เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ในปี 2011 นี้ จงเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับสิ่งเหล่านี้ !!!ในปี 2011 นี้ จงเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับสิ่งเหล่านี้ครับ ซึ่งจะทยอยเกิดขึ้นโดยลำดับ :

    1.จับตาดูความเคลื่อนไหวของกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นระยะๆ เงินยูโรจะ "ล้ม" ก่อน และโอกาสที่กลุ่มสหภาพยุโรปจะแตกออกมีสูงมาก ความพยายามเข้าไปให้ความช่วยเหลือของจีนและญี่ปุ่นอาจจะช่วยซื้อเวลาได้บ้าง

    2.ทันทีที่เงินยูโรล้มแล้ว ไม่เกิน 1 เดือน ดอลล่าสหรัฐจะล้มตาม ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์จะกลายเป็นเรื่องเดียวกัน และต่อเนื่องกัน

    3.หลังจากเงินดอลล่าล้มแล้ว โลกจะเข้าสู่ " The Great Darkness " หรือยุคมืด หรือ "ยุคเข็ญ" ในทุกๆ ด้าน

    4."เงินสกุลใหม่ของโลก" ซึ่งจะเป็นเงินสกุลเดี่ยว สกุลกลาง หรือ One World Currency อยู่ในระหว่างการประชุมจัดตั้งที่กรุงมอสโคว โดยมีการประชุมในเรื่องนี้ทุกๆต้นเดือน มาอย่างน้อย 18 เดือนแล้ว โดยขั้นตอนนี้มีนาย ซาโคซี่ ปธน.ฝรั่งเศษเป็นผู้ดูแล ในฐานะประธานกลุ่ม G20 ในช่วงเวลาดังกล่าว

    หมายเหตุ : โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้ามารับตำแหน่งประธานกลุ่ม G20 ในครั้งนี้ วาระ "ที่สำคัญที่สุด" ของนายซาโคซี่คือการปรับโครงสร้างระบบการเงินของโลกใหม่ การวางพื้นฐานระบบการเงินใหม่ และเงินสกุลใหม่

    5.เงินสกุลใหม่ และระบบการเงินใหม่จะมีความคืบหน้าออกมาในการประชุม G20 หรือ "อาจจะ" มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือน มีนาคม-กรกฏาคม ปี 2011 นี้ หรืออาจจะเป็นช่วงเดียวกับการประชุม G20 ที่จะมาถึงในช่วงเดือนดังกล่าว

    6.US Dollar Super Devaluation เงินดอลล่าสหรัฐจะถูก "ลดค่า" ลงอย่างน้อย 50%-70% หลังการประกาศใช้เงินใหม่ดังกล่าว ในขั้นตอนนี้เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นายซาโคซี่ได้เยือนสหรัฐอย่างเป็นทางการเพื่อพูดคุยกับนายโอบาม่าเพื่อให้ ..."ยอม"... ถอนเงินดอลล่าสหรัฐ ออกจากการเป็น World Reserve Currency หรือเงินสกุลกลางของโลก

    7.ผลของการลดค่าเงินดอลล่าดังกล่าวจะส่งผลให้ ราคาสินค้า เชื้อเพลิง อาหาร และทุกอย่างที่นำเข้าไปในสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว หรือมากกว่านั้นซึ่งขึ้นอยู่กับว่าลดค่าเงินลงเท่าไหร่ ( แต่คงไม่ต่ำกว่า 50% )

    8.จะมีความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ออกมาจากองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น ในปี 2011 นี้ เพื่อวางโครงสร้างการจัดระเบียบโลกใหม่ หรือ New World Order เพื่อจะให้มีการประกาศจัดตั้ง "อย่างเป็นทางการ" ในปี 2012 นี้

    9.โลกกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร หรือ Food Crisis เนื่องจากภัยพิบัติร้ายแรงที่เกิดขึ้นตามที่ต่างๆ ในหลายๆ มุมโลก ซึ่งกำลังประทุขึ้น รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อที่ก่อตัวขึ้นพร้อมๆกันทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลให้ราคาอาหาร แร่ธาตุและพลังงานถีบตัวสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก และจะเริ่มเข้าสู่วิกฤติและเป็นปัญหาของหลายๆ ประเทศทั่วโลก ในเดือนเมษายน 2011 นี้

    หลายๆ ประเด็นข้างต้นก็กำลังเป็นหัวข้อข่าวที่ชัดเจนอยู่แล้วในขณะนี้ครับ




    ลิ๊งค์สำหรับเฟสบุ๊ค :
    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1


    โพสต์โดย What's going on in America
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Trust Me and.......Be Prepare 2


    ตัวอย่างการเตรียมความพร้อมของชายคนหนึ่งในสหรัฐ ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านต่างๆ ผ่านทางช่องในยูทูป โดยเค้าจำแนกออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

    1.Food Storage หรือการเตรียมและจัดเก็บอาหาร อย่างน้อย 3-6 เดือน
    2.Water Srorage หรือการเตรียมการเรื่องน้ำดื่ม น้ำใช้
    3.Protection หรือการป้องกันตนเอง โดยการฝึกซ้อมและใช้อาวุธปืน
    4.Tools การเตรียมความพร้อมในเรื่องเครื่องมือเครืองใช้ รวมทั้งยารักษาโรค และอุปกรณ์ในการประกอบอาหารต่างๆ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=7lvQNooxcKM&feature=player_detailpage"]Preparing for the Economic Collapse! - YouTube[/ame]

    สำหรับท่านที่ยังอยู่ในสหรัฐ*** อีกหนึ่งตัวอย่างของการเตรียมพร้อม "ที่ดี" สำหรับสิ่งต่างๆ ที่ต้องเตรียมหรือต้องมีครับ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=MT-8k7uyoDE&feature=player_embedded"]The Essential Items to Acquire Before Economic Collapse... - YouTube[/ame]​

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=j83dJpg9caA&feature=player_embedded"]Preparing For Economic Collapse Part 1 - YouTube[/ame]​

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=p5zSfuNNNeo&feature=player_embedded"]Economic Collapse Series: Food Preparedness and Other Essentials 1 of 2 - YouTube[/ame]​


    BUG OUT BAG หรือ " ถุงสัมภาระฉุกเฉิน "

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=XA9wwmXZyXE&feature=player_embedded"]Emergency Bag & A Very Important Personal Decision - YouTube[/ame]​




    <SCRIPT type=text/javascript>if (window['tickAboveFold']) {window['tickAboveFold'](document.getElementById("latency-5768263462849846131")); } </SCRIPT>The Panic




    ตัวอย่างเหตุการณ์จริงของการเกิด Panic หรือตื่นตระหนกเล็กๆ หลังจากการประกาศเตือนพายุหิมะในรัฐเซาท์ แคโรไลนา ในประเทศสหรัฐ ซึ่งทำให้อาหารขายเกลี้ยงชั้นวางและขาดสต๊อคไปในพริบตา แต่ถ้ามีอะไรที่ใหญ่กว่านี้แล้วล่ะก็???




    [ame]http://www.youtube.com/watch?v=ufgNnBOZvI0&feature=player_embedded[/ame]​





    ลิ๊งค์สำหรับเฟสบุ๊ค : ​






    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook








    โพสต์โดย What's going on in America <!-- google_ad_section_end -->​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2011
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554


    หรือนี่จะเป็น......." Beginning of the End "




    <IFRAME class=youtube-player title="YouTube video player" height=390 src="http://www.youtube.com/embed/U42jxIbfggI?rel=0" frameBorder=0 width=480 type="text/html" allowfullscreen=""></IFRAME>
    <IFRAME class=youtube-player title="YouTube video player" height=390 src="http://www.youtube.com/embed/b6Y9YXnrcoI?rel=0" frameBorder=0 width=480 type="text/html" allowfullscreen=""></IFRAME>



    ลิ๊งค์สำหรับเฟสบุ๊ค :


    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2011
  4. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,116
    ค่าพลัง:
    +62,425
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ palungman [​IMG]
    [​IMG]


    เวเนซุเอลาถอนทองออกจากธนาคารยุโรป
    รัฐบาลเวเนซุเอลา เริ่มถอนทองที่ฝากไว้ในธนาคารยุโรปกลับประเทศ เพื่อปกป้องทองคำ จากปัญหาวิกฤตหนี้สินในสหรัฐฯ และยุโรป

    ทองคำล็อตแรกของรัฐบาลเวเนซุเอลา ถูกลำเลียงออกจากเครื่องบินที่เดินทางมาจากฝรั่งเศสแล้วเมื่อวานนี้ โดยมีทหารพร้อมอาวุธปืนคุ้มกันอย่างแน่นหนา ทองคำเหล่านี้จะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ธนาคารกลางเวเนซุเอลา ที่เมืองคารากัส เมืองหลวงของประเทศ

    นายฮูโก้ ชาเวส ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ผู้นำซ้ายจัด ที่ดำเนินนโยบายประเทศไปสู่สังคมนิยม ประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมว่า

    รัฐบาลจะถอนทองคำสำรองมากกว่า 211 ตัน ที่ฝากไว้ในธนาคารสหรัฐฯ และยุโรปกลับประเทศ
    เพื่อปกป้องทรัพย์สินของชาติจากปัญหาวิกฤตหนี้สินในสหรัฐฯ และยุโรป

    ชาเวสบอกว่า ทองคำเหล่านี้จะกลับมาอยู่ในที่ที่มันเคยอยู่ นั่นคือ ตู้นิรภัยของธนาคารกลางเวเนซุเอลา ไม่ใช่ธนาคารกลางอังกฤษ หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ เพราะมันเป็นทองคำของประเทศ ก่อนหน้านี้ชาเวสบอกว่า ทองคำได้ถูกฝากไว้ที่อังกฤษ แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นธนาคารใด และทองคำที่ถอนออกมาล็อตแรกมีจำนวนเท่าไหร่
    ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับนายชาเวส บอกว่า การถอนทองคำกลับประเทศ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ส่วนนายเปโดร ปัลมา นักเศรษฐศาสตร์เวเนซุเอลา บอกว่า ไม่ว่าจะเก็บทองคำไว้ในประเทศหรือธนาคารในอังกฤษ ก็จะไม่มีผลใดๆ ต่อปริมาณทองคำสำรอง


    http://www.komchadluek.net/detail/20111126/116125/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B.html
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    :cool:

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Z-iPyiNolcY&feature=player_detailpage"]Michael Jackson - Man in The Mirror (1988.Moonwalker.BluRay) - YouTube[/ame]
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 07:03
    อ็อกแฟมเตือนโลกรับมือวิกฤติอาหารเลวร้ายกว่านี้


    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



    [​IMG]





