ไขปริศนา เงื่อนงำ ที่ตั้ง "ชมพูทวีป" และ "ลังกาทวีป" ตั้งอยู่ที่ไหนกันแน่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 8 พฤษภาคม 2016.

  1. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    ลุมพินีวันในสมัยพุทธกาล

    ในสมัยพุทธกาล ลุมพินีวันอยู่ในเขตแห่งดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีป ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของพระเจ้าสุทโธทนะ และกรุงเทวทหะ เมืองหลวงของพระเจ้าชนาธิป เป็นพระราชอุทยานลาดลุ่มร่มรื่นกึ่งกลางระหว่างทางสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของกษัตริย์และประชาชน สภาพของลุมพินีวันในสมัยนั้นอาจจะพิจารณาได้จากคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน ได้พรรณนาเป็นภาษาบาลีไว้ว่า


    "ทวินฺนํ ปน นครานํ อนฺตเร อุภยนครวาสีนมฺปิ ลุมพินีวนํ นาม มงฺคลสาลวนํ อตฺถิ, ตสฺมึ สมเย มูลโต ปฏฺฐาย ยาว อคฺคสาขา สพฺพํ เอกปาลิผุลฺลํ อโหสิ สาขนฺตเรหิ เจว ปุปฺผนฺตเรหิ จ ปญฺจวณฺณา ภมรคณา นานปฺปการา จ สกุณสงฺฆา มธุรสฺสเรน วิกูชนฺตา สกลํ ลุมฺพินีวนํ จิตฺตลตาวนสทิสํ ฯเปฯ"

    แปลว่า: "ในระหว่างเมืองทั้งสอง มีป่าสาละชื่อลุมพินีวันอันเป็นมงคล สมัยนั้นสาละทั้งหมดล้วนมีดอกออกสะพรั่งเป็นแนวเดียวกัน แต่รากจนสุดปลายกิ่ง ตามกิ่งก้านสาขาและดอกนั้นล้วนมีหมู่ภมรนานาชนิด และหมู่นกหลากหลายชนิดส่งเสียงกู่ร้องประสานสำเนียง ดังทั่วทั้งป่า ลุมพินีวันนั้นจึงประดุจเช่นเดียวกับสวนจิตรลดา (อันมีในดาวดึงสเทวโลก) ฉะนั้น ฯลฯ"


    — วิสุทฺธชนวิลาสินี 1, หน้า 64
    หลังจากการประสูติของพระพุทธองค์แล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานอื่นว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่แห่งนี้แต่อย่างใด แม้พระพุทธเจ้าจะได้เสด็จมา ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ก็ประทับที่นิโครธารามที่พระประยูรญาติจัดถวายหาได้มาประทับหรือแสดงธรรม ณ ลุมพินีวันอีกไม่ เนื่องเพราะลุมพินีวันนั้นเป็นอุทยานไม่มีผู้คนอาศัยนั่นเอง[4]
     
  2. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    ลุมพินีวันหลังพุทธปรินิพพาน

    หลังพุทธปรินิพาน กษัตริย์ซึ่งได้รับส่วนแบ่งแห่งพระบรมสารีริกธาตุ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในสถูปแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากลุมพินีวันนัก จวบจนพุทธศักราชได้ 294 ปี พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จนมัสการพุทธสังเวชนียสถานทั่วทั้งชมพูทวีป พร้อมด้วยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ (หรือพระอุปคุต) ได้เสด็จมานมัสการ ณ ลุมพินีนี้ พระองค์โปรดฯ ให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระนำทางและชี้จุดที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ แล้วทรงสร้างอาราม พระเจดีย์และเสาศิลาจารึกไว้เป็นสัญลักษณ์ว่า ลุมพินีวันนี้มีความสำคัญอย่างไร ซึ่งเสาศิลาหินทรายของพระเจ้าอโศกยังคงตั้งอยู่ ณ ที่เดิมจนถึงปัจจุบัน[5]


    สระสรงสนาน และ มหามายาเทวีวิหาร หลังการบูรณะ
    หลังจากยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช เรื่องราวของลุมพินีวันได้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาเกือบ 700 ปี โดยไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารที่สามารถสืบค้นถึงความเป็นไปของลุมพินีวันในช่วงนี้ได้ จนในประมาณ พ.ศ. 900 สมณะฟาเหียนได้เดินทางจากประเทศจีนมาถึงลุมพินีวัน ท่านได้กล่าวไว้สั้น ๆ เพียงว่าได้พบบ่อสรงสนาน และระบุที่ตั้งของลุมพินีวันว่าอยู่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 14-16 กิโลเมตร[5]

    ต่อมา ในปี พ.ศ. 1181 สมณะเฮี้ยนจัง หรือ พระถังซำจั๋ง ได้เดินทางมาถึงลุมพินีวัน โดยได้จดบันทึกระบุที่ตั้งสถานที่ต่าง ๆ ในลุมพินีวันไว้คร่าว ๆ ท่านได้กล่าวถึงบ่อสรงสนาน ซึ่งคงเป็นบ่อเดียวกับที่สมณะฟาเหียนกล่าวไว้ในบันทึก ซึ่งบ่อนี้ยังคงมีอยู่มาจนปัจจุบัน และกล่าวว่าไม่ไกลจากบ่อนั้นไปประมาณ 24 ก้าว มีต้นสาละต้นหนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นจุดที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จากจุดนั้นไปทางใต้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระอินทร์เสด็จจากสวรรค์ลงมาต้อนรับพระราชโอรสที่ประสูติใหม่ ใกล้ ๆ กันมีเจดีย์อีกสี่องค์ ที่สร้างไว้เพื่อถวายแก่ท้าวจตุโลกบาล ที่ทำหน้าที่ถวายอภิบาลพระโอรสประสูติใหม่ และใกล้กันนั้นมีเสาอโศกรูปสิงห์ประดิษฐานอยู่บนยอด[6]

    จวบจน พ.ศ. 2438–2439 เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม และคณะ ได้ค้นพบเสาศิลาพระเจ้าอโศกซึ่งถูกฝังดินไว้และพบจารึกเป็นอักษรพราหมีระบุว่าที่แห่งนี้คือสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จากนั้นจึงเริ่มมีการขุดค้นทางโบราณคดี โดยพบซากปรักหักพังจำนวนมาก ซากสถูปกว่า 50 องค์ และซากวิหารอาราม มีอายุตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะ ราชวงศ์ศุงคะ ราชวงศ์กุษาณะ และสมัยคุปตะ (ประมาณ พ.ศ. 300 - พ.ศ. 950) [7]

    จุดแสวงบุญและสภาพของลุมพินีวันในปัจจุบัน[แก้]

    ฯพณฯ อู ถั่น อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ผู้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวันให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก
    ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ "เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช" ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ นอกจากนี้ ยังมี "วิหารมายาเทวี" ภายในประดิษฐานภาพหินแกะสลักพระรูปพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส โดยเป็นวิหารเก่ามีอายุร่วมสมัยกับเสาหินพระเจ้าอโศก ปัจจุบัน ทางการเนปาลได้สร้างวิหารใหม่ทับวิหารมายาเทวีหลังเก่า และได้ขุดค้นพบศิลาจารึกรูปคล้ายรอยเท้า สันนิษฐานว่าเป็นจารึกรอยเท้าก้าวที่เจ็ดของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงดำเนินได้เจ็ดก้าวในวันประสูติ

    พุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก[แก้]
    ลุมพินีวันได้รับการพัฒนาจากชาวพุทธทั่วโลก โดยเฉพาะจากโครงการฟื้นฟูพุทธสถานลุมพินีวันให้เป็น "พุทธอุทยานทางประวัติศาสตร์ของโลก" ซึ่งเป็นดำริของ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านตั้งใจเริ่มโครงการฟื้นฟูให้ลุมพินีวันเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธบนพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว่า 6,000 ไร่ (ขนานตามแนวเหนือใต้) แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกป่าและสร้างวัดพุทธนานาชาติจากทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ โดยโบราณสถานลุมพินีวันตั้งอยู่ทางด้านใต้ ปัจจุบัน มีวัดไทยและวัดพุทธทั่วโลกไปสร้างอยู่จำนวนมากและมีขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะแสวงบุญ
     
  3. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    เชื่อแบบเอกคือ สังเวชนียสถานที่เก่าแก่มาเป็นสองพันกว่าปีสร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี


    เชื่อแบบเอกคือ โบราณสถานที่ลุมพินีวันที่อินเดีย สร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี
    เชื่อแบบเอกคือ โบราณสถานที่พุทธคยาที่อินเดีย สร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี
    เชื่อแบบเอกคือ โบราณสถานที่สารนาถที่อินเดีย สร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี
    เชื่อแบบเอกคือ โบราณสถานที่กุสินาราที่อินเดีย สร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี

    <img src="http://palungjit.org/attachments/a.3658270/">
     
  4. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809

    ไม่มีประโยชน์อันใด เลยครับ คุณ 12qv ถ้า ไม่อ่าน ไม่พิเคราะห์ ในสิ่งที่ รวบรวม มาให้พิจารณา

    http://palungjit.org/threads/คนไทยก...นโงหัวไม่ขึ้น-เรื่องที่ตั้งลุมพินีวัน.564548/
     
  5. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ย้ำอีกครั้ง ว่า หากการกำหนดสถานที่ตั้ง เมืองราชคฤห์ ผิด เมืองกุสินาราผิด

