สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    เห็นนิมิตได้เพียงประเดี๋ยวเดียว นิมิตก็หายไป

    ตอบ:

    ปัญหาของผู้ที่เห็นนิมิตเป็นดวงใสสว่าง หรือพระพุทธรูปที่ศูนย์กลาง แต่เห็นได้เพียงประเดี๋ยวเดียวก็หายไป หรือออกไปนอกตัว

    1. ปัญหาข้อนี้ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ยัง รวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไม่สนิท ใจซัดส่ายออกไปข้างนอกตัว จึงเห็นนิมิตเคลื่อนออกไปข้างนอกตัว นี้ประการหนึ่ง

    2. สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ปฏิบัติภาวนาอยากเห็นนิมิตมากเกินไป จึงพยายามบังคับใจจะให้เห็นนิมิตให้ได้ โดยเพ่งนิมิตแรงเกินไปทำให้สมาธิเคลื่อน นิมิตจึงหายไป หรือเห็นนิมิตเคลื่อนออกนอกตัว
    ความอยากเห็นนิมิตเกินไปหรือเพ่งนิมิตแรงเกินไปนี้ จัดเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ทำให้จิตเคลื่อนจากสมาธิ จึงควรพึงสังวรระวังอย่าให้เกิดอารมณ์เหล่านี้ได้ โดยพยายามตรึกนึกให้เห็นนิมิตด้วยใจแต่เพียงเบาๆ และพยายามนึกให้เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม แล้วก็กลายของกลางจุดเล็กใสนั้นเข้าไปเรื่อย กลางของกลางๆๆ นิ่งเข้าไว้ ถ้าเห็นจุดเล็กใสนั้นสั่นรัวหรือเห็นนิมิตนั้นเคลื่อนที่ไปรอบๆ ให้พึงสังวรว่า สมาธิเคลื่อนเพราะเพ่งนิมิตแรงเกินไป แล้วให้พยายามแตะใจแต่เพียงเบาๆ ที่กลางของกลางต่อไปใหม่ พอเห็นจุดเล็กใสนั้นค่อยๆ นิ่ง หรือดวงใสสว่างนั้นหยุดนิ่ง ก็แปลว่า รวมใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ก็ให้ประคองใจหยุดในหยุดต่อไปอีก ไม่ช้าใจก็จะหยุดนิ่งได้สนิทเองแล้วจุดเล็กใสแจ่มบังเกิดขึ้นมาใหม่ ใสละเอียดยิ่งกว่าเดิมหรือเห็นกายละเอียดหรือกายธรรมปรากฏขึ้น ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดลงไปที่ศูนย์กลางกายดวงใหม่ หรือกายใหม่ที่ปรากฏขึ้นนั้นต่อๆ ไปอีก
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=6c2542682b6b558a6818660009436c98.jpg


    ?temp_hash=8457871717f718957c076b0f9333bc63.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2019
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    การปฏิบัติในแนวทางอื่น เช่น พุทโธ ยุบหนอพองหนอ ซึ่งไม่ได้เข้าทางศูนย์กลางกายก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ใช่ไหมครับ ? หรือว่ากระผมเข้าใจผิด

    ตอบ:

    การบรรลุมรรคผล บรรลุจากธาตุ-ธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ณ ภายในนะครับไม่ใช่ภายนอก และธาตุ-ธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือใจ นั้นอยู่ตรงกลางกำเนิด ธาตุธรรมเดิม ใจอยู่ที่ไหน? นั้นท่านเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดบอกแล้วว่า“ใจ” มันทำหน้าที่ตาม โรงงานต่าง ๆ โรงงานกาย โรงงานหู โรงงานตา โรงงานลิ้น แล้วก็โรงงานหัวใจก็มี พอไปทำงาน โรงงานต่าง ๆ เสร็จตามออฟฟิซเหล่านั้นแล้วกลับมานอนบ้าน ตื่นเช้าก็ออกจากบ้าน บ้านอยู่ ตรงไหน? อยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ภาษาบาลีว่าคุหาสยํ “อยู่ในถ้ำ” ถ้ำก็อยู่ตรงนั้นแหละ ตรงกลางกายกลางพระนาภี เพราะฉะนั้นใจมันอยู่ตรงนั้น เมื่อใจอยู่ตรงนั้น การเปลี่ยนวาระจิต เปลี่ยนภูมิธรรม มันเปลี่ยนที่ไหน? ก็เปลี่ยนที่ใจ ใจอยู่ตรงไหน? ก็อยู่ตรงศูนย์กลางกำเนิด ธาตุธรรมเดิม การเปลี่ยนวาระจิตตามภูมิธรรมก็เปลี่ยนตรงนั้น จะดีจะชั่วก็ตรงนั้น จะไป นิพพานก็ตรงนั้น

    หลวงพ่อวัดปากน้ำน่ะท่านจึงรู้ว่าตรงศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายเอก จะทำอะไร จะถือศีลกี่ร้อยกี่พันข้อ จะนั่งสมาธิ วิปัสสนา จะยุบหนอพองหนอ พุทโธ อะไรก็ตาม มันไป เป็นอยู่ตรงนั้น ใจมันเกิดดับตรงนั้น ไปจนถึงนิพพานก็เป็นตรงนั้นคุณธรรมจะสูงขึ้น ก็เปลี่ยนที่ตรงศูนย์กลางกายนั้นแหละอาตมาจะพูดง่าย ๆ “ใจ”นั้นตั้งอยู่ตรงกลางธาตุ ธาตุเป็น ที่ตั้งของธรรม เมื่อใจสะอาดด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ธรรมก็สะอาด ธรรมคือบุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี อันเป็นธรรมชาติเครื่องชำระจิตใจที่อยู่กับใจและอยู่ในธาตุนั้นก็ เป็นธรรมสะอาด และเมื่อธรรมสะอาด ธาตุนั้นจะสกปรกได้ไหม? มัวหมองได้ไหม? ไม่ได้ เมื่อไม่ได้มันละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไปเท่าไหร่ ธาตุที่ละเอียดสุดละเอียดนั่นแหละ สุดท้าย เมื่อพ้นจากความบริสุทธิ์ของกายในภพ 3 จึงถึงธรรมกายไม่ว่าจะทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล หรือบารมีสิบ มันไปกลั่นไปชำระกันตรงธาตุ-ธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ ใจ จากสุดหยาบ ไปสุดละเอียด ถึงธรรมกาย ณ ที่ตรงนั้น เมื่อเป็นตรงนั้นอาตมาจึงกล่าวว่าจะบรรลุมรรคผล นิพพาน ก็บรรลุด้วยธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ที่บริสุทธิ์สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรม ธาตุที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า “วิสังขาร”