    อ็อกแฟมเตือนโลกรับมือวิกฤติอาหารเลวร้ายกว่านี้หากสภาพอาการเปลี่ยนแปลงหนักกว่าที่เป็นอยู่
    อ็อกแฟม ออกแถลงการณ์วันนี้ ว่าพายุและภัยแล้ง เป็นภัยธรรมชาติสำคัญที่จะทำให้ราคาอาหารทะยานขึ้น และอาจจะเป็นลางบอกเหตุล่วงหน้า ถึงสถานการณ์ด้านอาหารที่จะเลวร้ายลงมากกว่านี้ หากว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลกรุนแรงยิ่งขึ้น
    อ็อกแฟม หน่วยงานด้านการกุศลสัญชาติอังกฤษ ซึ่งเผยแพร่รายงานชิ้นนี้ ในวันเริ่มการประชุมสภาพอากาศของสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ในวันนี้ ระบุว่า ราคาสินค้าเกษตรหลายประเภทที่ทะยานขึ้น ทั้ง ข้าวสาลี ข้าวโพด ล้วนมีปัจจัยหนุนมาจากปัญหาสภาพอากาศที่เลวร้ายทั้งสิ้น และปัญหานี้ทำให้ประชากรโลกหลายสิบล้านคนมีฐานะยากจนตลอดช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา
    "เมื่อสภาพอากาศเลวร้ายลง และส่งผลให้ราคาอาหารทั้งระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่นปรับตัวขึ้นนั้น ประชากรโลกที่ยากจนคือผู้รับเคราะห์สองครั้งซ้อน เพราะพวกเขาต้องรับมือกับราคาอาหารที่แพงขึ้นในช่วงเวลาที่สภาพอากาศเลวร้ายสุดๆและสภาพอากาศเลวร้ายที่ว่าอาจจะโจมตีพืชผลทางการเกษตรของพวกเขาหรือทำลายบ้านเรือนของพวกเขาด้วย "เคลลี เดนท์ จากอ็อกแฟม กล่าว
    อ็อกแฟม ระบุด้วยว่า เมื่อปี 2553 เกิดคลื่นร้อนจัดโจมตีรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาข้าวสาลีทะยานขึ้นไปถึง 60-80% เป็นเวลาถึง 3 เดือน และทะยานถึง 85% ในเดือนเมษายนปี 2554 ส่วนในเดือนกรกฎาคม ปี 2554 ราคาข้าวโพด ในประเทศโซมาเลีย ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปถึง 393% และข้าวโพดในเอธิโอเปียและในเคนยา ก็ทะยานขึ้นไป 191% และ 161%ตามลำดับเมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเมื่อ 5 ปีก่อน สะท้อนถึงผลกระทบจากภัยแล้งที่เล่นงานทวีปแอฟริกาได้อย่างชัดเจน
    ขณะที่ พายุฝนและพายุไต้ฝุ่นที่เล่นงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ทำให้ราคาข้าวในไทยและเวียดนามแพงขึ้น โดยในเดือนกันยายนและตุลาคมที่ผ่านมา ราคาข้าวปรับตัวเพิ่มขึ้นไป 25-30% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้

     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 04:00
    อเมริกากับการรักษาวินัยทางการคลัง


    โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ




    เมื่อวันที่ 21 พ.ย.คณะกรรมการร่วมที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลสหรัฐเพื่อลดหนี้สาธารณะประกาศว่าคณะกรรมการฯ (ซึ่งสื่อตั้งชื่อว่า Super Committee)

    ไม่สามารถตกลงกันได้ ทำให้การลดหนี้สาธารณะของสหรัฐต้องเข้าสู่กระบวนการตัดงบประมาณอัตโนมัติ (sequestration) เป็นเวลา 10 ปีเริ่มต้นในปี 2013 โดยจะตัดงบประมาณรวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การตัดงบประมาณดังกล่าวจะกระทบกระทรวงหลักๆ ทุกกระทรวงของสหรัฐ เช่น กระทรวงกลาโหมจะต้องตัดงบประมาณประมาณ 6 แสนล้านเหรียญ แม้แต่กระทรวงที่สำคัญๆ เช่น กระทรวงศึกษา กระทรวงเกษตรและกระทรวงสิ่งแวดล้อมก็จะถูกเฉือนงบประมาณลง 8% ต่อปี ที่ได้รับยกเว้นคืองบประกันสังคม งบช่วยเหลือทหารผ่านศึก เงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และงบรักษาพยาบาลสำหรับผู้มีรายได้น้อย (Medicaid) และผู้สูงอายุ (Medicare) ก็ยังถูกเฉือน 2%


    งบประมาณที่ถูกตัดทอนลงนั้นแม้จะเริ่มในปี 2013 แต่ก็สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นกรณีของกระทรวงกลาโหมนั้นทำให้เกิดความไม่แน่นอนว่าโครงการต่างๆ ที่เป็นโครงการระยะยาว (รวมทั้งการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์) นั้นจะต้องถูกตัดทอนมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นก็ยังอาจทำให้กระทรวงกลาโหมต้องลดกองพลและ/หรือปิดฐานทัพบางแห่งก็ได้ ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของมลรัฐต่างๆ ในหลายพื้นที่ ดังนั้นจึงกำลังมีความเคลื่อนไหวในหมู่ของผู้แทนราษฎรบางคนให้ออกกฎหมายยับยั้งการปรับลดงบประมาณดังกล่าว แต่การทำเช่นนั้นก็จะถูกต่อต้านได้ทั้งจากฝ่ายขวาที่ต้องการรักษาวินัยทางการคลังอย่างแท้จริงหรือจากประธานาธิบดีโอบามา ซึ่งมองว่าการที่คณะกรรมการร่วมไม่สามารถหาข้อยุติได้ก็เพราะพรรครีพับลิกันไม่มีความจริงใจในการยอมรับการขึ้นภาษีที่เก็บจากคนรวย จึงจะไม่ยอมให้ฝ่ายรีพับลิกันลดการสูญเสียงบประมาณของบางหน่วยงานเช่นกัน นอกจากนี้การแก้เงื่อนไขการลดงบประมาณให้เจือจางลงทำให้เสี่ยงที่จะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัทจัดอันดับ (Moody’s, S&P และ Fitch Rating) ซึ่งจะสะท้อนความล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจและการรักษาวินัยทางการคลังของสหรัฐ


    หากดูจากผลสำรวจความเห็นของประชาชนสหรัฐจะเห็นว่า ประชาชนแสดงความเหนื่อยหน่ายกับการเล่นการเมืองของนักการเมืองสหรัฐอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน กล่าวคือประชาชนเพียง 20% เท่านั้นที่ยังพึงพอใจกับการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าการเมืองในสหรัฐจะมีแต่การต่อสู้เพื่อเอาแพ้เอาชนะกันอย่างไม่ลดละต่อไปอีก 1 ปีจนกว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาจะเสร็จสิ้นลงในต้นเดือนพ.ย.ปี 2012 ประเด็นคือประธานาธิบดีโอบามาไม่ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทำให้ความนิยมตกต่ำลงเหลือ 40% และจากประสบการณ์ในอดีต ประธานาธิบดีที่เผชิญปัญหาการว่างงานสูงกว่า 8% (ปัจจุบันการว่างงานอยู่ที่ 9%) จะแพ้การเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง ดังนั้นฝ่ายรีพับลิกัน ซึ่งมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้วจึงคาดหวังไว้สูงว่า ในการเลือกตั้งครั้งหน้าจะสามารถรักษาฐานเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเอาไว้ได้และน่าจะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี ตลอดจนอาจจะได้เสียงข้างมากในวุฒิสภาอีกด้วย ในส่วนของเดโมแครตนั้นก็ต้องต่อสู้อย่างเต็มพิกัด โดยสร้างภาพว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่สะดุดตัวมาโดยตลอดนั้นเกิดจากจุดยืนของฝ่ายรีพับลิกันที่ต้องการปกป้องคนรวยและไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหารเพื่อลดความน่าเชื่อถือและความนิยมชมชอบในตัวประธานาธิบดีโอบามา


    กล่าวโดยสรุปคือการเมืองของสหรัฐนั้นกำลังทำให้หลายคนหมดหวังในการบริหารจัดการเศรษฐกิจของสหรัฐ เราเคยแต่มองสหรัฐว่าเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกๆ ด้าน แต่มาวันนี้เราเห็นการเมืองของสหรัฐตกอยู่ในวังวนของความขัดแย้งที่กำลังบั่นทอนอนาคตของเศรษฐกิจและยังมองไม่เห็นทางออกใน 1 ปีข้างหน้า โดยบางคนอาจคาดหวังว่าเมื่อผ่านการเลือกตั้งในปี 2012 แล้ว การเมืองจะสงบนิ่งและความแตกแยกต่างๆ ลดลง ทำให้การบริหารจัดการเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ แต่หากนักการเมืองกลุ่มเดิมได้รับเลือกตั้งกลับมาอีก ปัญหาความขัดแย้งก็อาจดำเนินไปเช่นเดิม คำถามที่ตามมาคือ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นหากปัญหายืดเยื้อต่อไป?


    หากหันมาดูตัวเลขที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็จะต้องบอกว่าปัญหาของสหรัฐนั้นไม่ได้แตกต่างจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปมากนักดังที่นาย Barton Biggs ผู้บริหารกองทุนประกันความเสี่ยง (Hedge Fund) ที่เป็นที่รู้จักกันดีเคยกล่าวว่าสหรัฐก็กำลังเดินบนเส้นทางเดียวกันกับยุโรปในการเข้าไปสู่ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะ กล่าวคือการตัดลดงบประมาณ 1.2 ล้านล้านที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2013 นั้นที่จริงแล้วเป็นการตัดงบประมาณที่ไม่เพียงพอ เพราะในปีงบประมาณ 2011 ที่เพิ่งผ่านไปนั้นรัฐบาลสหรัฐขาดดุลงบประมาณสูงถึง 1.3 ล้านล้านเหรียญ ดังนั้นที่จะตัดงบประมาณ 1.2 ล้านล้านเหรียญใน 10 ปีข้างหน้านั้นจะมีส่วนการแก้ปัญหาการขาดดุลเพียง 10% เท่านั้น


    ที่สำคัญคือปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐมีหนี้สาธารณะรวมทั้งสิ้น 15 ล้านล้านเหรียญหรือเท่ากับจีดีพีของสหรัฐแล้ว แต่สถิติสหรัฐจะแจ้งว่ามีหนี้สาธารณะที่ถือโดยประชาชนเพียง 9 ล้านล้านเหรียญเพราะอีก 6 ล้านล้านเหรียญนั้นถือโดยกองทุนประกันสังคมเป็นหลัก อย่างไรก็ดีระบบรัฐสวัสดิการของสหรัฐ ประกอบกับการแก่ตัวลงของประชากรทำให้กองทุนประกันสังคมในอนาคตจะมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ดังนั้นกองทุนประกันสังคมจะต้องขายพันธบัตรทั้งหมดออกมาในระยะยาว หมายความว่าหากรัฐบาลสหรัฐยังขาดดุลงบประมาณต่อไปปีละ 1 ล้านล้านเหรียญและกองทุนประกันสังคมก็ต้องขายพันธบัตรออกมาเช่นกัน แล้วใครจะเป็นผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ? (กล่าวคือใครจะมาเป็นเจ้าหนี้ปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลสหรัฐ?)