    สถานที่ ตรัสรู้ ที่อินเดีย ก็ตั้งอยู่ผิดที่ ครับ

    สถานที่ ปรินิพพาน ที่อินเดีย ก็ตั้งอยู่ผิดที่ครับ
     
  6. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เนื่องในวันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา วันนี้ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2559
    ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา เป็นวันคล้ายวัน ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ขออนุญาต นำเกร็ดความรู้ ทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มา แปะไว้ ให้ผู้สนใจใคร่รู้ได้อ่านนะครับ

    “พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) กล่าวไว้ในหนังสือ ประวัติศาสนา ของท่านว่า
    ก่อนเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติเล็กน้อย ที่กรุงเทวทหะมีกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าอัญชนะ มี
    พระขนิษฐาพระองค์หนึ่งไปเป็นพระมเหสีพระเจ้าสีหหนุแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ส่วนพระองค์ก็ได้พระ
    ขนิษฐาของพระเจ้าสีหหนุมาเป็นพระมเหสี ส่วนที่กรุงราชคฤห์มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าพาทิ
    ยะ กษัตริย์ทั้งสามนครสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้ามหาสมมติตั้งแต่ครั้งปฐมกัลป์และเป็นพระสหายกัน
    พระเจ้าอัญชนะนั้นมีพระอนุชาพระองค์หนึ่งถือเพศเป็นดาบส พระนามว่า กาลเทวิลดาบส
    ครั้งหนึ่ง กาลเทวิลดาบส ได้ชักชวนให้กษัตริย์ทั้งสามนครลบศักราชเก่าเสียแล้วตั้งศักราชของตนเอง
    ขึ้นมาใช้ใหม่เรียกว่า อัญชนะศักราช แต่ในบางแห่งก็เรียกว่าศักราชของพระเจ้าสีหหนุ
    พระเจ้าสีหหนุมีโอรสพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระชายาคือพระนางสิริมหามายา
    และต่อมามีพระชายาอีกองค์คือพระนางปชาบดี ทั้งสองเป็นพระธิดาของพระเจ้าอัญชนะ ต่อมาเมื่อ
    อัญชนะศักราชได้ ๖๘ ปี พระโพธิสัตว์ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา และมีพระ
    ประสูติกาลเมื่ออัญชนะศักราชได้ ๖๙ ปี ครั้งเมื่ออัญชนะศักราชได้ ๙๘ ปี พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรง
    ออกผนวช และได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่ออัญชนะศักราชได้ ๑๐๓ ปี จนถึงอัญชนะ
    ศักราชได้ ๑๔๘ ปีก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน”
    ....

    ผมเชื่อว่า....ที่อินเดีย และเนปาล คงไม่มี "ประวัติพระพุทธศาสนาแบบนี้"

    และ เพิ่มเติมครับ คุณ 12qv....อินเดียไม่มีกษัตริย์ที่มีพระนาม ว่า "อโศกมหาราช" มีแต่ "พระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี ที่มีชื่อในจารึก และเสาศิลา"...และที่สำคัญ "เกิดหลังการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3" โดยเกิดหลัง "พระเจ้าอโศกองค์อุปถัมภ์ การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3 ที่เกิด ในวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ พุทธศักราช 188

    เอาเรืองเก่ามาเล่าใหม่ ส่วน คุณ 12qv จะอ่านหรือไม่ ไม่ได้บังคับนะครับ

    บรรพบุรุษของไทยเราแต่โบราณกาล รู้ วันประสูติของ พระเจ้าอโศกมหาราช และตรงศักราชในอรรถกถา แต่ ไม่ตรงกับ "ประวัติศาสตร์ที่ฝรั่งเขียน"
    ...
    แปลกมั๊ยครับ ที่ ในบันทึกสมัยโบราณของคนไทย รู้วัน เดือน ปีเกิด ของพระเจ้าอโศกมหาราช และขึ้นครองราชย์ตรงตามที่ พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นพระอรหันต์สมัยพุทธกาล ได้พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าข้อความที่ปรากฏอยู่ในตำนานทางเหนือ แปลออกมาเป็นไทยแล้วในพระอรรถกถา ตอนหนึ่ง บันทึกไว้ว่า.. แม้พระมหากัสสปเถรก็เล็งเห็นพระเจ้าอโศกล่วงหน้าถึง ๒๑๘ ปี
    ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะ อธิษฐานว่า พวงมาลัยอย่าเหี่ยว กลิ่นหอมอย่าหาย ประทีปอย่าไหม้ แล้วให้จารึกอักษรไว้ ที่แผ่นทองว่า แม้ในอนาคตกาลครั้งพระกุมารพระนามว่า อโศก จักเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลายไป ดังนี้.
    พระราชา (พระเจ้าอชาตศัตรู) ทรงเอาเครื่องประดับทั้งหมดบูชา ทรงปิดประตูแล้วเสด็จออกไปตั้งแต่แรก.
    ท้าวเธอ (พระเจ้าอชาตศัตรู) ครั้นปิดประตูทองแดงแล้ว ทรงคล้องตรากุญแจไว้ที่เชือกผูก ทรงวางแท่งแก้วมณีแท่งใหญ่ไว้ที่ตรงนั้นนั่นเอง โปรดให้จารึกอักษรไว้ว่า ในอนาคตกาล เจ้าแผ่นดินที่ยากจน จงถือเอาแก้วมณีแท่งนี้ กระทำสักการะพระบรมธาตุทั้งหลายเทอญ.
    เมื่อการเก็บพระบรมธาตุเสร็จเรียบร้อยอย่างนี้แล้ว แม้พระเถระ (พระมหากัสสปะ) ดำรงอยู่จนตลอดอายุก็ปรินิพพาน แม้พระราชา (พระเจ้าอชาตศัตรู) ก็เสด็จไปตามยถากรรม พวกมนุษย์แม้เหล่านั้น ก็ตายกันไป.
    ต่อมาภายหลัง เมื่อครั้งอโศกกุมารเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระธรรมราชาพระนามว่าอโศก ทรงรับพระบรมธาตุเหล่านั้นไว้แล้ว ได้ทรงกระทำให้แพร่หลาย.
    พระราชาให้รื้อพระเจดีย์ในกรุงราชคฤห์ ก็ไม่พบ ทรงให้ทำพระเจดีย์คืนดี อย่างเดิมแล้ว ทรงพาบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปยัง กรุงเวสาลี แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้ ก็ไปยังกรุงกบิลพัศดุ์ แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้ แล้วไปยังรามคาม เหล่านาคในรามคาม ก็ไม่ยอมให้รื้อพระเจดีย์.
    จอบที่ตกต้องพระเจดีย์ ก็หักเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้ ก็ไปยังเมืองอัลลกัปปะเวฏฐทีปะ ปาวา กุสินารา ในที่ทุกแห่งดั่งกล่าว มานี้ รื้อพระเจดีย์แล้วก็ไม่ได้พระบรมธาตุเลย ครั้นทำเจดีย์เหล่านั้นให้คืนดี ดั่งเดิมแล้ว ก็กลับไปยังกรุงราชคฤห์อีก ทรงประชุมบริษัท ๔ แล้วตรัสถามว่า ใครเคยได้ยินว่า ที่เก็บพระบรมธาตุ ในที่ชื่อโน้น มีบ้างไหม.
    ในที่ประชุมนั้นพระเถระรูปหนึ่ง อายุ ๑๒๐ ปี กล่าวว่า อาตมาภาพก็ไม่รู้ว่า ที่เก็บพระบรมธาตุ อยู่ที่โน้น แต่พระมหาเถระบิดาอาตมภาพ ให้อาตมภาพครั้งอายุ ๗ ขวบ ถือหีบมาลัย กล่าวว่า มานี่ สามเณร ระหว่างกอไม้ตรงโน้น มีสถูปหินอยู่ เราไปกันที่นั้นเถิด แล้วไปบูชา ท่านพูดว่า สามเณร ควรพิจารณาที่ตรงนี้.
    ถวายพระพร อาตมภาพรู้เท่านี้ พระราชาตรัสว่า ที่นั่นแหละ แล้วสั่งให้ตัด กอไม้ แล้วนำสถูปหินและฝุ่นออก ก็ทรงเห็นพื้นโบกปูนอยู่ แต่นั้นทรงทำลาย ปูนโบกและแผ่นอิฐแล้วเสด็จสู่บริเวณตามลำดับ ทอดพระเนตรเห็นทรายรัตนะ ๗ ประการ และรูปไม้ (หุ่นยนต์) ถือดาบ เดินวนเวียนอยู่ ท้าวเธอรับสั่งให้ เหล่าคนผู้ถือผีมา แม้ให้ทำการเซ่นสรวงแล้ว ก็ไม่เห็นที่สุดโต่งสุดยอดเลย จึงทรงนมัสการเทวดาทั้งหลายแล้วตรัสว่า ข้าพเจ้ารับพระบรมธาตุเหล่านี้แล้ว บรรจุไว้ในวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหาร จะทำสักการะ ขอเทวดาอย่าทำอันตรายแก่ ข้าพเจ้าเลย.
    ครั้งนั้น พระราชาทรงถือตรากุญแจ ที่ติดอยู่ที่เชือกผูก ทอดพระเนตรเห็นแท่งแก้วมณีและเห็นอักษรจารึกว่า ในอนาคตกาล เจ้าแผ่นดินที่ยากจนถือเอาแก้วมณีแท่งนี้แล้ว จงทำสักการะพระบรมธาตุทั้งหลาย ทรงกริ้วว่า ไม่ควรพูดหมิ่นพระราชาเช่นเราว่า เจ้าแผ่นดินยากจน ดังนี้แล้ว ทรงเคาะซ้ำ ๆ กันให้เปิดประตู เสด็จเข้าไปภายในเรือนประทีปที่ตามไว้ เมื่อ ๒๑๘ ปี ก็โพลงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ดอกบัวขาบก็เหมือนนำมาวางไว้ขณะนั้นเอง เครื่องลาดดอกไม้ก็เหมือนลาดไว้ขณะนั้นเอง เครื่องหอมก็เหมือนเขาบด วางไว้เมื่อครู่นี้เอง.
    พระราชาทรงถือแผ่นทอง ทรงอ่านว่า ต่อไปในอนาคตกาล ครั้งกุมารพระนามว่า อโศก จักเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระธรรมราชาพระนามว่า อโศก ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลาย ดังนี้ แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้า มหากัสสปเถระเห็นตัวเราแล้ว ทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบกับพระหัตถ์ขวา.
    ท้าวเธอเว้นเพียงพระบรมธาตุที่ปกปิดไว้ในที่นั้น ทรงทำพระบรมธาตุที่เหลือทั้งหมดมาแล้ว "ปิดเรือนพระบรมธาตุไว้เหมือนอย่างเดิม ทรงทำที่ทุกแห่งเป็นปกติอย่างเก่าแล้ว โปรดให้ประดิษฐานปาสาณเจดีย์ไว้ข้างบน" บรรจุพระบรมธาตุไว้ในวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหาร
    พระพุทธเจ้า ก็เล็งเห็น พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ที่เป็นประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ล่วงหน้า ดังในพระอรรถกถา บันทึกไว้ว่า..
    พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นพระโมคคัลลีบุตรล่วงหน้า หลังพุทธปรินิพพาน ๒๑๘ ปีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เมื่อเราปรินิพพานล่วงไป ๒๑๘ ปี พระเถระชื่อว่าโมคคัลลีปุตตติสสะ จะนั่งในท่ามกลางภิกษุหนึ่งพันประมวล พระสูตรมาพันหนึ่ง คือ พระสูตร ๕๐๐ สูตร ในฝ่ายสกวาที พระสูตร ๕๐๐ สูตรในฝ่ายปรวาที แล้วจักจำแนกกถาวัตถุปกรณ์ประมาณเท่ากับทีฆนิกาย แม้พระโมคคัลลีปุตตติสสเถระ เมื่อจะแสดงปกรณ์นี้ มิได้แสดงด้วยญาณของตน แต่แสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้โดยนัยที่พระศาสดาประทาน ดังนั้น ปกรณ์นี้ ทั้งสิ้น จึงชื่อว่าพุทธภาษิตเหมือนกัน เพราะพระเถระแสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้ โดยนัยที่พระศาสดาประทาน เหมือนมธุปิณฑิกสูตรเป็นต้น.
    แต่ ตามที่นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก ศึกษาประวัติพระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี ที่เขาเชื่อว่า คือ "พระเจ้าอโศก" นั้น กลับประสูติ หลัง พ.ศ. ๒๑๘ ซึ่งเป็นที่ขึ้นครองราชย์ ตามที่บันทึกไว้ในพระอรรถกถา คือ ประสูติ 302 BC หรือ พ.ศ. 240 ครองราชย์ 273 BC หรือ พ.ศ. 270 ตามประวัติย่อ จาก Wikipedia
    .....
    ที่อินเดีย มีการขุดค้นพบหลักฐาน สถานที่ที่ "พระเจ้าอชาตศัตรูประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ" หรือไม่?
    และ ที่อินเดีย มีการค้นพบ "จารึกแผ่นทองคำที่พระมหากัสสปะให้จารึกไว้" ใน สถานที่ที่ "พระเจ้าอชาตศัตรูประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ" หรือไม่?
    และที่อินเดีย ได้ ค้นพบ "สิ่งมีค่า" ต่างๆ ที่พระเจ้าอชาตศัตรู ให้สร้างไว้เพื่อบูชาพระบรมธาตุ หรือไม่?
    แล้วพวกเรา คิดว่า "พระเจ้าอโศกประสูติก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎก หรือหลังการสังคายนา" และ "พระเจ้าอโศกที่อินเดียที่เกิดหลัง พ.ศ. 218" จะใช่องค์ที่เป็นผู้อุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3 ได้อย่างไร?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    สุนาปรันตะ-สาวัตถี-สัจจพันธ์บรรพต

