สมภารไม่ยอม ถอดป้ายหมิ่นฯ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย เฮียปอ ตำมะลัง, 29 กรกฎาคม 2008.

  1. พิม

    พิม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +95


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 482
    ภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดหน่วง เป็นผู้ขจัดไข้ใจ เป็นผู้จัดแจงประโยชน์
    ของเรา.
    ก็ธาตุเหล่าใดมีเนื้อความว่าไป แม้ความรู้ก็เป็นเนื้อความของธาตุ
    เหล่านั้น เพราะฉะนั้น เนื้อความของบทว่า คจฺฉามิ ข้าพระองค์
    ขอถึง นี้ ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ทีเดียวว่า ชานามิ พุชฺฌามิ ข้าพระองค์รู้
    เข้าใจ ดังนี้.
    ก็ในคำว่า ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    ชื่อว่า พระธรรม ด้วยอรรถว่าทรงไว้ซึ่งผู้บรรลุมรรคแล้ว ทำ
    นิโรธให้เป็นแจ้งแล้ว และปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ำสอน
    มิให้ตกไปในอบายทั้งหลาย. พระธรรมนั้น โดยอรรถก็คืออริยมรรคและ
    นิพพาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ธรรมเหล่าใดที่เป็นสังขตะ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตถาคตกล่าวว่าเป็นยอด
    ของธรรมเหล่านั้น ดังนี้. พึงทราบความพิสดาร.
    และมิใช่แต่อริยมรรคและนิพพานอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นพระธรรม
    แม้ปริยัตติธรรมกับอริยผลทั้งหลาย ก็เป็นพระธรรมโดยแท้แล. สมจริง
    ดังที่กล่าวไว้ในฉัตตมาณวกวิมาน ว่า
    เธอจงเข้าถึงพระธรรมนี้ ซึ่งเป็นเครื่องสำรอกราคะ
    ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตพรรม ไม่ปฏิกูล
    มีรสเอมโอช ซื่อตรง บัณฑิตจำแนกไว้ดีแล้ว ว่าเป็น
    สรณะที่มีประโยชน์.
    ก็ในคาถานี้ ที่ว่าเป็นเครื่องสำรอกราคะ ท่านกล่าวหมายเอามรรค.
    ที่ว่าไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก หมายเอาผล. ที่ว่าเป็นอสังขตธรรม หมาย


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 483
    เอานิพพาน. ที่ว่าไม่ปฏิกูล มีรสเอนโอช ซึ่งตรง บัณฑิตจำแนกไว้ดีแล้ว
    หมายเอาธรรมขันธ์ทั้งหมดที่จำแนกไว้โดยปิฎก ๓.
    ชื่อว่า พระสงฆ์ คือผู้ที่เข้ากันได้โดยการรวมกันด้วยทิฏฐิและศีล
    พระสงฆ์นั้น โดยอรรถก็คือหมู่แห่งพระอริยบุคคล ๘. สมจริงดังที่กล่าว
    ไว้ในวิมานวัตถุนั้นแหละว่า
    ก็ทานที่บุคคลถวายแล้วในบุญเขตใด ท่านกล่าวว่ามี
    ผลมาก บุญเขตนั้น คือคู่แห่งบุรุษ ๔ ผู้สะอาด และ
    จำแนกรายบุคคลเป็น ๘ ซึ่งเป็นผู้เห็นธรรม เธอจง
    เข้าถึงพระสงฆ์นี้ว่าเป็นสรณะที่มีประโยชน์.
    หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. พระราชาทรงประกาศการ
    ถึงสรณะ ๓ ด้วยคำเพียงเท่านี้.
    เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์เหล่านั้น บัดนี้พึงทราบวิธีนี้ว่า
    สรณะ สรณคมน์ ผู้ที่เข้าถึงสรณะ ประเภทแห่งสรณคมน์ ผลแห่งสรณ-
    คมน์ ความเศร้าหมอง และการแตกทำลาย.
    ข้อนี้เป็นอย่างไร ?
    จะขยายความโดยอรรถแห่งบทก่อน.
    ชื่อว่า สรณะ ด้วยอรรถว่า เบียดเบียน อธิบายว่า ฆ่า เบียดเบียน
    ทำให้พินาศ ซึ่งความกลัว ความสะดุ้ง ความทุกข์ ทุคติ ความเศร้าหมอง
    ทุกด้าน ด้วยการเข้าถึงสรณะนั้นแหละ. คำว่าสรณะนี้เป็นชื่อของพระ
    รัตนตรัยนั่นเอง.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า พุทธะ ด้วยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย
    เหตุให้ดำเนินไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และให้หันกลับจากสิ่งที่ไม่เป็น


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 484
    ประโยชน์.
    ชื่อว่า ธรรม ด้วยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุให้
    ข้ามกันดารคือภพได้ และให้ความแช่มชื่น.
    ชื่อว่า สงฆ์ ด้วยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุทำสิ่งที่
    ทำแม้น้อยให้ได้ผลไพบูล.
    เพราะฉะนั้น พระรัตนตรัยจึงชื่อว่าเป็นสรณะโดยปริยายนี้.
    จิตตุปบาทที่ดำเนินไปโดยอาการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า
    มีกิเลสอันความเลื่อมใสและความเคารพในพระรัตนตรัยนั้นกำจัดแล้ว
    ชื่อว่าสรณคมน์.
    สัตว์ผู้มีพระรัตนตรัยนั้นพร้อมแล้ว ย่อมถึงสรณะ อธิบายว่า ย่อม
    เข้าถึงอย่างนี้ว่า รัตนะ ๓ เหล่านั้นเป็นที่พึ่งของเรา เหล่านี้เป็นที่นับถือ
    ของเรา ดังนี้ ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว. พึงทราบ ๓ อย่างนี้
    คือ สรณะ ๑ สรณคมน์ ๑ และผู้เข้าถึงสรณะ ๑ เท่านี้ก่อน.
    ก็ในประเภทแห่งสรณคมน์ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    สรณคมน์มี ๒ อย่าง คือ โลกุตตรสรณคมน์และโลกิยสรณคมน์.
    ใน ๒ อย่างนั้น โลกุตตรสรณคมน์ ว่าโดยอารมณ์มีนิพพานเป็นอารมณ์
    ย่อมสำเร็จด้วยตัดขาดอุปกิเลสของสรณคมน์ ในมัคคขณะแห่งพระอริย-
    บุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว ว่าโดยกิจย่อมสำเร็จในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น.
    โลกิยสรณคมน์ ว่าโดยอารมณ์มีพระพุทธคุณเป็นต้นเป็นอารมณ์ ย่อมสำเร็จ
    ด้วยการข่มอุปกิเลสของสรณคมน์ของปุถุชนทั้งหลาย. โลกิยสรณคมน์นั้น
    ว่าโดยอรรถได้แก่การได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในวัตถุทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 485
    เป็นต้น และสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีศรัทธาเป็นมูล ที่ท่านเรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม
    ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ.
    โลกิยสรณคมน์นี้นั้น จำแนกเป็น ๘ อย่าง คือ โดยมอบกายถวาย
    ชีวิต ๑ โดยมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ๑ โดยมอบตัวเป็นศิษย์ ๑
    โดยความนอบน้อม ๑.
    ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่ามอบกายถวายชีวิต ได้แก่การสละตนแก่
    พระพุทธเจ้าเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตน
    แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์.
    ที่ชื่อว่ามีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ได้แก่ความเป็นผู้มีพระ
    รัตนตรัยเป็นเบื้องหน้าอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลาย
    โปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีพระพุทธเจ้า มีพระธรรม และ
    มีพระสงฆ์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
    ที่ชื่อว่ามอบตัวเป็นศิษย์ ได้แก่เข้าถึงความเป็นศิษย์อย่างนี้ว่า ตั้งแต่
    วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายโปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็น
    อันเตวาสิกของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม ของพระสงฆ์.
    ที่ชื่อว่าความนอบน้อม ได้แก่การเคารพอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า
    เป็นต้นอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ขอท่านทั้งหลายโปรดทรงจำ
    ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะกระทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม
    สามีจิกรรม แด่วัตถุทั้ง ๓ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเท่านั้น.
    ก็เมื่อกระทำอาการ ๔ อย่างนี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นอัน
    ถือเอาสรณะแล้วโดยแท้.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบกายถวายชีวิตแม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 486
    สละตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า สละตนแด่พระธรรม แด่พระสงฆ์
    ข้าพเจ้าสละชีวิต ข้าพเจ้าสละตนแน่นอน สละชีวิตแน่นอน ข้าพเจ้าถึง
    พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นที่เร้นภัย
    เป็นที่ป้องกันภัยของข้าพเจ้า.
    การมอบตนเป็นศิษย์ พึงทราบเหมือนการถึงสรณะของพระมหา-
    กัสสปะแม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าพึงเห็นพระศาสดาหนอ พึงเห็นพระผู้มีพระ
    ภาคเจ้านั่นเทียว ข้าพเจ้าพึงเห็นพระสุคตหนอ พึงเห็นพระผู้มีพระภาค
    เจ้านั่นเทียว ข้าพเจ้าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอ พึงเห็นพระผู้มี
    พระภาคเจ้านั่นเที่ยว.
    ความมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า พึงทราบเหมือนการถึง
    สรณะของอาฬวกยักษ์เป็นต้นอย่างนี้ว่า
    ข้าพเจ้านั้นจักเที่ยวไปจากบ้าน นั้นสู่บ้านนี้ จากเมือง
    นั้นสู่เมืองนี้ นมัสการพระสัมพุทธเจ้า และความ
    เป็นธรรมที่ดีของพระธรรม.
    ความนอบน้อม พึงทราบแม้อย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อ
    พรหมายุ ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงที่พระยุคล
    บาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศีรษะ ใช้ปากจุมพิตพระยุคลบาทของ
    พระผู้มีพระภาคเจ้า และใช้มือทั้ง ๒ นวดฟั้น พร้อมกับประกาศชื่อว่า
    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่พระ
    โคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ดังนี้.
    ก็การนอบน้อมนี้นั้น มี ๔ อย่าง คือ เพราะเป็นญาติ ๑ เพราะ
    กลัว ๑ เพราะเป็นอาจารย์ ๑ และเพราะถือว่าเป็นทักขิไณยบุคคล ๑


