทำให้ตกตะลึงอยู่ กับที่
    ฝูงหนอนดังกล่าวกลับกลายเป็นเมล็ดข้าวสารขาว ๆ ไปทั้งหมด
    แม้ จะเป็นเมล็ดข้าวสารก็จริง แต่ ใจยังหวาดผวาด้วยความอัศจรรย์นั้นอยู่ ครั้นแล้วสตรีผู้นั้น เมื่อหายจากอาการตกตะลึง ก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเป็นอะไร รู้สึกสำนึกว่าตนเองได้ทำความผิดไว้อย่างมหันต์ที่คิดลบหลู่ดูหมิ่น น้ำล้างก้นบาตร ของ หลวงปู่สงฆ์เมื่อตอนกลางวันนี้ โดยนำน้ำก้นบาตรเททิ้งข้างทาง
    ดัง นั้นสตรีผู้นั้นจึงจุดธูปเทียนขึ้นบูชา กล่าวคำอโหสิกรรมโทษที่ตนล่วงเกินด้วยความเกรงกลัว จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีหนอนมารบกวนอีกเลย สามารถนอนหลับได้อย่างสบายตลอดรุ่งเช้า

    กวางน้อย
    มี ชาวบ้านคนหนึ่งได้นำลูกกวางมาถวายให้หลวงปู่ เป็นลูกกวางตัวผู้ ยึดถือหลักเอาไว้อย่างหนึ่งคือ ไม่ว่าคนหรือสัตว์ตัวเมียท่านจะไม่เลี้ยงเลย
    กวาง น้อยตัวนี้กำลังซน หลวงปู่ก็เอาชายจีวรที่ท่านฉีกมาผูกคอไว้ มันก็เที่ยวของมันไปตามประสา เพราะไม่ได้ผูกมัดแต่อย่างใด บางครั้งไปกินพืชผักของใครเข้า เจ้าของโกรธไล่ตี มันก็วิ่งหนีกลับเข้าวัด
    เพราะ ความเกเรซุกซนของมันนี่แหละ โดนดีเข้าจนได้ มีคนเอาปืนลูกซองยิงมัน แต่ทว่าด้าน ยิงไม่ออกหลายครั้ง จนลือกันว่า กวางตัวนี้หนังมันดี ยิงไม่ออก
    วัน หนึ่งมันออกไปกินยอดพลูของครูคนหนึ่งเข้าที่บ้านข้างวัด ครูคนนั้นก็เอาไม้ไล่ตี ปากก็ตะโกนด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย ตกกลางคืน กวางตัวนี้ ชื่อไอ้น้อย ก็แอบเข้ามากินยอดพลูที่เหลือหมดที่ปลูกเอาไว้
    ครูนั้นโกรธมาก มาเล่าเรื่องแบบฟ้องหลวงปู่ ท่านก็หัวเราะพูดลอย ๆ ว่า
    “ก็ครูอยากไปด่ามันทำไม ไอ้น้อยไม่ชอบให้ใครด่า”
    ครู เก็บเอาความแค้นไว้ในอกเงียบ ๆ หลังจากนั้นได้ไปติดต่อกับคนรับซื้อสัตว์ป่า เพื่อจะขโมยไอ้น้อยกวางหลวงปู่มาขาย สมคบกับอีกคนหนึ่งเตรียมขโมยไอ้น้อย
    แล้ว วันนั้นไอ้น้อยก็รับกรรม ถูกจับตัวเอาขึ้นบนรถไปหมายจะนำไปขายในกรุงเทพ ฯ บนรถบรรทุกไอ้น้อยมานั้นมีสัตว์ป่าอีกหลายตัวรวมอยู่ด้วย รถได้แล่นออกมาจากชุมพรจวนจะถึงเขาหินช้าง เกิดยางแตก กำลังเปลี่ยนยางอยู่นั้น ไอ้น้อยกวางหลวงปู่ก็หลุดหนีออกมาได้ ไอ้น้อยได้ไปเที่ยวอยู่แถว ๆ พ่อตาหินช้าง บ้านยายไท แถวน้ำตกกะเปาะอำเภอท่าแซะ อยู่ระยะหนึ่ง
    จน กระทั่งวันหนึ่ง ขณะที่ไอ้น้อย กำลังเที่ยวหาอาหารอยู่ในเวลาเช้า ไอ้น้อย หารู้ตัวไม่ว่า ความตายกำลังจะมาเยือนมันอยู่แล้ว ขณะที่มันกำลังเพลิดเพลินเล็มยอดไม้อยู่นั้น ก็ได้มีชายผู้หนึ่ง ชื่อว่า นายหวิน กำลังจะยัดเยียดความตายให้กับไอ้น้อย ด้วยอาวุธปืน
    นาย หวินได้สับไกปืน เพื่อทีหวังจะล้มไอ้น้อยให้ได้ แต่ ๒ ครั้ง ๓ ครั้งแล้ว กระสุนของนายหวินก็ไม่ระเบิด แต่ทำไมจึงทำอะไรไอ้น้อยไม่ได้
    “มันกวางอะไร กวางของใคร ทำไม่จึงยิงไม่ออก แปลก”
    นาย หวินรำพึงรำพันอยู่ในใจ ขณะที่นายหวินครุ่นคิดอยู่นั้น สายตาไปเหลือบเป็นผ้าสีเหลือง คือผ้าพระผูกอยู่ที่คอของไอ้น้อย ด้วยความมั่นใจในฝีมือตัวเอง ประกอบกับดวงของได้น้อยมันถึงฆาต เหมือนกับคำที่กล่าวว่า
    “ถึงคราวตายแน่นอน ทางแก้ไม่มี ตายแน่เราหนีกันไปไม่พ้น จะเป็นราชาหรือมหาโจร ต้องทิ้งกายสกนธ์สู่เชิงตะกอน”
    นายหวินได้เข้าไปปลดผ้าสีเหลืองที่ผูกคอไอ้น้อยไว้ ซึ่งเป็นเศษผ้าจีวรของหลวงปู่ออกจากคอไอ้น้อย
    อนิจจาความ ตายกำลังจะมาเยือน ไอ้น้อย เมื่อดวงมันถึงฆาต มันก็ทำอะไรไม่ถูก ธรรมดาแล้วมันไม่ค่อยจะให้ใครเข้าใกล้ตัวมัน ยกเว้น หลวงปู่ และกับคนที่มันรู้จักมักคุ้นเท่านั้น แต่เพราะสัตว์มันไว้ใจคน หารู้ไม่ว่า คน ๆ นั้นกำลังจะหยิบยื่นความตายให้
    นาย หวินปลดผ้าเหลืองออกจากคอไอ้น้อยแล้วก็รีบวิ่งกลับไปยังบริเวณที่ได้เอาปืน พิงไว้กับต้นไม้ใหญ่ เบนลำกล้องปืนกลับมาสู่ตัวไอ้น้อยอีกครั้ง พร้อมกับลั่นไก “ปัง” เสียงปืนดังแน่นคับราวป่า ผู้ชำนาญเสียงปืน ถ้าได้ยินเสียงก็บอกได้ว่า กระสุนเข้าเป้าอย่างแน่นอน
    ไอ้ น้อยล้มทั้งยืน ในขณะที่ปากของมันยังคาบยอดไม้อ่อนอยู่ แต่ว่ามันไม่มีโอกาสที่จะได้เคี้ยวอีกต่อไป เลือดแดงฉานทะลักออกมาจากท้องราวกับสายน้ำ ตาของไอ้น้อยค้าง แต่หากมันมีความรู้สึกสักนิด ก็จะสงสัยว่า “ทำไมวันนี้จึงสั้นเสียเหลือเกิน เรากินอาหารมื้อเช้ายังไม่ทันอิ่ม ก็มืดเสียแล้ว” โอ้อนิจจาความตายไม่เคยเว้นใคร แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน
    ฝ่าย นายหวิน มือเพชฌฆาต ดีอกดีใจที่ได้ล้มไอ้น้อยลงได้ใครล่ะจะแน่กว่าเรา ภรรยาของหวิน อยู่ที่บ้านตกใจ โดยไม่รู้สาเหตุ ตะโกนบอกเพื่อนบ้านใกล้เคียงว่า "หวินยิงกวางหลวงปู่ หวินยิงกวางหลวงปู่" ทั้ง ๆ ที่มิเห็นกับตา
    เพื่อน บ้าน เมื่อได้ยินดังนั้น ก็พากันไปดู พบหวินกำลังชำแหละเนื้อกวางตัวนั้นอยู่ บางคนก็คิดอยากจะช่วย แต่ในขณะนั้นเอง กลิ่นอุจจาระก็ส่งกลิ่นตลบอบอวน โดยไม่ทราบสาเหตุที่ไปที่มาของกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ หวินและเพื่อนบ้านช่วยกันตรวจสอบ ก็พบว่ากลิ่นนั้นมาจากซากกวางที่ถูกยิงนั้นเอง ในที่สุด ก็ไม่มีใครเอาเนื้อนั้นไปได้เลยแม้แต่น้อย เพราะเหมือนจะเหม็นจนไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง
    ฝ่าย หวินเอง เมื่อเห็นเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นก็เริ่มตกใจกลัวจนใจเตลิดเปิดเปิง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “กวางที่ตัวเองล้มกับมือ กลายเป็นอุจจาระไปได้อย่างไร” สติวิปลาสขึ้นในบัดดลนั้นเอง วิ่งเตลิดเปิดเปิงกลับบ้านไม่ถูก
    เพื่อนบ้านกับภรรยาของหวิน เมื่อทราบดังนั้นจึงได้ไปบอกกล่าวขอโทษหลวงปู่ ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยว่า
    “หวินมันยิงกวางเสียแล้วล่ะ หลวงปู่”
    หลวงปู่ก็กล่าวว่า “คนยิงมันบ้า”
    นาย หวินก็บ้าไม่ได้สติตั้งแต่บัดนั้นจนทุกวันนี้ จะด้วยกรรมที่หวินทำลงไปหรืออะไร เราเองก็ไม่ทราบได้ แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับนายหวิน เพราะนายหวินไปยิงกวางของหลวงปู่ตาย