    เล่ากันมาว่า ในแคว้นสุนาปรันตะ ในหมู่บ้านพ่อค้าแห่งหนึ่ง ชนทั้ง ๒ นั้นเป็นพี่น้องกัน ใน ๒ คนนั้น บางคราวพี่ชายพาเกวียน ๕๐๐ เล่มไปสู่ชนบทนำสินค้ามา. บางคราวก็น้องชาย.
    ก็ในสมัยนี้ พักน้องชายไว้ในเรือน พี่ชายพาเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวจาริกไปในชนบท ถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ พักเกวียน ๕๐๐ เล่ม ไว้ในที่ไม่ไกลพระเชตวัน รับประทานอาหารเช้าแล้ว แวดล้อมไปด้วยชนบริษัทนั่งในที่มีความผาสุก.
    สมัยนั้น ชาวกรุงสาวัตถีบริโภคอาหารเช้าแล้ว อธิษฐานองค์อุโบสถ ห่มผ้าเฉวียงบ่าอันหมดจด ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นน้อมโน้มเงื้อมไปในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ออกทางประตูด้านทักษิณไปยังพระเชตวัน.
    เขาเห็นชนเหล่านั้นจึงถามมนุษย์คนหนึ่งว่าคนพวกนี้จะไปไหน.
    คนนั้นกล่าวว่า นายท่านไม่รู้หรือว่า ชื่อพระรัตนะ คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก มหาชนนั้นพากันไปสำนักพระศาสดา เพื่อจะฟังธรรมกถาด้วยประการฉะนี้.
    คำว่า พุทฺโธ ได้เฉือนผิวหนังตั้งจดเยื่อกระดูกของเขา. เขามีบริษัทของตนแวดล้อม ไปวิหารพร้อมด้วยบริษัทนั้น เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท ก็เกิดจิตคิดจะบรรพชา.
    ลำดับนั้น เมื่อพระตถาคตทรงทราบเวลาแล้วส่งบริษัทไป เขาจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคม นิมนต์เพื่อเสวยอาหารในวันรุ่งขึ้น ให้สร้างมณฑปในวันที่ ๒ ให้ปูอาสนะ ถวายมหาทานแก่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน บริโภคอาหารเช้าแล้ว อธิษฐานองค์อุโบสถ ให้เรียกผู้รักษาเรือนคลังมาสั่งว่า ทรัพย์มีประมาณเท่านี้เราสละแล้ว ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ เราไม่พึงสละ จึงบอกเรื่องทั้งหมด กล่าวว่า ท่านจงให้สมบัตินี้แก่น้องชายของเราดังนี้ มอบทรัพย์ทั้งหมดให้แล้วบวชในสำนักของพระศาสดา บำเพ็ญกรรมฐานเป็นเบื้องหน้า.
    ลำดับนั้น เมื่อท่านมนสิการพระกรรมฐานอยู่ กรรมฐานไม่ปรากฏ. แต่นั้น ท่านคิดว่า ชนบทนี้ไม่เป็นที่สบายสำหรับเรา ถ้ากระไร เราพึงเรียนพระกรรมฐานในสำนักพระศาสดา จะพึงไปในสถานที่ของตนนั่นแล.
    ครั้นเวลาเช้า ท่านก็เที่ยวไปบิณฑบาต ตอนเย็นออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ตรัสบอกพระกรรมฐาน บันลือสีหนาท ๗ ครั้งแล้วก็หลีกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข อายสฺมา ปุณฺโณ ฯลฯ วิหรติ.
    ถามว่า ก็พระปุณณะนี้ อยู่ที่ไหน.
    ตอบว่า อยู่ในสถานที่ ๔ แห่ง.
    อันดับแรก ท่านเข้าไปยังแคว้นสุนาปรันตะ ถึงภูเขาชื่อว่าอัพพุหัตถะ แล้วเข้าไปบิณฑบาตยังวานิชคาม.
    ลำดับนั้น น้องชายจำท่านได้จึงถวายภิกษากล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่าไปในที่อื่น จงอยู่แต่ในที่นี้เท่านั้น ให้ท่านรับคำแล้ว ให้อยู่ในที่นั้นนั่งเอง.
    แต่นั้น ท่านก็ได้ไปวิหารชื่อสมุทคิรี ในที่นั้นมีที่จงกรมซึ่งสร้างกำหนดด้วยแผ่นหินตัดเหล็ก ไม่มีใครที่สามารถจะจงกรมที่จงกรมนั้นได้ในที่นั้น คลื่นในสมุทรมากระทบที่แผ่นหินตัดเหล็กกระทำเสียงดัง พระเถระคิดว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มนสิการพระกรรมฐานอยู่ ขอจงมีความผาสุก จึงอฐิษฐานทำสมุทรให้เงียบเสียง.
    ต่อจากนั้น ก็ได้ไปยังมาตุลคิริ. ในที่นั้นมีฝูงนกหนาแน่น ทั้งเสียงก็ต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันทั้งกลางคืนและกลางวัน. พระเถระคิดว่า ที่นี้ไม่เป็นที่ผาสุก จากนั้นจึงได้ไปยังวิหาร ชื่อว่าสมกุลการาม. วิหารนั้นไม่ไกลนักไม่ใกล้นักจากวานิชคาม สมบูรณ์ด้วยคมนาคม สงัดเงียบเสียง. พระเถระคิดว่า ที่นี้ผาสุกจึงได้สร้างที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้นในที่นั้นแล้วเข้าจำพรรษา.
    ท่านได้อยู่ในที่ ๔ แห่งด้วยประการฉะนี้.
    ภายหลัง ณ วันหนึ่ง ในภายในพรรษานั้นนั่นเอง พวกพ่อค้า ๕๐๐ คนบรรทุกสินค้าลงในเรือด้วยหวังว่าจะไปสู่สมุทรโน้น. ในวันที่ลงเรือน้องชายของพระเถระให้พระเถระฉันแล้ว รับสิกขาบทในสำนักของพระเถระ ไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าสมุทรไว้ใจไม่ได้ ขอท่านทั้งหลายพึงนึกถึงเราดังนี้แล้วขึ้นเรือไป. เรือแล่นไปด้วยความเร็วสูง ถึงเกาะน้อยแห่งหนึ่ง. พวกมนุษย์คิดกันว่า พวกเราจะหาอาหารเช้ากินดังนี้แล้วลงที่เกาะ. ก็ในเกาะนั้นสิ่งอะไรๆ อื่นไม่มี มีแต่ป่าไม้จันทน์เท่านั้น.
    ลำดับนั้น คนๆ หนึ่งเอามีดเคาะต้นไม้ รู้ว่าเป็นจันทน์แดง จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวกเราไปสู่สมุทรโน้นเพื่อต้องการลาภ ก็ขึ้นชื่อว่าลาภยิ่งไปกว่านี้ไม่มี ปุ่มประมาณ ๔ นิ้วได้ราคาตั้งแสน พวกเราบรรทุกสินค้าอันควรจะบรรทุกให้เต็มด้วยไม้จันทน์. คนเหล่านั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว.
    พวกอมนุษย์ผู้สิงอยู่ในป่าไม้จันทน์โกรธแล้วคิดว่า คนเหล่านี้ทำป่าไม้จันทน์ของพวกเราให้ฉิบหาย พวกเราจักฆ่าคนพวกนั้น ดังนี้แล้วกล่าวว่า เมื่อคนเหล่านั้นถูกฆ่าในที่นี้แล ซากศพแต่ละซากศพทั้งหมดก็จักปรากฏมีในภายนอก เราจักจมเรือของพวกมันเสียกลางสมุทร. ครั้นในเวลาที่คนเหล่านั้นลงเรือไปได้ครู่เดียวเท่านั้น พวกอมนุษย์เหล่านั้นทำอุปาติกรูป (รูปผุดเกิดฉับพลัน) ปรากฏขึ้นเองแล้วแสดงรูปที่น่าสะพึงกลัว. พวกมนุษย์กลัว นอบน้อมต่อเทวดาของตน. กุฏุมพีชื่อจุลลปุณณะ น้องชายของพระเถระ ได้ยืนนอบน้อมพระเถระด้วยระลึกว่า ขอพี่ชายจงเป็นที่พึงของเรา.
    ได้ยินว่า ฝ่ายพระเถระนึกถึงน้องชายในขณะนั้นเหมือนกัน รู้ว่าคนเหล่านั้นเกิดความย่อยยับจึงเหาะไปยืนอยู่ตรงหน้า. พวกอมนุษย์พอเห็นพระเถระ คิดว่า พระผู้เป็นเจ้าปุณณเถระมา ก็หลบไป. รูปที่ผุดขึ้นก็สงบไป. พระเถระปลอบใจคนเหล่านั้นว่า อย่ากลัวไปเลย ดังนี้แล้วถามว่าพวกนั้นประสงค์จะไปไหน. คนเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวกกระผมจะไปสถานที่ของพวกผมนั่นแหละ พระเถระเหยียบกราบเรือแล้วอธิษฐานว่า ขอเรือจงไปสู่ที่พวกเขาปรารถนา.
    พวกพ่อค้าไปถึงที่ของตนแล้ว บอกเรื่องนั้นแก่บุตรและภรรยา อธิษฐานว่า พวกเราขอถึงพระเถระนั้นว่าเป็นที่พึ่ง ทั้ง ๕๐๐ คนพร้อมด้วยภรรยา ๕๐๐ คนตั้งอยู่ในสรณะ ๓ รับปฏิบัติตนเป็นอุบาสก.
