คลังเรื่องเด่น
-
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน แหวนตะกร้อ(พิรอด)มหาแหวนอาคมแห่งสยามประเทศ
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน แหวนตะกร้อ(พิรอด)มหาแหวนอาคมแห่งสยามประเทศ
เครื่องรางของขลังในสมัยโบราณมากมายหลายชนิด หนึ่งในนั้นอันเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ผู้ชายชาตรีคือ “แหวนพิรอด” อนึ่งคนสมัยก่อนมีนิสัยรบทัพจบศึกสงครามอยู่บ่อยครั้งต้องมีการต่อสู้กับข้าศึกจึงมีผู้ประดิษฐ์คิดค้นของขลังชนิดนี้ขึ้นมาโดยอาศัยว่าจะทำให้คงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า ป้องกันตัวจากข้าศึกศัตรู
"แหวนพิรอด" ในปัจจุบันนี้ค่อนข้างหายาก และอาจารย์ที่ทำดูจะหายากตามไปด้วย นับเป็นวัฒนธรรมเครื่องรางโบราณอีกชนิดหนึ่งที่กำลังจะหายไปกับยุคโลกาภิวัฒน์ หรือยุคเทคโนโลยี ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะนำพาสังคมไทยไปในรูปแบบใดจะเป็นการสร้างชาติ หรือสิ้นชาติที่หมาย ถึงการสูญเสียวัฒนธรรมเก่าๆไปแลกกับวัฒนธรรมขยะยุคไอ.ที. (I.T.) ที่วัยรุ่นปัจจุบันมักมีพฤติกรรมแปลกให้เห็นอยู่เสมอๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ ฝากข้อคิดไว้นิดว่าชาติจะมีความหมายอะไร ถ้าหากเราไม่สามารถรักษาเอกลักษณ์คือวัฒนธรรมเอาไว้ได้ แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด ตามตำราไสยศาสตร์นั้นบอกเล่าเรื่องราวของ แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด คือชนิดเล็กใช้สวมนิ้ว ชนิดใหญ่ใช้สวมแขน ซึ่งมักเรียกว่า “สนับแขนพิรอด”... -
"ของดี ไม่ต้องอวด" (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
"ของดี ไม่ต้องอวด"
" .. ในวันหนึ่ง ที่วัดถ้ำกลองเพล "ในหลวงและพระราชินีเสด็จไปเยี่ยมหลวงปู่ขาว" พอดีหลวงปู่(หลวงปู่จันทร์ศรีฯ)ก็ไปเฝ้าท่านที่นั่น จำได้ว่า .. ในขณะนั้นอาตมากับพระอาจารย์บุญเพ็งนั่งอยู่กับท่าน ในหลวงก็ถามธรรมไปหลายข้อ แต่จำได้ว่า "ข้อสุดท้าย ในหลวงถามว่า พระกัมมัฏฐาน ทำไมไม่โฆษณา เหมือนอย่างกัมมัฏฐานอื่น ๆ" หลวงปู่ขาวก็ได้ทูลว่า "ทองคำเป็นของมีค่า เขาโฆษณากันหรือปล่าว" หมายความว่า "ของดีไม่ต้องโฆษณา"
เมื่อเป็นเช่นนั้น "ในหลวงก็ยิ้มแล้วมีอาการพอใจ" หลวงปู่ขาวท่านพูดเพียงสั้น ๆ แค่นั้น อันนี้ถ้าเราจะมาวินิจฉัยด้วยปัญญาก็จะได้คำตอบที่กว้างขวาง เป็นคำตอบที่ลึกซึ้งตรึงใจเหลือเกิน "คือของดีนั้นไม่ต้องไปอวดใคร คือดีอยู่ที่ใจของเรานั้นเอง" อันนี้เป็นเหตุให้ในหลวงท่านยิ้มขึ้นมา เข้าใจว่า "พอพระทัยในคำตอบ" อันนี้อาตมานั่งอยู่นั้น ครั้นต่อมา ท่านก็ไม่ถามอะไรอีกต่อไป .. "
"จันทร์ศรีส่องธรรม" หน้า ๗๑
หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป -
แนวปฏิบัติสติปัฏฐานภาวนามี ๒ นัย
แนวปฏิบัติสติปัฏฐานภาวนามีสองนัย
พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์
(พระอาจารย์ เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
คัดจากหนังสือ ประมวลแนวปฏิบัติธรรม
ผู้จะลงมือเจริญสติปัฏฐานสี่แต่ละข้อ นอกจากเป็นผู้เห็นโทษทุกข์เบื่อหน่าย คลายความยินดีเพลิดเพลินติดอยู่ในกามคุณห้า แลทำความเลื่อมใสพอใจในการที่จะปฏิบัติตามสติปัฏฐาน เพราะเชื่อมั่นตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า เป็นทางที่จะให้พ้นจากกองทุกข์ได้อย่างแท้จริงแล้ว อย่าได้ลังเลสงสัยในสติปัฏฐานข้ออื่นอีก ที่เรายังมิได้เจริญ เพราะสติปัฏฐานทั้งสี่เมื่อเจริญข้อใดข้อหนึ่งให้เป็นไปแล้ว ข้ออื่นๆ ก็จะมาปรากฏชัดแจ้งให้หายสงสัยในข้อนั้นเอง แล้วก็อย่าไปหวังหรือปรารถนาอะไรๆ ไว้ล่วงหน้าให้มาเป็นอารมณ์ จะเป็นอุปสรรคแก่การเจริญสติปัฏฐาน