    ตอนท่านมรณะภาพนะครับ ฝนตกเป็นห่าฝนตลอด 7วัน จนถนนที่เป้นดินลูกรังเข้าวัด รถเข้าไปไม่ได้กันเลย แต่ทุกคนก็เดินเท้าเข้าไปวัดศาลาลอยกัน รถจากทั่วสารทิศ จอกเรียงรายกันยาวนับกิโล เยอะมากแม่บอก และที่น่าอัศจรรย์ถึงบารมีของท่านคือ บรรดาเต่าเล็กเต่าน้อย ที่ท่านเคยปล่อยสมัยท่านยังดำรงสังขารอยู่ ต่างเดินทางมาอย่างพร้อมเพรียงเป็นแถวไม่ขาดสาย เพื่อมากราบศพหลวงปุ่สงฆ์เป้นครั้งสุดท้าย เต่าบางตัวก็มาหยุดที่หน้าหีบศพหลวงปุ่สงฆ์และน้ำตาไหลอยู่เช่นนั้น เต่าบางตัวก็มาสิ้นใจใต้หีบศพ ของท่านตรงนั้นก็มีเป้นภาพที่ชาวชุมพรเล่าขานกันไม่รู้จบ จนทุกวันนี้ครับ สมกับเป็นพระเถราจารย์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์ และยังตรึงอยู่ในใจของชาวชุมพร และเล่าขานกันไปจนชั่วลูกชั่วหลาน


    เหรียญหลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร ปี2520 วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร


    สภาพสวย เหมือนท่านมาก พระเครื่องพ่อท่านสงฆ์พุทธคุณสูงมากไม่เป็นรองใคร เหรียญรุ่นแรกตอนนี้เหรียญสวยๆไม่แน่ว่าเงินหมื่นจะซื้อเข้าได้หรือเปล่า เพราะชั่วโมงนี้มีคนกว้านเก็บวัตถุมงคลของท่านกันมาก โดยเฉพาะรุ่นหลักหัวกะทิ เพราะคาดการณ์ว่าพระของท่านราคาต้องไปได้อีกไกล เก็บรุ่นนี้ไว้อนาคตสดใสครับ
    [FONT=&quot]

    *ปิดรายการนี้ครับ
    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3674.jpg
      SAM_3674.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      386
    • SAM_3676.jpg
      SAM_3676.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      290
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2016
  5. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร


    วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
    ต.บางลึก อ.เมือง จ.ชุมพร



    ๏ อัตโนประวัติ

    “หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร” เป็นพระมหาเถระผู้มีปฏิปทาจริยวัตรอันงดงามยิ่ง ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันโดยไม่ขาด ท่านเป็นพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในการเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐานอย่าง ยิ่งยวด รักในความสงบ สันโดษ มักน้อย พูดน้อย สำรวมระวังกาย วาจา ใจ และฉันอาหารเพียงวันละมื้อเดียว นับเป็นพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง

    หลวงปู่สงฆ์ มีนามเดิมว่า “สงฆ์” เป็นนามที่ชาวกรุงเทพมหานครเรียกชื่อท่านด้วยความเคารพเลื่อมใส นามสกุลไม่ทราบ เพราะท่านไม่ได้บอกใคร เกิดเมื่อวันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ.2433 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล อันเป็นแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นลูกชาวนาวิสัยใต้ บ้านแหลมนาว อ.สวี จ.ชุมพร โยมบิดาชื่อ นายแดง โยมมารดาชื่อ นางนุ้ย (ไม่ทราบนามสกุล)


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    ชีวิต วัยเด็ก ท่านชอบศิลปะทางฟ้อนรำ และหนังตะลุง เคยแสดงมโนราห์เป็นตัวร้าย ชอบตลก ครั้นเมื่ออายุ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรกับพระอธิการชื่น วัดสวี ต.ปากแพรก อ.สวี จ.ชุมพร อันเป็นวัดใกล้ๆ บ้านเกิดของท่าน เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่เพียง 2 ปี จึงลาสิกขา ออกไปช่วยเหลือโยมบิดา-โยมมารดาประกอบอาชีพทำงานท้องนาและไร่สวน

    เมื่อ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสวี จ.ชุมพร โดยมีพระครูธรรมลังกาวี เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดควน (ทึงทั่ง) อ.สวี จ.ชุมพร 1 พรรษา ในระหว่างพรรษาท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติมจนพอรู้แนวทางการดำเนิน ชีวิตในเพศพรหมจรรย์


    ๏ การออกเดินธุดงคกรรมฐาน

    หลัง จากออกพรรษาแล้ว ท่านมีความสนใจทางสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน แต่ในจังหวัดชุมพรไม่มีพระอาจารย์สอนทางด้านนี้เลย ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ ออกจากจังหวัดชุมพรมุ่งหาพระอาจารย์สอนกรรมฐานในถิ่นอื่นๆ โดยได้ออกเดินทางไปท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง เพราะท่านยังไม่รู้จักคำว่า “เดินธุดงค์” ในสมัยนั้น แต่หลวงปู่สงฆ์มีความแน่ใจว่า การเดินทางอยู่ในป่าดงพงไพรนี้จะต้องพบกับพระผู้ปฏิบัติบ้าง เพราะพระกรรมฐานชอบอยู่ถ้ำผาป่าดงมากกว่าอยู่วัดวาอาราม หลวงปู่สงฆ์รอดพ้นจากอันตรายต่างๆ รอบด้าน เช่น สัตว์ป่า ไข้ป่า อันดุร้ายไปได้ ก็เพราะแรงใจที่มุ่งปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อพบก็จะมอบตัวเป็นศิษย์ขอฝึกอบรมปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยเท่านั้น

    หลวงปู่สงฆ์ประสบความสมหวัง เมื่อได้ทราบว่า หลวงปู่รอด (หลวงพ่อทวดรอด) วัดโต๊ะแซ่ หรือวัดโต๊ะแซะ (วัดโฆสิต ในปัจจุบัน) เป็นพระอาจารย์ที่ทรงฌานสมาบัติสูงองค์หนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ท่านจึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ ขอฝึกอบรมปฏิบัติพระกรรมฐานอยู่กับหลวงปู่รอด 2 พรรษา และยังมีพระอาจารย์อีกองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อทวดเวียน ซึ่งพบกันขณะเดินธุดงค์

    ท่าน มีความพากเพียรอย่างคร่ำเคร่ง มีสมาธิแก่กล้าสามารถในทางปฏิบัติมากแล้ว หลวงปู่รอดได้ให้ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ตามป่าช้า ตามถ้ำผาป่าดงต่อไป เพื่อความรู้แจ้งในจิตใจ และจะได้ปรารภธรรมตามสติปัญญา หลวงปู่สงฆ์ท่านจึงมีความชำนาญในเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยก่อนโน้น ทางภาคใต้นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ครูบาอาจารย์ต่างๆ มักจะสนใจปฏิบัติสมถกรรมฐานแล้วเดินจิตเล่นฤทธิ์กันเสียโดยส่วนมาก สำนักเรียนวิชาต่างๆ ภายใน (จิต) สำนักเขาอ้อ มีชื่อเสียงมากในเรื่องนี้ แต่หลวงปู่สงฆ์ก็ดี หลวงปู่หมุนก็ดี ตามที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านสามารถหันเข้ามาดำเนินจิตสู่วิปัสสนากรรมฐานเสีย เพราะเป็นหนทางออกจากความยึดมั่นในอำนาจจิต อำนาจฌาน ได้อย่างสิ้นเชิง เป็นความจริงดังนี้

    ต่อมาหลวงปู่สงฆ์ท่านเกิดสติปัญญามองเห็นภัยใน วัฎสงสาร ที่มันไม่เที่ยงแท้แปรปรวนหมุนเวียนไม่รู้จบ ท่านเกิดเบื่อหน่าย คิดดำเนินชีวิตในป่าดงพงไพร ปฏิบัติจิตเร่งบำเพ็ญเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ การเดินธุดงคกรรมฐานของครูบาอาจารย์นั้น มิใช่ว่าจะเดินไปในที่แห่งหนึ่งแล้วไปในที่อีกแห่งหนึ่ง พึงรีบเดินเพื่อให้ถึงที่หมายเร็วๆ นั้นหาไม่ แต่การเดินธุดงค์ก็เหมือนการเดินแบบปกติหรือเดินจงกรมนั่นเอง ท่านเดินอย่างมีสติ คือ ขณะที่ก้าวเดินไปนั้น ท่านกำหนดคำบริกรรมหรือพิจารณาธรรมไปเรื่อยๆ โดยไม่นับก้าวแต่อย่างใด ท่านเดินด้วยสติ แม้อะไรจะเกิดขึ้นมาในช่วงนั้น ท่านก็รู้ชัด ไม่มีอาการของจิตแส่ส่ายไปมา เพราะสติเป็นกำลังอันสำคัญขณะบำเพ็ญความเพียร ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน

    หลวงปู่สงฆ์ท่านได้อาศัย ชีวิตอยู่ในป่าดงเป็นเวลาหลายปี อาศัยโคนไม้ ถ้ำผาต่างๆ เป็นที่พักผ่อน ไม่มีความอาลัยในชีวิตว่าจะสุขหรือทุกข์ ท่านมุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้ธรรม เมื่อรู้ธรรมแล้ว ท่านก็นำธรรมะนั้นมาสอนจิตสอนใจตนเอง ขัดเกลากิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นสมบัติประจำสันดานมนุษย์ ให้หลุดให้ลอกออกไปจากจิตใจ ชำระจิตใจด้วยธรรมเพื่อความสะอาดหมดจดแห่งชีวิต

    หลวงปู่สงฆ์ออก ธุดงค์ยาวนาน 7 ปีเศษ เป็นช่วงเวลาแห่งการทรมานกิเลสภายในจิตใจ ท่านไม่เคยออกจากป่าสู่เมืองเลย มีความอดทนค้นคว้าสัจธรรมความเป็นจริงของพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิตเป็นเดิมพันท่ามกลางป่าดง ท่านอาศัยภูเขาลำเนาไพรมาโดยตลอด การบิณฑบาตท่านโคจรไปในหมู่บ้านชาวป่า ได้บ้างอดบ้างตามอัตภาพ จนมีความพอดีแก่จิตใจ ปล่อยวางของหนักได้หมดสิ้นแล้วอย่างมั่นใจ ทำให้สภาพจิตสดใสแจ่มแจ้งในธรรมะ แต่สภาพสังขารดูออกจะเป็นฤาษีชีไพร หนวดเครารุงรัง ผมเผ้ายาว จีวรสบงขาดรุ่งริ่ง นั่งภาวนาในป่า ท่านออกเดินธุดงค์ตั้งแต่ภูเก็ตเข้าเขตประเทศพม่าด้านตะนาวศรี มะริด ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี เข้าเขตกาญจนบุรี สุพรรณบุรี แล้วมุ่งหน้ากลับสู่ชุมพรบ้านเกิด ปักกลดปฏิบัติธรรมแสวงหาความสันโดษใกล้บ้านศาลาลอย