    หมายความว่าสหรัฐยังไม่ได้เริ่มแก้ปัญหาหนี้สาธารณะเลยและนับวันปัญหาก็มีแต่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การขาดดุลงบประมาณปีละกว่า 1 ล้านล้านเหรียญนั้นหมายถึงการสร้างหนี้เพิ่มขึ้น (ให้กับลูกหลานของคนอเมริกัน) วันละ 3.56 ล้านเหรียญหรือ 148 ล้านเหรียญต่อชม. ซึ่งจะไม่สามารถทำไปได้นาน หากจะมองอีกด้านหนึ่งก็คือในช่วง 3 ปีที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐสร้างหนี้เท่ากับ 30% ของจีดีพีเพียงเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวไม่ถึง 2% ต่อปี แม้แต่ในปีนี้ที่เศรษฐกิจฟื้นตัว ก็ขยายตัวได้เพียง 2.5% เพื่อแลกกับการสร้างหนี้เพิ่มขึ้น 8% ของจีดีพี


    คำถามที่ตามมาคือหากเศรษฐกิจสหรัฐมีปัจจัยพื้นฐานที่ย่ำแย่ดังกล่าวข้างต้นทำไมเศรษฐกิจสหรัฐจึงยัง “ดูดี” กว่าเศรษฐกิจยุโรปอย่างมาก ตรงนี้ผมขอตอบในเบื้องต้นว่ามีเหตุผลเฉพาะหน้า 2 เหตุผลคือ 1.เจ้าหนี้ของสหรัฐยินยอมให้รัฐบาลกู้เงินได้อย่างไม่อั้นที่อัตราดอกเบี้ยต่ำและ 2.ธนาคารกลางสหรัฐแสดงท่าทีว่าพร้อมจะพิมพ์เงินให้รัฐบาลสหรัฐใช้อย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งประเด็นดังกล่าวตลอดจนการวิเคราะห์เปรียบเทียบสหรัฐกับยุโรปผมจะขอเขียนถึงในครั้งหน้าครับ

     
  9. อาแป๊ะ

    อาแป๊ะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2011
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +107
    ขอบคุณครับ สไหรับข้อม฿ลดีๆเช่นนี้
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การประท้วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษ

    จากวินาทีนี้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 เริ่มนับเวลาถอยหลังที่บุคลากรของรัฐทั่วประเทศได้เตรียมพร้อมเพื่อเข้าร่วมการประท้วงเป็นจำนวนถึง 2.5 ล้านคน ซึ่งจะเป็นการประท้วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษ...

    [​IMG]

    โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ สหภาพแรงงาน 29 แห่ง โรงเรียนจะปิดเป็นพันๆโรงเพราะทั้งครูใหญ่และคุณครูจะเข้าร่วมการประท้วงครั้งนี้ รวมถึงโรงพยาบาล แม้กระทั่งสนามบินจะได้รับผลกระทบด้วย เนื่องจากทั้งคุณหมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (UKBA-United Kingdom Border Agency)จะร่วมเคลื่อนไหวในการประท้วงครั้งนี้ในลอนดอน
    ชาวอังกฤษต่างลุ้นระทึกไม่กระพริบตาเหมือนดูพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ถูกซักฟอกในสภาไทยวันนี้....อีกไม่กี่ชั่วโมงการประท้วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ปี 1926 จะเริ่มขึ้นในวันพุธที่ 30 พฤศจิกาคม !! อุ๊บส์!! พฤศจิกายน ณ กรุงลอนดอนเมืองหลวงของอังกฤษ
    [​IMG]
    สหภาพแรงงานของบุลคลากรภาครัฐ เช่น ครู หมอ พยาบาล บุรุษพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล บุคลากรจากสำนักงานบริการสาธารณะสุขแห่งชาติ(National Health Service-NHS) ซึ่งมีจำนวนถึงหนึ่งล้านคนทั่วประเทศ ข้าราชการหลายภาคส่วน เจ้าหน้าที่องค์กรท้องถิ่น พนักงานเก็บขยะหลายหมื่นคน(ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น-Council) เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ ซึ่งเจ้าหน้าจากภาครัฐทั้งหมด 2.5 ล้านคนจะร่วมในการประท้วง
    การประท้วงครั้งนี้ได้มีการประเมินตัวเลขที่อาจก่อความเสียหายให้แก่อังกฤษถึง 500 ล้านปอนด์เพราะจะเกิดการชะงักงันในทุกองค์กรภาครัฐ โรงเรียนจะถูกปิด ผู้ปกครองต้องลางานเพื่อดุแลเด็กๆที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ หรือไม่ผู้ปกครองหลายพันคนอาจต้องนำงานมาทำที่บ้านเพื่อดูแลเด็กๆไปด้วย
    [​IMG]
    โรงพยาบาลเลื่อนการผ่าตัดไปเป็นพันๆกรณีงดการนัดหมายเพื่อพบแพทย์ออกไปไม่มีกำหนด จะรักษาเฉพาะคนไข้ที่ป่วยหนักเท่านั้น เขาบอกว่าการทำงานในโรงพยาบาลในวันพุธนี้จะเหมือนการทำงานในวันคริสต์มาสซึ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ทำงานสบายๆ !!
    สาเหตุของการประท้วงที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้เกิดจากการตัดงบประมาณของรัฐลงรวมถึงการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบเรื่องเกษียณอายุและบำนาญ ขยายเวลาของการเกษียณอายุออกไปอีกทำให้คนเกษียณอายุช้าลงซึ่งหมายถึงต้องทำงานนานออกไปอีกกว่าจะได้รับบำนาญจากรัฐ เมื่อก่อนประชากรที่นี่เกษียณอายุ 60 ปี แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 65 ปีแล้ว นี่คือสังคมของคนสูงอายุด้วยพัฒนาการด้านการแพทย์ที่ดีขึ้นส่งผลให้อายุยืนขึ้น
    ในขณะเดียวกันหนี้สาธารณะก็สูงขึ้นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ในปัจจุบันอังกฤษมีหนี้สาธารณะสูงถึง 5,000,000,000 ล้านปอนด์ และจำนวนคนตกงานก็มีถึง 2.6 ล้านคน ถือเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 17 ปี
    ในส่วนของรัฐบาลก็แถลงว่ารัฐบาลบริหารจัดการเรื่องเงินบำนาญอย่างสมเหตุสมผลที่สุดรวมถึงใจกว้างมาก เพราะว่าจำนวนเงินที่บุคลากรของรัฐสมทบเข้ากองทุนบำนาญในแต่ละปีนั้นเพียง 5.5 พันล้านปอนด์ ในขณะที่รัฐต้องแบกภาระ (โดยนำมาจากภาษีของประชาชน) จ่ายบำนาญให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละปีถึง 32 พันล้านปอนด์
    รัฐบาลได้เตรียมรับมือการประท้วงครั้งนี้โดยเรียกข้าราชการจากหน่วยงานอื่นมาทำหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่จะไม่มาทำงานในวันพุธ(เพราะติดภาระกิจประท้วง 555) ซึ่งจะทำให้สนามบืนหลายแห่งมีปัญหาเรื่องการทำงานล่าช้าเพราะเจ้าหน้าทีขาดแคลนและขาดประสบการณ์ในงานด้วย โดยเฉพาะสนามบินที่ใหญ่ที่สุดคือฮีทโทรว์จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ผู้บริหารงานสนามบินแนะนำให้สายการบินลดจำนวนเที่ยวบินประมาณครึ่งหนึ่งของเที่ยวบินปกติในวันพุธนี้ และผู้โดยสารขาเข้าอาจต้องเสียเวลาล่าช้าและติดอยู่ในเครื่องบินที่โดยสารมา คาดการณ์ว่าประมาณ 12 ชั่วโมง
    [​IMG]
    เจ้าของบล็อกมีคำแนะนำว่าหากท่านไม่ติดภาระกิจที่เร่งด่วนและจำเป็นจริงๆควรหลีกเลี่ยงการเดินทางมาลอนดอนในอาทิตย์หน้า แต่ข่าวร้ายคือหากการประท้วงครั้งนี้ไม่ชนะอาจต้องใช้เวลาประท้วงยืดเยื้อออกไป ข่าวรายงานว่าผู้ประท้วงยินดีที่จะประท้วงเป็นเดือน เจ้าหน้าที่ขนส่งมาลชนก็จะเข้าร่วมประท้วงด้วย
    [​IMG]
    ได้เห็นพลังประชาชนออกมาเรียกร้องในสิ่งที่เขาต้องการแล้ว เจ้าของบล็อกอยาก ได้ 'ลอนดอนโมเดล' มา 'บูรณาการ' ที่ กรุงเทพฯ 'หลังน้ำลด'เหลือเกิน.......!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

    อ้างอิงและขอบคุณ ;
    http://www.londonlovesbusiness.com/commentanalysis/uk-national-debt-5000000000000/641.article
    http://www.bbc.co.uk/news/uk-15871084
    http://www.dailymail.co.uk/news/article-2065639/Public-sector-strikes-Heathrow-passengers-held-12-HOURS-planes.html
    http://www.mirror.co.uk/news/top-stories/2011/11/27/how-wednesday-s-public-sector-strikes-will-affect-all-of-us-115875-23590686/
    ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่านคะ

    ที่มา rapeseed blog
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อังกฤษเตรียมรับมือประท้วงใหญ่รอบ30ปี
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=center align=left>28 พฤศจิกายน 2554 22:49 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อังกฤษเตรียมรับมือการผละงานประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปีของกลุ่มพันธมิตรสหภาพแรงงานข้าราชการ และพนักงานรัฐ ร่วม 30 แห่ง ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูประบบบำนาญภาครัฐ ในวันพุธ (30) นี้ โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการชุมนุมมากกว่า 2 ล้านคน

    ข้าราชการ และพนักงานรัฐจากหลายภาคส่วน ที่รวมถึง ครู แพทย์ พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ราว 2 ล้านคน ประกาศจะหยุดงานประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้พวกเขาต้องจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับเงินบำนาญในอนาคต และทำงานนานขึ้นก่อนเกษียณอายุ

    คาดกันว่า การผละงานประท้วงจะส่งผลให้โรงเรียนหลายพันแห่งหยุดการเรียนการสอน พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมากต้องลางาน เพื่อดูแลเด็กที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ ขณะที่โรงพยาบาลเลื่อนการผ่าตัด งดการนัดพบแพทย์ และรับรักษาเฉพาะผู้ป่วยหนักเท่านั้น

    นอกจากนี้ ยังจะเกิดความสับสนวุ่นวายตามท่าเรือ และท่าอากาศยาน โดยเฉพาะสนามบินฮีทโธรว์ ซึ่งเป็นสนามบินใหญ่ที่สุด อาจทำให้ผู้โดยสารได้รับบริการล่าช้า และอาจต้องติดอยู่บนเครื่องบินนานถึง 12 ชั่วโมงทีเดียว

    อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีหลายกระทรวงต่างกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการประท้วงใหญ่ครั้งนี้ จึงได้เรียกพนักงานสถานทูตบางคนไปปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ที่จะก่อการสไตรก์แล้ว

    ขณะเดียวกัน เหล่ารัฐมนตรีก็เร่งเร้าให้บรรดาข้าราชการ และพนักงานรัฐเหล่านั้น ยอมรับข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งทางสหภาพฯ มองว่า ไม่ยุติธรรม และขาดความกระจ่างชัด หลังการเจรจากันอย่างเผ็ดร้อนมานานหลายเดือน แต่ก็ไม่คืบหน้า

    ด้าน ฟรานซิส ม้อด รัฐมนตรีประจำคณะรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลยังคงทบทวนปัญหานี้ แต่การประท้วงไม่ใช่หนทางที่จะบีบให้ยินยอม โดยการนัดกันหยุดงานนั้นรังแต่จะสร้างความเสียหายร้ายแรงแก่เศรษฐกิจ และพลเมืองของประเทศอังกฤษ

    มีความกังวลว่า การหยุดงานประท้วงดังกล่าวอาจก่อความเสียหายให้แก่อังกฤษมากกว่า 500 ล้านปอนด์ และอาจมีคนตกงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่ตัวเลขคนว่างงานในประเทศอยู่ที่ 2.6 ล้านคน สูงสุดในรอบ 17 ปีแล้ว