อนึ่งความคิดปรุงแต่งว่า เราเจริญสติปัฏฐานแล้วจะได้จะเห็นจะเป็นอย่างนั้นๆ ก็อย่าให้มีอยู่ในจิตแม้แต่นิดเดียว แล้วพึงตั้งสติคุมจิตให้อยู่เป็นปัจจุบันอยู่เฉพาะสติปัฏฐานที่เรากำลังเจริญอยู่นั้น โดยวิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งจะได้อธิบานต่อไปข้างหน้า
นัย ๑ - ๑... -
ประวัติหลวงปูมั่น ธุดงค์ที่ถ้ําเชียงดาว
ประวัติหลวงปูมั่น ธุดงค์ที่ถ้ําเชียงดาว
ธรรมะกับธรรมชาติ :- Published on Oct 16, 2016 -
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน งูกินหาง(นาคบาศ)เครื่องรางแห่งการไม่รู้อดอยาก
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน งูกินหางเครื่องรางแห่งการไม่รู้อดอยาก
นาคบาศ
นาคบาศ...จัด เป็น สุดยอดเครื่องราง แห่งโชคลาภ และป้องกันภัย คือ
มีกินไม่มีหมด ไม่มีอด งูกินหางกัน ต่างตัวก็ต่างกิน ยิ่งกินก็ยิ่งรัดเข้าหากัน
พอชนกันก็คลายออก จึงเรียกว่า กินไม่หมด ตามตำนาน โบราณไทยใหญ่ และ ล้านนา " นาคบาศ " คือ
"ศรของอินทรชิต" ที่ยิงเข้าไปเป็นงูรัดศัตรู ซึ่งภายหลังพญานาคราชได้มครอบครองไว้ และ พรานบุญไปขอยืม บ่วงบาศนี้ จากพญานาค และเนื่องจากพรานบุญเคยช่วยเหลือพญานาคราชไว้ พญานาคราชได้ให้สัญาว่า ขอก็จะให้ ทั้งที่เป็นของสำคัญ และกลัวพรานบุญไม่คืน แต่ก็ให้ไป เพราะต้องรักษาคำพูด พรานบุญจึงสามารถจับกินรีได้ และนำ"บ่วงบาศ"นั้นไปคืน พญานาคราช นาคบาศยังเป็นบ่วงเชือกที่แข็งที่สุด พญาครุตเจ้าแห่งนก ก็ยังกลัว บ่วงบาศนี้เช่นกัน .
และ พรานบุญไปขอยืม บ่วงบาศนี้ จากพญานาค และเนื่องจากพรานบุญเคยช่วยเหลือ
พญานาคราชไว้ พญานาคราชได้ให้สัญญาว่า ขออะไรก็จะให้ ทั้งที่เป็นของสำคัญ
และกลัวพรานบุญไม่คืน แต่ก็ให้ไป เพราะต้องรักษาคำพูด
พรานบุญจึงสามารถจับกินรีได้ และนำบ่วงนาคบาศนั้นไปคืน พญานาคราช... -
หลักตัดสินพระธรรมวินัย
สังขิตตสูตร
[๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า มหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่หม่อมฉัน ซึ่งหม่อมฉันได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า
ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อพรากสัตว์ออก
เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย
ดูกรโคตมี... -
การรู้นี้จะทะลุหมดทั้งสามโลก
ประสบการณ์ของนักปฏิบัติธรรม
การที่เราพยายามปล่อยวาง ไม่ให้มีตัวมีตนเกิดขึ้นในจิตในใจ ถ้าเราสามารถทำได้มากเท่าไร เราจะชนะใจตนเองมากเท่านั้น ผลที่พยายามไม่ยึดถือในตัวตนนี่เอง คือจุดหลุดพ้น
สภาพร่างกายในขณะนี้ ถึงแม้จะถูกเวทนามันรุมเร้าเอาอย่างมากก็ตาม แต่เมื่อเราทำความเข้าใจในสภาพที่แท้จริงแล้ว มันจะกลับเป็นประโยชน์และเป็นตัวปัญญาให้เราคิดแก้ไขเอาชนะสิ่งนั้นให้ได้ในที่สุด ได้มาพิจารณาถึงความเจ็บปวดในขณะที่เกิดจงกรม ใช้สติตามรู้อยู่ตลอดว่ามันปวดที่ส้นเท้าและข้อเท้ามาก แต่รู้เฉย ๆ ไม่ปรุงมัน ดูมันไป จนกลายเป็นสภาพที่มีตัวรู้เด่นอยู่เหนือความเจ็บปวดทั้งมวล แต่ในสิ่งที่กำลังรู้อยู่นี้ มิใช่ว่าอาการเจ็บปวดนั้นจะอันตรธานไป หรือลดน้อยถอยไป มันยังแสดงปฏิกิริยาของมันอย่างปกติ แต่สิ่งที่เรียกว่า รู้ นั้น ก็ยังรู้อยู่ แต่แยกกันไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่มีอาการตอบสนองหรือปรุงแต่งต่อเนื่องแต่อย่างใด เพียงแต่รับรู้ไว้เท่านั้น