    แต่นั้นก็ขนสินค้าลงในเรือ จัดเป็นส่วนหนึ่งสำหรับพระเถระแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ นี้เป็นส่วนของท่าน. พระเถระกล่าวว่า อาตมาไม่มีกิจในส่วนหนึ่ง ก็พระศาสดาพวกท่านเคยเห็นแล้วหรือ.
    ม. ไม่เคยเห็นขอรับ.
    ถ. ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงสร้างโรงกลม เพื่อพระศาสดาด้วยส่วนนี้ พวกท่านจงเฝ้าพระศาสดาด้วยอาการอย่างนี้.
    คนเหล่านั้นรับว่า ดีละขอรับ จึงเริ่มเพื่อจะสร้างโรงกลมด้วยส่วนนั้นและด้วยส่วนของตน.
    ได้ยินว่า พระศาสดาได้ทรงกระทำโรงกลมนั้นให้เป็นโรงฉัน จำเดิมแต่กาลเริ่มทำมา. พวกมนุษย์ผู้รักษาเห็นรัศมีในกลางคืนได้ทำความสำคัญว่า เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่มีอยู่. อุบาสกทั้งหลายทำโรงกลมและเสนาสนะสำหรับสงฆ์เสร็จแล้ว ตระเตรียมเครื่องประกอบทานแล้วแจ้งแก่พระเถระว่า ท่านผู้เจริญ กิจของตนพวกผมทำแล้ว ขอท่านจงกราบทูลพระศาสดาเถิด. ในเวลาเย็นพระเถระไปยังกรุงสาวัตถีด้วยฤทธิ์ อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพวกคนชาววานิชคามประสงค์จะเฝ้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดกระทำอนุเคราะห์ แก่คนเหล่านั้นเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว. พระเถระกลับมาที่อยู่ของตนตามเดิม.
    ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานันทเถระมาตรัสว่า อานนท์ พรุ่งนี้พวกเราจักเที่ยวบิณฑบาตในวานิชคาม แคว้นสุนาปรันตะ เธอจงให้สลากแก่ภิกษุ ๔๙๙ รูป. พระเถระรับพระดำรัสแล้ว จึงได้บอกความนั้นแก่ภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอภิกษุผู้เดินทางไปทางอากาศจงจับฉลาก.
    วันนั้น พระกุณฑธานเถระได้จับฉลากเป็นที่หนึ่ง.
    ฝ่ายพวกคนชาววานิชคามคิดว่า ได้ยินว่าพรุ่งนี้พระศาสดาจักเสด็จมา จึงกระทำมณฑปที่กลางบ้าน แล้วตระเตรียมโรงทาน.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชำระพระวรกายแต่เช้าตรู่ เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี ทรงนั่งเข้าผลสมาบัติ. บัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนแล้ว ท่านรำพึงว่านี้อะไรกัน จึงเห็นพระศาสดาเสด็จไปยังแคว้นสุนาปรันตะ จึงตรัสเรียกวิสสุกัมเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อเอ้ย วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ประมาณ ๓๐๐ โยชน์ ท่านจงสร้างเรือนยอด ๕๐๐ หลัง จงประดิษฐานเตรียมไว้ยอดซุ้มประตูพระวิหารพระเชตวัน.
    วิสสุกรรมเทพบุตรก็ได้จัดตามเทวโองการ เรือนยอดของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เป็น ๔ มุข. ของพระอัครสาวก ๒ มุข. นอกนั้นมีมุขเดียว.
    พระศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จเข้าไปเรือนยอดที่ใกล้ ในบรรดาเรือนยอดอันตั้งไว้ตามลำดับ. มีภิกษุ ๔๙๙ รูป นับตั้งแต่พระอัครสาวกเป็นต้นไป จึงได้เข้าไป ได้มีเรือนยอดว่างอยู่หลังหนึ่ง. เรือนยอดทั้ง ๕๐๐ หลังลอยละลิ่วไปในอากาศ.
    พระศาสดาเสด็จถึงสัจจพันธบรรพต ได้พักเรือนยอดไว้บนอากาศ
    ดาบสผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าสัจจพันธ์ที่บรรพตนั้น ให้มหาชนถือมิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ถึงความเป็นเลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศอยู่. แต่ธรรมอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระอรหัตตผลในภายในของท่านย่อมรุ่งโรจน์เหมือนประทีปลุกโพลงในภายในฉะนั้น.
    พระศาสดาครั้นทรงเห็นดังนั้นแล้ว จึงคิดว่าเราจักแสดงธรรมแก่เขา ดังนี้แล้วจึงเสด็จไปแสดงธรรม.
    ในเวลาจบเทศนา พระดาบสบรรลุพระอรหัต. อภิญญามาถึงท่านพร้อมด้วยพระอรหัตที่บรรลุนั่นเอง. ท่านเป็นเอหิภิกษุ ทรงไว้ซึ่งบาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ ก็เข้าไปเรือนยอด (หลังที่ว่าง)
    พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้อยู่ที่เรือนยอด เสด็จไปวานิชคาม กระทำเรือนยอดไม่ให้มีใครเห็นแล้ว เสด็จเข้ายังวานิชคาม. พวกพ่อค้าถวายทานแด่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วนำพระศาสดาไปยังกุฏาคาร. พระศาสดาได้เสด็จเข้าไปยังโรงกลม. มหาชนบริโภคอาหารเช้าตราบเท่าที่คิดว่า พระศาสดาทรงสงบระงับความหิวอาหาร แล้วสมาทานองค์อุโบสถ ถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นอันมาก กลับมายังอารามเพื่อต้องการฟังธรรม. พระศาสดาทรงแสดงธรรมเกิดเป็นประมุขที่ผูกเป็นหุ่นของมหาชน. โกลาหลเพราะพระพุทธองค์ได้มีเป็นอันมาก.
    พระศาสดาประทับอยู่ในที่นั้นนั่นเองตลอด ๗ วันเพื่อสงเคราะห์มหาชน. พออรุณขึ้นก็ได้ปรากฏอยู่ในมหาคันธกุฏีนั้นเอง. ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ๗ วัน การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐. พระองค์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ๗ วัน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในวานิชคาม ให้พระปุณณเถระกลับด้วยตรัสสั่งว่า เธอจงอยู่ในที่นี้แล ได้เสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีอันมีอยู่โดยลำดับ.
    พระยานาคนัมมทากระทำการต้อนรับพระศาสดา ให้เสด็จเข้าไปสู่ภพนาค ได้กระทำสักการะต่อพระรัตนตรัย. พระศาสดาแสดงธรรมแก่พระยานาคนั้น แล้วออกจากภพนาค. พระยานาคนั้นอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงประทานสิ่งที่ควรสละแก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเจดีย์คือรอยพระบาทไว้ ณ ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เจดีย์คือรอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นหลากมาๆ ย่อมปิด เมื่อคลื่นไปแล้วย่อมเปิดออก ความถึงพร้อมด้วยมหาสักการะได้มีแล้ว.
    พระศาสดาเสด็จออกจากที่นั้น แล้วเสด็จไปยังสัจจพันธบรรพต ตรัสกะสัจจพันธภิกษุว่า เธอทำให้มหาชนหยั่งลงไปในทางอบาย เธอจงอยู่ในที่นี้แหล่ะ ให้ชนเหล่านั้นสละลัทธิเสียแล้วให้ดำรงอยู่ในทางแห่งพระนิพพาน.
    ฝ่ายพระสัจจพันธภิกษุนั้นทูลขอข้อที่ควรประพฤติ. พระศาสดาแสดงพระเจดีย์ คือรอยพระบาท ที่หลังแผ่นหินแท่งทึบ เหมือนรอยตราที่ก้อนดินเหนียวเปียก. แต่นั้นก็เสด็จ กลับพระวิหารเชตวันตามเดิม