    ๏ มาพำนักอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย

    คล้าย กับวาสนาท่านจะต้องมาอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย มีเรื่องเล่ากันว่า ขณะนั้นมี 2 แม่ลูกออกหาของป่าละแวกวัดร้าง มีนกแก้วบินส่งเสียงร้องว่า “หนักก็วางเสีย” เป็นสำเนียงนก และบินนำหน้า 2 แม่ลูก ไปจนถึงบริเวณที่พ่อหลวงสงฆ์ปักกลด นกก็บินหายไป 2 แม่ลูกเข้าไปกราบหลวงปู่สงฆ์ และนิมนต์ให้เข้าไปในหมู่บ้าน ซึ่งมีวัดร้างอยู่อีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันก็คือ
    “วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย” ต.บางลึก อ.เมือง จ.ชุมพร นั่นเอง

    ขณะ เดียวกัน กำนันเฉย ในหมู่บ้านนั้นเกณฑ์ชาวบ้านมาปลูกกุฏิเล็กๆ ถวายให้ท่านอยู่ 1 หลัง หลังจากนั้นมาความศรัทธาความเจริญก็บังเกิดแก่หมู่บ้านนี้มาโดยลำดับ ต่อมาหลวงปู่สงฆ์ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำและก่อสร้างวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 เป็นต้นมา จนเจริญรุ่งเรืองในปัจจุบัน

    [​IMG]
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย)


    ด้วย มีสมณะวิสัยรักในสันโดษ หลวงปู่สงฆ์ไม่ยอมรับตำแหน่งใดๆ ภายในวัด เป็นเพียงประธานสงฆ์ของพระหนุ่มเณรน้อยเท่านั้น ปัจจัยไทยทานอันเป็นสมบัติของสงฆ์ท่านไม่ข้องแวะ ท่านไม่สนใจ และไม่รู้ค่าของเงินด้วยว่ามีมากน้อยแค่ไหน เพราะท่านไม่จับและแตะต้อง ไม่ยินดีในเอกลาภ ชีวิตในสมมติสงฆ์มีเพียงปัจจัยสี่เท่านั้น ท่านมีอายุก็ยืนยาวถึง 5 แผ่นดิน ซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย) พระบิดาแห่งราชนาวีสยาม ทรงฝากพระองค์เป็นศิษย์ด้วยความเลื่อมใสในบารมีธรรม


    ๏ เทพเจ้าของชาวชุมพร “ผู้มีวาจาสิทธิ์”

    หลวง ปู่สงฆ์ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพระธรรมวินัย ปฏิบัติกับลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านทั่วไปอย่างคงเส้นคงวา มีเมตตาสูงต่อคนและสัพพะสัตว์ที่เดือดร้อน ท่านเมตตาช่วยเหลือแทบทุกรายที่ไปขอความช่วยเหลือตลอดเวลา เสมอต้นเสมอปลาย ท่านได้รับสมญานามว่าเป็น เทพเจ้าของชาวชุมพร “ผู้มีวาจาสิทธิ์” ดังนั้น บรรดาลูกศิษย์ลูกหาญาติโยมทั้งหลาย มักจะมาชุมนุมกันที่ศาลา ในช่วงเวลาเช้าก่อนไปทำงานเป็นประจำ เพื่อขอวาจาสิทธิ์ของท่าน ถ้าท่านกล่าวคำใดกับใครจะเป็นความจริงตามนั้นเสมอ

    ครั้งหนึ่งมีข้า ราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เดินทางเข้าไปนมัสการ พร้อมกับนำสัตว์เลี้ยงสี่เท้าไปถวายท่านด้วย หลวงปู่สงฆ์เห็นดังนั้น ได้สอบถามว่า “อ้าว...นั่นเอานกมาทำไมกัน”

    ข้าราชการผู้ใหญ่นั้นตอบว่า “ไม่ใช่นกหรอกครับ หลวงปู่”

    ว่า แล้วก็เปิดกรงออกเท่านั้น ปรากฏว่าทุกคนต่างตกตะลึงในความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น เพราะแทนที่จะเป็นสัตว์สี่เท้าที่จับใส่กรง แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่กลับกลายเป็นนกตัวหนึ่ง บินออกมาจากกรงหนีไปทันที บรรดาลูกศิษย์ลูกหาญาติโยมทั้งหลายในวัดต่างพูดกันว่า “นี่เป็นวาจาสิทธิ์ของหลวงปู่”

    ตาม ปกติ หลวงปู่สงฆ์ชอบใช้ยาเส้น (ยาฉุน) สีปากแล้วอมเอาไว้ ดังนั้น ยาเส้น (ยาฉุน) ที่ท่านใช้แล้วจะกลับกลายเป็นของวิเศษศักดิ์สิทธิ์ ครั้งหนึ่งได้มีชายคนหนึ่งมาหาหลวงปู่ ท่านได้มอบยาเส้นให้ไป เมื่อได้แล้วก็นำเก็บไปไว้ในตู้เซฟ รวมกับเอกสารและทรัพย์สินของมีค่ามากมาย หลังจากนั้นได้มีขโมยเข้าบ้านชายคนนี้ เมื่อขโมยเปิดตู้เซฟ ต้องเบือนหน้า เพราะภายในตู้เซฟไม่มีสมบัติทรัพย์มีค่าแม้แต่ชิ้นเดียว มีแต่ยาเส้นกองเต็มไปหมด ไม่มีของมีค่าเลย หัวขโมยจึงต้องหลบหนีกลับไปมือเปล่า

    แต่ทว่าหัวขโมยรายนี้ก็ไปไม่รอด โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวและเตรียมดำเนินคดี แต่ไม่มีของกลาง เพราะไม่ได้ทรัพย์สินกลับไป โดยบอกกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า “ในเซฟมีแต่ยาเส้น ใครจะเอาไปทำไม” ในความเป็นจริงยาเส้นในตู้เซฟนั้นมีเพียงก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือเท่านั้น

    หลวงปู่สงฆ์ท่านยังมีวิชารักษาโรคภัยไข้ เจ็บต่างๆ นานา เคยทำการรักษาโรคของผู้ป่วยทุกคน จนอาการทุเลาดีขึ้น ครั้งหนึ่งมีผู้ป่วยชาวนครศรีธรรมราชที่มีอาการปวดท้องมานาน 10 กว่าปี ไปรักษาที่ไหนตามโรงพยาบาลต่างๆ เสียเงินไปเป็นแสนบาท นายแพทย์เก่งขนาดไหนก็รักษามาแล้ว ที่ไหนว่าเก่งๆ พอเจอโรคบุคคลนี้เข้าไปรักษาไม่หาย ผู้ป่วยจึงได้หอบสังขารชนิดผอมติดกระดูก เดินทางมาหาหลวงปู่ด้วยความศรัทธา เพื่อขอให้หลวงปู่รักษาโรค โดยได้นำน้ำปลาไปให้ท่านเพ่งกระแสจิตนานกว่า 10 นาที

    หลวงปู่นำน้ำ ปลานั้นมาให้และบอกว่าให้กินน้ำปลานี้แทนยา ด้วยความศรัทธาในองค์หลวงปู่ ผู้ป่วยได้เปิดขวดน้ำปลาดื่มเข้าไป แม้ว่าน้ำปลาจะมีรสเค็ม แต่เวลาน้ำปลาผ่านลำคอไปแล้ว รู้สึกเย็นๆ พอไปถึงท้อง อาการปวดเสียดนั้นหายเป็นปลิดทิ้งทันที และไม่เกิดอาการปวดในภายหลังอีกแต่อย่างใด และมีอาการยิ้มแย้มทันที ผู้ป่วยคนนั้นก็ล้มลงกราบหลวงปู่สงฆ์ด้วยความศรัทธา

    ๏ กิจวัตรปฏิบัติ

    เวลา 04.00 น. ไหว้พระทำวัตรเช้า

    เวลา 06.10 น. ออกจากห้องเพื่อเตรียมที่จะออกบิณฑบาต ในระหว่างนั้นสามเณรอุปัฏฐากจะขึ้นปฏิบัติ และญาติโยมมากราบขอพร

    เวลา 07.00 น. ออกบิณฑบาต เมื่อกลับมาแล้วท่านเข้าห้องไหว้พระอีก

    เวลา 09.00 น. ลงหอฉันเพื่อฉันภัตตาหาร เมื่อฉันภัตตาหารและให้พรเรียบร้อยแล้ว ท่านจะพูดคุยกับญาติโยมที่มาทำบุญ หลังจากนั้นท่านกลับขึ้นกุฏิและต้อนรับพุทธศาสนิกชนที่มาจากใกล้และไกลพอ สมควร แล้วเข้าห้องพักผ่อน

    เวลา 12.30 น. ออกจากห้องเพื่อต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มาขอพร

    เวลา 14.00 น. ท่านสรงน้ำแล้วเข้าห้องไหว้พระสวดมนต์

    เวลา 16.00 น. ออกจากห้องเพื่อต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มาขอพร

    เวลา 18.00 น. เข้าห้องทำกิจภาวนา และให้ภิกษุสามเณรทั้งหมดต้องทำกิจภาวนาด้วยจนถึงเวลา 20.00 น.

    เวลา 20.00 น. เสร็จจากทำกิจภาวนาแล้ว ออกจากห้องให้ภิกษุสามเณรขึ้นปรนนิบัติ และเป็นโอกาสที่ท่านให้โอวาทแนะนำสั่งสอน

    เวลา 22.00 น. เข้าห้องพักผ่อน

    เวลา 24.00 น. ล่วงจากนี้ไปแล้วท่านจะทำกิจภาวนาไปจนถึงเวลา 04.00 น.