นี่คือผลที่เราไม่นำเอาตัวตนของเรา เข้าไปร่วมในเหตุการณ์นั้น เมื่อมันขาดผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ มันมีเพียงกิริยาอย่างเดียว มันจึงเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อไม่สมบูรณ์... -
"สติกับปัญญา" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
"สติกับปัญญา"
" .. "เรื่องสตินี่สำคัญนะ ในความพากเพียร" ท่านทั้งหลาย "อย่าเผลอสติ" จับสติให้ดีให้ติด อุบายวิธีการต่าง ๆ ที่ได้รับความทุกข์ความลำบากทรมานนี้ "ก็เพื่อบำรุงสติ"
"ถ้าสติดีแล้ว กิเลสจะขึ้นได้ลำบากและจะขึ้นไม่ได้" แล้วปัญญาฟันละที่นี่ สติดี ปัญญาฟันขาดสะบั้น ๆ ไปเลย "ปัญญานะแก้กิเลส สติจับให้ ปัญญาเป็นผู้ฟัน" สำคัญที่ตรงนี้ .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน -
วิธีช่วยชีวิตคนที่ต้องแรงสินบน ต้องเสนียด และต้องคุณไสย ของหลวงพ่อปาน
ในเรื่องการรักษาโรคช่วยชีวิตคนของหลวงพ่อปาน เป็นที่เลื่องลือ มากในสมัยนั้น ผู้คนต่างแห่กันมา ที่วัดจนแน่นขนัด จนไม่มีที่รับ รองแขกเพียงพอ
วิชาการรักษาโรคและวิชาการบางอย่างที่หลวงพ่อปานสำเร็จและนำมาช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ เท่าที่เกิดปาฏิหาริย์และได้รับการบันทึกไว้มีมากมาย ตัวอย่างเช่น รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ โรคที่ท่านรักษาด้วยน้ำมนต์ เรียกว่าโรคภายใน เช่น บางคนถูกของ ถูกคุณ ถูกเขากระทำมา โรคที่เกิดจากกรรมเวร ถูกผีสิง เป็นต้น บางครั้งก็ต้องแป้งเสกควบคู่ด้วย
ในตอนเพล ขณะที่ท่านพักผ่อนท่านจะทำการเสกน้ำมนต์เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อเวลาอาบจะได้สะดวก และท่านได้ใช้เวลาในการอาบนั้นบริกรรมเสกเป่าเฉพาะรายอีกด้วย
น้ำมนต์ของท่านนี้ศักดิ์สิทธิ์นักและกรรมวิธีในการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงระยะ คือ
ช่วงแรก ท่านจะเรียกคนไข้มาหาแล้วถามชื่อเสียงเรียงนาม ถามอาการแล้วยื่นหมากให้คำหนึ่ง คาถาที่ใช้เสกหมากนี้ท่านบอกผู้ใกล้ชิดว่า ใช้ดังนี้จะขลังหรือไม่อยู่ที่จิตของผู้ทำ
"ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วว่า โสทาย นะโม พุทธายะ ลัมอิทังโล นันโทเทติ ยาทาโลเทตีติ"
เมื่อคนไข้ได้รับหมากเสกแล้วให้เคี้ยวให้แหลก... -
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน ผ้ายันต์สิหิงค์หลวง จักพรรดิ์แห่งผ้ายันต์ ยอดมหาพุทธานุภาพ
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน ผ้ายันต์สิหิงค์หลวง จักพรรดิ์แห่งผ้ายันต์ ยอดมหาพุทธานุภาพ
เรื่อง "ผ้ายันต์สิหิงค์หลวง"
ผ้ายันต์สะหิงหลวง หรือผ้ายันต์พระพุทธสิหิงค์ " แห่งอาณาจักรล้านนา ผู้ปกบ้านคุ้มเมือง ก้ำฟ้า เฟือนดินมาให้ชมกันนะครับ...โดยนัยยะของการจัดสร้างผ้ายันต์ชนิดนี้ ก็สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมของคนในแถบล้านนาสมัยก่อน จะไม่บูชาพระพุทธรูปไว้ที่บ้าน แต่จะนำไปไว้ที่วัดแทน เพราะไม่เช่นนั้นแล้วพระพุทธรูปก็จะกลายเป็นพระบ้านไปเสียหมด ดังนั้นเมื่อต้องการสร้างความยึดมั่นในพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จึงมีการวาดภาพพระพุทธลงบนผ้า ที่เรียกว่าผ้ายันต์แทน...โดยอาศัยเค้าคติความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธรูปของทางล้านนา สูงสุดแห่งความศรัทธาก็คือ " พระพุทธสิหิงค์ " แห่งวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่นั่นเอง และอาศัยหลักการสร้างตามคัมภีร์ตรีนิสิงเหนำมาเป็นหลักประกอบ จนกลายเป็นผ้ายันต์สะหิงหลวง หรือผ้ายัีนต์พระพุทธสิหิงค์นั่นเอง โดยผู้ชายผู้เป็นพ่อบ้านในสมัยนั้น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ในเรื่องของศาสตร์เหล่านี้เพื่อเป็นการพัฒนาจิตใจ และความศรัทธาอย่างมั่นคงควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นจึงเป็นอันเชื่อได้อย่างมั่นใจเลยว่า... -