    เขาเสริมว่า รัฐบาลอังกฤษไม่มีเงินที่จะเสนอให้กับสหภาพแรงงานได้อีกแล้ว พร้อมกับกล่าวหาแกนนำสหภาพว่า รีบตัดสินมาตรการของรัฐบาลเร็วเกินไป และเรียกร้องให้พวกเขาลองคิดพิจารณาใหม่อีกครั้ง

    ทั้งนี้ การสไตรก์ครั้งใหญ่ ที่จะเริ่มขึ้นในวันพุธนี้ (30 ) ยังจะเป็นบททดสอบสหภาพแรงงาน ที่ครั้งหนึ่งเคยมีอำนาจในการต่อรอง ทว่าอ่อนกำลังลงเนื่องจากกฏหมายแรงงานที่เข็มงวด และจำนวนสมาชิกที่ลดน้อยถอยลงนั้น จะยังสามารถมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลได้หรือไม่.

    http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000151778
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โออีซีดีเตือนทั่วโลกเจอศก.เลวร้ายสุด

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 08:35


    โออีซีดีเตือนทั่วโลกเจอศก.เลวร้ายสุดเหตุผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติหนี้ยุโรปคุกคามเศรษฐกิจชาติพัฒนาแล้วไปทั่ว

    องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ(โออีซีดี) ระบุว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกต้องเตรียมเผชิญหน้ากับภาวะเลวร้ายที่สุด ขณะที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติหนี้ยุโรปกำลังคุกคามเศรษฐกิจโลกพัฒนาแล้วไปทั่ว


    โออีซีดี ซึ่งมีฐานดำเนินงานอยู่ในกรุงปารีส ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจฉบับล่าสุด ว่า ความล้มเหลวในการบรรเทาวิกฤติหนี้ของบรรดาผู้นำในสหภาพยุโรป(อียู)ที่ลุกลามตั้งแต่กรีซไปจนถึงอิตาลี และยาวนานมาจนถึงขณะนี้ อาจจะนำไปสู่ภาวะชะงักงันครั้งใหญ่ทางเศรษฐกิจและจบลงด้วยผลลัพธ์ที่รุนแรงที่สุด


    "การประเมินเศรษฐิจรอบครึ่งปีของโออีซีดีครั้งนี้ ยังเรียกร้องให้เพิ่มเงินช่วยเหลือในกองทุนยุโรปและเรียกร้องให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)มีบทบาทมากกว่านี้ในการบรรเทาวิกฤติ และอีซีบีต้องออกมาตรการที่มีความน่าเชื่อถือ ออกมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้วิกฤติหนี้ลุกลามไปทั่วในตลาดพันธบัตรรัฐบาล"นายคาร์โล ปาโดน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากโออีซีดี ให้ความเห็น


    นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก คิดว่า อีซีบี เป็นสถาบันเดียวที่สามารถบรรเทาภาวะตื่นตระหนกในตลาดเพราะวิกฤติหนี้ในยูโรโซนได้


    อย่างไรก็ตาม นายปาโดน เตือนว่า องค์ประกอบต่างๆดังที่กล่าวมา ประกอบกับปัญหาการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐที่ยังหาทางออกไม่ได้ การผิดนัดชำระหนี้ หรือการล้มละลายของธนาคารในยุโรป ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงขาลงทั้งสิ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจของยูโรโซนจะหดตัวประมาณ 2% ในปีหน้า และอาจจะหดตัวมากกว่านี้ในปีถัดไป


    ทั้งนี้ โออีซีดี คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวประมาณ 2% ในปีหน้า และ 2.5% ในปี 2556 และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว 2% ในปีหน้า และ 1.6% ในปีถัดไป

    [​IMG]



     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ยุโรปยามวิกฤติ

    โดย : แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ jack@svoa.co.th

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 04:00




    เมื่อน้ำเริ่มลด ก็คงจะเป็นข่าวดีสำหรับคนไทยหลายๆ คน ที่จะมีโอกาสได้ “กลับบ้าน” เพื่อใช้ชีวิตปกติเสียทีหลังจากต้องหนีน้ำมานาน

    แต่ขณะเดียวกันเมื่อทุกอย่างเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เราก็ต้องยอมรับข่าวร้ายที่เกิดขึ้นระหว่างที่เราประสบอุทกภัยกันอยู่ นั่นคือวิกฤติเศรษฐกิจที่อาจกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมีที่มาจาก “กรีซ” ที่ทำท่าจะลุกลามไปทั่วกลุ่มประเทศยุโรปและทั่วโลก


    หากวิเคราะห์กันเฉพาะในกลุ่มประเทศยุโรป จะเห็น 2 ประเทศที่ยืนอยู่คนละขั้ว คือเยอรมนีกับกรีซ ที่ขั้วหนึ่งมีระเบียบวินัย เข้มแข็ง และเป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูปัญหาเศรษฐกิจยุโรปคือเยอรมนี กับอีกประเทศหนึ่งที่ย่ำแย่จนกลายเป็นต้นตอของปัญหาอยู่วันนี้คือกรีซ


    ลองเทียบเคียงด้านต่างๆ ของทั้ง 2 ประเทศจะเห็นความแตกต่างซึ่งหลายๆ ด้านก็ดูเหมือนจะคล้ายคลึงกับบ้านเรา แต่จะเด่นหรือด้อยต่างกันต้องลองศึกษาดู เริ่มจากนโยบายด้านการศึกษาของกรีซซึ่งน่าจะคล้ายคลึงกับประเทศกำลังพัฒนาหลายๆ ประเทศที่มุ่งเสริมสร้างเด็ก “เก่ง” เป็นหลัก


    นับตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมากรีซจัดให้มีรางวัลสำหรับเด็กที่สอบได้ที่ 1 ของประเทศ ซึ่งเป็นเวทีให้เด็กหัวกะทิขวนขวายให้ได้มา แต่กลับกลายเป็นว่าบรรดาเด็กเก่งเหล่านั้นจำนวนไม่น้อยกลับเติบโตขึ้นเป็นคนที่เห็นแก่ตัว และไม่มีจริยธรรมเท่าที่ควรจนกลายเป็นปัญหาคอร์รัปชัน ฉ้อโกงจนถึงวันนี้


    นอกจากนั้นแล้วกรีซยังเป็นหนึ่งในประเทศที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยระบบ “อุปถัมภ์” เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะการทำงานในภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเอื้อให้คนบางตระกูลเป็นพิเศษ แทนที่คนดีมีความสามารถจะเติบโตขึ้นมาได้อย่างที่ควรจะเป็นก็กลับกลายเป็นคนที่มีคนใหญ่คนโตฝากฝังให้มาทำงาน


    หันมาดูกันที่ระบบการศึกษาของเยอรมนีที่ผลักดันการศึกษาทั้ง 2 ระบบคือสายสามัญและสายอาชีวะมาตั้งแต่ปี 1806 โดยสายหนึ่งจะเน้นวิชาการเป็นหลัก ขณะที่อีกสายหนึ่งจะเน้นด้านการปฏิบัติเป็นหลักซึ่งดูเหมือนจะไม่แตกต่างจากบ้านเรานัก


    แต่สิ่งที่ทำให้ระบบดังกล่าวสำเร็จก็คือมาตรฐานและความเท่าเทียมกันของทั้ง 2 ระบบ นั่นคือไม่ว่าจะเรียนในสายไหนก็มีรายได้และมาตรฐานในการดำเนินชีวิตไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่น่าแปลกใจอะไรที่เยอรมนีจะโดดเด่นด้านเทคนิค วิศวกรรม เพราะเด็กที่จบสายอาชีวะก็มีโอกาสก้าวหน้าไม่แพ้เด็กสายสามัญที่เรียนมาแต่ภาคทฤษฎี


    หากเปรียบเทียบสังคมของเยอรมันเป็นปลาเราจึงเห็นปลาตัวนี้มีส่วนหัวและหางที่ไม่ใหญ่นัก แต่ส่วนลำตัวจะมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งแน่นอนว่ามีราคาดีเพราะเนื้อมาก เหมือนคนที่มีเนื้อหาสาระในตัวมากทั้งๆ ที่ไม่ได้คร่ำเคร่งร่ำเรียนจนจบปริญญาหลายใบ


    ดูกันต่อที่นโยบายด้านการเงินซึ่งเราคงได้ข่าวคราวของกรีซมากกว่าเพราะมีนักวิเคราะห์ทั่วโลกวิพากษ์วิจารณ์อย่างเต็มที่ในฐานะต้นตอของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ ซึ่งโดยสรุปแล้วปัญหาเศรษฐกิจของกรีซก็คล้ายคลึงกับประเทศอื่นๆ ที่เคยเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจมาก่อน


    นั่นคือ การใช้จ่ายภาครัฐที่หมดไปกับการเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและเพิ่มจำนวนข้าราชการในประเทศ จนมีสัดส่วนสูงถึง 22% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งงบประมาณในประเทศไม่พอเพียงก็จะกู้จากต่างประเทศมาใช้ ซึ่งไม่มีวันพอ เพราะปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการในอัตรา 10-15% ทุกปี


    ปัญหาของ กรีซ ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ แต่ต้องขอยกยอดไปกล่าวต่อสัปดาห์หน้าครับ

     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รู้เขารู้เรา เข้าใจทำไมกรีซล้มละลาย
    13 พฤษภาคม 2553 - 22:43:00


    สำนักข่าวอัล จาซีราีตีพิมพ์เรื่องกรีกโดยตั้งชื่อว่าเป็น 'The Bankrupt State' = "รัฐล้มละลาย", ผู้เขียนขอนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังครับ [ al jazeera ]
    ----//----
    [​IMG] [worldaccomodation]
    ภาพที่ 1: แผนที่ยุโรป... กล่าวกันว่า ประเทศในยุโรปใต้ได้แก่ สเปน โปรตุเกส กรีซมีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ ประชาธิปไตยไม่ค่อยเข้มแข็ง (สเปนและโปรตุเกสมีช่วงที่ทหารปกครองนานกว่า ช่วงที่เป็นประชาธิปไตยสั้นกว่าชาติอื่นๆ ในยุโรป) > [ worldaccomodation ]
    ...
    [​IMG][nationsonline]

    ภาพที่ 2: แผนที่ยุโรป จะเห็นว่า ตุรกีและกรีซเป็นประเทศที่กองทัพเรือรัสเซียจะต้องผ่านจากทะเลดำไปยังทะเล เมดิเตอร์เรเนียน > [ nationsonline ]

    ...
    [​IMG] [alhiba]

    ภาพที่ 3: แผนที่ตะวันออกกลาง จะเห็นว่า กรีซและตุรกีเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมยุโรปกับตะวันออกกลางเข้าด้วยกัน จุดต่างอยู่ที่ชาวกรีซส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวตุรกีส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเศรษฐกิจ-กองทัพตุรกีเหนือกว่ากรีซอย่างมากมาย > [ al hiba ]


    ...
    [​IMG] [wikipedia]

    ภาพที่ 4: แผนที่ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร (แต้มสีฟ้า), ประเทศที่จะใช้แต้มสีเขียว, สหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ / UK) ไม่ใช้ยูโร, เดนมาร์ก (แต้มสีแดง) จะใช้สกุลเงินเดิมแต่อ้างอิงยูโร > [ wikipedia ]
    การรวมกลุ่มกันใ้ช้ยูโรทำให้ประเทศที่ร่ำรวยมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์จากค่า เงินที่ต่ำลง ทำให้สินค้าราคาถูกลง ส่งออกได้มากขึ้น, ประเทศที่รวยน้อยกว่ามีแนวโน้มจะเสียประโยชน์จากค่าเงินที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าราคาแพง ส่งออกได้น้อยลง, ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ว่า ต่อไปอาจจะมีการแยกเป็น 2 โซนย่อย