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 487
    ใน ๔ อย่างนั้น เพราะนอบน้อมว่าเป็นทักขิไณยบุคคล จัดเป็น
    สรณคมน์ นอกนี้ไม่ใช่.
    จริงอยู่ เพราะการนับถือพระรัตนตรัยอย่างประเสริฐนั่นแหละ
    บุคคลย่อมถือสรณะได้ และขาดได้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่เป็นศากยะก็ตาม
    โกลิยะก็ตาม ไหว้ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นญาติของเรา ดังนี้ ย่อมไม่
    เป็นการถือสรณะเลย หรือผู้ใดไหว้ด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็น
    ผู้ที่พระราชาทรงบูชา มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้ จะพึงทำแม้ความ
    พินาศให้ ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย หรือผู้ใดระลึกถึงมนต์อะไร ๆ
    ที่คนเรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในกาลเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ
    ในกาลเป็นพระพุทธเจ้า เรียนอนุศาสนีเห็นปานนี้ว่า
    บัณฑิตอยู่ครองเรือน พึงแบ่งทรัพย์เป็น ๔ ส่วน พึง
    ใช้สอยส่วน ๑ พึงประกอบการงาน ๒ ส่วน พึงเก็บ
    ส่วนที่ ๔ ไว้ เผื่อจักมีอันตราย ดังนี้แล้ว
    ไหว้ด้วยคิดว่า อาจารย์ของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย. แต่ผู้
    ใดไหว้ด้วยคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นทักขิไณยบุคคลเลิศในโลก ดังนี้ ผู้นั้นแหละ
    ได้ถือสรณะแล้ว.
    ก็เมื่ออุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถือสรณะอย่างนี้แล้ว ถึงไหว้ญาติแม้
    บวชในอัญญเดียรถีย์ ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ ย่อมไม่ขาด
    สรณคมน์ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงผู้ที่ไม่ได้บวช. ผู้ไหว้พระราชาโดยความ
    กลัวก็เหมือนกัน เพราะพระราชานั้น เมื่อใครไม่ไหว้ จะพึงทำแม้ความ
    พินาศให้ก็ได้ เพราะเป็นผู้ที่รัฐบูชาแล้ว ดังนี้. ถึงไหว้แม้เดียรถีย์ผู้สอน
    ศิลปะคนใดคนหนึ่ง ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา ดังนี้ ก็ไม่ขาด


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 488
    สรณคมน์. พึงทราบประเภทแห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้.
    ก็ในที่นี้ สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล
    มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงเป็นอานิสังสผล. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า
    ส่วนผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระ
    สงฆ์เป็นสรณะ ผู้นั้นเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอัน
    ชอบ คือเห็นทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความล่วงพ้น
    ทุกข์ และมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ
    อันเป็นทางถึงความดับทุกข์ สรณะนั้นของผู้นั้นเป็น
    สรณะอันเกษม เป็นสรณะสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะ
    นี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ดังนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสังสผลแห่งสรณคมน์นี้ แม้โดยการที่
    เขาไม่เข้าถึงภาวะมีนิจจสัญญาเป็นต้น. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ไม่เป็น
    ฐานะ ไม่เป็นโอกาสที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ
    โดยเป็นของเที่ยง ยึดถือสังขารอะไร ๆ ว่าเป็นสุข ยึดถือธรรมอะไร ๆ
    ว่าเป็นตัวคน ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายพระ
    ตถาคตทำให้ห้อพระโลหิต ทำลายสงฆ์ อุทิศศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่
    จะมีได้.
    ก็สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ มีภวสมบัติบ้าง โภคสมบัติบ้าง เป็นผล
    แน่นอน. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า
    ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ชน
    เหล่านั้นจักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์แล้ว จักยัง
    เทวกายให้บริบูรณ์ ดังนี้.


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 489
    แม้ผลอย่างอื่นของสรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ ท่านก็กล่าวไว้ว่า ครั้ง
    นั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาพร้อมด้วยเทวดา ๘ หมื่น เข้าไปหาท่าน
    พระมหาโมคคัลลานะ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้กะท้าว
    สักกะจอมเทวดาผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่งว่า แน่ะจอมเทวดา การถึง
    พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งดีแล แน่ะจอมเทวดา สัตว์บางจำพวกในโลกนี้
    เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุที่
    ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น ย่อมเทียบเท่าเทวดาเหล่า
    อื่น โดยฐานะ ๑๐ อย่าง คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์
    อธิปไตยทิพย์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทิพย์ ดังนี้. ในพระธรรม
    และพระสงฆ์ก็นัยนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลวิเศษแห่งสรณคมน์ แม้ด้วยอำนาจเวลาม-
    สูตรเป็นต้น. พึงทราบผลแห่งสรณคมน์อย่างนี้.
    ในสรณคมน์ทั้งโลกิยะและโลกุตตระเหล่านั้น สรณคมน์ที่เป็น
    โลกิยะย่อมเศร้าหมองด้วยความไม่รู้ ความสงสัยและความเข้าใจผิดในพระ
    รัตนตรัยเป็นต้น ไม่รุ่งเรื่องมากมายไปได้ ไม่แพร่หลายใหญ่โตไปได้.
    สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง.
    อนึ่ง สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะมี ๒ ประเภท คือ ที่มีโทษ ๑ ที่ไม่มี
    โทษ ๑.
    ใน ๒ อย่างนั้น ที่มีโทษ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเป็นต้นว่า มอบตนใน
    ศาสดาอื่นเป็นต้น. สรณคมน์ที่มีโทษนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา. สรณคมน์
    ที่ไม่มีโทษ ย่อมมีด้วยกาลกิริยา. สรณคมน์ที่ไม่มีโทษนั้น ไม่มีผล เพราะ
    ไม่เป็นวิบาก. ส่วนสรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีการแตกเลย. เพราะพระ