    ใจของสัตว์ในโลกในภพ 3 ชื่อว่า “ใจ” ได้แก่ เห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบ มาจาก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ถ้าสุดละเอียด เป็นใจของธาตุล้วนธรรมหรือ วิสังขารแล้ว ไม่เรียกว่า “วิญญาณ” ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ แต่เรียกว่า “ญาณ”คือความหยั่งรู้ หรือ ความรู้แจ้ง ด้วยการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น

    ที่นี้นี่แหละบรรลุมรรคผลด้วยคุณธรรมตั้งแต่หยาบ เราไปทางกาย ทางวาจา ทางใจ มันไปเป็นผลที่ธาตุที่ธรรมในที่สุดละเอียดแล้วเบิกบานขึ้น จึงชื่อว่า “พุทโธ” เบิกบาน ตื่น นั่นเบิกบานขึ้นมาธรรมกายก็ดี หรือกายที่ละเอียด ๆ นี่มันโตใหญ่ เพราะไม่ถูกหุ้มด้วยกิเลส อวิชชา ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ ไม่ถูกหุ้ม เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำดีอะไร จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว มันเป็นอยู่ตรงนั้น นี่แหละตรงนี้แหละที่คนไม่รู้เคล็ดลับ คุณธรรมจะดี เป็นคุณธรรมที่ดี ที่สูง ที่สะอาดบริสุทธิ์ ก็เป็นที่ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ เพราะฉะนั้นแหละตรงศูนย์กลางกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด ถึงธรรมกายและพระนิพพานถึงเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายเอก แม้จะยุบหนอพองหนอ พอใจสะอาดมันก็ไปสะอาดตรงนั้น แต่ผู้ปฏิบัติยุบหนอพองหนอที่ไม่เคย รู้จุดตรงนั้น ก็อาจจะไม่ทราบว่าใจของตนไปสะอาดตรงนั้น หรือจะพุทโธก็แล้วแต่พระอริยเจ้า จริง ๆ แล้วท่านรู้ ไม่ใช่ไม่รู้ รู้ครับ แต่ว่าผู้อื่นที่ยังไม่ถึงอริยเจ้า ท่านไม่รู้ เป็นได้ มีได้ หรือที่รู้ ก็มี เพราะฉะนั้นไม่ว่าปฏิบัติสายไหนนะครับ มันเป็นเรื่องเดียวกัน จึงไม่ต้องมาว่ากัน ดีด้วยกันทุกสาย เพราะมันไปสะอาดที่ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” เหมือนกัน จะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม จึงมีสิทธิ์บรรลุมรรคผลได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่ามรรคผล มันเกิดตรงนั้น ธรรมกายมรรค ผล และนิพพาน เบิกบานขึ้นมาจากตรงนั้น ตื่นขึ้นมาจาก ตรงนั้น เท่านั้นเอง แต่ว่าผู้เป็นพระอริยเจ้าท่านรู้ทุกองค์ ต้องรู้ รู้มากอย่างละเอียดหรือว่า ผู้พอเข้าใจแจ่มแจ้งพอสมควรเท่านั้นเองครับเพราะฉะนั้นไม่ต้องกังขา ปฏิบัติสายไหนดีทั้งสิ้น เป็นทางไปมรรค ผล นิพพาน ได้ทั้งนั้นถ้าใครปฏิบัติไปแล้ว กาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ธาตุ-ธรรม เห็น จำ คิด รู้ สะอาดบริสุทธิ์ ใจสะอาดบริสุทธิ์ ปัญญาก็บริสุทธิ์ ที่สุดใจก็หมดกิเลสแล้ว ก็ไปหมดกันตรงนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นจึงเหมือนกัน ไม่แตกต่างกันเพียงแต่จะรู้ หรือไม่รู้ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติยังไม่ถึง หมายความว่ายังไม่เป็นมรรคเป็นผลที่แท้จริง ก็อาจจะรู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่ผู้ที่ถึงมรรคผล และพระนิพพานแล้วเชื่อแน่ว่าต้องรู้แน่นอนครับ
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก

    ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน
    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า
    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ
    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ
    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง
    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร


    a.jpg



    [​IMG]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=0ba28bfdb35dbcb9c2aec44f51a702ec.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=d9535fef2be6afa6bdcbba11dd923559.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    จากหนังสือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น มีข้อความตอนหนึ่งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกไว้ว่า “รีบออกจากกาม เดินตาม ขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้ อยากทราบว่าหมายถึงอะไร? มีอะไรบ้าง?

    ตอบ:



    ขันธ์ 3 ก็คือไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา จิตสิกขา และ ปัญญาสิกขา ก็คือ การศึกษาอบรมตนโดยทางศีล สมาธิ และปัญญา นี่เองเป็นขันธ์สาม ถ้ากระจายออกไปก็เป็นขันธ์สี่ ขันธ์ห้า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งธรรมปฏิบัติจะเจริญไปในแนว นั้น แต่หลวงพ่อฯ ท่านพูดในส่วนที่เป็นหลักธรรมปฏิบัติเบื้องต้นเอาไว้ “ขันธ์สาม” ก็คือ สิกขาสาม หรือไตรสิกขา

    ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ทุกคนพึงเห็นโทษของกาม แล้วพึงดำริออกจากกาม ด้วยการปฏิบัติศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ให้ถึงอธิศีลสิกขา คือการศึกษาอบรมในศีลอันยิ่ง อธิจิตตสิกขาคือการศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง อธิปัญญาสิกขาคือการศึกษาปัญญาอันยิ่ง

    ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ก็มีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี่สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา และ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา หรืออีกนัย หนึ่งก็คือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยมีศีลเป็นบาท นั่นเอง

    กิจ 16 ที่หลวงพ่อฯ ท่านว่า “เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้ นี้ท่านหมายเอา เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว เจริญฌานสมาบัติให้ผ่องใสดีแล้ว ก็พิจารณาอริยสัจ 4 ในธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด ให้เห็นตามที่เป็นจริงว่า เป็นทุกข์อย่างไร มีเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัยอย่างไร แล้วก็จะพิจารณาเห็นถึงนิโรธ คือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ มีได้ เป็นได้อย่างไร และมรรค คือหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร เป็นอย่างไร