    ...
    [​IMG] [wikipedia]

    ภาพที่ 5: สนามกีฬาอีพิดาอูรุส (Epidaurus) ที่ใช้แสดงอดีตอันรุ่งเรืองของมหาอาณาจักรกรีก > [ wikipedia ]
    กรีกก็คล้ายกับอาณาจักรอื่นๆ คือ พอรุ่งถึงจุดๆ หนึ่ง ชนชั้นปกครองก็ใช้ชีวิตหรูหรา ฟุ่มเฟือย ก่อสร้างอะไรต่อมิอะไรประเภทเมกะโปรเจ็คท์ที่ไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ (nonperforming megaprojects) มากมาย

    ...
    [​IMG] [wikipedia]

    ภาพที่ 6: ชายทะเลเกาะมีโคโนสที่อยู่ใกล้ยุโรปนิดเดียว ทำให้มีนักท่องเที่ยวหนีหนาวไปเพียบ ดูแล้วน่าจะรวย > [ wikipedia ]
    ท่านมหาตมะ คานธีกล่าวไว้ว่า โลกนี้มีทรัพยากรสำหรับคนทุกคน แต่มีทรัพยากรไม่พอสำหรับคนโลภมากคนเดียว, ประเทศก็เช่นกัน... ไม่มีประเทศไหนมีทรัพยากรมากพอสำหรับคนละโมบโลภมากที่ไม่รู้จักพอ (โกงกินจนพังทั้งประเทศ)

    ...
    [​IMG] [wikipedia]

    ภาพที่ 7: สนามกีฬาโอลิมปิคที่โกงกันเพียบ ขาดทุน และทำให้สุขภาพการเงินกรีซแย่ลงไปเรื่อยๆ > [ wikipedia ]

    ...
    เงินความช่วย เหลือที่กรีซจะได้รับจากสหภาพยุโรป (Eurozone = ประเทศ EU ที่ใช้เงิน Euro; ที่สำคัญ คือ UK, สวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้ใช้ Euro) และ IMF = $146bn = 5.11 ล้านล้านบาท (คิดที่ 35฿:$) นับเป็นความช่วยเหลือทางการเงินต่อรัฐที่มีปัญหายอบแยบทางการเงินครั้งใหญ่ ที่สุดในประวัติศาสตร์
    กล่าวกันว่า คอร์รัปชั่นกับการหนีภาษีเป็นธรรมดาของที่นั่น และเรื่องนี้ก็คล้ายกับประเทศยุโรปใต้อื่นๆ เช่น สเปน โปรตุเกส ฯลฯ เช่นกัน
    ...
    ผู้คนโดยเฉพาะ ชนชั้นกลางต่างไม่พอใจกับมาตรการใหม่ที่ประเทศเจ้าหนี้บังคับใช้ได้แก่ การขึ้นภาษี, ลดค่าใช้ภาครัฐ, และลดเงินเดือนภาคเอกชน
    คุณคริสตอส คีรีอาเคาซิส คนขับแท็กซี่ในเอเธนส์ (เมืองหลวง) กล่าวว่า "คุณอาจจะไว้ใจรัฐบาลประเทศอื่นได้... แต่ที่กรีซนี่ไว้ใจบ่ได้ดอก (ท่านอาจจะลืมไปว่า นักการเมืองทั่วโลกและนักประท้วงส่วนใหญ่ไว้ใจไม่ไ้ด้ทั้งนั้น)"
    ...
    คุณคริสตอ สเป็นพ่อม่ายลูกสาม เคยไปเรียนเศรษฐศาสตร์ที่นิวยอร์ค ใช้ชีวิตที่นั่นกว่า 10 ปี แต่แล้วก็ตัดสินใจกลับบ้านมา 20 ปีแล้ว
    "ความผิดพลาดใหญ่ที่สุดในชีวิตผม คือ การกลับบ้าน... ผมรักแผ่นดินนี้ แต่แผ่นดินนี้ไม่รักประชาชน" ท่านบ่น"
    ...
    รัฐบาลที่นั่น ประกาศมาตรการรัดเข็มขัด (austerity measures) ได้แก่ ลดเงินเดือนข้าราชการ 10%, ลดบำนาญ, ขึ้นภาษี, ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
    และที่ลืมไม่ได้ คือ ยกเลิกมาตรการ "เกษียณก่อนกำหนด (early retirement)" ที่เดิมยอมให้เกษียณได้ตั้งแต่อายุ 40 เศษๆ (เกษียณแล้วได้บำนาญเพียบ)
    ...
    คุณคริสตอสบ่น ต่อ... "ไม่รู้ภาษีมันหายไปไหน ไม่คืนมาเป็นการศึกษาสำหรับเด็กๆ ไม่มีการรักษาพยาบาลที่ดี"
    ฝ่ายผู้ประท้วงก็ประท้วงทุกอย่าง เริ่มจากการตั้งตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล สหภาพยุโรป, IMF และอะไรต่อมิอะไรไปเรื่อยๆ
    ...
    คุณนิค เจอโรนิมอส ลูกครึ่งกรีก-ออสเตรเลียที่ทำธุรกิจอพาร์ตเมนท์ โรงแรม และบาร์หลายแห่งบอกว่า ประชากรกรีซ 11 ล้านคนเป็นข้าราชการมากถึง 1.025 ล้านคน = 9.32% หรือเฉลี่ยแล้วคนกรีซ 11 คนจะเป็นข้าราชการ 1 คน
    การมีภาครัฐที่ใหญ่-ประสิทธิภาพต่ำ-รายจ่ายสูงเป็นปัญหาใหญ่ของกรีซ, ที่นั่นอะไรๆ ก็ต้อง "ใต้โต๊ะ (fakelaki)" ไม่ว่าจะเป็นการขอใบขับขี่สักใบ หรือไม่ก็เข้าโรงพยาบาล
    ...
    คุณเจอโรนิมอ สบอกว่า ข้าราชการที่นั่นมีรายได้เดือนละ 600-800-1000 ยูโร = 24,600-32,800-41,000 บาท... แล้วจะไปพอกินไ้ด้อย่างไร (คิดที่ 41฿:euro)
    อาจารย์คอสตอส บาเคาริสจากองค์การ 'Transparency International (ความโปร่งใสนานาชาติ)' กล่าวว่า ขนาดเศรษฐกิจมืด (black economy) ของกรีซมีค่าประมาณ 1/3 GDP (ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ รวมสินค้าและบริการทุกอย่าง) แต่ข้อมูลจากธนาคารเร็วๆ นี้ น่าจะอยู่ที่ 37%
    ...
    เรื่องนี้แสดง ว่า กรีซมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่ารายงาน แต่ไม่ไ้ด้แสดงไว้ในบัญชี เช่น มีธุรกิจหนีภาษีมากมาย ฯลฯ (ประเทศที่มีการคอรัปชั่นสูง มีการค้ายาเสพติด-แรงงานข้ามชาติ-โสเภณี จะมีขนาดเศรษฐกิจมืดที่ไม่เสียภาษีใหญ่มาก ทำให้ "เจ้าพ่อ" หรือ "เจ้าแม่" รวยเละ)
    ผู้คนที่นั่นต่างก็ไม่พอใจกับภาษี เช่น คนขับแท็กซี่ต้องเสียภาษี 1,200 euros/ปี =49,200 บาท/ปี ฯลฯ
    ...
    การเป็นเจ้า ภาพโอลิมปิคส์ในปี 2004 ก็ใช้เงินไปมากถึง 12bn euros = 492,000 ล้านบาท แถมยังขาดทุนอีกต่างหาก
    อ.บาเคาริสประมาณว่า เมื่อเทียบกับโอลิมปิคส์ที่บาร์เซโลนา (สเปน),แอทแลนตา (สหรัฐฯ), ซิดนีย์ (ออสเตรเลีย) แล้ว... ทุกอย่างที่นั่นแพงกว่า 50-400% จากราคากลาง
    ...
    มีคำกล่าวว่า กรีซเป็นประเทศยากจนที่เต็มไปด้วยคนรวย (There is a saying that Greece is a poor country full of rich people.) หรือคนรวยกับคนจนมีมาก คนชั้นกลางมีน้อย

    ทีนี้ใครจะปรับตัวได้ดีกว่า... อ.บาเคาริสกล่าวว่า คนรุ่นใหม่น่าจะปรับตัวได้น้อยกว่าคนรุ่นเก่า เพราะคนรุ่นเก่านั้นผ่านมาหลายฟ้าหลายฝน ทนต่อความลำบากมานักต่อนักแล้ว... ทนอีกหน่อยจะเป็นไรไป
    ...
    ยุโรปเองก็ไม่ กล้าปล่อยให้กรีซล้มละลายไปต่อหน้าต่อหน้า เพราะจะทำให้ EU แตกเป็นเสี่ยงๆ เสียภาพพจน์ และทำให้โลกเสียโอกาสที่จะมีสกุลเงินทางเลือกที่ไม่ใช่ดอลลาร์
    และที่สำคัญ คือ กรีซเป็นประเทศในกลุ่ม EU ที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ... ใกล้ต่อทางออกทะเลของรัสเซีย-ตะวันออกกลาง และบาดหมางกับตุรกี, ไม่มีทางที่ EU จะปล่อยให้ตุรกีฮุบกรีซไปได้ง่ายๆ เลย
    ...
    บทเรียนจากกรีซ สอนเราว่า ถึงแม้ประเทศจะมีทรัพยากรอย่างมากมายมหาศาล โดยเฉพาะต้นทุนทางด้านการท่องเที่ยว เชน ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมกรีก เกาะ ชายทะเล ฯลฯ ก็ยังล้มได้ ถ้ามีภาครัฐ (ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ) ใหญ่ หรือมีประสิทธิภาพต่ำแล้ว... ล้วนรอดยากกันทั้งนั้น
    การลดขนาดภาครัฐ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดคอร์รัปชั่น และความเป็นประชาธิปไตยอย่างมีกฏระเบียบ เช่น เคารพกฏหมาย กระบวนการยุติธรรมไม่ลำเอียง ฯลฯ เป็นทางอยู่รอด ปลอดภัยของชาติในระยะยาว
    ...
    ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
    ...
    [​IMG] ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]
    ที่มา
    • Thank [ al jazeera ]; [ wikipedia ]; [ worldaccomodation ]; [al hiba ]; [ nationsonline ]; [ wikipedia ].
    • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 13 พฤษภาคม 2553.
    • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
    • ที่มา http://www.thaiblogonline.com/health.blog?PostID=16552

     
  15. curio

    curio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +2,048
    ขอบคุณสำหรับข้อมูล สาระดีๆนะครับ
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤตหนี้สินกรีซ