    จาก http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=112&p=1
    .....

    ทำไม คนไทยโบราณ จึงคิดว่า "สัจจพันธ์บรรพต" อยู่ที่สระบุรี?
    "สุนาปรันตะ" อยู่ที่ไหน? เส้นทางกองเกวียนบรรทุกสินค้า ไปสาวัตถี น่าจะอยู่ประมาณจุดไหน ถึง จุดไหน?
    ท่านจุลลปุณณะและพวก นำเรือบรรทุกสินค้า จากสุนาปรันตะ จะไปค้าขายยังอีกฟากของมหาสมุทร นั้น จะไปค้าขายยังแว่นแคว้นใด?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016
  8. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    อืมม ค้นไปเรื่อยๆ ก็ มีข้อมูล เกียวข้อง เก็บไว้พิจารณา ช่วยกันนะครับ..

    เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ปีเตอร์ สกิลลิ่ง (Peter Skilling) และศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบพระพิมพ์องค์นี้รวมถึงองค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปลทั้งหมดลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี“ ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

    จาก http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=770


    ...

    ภาพประกอบเล็กสักหน่อยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ของที่เคยเจอ แต่เมื่อมีการตีความใหม่ "ข้อเท็จจริงก็เปลี่ยน"

    อักษร ปัลลวะ ที่ค้ำคอ และทำให้อายุความเก่า ของหลักฐานทางโบราณคดี ที่พบ ถูก "จำกัดว่าเป็นช่วงทวาราวดี ไม่เก่าไปกว่า พ.ศ. 1100 เศษ" หาก เจอที่ระบุศักราช ให้เก่า ย้อนไป ถึง 2000 กว่าปี ก็คง จะต้อง "เปลี่ยนโลกทัศน์ ความรับรู้กันใหม่"

    เช่น

    ประติมากรรมรูปพระเจ้าสุทโธทนะ ถูกพบระหว่างการขุดแต่งโบราณสถาน ในวันที่ ๕ สิงหาคม ถึง ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ บริเวณเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใน รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ระบุว่าประติมากรรมดังกล่าวเป็น “พระโพธิสัตว์ดินเผา“ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบประติมากรรมชิ้นนี้ รวมถึงจารึกบนพระพิมพ์องค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปล และทราบว่าประติมากรรมดังกล่าวคือ พระเจ้าสุทโธทนะ ไม่ใช่พระโพธิสัตว์แต่อย่างใด คำอ่าน-แปลจารึกนี้รวมถึงจารึกบนพระพิมพ์ทั้งหมด มีการตีพิมพ์ลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จ. สุพรรณบุรี “ ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

    จาก http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_detail.php?id=1006
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    พระพิมพ์ จารึก "สาริปุตฺโต" กล่าวถึงพระนามของพระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวา และเอตทัคคะผู้มีปัญญามาก

    ประวัติ พระพิมพ์องค์นี้ถูกพบในการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ ในเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในระหว่างวันที่ ๕ สิงหาคม ถึง ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ นายสมศักดิ์ รัตนกุล ผู้ควบคุมการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถาน ระบุว่า พบในบริเวณทิศใต้ของเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีการพบโบราณวัตถุอื่นๆ ในบริเวณเจดีย์ดังกล่าว ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ๔ องค์ เสาหินแปดเหลี่ยม และแท่นหินสี่เหลี่ยมจำหลักลวดลาย โดยทั้งหมดถูกกล่าวถึงใน รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตีพิมพ์เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยในรายงานดังกล่าวมีการอ่าน-แปลจารึกที่ปรากฏด้านหลังพระพิมพ์องค์นี้ด้วย ต่อมาในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑ์ ฯ ดังกล่าวเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบพระพิมพ์องค์นี้รวมถึงองค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปลทั้งหมดลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี“ ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

    ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    พื้นที่ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีมีการค้นพบ "พระพิมพ์ดินเผา" ดังกล่าว..และพบ "เมืองโบราณ" ที่มีอดีตเคยมีความยิ่งใหญ่ นั้น..จากข้อสมมติฐานของผมเวลานี้ เป็นที่ตั้ง ของแคว้นในสมัยพุทธกาล ที่ชื่อ "แคว้นเจดีย์ หรือ แคว้นเจติยะ"

    ซึ่ง เมื่อสืบค้นใน พระไตรปิฎก และอรรถกถา จะมี ข้อความที่กล่าวถึง แคว้นเจดีย์ นี้ เป็นต้นว่า..

    ๑๐. อนุรุทธสูตร
    [๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน แขวงเมือง
    สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า...

    และ

    [๕๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเจติยชนบทได้ดำเนินทรง
    ไปทางตำบลบ้านรั้วงาม คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนชาวนา คนเดินทาง ได้แลเห็น
    พระผู้มีพระภาคกำลังทรงดำเนินมาแต่ไกลเที่ยว. ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระองค์อย่าได้เสด็จไปยังท่ามะม่วงเลย พระพุทธเจ้าข้า, เพราะที่ท่ามะม่วงมีนาคอาศัยอยู่ในอาศรมชฏิล เป็นสัตว์มีฤทธิ์เป็นอสรพิษร้าย มันจะได้ไม่ทำร้ายพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.

    และ

    ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและ
    จีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบายังเมืองโกสัมพี ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตใน
    เมืองโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ
    ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ทรงบอกลาอุปัฏฐาก ไม่ทรงบอก
    เล่าภิกษุสงฆ์ พระองค์เดียวไม่มีเพื่อน เสด็จหลีกจาริกไปทางป่าปาลิไลยกะ
    เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าปาลิไลยกะแล้ว.

    และ มีที่ค้นไปมา เจอที่ว่า...
    หลังจากนั้นพระอนุรุทเถระ ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ที่เป็นเอคคทัตคะมีทิพย์จักษุเป็นเลิศ เป็นอันว่าพระอนุรุทบวชอยู่เป็นเวลาถึง 8 ปี จึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ปลีกออกไปเพียงพระองค์เดียว ไปยังป่าปาลิเลยยกะ ของแคว้นเจดีย์นั้น พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่ป่า “ปาลิเลยยะ” ป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาครั้งนี้เป็นป่าใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของช้างโทนเชือกหนึ่ง ชื่อว่า "ปาลิไลยกะ" หรือ "ปาลิไลยก์" ป่าแห่งนี้จึงได้นามตามช้างนี้ว่า "ป่าปาลิไลยก์" คนไทยเราเรียกว่า "ป่าปาเลไลยก์" อันเดียวกันนั่นเอง

    พยายามจะค้นหาในพระไตรปิฎกและอรรถกถา แต่ยังไม่เจอครับ..ว่า ป่า “ปาลิเลยยะ” อยู่ ในเขตแคว้นเจดีย์..

    อย่างไรเสีย ก็จะต้องค้นหาต่อไป รวมทั้งจะต้องมีหลักฐานทางวัตถุ จารึก ที่จะมายืนยัน สมมติฐานกันต่อไปครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016
  12. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เชิญ คุณ หรัส ครับ จะรอรับฟังครับ

    เวลานี้ กำลังพิจารณา ว่า "หลักฐานทางพุทธศาสนาในภาคอีสาน ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของแคว้นมคธ สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู-แคว้นปาฏลีบุตร สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช" สาบสูญไปได้อย่างไร?