    แต่ว่าการพิจารณานี้ หมายถึงว่าเมื่อเราเข้าใจหลักพิจารณาสติปัฏฐาน 4 ทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายมนุษย์ แล้วในข้อสุดท้ายก็ “ธรรมในธรรม” นั่นแหละ มีการพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์ ซึ่งอาศัย “ญาณ” หรือ ตา ของธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียด คือธรรมกายที่เราเข้าถึงสุดละเอียดแล้ว แต่ยังไม่สามารถกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้โดยเด็ดขาดอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ นั่นแหละ ที่ยังจัดเป็นโคตรภูบุคคล มีโคตรภูญาณ หรือ โคตรภูจิต ของธรรมกายโคตรภูหยาบ ถึงโคตรภูละเอียดนั้นเอง เมื่อพระโยคาวจรอาศัยธรรมกายที่สุดละเอียดทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัย คือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 โดยการพิสดารธรรมกายไปสุดละเอียด ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นที่ตั้งของธาตุธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” อันเป็นที่ตั้ง ที่เอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายนั้นเอง ก็พิสดารธรรมกายผ่านธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด เป็นการปหานอกุศลจิตของ กายในภพ 3 และกำจัดหรือชำระกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไป ในตัวเสร็จ เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัตที่ละเอียดๆ จนสุดละเอียด ผ่องใส บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสแม้เพียงชั่วขณะที่เจริญภาวนาอยู่ เป็นวิกขัมภนวิมุตติ นี้เป็น “นิโรธ” ในความหมายของการดับสมุทัย คือ ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 (ที่เกิดมีอยู่พร้อมกับเจตสิกธรรม ฝ่ายบาปอกุศล) จนเป็นแต่จิตใจ เห็น จำ คิด รู้ ผ่องใส บริสุทธิ์

    เมื่อใจของธรรมกายที่สุดละเอียด ละอุปาทานในเบญจขันธ์ ของกายในภพ 3 และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ปล่อยขาดหมดพร้อมกัน ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะปรากฏในอายตนะนิพพาน ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ เรียกว่า ตกกระแสพระนิพพาน ด้วยโคตรภูจิต หรือโคตรภูญาณก่อน และในขณะเดียวกัน เมื่อมรรคจิต มรรคปัญญา รวมเรียกว่า “มรรคญาณ” เกิดและเจริญ กำลังของสมถภาวนาและวิปัสสนาปัญญามีเพียงพอเสมอกัน สมถภาวนาต้องเจริญถึงตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

    ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้น พระโยคาวจรได้ผ่าน ได้มีประสบการณ์ในการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนา พิจารณาสภาวธรรม จนถึงได้พิจารณาอริยสัจอยู่แล้วนั้น ขณะเมื่อทั้งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังแก่กล้าเสมอกันนั้นเอง ธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียดจะตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ แล้วก็จะตกศูนย์ปรากฏเป็นธรรมกายพระโสดาปัตติผล ลอยเด่นขึ้นมาและตั้งอยู่ใสสว่างโพลง

    ด้วยญาณของพระธรรมกายที่บรรลุมรรคผลแล้วอย่างนี้ จึงพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่ยังเหลือ พิจารณามรรค พิจารณาผล และพิจารณานิพพาน นั้นแหละเรียกว่า “พิจารณาปัจจเวกขณ์” ในช่วงของการบรรลุมรรคผลในแต่ละระดับภูมิธรรมนั้นเอง ที่กล่าวเป็นตัวอย่างแรกข้างต้นนี้ กล่าวกันโดยเฉพาะกิจ 4 ประการ คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด และในส่วนธรรมในธรรมนั้น ก็คือพิจารณาอริยสัจ 4 ด้วยตาหรือญาณของธรรมกายโคตรภู แล้วตกศูนย์ เมื่อมรรคจิตเกิดและเจริญขึ้น ดังกรณีมรรคจิตของธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวแล้ว ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายโสดาปัตติผลก็จะปรากฏใสสว่างขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ดังกล่าวนี้ ว่าด้วยช่วงเดียว คือพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด นี้เป็นกิจ 4

    ต่อไปก็เป็นพิจารณาสติปัฏฐาน 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งอริยสัจ 4 ในกายทิพย์ โดยตาหรือญาณของธรรมกายโสดาปัตติผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายทิพย์และทิพย์ละเอียด นี่ก็เป็นกิจอีก 4 แบบเดียวกัน นี่กิจ 4 สอง-สี่ เป็น 8 แล้ว

    เมื่อญาณหรือตาของธรรมกายพระสกิทาคามิผลนั้น พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด อีกต่อไปแบบเดียวกัน ธรรมกายพระสกิทาคามิผลก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอนาคามิมรรคจะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องต่ำอีก 2 คือ ปฏิฆะและกามราคะ รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แล้ว ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอนาคามิผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่าง เข้าผลสมาบัติไปแล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์แบบเดียวกัน นี่เป็นเสร็จกิจอีก 4 เป็นกิจ 12 แล้ว

    เมื่อใจของธรรมกายพระอนาคามิผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายของอรูปพรหมหยาบ-อรูปพรหมละเอียด ต่อไปอีกแบบเดียวกัน เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีอาการ 12 แล้วก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตมรรคก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ได้หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน รวมเป็นปหานหรือละสังโยชน์ 10 (เบื้องต่ำ 5 และเบื้องสูง 5) แล้ว ธรรมกายพระอรหัตตมรรคจะตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่างเข้าผลสมาบัติไป แล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์เพียง 4 คือพิจารณาเฉพาะกิเลสที่ละได้หมดไปแล้ว (ทั้งหมด) คือสังโยชน์ 10 (ทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง) พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณาพระนิพพาน เห็นแจ้งทั้งสภาวะนิพพาน ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน

    “ธรรมกาย” ที่ตรัสรู้อริยสัจทั้ง 4 แล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นแหละ เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน เป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่ไม่ประกอบ ด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่ชื่อว่า “วิสังขาร” วิสังขารมี 2 ระดับ