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 490
    อริยสาวกไม่อุทิศศาสดาอื่นแม้ในระหว่างภพ. พึงทราบความเศร้าหมอง
    และการแตกแห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า อุปาสกํ มํ ภนฺเต ภควา ธาเรตุ ความว่า ขอพระผู้มีพระ
    ภาคเจ้าโปรดทรงจำ คือทรงทราบข้าพระองค์ไว้อย่างนี้ว่า ข้าพระองค์
    อชาตศัตรูนี้เป็นอุบาสก.
    ก็เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีของอุบาสก ควรทราบข้อปกิณณกะ
    ในที่นี้ดังนี้ว่า ใครเป็นอุบาสก เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า อุบาสก อะไร
    คือศีลของอุบาสก อาชีพอย่างไร วิบัติอย่างไร สมบัติอย่างไร.
    ในปกิณณกะนั้น ใครคืออุบาสก คือคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งที่ถึง
    พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนมหานาม เพราะ
    เหตุที่อุบาสกเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่
    พึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าอุบาสก .
    เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า อุบาสก ?
    เพราะนั่งใกล้พระรัตนตรัย.
    จริงอยู่ อุบาสกนั้น ชื่อว่าอุบาสก ด้วยอรรถว่า นั่งใกล้พระพุทธเจ้า
    นั่งใกล้พระธรรมพระสงฆ์ก็เป็นอุบาสกเหมือนกัน.
    อะไรคือศีลของอุบาสกนั้น ?
    เวรมณี ๕ ข้อ เป็นศีลของอุบาสก. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า
    ดูก่อนมหานาม เพราะเหตุที่อุบาสกเป็นผู้งดเว้น จากปาณาติบาต จาก
    อทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากน้ำเมาคือสุราและ
    เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนมหานาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
    อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 491
    อาชีพอย่างไร ?
    คือ ละการค้าขายผิดศีลธรรม ๕ อย่าง เลี้ยงชีพโดยธรรมสม่ำเสมอ.
    สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้
    อุบาสกไม่ควรทำ ๕ อย่างอะไรบ้าง ? การค้าขายศัสตรา การค้าขายสัตว์
    การค้าขายเนื้อสัตว์ การค้าขายน้ำเมา การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ ดังนี้.
    วิบัติอย่างไร ?
    คือ ศีลวิบัติและอาชีววิบัติของอุบาสกนั้นแหละ เป็นวิบัติของ
    อุบาสก.
    อีกอย่างหนึ่ง อุบาสกนี้เป็นจัณฑาล เป็นมลทิน และเป็นผู้ที่น่า
    รังเกียจด้วยกิริยาใด กิริยาแม้นั้น พึงทราบว่าเป็นวิบัติของอุบาสก. ก็วิบัติ
    เหล่านั้น โดยอรรถได้แก่ธรรม ๕ อย่างมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น.
    เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม
    ๕ อย่าง ย่อมเป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกมลทิน และเป็นอุบาสกที่
    น่ารังเกียจ ๕ อย่างอะไรบ้าง ? คือเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนทุศีล เป็น
    ผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม และแสวงหาทักขิไณยบุคคลนอก
    พระพุทธศาสนา ทำบุญในทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น ดังนี้ .
    สมบัติอย่างไร ?
    ศีลสมบัติและอาชีวสมบัติของอุบาสกนั้นนั่นแหละ เป็นสมบัติของ
    อุบาสก ได้แก่ธรรม ๕ ประการมีศรัทธาเป็นต้น ที่กระทำความเป็น
    อุบาสกรัตนะเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสก
    ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกรัตนะ เป็นอุบาสกปทุม


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 492
    และเป็นอุบาสกบุณฑริก ๕ ประการอะไรบ้าง คือเป็นผู้มีศรัทธา เป็น
    ผู้มีศีล ไม่เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ไม่แสวงหา
    ทักขิไณยบุคคลนอกพระพุทธศาสนา และทำบุญในพระศาสนานี้ ดังนี้.
    อคฺค ศัพท์ ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ ปรากฏในอรรถว่า เป็น
    เบื้องต้น เบื้องปลาย ส่วน และประเสริฐที่สุด.
    ปรากฏในอรรถว่า เป็นเบื้องต้น ในประโยคมีอาทิว่า อชฺชตคฺเค
    สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวารํ นิคฺคณฺฐานํ นิคฺคณฺฐีนํ แน่ะนาย
    ประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะเปิดประตูต้อนรับนิครนถ์ชาย
    หญิง.
    ในอรรถว่า เบื้องปลาย ในประโยคมีอาทิว่า เตเนว องฺคุลคฺเคน
    ตํ องฺคุลคฺคํ ปรามเสยฺย อุจฺฉคฺคํ เวฬคฺคํ พึงเอาปลายนิ้วจดปลายนิ้ว
    เอาปลายอ้อยจดปลายอ้อย เอาปลายไม้ไผ่จดปลายไม้ไผ่.
    ในอรรถว่า ส่วน ในประโยคมีอาทิว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว
    อมฺพิลคฺคํ วา มธุรคฺคํ วา ติตฺตกคิคํ วา วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน
    วา ภาเชตุํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แบ่งส่วนรสเปรี้ยวก็ดี
    ส่วนรสหวานก็ดี ส่วนรสขมก็ดี ตามส่วนวิหารหรือตามส่วนบริเวณ.
    ในอรรถว่า ประเสริฐที่สุด ในประโยคมีอาทิว่า ยาวตา ภิกฺขเว
    สตฺตา อปทา วา ฯ เปฯ ตถาคโต เตสํ อคฺคมกฺขายติ ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย สัตว์เหล่าใด ไม่มีเท้าก็ตาม ฯล ฯ ตถาคต เรากล่าวว่าประเสริฐ
    ที่สุดของสัตว์เหล่านั้น.
    แต่ในที่นี้ อคฺค ศัพท์นี้ พึงเห็นในอรรถว่า เป็นเบื้องต้น เพราะ
    ฉะนั้น พึงทราบเนื้อควานในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ อย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 493
    เป็นต้นไป.
    บทว่า อชฺชตํ แปลว่า เป็นในวันนี้ ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้
    ก็มี ท อักษรทำบทสนธิเข้าไว้ ความว่า ทำวันนี้ให้เป็นต้น.
    บทว่า ปาณุเปตํ ได้แก่เข้าถึงด้วยชีวิต.
    พระเจ้าอชาตศัตรูถึงสรณะด้วยการมอบคนอย่างนี้ว่า ชีวิตของ
    ข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ตราบใด ขอพระองค์โปรดทรงจำ คือทรงทราบ
    ข้าพระองค์ไว้ตราบนั้นเถิดว่า เข้าถึงแล้ว ไม่มีผู้อื่นเป็นศาสดา ถึงสรณะ
    เป็นด้วยสรณคมน์ทั้ง ๓ เป็นอุบาสก เป็นกัปปิยการก (ศิษย์รับใช้) ด้วยว่า
    แม้หากจะมีใครเอาดาบคมกริบตัดศีรษะของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็จะ
    ไม่พึงกล่าวพระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่พึงกล่าวพระธรรมว่าไม่
    ใช่พระธรรม ไม่พึงกล่าวพระสงฆ์ว่าไม่ใช่พระสงฆ์ ดังนี้ เมื่อประกาศ
    ความผิดที่ตนทำ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อจฺจโย มํ ภนฺเต.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจโย แปลว่า ความผิด.
    บทว่า มํ อจฺจคมา ความว่า ก้าวล่วง คือครอบงำข้าพระองค์
    เป็นไป.
    ในบทว่า ธมฺมิกํ ธมฺมราชานํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    ชื่อว่า ธมฺมิกํ ด้วยอรรถว่า ประพฤติธรรม.
    ชื่อว่า ธรรมราชา ด้วยอรรถว่า เป็นพระราชาโดยธรรมทีเดียว
    มิใช่โดยอธรรมมีปิตุฆาตเป็นต้น.
    บทว่า ชีวิตา โวโรเปสึ ได้แก่ปลงชีวิต.
    บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ ได้แก่จงอดโทษ.
    บทว่า อายตึ สํวราย ความว่า เพื่อสังวรในอนาคต คือเพื่อไม่