    สาเหตุ

    เศรษฐกิจกรีซเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจโตเร็วที่สุดในยูโรโซนตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ถึง 2550 ระหว่างช่วงนั้น อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 4.2% ต่อปี โดยมีเงินลงทุนต่างประเทศท่วมประเทศ<SUP class=reference id=cite_ref-26 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[27]</SUP> เศรษฐกิจอันแข็งแกร่งและผลตอบแทนพันธมิตรรัฐบาลที่ตกลงทำให้รัฐบาลกรีซดำเนินขาดดุลทางโครงสร้างครั้งใหญ่ ตามบทบรรณาธิการตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์กรีซฝ่ายขวา Kathimerini การขาดดุลสาธารณะใหญ่ ๆ เป็นหนึ่งในลักษณะที่เป็นโครงสร้างทางสังคมของกรีซนับตั้งแต่สมัยฟื้นฟูประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2517 หลังโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารฝ่ายขวา รัฐบาลต้องการนำประชากรส่วนที่เอียงซ้ายและเคยถูกตัดสิทธิต่าง ๆ กลับเข้าสู่เศรษฐกิจกระแสหลัก<SUP class=reference id=cite_ref-27 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[28]</SUP> และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกลาว รัฐบาลกรีซหลายชุดจึงดำเนินการขาดดุลครั้งใหญ่เพื่อจัดหาเงินทุนแก่อาชีพภาคเอกชน บำนาญและประโยชน์ทางสังคมอื่น ๆ<SUP class=reference id=cite_ref-28 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[29]</SUP> ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 หนี้ต่อจีดีพีของกรีซอยู่เหนือระดับ 100%<SUP class=reference id=cite_ref-tempsreel.nouvelobs.com_29-0 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[30]</SUP>
    เดิมการลดค่าเงินช่วยการกู้ยืม หลังการเริ่มใช้เงินสกุลยูโรในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 เดิมกรีซสามารถกู้ยืมได้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ต่ำกว่าสามารถควบคุมได้ วิกฤตการณ์การเงินปลายยคริสต์ทศวรรษ 2000 ซึ่งเริ่มต้นใน พ.ศ. 2550 ได้มีผลกระทบใหญ่หลวงโดยเฉพาะต่อกรีซ อุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดสองแห่งของประเทศ คือ การท่องเทียวและการขนส่งสินค้าทางเรือ ได้รับผลกระทบอย่างเลวร้ายโดยมีรายได้ลดลง 15% ใน พ.ศ. 2552<SUP class=reference id=cite_ref-tempsreel.nouvelobs.com_29-1 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[30]</SUP>
    รัฐบาลกรีซได้รายงานสถิติทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการของประเทศอย่างผิด ๆ มาอย่างต่อเนื่องและเจตนา<SUP class=reference id=cite_ref-30 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[31]</SUP><SUP class=reference id=cite_ref-31 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[32]</SUP> เพื่อให้ดูเหมือนว่าเป็นไปตามแนวปฏิบัติด้านการเงินของยูโรโซน เมื่อถึงต้นปี พ.ศ. 2553 มีการค้นพบกว่ากรีซได้จ่ายเงินให้แก่โกลด์แมนแซกส์และธนาคารอื่น ๆ เป็นจำนวนหลายร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐเป็นค่านายหน้าตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา เพื่อจัดการธุรกรรมเพื่อปกปิดระดับการกู้ยืมที่แท้จริง<SUP class=reference id=cite_ref-32 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[33]</SUP> จุดประสงค์ของการตกลงที่ทำโดยรัฐบาลกรีซหลายสมัยนี้เพื่อให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายเงินได้เกินกว่ารายได้ ขณะที่ซ่อนตัวเลขหนี้สินที่แท้จริงจากผู้สังเกตการณ์ของสหภาพยุโรป<SUP class=reference id=cite_ref-33 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[34]</SUP>
    ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลจอร์จ ปาปันเดรอูได้ทบทวนหนี้สินของประเทศจากที่เคยประมาณไว้ที่ 6% เป็น 12.7%<SUP class=reference id=cite_ref-34 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[35]</SUP> ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 หนี้สินภาครัฐของกรีซอยู่ที่ประมาณ 13.6%<SUP class=reference id=cite_ref-35 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[36]</SUP> ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีหนี้สินภาครัฐสูงที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับจีดีพี<SUP class=reference id=cite_ref-36 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[37]</SUP> หนี้สินภาครัฐของกรีซประมาณการอยู่ที่ 216,000 ล้านยูโรในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553<SUP class=reference id=cite_ref-37 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[38]</SUP> ตลาดพันธบัตรรัฐบาลกรีซนั้นน่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ โดยมีบางรายงานเสนอแนะว่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซนั้นกว่า 70% ถือครองโดยบุคคลต่างด้าว<SUP class=reference id=cite_ref-38 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[39]</SUP>
    ต่อมา วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553 เรดติงหนี้สินกรีซถูกลดลงเหลือระดับแรกของสถานะ "ขยะ" โดยสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส ท่ามกลางความกลัวว่าจะเกิดการผิดชำระหนี้โดยรัฐบาลกรีซ<SUP class=reference id=cite_ref-nyt04282010_39-0 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[40]</SUP> อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลสองปีเพิ่มสูงขึ้นเป็นถึง 15.3% หลังจากการลดสถานะดังกล่าว<SUP class=reference id=cite_ref-40 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[41]</SUP> นักวิเคราะห์บางคนตั้งคำถามถึงความสามารถของกรีซที่จะก่อหนี้ใหม่เพื่อชดใช้หนี้ที่มีอยู่แล้ว สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์สประเมินว่าในเหตุการณ์ที่นักลงทุนที่ถูกผิดชำระหนี้นั้นจะสูญเสียเงินลงทุนของตนไปถึง 30-50%<SUP class=reference id=cite_ref-nyt04282010_39-1 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[40]</SUP> ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลงหลังจากมีแถลงการณ์ดังกล่าว<SUP class=reference id=cite_ref-41 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[42]</SUP>
    หลังจากการลดระดับโดยฟิทช์ มูดีส์ และเอสแอนด์พี<SUP class=reference id=cite_ref-42 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[43]</SUP> อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลกรีซเพิ่มสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2553 ทั้งในลักษณะสมบูรณ์และเมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลเยอรมัน<SUP class=reference id=cite_ref-ecb-long_43-0 style="FONT-WEIGHT: normal; LINE-HEIGHT: 1em; FONT-STYLE: normal">[44]</SUP> อัตราดอกเบี้ยได้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีการลดระดับเรดติงลงอย่างต่อเนื่อง

    วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป - วิกิพีเดีย
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ยูโรโซนประชุมปรับกองทุนกู้วิกฤตS&Pจ่อลงดาบลดเครดิต'ฝรั่งเศส'
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>29 พฤศจิกายน 2554 23:29 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    เอเจนซี/เอเอฟพี - ขุนคลังยูโรโซนประชุมหารือกันที่กรุงบรัสเซลล์ วันอังคาร (29) ตามเวลาท้องถิ่น โดยคาดว่าจะตกลงกันในรายละเอียดของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงิน เพื่อจะสกัดกั้นการแพร่ระบาดของวิกฤตร้ายแรงในตลาดพันธบัตรยุโรป หลังจากมีแรงกดดันถาโถมทั้งจากสหรัฐฯ, ไอเอ็มเอฟ, โออีซีดี ตลอดจนสถาบันเครดิตเรตติ้งยักษ์ใหญ่ ซึ่งต่างเรียกร้องให้ยุโรปเร่งหามาตรการเด็ดขาดในการแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะ โดยที่มีรายงานด้วยว่า สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เตรียมลดเรตติ้งทิศทางแนวโน้มของฝรั่งเศสเป็น “ติดลบ” ภายใน 10 วันข้างหน้านี้

    ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ กดดันคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงอียู ที่มาร่วมประชุมซัมมิตสหรัฐฯ-อียู ที่กรุงวอชิงตัน เมื่อวันจันทร์ (28) ให้เร่งดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดในการแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะ โดยที่ทำเนียบขาวอ้างว่าเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งดึงรั้งเศรษฐกิจของอเมริกาให้ดิ่งลงเหว

    โฆษกทำเนียบขาว เจย์ คาร์นีย์ นำสารที่โอบามากล่าวกับบรรดาเจ้าหน้าที่อาวุโสของอียู ภายในห้องประชุมที่ไม่เปิดให้สื่อมวลชนเข้าไปทำข่าว มาเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยมีใจความว่า “ยุโรปจำเป็นจะต้องดำเนินมาตรการเด็ดขาด มาตรการขั้นสุดท้าย เพื่อที่จะรับมือจัดการกับปัญหานี้ และว่า ยุโรปมีศักยภาพที่จะทำเช่นนั้นได้”

    ในช่วงเวลาห่างกันไม่นานนัก องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ก็ออกมาเตือนว่า ยูโรโซนกำลังเผชิญกับความเสี่ยงถดถอยครั้งรุนแรง พร้อมกับย้ำว่า วิกฤตการเงินซึ่งดำเนินยืดเยื้อมานาน 2 ปีนี้กำลังเข้าสู่ระยะสำคัญยิ่ง

    นอกจากนี้แล้ว เมื่อวันอังคาร (29) ยังมีอีกกระแสกดดันจาก มูดี้ส์ หนึ่งในสามสถาบันเครดิตเรตติ้งทรงอิทธิพลของโลก ที่เตือนว่า อาจปรับลดความน่าเชื่อถือในตราสารหนี้ด้อยสิทธิ(subordinated debt) ระยะยาวของธนาคาร 87 แห่ง ใน 15 ประเทศยุโรป เนื่องจากหวั่นเกรงว่า รัฐบาลของพวกเขาอาจไม่มีเงินเพียงพอสำหรับโอบอุ้มพวกเขาได้ทั้งหมด

    ขณะที่ทางหนังสือพิมพ์รายวัน ลา ตริบูน ในฝรั่งเศส รายงานอ้างแหล่งข่าวหลายราย ระบุว่า เอสแอนด์พี อีกหนึ่งบริษัทจัดอันดับความน่าเชี่อถือยักษ์ใหญ่ ได้ส่งคำเตือนว่า ภายใน 10 วันข้างหน้านี้ พวกเขาอาจปรับลดเรตติ้งทิศทางแนวโน้ม (outlook) ของสถานภาพเครดิตของฝรั่งเศสจาก “มั่นคง (stable)” เป็น “ติดลบ (nagative)” ซึ่งการติดลบนี้จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ภายในระยะไม่กี่เดือนข้างหน้า เอสแอนด์พี มีโอกาสพิจารณาหั่นเครดิตตราสารหนี้ของแดนน้ำหอมลงจากระดับ AAA ในปัจจุบัน

    สื่อแนวเศรษฐกิจและการเงินดังกล่าว ระบุบนเว็บไซต์ว่า อันที่จริงแล้ว เอสแอนด์พี มีแผนจะประกาศเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ทว่าได้เลื่อนออกไปโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ

    กระแสข่าวลือดังกล่าวสร้างความปั่นป่วนในตลาดเงินยูโรอยู่พักหนึ่ง โดยที่ค่าเงินยูโรอ่อนยวบลงเกือบครึ่งเซนต์เทียบกับดอลลาร์ ในตลาดนิวยอร์กเมื่อเย็นวันจันทร์ (28)

    เป็นที่คาดกันว่า การพบหารือของบรรดารัฐมนตรีคลังของ 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรกรุ๊ป) ที่กรุงบรัสเซลล์ ในวันอังคาร (29) จะมีการแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจแก่กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น และสามารถมอบความช่วยเหลือแก่อิตาลี หรือสเปน ได้ทันท่วงที หากพวกเขาต้องการเงินกู้ฉุกเฉิน นอกจากนี้ที่ประชุมคราวนี้ยังน่าที่จะมีการตกลงอนุมัติเงินกู้งวดถัดไปให้แก่กรีซและไอร์แลนด์ด้วย