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน ไม้ไผ่ตัน ไม้มหามงคลทั้งมหาอุด เมตตามหานิยม
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน ไม้ไผ่ตัน ไม้มหามงคลทั้งมหาอุด เมตตามหานิยม
ของอาถรรพ์จากธรรมชาติ ของหายากไม่สามารถหาได้ทั่วไป ไม้ไผ่ตัน หรือไม้ไผ่มหาอุด เป็นไม้ไผ่ตลอดทั้งลำที่ตันตั้งแต่ต้นตลอดหัวจรดราก เกจิอาจารย์นิยมลงคาถาอักขระเลขยันต์ต่างๆ จะเป็นไม้เท้าไม้ไผ่ตัน ตะกรุดไม้ไผ่ตัน ตะกรุดคาดเอว พระเกจิอาจาย์ต่างๆมีความเชื่อว่าไม้ไผ่ตันมีอานุภาพเป็นอเนกประการ ทั้งมหาอุด เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ป้องกันไฟ เป็นของดีหายากอย่างหนึ่งในธรรมชาติที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก ไผ่ตันนั้นเป็นของวิเศษจัดอยู่ในประเภทของทนสิทธิ์ที่คนโบราณกล่าวถึงมากอย่างหนึ่ง ต้นไผ่นั้นถือเป็นไม้มงคลที่ให้คุณประโยชน์ต่อมนุษย์ และสัตว์อย่างมากมายเป็นของที่มีเทพารักษ์ดูแลรักษาอยู่ เป็นของวิเศษที่นานๆถึงจะปรากฏขึ้นให้พบเห็นกัน ส่วนใหญ่แล้วจะพบโดยบังเอิญ เช่น มีการตัดต้นไผ่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ แล้วเกิดเจอไปพบลำต้นที่ตันไม่เป็นรูกลวงอย่างปกติทั่วไป อันนั้นแหละ ที่เขาเรียกกันว่า “ ไผ่ตัน”
อานุภาพของไผ่ตันนั้นท่านว่า ดีเยี่ยมทางมหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด เมตตา โชคลาภ ซึ่ง ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว... -
รักจริงหวังแต่ง..อย่าริใช้น้ำมันพรายผีตายท้องกลม!! ของแรง ติดตัวจนวันตาย อยู่อย่างทรมาน โชคดี"หลวงปู่ดู่"ช่วยไว้ จึงได้พ้นทุกข์...
รักจริงหวังแต่ง..อย่าริใช้น้ำมันพรายผีตายท้องกลม!! ของแรง ติดตัวจนวันตาย อยู่อย่างทรมาน โชคดี"หลวงปู่ดู่"ช่วยไว้ จึงได้พ้นทุกข์...
หลวงปู่ดู่ ปราบ ผีน้ำมันพราย !!!!
ผมชื่อไกรทำงานอยู่ที่ถนนสาทรมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งสนิทกันมาก วันเสาร์เพื่อนผมบอกว่าจะชวนผมไปเที่ยวบ้านย่าที่อยู่คลองจินดาแถว ๆ สามพราน ผมตกลงทันที เย็นวันเสาร์เราเดินทางไปถึงบ้านของย่าเพื่อนประมาณหนึ่งทุ่มมืดมากแล้ว พอถึงบ้าน พอย่าเห็นเพื่อนผมมา แกดีใจทักใหญ่ ทักทายอย่างรักใคร่เอ็นดู แกพูดว่า "นานแล้วแกไม่ได้มาหาย่าเลย" "ผมงานยุ่งครับย่า เดี๋ยวนี้ย่าเป็นอย่างไรบ้าง" ย่าตอบว่า "ยังเหมือนเดิม" ผมเห็นเพื่อนคุยกับย่าของเขาก็ไม่ได้คิดอะไร เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่คำทักทายของคนทั้งสองนั้นกลับมีเงื่อนงำ...
เราทั้งหมดกินข้าวและนั่งคุยกัน ย่าของเพื่อนท่านดีมากคุยสนุกทำให้เราสองคนหัวเราะหลายครั้ง พอประมาณสามทุ่มกว่าย่าก็เดินไปกางมุ้งให้เราสองคนนอน ผมและเพื่อนนอนคุยกันจนหลับ ผมหลับไปนานเท่าไหร่ไม่รู้ มาตื่นอีกทีเพราะตกใจเสียงของย่าเพื่อนเพราะแกร้องอย่างโหยหวน
ผมรีบปลุกเพื่อนให้ตื่นแล้วเราสองคนก็ไปดูย่า... -
สายสัมพันธ์แห่งพระอริยะ!! เมื่อหลวงปู่ดู่นำแป้งเสกของหลวงปู่บุดดามาเทใส่ศีรษะจนขาวโพลน ลูกศิษย์คาใจทำไมหลวงปู่ทำแบบนั้น!!