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 494
    กระทำความผิดคือโทษ คือความพลังพลาดเห็นปานนี้อีก.
    บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ส่วนเดียว.
    บทว่า ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ ความว่า จงกระทำอย่างที่ธรรมจะ
    ดำรงอยู่ได้ อธิบายว่า จงให้อดโทษเสีย.
    บทว่า ตนฺเต มยํ ปฏิคฺคณฺหาม ความว่า ความผิดของมหาบพิตร
    นั้น เราอดโทษให้.
    บทว่า วุฑฺฒิ เหสา มหาราช อริยสฺส วินเย ความว่า มหา-
    บพิตร นี้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะ คือในศาสนาของ
    พระผู้มีพระภาคเจ้า.
    อย่างไร ?
    คือการเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึง
    ความสำรวมต่อไป. แต่เมื่อทรงทำเทศนาให้เป็นบุคคลาธิฏฐานตามสมควร
    จึงตรัสว่า การที่บุคคลเห็นโทษ โดยเป็นโทษ แล้วสารภาพโทษ รับ
    สังวรต่อไป นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยเจ้าแล.
    บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้
    แล้ว.
    ศัพท์ว่า หนฺท ในคำว่า หนฺท จ ทานิ มยํ ภนฺเต นี้ เป็นนิบาต
    ในอรรถว่า คำละเอียดอ่อน. ด้วยว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงทำคำ
    ละเอียดอ่อนในการเสด็จไป จึงตรัสอย่างนี้.
    บทว่า พหุกิจฺจา ได้แก่มีกิจมาก.
    คำว่า พหุกรณียา เป็นไวพจน์ของคำว่า พหุกิจฺจา นั้นเอง.
    บทว่า ยสฺสทานิ ตฺวํ ความว่า มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงสำคัญ


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 495
    คือทราบเวลาที่เสด็จไปในบัดนี้เถิด อธิบายว่า พระองค์นั่นแหละจงทรง
    ทราบเวลาที่เสด็จนั้น.
    บทว่า ปทกฺขิณํ กตฺวา ปกฺกามิ ความว่า พระเจ้าอชาตศัตรูทรง
    ทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ยออัญชลีที่รุ่งเรื่องด้วยทศนัขสโมธานไว้เหนือเศียร
    ผินพระพักตร์ตรงพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถอยหลังชั่วทัศนวิสัยแล้ว
    ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ณ ภาคพื้นตรงที่พ้นทัศนวิสัย แล้ว
    เสด็จหลีกไป.
    บทว่า ขตายํ ภิกฺขเว ราชา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระ
    ราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว.
    บทว่า อุปหตายํ ความว่า พระราชาพระองค์นี้ถูกขจัด เสียแล้ว.
    มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว ถูก
    ขจัดเสียแล้ว มีที่พึ่งถูกทำลายแล้ว คือตนเองถูกตนเองขุดเสียแล้วก็หมด
    ที่พึ่ง.
    บทว่า วิรชํ ได้แก่ปราศจากธุลีคือราคะเป็นต้น.
    ชื่อว่า มีมลทินไปปราศแล้ว เพราะปราศจากมลทินคือราคะเป็นต้น
    นั้นแล.
    บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ได้แก่จักษุในธรรมทั้งหลาย หรือจักษุที่สำเร็จ
    ด้วยธรรม.
    คำว่า ธรรมจักษุ นี้ เป็นชื่อของมรรค ๓ ในฐานะอื่น ๆ แต่ในที่นี้
    เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคเท่านั้น.
    มีอธิบายว่า หากพระเจ้าอชาตศัตรูมิได้ปลงพระชนม์พระบิดา
    พระองค์ประทับนั่งบนอาสนะนี้แหละ จักได้ทรงบรรลุโสดาปัตติมรรคใน


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 496
    บัดนี้ แต่เพราะทรงคบมิตรชั่ว จึงเกิดอันตรายแก่พระองค์ แม้เมื่อเป็น
    เช่นนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูนี้เข้าเฝ้าพระตถาคต ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
    เพราะฉะนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจะบังเกิดในโลหกุมภี ตกอยู่ในเบื้องต่ำ
    ๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องล่างแล้วผุดขึ้นเบื้องบน ๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องบน
    อีกจึงจักพ้นได้ เหมือนใคร ๆ ฆ่าคนแล้ว พึงพ้นโทษได้ด้วยทัณฑกรรม
    เพียงดอกไม้กำมือหนึ่งฉะนั้น เพราะพระศาสนาของเรามีคุณใหญ่.
    ได้ยินว่า คำที่กล่าวมาแล้วแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว
    ทีเดียว แต่มิได้ยกขึ้นไว้ในบาลี.
    ถามว่า ก็พระราชาทรงสดับพระสูตรนี้แล้ว ทรงได้อานิสงส์
    อะไร ?
    แก้ว่า ได้อานิสงส์มาก.
    ด้วยว่า ตั้งแต่เวลาที่ปลงพระชนม์พระชนกแล้ว พระราชานี้มิได้
    บรรทมหลับเลยทั้งกลางคืนกลางวัน แต่ตั้งแต่เวลาที่เข้าเฝ้าพระศาสดา
    ทรงสดับพระธรรมเทศนาอันไพเราะมีโอชานี้แล้ว ทรงบรรทมหลับได้
    ได้ทรงกระทำสักการะใหญ่แด่พระรัตนตรัย ชื่อว่าผู้ที่ประกอบด้วยศรัทธา
    ระดับปุถุชน ที่เสมอเหมือนพระราชานี้ไม่มี. ก็ในอนาคต จักเป็นพระ
    ปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าชีวิตวิเสส จักปรินิพพานแล.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจชื่นชม
    ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    อรรถกถาสามัญญผลสูตร
    ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี
    จบแล้ว ด้วยประการฉะนี้.






    ภยเภรวสูตร

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

    สรณคมน์
    บัดนี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์เหล่านั้นจึงควรทราบวิธีนี้ คือ สรณะ การถึงสรณะ ผู้ถึงสรณะ ประเภทแห่งการถึงสรณะ ผลแห่งการถึงสรณะ สังกิเลส (ความเศร้าหมอง ) และเภทะ ( ความหมดสภาพ).
    ถามว่า วิธีนี้มีความหมายเป็นอย่างไรบ้าง ?
    ตอบว่า ควรทราบความหมายโดยความหมายเฉพาะบทก่อน. ที่ชื่อว่า สรณะ เพราะหมายความว่า เบียดเบียน อธิบายว่า ย่อมกำจัด คือ ทำความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความทุกข์ กิเลสที่เป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