    หรือ ถูกทำลายลง ในสมัย พระเจ้าจิตรเสน หรือมเหนทรวรมัน ที่มีความศรัทธา ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย..ดังปรากฏในจารึก ของพระองค์

    ข้อความในจารึกกล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงได้ชัยชนะเหนือกัมพูประเทศ และได้เฉลิมพระนามว่า “ศรีมเหนทรวรมัน” อีกทั้งโปรดให้สร้างรูปเคารพต่างๆ ในลัทธิไศวนิกายไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ ซึ่งในจารึกปากน้ำมูล ๑ นี้ เป็นการสร้างพระศิวลึงค์ ดังนั้น จากจารึกทั้ง ๗ หลักนี้ จึงเป็นหลักฐานอย่างดีว่า อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำชี และลุ่มแม่น้ำมูลในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ นั้น มีผู้นำของอาณาจักรนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย “จิตรเสน” เป็นพระนามของเจ้าชายผู้ทรงเป็นพระญาติกับพระเจ้าภววรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๑๔๑-๑๑๕๐) กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ ต่อมาเจ้าชายจิตรเสนได้ครองราชสมบัติ ฉลองพระนามเป็น พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. ๑๑๕๐-๑๑๕๙) พระเจ้ามเหนทรวรมันทรงสถาปนาจารึกไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตแดนของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น มีพบที่ จังหวัดบุรีรัมย์ คือ กลุ่มจารึกถ้ำเป็ดทอง ที่จังหวัดขอนแก่นพบจารึกวัดศรีเมืองแอม (ขก. ๑๕) และที่ จังหวัดอุบลราชธานี พบจารึกปากน้ำมูล ๑ (อบ. ๑) (K. 496) จารึกปากน้ำมูล ๒ (อบ. ๒) (K. 497) จารึกวัดสุปัฏนาราม ๑ (อบ. ๔) (K. 508) และ จารึกถ้ำภูหมาไน (อบ. ๙) รวมทั้งที่เพชรบูรณ์ และ ที่อื่นๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    <img src="http://www.vesakday.mcu.ac.th/vesak47/about/images/abou_brithplace2.jpg">

    กองโบราณคดีเนปาล ได้รักษาดูแลลุมพินีวันแห่งนี้ไว้ เป็นสมบัติของชาติ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ของนักแสวงบุญทั่วโลกบริเวณที่นี่ เป็นลักษณะรูปพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า เจ้าหน้าที่โบราณคดีเนปาลได้จัดการล้อมรั้วกั้นไว้ ภายในบริเวณมีซากปรักหักพังของตัวอาคาร คล้ายสังฆารามแยกเป็นหมวดหมู่ของห้องเล็กๆ ก่อด้วยอิฐทั้งหมดเป็นของเก่า ที่เจ้าหน้าที่ได้ขุดค้นขึ้นมา บางแห่งก็เป็นองค์สถูป ทรงกลมตั้งเรียงกัน
    ทางด้านเหนือของบริเวณนี้มีวิหารอยู่หนึ่งหลังเรียกกันว่า มายาเทวีมหาวิหาร ภายในวิหารมีรูปสลักหินเก่าแก่ตั้งอยู่ในรูปสลักของพระนางสิริมหามายา กำลังประทับยืนประสูติพระราชโอรส คือ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ติดกับบริเวณตัววิหารลงมาทางทิศใต้ เป็นสระน้ำโบกขรณีซึ่งเชื่อกันว่า เป็นสระน้ำเก่าที่ใช้สรงสนามพระวรกายของพระสิทธัตถะกุมารเมื่อประสูติออกมาใหม่ๆ ติดกับตัววิหารทางทิศตะวันตกเป็นที่ตั้ง ของเสาพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงปักวางไว้ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำคัญว่าตรงนี้คือ ที่ประสูติของพระพุทธองค์ ทางด้านทิศตะวันออกของบริเวณสวนลุมพินี (นอกเขต) ปัจจุบันมีวัดพุทธอยู่ ๒ วัด คือ วัดชาวพุทธเนปาลและวัดธิเบต

    <img src="http://www.vesakday.mcu.ac.th/vesak47/about/images/abou_brithplace3.jpg">

    "ลุมพินี" สมัยก่อนพุทธกาลเป็นป่าใหญ่ อยู่ในเส้นทางระหว่างกรุงกบิลพิสดุ์ (พระเจ้าสุทโธทนะ) และ กรุงเทวทหะ (พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา)
    ป่าใหญ่ที่ชื่อ "ลุมพินี" ได้เกิดมีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของโลก เพราะเกิดเป็นพุทธสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า"
    เป็นธรรมเนียมของยุคสมัยโบราณก่อนพุทธกาลนั้น หญิงเวลามีครรภ์ใกล้คลอด นิยมกลับบ้านเมืองเดิมเพื่อทำการคลอดลูก แต่เนื่องจาก "พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา" บ้านเมืองเดิมอยู่ที่กรุงเทวทหะ (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงกบิลพัสดุ์) เมื่อใกล้ประสูติกาล จึงพร้อมด้วยข้าราชบริพาร เดินทางกลับมาตุภูมิที่กรุงเทวทหะ แต่เดินทางยังไม่ทันถึงมาตุภูมิ เดินได้เพียงแค่ครึ่งทางที่ป่าใหญ่ "ลุมพินี" ก็พอดีเกิดประสูติกาล ประสูติพระราชกุมารคือ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ที่กลางป่าใหญ่ที่ "ลุมพินี" นั่นเอง
    พระญาติผู้ใหญ่แห่งนครทั้งสองคือ "กรุงกบิลพัสดุ์" และ "กรุงเทวทหะ" ต่างทรงเป็นห่วงพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา และพระราชกุมารคือ "เจ้าชายสิทธัตถะ" เป็นอย่างยิ่ง ที่พระนางประสูติกลางป่าใหญ่ ที่ลุมพินี ความมหัศจรรย์ของโลก มิได้หยุดอยู่ เพียงแค่นั้น เพราะนั่นเป็นนิมิตบ่งบอกถึงความเป็นมหาบุรุษของโลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ คือ "ความเป็นพระบรมศาสดาเอกของโลก" ได้กำเนิดขึ้นมาอย่างแท้จริง "สัจจธรรม" ได้แผ่ขยายได้ทั่วโลกชนิดเป็นอมตธรรมโบราณว่า "ช้างเผือก มิได้เกิดในเมือง" ฉันใด พระมหาบุรุษของโลก คือ พระบรมศาสดาของเราก็ฉันนั้น
    ปัจจุบัน "ลุมพินี" ได้รับความสำคัญจากชาวพุทธทั่วโลก กล่าวคือ "ลุมพินี" ได้รับการสถาปนา ให้เป็น "พุทธอุทยานสถานทางประวัติศาสตร์ของโลก" ทั้งนี้ด้วยแรงศรัทธาและน้ำใจของชาวพุทธทั่วโลก ความสำนึกน้อมนึกได้เกิดขึ้นในสมัยขณะที่ฯพณฯอูถั่น(ชาวพุทธพม่า) ขณะยังดำรงตำแหน่งเป็น "เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ" ได้ปรารภกับชาวพุทธทั่วโลก เพื่อโครงการนี้และได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้น รวมถึงการเงินด้วยเป็นจำนวนเงินก้อนใหญ่พอควร ฯพณฯอูถั่นได้มอบโครงการนี้พร้อมทั้งทุนขอให้องค์การพุทธศานิกสัมพันธ์แห่งโลก ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่ถาวร อยู่ที่ประเทศไทย เป็นแกนประสานงาน และดำเนินงานตามขั้นตอนเริ่มสมัย มจ.หญิง พูนพิศมัย ดิศกุล เป็นประธาน และสมัยต่อมา ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ สืบต่อ ตราบถึงทุกวันนี้
    โครงการ "พุทธอุทยานสถาน" ที่ลุมพินี เป็นโครงการทางพระพุทธศาสนาที่ใหญ่โตมาก
    ๑. ใหญ่ทั้งเนื้อที่ "พุทธอุทยานสถาน"
    - เนื้อที่ส่วนที่ปลูกเป็นป่าใหญ่ นับหมื่นเอเคอร์
    - เนื้อที่ส่วนจัดสรรให้ประเทศต่างๆ สร้างวัด ๖,๐๐๐ ไร่
    - เนื้อที่ส่วนที่เป็น "พุทธอุทยานสถาน"
    ๒. ใหญ่ทางด้านเป็นศูนย์ประสานงานทางพระพุทธศาสนา
    ๓. ใหญ่ทั้งเป็น "ศูนย์รวมวัดทั่วโลก" จะมาปลูกสร้างในพื้นที่บริเวณติดต่อกัน ขณะนี้ประเทศต่างๆ จองมาสร้างวัดแล้วถึง ๔๑ ประเทศ (รวมทั้งจีนใหญ่ ประเทศจีน) และประเทศโซเวียตรัสเซียด้วย)
    โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมากสำหรับโลกชาวพุทธ บ่งบอกถึงโลกของชาวพุทธในอนาคตนั้น จักมีวิวัฒนาการที่น่าขื่นชมและแปลกใหม่สำหรับโลกชาวพุทธที่มีการรวมตัวกันด้วยความมี "เอกีภาพสัมพันธ์" ที่สำคัญยิ่ง
    คาดไม่ถูกว่า อีก ๕ ปี หรือ ๑๐ ปีข้างหน้า จะได้ดูได้ชมความก้าวหน้าก้าวไกลมากน้อยเพียงไร เพราะเป็นโครงการที่ดำเนินงานไปอย่างช้าๆ เนื่องด้วยเจ้าของประเทศไม่ได้เป็นชาวพุทธโดยตรง การประสานงานคงเป็นไปด้วยความยากและจำต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง

     
  14. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    เชื่อแบบเอกคือ สังเวชนียสถานที่เก่าแก่มาเป็นสองพันกว่าปีสร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี


    เชื่อแบบเอกคือ โบราณสถานที่ลุมพินีวันที่อินเดีย สร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี
    เชื่อแบบเอกคือ โบราณสถานที่พุทธคยาที่อินเดีย สร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี
    เชื่อแบบเอกคือ โบราณสถานที่สารนาถที่อินเดีย สร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี
    เชื่อแบบเอกคือ โบราณสถานที่กุสินาราที่อินเดีย สร้างโดยนักบวชนอกรีต พระอลัชชี


    <img src="http://palungjit.org/attachments/a.3658270/">
     
  15. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    พระพุทธรูปสร้างราว 1400ปีก่อน ขุดค้นได้ที่Karnataka, India

    Location Aihole (Meguti hill), Bijapur, Karnataka, India

    Description Buddhist vihara
    Sandstone,
    Buddhist affiliation

    Subject Early Calukya

    <img src="http://dsal.uchicago.edu/images/aiis/images/medium/ar_055269.jpg">
     
  16. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    รูปสลักหินพระพุทธรูปสร้างราว 1566ปีก่อน

    <img src="http://dsal.uchicago.edu/images/aiis/images/medium/ar_055271.jpg">


    Buddhist vihara - Ceiling with Buddha figure
    Aihole (Meguti hill), vihara

    Location Aihole (Meguti hill), Bijapur, Karnataka, India
    Subject Early Calukya
    Description Buddhist vihara Second storey
    Sandstone,
    Buddhist affiliation
     
  17. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ข้อมูลที่ตั้งลุมพินี้ ที่ไม่สัมพันธ์ กับแคว้น หรือเมืองอื่นๆ นั่นหล่ะที่ผมบอกคุณ 12qv ว่า คนสร้าง สร้างจำลอง ไม่ได้สรา้งบนสถานที่จริงครับ ตำแหน่งที่ตั้งจึงผิดเพี๊ยนไปหมด...ในบทความต่างประเทศ เขากล่าวหา แม้กระทั่ง ดร.ฟืห์เรอร์ ชาวเยอรมัน ทำจารึกปลอมที่เสาที่ค้นพบที่ รุมมินเด ครับ

    http://www.lumkap.org.uk/

    แต่ที่ อินเดีย คงไม่มีพระพุทธรูป ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ เป็นแน่ครับ คุณ 12qv แต่ อย่าบอกว่า ฝรั่งไม่รับรองนะครับ..เพราะทฤษฎีของฝรั่ง เขาบอกว่า พระพุทธรูป เพิ่มเริ่มสร้างขึ้น ราว พ.ศ. 600-800

    ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปสลักที่ถ้ำ เขางู ถ้ำฝาโถ ราชบุรี พระเจ้านั่งดิน พะเยา หรือพระบาง ที่สร้าง พ.ศ. 236 หรืออินเดียไม่รู้จัก พระแก้วมรกตที่สร้าง พ.ศ. 500 ที่ปาฏลีบุตร เป็นต้น

    ภาพเก่า เล่าอดีต
    http://rb-old.blogspot.com/2010/03/9_08.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016
  18. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    แคว้นมหารัฐที่พระสมณทูตไปสมัยพระเจ้าอโศกไม่ได้อยู่อินเดีย

    ปิดท้าย คืนวันวิสาขบูชานะครับ คงต้องพักแล้ว พรุ่งนี้เป็นวันทำงาน ..

    ได้ นำเสนอ เรื่อง แว่นแคว้น ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ส่งสมณทูต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อ ราว พ.ศ. 235 (ก่อนที่พระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี ที่อินเดีย จะเกิดมาลืมตามองดูโลกครับ) ไป 2 แคว้น ก่อนนี้ คือ กัมโพชะ ที่คาดว่าคือ เชียงตุง และ หิมวันตประเทศ ที่ พระปัญญาสามี ระบุว่าคือจีนรัฐ นั้น ผมได้ ตั้งสมมติฐานว่าคือ เชียงรุ่ง สิบสองปันนา

    ก่อนนอนคือนี้ จึงขอนำเสนอ อีกแคว้นหนึ่งคือ "แคว้นมหารัฐ" ดังนี้

    อีก 1 เบาะแส จากคัมภีร์ "ศาสนวงศ์" หรือ Sasanavamsa ที่พระปัญญาสามี ภิกษุชาวพม่า แต่งไว้ เมื่อ พ.ศ. 2404 หรือเมื่อ 155 ปี ที่ผ่านมา...
    ซึ่งยุคนั้น ความรู้ใหม่ๆ ที่ชาติตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษ ที่เข้าไปยึดครองอินเดีย น่าจะยัง ค้นคว้าและเขียนประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และประวัติศาสตร์อินเดีย ยังไม่สะเด็ดน้ำ และ ยังไม่แพร่หลาย ครอบงำมาถึง พม่า เพราะ อังกฤษเพิ่งจะทำสงครามกับพม่า และยึดเอกราชพม่าได้เบ็ดเสร็จใน ปี พ.ศ. 2428

    ดังนั้น เรื่องราวที่ ที่พระปัญญาสามี ภิกษุชาวพม่า รวบรวม เรียบเรียงไว้ จากข้อมูลที่ถ่ายทอดสืบๆ ต่อกันมา โดยเฉพาะเรื่อง "ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา" จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่งนัก

    โดยเฉพาะ เรื่อง แว่นแคว้นต่างๆ ที่ พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ได้ส่งสมณฑูต 9 สาย ไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ....และ "มีความขัดแย้งกับที่ ท่านวินเซนต์ อาเธอร์ สมิธ บิดาแห่งประวัติศาสตร์อินเดีย ลงความเห็น ว่า แคว้นต่างๆ อยู่ที่ไหนบ้าง?
    ซึ่งวันนี้ ผมจะมานำเสนอ ที่ตั้งแคว้นหนึ่งที่ปรากฏใน พระอรรถกถา คือ "แคว้นมหารัฐ" ซึ่ง ในอรรถกถา มีความว่า...

    [เรื่องส่งพระเถระไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ]
    ในการนำพระศาสนาสืบมาตามลำดับอาจารย์นั้น มีอนุบุพพีกถาดังต่อไปนี้ :-
    ได้ยินว่า พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ครั้นทำตติยสังคีตินี้แล้วได้ดำริอย่างนี้ว่า ในอนาคต พระศาสนาจะพึงตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในประเทศไหนหนอแล? ลำดับนั้น เมื่อท่านใคร่ครวญอยู่ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า พระศาสนาจักตั้งมั่นอยู่ด้วยดี ในปัจจันติมชนบททั้งหลาย. ท่านจึงมอบศาสนกิจนั้นให้เป็นภาระของภิกษุเหล่านั้น แล้วส่งภิกษุเหล่านั้นๆ ไปในรัฐนั้นๆ
    .......

    [พระมหาธรรมรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่มหารัฐ]
    ส่วนพระมหาธรรมรักขิตเถระไปยังมหารัฐชนบทแล้ว ให้ชนชาวมหารัฐชนบทเลื่อมใส ด้วยมหานารทกัสสปชาดกกถา แล้ว ก็ให้สัตว์ประมาณแปดหมื่นสี่พันตั้งอยู่ในมรรคและผล. ประชาชนจำนวนหนึ่งหมื่นสามพันคนบวชแล้ว. พระเถระนั้นได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในมหารัฐชนบทนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
    พระมหาธรรมรักขิตเถระ ผู้ฤษีนั้น
    ไปยังมหารัฐชนบทแล้ว ก็แสดงชาดก
    ให้มหาชนเลื่อมใสแล้วแล.
    จาก http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=1&p=4

    ...
    ซึ่ง จาก อรรถกถา นี้ เราคงไม่สามารถรู้ได้เลย ว่า "มหารัฐ" ตั้งอยู่ที่ไหน แต่...ท่านวินเซนต์ อาเธอร์ สมิธ สามารถชี้ให้คนเชื่อตามท่านมาจนถึงทุกวันนี้ ว่า "มหารัฐ หรือ แคว้นมหาราษฎร์ อยู่ที่ บอมเบย์ หรือมุมไบ ประเทศอินเดีย"
    แต่ เดี๋ยวก่อน...เมื่ออ่าน ใน Introduction ของหนังสือเล่มนี้ ดูเหมือนว่า จะเขียนว่า ผู้แต่งศาสนวงศ์ คือ พระปัญญาสามี อธิบายว่า "มหารัฐ อยู่ที่ ประเทศลาว"
    เอาหล่ะสิ...แย้งกับ ท่านวินเซนต์ อาเธอร์ สมิธ ที่มาลงมติ ว่า อยู่ที่ บอมเบย์ หรือ มุมไบ ที่อินเดีย
    ลองมาดูที่ พระปัญญาสามี ท่านอธิบายไว้สิครับ ว่า "มหารัฐ" มันน่าจะเป็น ที่ เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย หรือ ที่ประเทศลาว
    ขอแปลเป็นไทย แบบงูๆ ปลาๆ สรุปสั้นๆ นะครับ..
    ท่านว่า...ชาวมหารัฐ นอกจาก จะชอบฟังชาดกที่ "พระมหาธรรมรักขิตเถระ" ได้เทศนาแสดง มหานารทกัสสปชาดกกถา ตามที่ปรากฏในอรรกถาแล้ว...ชาวมหารัฐยังชอบ ฟัง "เวสสันตรชาดก" ซึ่งก็ คือ "เรื่องพระเวสสันดร" นั่นหล่ะครับ อันเดียวกัน...
    และ..มหารัฐนี้ ตั้งอยู่ใกล้ๆ ประเทศสยาม (ว่างั้น)
    ลองพิจารณานะครับว่า มันมี "พิรุธ" น่าจะสอบค้นต่อไปมั๊ย?