สายสัมพันธ์แห่งพระอริยะ!! เมื่อหลวงปู่ดู่นำแป้งเสกของหลวงปู่บุดดามาเทใส่ศีรษะจนขาวโพลน ลูกศิษย์คาใจทำไมหลวงปู่ทำแบบนั้น!!
"ผงอรหันต์ของหลวงปู่บุดดา" ที่หลวงปู่ดู่ให้ความเคารพยิ่งกว่าสิ่งใด!!!
“แป้งเสกของหลวงปู่บุดดา ถาวโร” วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี คนเล่นพระอาจมองข้ามไปอย่างรวดเร็ว เพราะพระหลวงปู่บุดดาไม่ดัง ไม่แพง ห้อยคอโชว์ใครไม่ได้ หรือไม่มีปาฏิหาริย์ให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ อันนี้ขอท่านโปรดพิจารณาให้ดีด้วยว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่บุดดา แม้จะดูธรรมดามากๆ แต่สำหรับกองทัพธรรมผู้ปฏิบัติธรรมทุกๆ ท่านต่างมีความเคารพและนับถือหลวงปู่บุดดาอย่างสูงสุด
ครั้งหนึ่ง หลวงปู่บุดดาท่านได้เดินทางไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่บุดดาได้เทแป้งเสกลงบนฝ่ามือของหลวงปู่ดู่ และทันใดนั้นหลวงปู่ดู่ก็นำแป้งที่อยู่บนฝ่ามือเทลงบนศีรษะของท่านจนขาวโพลนไปหมด
เมื่อหลวงปู่บุดดาเดินทางออกจากวัดสะแกไปแล้ว ลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงปู่ดู่ไม่สามารถเก็บความสงสัยไว้ในใจได้จึงกราบเรียนถามหลวงปู่ดู่ไปว่า “หลวงปู่ทำไมเทแป้งอย่างนั้นล่ะครับ”... -
วิชาแต่งองค์ พระเดชพระคุณหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
วิชาแต่งองค์
พระเดชพระคุณหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
เป็นวิชาแต่งองค์ที่ หลวงปู่ดู่ท่านได้เมตตาสั่งสอน เพราะเป็นวิชาที่จะทำให้เข้าถึงกระแสแห่งคุณพระรัตนตรัยและ ปฏิบัติธรรมได้ไว....ท่านใดที่อยากทำความดีเพื่อตัวของท่านเอง และ เข้าถึงสภาวะแห่งธรรมได้โดยง่าย รบกวนลองปฏิบ้ติดู แต่ว่าต้อง ทำจริงๆแล้ว ท่านจะเห็นเอง ว่าธรรมแท้จริงเป็นอย่างไร
.......................................................................
วิชาแต่งองค์หลวงปู่ดู่
ล้างหน้าตอนเช้า ให้บริกรรมว่า
"พุทธังล้างหน้า ธัมมังล้างทุกข์"
สังฆังเพิ่มสุข สวัสดีมีชัย
------------------------------
อาบน้ำ แปรงฟัน ให้บริกรรมว่า
"พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ"
ธัมมง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
-------------------------------
สวมกางเกง ให้บริกรรมว่า
"อาปามะจุปะ"
-------------------------------
เวลาใส่เสื้อ ให้บริกรรมว่า
"ทิมะสังอังขุ"
พุทธัง อิมัง องคะพันธะนัง อธิษฐามิ
ธัมมัง อิมัง องคะพันธะนัง อธิษฐามิ
สังฆัง อิมัง องคะพันธะนัง อธิษฐามิ
-------------------------------
เวลาคาดเข็มขัด ให้บริกรรมว่า
"พุทธัง อิมัง กายะพันธะนัง อธิษฐามิ"... -
เชื่อหรือยัง!! "อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป" มหาศาล เป็นพุทธบูชาต่อพระพุทธเจ้า แม้จะเล็กเท่าต้นหญ้าคา ตายแล้วเป็นเทวดา แน่นอน!!
เชื่อหรือยัง!! "อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป" มหาศาล เป็นพุทธบูชาต่อพระพุทธเจ้า แม้จะเล็กเท่าต้นหญ้าคา ตายแล้วเป็นเทวดา แน่นอน!!
อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป มงคลชีวิต สถิตไปทุกชาติภพ
การสร้างพระพุทธรูปจัดว่าเป็น พุทธบูชา ถ้าในกรรมฐานจัดว่าเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน (การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์) ถ้าตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดา มีรัศมีกายสว่างไสวมาก การสร้างพระถวายด้วยอำนาจพุทธบูชาทำให้มีรัศมีกายมากเป็นคนสวย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พุทธะปูชา มะหาเตชะวันโต" แปลว่า "การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชอำนาจมาก" การสร้างพระพุทธรูปนี่เป็นพุทธบูชผาเป็นพุทธานุสสติในกรรมฐาน ๔๐ กอง ท่านบอกว่ากำลังของพุทธานุสสติเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่ากองอื่นก็เห็นจะจริง
เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่ที่นิพพานนี่ และท่านก็เป็นต้นตระกูลของพระนิพพาน ทีนี้เมื่อเราต้องการสร้างพระพุทธรูปให้สวยตามที่เราชอบเห็นแล้วก็ทำให้จิตใจสดชื่น จิตมันก็นึกถึงพระอยู่เสมอ ถ้าจิตนึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอยู่เสมอก็จัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าใจเราเกาะพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ตายแล้วลงนรกไม่เป็น ฉะนั้นถ้าเราชอบพระแบบไหนปางไหน... -
หยุดคิด!! ด้วยคำบริกรรม : เสียงธรรม หลวงตาพระมหาบัว
..การต่อสู้ ความคิด ด้วยคำบริกรรม
..การเเก้จิตเจริญเเล้วเสื่อมด้วยคำบริกรรมกำกับ
เเนบติดกับสติ ตลอดเวลาตั้งเเต่ตื่นจนหลับ
อย่าเสียดายความคิด (สังขาร)
ให้อยู่กับ คำบริกรรมกับสติ -
"ให้พากันสร้างบุญบารมี" (สมเด็จสมเด็จพระญาณสังวร)
"ให้พากันสร้างบุญบารมี"
" .. ท่านทั้งหลาย "ที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์อำนาจวาสนาและทรัพย์สมบัติในอดีตกาล" จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิมีสมบัติสร้างสมมาด้วยเลือดและน้ำตาของผู้อื่นจนค่อนโลก "แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป" แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่านที่เคยยิ่งใหญ่ จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย
จนในที่สุดก็สลายไปจนหาไม่พบว่า "เนื้อ หนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านว่าอยู่ที่ตรงไหน" คงเหลืออยู่แต่ "สิ่งที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อกำเนิดมาเป็นตัวของท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น" แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เพียงเท่านี้มิได้ยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านในอดีต จะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ
ในเมื่อความเป็นจริงก็เห็น ๆ กันอยู่เช่นนี้แล้ว "เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้ง จะต้องจากไป" ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมี "ไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้"
เหตุใด... -
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน เชือกปะกำช้างป้องกันคุณไสย์ ลมเพลมพัด
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน เชือกปะกำช้างป้องกันคุณไสย์ ลมเพลมพัด
เชือกปะกำช้าง ถือเป็นทนสิทธิ์เครื่องรางชนิดหนึ่ง ที่มีฤทธิ์ในตัวบวกกับการนำเข้าพิธีมงคล คล้องช้าง และพิธีของพราหมณ์ เพราะการคล้องช้างสมัยโบราณนั้น จะใช้หนังควายเป็นปะกำคล้องช้าง เพราะมีความเหนียว ความทน วัตถุประสงค์ ก็เพื่อนำช้างนั้น มาใช้ในการออกศึก หรือ นำมาใช้ในราชพิธี และงานวััตถุประสงค์ที่จำเป็น ตามคติความเชื่อ ช้างนั้นถือเป็นสัตว์มงคล มาตั้งแต่โบราณกาล จวบจนปัจจุบัน เพราะมีความเกี่ยวพัน กับวิถีการเป็นอยู่ของมนุษย์
เพราะเหตุนี้ปะกำช้างจึงกลายมาเป็นเครื่องราง ที่มีคุณวิเศษในตัว ทั้งทางด้านการข่มคุณไสย์ คุณผีคุณคน ป้องกันอาถรรพ์ เป็นเมตตามหานิยมต่อผู้ที่ได้ครอบครอง หนังปะกำ หรือ เชือกปะกำ เป็นบ่วงบาศก์ทำด้วยหนังควายที่นำมาตัดเป็นริ้วๆ แล้วตากแห้ง