    ของบุคคลผู้ถึงสรณะให้พินาศไปด้วยการถึงสรณะนั้นแล. คำว่า สรณะนั่นเป็นชื่อเรียกพระรัตนตรัย.
    อีกอย่างหนึ่งที่ชื่อว่า พุทธะ เพราะหมายความว่าขจัดซึ่งภัยของสัตว์ทั้งหลายโดยทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูล และถอยกลับจากสิ่งที่ ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
    ที่ชื่อว่า ธรรม เพราะทำสัตว์ทั้งหลายให้ช่วยข้ามพ้นจากกันดาร คือ ภพและเพราะให้ความเบาใจแก่สัตว์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่า สงฆ์ เพราะทำสักการะทั้งหลายแม้เป็นของน้อยค่าให้ได้รับผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้นพระรัตนตรัยจึงชื่อว่า สรณะ โดยบรรยายนี้ด้วย.
    จิตตุปบาท (ความเกิดความคิดขึ้น) ที่มีกิเลสอันถูกขจัดแล้วด้วยความเป็นผู้เคารพเลื่อมใสในสรณะนั้นอันเป็นไปโดยอาการที่มีความเคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สรณคมน์.
    สัตว์ผู้พรั่งพร้อมด้วยสรณคมน์นั้น ชื่อว่า ถึงสรณะ. อธิบายว่าย่อมเข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ เหล่านี้ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) ว่าเป็นปรายนะ (เครื่องนำทาง) ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว. นักศึกษาพึงทราบ สรณะ การถึงสรณะ และผู้ถึงสรณะ ทั้ง ๓ อย่างนี้ก่อน.
    ประเภทแห่งการถึงสรณะ
    ส่วนในประเภทแห่งการถึงสรณะ (การถึงสรณะมีกี่ประเภท) พึงทราบอธิบายต่อไป. การถึงสรณะมี ๒ คือ
    การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระ ๑
    การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะ ๑.
    ในสองอย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระของบุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว เมื่อว่าโดยอารมณ์ย่อมมีนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อว่าโดยกิจย่อมสำเร็จได้ในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น เพราะ

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

    ตัดขาดกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะได้ในขณะแห่งมรรค.
    (ส่วน) การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะของปุถุชน เมื่อว่าโดยอารมณ์ ย่อมมีพระพุทธคุณเป็นต้นเป็นอารมณ์ สำเร็จได้ด้วยการข่มกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะไว้ได้. การถึงสรณะนั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น และสัมมาทิฏฐิที่มีศรัทธา (ในพระรัตนตรัยนั้น) เป็นพื้นฐานท่านเรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม (การทำความเห็นให้ตรง ) ( ซึ่งอยู่ ) ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐.
    การถึงสรณะแบบนี้นั้นมีอยู่ ๔ อย่างคือ
    (การถึง) ด้วยการมอบตน ๑
    ด้วยการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ๑
    ด้วยการยอมเป็นศิษย์ ๑
    ด้วยการถวายมือ ( การประนมมือทำความเคารพ) ๑.
    ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า
    การมอบตน ได้แก่ การยอมสละตนแด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ( ด้วยการกล่าว ) อย่างนี้ว่านับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตนถวายแด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม และแด่พระสงฆ์.

    ที่ชื่อว่า การมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ได้แก่ การที่มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า (ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำทาง ขอมีพระธรรมเป็นผู้นำทาง ขอมีพระสงฆ์เป็นผู้นำทาง.

    ที่ชื่อว่า การยอมเป็นศิษย์ ได้แก่การเข้าถึงความเป็นศิษย์อย่างนี้ว่าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าอันเตวาสิก (คือศิษย์) ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

    ที่ชื่อว่า การถวายมือ ได้แก่ การทำความนอบน้อมอย่างสูงในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ( ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า นับตั้งแต่
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

    วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอทำการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือ การทำความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแล.
    ก็บุคคลเมื่อทำอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาการทั้ง ๔ อย่างนี้ จัดว่าได้รับการถึงสรณะแล้วทีเดียว.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบคน ( ด้วยการพูด) แม้อย่างนี้ว่าข้าพเจ้าขอสละตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม ( และ) แต่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอสละชีวิตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม (และ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าสละคนแล้วทีเดียวแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม ( และ) แด่พระสงฆ์ข้าพเจ้าสละชีวิตแล้วทีเดียวแด่พระผู้มี พระภาคเจ้า แด่พระธรรม ( และ ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า (พระธรรมและพระสงฆ์) ว่าเป็นสรณะ โดยขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
    ขอพระพุทธเจ้า ( พระธรรมและพระสงฆ์ ) จงเป็นที่ระลึกที่พึ่ง เป็นที่อาศัย เป็นที่ต้านทานของข้าพเจ้า.
    พึงเห็นการเข้าถึงความเป็นศิษย์ (การยอมตัวเป็นศิษย์ ) เหมือนการเข้าถึงความเป็นศิษย์ในการถึงสรณะของพระมหากัสสปะ (ด้วยการพูด) แม้อย่างนี้ว่า ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระศาสดา พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสุคต พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    พึงทราบความที่มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง (เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ) เหมือนการถึงสรณะของชนทั้งหลายมีอาฬวกยักษ์เป็นต้น( ด้วยการพูด ) แม้อย่างนี้ว่า

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

    ข้าพเจ้านั้นจักเที่ยวไปจากหมู่บ้าน (นี้) สู่หมู่บ้าน (โน้น) จากเมือง (นี้ ) สู่เมือง (โน้น) (เพื่อ) นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเป็นธรรม ที่ดีแห่งพระธรรม (และความเป็นสงฆ์ที่ดีแห่งพระสงฆ์).

    พึงเห็นการพนมมือไหว้ แม้อย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อพรหมายุ ลุกขึ้นจากที่นั่งทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วซบศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จูบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปาก นวดเฟ้นด้วยฝ่ามือแล้วประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อ พรหมายุ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ.
    ก็การพนมมือไหว้นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ (ถวายมือ) เพราะเป็นญาติเพราะความกลัว เพราะเป็นอาจารย์ และเพราะเป็นทักขิไณยบุคคล. บรรดาการพนมมือไหว้ ๔ อย่างนั้น การถึงสรณะมีได้ด้วยการพนมมือไหว้เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ไม่ใช่เป็นด้วยเหตุ ๓ อย่างนอกจากนี้.
    เพราะว่า สรณะอันบุคคลย่อมรับได้ด้วยบุคคลผู้ประเสริฐสุด จะหมดสภาพไป (กำหมด ) ด้วยอำนาจบุคคลผู้ประเสริฐสุดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น บุคคลใดจะมีเชื้อสายเป็นศากยะหรือเป็นโกลิยะก็ตาม ถวายบังคม (พระพุทธเจ้า ) ด้วยสำคัญว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระญาติของเราทั้งหลาย บุคคลนั้นยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเลย. หรือว่าบุคคลใดถวายบังคมพระพุทธเจ้าด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้อันพระราชา