    * อนึ่ง ถ้าเป็นวันพระกลางเดือนและสิ้นเดือน เวลา 13.00 น. ท่านจะลงอุโบสถพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อสวดและฟังพระปาฎิโมกข์โดยมิได้ขาด


    ๏ การมรณภาพ

    เมื่อ ย่างเข้าสู่วัยชรา สังขารมนุษย์จึงกลายเป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน หลวงปู่สงฆ์ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2462 จนถึงวันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2526 ตรงกับแรม 9 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน ก่อนหน้านี้หนึ่งวันหลวงปู่ได้ให้คนไป ตามหลวงพ่อคงจากวัดวิสัย ซึ่งเป็นหลานชายของท่านให้มาพบ และกล่าวว่า เมื่อท่านสิ้นขอมอบบาตร, ไม้เท้า และย่ามให้แก่หลวงพ่อคงนำไปเก็บรักษาไว้ด้วย

    วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2526 ตอนเช้าหลวงปู่ท่านยังรู้สึกตัว มีสายน้ำเกลือติดอยู่ที่แขนท่าน นอนสงบอยู่บนเตียงที่กุฏิ เวลาประมาณ 10.00 น. เศษๆ ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดที่มาปรนนิบัติหลวงปู่ เห็นท่านนอนนิ่ง แต่ทว่าน้ำเกลือไหลเปรอะออกมาจึงได้ไปตามหมอมาดู ปรากฏว่าหลวงปู่ท่านได้จากไปอย่างสงบเสียแล้ว น้ำไม่ได้เข้าสู่ร่างกายเพราะลมหายของหลวงปู่หยุด น้ำเกลือจึงไหลล้นออกมาไม่อาจเข้าสู่ร่างกาย หลวงปู่จากไปอย่างสงบไม่ทราบเวลาที่แน่นอน เพราะท่านนอนนิ่งอยู่อย่างนั้นไม่กระวนกระวายจนผิดสังเกต บรรยากาศ ณ เวลานั้นช่างเงียบเชียบ แม้แต่สายลมยังหยุดนิ่ง ใบไม้ไม่ไหวติง ไม่มีแม้แต่เสียงนก เสียงการ้องเหมือนปกติเช่นเคย แสงแดดส่องประกายเหลืองจ้าผิดปกติจากทุกๆ วัน ทุกสรรพเสียงเงียบเชียบ มีเพียงแต่เสียงฆ้องกลองดังระงมไปทั่ว ซึ่งเป็นการบอกเหตุให้ชาวบ้านได้รับรู้ บ้างต่างก็พากันงุนงงเต็มไปด้วยความสงสัย สับสน มีบ้างที่รู้ถึงข่าวการอาพาธของหลวงปู่ก็เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ถึงลางบอกเหตุของการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่

    ดั้งนั้น ทุกคนในบริเวณที่รัศมีเสียงฆ้องกลองสามารถดังถึง ก็รีบมาที่วัดเป็นการด่วน บางคนทิ้งจอบทิ้งเสียมไว้กลางทุ่งนาโดยมิได้นึกถึงสิ่งใด เพราะตอนนี้ทุกคนต่างต้องการมาให้ถึงวัดโดยเร็ว เมื่อมาถึงในบริเวณวัด พอทราบว่าหลวงปู่ท่านได้จากไปเสียแล้ว สร้างความอาลัยเศร้าโศกเสียใจเป็นยิ่งนัก บางคนถึงกับร้องไห้ฟูมฟาย บางคนน้ำตาไหลโดยไม่รู้ตัว ด้วยคิดว่าตอนนี้ที่พึ่งทางใจได้จากไปเสียแล้ว ต่อไปนี้จะพึ่งใครเพราะตอนสมัยหลวงปู่ท่านยังอยู่ ไม่ว่าจะเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเดือดร้อนด้วยเรื่องอันใด ก็จะได้หลวงปู่เป็นที่พึ่งปัดเป่าทุกข์ร้อนต่างๆ ให้สิ้นไป ต่อจากนี้ไปจะหันหาไปพึ่งใครได้อีกเล่า ยิ่งทำให้บรรยากาศในบริเวณวัดวังเวงยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อบรรดาศิษย์ทั้งหลายที่อยู่ไกลออกไปทราบข่าวคราว ต่างก็พากันมาที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยอย่างเนืองแน่นจากทั่วทุกสารทิศ เพื่อกราบนมัสการสรีระและบำเพ็ญกุศลถวายแด่หลวงปู่สงฆ์

    ตั้งแต่เช้า จรดค่ำคืน ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยจะเนืองแน่นไปด้วยผู้คน บ้างต้องจอดรถยนต์เดินกันเป็นระยะทาง 2-3 กิโลเมตร ในระหว่างงานมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ หาใช่เพียงแต่ผู้คนไม่ที่มานมัสการสรีระของหลวงปู่ แม้แต่เต่าที่ท่านได้เคยเลี้ยงและได้ปล่อยไปแล้ว ยังกลับมาที่วัดเสมือนว่ามันจะทราบว่าหลวงปู่ได้ละสังขารแล้ว

    ในวัน ที่เต่าปรากฏนั้นเกิดพายุหมุน เล่นเอาสังกะสีหลังคาโรงที่สร้างเอาไว้สำหรับรองรับคนที่มาฟังเทศน์ ฟังการสวดพระอภิธรรม กระจัดกระจาย สังกะสีปลิวว่อนแต่ไม่มีใครได้รับอันตรายแต่อย่างใด เต่าตัวนี้มีขนาดประมาณ 15-20 นิ้วเห็นจะได้ เมื่อมาถึงที่ศาลามีคนอุ้มเอาขึ้นไปวางไว้ตรงหน้าหีบศพของหลวงปู่ เมื่อวางเสร็จเต่าตัวนี้ก็ทำหัวผงกๆ จากนั้นก็นิ่ง มีคนเห็นเต่าน้ำตาไหลอาบแก้มทั้งสอง ข่าวนี้กระจายไปทั่วเมืองชุมพร คนก็เลยมาดูเต่ากันมากขึ้น สิ่งที่น่าประหลาด คือ เมื่อนำเต่าออกมาถ่ายรูปหรือจะนำออกมาวางในลักษณะใดก็ตาม พอวางเสร็จซักครู่เต่าก็จะหันหัวกลับไปที่หีบศพทุกครั้ง แล้วกลับไปนอนนิ่งใต้หีบศพของหลวงปู่

    ความแปลกยังมีอีก จนกระทั่งถึงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2526 จากจำนวนเต่า 1 ตัวแรก กลายเป็น 9 ตัว เพราะมีเต่าเพิ่มมาอีก บางตัวมาปรากฏอยู่หน้าลานวัด บางตัวชาวบ้านจับเอามาส่งที่วัด เพราะเขาเล่าว่าตอนขณะที่พวกเขาจะเดินทางมานมัสการหลวงปู่ เต่าได้ออกมาขวางหน้ารถ คล้ายกับว่าจะให้พามันมานมัสการหลวงปู่ด้วยนั่นเอง ที่เป็นอย่างนี้เพราะเหตุว่าเมื่อตอนหลวงปู่ยังอยู่นั้นหากชาวบ้านพบเต่า คลานอยู่หรือว่าจับได้ ก็จะนำมาถวายหลวงปู่ที่วัด ท่านก็จะเอาสีเขียนทาลงไป เขียนชื่อท่านบ้าง เขียนชื่อวัดบ้าง บางตัวก็จะมีอักขระขอม เป็นที่รู้กันว่านี่คือเต่าของหลวงปู่ เป็นเต่าพันธุ์เต่าหก มีลักษณะ 6 ขา เป็นเต่าพันธุ์เฉพาะถิ่นในแถบเมืองชุมพรนี้ บางตัวหากจะยกต้องใช้ผู้ชายกำลังดีๆ ถึง 4 คนจึงจะยกได้

    มีเรื่อง แปลกอีกว่า หลวงปู่ไปเข้าฝันชายคนหนึ่งแถวบ้านสามแก้ว ว่าให้ไปช่วยลูกของท่านที่ตกบ่อด้วย ชายคนนั้นไปดูตามบ่อต่างๆ ก็พบเต่ากำลังตะเกียกตะกายจะขึ้นจากบ่อมาให้ได้ เขาก็ช่วยมาจากบ่อ พอดูที่กระดองเต่าก็เห็นอักษรเขียนว่า ว.ศ.ล. คือ เป็นตัวย่อของวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยนั่นเอง ก็เลยนำมาที่วัด มีชาวบ้านที่ได้มานมัสการหลวงปู่ เมื่อมาพบเห็นเต่าก็นำไปตีเป็นตัวเลข นำไปแทงหวย ในงวดวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2526 ถูกกันเกือบทั้งเมืองชุมพร ข่าวเรื่องเต่าของหลวงปู่เป็นที่เกรียวกราวมากในจังหวัดชุมพร

    หลวง ปู่สงฆ์ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2462 จนถึงวันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2526 ตรงกับแรม 9 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน เวลาประมาณ 10.00 น. เศษๆ หลวงปู่สงฆ์ได้มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุได้ 94 ปี 3 เดือน 2 วัน รวมเวลาที่ท่านพำนักอยู่ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยทั้งสิ้น 64 ปี

    ทางคณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพของ “หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร” ตั้งแต่วันที่ 2-16 สิงหาคม พ.ศ.2526 และได้ทำพิธีปิดศพในคืนวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2526 หลังจากนั้นทุกๆ คืนจะมีการสวดพระอภิธรรมโดยพระภิกษุสงฆ์ภายในวัด และโดยเฉพาะในวันอังคารซึ่งกับวันคล้ายวันเกิดและวันมรณภาพของหลวงปู่ท่าน จะมีการสวดพิเศษคือการสวดในบทอานัตลักขณสูตรและอาทิตปริยายสูตร สลับกันไปทุกๆ วันอังคารของแต่ละสัปดาห์ และจะมีการสวดครบรอบวันมรณภาพในแต่ละปี ซึ่งตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม ของทุกๆ ปี โดยจะมีการนิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดชุมพรมาสวดเป็นประจำทุกๆ ปี

    ปัจจุบัน สรีระสังขารของหลวงปู่ได้ตั้งประดิษฐานอยู่บนศาลา 100 ปี ศาลาธรรมสังเวช วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เพื่อให้คณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปได้กราบสักการบูชา แม้ท่านจะมรณภาพรูปกายแตกดับ แต่ท่านยังคงเป็นเทพเจ้าของชาวชุมพรตลอดไป

    หลวง ปู่สงฆ์ จนฺทสโร เป็นพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีจริยวัตรอันงดงาม ปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่ต้นจนหลวงปู่มรณภาพ อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันโดยไม่ขาด ด้วยปฏิปทานี้จึงเป็นที่เคารพศรัทธาในบารมีของหลวงปู่ ซึ่งกิจวัตรของหลวงปู่เป็นกิจวัตรที่เคร่งครัดยากที่พระสงฆ์รูปอื่นจะ ปฏิบัติตามได้

    [​IMG]
    สรีระสังขารของหลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ประดิษฐานอยู่บนศาลา 100 ปี ศาลาธรรมสังเวช วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ต.บางลึก อ.เมือง จ.ชุมพร
     
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา
    พระราชอุดมมงคล

    (หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ)

    วัดวังก์วิเวการาม
    ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี



    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระราชอุดมมงคล” หรือ “พระมหาอุตตมรัมโภ ภิกขุ” หรือ “อุตตมรัมโภภิกขุ” หรือที่สาธุชนรู้จักกันทั่วไปในนามของ “หลวงพ่ออุตตมะ” พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งยังเป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวมอญ (ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า) ผู้มีบทบาทเป็นผู้นำคนสำคัญของชาวมอญพลัดถิ่นที่อำเภอสังขละบุรี จนได้สมญานามว่าเป็น “เทพเจ้าของชาวมอญ”