    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ได้รับเอกสารที่ระบุถึงรายละเอียดแนวทางของกองทุนอีเอฟเอสเอฟ ซึ่งอยู่ในขั้นพร้อมสำหรับการอนุมัติเห็นชอบแล้ว โดยที่จะมีการเปิดทางสำหรับดำเนินมาตรการใหม่ๆ ตลอดจนขยายขนาดของกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการอนุญาตให้นักลงทุนเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมได้

    แต่เจ้าหน้าที่หลายคนให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ว่า กลไกอีเอฟเอสเอฟนี้ น่าจะพร้อมเชิงปฏิบัติการได้ในเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งนั่นอาจจะสายเกินไป

    ด้านธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งซื้อพันธบัตรของทั้งรัฐบาลสเปนและอิตาลี เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นทุนการกู้ยืม (อัตราผลตอบแทน / ยีลด์) ของบอนด์พวกเขา ผันผวนจนควบคุมไม่อยู่นั้น ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้ขุนคลังยูโรโซนรีบหาข้อสรุปด้านเทคนิคเกี่ยวกับกองทุนอีเอฟเอสเอฟ อย่างเร่งด่วน

    ทั้งนี้ ฝรั่งเศสต้องการให้อีซีบี ทำการอัดฉีดเงินเพิ่มสภาพคล่องให้แก่กองทุนอีเอฟเอสเอฟ รวมถึงต้องการให้ขยายบทบาทเป็นแหล่งที่พึ่งสุดท้ายสำหรับการกู้ยืม ดังเช่นบทบาทของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หรือแบงก์ชาติของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่ลงขันมากที่สุด ได้คัดค้านแนวคิดนี้อย่างแข็งขัน ด้วยหวั่นเกรงว่าการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มจะยิ่งเป็นชนวนให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ พร้อมกับย้ำว่า มาตรการแรกในการดับไฟก็คือการพึ่งพาตนเองของชาติที่เกิดปัญหาแต่ละชาติ ด้วยการรักษาระเบียบวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด และปฏิรูปเศรษฐกิจ

    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000152329
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ยูโรโซนประชุมปรับกองทุนกู้วิกฤตS&Pจ่อลงดาบลดเครดิต'ฝรั่งเศส'
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>29 พฤศจิกายน 2554 23:29 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    เอเจนซี/เอเอฟพี - ขุนคลังยูโรโซนประชุมหารือกันที่กรุงบรัสเซลล์ วันอังคาร (29) ตามเวลาท้องถิ่น โดยคาดว่าจะตกลงกันในรายละเอียดของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงิน เพื่อจะสกัดกั้นการแพร่ระบาดของวิกฤตร้ายแรงในตลาดพันธบัตรยุโรป หลังจากมีแรงกดดันถาโถมทั้งจากสหรัฐฯ, ไอเอ็มเอฟ, โออีซีดี ตลอดจนสถาบันเครดิตเรตติ้งยักษ์ใหญ่ ซึ่งต่างเรียกร้องให้ยุโรปเร่งหามาตรการเด็ดขาดในการแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะ โดยที่มีรายงานด้วยว่า สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เตรียมลดเรตติ้งทิศทางแนวโน้มของฝรั่งเศสเป็น “ติดลบ” ภายใน 10 วันข้างหน้านี้

    ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ กดดันคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงอียู ที่มาร่วมประชุมซัมมิตสหรัฐฯ-อียู ที่กรุงวอชิงตัน เมื่อวันจันทร์ (28) ให้เร่งดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดในการแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะ โดยที่ทำเนียบขาวอ้างว่าเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งดึงรั้งเศรษฐกิจของอเมริกาให้ดิ่งลงเหว

    โฆษกทำเนียบขาว เจย์ คาร์นีย์ นำสารที่โอบามากล่าวกับบรรดาเจ้าหน้าที่อาวุโสของอียู ภายในห้องประชุมที่ไม่เปิดให้สื่อมวลชนเข้าไปทำข่าว มาเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยมีใจความว่า “ยุโรปจำเป็นจะต้องดำเนินมาตรการเด็ดขาด มาตรการขั้นสุดท้าย เพื่อที่จะรับมือจัดการกับปัญหานี้ และว่า ยุโรปมีศักยภาพที่จะทำเช่นนั้นได้”

    ในช่วงเวลาห่างกันไม่นานนัก องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ก็ออกมาเตือนว่า ยูโรโซนกำลังเผชิญกับความเสี่ยงถดถอยครั้งรุนแรง พร้อมกับย้ำว่า วิกฤตการเงินซึ่งดำเนินยืดเยื้อมานาน 2 ปีนี้กำลังเข้าสู่ระยะสำคัญยิ่ง

    นอกจากนี้แล้ว เมื่อวันอังคาร (29) ยังมีอีกกระแสกดดันจาก มูดี้ส์ หนึ่งในสามสถาบันเครดิตเรตติ้งทรงอิทธิพลของโลก ที่เตือนว่า อาจปรับลดความน่าเชื่อถือในตราสารหนี้ด้อยสิทธิ(subordinated debt) ระยะยาวของธนาคาร 87 แห่ง ใน 15 ประเทศยุโรป เนื่องจากหวั่นเกรงว่า รัฐบาลของพวกเขาอาจไม่มีเงินเพียงพอสำหรับโอบอุ้มพวกเขาได้ทั้งหมด

    ขณะที่ทางหนังสือพิมพ์รายวัน ลา ตริบูน ในฝรั่งเศส รายงานอ้างแหล่งข่าวหลายราย ระบุว่า เอสแอนด์พี อีกหนึ่งบริษัทจัดอันดับความน่าเชี่อถือยักษ์ใหญ่ ได้ส่งคำเตือนว่า ภายใน 10 วันข้างหน้านี้ พวกเขาอาจปรับลดเรตติ้งทิศทางแนวโน้ม (outlook) ของสถานภาพเครดิตของฝรั่งเศสจาก “มั่นคง (stable)” เป็น “ติดลบ (nagative)” ซึ่งการติดลบนี้จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ภายในระยะไม่กี่เดือนข้างหน้า เอสแอนด์พี มีโอกาสพิจารณาหั่นเครดิตตราสารหนี้ของแดนน้ำหอมลงจากระดับ AAA ในปัจจุบัน

    สื่อแนวเศรษฐกิจและการเงินดังกล่าว ระบุบนเว็บไซต์ว่า อันที่จริงแล้ว เอสแอนด์พี มีแผนจะประกาศเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ทว่าได้เลื่อนออกไปโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ

    กระแสข่าวลือดังกล่าวสร้างความปั่นป่วนในตลาดเงินยูโรอยู่พักหนึ่ง โดยที่ค่าเงินยูโรอ่อนยวบลงเกือบครึ่งเซนต์เทียบกับดอลลาร์ ในตลาดนิวยอร์กเมื่อเย็นวันจันทร์ (28)

    เป็นที่คาดกันว่า การพบหารือของบรรดารัฐมนตรีคลังของ 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรกรุ๊ป) ที่กรุงบรัสเซลล์ ในวันอังคาร (29) จะมีการแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจแก่กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น และสามารถมอบความช่วยเหลือแก่อิตาลี หรือสเปน ได้ทันท่วงที หากพวกเขาต้องการเงินกู้ฉุกเฉิน นอกจากนี้ที่ประชุมคราวนี้ยังน่าที่จะมีการตกลงอนุมัติเงินกู้งวดถัดไปให้แก่กรีซและไอร์แลนด์ด้วย

    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ได้รับเอกสารที่ระบุถึงรายละเอียดแนวทางของกองทุนอีเอฟเอสเอฟ ซึ่งอยู่ในขั้นพร้อมสำหรับการอนุมัติเห็นชอบแล้ว โดยที่จะมีการเปิดทางสำหรับดำเนินมาตรการใหม่ๆ ตลอดจนขยายขนาดของกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการอนุญาตให้นักลงทุนเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมได้

    แต่เจ้าหน้าที่หลายคนให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ว่า กลไกอีเอฟเอสเอฟนี้ น่าจะพร้อมเชิงปฏิบัติการได้ในเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งนั่นอาจจะสายเกินไป

    ด้านธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งซื้อพันธบัตรของทั้งรัฐบาลสเปนและอิตาลี เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นทุนการกู้ยืม (อัตราผลตอบแทน / ยีลด์) ของบอนด์พวกเขา ผันผวนจนควบคุมไม่อยู่นั้น ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้ขุนคลังยูโรโซนรีบหาข้อสรุปด้านเทคนิคเกี่ยวกับกองทุนอีเอฟเอสเอฟ อย่างเร่งด่วน

    ทั้งนี้ ฝรั่งเศสต้องการให้อีซีบี ทำการอัดฉีดเงินเพิ่มสภาพคล่องให้แก่กองทุนอีเอฟเอสเอฟ รวมถึงต้องการให้ขยายบทบาทเป็นแหล่งที่พึ่งสุดท้ายสำหรับการกู้ยืม ดังเช่นบทบาทของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หรือแบงก์ชาติของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่ลงขันมากที่สุด ได้คัดค้านแนวคิดนี้อย่างแข็งขัน ด้วยหวั่นเกรงว่าการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มจะยิ่งเป็นชนวนให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ พร้อมกับย้ำว่า มาตรการแรกในการดับไฟก็คือการพึ่งพาตนเองของชาติที่เกิดปัญหาแต่ละชาติ ด้วยการรักษาระเบียบวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด และปฏิรูปเศรษฐกิจ

    Around the World - Manager Online -
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อย่ากู้เงินเพื่อซื้อกองทุนรวม
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>30 พฤศจิกายน 2554 01:39 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    โดยวรวรรณ ธาราภูมิ
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง
    และนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน

    David Karas ที่ปรึกษาการลงทุนในแคนาดาที่ได้รับ License CFA ถูกลูกค้าชื่อ George French อายุ 58 ปี เกษียณแล้ว ฟ้องร้องด้วยข้อหาให้คำแนะนำการลงทุนที่ไม่เหมาะสม เพราะไปแนะนำให้ลูกค้ากู้ยืมเงินมาซื้อกองทุนรวม จนลูกค้าขาดทุนไปถึง $1.5 million (45 ล้านบาท) ทั้งนี้ บริษัทที่เขาสังกัดคือ Investia Financial Services Inc. ในโตรอนโต คานาดา ก็ถูกฟ้องด้วย โดย George French ระบุว่าเขาตกเป็นเหยื่อของกลยุทธ์การลงทุนที่ออกแบบมาเพื่อให้ที่ปรึกษาการลงทุนร่ำรวยด้วยเงินของลูกค้า

    David Karas นับเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการกองทุนรวมมาก เคยได้รับรางวัลผู้ทำยอดขายกองทุนรวมสูงสุดจากบริษัทที่เขาสังกัดในช่วงปี 1989-2009 ปัจจุบันนี้เขาไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ขายกองทุนรวมแล้ว แต่ยังมีทะเบียนให้ขายประกันได้ และที่ทำงานแห่งใหม่ของเขาชื่อ Investors Source Wealth Management Inc ก็ทำกิจการให้คำแนะนำวางแผนการลงทุนกับการบริหารภาษีด้วย