    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 331
    บูชาแล้ว มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้จะพึงทำความเสียหายให้แก่เรา ได้ บุคคลนั้นก็ยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเหมือนกัน. แม้บุคคลใคร่ระลึกถึงคำสอนบางอย่างที่ได้เรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ หรือในพุทธกาลได้เรียนคำสอนทำนองนี้ว่า
    บุคคลควรใช้สอย เลี้ยงชีวิตด้วยทรัพย์ส่วนหนึ่ง ลงทุนทำงานด้วยทรัพย์สองส่วน และส่วนที่สี่ควรเก็บไว้ (เพราะมันจะอำนวยประโยชน์ได้) เมื่อคราว มีความจำเป็นต้องใช้
    (เกิดความเลื่อมใส) ถวายบังคมด้วยความรู้สึกว่า พระองค์เป็น พระอาจารย์ของเรา บุคคลนั้นก็ชื่อว่ายังไม่ได้รับสรณะเหมือนกัน.
    ส่วนบุคคลใดถวายบังคมด้วยความสำคัญว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นอัครทักขิไณยบุคคลในโลก บุคคลนั้นแลจัดว่าได้รับสรณะแล้ว. อุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ได้รับสรณะอย่างนี้แล้วจะไหว้ญาติแน้ที่บวชในสำนักอัญญเดียรถีย์ด้วยความรู้สึกว่า ท่านผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป (ไม่เสีย) จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลหรืออุบาสิกาผู้ไหว้ญาติที่ยังไม่บวชเล่า.
    สำหรับอุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถวายบังคมพระราชาก็เหมือนกัน คือถวายบังคมด้วยอำนาจความกลัวว่า พระราชาพระองค์นั้นเพราะเป็นผู้ที่ชาวแว่นแคว้นบูชากันแล้ว เมื่อเราไม่ถวายบังคมก็จะทรงทำความเสียหายให้แก่เราไค้ ดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป (ยังไม่เสีย ) เหมือน
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332
    เมื่อบุคคลแม้ไหว้เดียรถีย์ ผู้ให้การศึกษาศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยคิดว่าผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา การถึงสรณะ ก็ยังไม่หมดสภาพไป ฉะนั้นนักศึกษาพึงทราบประเภทแห่งการถึงสรณะอย่างนี้แล.
    ก็การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระในที่นี้ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผลมีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งมวลเป็นอานิสังสผล. สมด้วยพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ก็บุคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) บุคคลนั้นย่อมเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ย่อมเห็นทุกข์ เหตุเกิดของทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางให้เข้าถึงความดับทุกข์ สรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) อย่างนั้นแลจึงจะเป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะอันสูงสุด เพราะอาศัยสรณะนั่น บุคคลจึงหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสงสผลของการถึงสรณะนั่นแม้ด้วยอำนาจแห่งเหตุมีการไม่เข้าไปยึดถือ โดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส (เป็นไปไม่ได้เลย )ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงเข้าไปยึดถือสังขารอะไร ๆ ว่า เที่ยงว่า เป็นสุข จะพึงเข้าไปยึดถือธรรมอะไร ๆ ว่า เป็นอัตตา จะพึงปลงชีวิตมารดา จะพึงปลงชีวิตบิดา จะพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ จะพึงเป็น
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 333
    ผู้มีจิตชั่วร้ายยังโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ จะพึงทำลายสงฆ์ จะพึงอ้างศาสดาอื่น ฐานะอย่างนี้จะมีไม่ได้.
    ส่วนการถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมมีภพสมบัติและโภคสมบัติเป็นผลเหมือนกัน. สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    บุคคลที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะจักไม่ไปสู่อบายภูมิ ครั้นละร่างกายที่เป็นมนุษย์แล้ว จักยังกายทิพย์ ให้บริบูรณ์ ( เกิดในหมู่เทพ).
    แม้เรื่องอื่นท่านก็กล่าวไว้. ( คือ) คราวครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ.พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นการดีแท้ เพราะการถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นเหตุแล สัตว์บางพวกในโลกนี้ตายแล้ว จึงได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น ( เกิดเป็นเทวดาแล้ว ) ย่อมเด่นล้ำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ คือ ด้วยอายุอันเป็นทิพย์ วรรณะอันเป็นทิพย์ สุขอันเป็นทิพย์ ยศอันเป็นทิพย์ ความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์
    รูปอันเป็นทิพย์ เสียงอันเป็นทิพย์ กลิ่นอันเป็นทิพย์ รสอันเป็นทิพย์ โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์. ใน ( การถึง) พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ก็นัยนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลอันสำคัญของการถึงสรณะแม้ด้วยอำนาจแห่งสูตรมีเวลามสูตรเป็นต้น . พึงทราบผลแห่งการถึงสรณะอย่างนี้.

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 334
    ในการถึงสรณะ ๒ อย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมเศร้า. หมองด้วยเหตุทั้งหลายมีความไม่รู้ ความสงสัย และความรู้ ( ความเข้าใจ) ผิดเป็นต้นในพระรัตนตรัย เป็นการถึงสรณะที่ไม่มีความรุ่งเรื่องมากไม่กว้างไกลมาก. (ส่วน) การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง.
    การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะมีการหมดสภาพอยู่ ๒ อย่างคือ การหมดสภาพ (เภโท) แบบมีโทษ ๑ การหมดสภาพแบบไม่มีโทษ ๑. ในการหมดสภาพทั้งสองนั้น การหมดสภาพแบบมีโทษย่อมมีด้วยเหตุทั้งหลายมีการมอบตนในศาสดาอื่นเป็นต้น การหมดสภาพแบบนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา. การหมดสภาพแบบไม่มีโทษในเพราะการทำกาลกิริยา การหมดสภาพแบบนั้นไม่มีผลเพราะไม่มีวิบาก. แต่การถึงสรณะแบบโลกุตตระไม่มีการหมดสภาพเลย. จริงอยู่ พระอริยสาวก (ตายแล้วไปเกิด ) แม้ในภพอื่นก็จะไม่ยอมยกย่องคนอื่นว่าเป็นศาสดา ( แทนพระพุทธเจ้า).พึงทราบความเศร้าหมอง และการหมดสภาพของการถึงสรณะดังพรรณนานาฉะนี้.
    อุบาสก
    บทว่า อุปาสกํ มํ ภวํ โคตโม ธาเรตุ ความว่า ขอพระโคดมผู้เจริญจงจำ อธิบายว่า จงรู้จักข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นอุบาสก.
    ก็ในที่นี้เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงตนเป็นอุบาสกจึงควรทราบข้อปลีกย่อยนี้ว่า อุบาสกคือใคร ? เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า อุบาสก ?
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 335
    อุบาสกนั้นมีศีลเป็นอย่างไร ? มีอาชีพเป็นอย่างไร ? มีวิบัติเป็นอย่างไร ? มีสมบัติเป็นอย่างไร ?
    ในข้อปลีกย่อยเหล่านั้น ที่ว่า อุบาสกคืออะไร ? ได้แก่ คฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งผู้ถึงไตรสรณะ. สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแลอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม (และ) พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ดูก่อนมหานาม บุคคลย่อมเป็นอุบาสก ด้วยอาการเท่านี้แล.
    ที่ว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า อุบาสก ? ได้แก่ เพราะเข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย. จริงอยู่บุคคลนั้น ชื่อว่า อุบาสก เพราะเข้าไปนั่งใกล้พระพุทธเจ้า พระธรรม ( และ ) พระสงฆ์.
    ที่ว่า อุบาสกนั้นมีศีลเป็นอย่างไร ? ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น ๕ อย่าง. สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนมหานามเมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาท จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท ( และ ) จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือน้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย ดูก่อนมหานาม อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศีลด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
    ที่ว่า มีอาชีพเป็นอย่างไร ? ได้แก่ การละการค้าขายผิด ๕ อย่างแล้วเลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรม สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้ อันอุบาสกไม่ควรทำ ๕ อย่างมีอะไรบ้าง คือ การค้าขายศัสตราวุธ ๑
    การค้าขายสัตว์ ๑
    การค้าขายเนื้อ ๑
    การค้าขายน้ำเมา ๑
    การค้าขายยาพิษ ๑
    ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างนี้แล อุบาสกไม่ควรทำ.
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 336
    ที่ว่า มีวิบัติเป็นอย่างไร ? ได้แก่ ความวิบัติแห่งศีลและอาชีวะของอุบาสกนั้นนั่นแลอันใด อันนี้เป็นความวิบัติของอุบาสกนั้น. อีกอย่างหนึ่ง อุบาสกนั้นเป็นคนจัณฑาลและเศร้าหมองด้วยมลทินต่าง ๆ ด้วยวิบัติอันใด แม้วิบัตินั้นก็พึงทราบว่า เป็นวิบัติของอุบาสกนั้น ๆ. และความเป็นคนจัณฑาลนั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ก็ได้แก่ธรรม ๕ ประการมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น. เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างย่อมเป็น
    อุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกมีมลทิน เป็นอุบาสกมีความเศร้าหมองและเป็นอุบาสกต่ำช้า. ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง (คือ)
    เป็นผู้ไม่มีศรัทธา (ในพระรัตนตรัย) ๑
    เป็นคนทุศีล ๑
    เป็นคนถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อมงคล ( ฤกษ์, ยาม ) ไม่เชื่อกรรม ๑
    แสวงหาทักขิไณยบุคคล นอกจากศาสนานี้ (พุทธศาสนา ) ๑
    บำเพ็ญกุศลในศาสนานั้น ๑.
    ที่ว่า มีสมบัติเป็นอย่างไร ? ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยศีลและความถึงพร้อมด้วยอาชีวะของอุบาสกนั้นชื่อว่า สมบัติ. อนึ่ง ธรรม ๕ ประการมีศรัทธาในพระรัตนตรัยเป็นต้นของอุบาสกนั้นเหล่าใด ธรรม ๕ ประการเหล่านั้นชื่อว่า สมบัติ. เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างย่อมเป็นอุบาสกแก้ว เป็นอุบาสกดอกปทุม และเป็นอุบาสกดอกบุณฑริก. ธรรม ๕ อย่าง มีอะไรบ้าง ( คือ )
    เป็นผู้มีศรัทธา ( ในพระรัตนตรัย ) ๑
    เป็นผู้มีศีล ๑
    เป็นคนไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๑
    ไม่แสวงหา ทักขิไณยบุคคลนอกพุทธศาสนานี้ ๑
    บำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนานี้ ๑.
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 337
    ความหมายของ "อัคคะ" ศัพท์
    อัคคะ ศัพท์นี้ในคำว่า อชฺชตคฺเค นี้ ย่อมใช้ในอรรถว่า เบื้องต้น(อาทิ) เบื้องปลาย (โกฏิ) ส่วน (โกฏฺ?าส) และประเสริฐที่สุด(เสฏฺ) ก็อัคคะ ศัพท์ใช้ในอรรถว่า
    - เบื้องต้น ( เช่น ) ในประโยคเป็นต้นว่า แน่ะนายประตูเพื่อนรักตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปข้าพเจ้าขอปิดประตูสำหรับพวกนิครนถ์.
    - เบื้องปลาย ( เช่น ) ในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลพึงลูบคลำยอดอ้อย ยอดไผ่ ด้วยปลายนิ้วมือนั้นแล.
    - ส่วน (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตอนุญาตให้แบ่งจากส่วนสิ่งของที่มีรสเปรี้ยว ที่มีรสหวาน หรือ ส่วนสิ่งของที่มีรสขมตามส่วนวิหารหรือตามส่วนบริเวณ.
    - ประเสริฐที่สุด (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจำนวนเท่าใดที่ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ พระตถาคตบัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดของสัตว์เหล่านั้น.
    - แต่ในที่นี้ อัคคะ ศัพท์นี้พึงเห็นว่า ลงในอรรถว่า เบื้องต้น.เพราะฉะนั้น ในคำว่า อชฺชตคฺเค นี้ พึงเห็นความหมายอย่างนี้ว่า เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
    - บทว่า อชฺชตํ ได้แก่ อชฺชภาวํ (แปลว่า ความในวันนี้).บาลีว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี. ท อักษร (เป็นอาคม) ทำหน้าที่เชื่อมบท ( ระหว่าง อชฺช กับ อคฺเค ). แปลว่า เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้.
    - บทว่า ปาณุเปตํ แปลว่า เข้าถึงด้วยชีวิต. อธิบายว่า ขอพระโคดม
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 338
    ผู้เจริญจงทรงจำ คือจงทรงทราบข้าพระองค์ไว้ว่าเป็นอุบาสก คือ ไวยาจักร(ผู้รับใช้พระ) ถึงสรณะด้วยไตรสรณคมน์แบบไม่มีศาสดาอื่น (นอกจากพระโคดม) ตลอดเวลาที่ชีวิตของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ เพราะว่าข้าพระองค์ ถ้าแม้นใคร ๆ จะพึงใช้มีดคมตัดศีรษะของข้าพเจ้าไซร้ ก็จะไม่ขอกล่าวพระพุทธเจ้าว่า ไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมว่าไม่ใช่พระธรรม ( และ ) พระสงฆ์ว่าไม่ใช่พระสงฆ์. พราหมณ์ครั้นถึงสรณะด้วยการมอบตนอย่างนี้แล้ว และปวารณาด้วยปัจจัย ๔ ลุกขึ้นจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเดินเวียนขวา ( รอบพระผู้มีพระภาคเจ้า ) ๓ รอบแล้วหลีกไปแล.
    จบ อรรถกถาภยเภรวสูตร.
    จบ สูตรที่ ๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 กรกฎาคม 2008
  2. PrasertN