จากนั้นปั่นเข้ากันเป็น ๓ เกลียว มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ - ๒ นิ้ว มีความยาวประมาณ
๕๐ - ๘๐ เมตร จากนั้นจะมีพิธีอัญเชิญผีปะกำ ซึ่งเป็นวิญญาณบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่... -
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน วัวธนูไม้ไผ่
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน วัวธนูไม้ไผ่สาน(โคสวาลา)ของดีกันภูติผีแห่งดินแดนล้านนา
มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า มีพระธุดงค์รูปหนึ่งได้จาริกแสวงบุญไปตามสถานที่ทุรกันดาร วันหนึ่งได้สัญจร (เดินทาง) เข้าไปในราวป่าปราศจากบ้านผู้คน ขณะนั้นดวงตะวันคล้อยต่ำลงจะลาลับขอบฟ้าอยู่แล้ว ได้มีสิ่งหนึ่งปรากฏขึ้นอยู่เบื้องหน้าท่าน จึงมุ่งหน้าเดินตรงไปหาปรากฏเป็นภาพของพระอุโบสถกลางป่าแห่งหนึ่งแต่อยู่ไกลลิบ ซึ่งในระหว่างทางได้พบชายนุ่งขาวห่มขาวอยู่ผู้หนึ่งเดินสวนมา และขอติดตามท่านไปด้วยในลักษณะความเป็นห่วงเป็นใย และเมื่อเดินไปได้สักพัก เห็นต้นไผ่ป่าโน้มลำต้นขวางทาง ชายแก่ผู้ที่ได้ร่วมเดินทางมากับพระธุดงค์นั้นได้ใช้มือล้วงลงไปในย่ามหยิบมีดหมอออกมาเล่มหนึ่งแล้วลงมือตัดฉับเดียวต้นไผ่ก็ขาดออกจากกัน
จากนั้นก็รีบขมีขมันจัดการแยกชิ้นส่วนเป็นไม้ตอกได้กำใหญ่ พลางเดินไปสานไปเมื่อสานเสร็จก็บรรจุในย่ามที่ใช้สะพายอยู่ติดตัว พอไปถึงจุดหมายปลายทางเห็นเป็นพระอุโบสถที่ทรุดโทรมลักษณะคล้ายจะรกร้างมานานปี ส่วนด้านหลังพระอุโบสถเป็นศาลาหลังเล็กค่อนข้างผุหลังคาโหว่และเห็นพระภิกษุชุมนุมกันอยู่ด้วยกันสี่รูป... -
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
สฬายตนวิภังคสูตร
[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็น จักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น รูป ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น จักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น จักษุสัมผัส ตามความ เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง
ย่อมกำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ กำหนัดในจักษุสัมผัส กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม... -
สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน
ทารุขันธสูตร
[๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอย มาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย เห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่ จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำ วนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายใน ไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน... -
ปิดการแจก มอบให้ฟรีหลวงปู่ทวดขนาดห้อยคอกับข้าราชการทหาร-ตำรวจ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ วัดสุขโขวนาราม
(อาจมีประโยชน์กับผู้ที่ท่านรู้จัก)
มอบให้ฟรีหลวงปู่ทวดขนาดห้อยคอ
ให้กับข้าราชการทหาร-ตำรวจ
ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
กรุณาตั้งสติก่อนขอ
เพื่อเป็นขวัญกำลังใจกับข้าราชการที่เสียสละปฏิบัติหน้าที่
เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และเพื่อปกปักษ์รักษาให้ทุกท่านแคล้วคลาดรอดพ้นจากภัยอันตราย
ต่างๆที่ไม่เกินกฏของกรรมได้รับความเมตตาอธิษฐานจิตโดย
หลวงปู่สุภัทธ์ ปุญญาคโม
จากวัดสุขโขวนารามต.ชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
แจ้งชื่อ-ที่อยู่ในเพจของวัดสุขโขวนารามได้เลยครับจัดส่งฟรี -
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน ตำรับการสร้างวัวธนูสัตว์พยนต์ผู้รักษาเจ้าของ
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน ตำรับการสร้างวัวธนูสัตว์พยนต์ผู้รักษาเจ้าของ
นั้น...จากคัมภีร์ใบลานที่เป็นแบบแผนการสร้างในยุคปัจจุบันได้จารึกไว้ว่า เป็นตำรับที่สืบทอดมาแต่สมัยกรุง
ศรีอยุธยา ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คัมภีร์ใบลานเกี่ยวกับการสร้างวัวธนูนี้ มีข้อน่าสังเกตอยู่ว่า จารไว้ด้วยภาษาขอม ลาว
อันปรากฏว่าครั้งหนึ่งเคยตกไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ซึ่งต่อมาพระเถราจารย์ฝ่ายไทยได้ไปค้นพบแล้วนำกลับมาฟื้นฟูกันอีกครั้งหนึ่ง