    ระดับที่หนึ่ง คือพระนิพพานธาตุที่ละสังโยชน์ 10 และปล่อยวางอุปาทานในเบญจขันธ์ได้โดยเด็ดขาด แต่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ คือ ยังไม่ตาย ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    อีกระดับหนึ่งคือพระนิพพานธาตุ ที่เบญจขันธ์แตกทำลาย คือตายแล้ว ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    นี่พระนิพพานมี 2 ระดับ อย่างนี้

    พระอรหันต์ที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ ชื่อว่า ท่านได้บรรลุ “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ซึ่งเป็นวิสังขาร คือมีสังขารไปปราศแล้ว คือ เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ตัณหา ราคะ เป็นเครื่องปรุงแต่ง เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม เป็นธรรมธาตุที่ว่างเปล่าจากสังขารทั้งในขณะ ยังเป็นๆ อยู่ ชื่อว่า “อัคคสูญ” คือเป็นเลิศ เพราะเป็นธรรมที่ว่างเปล่า จากตัวตนโลกิยะ และสิ่งที่เนื่องด้วยตัวตนโลกิยะ

    นั้นกล่าวคือ ท่านวางอุปาทานในเบญจขันธ์ ด้วยตัณหาและ ทิฏฐิเสียได้แล้ว ไม่เห็นเบญจขันธ์ อันเป็นตัวตนโลกิยะว่ามีสาระในความมีตัวตนที่แท้จริง จึงเห็นตัวตนโลกิยะหรือสังขารธรรมทั้งปวง เป็นสภาพที่ว่างเปล่านั้น ท่านวางอุปาทานได้อย่างนั้น เหมือนมะขามล่อน ในส่วนของธรรมกายซึ่งบรรลุอรหัตตผลเปรียบเหมือนเนื้อมะขาม ส่วนเบญจขันธ์ที่ท่านยังครองอยู่เหมือนเปลือกมะขามที่ล่อนไม่ติดเนื้อ คือหากมีอะไรกระทบกระเทือนกาย ท่านก็ไม่มีทุกข์ที่ใจ นี่แหละคือ อาการของพระอรหันต์ ที่ท่านบรรลุพระอรหัตตผลโดยที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่

    วิสังขารอีกระดับหนึ่ง คือเมื่อเบญจขันธ์แตกทำลายคือตายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเบญจขันธ์ของมนุษย์ ของเทพยดา หรือของรูปพรหม เช่น รูปพรหมในชั้นสุทธาวาสที่กำลังบรรลุอรหัตตมรรค บรรลุอรหัตตผลแล้ว เมื่อจะต้องสิ้นชีวิตในชั้นที่สถิตอยู่ เบญจขันธ์รูปพรหมของท่านก็แตกทำลายคือตายเหมือนกัน ในกรณีเช่นนี้ชื่อว่า ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพาน ด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” มีแต่พระนิพพานธาตุคือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วล้วนๆ เบญจขันธ์ตายแล้วนั่นแหละ ที่ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” คือพระนิพพานธาตุที่ไม่มีเบญจขันธ์ครองอยู่

    ความสูญสิ้นหมดไปอย่างนี้ หมดทั้งกิเลส ตัณหา อุปาทาน และตัวสังขาร ได้แก่เบญจขันธ์ก็ไม่มี เพราะแตกทำลายไปแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า “ปรมัตถสูญ” คือเป็นความสูญอย่างมีประโยชน์สูงสุด เพราะความไม่มีสังขาร คือไม่มีทั้งเบญจขันธ์ และกิเลสตัณหาเครื่องปรุงแต่งทั้งปวง

    คำว่า “พระนิพพานธาตุ” หรือ “นิพพาน” เฉยๆ จึงหมายถึง ทั้งสภาวะนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุพระ อรหัตตผลแล้ว

    พระอริยเจ้าที่ท่านบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ท่านอาจจะบรรลุทีละระดับๆ เป็นชั้นๆ ไป ตั้งแต่ พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตตผล หรือในกรณีที่บุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมีของท่านเต็มแล้วเพียงใด ท่านก็สามารถจะ บรรลุมรรคผลนิพพานถึงระดับนั้นๆ รวดเดียวได้เลย โดยไม่ต้องบรรลุทีละขั้นๆ ก็ได้ และผลจิตหรือญาณของธรรมกายที่บรรลุอริยผลนั้น เป็นผู้พิจารณาพระนิพพาน และย่อมเห็นแจ้งทั้งสภาวะพระนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพานคือธรรมกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมกายที่ บรรลุพระอรหัตตผลแล้วว่า มีสภาพเที่ยง (นิจฺจํ) เป็นบรมสุข (ปรมํ สุขํ) และยั่งยืน (ธุวํ) มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน (อตฺตา) แท้ เพราะไม่ต้องแปรปรวน (อวิปริณามธมฺมํ) ไปตามเหตุปัจจัย มีสภาพ คงที่ (ตาทิ) มั่นคง (สสฺสตํ) ยั่งยืน (ธุวํ) จึงไม่ต้องเคลื่อน (อจฺจุตํ) และไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดด้วย ก็เลยไม่ต้องเกิดเป็นธรรมฐิติ ดำรงอยู่ อย่างนั้น ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย (อมตํ) จึงเป็นบรมสุข และยั่งยืน ตลอดไป นี่สภาวะพระนิพพานเป็นอย่างนี้

    ใครเป็นผู้ทรงสภาวะพระนิพพานอย่างนี้? ไม่ใช่เบญจขันธ์แน่นอน เพราะเบญจขันธ์เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ก็คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเองนี่แหละ ธาตุล้วน ธรรมล้วน เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน เป็นตัวพระนิพพาน เลย