    PrasertN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +195
    ฮ่า ฮ่า ฮ่า
    ตาบอดคลำช้าง<O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  3. PrasertN

    PrasertN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +195
    โปรดพิจารณาพระภิกษุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพบปะและสนทนาด้วย
    ทุกองค์ล้วนน่านับถือทั้งสิ้น
    พอแล้วสำหรับผมที่จะทำตามพระองค์ท่าน
    เราไปฝึกปฎิบัติกันเถอะ
    จะได้รู้ตามความเป็นจริง
    มิต้องเชื่ออะไรๆ เพราะ เป็น...ตามกาลามสูตร
     
  4. โพธิญาณ45

    โพธิญาณ45 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +29
    พระอริยสาวก พระโพธิสัตว์ เทวดา ตลอดจนคนทั้งหลายที่เคารพนับถือพระพุทธศาสนาต่างก็พากันเคารพกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปกัน เพราะถือเป็นพุทธานุสติกรรมฐาน และถือปฏิบัติกันมาเนินนานนับตั้งแต่องค์สมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าองค์แรกที่อุบัติขึ้นในโลก จนถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน นักบวชรูปนี้คิดทำได้อย่างไรนะ โปรเจก! คำสอนอุบาทว์อย่างนี้ ช่างไม่กลัวอเวจีเอาซะเลย การปรามาสพระพุทธเจ้าของนักบวชรูปนี้อีกไม่ช้านาน พวกเราคงจะได้รู้ผลกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  5. boko0121

    boko0121 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +7,736
  6. boko0121

    boko0121 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +7,736
    ถึงผมต่างศาสนาจากพวกท่านผมยังขอยืนยันว่าหลวงปู่เกษมทำถูกแล้วครับ
    เป็นไปได้เปิดพระธรรมถกกันเลยดีกว่า จะได้รู้กันจริงๆเลย
    แต่อย่างไร ก็เป็นกำลังใจให้หลวงปู่เกษมครับ !!
     
  7. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
  8. หมูสวย

    หมูสวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +123
    เคยอ่านหนังสือของพระเกษมค่ะ มีคนเอามาให้ ยังสงสัยอยู่เลยว่าการโอนบุญนี้ทำได้จริงหรือไม่คะ แล้วถ้าโอนบุญให้เชื้อโรค เชื้อโรคจะรับได้รึเปล่าคะ รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
     
  9. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    อันนี้เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ..........ไม่ใช่ความรู้
    ผมคิดว่า ฟัง น่าจะเข้าใจง่าย กว่า อ่าน
    ในกรณีคำสอนของหลวงปู่เพราะหลวงปู่ท่านก็ยังมีชวิตอยู่


    เชิญ คุณ หมูสวย ตามลิงค์ข้างบนเลยครับ

    ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ผมคิดว่าเราควร อ่าน มากกว่า ฟัง
    เพราะเราไม่รู้จะหาเสียงคำสอนของพระพุทธองค์ที่ไหน แต่เรามีข้อความคำสอนที่เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า
    คือ พระไตรปิฏก ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  10. nopam

    nopam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +1
    กิมิชาติสูตร เล่ม 65 หน้า 242 อ่านซะบ้างพระไตรฯ อย่าเอาแต่กราบ บูชา กัน
    แล้วก็บอกว่าใครจะอ่าน อ้าวไม่อยากตกนรกก็ต้องอ่าน จะได้ถึงพระรัตนตรัยโดยท่องแท้เป็นอุบาสก อุบาสิกา บริบูรณ์ ถ้ากราบพระพุทธรูปเนี๋ยแล้วจิตไม่น้อมในพระรัตนตรัยศีลขาดผึง เลยนะจะบอก....
     
  11. Falcon_Se

    Falcon_Se เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2008
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +223
    ศีลข้อไหนขาดเหรอครับ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด ดื่มน้ำเมา ??
     