    หลวงพ่ออุตตมะ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ จุลศักราช 1272 (พุทธศักราช 2453) ณ หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมืองมอญ ประเทศพม่า โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายโง และนางทองสุข ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา-ทำไร่ และยาสมุนไพรแผนโบราณที่มีชื่อเสียง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 12 คน เป็นชาย 7 คน หญิง 5 คน ท่านเป็นบุตรคนโต เนื่องจากเป็นทารกเพศชายเกิดในวันอาทิตย์ โยมบิดา-โยมมารดาจึงตั้งชื่อให้ว่า “เอหม่อง”


    ๏ ชีวิตปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น

    ปี พ.ศ. 2462 ขณะเด็กชายเอหม่องมีอายุได้ 9 ขวบ เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน บิดามารดาจึงพาเด็กชายเอหม่องไปฝากกับพระอาจารย์นันสาโร แห่งวัดโมกกะเนียงผู้เป็นลุง เพื่อให้ปรนนิบัติรับใช้และศึกษาพระธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองจากโรคภัย เด็กชายเอหม่องเป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษาอย่างยิ่ง จนสามารถสอบได้ชนะเด็กในวัยเดียวกันเป็นประจำทุกๆ ปี

    ปี พ.ศ. 2467 เด็กชายเอหม่องอายุได้ 14 ปี เกิดอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ต้องสูญเสียน้องชายถึง 5 คน เด็กชายเอหม่องจึงขอออกจากวัดโนกกะเนียงเพื่อมาช่วยเหลือทางบ้านด้วยความ ขยันขันแข็ง จนกระทั่งอายุ 18 ปี เจ้าอาวาสวัดเกลาสะได้ไปขอกับบิดามารดาให้เด็กชายเอหม่องไปบรรพชาเป็นสามเณร


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    หลวงพ่ออุตตมะ บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเกลาสะ ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมื่อจุลศักราช 1291 (พ.ศ. 2472) โดยมีพระเกตุมาลา เป็นพระอุปัชฌาย์ ปีนั้นเอง หลวงพ่อศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี อีกปีหนึ่งต่อมาสอบได้นักธรรมโท แต่ไม่นาน หลวงพ่อก็ตัดสินใจสึกออกมาเพราะเห็นว่าไม่มีใครช่วยบิดามารดาทำนา

    จนกระทั่งหม่องเอ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของบิดา ได้มาอาศัยอยู่ด้วย หลังจากที่บิดามารดาของหม่องเอเสียชีวิตจนหมดสิ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำนา และมีญาติซึ่งไว้วางใจได้มาคอยดูแลบิดามารดา หลวงพ่ออุตตมะจึงตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ โดยมีพระเกตุมาลา วัดเกลาสะ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระนันทสาโร วัดโมกกะเนียง เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระวิสารทะ วัดเจ้าคะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้รับฉายาว่า “อุตตมรัมโภ” แปลว่า “ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด” โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต

    ด้วยความพากเพียรและใฝ่ใจในการศึกษาพระธรรม ในปี พ.ศ. 2474 หลวงพ่ออุตตมะสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ขณะนั้นบ้านเมืองกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องอพยพหนีสงคราม หลวงพ่อจึงเดินทางกลับวัดเกลาสะ และได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีแก่ภิกษุสามเณร

    ต่อมาท่านก็ลาพระอุปัชฌาย์ เดินทางไปศึกษาวิปัสนากรรมฐานที่วัดตองจอย จังหวัดมะละแหม่ง และวัดป่าเลไลย์ จังหวัดมัณฑะเลย์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจน วิชาไสยศาสตร์ กฤตยาคม และพุทธาคมเป็นอย่างดี ปี พ.ศ. 2486 หลวงพ่อจึงเริ่มออกเดินธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์
    [​IMG]
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


    ๏ เดินทางเข้ามาประเทศไทย

    หลวงพ่ออุตตมะออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ในประเทศพม่า และเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างนั้นได้พบกับพระธุดงค์หลายรูป อาทิ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร ฯลฯ ต่อมาทราบข่าวว่าพระเกตุมาลา พระอุปัชฌาย์กำลังอาพาธ จึงรีบเดินทางกลับพม่า จนกระทั่งพระเกตุมาลามรณภาพ ท่านก็ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ หลวงพ่อเดินทางเข้ามาทางตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2492

    และใน ปี พ.ศ. 2492 อันเป็นพรรษาที่ 16 ของพระมหาอุตตมะรัมโภ พายุไต้ฝุ่นพัดจากทะเลอันดามัน สร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะบ้านโมกกะเนียง และเกลาสะ มีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บ้านเรือนเหลือเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านลำบากยากแค้นแสนสาหัส ข้าวของอาหารการกินขาดแคลนกันทั่วหน้า

    นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านยังต้องประสบเคราะห์กรรมจากปัญหาความขัดแย้งในทางการเมืองอีกด้วย เนื่องจากการปะทะและต่อสู้ระหว่างกองทหารของรัฐบาลพม่า กับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติของมอญ กะเหรี่ยง ยะไข่ และไทยใหญ่ อีกทั้ง กองกำลังกู้ชาติบางกลุ่มแปรตัวเองไปเป็นโจรปล้นสดมภ์ชาวบ้าน

    ด้วยความเบื่อหน่ายเรื่องการรบราฆ่าฟันกันระหว่างชนเผ่า หลวงพ่ออุตตมะจึงตัดสินใจจากบ้านเกิด มุ่งหน้าสู่ดินแดนประเทศไทย เป้าหมายที่แท้จริงของท่านในเวลานั้นคือเขาพระวิหาร ปรากฏว่าเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างเสียใจ ไม่อยากให้ท่านจากไป พากันร้องไห้ระงมด้วยความอาลัย ซึ่งท่านได้ชี้แจงการออกเดินทางไปธุดงค์ของท่านว่า “การไปของเราจะเป็นปรหิต เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น”

    หลวงพ่อเดินทางเข้าเมืองไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2492-2493 ทางหมู่บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก ชายแดนเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยสองคน ซึ่งมีเชื้อสายมอญพระประแดงที่มาทำเหมืองแร่ที่บ้านอีต่อง ทั้งคู่ได้จัดบ้านพักหลังหนึ่งให้เป็นกุฏิชั่วคราวของหลวงพ่อ มีชาวเหมืองจำนวนมากมาทำบุญกับหลวงพ่อ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีวัดและพระสงฆ์เลย

    [​IMG]
    หลวงพ่ออุตตมะ


    ๏ เป็นพระในสังกัดศาสนจักรของไทย

    เดิมทีนั้น คนไทยเชื้อสายมอญพระประแดงทั้งสอง ต้องการสร้างกุฏิถวายหลวงพ่ออุตตมะให้จำพรรษาอยู่ที่บ้านอีต่อง แต่หลวงพ่อไม่รับ เนื่องจากเกรงว่าจะกลายเป็นพระเถื่อนเข้าเมืองไทย ท่านจึงต้องการไปขออนุญาตจากพระผู้ใหญ่ที่ปกครองเขตปิล็อกเสียก่อน ทั้งสองจึงพาหลวงพ่ออุตตมะ มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี กับหลวงพ่อไตแนม ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงและอุปสมบทที่วัดเกลาสะเช่นเเดียวกับหลวงพ่ออุตตมะ จึงเป็นก้าวแรกที่หลวงพ่ออุตตมะได้เป็นพระในสังกัดศาสนจักรของไทยอย่างถูก ต้อง

    ปี พ.ศ. 2494 ขณะจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี หลวงพ่ออุตตมะมีโอกาสไปสักการะพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ทำให้หลวงพ่อได้พบชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่มาจากเมืองต่างๆ เช่น แม่กลอง สมุทรสาคร มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้นิมนต์หลวงพ่อ ไปจำพรรษาที่วัดบางปลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

    หลังจากเดินทางกลับจากวัดบางปลา มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน หลวงพ่อไตแนมขอให้หลวงพ่ออุตตมะ ไปจำพรรษาที่วัดปรังกาสีซึ่งเป็นวัดร้าง บริเวณวัดปรังกาสีมีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และบริเวณนั้นไม่มีพระหรือวัดอื่นเลย หลวงพ่อร่วมกับกำนันชาวกะเหรี่ยงนิมนต์พระกะเหรี่ยง จากตลอดแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อยได้ 42 รูป มาอยู่ปริวาสที่วัดปรังกาสี 9 วัน 9 คืน หลังจากนั้นก็สร้างกุฏิและเจดีย์ขึ้น หลวงพ่ออุตตมะนิมนต์พระกะเหรี่ยงมาจำพรรษาที่วัด 3 รูป ท่านสอนภาษามอญแก่พระทั้ง 3 รูปนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนธรรมะต่อไป

    หลวงพ่ออุตตมะจำพรรษาอยู่วัดปรังกาสีหนึ่งพรรษา ต่อมาผู้ใหญ่ทุม จากท่าขนุนมานิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยมหลวงปู่แสง ที่วัดเกาะ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดโมกกะเนียง เกลาสะ และมะละแหม่งมาก่อน และในพรรษานั้น หลวงพ่ออุตตมะได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ ตามคำนิมนต์ของหลวงปู่แสง

    ปี พ.ศ. 2494 ขณะที่หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ มีคนมาแจ้งข่าวแก่หลวงพ่อว่า ที่กิ่งอำเภอสังขละบุรีมีชาวมอญจากบ้านเดิมของหลวงพ่ออพยพเข้าเมืองไทย ทางทางบีคลี่เป็นจำนวนมาก และต้องการนิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยม เมื่อหลวงพ่ออุตตมะออกจากจำพรรษา แล้วเดินทางกลับไปยังอำเภอทองผาภูมิ และไปยังอำเภอสังขละบุรี และพบกับคนมอญทั้งหมดที่มาจากโมกกะเนียง เจ้าคะเล และมะละแหม่ง บ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อจึงพาชาวมอญเหล่านี้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านวังกะล่าง นับเป็นจุดกำเนิดแรกเริ่มของชุมชนชาวมอญในสังขละบุรี
    [​IMG]
    หลวงพ่ออุตตมะ


    ๏ เทพเจ้าของชาวมอญ

    หลวงพ่ออุตตมะย้ำกับทุกคนที่มาหาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นทหารไทย พม่า กะเหรี่ยง หรือว่ามอญ จะไม่มีการพูดถึงการเมือง “เรา คิดอย่างเดียว จะทำอย่างไรให้วัดเป็นศูนย์กลางของศาสนา ดึงคนให้เข้าใจธรรม สนใจพุทธศาสนาให้มากๆ เพราะวัดเป็นของกลางของทุกคนทุกศาสนา”