    สถิตอยู่ที่ไหน? ไม่สถิตอยู่ที่ไหนๆ ในจักรวาลนี้ ในภพ 3 นี้ ในโลกใดๆ ก็ไม่มี ที่ชื่อว่า “โลก” คือภพทั้ง 3 นี้อยู่ในจักรวาลนี้เท่านั้น จึงชื่อว่าโลก พ้นโลกไปเป็นพระนิพพาน พระนิพพานกับโลกอยู่คนละส่วน พระนิพพานนั้นพ้นโลก จึงชื่อว่า “โลกุตตระ” เป็นธรรมที่พ้นโลก จึงชื่อว่าโลกุตตรธรรม นั่นแหละพระนิพพาน พระอรหันต์ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นไม่เรียกว่าโลก ไม่เรียกว่าภพ เพราะไม่มีภพ ไม่มีชาติ ไม่มีการเกิดด้วยเหตุปัจจัย ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุเหล่านี้ ชื่อว่า “อายตนะนิพพาน” ที่มีพระพุทธดำรัส ในปาฏลิคามิยวรรค อุทาน นิพพานสูตรว่า “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ...” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนิพพานนั้นมีอยู่...” เป็นต้น คำว่า “อายตนะ (นิพพาน)” นี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำมิได้บัญญัติขึ้นเอง อาตมาไม่ได้พูดขึ้นเอง แต่เป็นพระพุทธดำรัสอยู่ในนิพพานสูตร ไปดูได้ตั้งแต่นิพพานสูตรที่ 1 ไปทีเดียว มีพระพุทธดำรัสว่าด้วยอายตนะนิพพาน ว่าด้วยธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า อสังขตธรรม มีอยู่ในนิพพานสูตรทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้นคำที่ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้” นี่ก็เพราะพระโยคาวจรได้เจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ 4 ของแต่ละกาย ได้แก่ของกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม นี้ก็จัดเป็นกิจแต่ละ 4 แต่ละ 4 ก็เป็นกิจ 16 เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ กล่าวถึงเสร็จกิจ รวบยอดของพระอรหันต์ก็เป็นกิจ 16 นี่แหละที่หลวงพ่อท่านกล่าว ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้”

    เพราะฉะนั้น นี่เป็นความลึกซึ้งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระ มงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านกล่าวสอนไว้ ข้อความที่ท่านกล่าว แต่ละคำล้วนมีความหมายลึกซึ้ง หลวงพ่อท่านสามารถแสดงพระธรรมเทศนาโดยการยกพระบาลีขึ้นมาแสดง ท่านสามารถแสดงรายละเอียดทั้งพระพุทธพจน์และคำแปล และทั้งแสดงวิธีปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งผลของการปฏิบัติธรรมด้วย ซึ่งเป็นผล (ปฏิเวธธรรม) ที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติพระสัทธรรมที่ถูกต้องและตรงประเด็นตามพระสัทธรรม ของพระพุทธเจ้า การแสดงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยยกทั้งพระบาลีหรือพระพุทธพจน์ขึ้นแสดง แจกแจงคำแปลแต่ละคำๆ หรือแต่ละประโยค ก็แล้วแต่เหตุการณ์ พร้อมกับยกเอาผลของการปฏิบัติมาแสดงอย่างชัดเจนด้วย อย่างนี้ เห็นมีไม่มาก

    แต่ก่อน อาตมาเคยลังเลสงสัยในคำเทศน์ของหลวงพ่อฯ อยู่คำหนึ่ง ในหนังสือหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น ที่ท่านแสดง ไว้ว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง เป็น เอกายนมรรค” ตอนแรกอาตมานึกลังเลสงสัยว่า ถ้าว่าจะนำไปพิมพ์เผยแพร่ สมัยนั้นอาตมาเป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาสังคมสงเคราะห์ ก็คิดว่าจะนำหนังสือนี้ไปพิมพ์เผยแพร่ ก็เป็นห่วงกลัวว่า จะถูกเขาโจมตีว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี่ จะเป็นทางนี้ทางเดียวได้อย่างไร จึงได้ไปปรึกษาหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร ท่านบอกว่า “อย่าไปแก้นะ คำของหลวงพ่อ แก้ของท่านแม้เพียงคำเดียว ประเดี๋ยวเข้าเซฟนะ”

    “เข้าเซฟ” หมายถึงอะไร ประเดี๋ยวค่อยไปถามผู้ถึงธรรมกายแล้ว หรือปฏิบัติให้ถึงธรรมกายเองก็จะทราบว่า มีโทษรุนแรงยิ่งกว่าตกอเวจีมหานรกอีก เพราะนี้เป็นคำจริง “ทางเดียวไม่มีสองทาง” ท่านว่า ทางนั้นทางเดียว เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้น คนอื่นเขาจะรู้สึกขัดข้องโจมตีว่า ถ้าอย่างนั้นคนอื่น สำนักอื่น ที่ปฏิบัติแบบอื่นก็ปฏิบัติไม่ถึงนิพพานซิ?

    ความจริงท่านพูดหมายความว่า ใครจะถึงนิพพานก็ต้องไปทางนี้ทางเดียว ต้องมาทางนี้ คือ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือตรงศูนย์กลางกาย นี่เป็นที่เปลี่ยนวาระจิตเป็นประจำ เพราะเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียด ของขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 เพราะฉะนั้น เมื่อจะบรรลุมรรคผลนิพพาน “ใจ” ของแต่ละกาย หรือรวมหมดทุกกายนั่นแหละถึงธรรมกาย ดวงเดิม จะตกศูนย์ “ใจ” ดวงใหม่จึงลอยเด่นขึ้นมาตรงนี้ ใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูไปจนถึงธรรมกายมรรค ผลนิพพานแต่ละระดับ ส่วนหยาบจะต้องตกศูนย์ตรงนี้ ส่วนละเอียดที่บริสุทธิ์ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้นมาตรงนี้ จิตเกิดดับเปลี่ยนวาระจิตตรงนี้ วิญญาณดับและเข้ามรรคผลนิพพานก็เข้าตรงนี้จริงๆ เมื่อท่านปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็จะถึงบางอ้อว่า เออ! จะเข้าถึงธรรมกายนั้นก็ต้องดับหยาบไปหาละเอียด หยุดในหยุดกลางของหยุด กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ส่วนหยาบจะตกศูนย์ ส่วนละเอียดจะปรากฏขึ้นใหม่ทับทวีไปอย่างนี้สุดละเอียดจนถึงธรรมกาย จนถึงธรรมกายมรรค ธรรมกายผล และธรรมกายนิพพาน ด้วยอาการอย่างนี้ ตรงศูนย์กลางกายของกายในกาย กลางของกลางๆๆๆ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานนี้เอง จึงเป็นเอกายนมรรค เพราะเป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นธรรมในธรรมในส่วนโลกิยะไปจนสุดละเอียดถึงโลกุตตรธรรม สุดละเอียดเข้าไปก็คือธรรมกายที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