  12. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    พูดปดไงจ๊ะ เพราะเพิ่ง พูดมาหยกๆว่า

    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย ฯ

    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระธรรมเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย ฯ

    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระสงฆเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย ฯ

    ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สองฯ

    ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระธรรมเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สอง ฯ

    ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระสงฆเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สอง ฯ

    ตะติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สาม ฯ

    ตะติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระธรรมเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สาม ฯ

    ตะติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระธรรมเจ้า ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย แม้ครั้งที่สาม ฯ

    มีมั้ยจ๊ะที่บอกว่า
    พุทธรูปัง สรณัง คัจฉามิ ฯ ข้าพเจ้า ขอถึง ซึ่งพระพุทธรูป ว่าเป็นสรณะ ที่พึ่ง ที่อาศัย ฯ

    เก๊ทไอเดียหรือยังจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  13. Falcon_Se

    Falcon_Se เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2008
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +223
    ผมคนปัญญาน้อย ช่วยอธิบายขยายความตรงนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ :)
    ปล. ผมใช้จิตระลึกถึงตัวคาถาพุทธคุณทุกตัวอักษรรวมกันเข้าเป็นองค์พระเพื่อเป็นพุทธานุสติในขณะที่กราบพระ คิดว่าคงไม่ขาดนะ เพราะจิตผมระลึกถึงคุณของพระพุทธองค์ขณะกราบและที่สำคัญ ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะทุศีลด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2008
  14. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เหล่าอื่นในการให้ทานนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงบูชาพระธาตุของพระพุทธ- เจ้าผู้ควรบูชาเถิด ได้ยินว่าพวกท่านจักไปสู่สวรรค์ เพราะการบูชา พระบรมธาตุอย่างนี้ กุศลกรรมเท่านั้นอันข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ข้าพเจ้า จึงได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ด้วยตนเอง บันเทิงใจอยู่ในท่ามกลางหมู่เทพ- เจ้าชาวไตรทศ ข้าพเจ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งบุญนั้น.<CENTER>จบ อเนกวัณณวิมานที่ ๘.</CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๒๖๙๙ - ๒๗๐๔. หน้าที่ ๑๑๑.http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=2699&Z=2704&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=82 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๖</U>http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=26&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD<CENTER> </CENTER><CENTER>แต่ถ้าหากพระพุทธรูปนั้นได้บรรจุพระธาตุใว้ สักการะบูชาเถิด ไม่ผิดศีลใดๆเลย </CENTER><CENTER>และน้อมรำลึกถึงคุณแห่งพระธาตุแห่งพระผู้มีพระภาค หรือสาวกผู้ปฏิบัติดีแล้ว เธอจักถึงซึ่ง สุคติภูมิ</CENTER></PRE>
     
  15. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    ข้าพเจ้าขออภัยเป็นอย่างสูง และขอขมาต่อท่าน เพราะทำให้ท่านเข้าใจผิด ข้าพเจ้าลบออกไปแล้ว เพราะตั้งใจไปล้อเลียน สำนัก ....กายแห่งหนึ่ง(ที่บอกว่านิพพานเป็นอัตตา ไปหาเอาเองนะสำนักใหน)

    ฝาก http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/ ใว้ให้นะ อยากรู้อะไรพิมพ์ค้นหาได้เลย พระธรรมทั้งหลายอยู่ในนี้ วินัย ทั้งหลายอยู่ในนี้
     
  16. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    <TABLE height=24 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center bgColor=#cccccc background=../../pics/bgtop.gif border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>
    <TT>พุทธานุสติ</TT>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พุทธานุสติ เป็นการทำสมาธิวิธีหนึ่ง โดยการน้อมจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา เพื่อให้จิตรวมเป็นหนึ่ง คือคิดถึงเรื่องคุณของพระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียว ไม่คิดวอกแวกถึงเรื่องอื่น จิตจึงเป็นสมาธิขึ้นมาได้ ผลจากการระลึกฯ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะเป็นการปรับสภาพจิตให้ประณีตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะทำให้จิตเข้าสู่ระดับมหากุศลขั้นพื้นฐาน อันเนื่องมาจากความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธานั่นเอง อันจะส่งผลให้สมาธิเกิดได้ง่ายขึ้น
    การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้านั้นเช่น การระลึกตามบทสวดมนต์ภาษาบาลีที่ว่า
    " อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ "
    หรือจะระลึกตามคำแปลของบท"อิติปิโส"นี้ ที่แปลว่า
    " เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ* เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ "
    หรืออาจจะระลึกเพียงสั้นๆ ว่า "พุทโธ" ซ้ำไปเรื่อยๆ ก็ได้
    การจะระลึกว่าอะไรนั้นไม่สำคัญนัก ที่สำคัญคือ จะต้องระลึกพร้อมด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นหลัก
    ในทางกลับกัน ถึงแม้จะระลึกด้วยบทที่กล่าวมาแล้ว หรือด้วยบทใดๆ ก็ตาม แต่ไม่ได้ประกอบด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธเจ้า ก็จะไม่จัดว่าเป็นพุทธานุสติเลย
    จรณะ = เครื่องดำเนิน ประดุจเท้า คือ ศีล และวัตรข้อปฏิบัติต่างๆ อันหมดจดงดงาม ไม่ด่างพร้อย ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันนั่นเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    "พุทธคุณ ๙ ประการ"
    คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการคือ
    ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์
    ๒. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
    ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
    ๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
    ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
    ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นสาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
    ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค
    พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ
    ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
    ๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

    พุทธคุณตามที่นิยมกว่ากันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
    ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
    ๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
    ๓. พระมหากรุณาคุณ ประคุณ
     
  17. Falcon_Se

    Falcon_Se เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2008
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +223
    ขอบคุณครับ ผมไม่ได้ฝึกทางสายธรรมกายเลยไม่รู้ ..ส่วนใหญ่จะใช้นะมะพะทะกับบทพุทธคุณเป็นตัวกำหนดน่ะครับ ลองกำหนดดูก่อนนอนก็ได้นะครับ ทำแล้วจะรู้สึกเย็นและจิตสงบมากเลยครับ บางทีนั่งๆ ไปน้ำตาอยากจะไหลเพราะเพียงแค่เราระลึกถึงพุทธคุณแล้วเกิดปีติขนาดนี้ แสดงว่าพระคุณของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายเหลือคณานับจริงๆ :)
     
  18. พลัjจิต

    พลัjจิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +18
    ผมดูกระทู้ของคุณขันธ์แล้ว อ่านแล้ว ถามเทวดาแล้ว เข้าบอกว่า ปากเสีย ตีความหมายเอาเองนะคับ
     
  19. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า พุทธานุสติ การระลึกถึงพระพุทธเจ้าไม่มีเรื่อง พระพุทธรูปเลย ไม่ต้องไปนึกถึงรูปลักษณ์หน้าตาพระองค์ท่าน เก็ทหรือยัง และที่สำคัญคือการหล่อรูปตัวแทนเป็นสิ่งที่เขาไม่ทำกันหลังพุทธกาลเลย ในหมู่ชนชาติตะวันออกไม่มีเลย แม้แต่พระเจ้าอโศกยังทรงทำเสาใว้แทน เพราะพวกกรีก ไง กรีกน่ะเขาเชื่อตามแบบเขาก็เลยทำมาทีนี้ก็สืบๆกันมายังไงล่ะ เข้าใจกันหรือยัง บอกแล้วว่า พระพุทธรูปเป็นประธานได้ แต่ต้องมี พระธาตุบรรจุอยู่ ไม่เชื่อไปค้น พระไตรปิฎกดูน่ะ
     
  20. sasitorn2006

    sasitorn2006 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +4
    เคยกำหนดแล้วเหมือนกัน พิจารณาถึงพระคุณของพระองค์ ซึ่งเมื่อ 2602 ปีที่แล้ว พระองค์ทิ้งความสะดวกสบาย เข้าป่าเพื่อบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างโดดเดี่ยวเพียงพระองค์เดียว

    และเคยอ่านหนังสือของพระพรมโมลี(วิลาส ญาณวโร) โลกนาถทีปนี มุนีนาถทีปนี ที่บรรยายจากพระไตรปิฎก อ่านแล้วซาบซึ้ง ในพระกรุณา อันหาที่สุดมิได้จริงๆ

    และขออนุโมทนาต่อ Falcon_Se
     

แชร์หน้านี้

Loading...