    จากที่ช่วยเหลือทุกสิ่งให้ทุกคน จนเป็นที่รู้กันว่าหากใครมีปัญหาเรื่องใด เมื่อบอกกับหลวงพ่ออุตตมะแล้ว ทุกอย่างจะสำเร็จลุล่วงโดยดี คล้ายกับหลวงพ่อสามารถบันดาลทุกสิ่งได้ดั่งองค์เทพเจ้า กระทั่งมีบรรดาชาวมอญอพยพข้ามแดนมาอาศัยอยู่กับหลวงพ่อเป็นจำนวนมากกว่า 20,000 คน ในปัจจุบัน “หลวงพ่ออุตตมะ” เทพเจ้าแห่งชาวมอญคือสิ่งที่ทุกคนระลึกถึง

    และอีกสิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อทิ้งไว้ให้กับบรรดาลูกศิษย์ชาวมอญ คือการได้สัญชาติไทยของชาวมอญพลัดถิ่น ด้วยบารมีของหลวงพ่อ บรรดาลูกศิษย์ตามกระทรวงต่างๆ ช่วยดำเนินการกระทั่งมีชาวมอญชุดแรกได้สัญชาติไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 2,378 คน ทุกคนได้รับนามสกุลที่หลวงพ่อตั้งให้กว่า 200 นามสกุล

    นามสกุลส่วนมากขึ้นต้นด้วยชื่อของหลวงพ่อเอง เช่น อุตตมะบุญคุณ อุตตมะอำไพ อุตตมะไพศาล หรือนามสกุลที่มีคำว่าหงษ์ หรือหงสา เพื่อระลึกถึงเมืองหงสาวดี นครหลวงของชาวมอญ เช่น สุทธิหงสา สิทธิหงสา ปุณณะหงสา

    หลวงพ่ออุตตมะ เป็นพระเกจิอาจารย์ ที่มีผู้ศรัทธาเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทย มอญ พม่า รวมทั้งชาวกะเหรี่ยง เป็นพระนักปฏิบัติธรรมชั้นสูง ยึดถือแนวทางปฏิบัติโดยการฉันอาหารวันละ 1 มื้อ เพียงวันละ 32 คำ ตามสังขารของร่างกาย หลวงพ่ออุตตมะฉันเพื่อให้อยู่ ไม่แตะต้องเงินทองหรือปัจจัยใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้แล้วท่านยังได้รับความเลื่อมใสจากพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า, สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงศรัทธาหลวงพ่ออุตตมะมาก และจะทรงนิมนต์หลวงพ่ออุตตมะ ไปประกอบพิธีต่างๆ บ่อยครั้ง

    [​IMG]
    ลูกประคำหยก


    ๏ การสร้างวัตถุมงคล

    วัตถุมงคลของหลวงพ่ออุตตมะ ที่ประชาชนที่นิยมนำไปบูชาคือ เหรียญหลวงพ่ออุตตมะ และลูกประคำ ใครที่ได้สร้อยลูกประคำของท่านมาแล้ว ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักในด้านของความอยู่ยงคงกระพัน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงฟันแทงไม่เข้า แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่จะคอยปกป้องคุ้มภัยอันตรายต่างๆ ที่จะเข้ามาสู่ตัวผู้สวมใส่หรือครอบครอง

    [​IMG]

    ๏ กำเนิดวัดหลวงพ่ออุตตมะ

    ในปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านที่เป็นชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญได้พร้อมใจกันสร้างศาลาวัดขึ้น และสร้างเสร็จในเดือน 6 ของปีนั้นเอง แต่เนื่องจากยังมิได้มีการขออนุญาตจากกรมการศาสนา วัดที่สร้างเสร็จจึงมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า “วัดหลวงพ่ออุตตมะ” ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า “สามประสบ” เพราะมีแม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี

    ในปี พ.ศ. 2505 เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาเป็นที่เรียบร้อย หลวงพ่ออุตตมะจึงได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์ตามชื่ออำเภอเก่า (อำเภอวังกะ) ว่า “วัดวังก์วิเวการาม”

    ในปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อเริ่มสร้างพระอุโบสถวัดวังก์วิเวการามโดยปั้นอิฐเอง

    ในปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อได้เริ่มสร้างเจดีย์จำลองแบบจากเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2529 เจดีย์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก มีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็น กระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร ในการนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเปิดเจดีย์พุทธคยา ณ วัดวังก์วิเวการาม

    หลวงพ่อยังริเริ่มสร้างสะพานมอญ เรียกอีกชื่อว่า สะพานอุตตมานุสรณ์ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ มีความยาวถึง 850 เมตร สร้างข้ามลำน้ำซองกาเลีย ใช้แรงงานคนประมาณ 1,000 คน ในการก่อสร้าง ใช้เวลาถึง 10 ปี โดยสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 มาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 ถือเป็นความอุตสาหะอย่างมากในการก่อสร้าง

    สะพานนี้เกิดขึ้นมาจากแรงบันดาลใจของหลวงพ่อที่ต้องการให้พี่น้องชาวไทยและ รามัญติดต่อกันได้เหมือนเดิม ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนเขาแหลม หรือเขื่อนวชิราลงกรณเมื่อ 30 ปีที่แล้ว บริเวณแห่งนี้จึงเป็นจุดชมวิวทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณที่สวยงามมากที่สุด

    และยังทำให้อำเภอสังขละบุรีที่มีมาแต่อดีต กลายเป็นเมืองบาดาลจมอยู่ใต้น้ำมากว่า 30 ปี บัดนี้ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของที่นี่ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือหางยาวไปชม ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีก็จะถึงเมืองบาดาล

    [​IMG]

    ๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์

    ปี พ.ศ. 2504 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม

    ปี พ.ศ. 2505 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณาราม

    ปี พ.ศ. 2509 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ปี พ.ศ. 2511 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    ปี พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอุดมสิทธาจารย์ ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นโท

    ปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอก

    ปี พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอุดมสังวรเถร

    ปี พ.ศ. 2534 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชอุดมมงคล พหลนราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี


    ๏ พระธรรมเทศนา

    “.....ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังสิ่งซึ่งยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งใดล่วงพ้นไปแล้ว สิ่งนั้นอันเราละเสียแล้ว อนึ่ง สิ่งใดซึ่งไม่มาถึงเล่าสิ่งนั้นก็ยังไม่มาถึง เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา จึงไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ก็ผู้มีปัญญาได้มาเห็นธรรมเป็นปัจจุบันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าแจ้งชัดอยู่ในที่ นั้นๆ ใครจะพึงรู้ว่า ความตายจักไม่มีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าสู้ความหน่วงเหนี่ยว ความผูกพันด้วยมฤตยู ความตาย ซึ่งมีเสนาใหญ่นั้นมิได้เลย ฉะนั้น ความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน อันผู้มีปัญญาควรทำเสียในวันนี้เลยทีเดียว ไม่มีความเกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้ ผู้นั้นแลเป็นผู้มีราตรีเดียวเจริญ ดังนี้.....”
    ๏ ผลงานด้านสาธารณประโยชน์

    [​IMG]
    วัดวังก์วิเวการาม

    [​IMG]
    เจดีย์พุทธคยา ณ วัดวังก์วิเวการาม ที่จำลองมาจากประเทศอินเดีย

    [​IMG]
    กุฏิสงฆ์วัดวังก์วิเวการาม

    [​IMG]
    พระอุโบสถ (หลังเก่า) ที่จมอยู่ใต้น้ำ

    [​IMG]
    ซุ้มประตูของวัดวังก์วิเวการามที่ยังคงอยู่

    [​IMG]
    หอระฆังกลางน้ำ

    [​IMG]
    [​IMG]
    สะพานอุตตมานุสรณ์ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
    มีความยาวถึง 850 เมตร ซึ่งสร้างด้วยแรงศรัทธาของชาวมอญ



    ๏ การมรณภาพ

    หลวงพ่ออุตตมะ เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เวลา 11.44 น. ในฐานะคนไข้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยอาการป่วยเป็นโรคไต โรคหัวใจ โรคปอด อาการของเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง ท่านไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถลืมตาเองได้เป็นเวลากว่า 1 ปี

    จนกระทั่งเกิดอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง และได้มรณภาพลงจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากภาวะปอดอักเสบ ที่ห้องไอซียู หออภิบาลผู้ป่วย ตึกอัษฎางค์ ชั้น 3 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 07.22 น. ของวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถือเป็นการสูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญครั้งใหญ่ของเมืองไทย สิริอายุรวม 97 พรรษา 74

    [​IMG]
    ชาวมอญมารดน้ำศพหลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งตั้งศพ ณ วัดวังก์วิเวการาม

    [​IMG]
    ศพของหลวงพ่ออุตตมะในปราสาทเก้ายอด ณ วัดวังก์วิเวการาม
     
  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]

    พระอริยะ-พระอรหันต์
    โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

    คำที่ฮิตขึ้นปากชาวพุทธไทยในปัจจุบัน คงไม่มีคำไหนเกินคำว่า “อริยะ” และคำว่า “อรหันต์” เป็นแน่แท้ เพราะไปไหนก็ได้ยินคนพูดถึงพระอาจารย์รูปนั้นรูปนี้ ว่าเป็นอริยะบ้าง เป็นอรหันต์บ้าง ครั้นถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าเขาเป็นจริง ก็ได้รับคำตอบว่าไม่รู้สิ เห็นคนเขาว่ากัน

    “เขาว่า” นี่แหละร้ายนัก ไม่รู้เขาไปไหนว่ากันให้มั่วไปหมด และผู้ที่เขาว่าเป็นอริยะ อรหันต์ ก็มักจะเป็นผู้มีปฏิปทาแปลกๆ บางคนก็มีข่าวว่าเป็นอลัชชีทุศีลเสียด้วย แต่ก็ได้รับเรียกขานว่าเป็นอริยะ หรืออรหันต์

    ก็ “อรหันต์ตั้ง” (คือหน้าม้าตั้งให้เอง) ทั้งนั้นแหละครับ

    บังเอิญได้หนังสือมาเล่มหนึ่ง แต่งโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ตั้งแต่ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปิฎก ชื่อ “เมืองไทยจะวิกฤติ ถ้าคนไทยมีศรัทธาวิปริต” ฟังแต่หัวข้อเรื่องในหน้าแรกๆ ก็สะดุ้งแล้วครับ ท่านให้หัวข้อว่า “สังคมไทยกำลังใช้พระพุทธศาสนาเป็นที่ถ่ายทุกข์” ถ่ายทุกข์อย่างไร เชิญไปหาหนังสือมาอ่านเองเถอะครับ ผมจะขอผ่านไป ขอเปิดข้ามไปถึงตอนที่ว่าด้วย ความแตกต่างกันระหว่าง “ผู้วิเศษ” กับ “พระอริยะ” ดีกว่า ท่านว่าไว้ดังนี้ครับ