    ทนายความของลูกค้าที่ฟ้องร้อง David Karas ยืนยันว่ามีลูกค้าของ David Karas อีกประมาณ 20 รายได้ติดต่อมาที่ทนายความเพื่อให้ทำคดีฟ้องร้อง Karas เช่นเดียวกัน และระบุว่ามีลูกค้าทั้งหมดประมาณ 150 รายที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกับ George French ลูกความของเขา

    ก่อนหน้าที่ George French จะได้รับคำแนะนำการลงทุนจาก David Karas ในปี 2000 เขามีเงินสะสมเพื่อเกษียณ $380,000 (11.4 ล้านบาท) อยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคาร เขาไม่เคยสมรส และไม่ต้องเลี้ยงดูใคร จำนวนเงินนี้จึงน่าจะเพียงพอที่จะใช้จ่ายในวัยเกษียณตามลำพังได้

    George French เล่าว่า David Karas แนะนำให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อมาซื้อกองทุนรวมที่บริษัทของ Karas บริหาร โดยนำกองทุนรวมในส่วนที่ลูกค้ากู้เงินมาลงทุนไปเป็นหลักประกันการกู้ของลูกค้า และกู้มากเท่าไร ทั้งบริษัทและ Karas ก็จะยิ่งได้ค่าตอบแทนมากขึ้นเท่านั้น และในปี 2006 Karas ได้เปิดบริษัทเองชื่อ Financial Victory Associates โดยมีเป้าหมายจะให้บริการแนะนำลูกค้าว่าเมื่อไหร่ถึงควรจะซื้อและขายกองทุนรวม โดย Karas แจ้งลูกค้าว่าลูกค้าสามารถลดโอกาสที่จะขาดทุนจากการลงทุนได้หากสมัครใช้บริการนี้ แต่ Karas ก็ไม่ได้แจ้งลูกค้าว่าการมีค่าธรรมเนียมอีก 0.75% สำหรับการใช้บริการนี้จะยิ่งทำให้ลูกค้ายากที่จะได้กำไรจากการลงทุนในกองทุนรวมโดยการกู้เงินมาลงทุน

    นอกจากนี้ Karas ยังแนะนำและขายประกันให้ลูกค้าโดยไม่ได้พิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่อีกด้วย George French บอกว่าเขาหลงเชื่อในคำแนะนำของ Karas ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพระยะยาวโดยต้องจ่ายค่าพรีเมี่ยมสูงถึง $22,000 (660,000 บาท) ต่อปี

    George French เชื่อคำแนะนำของ Karas จึงได้กู้เงินกว่า 1 ล้านเหรียญ (กว่า 30 ล้านบาท) มาซื้อกองทุนรวม โดยพอร์ตโฟลิโอการลงทุนในกองทุนรวมที่เขาได้รับคำแนะนำให้ซื้อนั้นประกอบไปด้วยกองทุนหุ้น 92% กับกองทุนตราสารหนี้ 8% เขาจึงไม่มีการออมในเงินสดเลย และเมื่อตลาดหุ้นถล่มทลายในปี 2008 George French ก็พบกับปัญหาหนักหนาสาหัสในยามเกษียณ

    การกู้เงินมาลงทุน เหมาะสมกับเราหรือเปล่า ?

    แม้จะมีผู้แนะนำการลงทุนหรือผู้ขายกองทุนในปัจจุบันพยายามแนะนำให้ลูกค้ากู้ยืมในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำเงินไปซื้อกองทุนรวม แต่ที่จริงแล้วจะไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าการกู้ยืมเงินมาลงทุนในกองทุนรวมจะทำให้เราได้กำไร

    ได้ยินกับหูว่าผู้ขายบางคนแนะนำลูกค้าว่าการใช้เครดิตการ์ดซื้อกองทุนจะได้แต้มสะสม ได้รางวัลต่างๆ มากมาย โดยอัตราดอกเบี้ยจากเครดิตการ์ดจะคิดต่ำกว่าปกติหรือไม่คิดดอกเบี้ยระยะหนึ่ง และอัตราดอกเบี้ยนั้นคุ้มกับอัตราภาษีเงินได้ที่ลูกค้าจะได้รับยกเว้น เพราะนำไปซื้อกองทุนอย่าง RMF และ LTF แต่เขาไม่ได้บอกลูกค้ามีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดขาดทุนได้โดยเฉพาะในช่วงสั้นๆ หากลงทุนในกองทุนรวมนั้น นอกจากนี้ ยังเคยได้รับโทรศัพท์บ่อยๆ จากบางธนาคารต่างประเทศ ที่พนักงานขายเรียกร้องให้ใช้วงเงินจากบัตรเครดิตไปซื้อกองทุน โดยบอกว่าหุ้นขึ้นแล้วได้กำไรคุ้มดอกเบี้ยแน่นอน

    การขายกองทุนรวมต้องไม่เป็นแบบนี้ เราต้องยึดมั่นในจริยธรรมของการแนะนำลูกค้า ไม่ไปเน้นที่ต้องทำให้ได้เป้าโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของการให้คำแนะนำ

    สิ่งที่ บลจ. บัวหลวง จะแนะนำก็คืออย่าตกเป็นเหยื่อของการขยายตลาดบนความเสียหายของลูกค้าซึ่งคนขายไปแนะนำให้ลูกค้ากู้มาซื้อกองทุน เอาของรางวัลมาล่อใจ ลูกค้าใช้เครดิตการ์ดซื้อกองทุนรวม RMF และ LTF ได้ แต่เมื่อถึงเวลาที่บัตรเครดิตเรียกเก็บเงิน คุณจะต้องจ่ายชำระทั้งหมดเต็มจำนวน มิฉะนั้น คุณอาจเป็นเหมือน George French

    บลจ.ที่มีแบงค์หนุน ได้ประโยชน์กว่าลูกค้า แบงค์แม่ก็ได้ประโยชน์ แล้วทำไม บลจ.บัวหลวง ถึงออกมาค้านวิธีการขายแบบนี้ล่ะเพราะเราต้องการเป็นมิตรแท้ตลอดเส้นทางลงทุนของทุกคน ไม่ได้ห่วงหรอกว่ารายได้จะไม่ดี มันดีมากค่ะ ยิ่งสายป่านยาวๆ ยิ่งทำได้มาก แล้วแบงค์ใหญ่ต่างๆ สายป่านพวกเราเหล่านี้จะสั้นละหรือ

    ไม่เลย หากเราทุ่มตลาดกัน เราทำได้อยู่แล้ว แต่คนที่รับกรรมคือลูกค้า เข้าใจยังคะ

    Mutual Fund - Manager Online -
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    "อเมริกัน แอร์ไลน์" ยื่นล้มละลายหวังปรับโครงสร้าง ผู้โดยสาร-พนักงานระส่ำ
    <TABLE style="WORD-SPACING: 0px; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>30 พฤศจิกายน 2554 09:43 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    เครื่องบินของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์

    เอเอฟพี - เอเอ็มอาร์ คอร์ป บริษัทแม่ของสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ สายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ได้ยื่นขอความคุ้มครองตามกฏหมายล้มละลาย หวังปูทางไปสู่การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เพื่อให้ดำเนินงานได้ตามปกติ ขณะที่ ผู้โดยสาร และพนักงานต่างระส่ำระสายกับข่าวดังกล่าว โดยหวังว่าสายการบินชั้นนำแห่งนี้จะอยู่รอดปลอดภัย

    "กฎหมายล้มละลาย หมวด 11 ซึ่งจะปูทางไปสู่การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เป็นผลประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับบริษัทและผู้ถือหุ้น" เอเอ็มอาร์แถลง พร้อมประกาศเกี่ยวกับการลาออกของเจอราร์ด อาร์พี ประธาน และผู้บริหารบริษัท

    การยื่นคำร้องต่อศาลขอความคุ้มครองดังกล่าวจะทำให้สายการบินแห่งนี้สามารถลดภาระหนี้ และดำเนินการปรับโครงสร้าง ด้วยแผนทางกฏหมายในการต่อรอง หรือยกเลิกสัญญาการให้บริการ และค่าจ้างได้

    "นี่เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่เป็นสิ่งจำเป็น และทางที่ถูกต้องสำหรับเราที่จะเดิน ในตอนนี้ เพื่อกลายเป็นสายการบินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เข็มแข็งทางการเงินขึ้น และสามารถแข่งขันได้" โธมัส ฮอร์ตัน ซึ่งได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งแทนอาร์พีกล่าว

    สายการบิน ซึ่งให้บริการมากกว่า 260 เมือง ผ่านเครือข่ายใน 50 ประเทศและดินแดนแห่งนี้ ยืนกรานว่าจะยังคงดำเนินธุรกิจ "ตามปกติ" แต่นักวิเคราะห์บางรายไม่ได้เห็นเป็นเช่นนั้น โดยเชื่อว่าอีกไม่นานจะต้องมีการตัดลดเครื่องบิน ลูกจ้าง และเส้นทางการบินตามมา

    ขณะที่ ทางสายการบินยืนยันว่า จะยังคงให้บริการเที่ยวบินตามปกติ พร้อมกับส่งอี-เมลแจ้งให้ลูกค้าทราบ โดยสัญญาว่าจะคุ้มครองโครงการสะสมไมล์ของพวกเขา แต่ผู้โดยสารก็ยอมรับว่า พวกเขาไม่มั่นใจในการเปลี่ยนแปลงที่จะกำลังจะเกิดขึ้น

    ผู้คนจำนวนมากแสดงความกังวลว่า การล้มละลายของอเมริกัน แอร์ไลน์จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น เนื่องจากสายการบิน ที่มีฐานดำเนินงานในฟอร์ทเวิร์ธนี้ เป็นนายจ้าง และผู้สนบัสนุนรายใหญ่ อีกทั้ง เมืองฟอร์ธ เวิร์ธ ยังเป็นที่ตั้งของทีมดัลลัส มาเวอริคส์ด้วย

    ด้านพนักงานก็เกรงว่า พวกเขาจะได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้าง และเกิดความไม่พอใจหลังจากบริษัทเพิ่งทำข้อตกลงซื้อเครื่องบินครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จากทั้งโบอิ้ง และแอร์บัส เป็นจำนวน 460 ลำ มูลค่าถึง 1.62 หมื่นล้านดอลลาร์

    ทั้งนี้ อเมริกัน แอร์ไลน์ เป็นสายการบินรายใหญ่เพียงแห่งเดียวในสหรัฐฯ ที่รอดพ้นจากการยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์สินจากการล้มละลาย แต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สายการบินได้รับผลกระทบจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น รวมถึงการเจรจากับสหภาพพนักงานและนักบิน เพื่อลดค่าใช้จ่ายไม่ประสบความสำเร็จ

    อเมริกัน แอร์ไลน์ กลายเป็นสายการบินที่มีต้นทุนสูงที่สุดในอุตสาหกรรมการบิน และเป็นสายการบินรายใหญ่รายเดียวในประเทศ ที่ยังคงต้องจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้กับพนักงาน

    ก่อนหน้านี้ มีข่าวลือว่าสายการบิน ซึ่งมีภาระหนี้สินหนักหน่วง และมีอัตราการเติบโตอย่างเชื่องช้านี้ อาจต้องยื่นขอล้มละลาย หลังจากนักบินจำนวนมากกว่า 200 คนยื่นใบลาออกในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และนักบินเหล่านั้นก็พยายามเทขายหุ้นของตัวเองในบริษัทด้วย

    [​IMG]

    เจอราร์ด อาร์พี อดีตประธาน และผู้บริหารสายการบิน
    Around the World - Manager Online -
     

แชร์หน้านี้

Loading...