    ธรรมกายอริยมรรคก็จะตกศูนย์ ธรรมกายอริยผลก็จะปรากฏขึ้น ใสสว่างตรงกลางของกลางๆๆๆ ตรงนั้น จากศูนย์กลางกายสุดหยาบ จนถึงศูนย์กลางกายสุดละเอียดนั้นเอง ส่วนหยาบเป็นมรรค ส่วนละเอียดเป็นผล มรรคและผลเกิดอย่างนี้ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด จึงถึงมรรคผลนิพพาน ตรงจุดศูนย์กลางกายแต่ละกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด กลางของกลางๆๆๆ และดับหยาบไปหาละเอียดนี้เอง

    แต่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงวาระจิตหรือภูมิจิต ทุกอย่างเป็นที่ธาตุธรรม ไม่ใช่เป็นที่ภายนอก ไม่ใช่เป็นที่ใจของกายมนุษย์อย่างเดียว แต่ความบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ต้องเปลี่ยนวาระจิต คือเลื่อนภูมิจิตจากกายโลกิยะ สุดหยาบคือมนุษย์ ไปจนสุดละเอียด ของกายอรูปพรหม จนเมื่อวิญญาณของอรูปพรหมดับ ความบรรลุมรรคผลนิพพานจึงไปปรากฏเป็นที่ใจของกายธรรม เป็นธาตุธรรมที่ละเอียด ที่บริสุทธิ์ นั่นแหละ เป็นธาตุธรรมที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นที่ไหน? เป็นอยู่ที่กลางของกลาง ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของกายมรรคผล นิพพานนั่นแหละ

    ผู้ที่บรรลุอริยมรรคอริยผลในขั้นต่างๆ จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม ใจต้องเปลี่ยนวาระ เปลี่ยนภูมิจิตตรงนั้น เป็นที่อื่นไม่มี เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากกายสุดหยาบถึงกายสุดละเอียด คือถึง พระนิพพาน ทั้งพระนิพพานธาตุ ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน ก็กลางของกลางตรงนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอายตนะนิพพาน ว่า “หาที่ตั้งมิได้”

    เพราะเหตุนี้นี่แหละ คนที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตรงประเด็น ตามทางสายกลางอย่างนี้ ก็เลยไม่เห็นนรก ไม่เห็นสวรรค์ ไม่เห็นนิพพานตามที่เป็นจริง แต่ถ้าปฏิบัติตามทางสายกลางอย่างนี้ ก็จะ สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นพระนิพพานตามที่เป็นจริงได้ แม้เห็นหมดทั้งจักรวาลตามที่อยู่ในคัมภีร์ ก็เห็นตามที่เป็นจริงได้ ไม่ว่าสิ่งนั้น จะเป็นทิพย์ หรือสุดละเอียดไปจนถึงพรหมโลก หรือสุดละเอียดไปจนถึงอายตนะนิพพาน ก็เห็นได้ตามพระพุทธดำรัส

    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้ ถ้าปฏิบัติไปในแนวนี้ ความสงสัยต่างๆ จะค่อยๆ หายไปด้วยการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้ จนถึงที่สุดของผู้ที่บรรลุมรรคผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เพราะแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามทางสายกลางโดยทางปฏิบัติในกลางของกลางธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของพระโยคาวจรที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้นนั่นแหละ ไปจนถึงผู้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น การเปลี่ยนวาระจิตหรือเลื่อนภูมิจิต ก็ตรงกลางของกลางๆๆ ตรงศูนย์กลางกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานและถึงอายตนะนิพพานก็ตรงนี้แหละ

    ศูนย์กลางกายสุดกายละเอียดจนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพาน ตรงนี้จึงเป็น “เอกายนมรรค” เป็นทางเดียวไม่มีสองทาง ด้วยประการฉะนี้ ส่วนอาการภายนอกอย่างอื่นนั้น เป็นเรื่องของอาการภายนอก แต่การจะบรรลุมรรคผลนิพพานจริงๆ นั้น บรรลุที่ธาตุธรรมที่เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ที่ผ่องใสที่บริสุทธิ์ที่สุดละเอียด ไปจนถึงเป็นใจของกายธรรม เรียกว่า “ธรรมกาย” นั่นความเป็นจริงทางปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติเป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น คำถามนี้อาตมาจึงขอขยายความให้เห็นชัดเจน ว่า คำพูดของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำแต่ละคำนั้นมีค่าสูงที่สุด ถ้าใครรู้จักพิจารณาและปฏิบัติไปตามแนวทางนี้ก็จะเห็นได้ชัดเจน หรืออย่างน้อย ก็จะพอได้ประสบการณ์ที่คุ้มค่าที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ทำสมาธิแล้วมืด ไม่เห็นอะไร พยายามนึกดวงแก้ว แต่ก็ไม่เห็น


    ทำอย่างไรถึงจะแก้โรคเบื่อชีวิต เกิดมาแล้วเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ กิจวัตรประจำวันก็ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย เมื่อปฏิบัติสมาธิแล้วก็มืดไม่เห็นอะไรเลย พยายามนึกไปที่ดวงแก้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ จะทำอย่างไรดี ?
    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    หากเบื่อด้วยกิเลส (โทสะ/นิวรณ์) จะเป็นทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ หากเบื่อด้วยปัญญา เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง จิตใจย่อมปลอดโปร่ง แล้วหาทางพ้นด้วยการปฏิบัติตามพุทธธรรม

    การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)

    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”

    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น

    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=fe55bacfe1b446ecf914254c8087bcd4.jpg

    ที่พึ่งที่แท้จริง


    ... “เราท่านทั้งหลายทุกทั่วหน้า อยากหาที่พึ่งกันนัก ที่ว่าไม่รู้ที่พึ่งจริงอยู่ที่ไหน ที่พึ่งจริงนี่แหละเป็นตัวสำคัญนัก


    เข้าใจว่าเงินเป็นที่พึ่ง ทองเป็นที่พึ่ง หาเงินหาทองไปแล้วก็ตาย ไม่เห็นติดตัวไปสักนิดเดียว หาเงินหาทองได้แล้วไม่ติดตัวไปเลย นี่เข้าใจว่าเงินทองเป็นที่พึ่งแล้วนะ