    “ผู้ วิเศษคืออะไร เรามักจะเรียกคนมีฤทธิ์นั้นเองว่าเป็นผู้วิเศษ เช่น โยคี ฤๅษี ดาบส ก่อนพุทธกาล ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น ก็มีโยคี ฤๅษี ดาบส เยอะอยู่ในป่าได้ฌานสมาบัติ ได้โลกียอภิญญา มีฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หูทิพย์ ตาทิพย์ อะไรต่างๆ เหล่านี้ เราเรียกได้ว่าเป็นผู้วิเศษ คือผู้มีฤทธิ์นั่นเอง

    ส่วนความหมายของพระอริยะคืออะไร พระอริยะคือท่านผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากกิเลสก็คือ หมดจากโลภะ โทสะ โมหะ หรือว่ากำจัดความโลภ โกรธ หลง ให้ลดน้อยเบาบางลง กิเลสน้อยลงไปๆ จนกระทั่งว่าเป็นอริยะสูงสุด ก็คือ เป็นพระอรหันต์ หมดโลภะ โทสะ โมหะ

    ผู้ วิเศษไม่จำเป็นต้องเป็นอริยะ แต่ก็มีพระอริยะหลายองค์ พระอรหันต์หลายองค์ท่านได้ฤทธิ์ ได้ฌาน ได้สมาบัติ ทีนี้ถ้าท่านได้นี่ก็เป็นความรู้พิเศษของท่าน เป็นความสามารถที่เอามาใช้ประโยชน์ ในการประกาศพระศาสนาได้

    พวก ฤทธิ์ พวกความวิเศษนี่ ถ้าไปอยู่กับคนชั่วก็ใช้ในทางร้าย เอาไปหาลาภสักการะเพื่อตนเอง เอาไปทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น เอาไปหลอกลวงประชาชน ถ้าเป็นคนที่ดี ท่านก็เอาไปใช้ในการทำงานพระศาสนา

    ท่าน ที่ใช้ในทางที่ถูกต้อง จะไม่ล่อให้ประชาชนหลงใหล เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วจะใช้ให้เป็นทางเพียงเพื่อให้โยมเกิดปัญญา ฉะนั้น โยมต้องแยกให้ถูกระหว่างผู้วิเศษ กับพระอริยะ

    ความ วิเศษไม่ใช่เครื่องตัดสินความเป็นพระอรหันต์ หรือความเป็นพระอริยะ ฉะนั้น พระอริยะหรือพระอรหันต์บางท่าน ท่านไม่มีหรอกเรื่องความวิเศษที่จะให้โยมได้เห็นฤทธิ์อะไร เวลาท่านไปไหน ท่านก็ไปธรรมดาๆ โยมก็ไม่ตื่นเต้น ตรงกันข้ามกับเห็นผู้วิเศษ ฉะนั้นต้องแยกกันให้ถูก ถ้ารู้หลักพระศาสนาแล้วก็แยกได้ หมดปัญหา

    ทีนี้ก็ตอบคำถามที่เนื่องกันไปนิดหน่อยว่า ก็แล้วจะรู้ว่า ใครเป็นพระอริยะ หรือใครเป็นพระอรหันต์ ใครเป็นผู้ตัดสิน ผู้ ที่จะรู้ได้ว่าใครเป็นอริยะ ก็ต้องเป็นอริยะเองก่อน พระอรหันต์จึงจะรู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์ คือต้องเป็นคนระดับเดียวกันหรือสูงกว่า อันนี้เป็นหลักทั่วไป เอาแค่หลักทั่วไปก่อน

    อัน นี้ต้องระวัง ประชาชนปัจจุบันมีความโน้มเอียงในการที่จะไปเที่ยวตั้งพระองค์โน้นเป็นพระ อรหันต์ ตั้งพระองค์นี้เป็นพระอริยะ ระวังเถอะ มันเป็นเรื่องที่จะทำให้เสียหลักพระศาสนา

    แต่เรามีสิทธิที่จะ พิจารณาด้วยปัญญา เรามีหลักเราก็ดู และตรวจสอบได้ว่าพระองค์นี้มีความประพฤติดีงาม ตั้งอยู่ในหลักพระธรรมวินัย ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า น่าเลื่อมใสหรือไม่ เราอาจจะสันนิษฐานอะไรก็อยู่ในใจของเรา แต่อย่าเพิ่งไปวินิจฉัยตัดสิน”

    สรุป ก็คือ “ผู้วิเศษ” นั้นหมายถึงผู้ได้ฌาน มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ดังเช่น พวกฤๅษี ดาบส เป็นต้น พวกเหล่านี้ยังละกิเลส (โลภ โกรธ หลง) ยังไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีสิทธิเป็น “อริยะ”

    เพราะพระอริยะนั้น หมายเอาผู้ที่ละกิเลสให้เบาบางลงตามลำดับๆ จนกระทั่งเป็นอรหันต์ ละกิเลสได้หมดสิ้น ในคัมภีร์ท่านจึงแบ่งพระอริยะไว้ 4 จำพวก คือ

    1. พระโสดาบัน ละกิเลส (สังโยชน์) ได้ 3 คือ ความยึดติดในตัวตน (สักกายทิฐิ), ความลังเลสงสัย
    เช่น สงสัยว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จริงหรือเปล่า (วิจิกิจฉา) และความถือศีลและวัตรผิดเป้าหมายของศีลและวัตร เช่น รักษาศีลเพื่อให้คนรู้ว่าตนเคร่ง เป็นต้น (สีลัพพตปรามาส)

    2. พระสกคามี ละกิเลส 3 อย่างข้างต้นนั้นได้ และยังทำโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางลงอีกด้วย

    3. พระอนาคามี ละความกำหนัดในกาม (กามระคะ) และความกระทบกระทั่งใจ (ปฏิฆะ) ได้

    4. พระอรหันต์ ละกิเลส 5 อย่างข้างต้นได้ รวมกับอีก 5 อย่าง รวมเป็นละได้ครบ 10 คือ ความติดในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดในความสุขสงบอันเกิดจากสมาธิชั้นรูปฌาน (รูปราคะ), ความติดในอรูปธรรม เช่น ติดในอารมณ์แห่งอรูปฌาน (อรูปราคะ), ความถือตัว (มานะ), ความฟุ้งซ่าน (อุทธัจจะ) และความไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎแห่งเหตุปัจจัย (อวิชชา)

    ผู้ วิเศษที่ได้อิทธิฤทธิ์ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นอริยะ แต่พระอริยะมากมาย ท่านได้อิทธิฤทธิ์ ได้ฌานสมาบัติเป็นผู้วิเศษด้วย นอกเหนือจากการหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง (มีจำนวนน้อย คือ พวกที่ผ่านเฉพาะสายวิปัสสนาล้วนๆ เท่านั้น ที่ท่านไม่มีอิทธิฤทธิ์)

    ปัจจุบัน นี้มักจะได้ยินคนกล่าวว่าพระรูปนั้นรูปนี้เป็นพระอรหันต์ ความจริงการจะรู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์หรือไม่เป็นนั้น มิใช่เรื่องง่ายๆ คนที่จะรู้ว่าใครเป็นอรหันต์หรือไม่ ตนเองต้องเป็นอรหันต์เสียก่อนจึงจะบอกได้

    นึกถึง พระเจ้าปเสนทิโกศล วันหนึ่งขณะเฝ้าพระพุทธองค์อยู่ พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นพวกนักบวชไม่นุ่งผ้า (นิครนถ์) เดินผ่านไป แล้วได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า “นักบวชพวกนั้นเป็นพระอรหันต์ พระเจ้าข้า”

    พระพุทธองค์ดำรัสตอบ ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลถึงกับสะอึก พระองค์ตรัสว่า

    “มหาบพิตร เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม รู้ได้อย่างไรว่านักบวชพวกนั้นเป็นพระอรหันต์” พูดให้ชัดก็คือ คฤหัสถ์นอนกอดเมียอยู่ทุกวัน ยังมีหน้ามารู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์หรือไม่เป็น !

    เล่นเอาพระราชา ทรง “เขิน” จึงสารภาพว่าความจริงนักพรตพวกนั้นเป็น “สปาย” ที่พระองค์สั่งให้ไปสืบตามหัวเมืองต่างๆ ว่าใครกำลังคิดร้ายหรือเอาใจออกห่างบ้าง

    ชาวบ้านหนาด้วยกิเลส ที่กล้าชี้ว่าพระรูปนั้นรูปนี้เป็นอรหันต์ จึงเป็นเรื่องน่าหัวเราะ

    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ไปเรียนกราบถามเจ้าคุณนรฯ วันหนึ่งว่า ท่านเป็นพระอรหันต์หรือเปล่า หลวงพ่อเจ้าคุณนรฯ ดึงหูคุณชายคึกฤทธิ์มาใกล้ๆ แล้วกล่าวดังๆ ว่า

    “มึงบ้า”

    สั้น ได้ความดีจริงๆ ครับ


    หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
    คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
    วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10144
     
  8. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
  9. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
    <!--[if !mso]> <style> v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:TrackMoves>false</w:TrackMoves> <w:TrackFormatting/> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:DoNotPromoteQF/> <w:LidThemeOther>EN-US</w:LidThemeOther> <w:LidThemeAsian>X-NONE</w:LidThemeAsian> <w:LidThemeComplexScript>TH</w:LidThemeComplexScript> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:SplitPgBreakAndParaMark/> <w:DontVertAlignCellWithSp/> <w:DontBreakConstrainedForcedTables/> <w:DontVertAlignInTxbx/> <w:Word11KerningPairs/> <w:CachedColBalance/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> <m:mathPr> <m:mathFont m:val="Cambria Math"/> <m:brkBin m:val="before"/> <m:brkBinSub m:val="--"/> <m:smallFrac m:val="off"/> <m:dispDef/> <m:lMargin m:val="0"/> <m:rMargin m:val="0"/> <m:defJc m:val="centerGroup"/> <m:wrapIndent m:val="1440"/> <m:intLim m:val="subSup"/> <m:naryLim m:val="undOvr"/> </m:mathPr></w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin;} </style> <![endif]--> [FONT=&quot]พระกรุวัดดักคะนน[FONT=&quot](อายุมากกว่า 100ปี)