จากสาระในคัมภีร์มีการอ้างชื่อของ สมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นพระมหาเถระในฐานะสังฆราชฝ่ายอรัญวาสีแห่งกรุงศรีอยุธยา
เอาไว้ด้วย
อนึ่ง วัดป่าแก้วที่ว่านี้ ตามตำนานดั้งเดิมกล่าวไว้ว่าเป็นวัดที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ทั้งสมเด็จพระพนรัตก็เป็น
พระอาจารย์ของพระองค์ท่านด้วย ข้อสันนิษฐานถึงสมเด็จพระพนรัต จึงมีว่า ท่านคงเป็นพระมหาเถระ ที่แก่กล้าเวทย์วิชาคาถามหา
อาคม เป็นครูอาจารย์ที่แตกฉานชำนาญในไตรเพทและด้านกรรมฐานอย่างแน่นอน
คัมภีร์ใบลานเกี่ยวกับตำราการสร้างวัวธนูได้ระบุชื่อ สมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ไว้เช่นนี้... -
เล่าขานตำนานธรรมะพเนจรกับหลวงปู่จันทา ถาวโร
เล่าขานตำนานธรรมะพเนจรกับหลวงปู่จันทา ถาวโร ตอน ปฐมบทชาติกำเนิด
ท่านพระอาจารย์จันทาเป็นชาวร้อยเอ็ด เกิดที่บ้านแดง หมู่ที่ ๘ ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากวัดในเมืองไปประมาณ ๔ กม. ไม่ไกล วัดบูรพานี้สังเกตง่าย เพราะมีพระพุทธรูปยืนสูงที่สุดในประเทศไทย
ท่านเกิด พ.ศ.๒๔๖๕ (สองพันที่ร้อยหกสิบห้า) วันเสาร์ เดือน ๓ เป็นปีกระต่ายอดหญ้า เหตุเพราะว่าเป็นหน้าร้อนแห้งแล้งมากหญ้าตายหมด กระต่ายเลยอดอยากไม่มีหญ้ากิน
โยมพ่อชื่อ นานสังข์ ไชยนิตย์
โยมมารดาชื่อ นางเหลี่ยม ชมภูวิเศษ
มีบุตรธิดา ๖ คน เป็นหญิง ๑ ท่านพระอาจารย์จันทาเป็นบุตรคนที่ ๔
อาชีพของครอบครัวทำนา เมื่อถึงหน้าแล้งก็ปลูกแตง ปลูกผักสวนครัว ปลูกยาสูบ และออกทอดแหหาปลาในแม่น้ำชี พวกเด็ก ๆ ส่วนมากเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเป็นงานหลัก
สมัยนั้นเมื่อ ๖๐ กว่าปีมาแล้ว บ้านเมืองยังไม่เจริญ การเรียนหนังสือตามบ้านนอกชนบทหัวเมืองไกล อาศัยเรียนตามวัดกับพระสงฆ์องค์เจ้า โรงเรียนประถมศึกษามีน้อย และทางราชการก็ไม่ค่อยบังคับเข้มงวดให้เรียนหนังสือเท่าไรนัก
จึงปรากฏต่อมาว่า คนเฒ่าคนแก่ส่วนมากอ่านหนังสือไม่ได้... -
หลวงพ่อฤาษีลิงดำเล่าเรื่อง | เหตุที่เกิดแผ่นดินไหว
หลวงพ่อฤาษีลิงดำเล่าเรื่อง | เหตุที่เกิดแผ่นดินไหว
FungKhorKid :- Published on Mar 29, 2017 -
ไม่ต้องตั้งท่าให้มาก*เลี้ยงกำลังใจให้ทรงตัว ทำอย่างไร? * เวลาจะเคลื่อนไป ทำอย่างไร? - ระวังพระพุทธเจ้าอุปาทาน
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
☆☆☆☆☆
◇ ☆ มโนมยิทธิ ☆ ไม่ต้องตั้งท่าให้มาก
◇ ☆ มโนมยิทธิ ☆ เลี้ยงกำลังใจให้ทรงตัว ทำอย่างไร...?
◇ ☆ มโนมยิทธิ ☆ เวลาจะเคลื่อนไป ทำอย่างไร...?
◇ ☆ มโนมยิทธิ ☆ ระวังพระพุทธเจ้าอุปาทาน...?
◇ ☆ มโนมยิทธิ ☆ การจะป้องกันตัวอุปาทานไม่ให้เกิด ทำอย่างไร...?
☆☆☆☆☆
◇◇◇
มโนมยิทธินี่ไม่ต้องตั้งท่า นึกขึ้นมาเมื่อไรไปได้เมื่อนั้นทันที นึกมาเมื่อไรปุ๊ปไปทันที นี่เป็นการเข้าฌาณ ไอ้ตัวไปนี่มันฌาณ ๔
◇◇◇
☆ ต้องเลี้ยงกำลังใจให้ทรงตัว อยู่เฉยๆ ก็จับลมหายใจเข้าออก ภาวนา "นะมะ พะธะ"
☆ เลี้ยงอารมณ์ให้อยู่แบบนั้น นี่ต้องมีหนึ่งเวลาหรือสองเวลาคือให้มีกำลังจิตมันทรงตัว
▪และเวลาที่เราจะเคลื่อนไปก็ใช้สองอย่าง..
☆ อันดับแรก จับภาพพระพุทธเจ้าให้ชัด ถ้าชัดแจ่มใสดีก็ไป เคลื่อนไป อาศัยบารมีท่าน อันนี้อย่าพลาด
☆ อีกจุดหนึ่ง การรวบรวมเอาเลย ปุ๊บปั๊บไม่สนใจคำภาวนาและไม่สนใจลมหายใจเข้าออก
รวมใจแล้วไปตามจุดนั้น ต้องเล่นสองแบบ แล้วก็ลองวิธีที่จะพิสูจน์ ไม่ยาก เล่นมันคนละวัน
☆ อย่างเช้ามืดตื่นขึ้นมาพั๊บ จับลมหายใจเข้าออกให้สบายทรงอารมณ์ให้ดีเห็นภาพพระพุทธเจ้าใสแล้วก็ถามท่านว่า
☆... -
อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
อาสวักขยญาณ
[๑๓๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อม หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและ ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำ เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น
ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น แล เมื่อจิตเป็นสมาธิ... -
มโนมยิทธิญาณ
มโนมยิทธิญาณ
[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน...
หน้า 375 ของ 413