    บางพวกคิดไปอีกว่า เป็นตายก็ได้ภรรยาสักคนเถิด จะได้พึ่งพักพาอาศัยกันและกัน เอ้า! พอได้ภรรยาแล้วได้ลูกอีกคนเถิด จะได้พึ่งพาอาศัยลูกต่อไป ผู้หญิงก็เช่นกัน ได้สามีสักคนเถิด จะได้พึ่งสามีต่อไป พอได้สามีแล้ว ได้ลูกสักคน สองคนเถิด จะได้พึ่งลูกต่อไป แล้วลงท้ายเป็นอย่างไรบ้าง ถามท่านยายท่านตาดูบ้างซิ ท่านก็รู้หรอก ท่านบอกว่าเหลวทั้งนั้น ไม่ใช่ที่พึ่งจริงอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่พึ่งเลวเหลวไหลทั้งนั้น


    เหตุนี้แหละ ที่พึ่งแน่แท้แน่นอนทีเดียวนั้น พึ่งอื่นไม่ได้ พึ่งอื่นพระพุทธเจ้าไม่ทรงสั่งเลย รับสั่งว่าพึ่งตัวของตัวนี่แหละ ที่ทรงรับสั่งว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนนี่แหละเป็นเกาะ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตัวนี่แหละเป็นที่พึ่งของตัว สุทฺธิ ปจฺจตฺตํ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ บริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์เฉพาะตัว นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย บุคคลอื่นทำบุคคลอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องตัวของตัวเองจึงได้ ตัวของตัวเองรักความบริสุทธิ์ ก็ทำความบริสุทธิ์ของตัวได้ ตัวเองรักความบริสุทธิ์ แต่ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัวก็บริสุทธิ์ไม่ได้ ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัวก็ชื่อว่าไม่รักตัว ลงโทษตัวอย่างขนาดหนัก


    เมื่อทำความบริสุทธิ์ให้แก่ตัวแล้ว ช่วยตัวเองอย่างขนาดหนัก ทำความไม่บริสุทธิ์ใส่ตัว เหมือนเรามีผ้าที่สะอาด เอาของโสโครกมาประพรมเสีย ผ้านั้นเป็นอย่างไรบ้าง ผ้าที่สะอาดนั้นก็ดูไม่ได้ กลายเป็นของเลวเกวไป คนที่สะอาดที่ดีๆ แท้ๆ คนที่บริสุทธิ์แท้ๆ ไปประพฤติชั่วเข้า เป็นอย่างไร ก็เหมือนผ้าเปื้อนสกปรกนั่นแหละ ใช้ไม่ได้ดุเดียวกัน ต้องรักษาความสะอาดนั้นไว้” ...


    (สัจกิริยคาถา ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๙๗)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    เมื่อตอนแยกกลุ่มเริ่มปฏิบัติ ผมได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี ว่า วันนี้ถ้าผมมีบุญบารมีพอที่จะเข้าถึง รู้วิชชาธรรมกาย ขอให้ผมนึกเห็นดวงแก้วกลมใสในฐานที่ ๗ พร้อมกับนิมิตอื่นๆ อีกที่เป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ถ้าไม่มีบุญบารมีพอ ผมก็จะขอหยุดไว้ก่อน เพื่อตั้งหลักครั้งใหม่ พอเริ่มปฏิบัติไป ก็ปรากฏเห็นดวงแก้วกลมใสพร้อมองค์พระที่ใสในขณะเดียวกัน อาการเช่นนี้เป็นอยู่นานพอสมควร ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผม ปรากฏว่าดีขึ้นเป็นอย่างมาก

    ตอบ:

    คำอธิษฐานนี้เสี่ยงไปหน่อยนะครับ เสี่ยงในข้อที่ว่า ท่านอธิษฐานว่า “แต่ถ้าไม่มีบุญบารมีพอ ผมก็จะขอหยุดไว้ก่อน เพื่อตั้งหลักครั้งใหม่”

    ตรงนี้เป็นการอธิษฐานที่ไม่ถูกต้อง เหตุที่ไม่ถูกต้องเพราะว่า ถ้าไม่มีบุญบารมี ก็ไม่ได้มาเรียนหรอกครับ คือทุกคนมีบุญบารมีด้วยกันทั้งนั้น ที่กระผมจะพูดหมายถึงอย่างนี้ แต่มีมากมีน้อย ไม่ใช่ไม่มีคือศูนย์ ไม่ใช่อย่างนั้น มีบุญบารมีด้วยกันทั้งนั้น

    พระคุณเจ้าเองก็มี แต่ถ้าบุญบารมียังน้อยอยู่ มันก็ยังไม่เห็น อย่าไปเอาเป็นอารมณ์มากนักในเรื่องของอธิษฐาน ไม่อย่างนั้นเสียเปรียบภาคมาร ภาคมารคอยสอดละเอียด หลอกเราแวบเดียว เราพลาดไปเลย

    บางท่านอธิษฐานสร้างบุญบารมี เพียงปกติสาวก ถ้าโดยนัยนั้นก็เหมือนว่า เราจะบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในระดับมาตรฐานเบื้องต้น คือระดับปกติสาวก

    มาตรฐานเบื้องต้นนั้น เมื่อได้บำเพ็ญบุญกุศลได้เต็มหนึ่งคืบของเจ้าของ บุญนั้นจะกลั่นตัวเองเป็นบารมี ได้ประมาณเท่าหนึ่งองคุลีมือ

    บำเพ็ญบารมีจนเต็มแก่กล้าได้หนึ่งคืบ จึงจะกลั่นตัวเองเป็นอุปบารมี เท่าหนึ่งองคุลีมือ

    แล้วก็บำเพ็ญอุปบารมีจนเต็มหนึ่งคืบ จึงจะกลั่นตัวเองเป็นปรมัตถบารมี ประมาณเท่าหนึ่งองคุลีมือ

    และถ้าบำเพ็ญปรมัตถบารมีได้เต็มหนึ่งคืบของตัวครบ หมดทั้ง 10 ประการ (ทานบารมี, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา และอุเบกขาบารมี) ในภพชาติใด ภพชาตินั้น เมื่อบารมีเต็มก็เป็นอันว่าผู้บำเพ็ญบารมีนั้น มีพลวปัจจัยให้สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ หมายความว่า ถึงมรรคผลนิพพานได้

    เพราะฉะนั้นเรื่องบุญบารมี อย่าเอาไปใช้ในลักษณะพนันหรือท้าทายว่า ถ้าผมไม่มีบุญบารมี ก็หยุดไว้ก่อน อย่างนั้นผิด เพราะอะไร ? มันผิดตรงที่ว่าเราแน่ใจแล้วหรือว่าเรามีบุญบารมีกี่มากน้อย ? หากว่าเรามีบุญบารมียังไม่พอ ก็ยังไม่เห็น (ดวงธรรม)