    พระประธานในโบสถ์วัดดักคะนนได้ชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ กรรมการวัดจึงมีมติที่จะรื้อและสร้างใหม่ และได้พบพระสมเด็จไหลทะลักออกมาจากใต้ฐานพระประธาน และ หลังจากนั้นยังได้พบพระสมเด็จอีกบางสวนในไหที่ฝังอยู่บริเวณใต้ต้นจันทร์หน้ากุฏิหลวงปู่อยู่ หลวงพ่อผลเจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงนำมาให้ทำบุญและแจกจ่ายวัดต่าง ๆ ในละแวกนั้นเพื่อหาทุนสร้างโบสถ์ และ ได้นำพระบางส่วนฝังคืนเก็บไว้

    มีผู้นำไปใช้ได้ประสบอภินิหารหลายอย่าง จนได้รับความนิยมแพร่หลาย หลวงพ่อผลได้นำพระออกมาให้ทำบุญโดยไม่กำหนดจำนวนและเงินทำบุญแล้วแต่ญาติโยมบริจาค พระสมเด็จดักคะนนจึงหมดจากวัดอย่างรวดเร็ว ในช่วงปลายอายุของหลวงพ่อผลได้มีการขุดพระบางส่วนที่ฝังคืนเก็บไว้ ออกมาให้ทำบุญและแจกจ่าย อีกครั้ง [/FONT]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]- พระสมเด็จที่พบใต้ฐานพระประทานในโบสถ์จะมีผิวออกเหลืองและมีครบกรุสีออกแดงเข้ม[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]- พระสมเด็จที่พบบริเวณใต้ต้นจันทร์หน้ากุฏิหลวงปู่อยู่จะมีผิวแห้งออกสีน้ำตาลและมีครบกรุสีน้ำตาลอ่อน พระที่พบมีจำนวนน้อย [/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]- พระสมเด็จที่ได้มีการขุดพระส่วนที่ฝังคืนเก็บไว้ขึ้นมา จะมีผิวสีเหลืองอ่อนและมีคราบกรุสีแดงอ่อนหรือขาว เนื่องจากพระที่ขุดขึ้นมามีความชื้นที่องค์พระค่อนข้างมาก ทำให้หลังจากขุดขึ้นมาต้องนำพระออกมาตากแดดที่ลานหน้าโบสถ์ เนื่องจากความชื้นทำให้พระชุดนี้ส่วนใหญ่ลักษณะของพิมพ์ไม่คมชัด[/FONT]
    [FONT=&quot]หลวงปู่อยู่ก่อนหน้าที่จะมาปกครองวัดดักคะนนท่านไปเรียนพระปริยัติธรรมที่ วัดบางขุนพรหม และได้รับมอบผงที่สมเด็จโตลบไว้และชิ้นส่วนสมเด็จที่ชำรุดจากเจ้าอาวาสวัด บางขุนพรหมในสมัยนั้นมามากพอสมควร ท่านจึงนำมาจัดสร้างสมเด็จของท่านซึ่งมีอยู่ [FONT=&quot]5 พิมพ์คือสมเด็จเนื้อผงขาวหลังเรียบพิมพ์ 3 ชั้น/ 7 ชั้น/ 9 ชั้น พิมพ์ใหญ่ขนาดครึ่งฝ่ามือเป็นพระคะแนน และเนื้อผงใบลานหลังรูปท่าน หลวงปู่อยู่ท่านนี้จากปากคำของคนเฒ่าคนแก่เล่าสืบมาว่าท่านเก่งถึงขนาดที่ ใช้มือจับเหล็กสลักโบสถ์ที่ยังมีไฟแดงๆอยู่แทนครีมคีบและตอกด้วยมือปล่าวๆ แทนฆ้อนได้ สำหรับประสบการณ์ถือว่าแปลกกว่าสมเด็จโดยทั่วๆไปเพราะนอกจากจะมีพุทธคุณใน ด้านเมตตามหานิยมโชคลาภตามมาตรฐานตำรับสมเด็จแล้วยังมีพุทธคุณในด้านบู้ค่อน ข้างหนาหู เรื่องล่าสุดที่ได้รับฟังมาเหตุเกิดที่ จ.นครสวรรค์ ผู้ร้ายถูกตำรวจล้อมยิงในระยะใกล็ๆแบบวงรำวงเลยว่างั้น แต่ปรากฏว่ายิงไม่ออกซักกระบอกเลยในคอเจ้ากรรมมีสมเด็จดักคะนนองค์เดียว จึงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีอนึ่งพระชุดนี้จะปรากฏคราบกรุให้เห็นโดยทั่วไป ครับ[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot]ขอโชว์พิมพ์สามชั้นอกครุธ และพิมพ์คะแนน ครับ[FONT=&quot][/FONT][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3729.jpg
      SAM_3729.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      156
    • SAM_3727.jpg
      SAM_3727.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      209
    • SAM_3739.jpg
      SAM_3739.jpg
      ขนาดไฟล์:
      802.9 KB
      เปิดดู:
      397
    • SAM_3733.jpg
      SAM_3733.jpg
      ขนาดไฟล์:
      747.7 KB
      เปิดดู:
      119
  10. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460


    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset">
    โปรโมชั่นพิเศษ ทุกรายการ 150บ. ราคาเดียวครับ
    </td></tr></tbody></table>


    1. เหรียญหลวงปู่ศุข สีลเตโช วัดสหธรรมาราม จ.สมุทรสาคร อายุ 84 ปี สร้างอุโบสถ ปี 2522


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3710.jpg
      SAM_3710.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      119
    • SAM_3713.jpg
      SAM_3713.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.7 MB
      เปิดดู:
      356
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  11. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460


    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset">
    โปรโมชั่นพิเศษ ทุกรายการ 150บ. ราคาเดียวครับ
    </td></tr></tbody></table>


    2. เหรียญหลวงพ่ออุตตมะ รุ่นประคำลายเซ็นต์ศักดิ์สิทธิ์
    "รุ่นแรก" ปี2539



    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ*[/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3693.jpg
      SAM_3693.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      112
    • SAM_3694.jpg
      SAM_3694.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      116
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2011
  12. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460


    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset">
    โปรโมชั่นพิเศษ ทุกรายการ 150บ. ราคาเดียวครับ
    </td></tr></tbody></table>


    3.เหรียญพระศาสนโสภน อดีตเจ้าอาวาส วัดราชบพิธ รุ่นแรก คณะศิษย์สร้าง หลวงปู่แหวน สุจินโนแผ่เมตตา ปี2521 เนื้อทองแดงรมดำ สภาพสวย


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3683.jpg
      SAM_3683.jpg
      ขนาดไฟล์:
      997.6 KB
      เปิดดู:
      252
    • SAM_3686.jpg
      SAM_3686.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      159
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  13. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460


    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset">
    โปรโมชั่นพิเศษ ทุกรายการ 150บ. ราคาเดียวครับ
    </td></tr></tbody></table>


    4.เหรียญหลวงพ่อพระครูวิมลวรคุณ รุ่นแรก วัดโนนแดงเหนือ เนื้อทองแดงรมดำ สภาพสวย


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3688.jpg
      SAM_3688.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      147
    • SAM_3690.jpg
      SAM_3690.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      130
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  14. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460


    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset">
    โปรโมชั่นพิเศษ ทุกรายการ 150บ. ราคาเดียวครับ
    </td></tr></tbody></table>


    5.เหรียญหล่อฉลุลายกนก กะไหล่ทอง หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี ครบ ๙๖ปี สร้างปี2537 สภาพสวยเดิม



    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMGP4348re.jpg
      IMGP4348re.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.3 KB
      เปิดดู:
      118
    • IMGP4355re.jpg
      IMGP4355re.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.4 KB
      เปิดดู:
      102
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  15. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460


    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset">
    โปรโมชั่นพิเศษ ทุกรายการ 150บ. ราคาเดียวครับ
    </td></tr></tbody></table>


    6.
    เหรียญแสตมป์ หลวงพ่อเกษม รุ่น 5 รอบพรรษาหลวงพ่อเกษม เขมโก ปี2536 เนื้อโลหะทองแดงรมดำ


    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ*[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_2094.jpg
      SAM_2094.jpg
      ขนาดไฟล์:
      943.9 KB
      เปิดดู:
      151
    • SAM_2097.jpg
      SAM_2097.jpg
      ขนาดไฟล์:
      770.5 KB
      เปิดดู:
      146
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460


    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset">
    โปรโมชั่นพิเศษ ทุกรายการ 150บ. ราคาเดียวครับ
    </td></tr></tbody></table>


    7. เศรษฐีนวะโกฏิ รุ่นโคตรเศรษฐีนวโกฏิ เนื้อผงชานหมากผสมไม้มงคล 9ชนิด หลวงพ่อทองดำ วัดถ้ำตะเพียนทอง ลพบุรี
    ปี2551



    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 27503-1.jpg
      27503-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.2 KB
      เปิดดู:
      129
    • 27503-2.jpg
      27503-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.6 KB
      เปิดดู:
      122
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  17. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460


    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset">
    โปรโมชั่นพิเศษ ทุกรายการ 150บ. ราคาเดียวครับ
    </td></tr></tbody></table>


    8. เหรียญสุริยุปราคา หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน รุ่นมงคลลาภมหาศาล ปี2538 ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคา เป็นฤกษ์มหาลาภ




    [FONT=&quot]*ปิดรายการนี้ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN0307.JPG
      DSCN0307.JPG
      ขนาดไฟล์:
      157.1 KB
      เปิดดู:
      126
    • DSCN0308.JPG
      DSCN0308.JPG
      ขนาดไฟล์:
      139.9 KB
      เปิดดู:
      117
    • DSCN0304.JPG
      DSCN0304.JPG
      ขนาดไฟล์:
      150.2 KB
      เปิดดู:
      128
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,091
    ค่าพลัง:
    +5,460
    โปรโมชั่นพิเศษ ทุกรายการ 150บ. ราคาเดียวครับ พิเศษอย่างนี้ใครดีใครได้ อย่าช้าของมีจำนวนจำกัดอย่างละองค์เท่านั้น
    นะคร้าบบบบบบบบ

     
  19. ชายชุดขาว

    ชายชุดขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    4,007
    ค่าพลัง:
    +12,706

    จองเหรียญนี้นะครับ คุณโม

    ขอบคุณครับ
     
  20. ศรัทธาพญาเวนไตย

    ศรัทธาพญาเวนไตย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    867
    ค่าพลัง:
    +1,384
    เหรียญอาจารย์ชุม โปรโมชันพิเศษ 150 บาทได้ป่าวครับ อิอิ ขอโปรโมชันอีกนะครับ รอชมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...