    และจากประวัติพระธาตุหลวง เวียงจันทน์ สรา้งครั้งแรก โดยพระสมณทูตที่ส่งมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ. 238 ในสมัยพระเจ้าอโศมหาราช..ลองไปค้นเอกสารเก่าของลาวนะครับ ว่า ท่านจะมีนามว่า พระมหาธรรมรักขิตเถระ หรือไม่?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016
  19. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    รอยพระพุทธบาทสร้างเมื่อประมาณสองพันกว่าปีก่อน บริเวณที่เป็นแคว้นคันธาระ

    <img src="https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/73/Buddha-Footprint.jpeg/340px-Buddha-Footprint.jpeg">

    Footprint of the Buddha. 1st century, Gandhara.
     
  20. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    ขุดพบ ‘วัด’ เก่าแก่ที่สุดใน “สวนลุมพินีวัน” สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

    สิ่งที่คณะนักโบราณคดีขุดค้นในขณะนี้ เป็นโครงสร้างที่ทำจากไม้อายุราว 6 ศตวรรษก่อน ค.ศ. (ซึ่งก็คือก่อน พ.ศ.ประมาณ 200 ปี) ซึ่งอยู่ข้างใต้ของตัววัดมายาเทวี ณ ตำบลลุมพินี ทางภาคใต้ของเนปาล ที่อยู่ใกล้ๆ ชายแดนอินเดีย

    สถานที่บูชาแห่งนี้ดูเหมือนจะสร้างขึ้นล้อมรอบต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้เชื่อมโยงเข้ากันได้สนิทกับคำเล่าขานเกี่ยวกับการประสูติของพระพุทธเจ้า นั่นคือ พระนางสิริมหามายา พระมารดาของพระองค์ ทรงประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ อันเป็นพระนามเดิมของพระพุทธเจ้า ในขณะประทับยืนและทรงใช้พระหัตถ์เหนี่ยวกิ่งของต้นสาละเอาไว้

    การค้นพบคราวนี้จึงอาจจะยุติข้อถกเกียงเกี่ยวกับช่วงเวลาประสูติของพระพุทธองค์ ทั้งนี้ ตามรายงานของคณะนักโบราณคดีชุดนี้ ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ “Antiquity” ฉบับเดือนธันวาคม

    ปัจจุบันในแต่ละปีมีชาวพุทธเป็นล้านๆ คนเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่ตำบลลุมพินี ซึ่งถูกระบุมาเนิ่นนานแล้วว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

    ทว่า นอกเหนือจากหลักฐานเอกสารจำนวนมาก เป็นต้นว่า พระไตรปิฎก ที่บันทึกพระธรรมคำสั่งสอนและแทรกพุทธประวัติเอาไว้ด้วย โดยที่แรกเริ่มเดิมทีเป็นการท่องจำด้วยวาจาต่อๆ กันมา ก่อนจะถูกบันทึกเป็นตัวอักษรแล้ว ยังคงไม่มีหลักฐานอย่างอื่นๆ ที่จะยืนยันให้นักวิชาการสมัยใหม่มั่นอกมั่นใจ เกี่ยวกับช่วงเวลาที่พระองค์ทรงมีพระชนม์อยู่

    ประมาณการเกี่ยวกับช่วงเวลาประสูติของพระพุทธเจ้านั้น ก็มีผู้ให้ไว้แตกต่างกันไป บางคนย้อนหลังไปไกลถึงปี 623 ก่อน ค.ศ. (เท่ากับก่อน พ.ศ. 80 ปี) ทว่านักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่ากรอบเวลาที่น่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริงมากกว่าคือช่วงระหว่าง ปี 390-340 ก่อน ค.ศ. (พ.ศ.153-203)

    ก่อนหน้านี้ หลักฐานเก่าที่สุดเกี่ยวโครงสร้างสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาในลุมพินีนั้น มีอายุไม่มากไปกว่ายุค 3 ศตวรรษก่อน ค.ศ. ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช

    เพื่อตรวจสอบให้ทราบข้อเท็จจริง พวกนักโบราณคดีจึงเริ่มต้นขุดค้นที่บริเวณใจกลางของวัดมายาเทวี ซึ่งก็คือขุดค้นอยู่ข้างๆ บรรดาพระสงฆ์, ชี และนักแสวงบุญ ที่กำลังเข้าไปนมัสการหรือนั่งสมาธิอยู่ภายในวัดนั่นเอง

    ปรากฏว่าในการขุดค้นนอกจากวัดสร้างด้วยอิฐหลายๆ รุ่นที่อยู่ในชั้นบนๆ ขึ้นมาแล้ว พวกเขายังขุดลงไปพบโครงสร้างที่เป็นไม้ ซึ่งบริเวณตรงกลางว่างเปล่า และก็ไม่มีหลังคาคลุม

    ทั้งนี้ พวกวัดทำด้วยอิฐหลายๆ รุ่นซึ่งอยู่ชั้นบนๆ เหนือโครงสร้างไม้ขึ้นมา ก็สร้างในลักษณะล้อมรอบพื้นที่ตรงกลางนี้เช่นกัน

    การขุดค้นและการวิจัยทางโบราณคดีธรณี (geoarchaeology) ยังยืนยันว่า มีรากของต้นไม้โบราณอยู่ในพื้นที่ว่างตรงกลางของอาคารไม้ อันเป็นการบ่งบอกว่าอาคารไม้โบราณนี้เป็นสถานที่เพื่อการบูชาต้นไม้

    <img src="http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000015379102.JPEG">

    ในเวลานี้ ได้มีการนำเอาส่วนของอาคารต่างๆ, ชิ้นส่วนของถ่านและเม็ดทรายในชั้นต่างๆ ไปทำการทดสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อวัดอายุ โดยผสมผสานทั้งเทคนิคการวัดอายุจากคาร์บอนกัมมันตภาพรังสี (radiocarbon) และเทคนิคการวัดอายุจากการเปล่งแสง (optically stimulated luminescence)

    <img src="http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000015379101.JPEG">

    โรบิน คันนิงแฮม ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยเดอรัม (Durham University) ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้นำร่วมของทีมขุดค้นนานาชาติ ที่ได้รับความสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ (National Geographic Society) กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ (25 พ.ย.) ว่า “ขณะนี้นับเป็นครั้งแรกที่เรามีลำดับเวลาทางโบราณคดีที่ลุมพินี ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งก่อสร้างหลังหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ถึงศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ.”

    “นี่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับสถานที่บูชาทางพุทธศาสนาซึ่งเก่าแก่ที่สุดไม่ว่าจะเป็นแห่งหนใดในโลก” คันนิงแฮมบอก พร้อมกับชี้ว่าหลักฐานชิ้นนี้จะช่วยส่องแสงสว่างให้แก่การถกเถียงที่ดำเนินมายาวนานเต็มทีแล้ว ซึ่งได้นำไปสู่ความผิดแผกนานาในคำสอนและประเพณีต่างๆ ของพุทธศาสนา

    “เรื่องเล่าขานที่บอกว่าพระเจ้าอโศกทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ให้ก่อตั้งลุมพินีเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญ ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงกันแล้ว เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนว่าสถานที่นี้ได้รับการประดับประดาเสริมแต่งอยู่ก่อนแล้วมาเป็นเวลาหลายศตวรรษทีเดียว”

    คณะนักโบราณคดีนานาชาติ ได้ทำงานขุดค้นอยู่ที่วัดมายาเทวีนี้เป็นเวลา 3 ปีแล้ว สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าของนิตยสารและรายการโทรทัศน์ชื่อดังอย่าง เนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic) และเป็นผู้ให้การสนับสนุนส่วนหนึ่งแก่การทำงานนี้ วางแผนจะนำเอาสารคดีบันทึกเรื่องราวการขุดค้นและสิ่งที่พบออกอากาศทั่วโลกในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “Buried Secrets of the Buddha”

    ขณะที่ในทางวิชาการ นอกจากวารสาร “Antiquity” ซึ่งเป็นวารสารทางวิชาการประเภทส่งเรื่องที่จะตีพิมพ์ให้ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเดียวกันทำการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ก่อน จะนำเอารายงานของคณะนักโบราณคดีชุดนี้ มาตีพิมพ์ในฉบับเดือนธันวาคมแล้ว เรื่องนี้ยังจะเป็นหัวข้อใหญ่ในการประชุมสมัชชาครั้งที่ 17 ของสมาคมการศึกษาทางพุทธศาสนาระหว่างประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เดือนสิงหาคมปีหน้าอีกด้วย

    ลุมพินี ซึ่งอยู่ในสภาพเป็นป่าทึบ ก่อนจะถูกค้นพบอีกครั้งหนึ่งในปี 1896 นั้น เวลานี้องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) รับรองให้เป็นมรดกโลก

    อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิจารณ์กันมากว่า เนปาลยังค่อนข้างปล่อยปละละเลยสถานที่สำคัญทางพุทธศาสตร์แห่งนี้

    ทางด้าน ราม กุมาร ชเรสธา รัฐมนตรีวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการบินพลเรือน ของเนปาล แถลงว่า การค้นพบใหม่ๆ คราวนี้มีความสำคัญมากที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าแห่งนี้ และรัฐบาลเนปาลจะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่ออนุรักษ์สถานที่อันสำคัญนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...