    แต่เราต้องถามตัวเองก่อนว่า วิธีที่ให้ปฏิบัติอย่างนี้ผิดหรือถูก ? เราพิจารณาดูเสียก่อนว่า ปฏิบัติอย่างนี้ผิดหรือถูก ถ้าถูกแล้ว แม้ยังไม่เห็นก็ตั้งใจปฏิบัติไป สั่งสมบุญกุศลคุณความดีเรื่อยไป หยุดทำไม ? ถึงเวลาก็ได้เห็นเอง หยุดไปก็ถูกมารหลอก

    การอธิษฐานนี่ นิดเดียวก็ถูกมารหลอกแล้ว เห็นไหมล่ะ ไปอธิษฐานว่า ถ้าไม่เห็นก็แปลว่าไม่มีบุญบารมี จะหยุดเสียแล้ว ไปเอาข้อนี้มาเป็นเงื่อนไข

    บุญมีนะ แต่มันยังน้อยอยู่ หรือว่ามันมีเหตุปัจจัยอื่นๆ อะไรปิดบังอยู่ เราก็ไม่รู้ ไปตีความว่าเราไม่มีบุญเสียแล้ว จะหยุดปฏิบัติเสียแล้ว เหมือนกับเราจะขุดน้ำในบ่อ พอไปเจอรากไม้หน่อย โอ๊ย ไปไม่ได้แล้ว ก็จบกัน

    เพราะฉะนั้น เมื่อไปเจอรากไม้ตอไม้หรืออะไร เราก็พยายามขุดตัดออกอีกหน่อยก็ลงไปได้ แต่ต้องค่อยๆ ทำ ไม่ใช่ว่าขุดไปต้องให้เจอน้ำนะ ถ้าไม่เจอน้ำก็แปลว่าไม่มีน้ำ อย่างนี้ก็เสร็จกัน

    เราถามตัวเองก่อนว่า วิธีปฏิบัตินี้ ตามที่สอนไปนี้ผิดหรือถูก ให้คุณหรือให้โทษ ตรงนี้ต่างหากคือประเด็นที่ควรพิจารณา

    เผอิญท่านอธิษฐานแล้ว ท่านเห็น นี่เป็นการดี ท่านมีบุญบารมีอยู่แล้ว ไม่ต้องไปอธิษฐานอย่างนั้นก็เห็นได้ เกิดหากว่ามารสอดละเอียดให้ท่านไม่เห็นซะนี่ ทั้งๆ ที่ท่านมีบุญ เผอิญวันนี้มารสอดละเอียดท่านหน่อย เลยยังไม่เห็น ไม่เห็นท่านก็หยุดเสียแล้ว ทั้งๆ ที่มันใกล้จะเห็นอยู่แล้ว

    หรือว่าเหมือนกับขุดน้ำ มันจวนจะถึงน้ำอยู่แล้ว อะไรมาคั่นหน่อยเดียว บอกว่าถ้าไม่เห็น น้ำผมจะหยุดแล้ว ไปเห็นอุปสรรคอะไรขวางหน่อย ก็คิดว่าผมจะหยุดแล้ว เสร็จเลย ทั้งๆ ที่เลยไปอีกหน่อยเดียวก็เห็น

    นี่แหละให้ระวังเรื่องอธิษฐาน ให้ระวัง ! มีคนเคยเป็นแบบนี้มาแล้ว อาตมาบอกแล้วก็ไม่ยอมเชื่อเสียด้วย

    เพราะฉะนั้นเรื่องอธิษฐาน ต้องระวังให้ดี บางทีกลายเป็นการผูกมัดตัวเอง ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องอธิษฐาน บางคนว่าฉันต้องรักษาวาจาสัตย์ พูดอะไรออกไปก็ต้องเป็นตามนั้นเสมอไป ถ้าพูดถูกแล้วเป็นตามนั้นก็สมควร แต่ถ้าพูดผิดด้วยอารมณ์ บางทีมันมีอารมณ์รัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลง กลัว อะไรๆ ก็แล้วแต่ พอเราพูดว่าต่อไปนี้ฉันจะไม่ยังงั้น ละฉันจะไม่อย่างงี้ละ หรือว่าต่อไปนี้ฉันจะทำอย่างนั้น ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ฉันก็จะไม่เป็นอย่างนี้

    บางทีเราหลงเข้าใจผิดแล้ว เลยอธิษฐานหรือพูดพลาดไปผิดๆ ถ้าไม่ระวังให้ดี หรือถ้ารู้ว่าอธิษฐานผิด/พูดผิดแล้วไม่แก้ให้ถูก ก็เสียผลอย่างใหญ่หลวงได้

    เพราะฉะนั้น การถือสัจจะหรืออธิษฐานนี่ ให้จำไว้ว่า เราจงทำในขณะที่เรามีสติสัมปชัญญะดี มีปัญญาแจ้งชัดดีแล้ว ถ้ายังไม่แจ้งชัดพอก็อย่าเพิ่งอธิษฐาน อย่าเพิ่งลั่นวาจา ตรงนี้สำคัญ...

    ถ้าลั่นวาจาแล้ว ภายหลังเรารู้ว่าไม่ถูก ไปพูดเข้าไปแล้ว เลยกลับคำไม่ได้ หรืออย่างเช่น การอธิษฐานนี่ บางท่านอธิษฐานกินเจ (มังสวิรัติ) ตลอดชีวิต บางรายก็เป็นโรคขาดสารอาหาร เลยแห้งเหี่ยว เพราะร่างกายต้องการสิ่งที่มีประโยชน์มาบำรุงพอสมควร แต่ไม่ใช่ว่าต้องรับประทานแต่อาหารที่ดีๆ เกินไป จนเกินเหตุ เราต้องมี “โภชเนมัตตัญญุตา” คือ รับประทานแต่พอควร ถ้าอดอาหารจนร่างกายไม่มีกำลัง พระพุทธเจ้าทรงถือว่าเป็น “อัตตกิลมถานุโยค” เป็นการทรมานร่างกายจนเกินเหตุ ไม่ใช่ทางให้พ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางให้เกิดปัญญา ที่จะแทงตลอดอริยสัจได้ นี่ต้องระวัง เรื่องนี้สำคัญ

    บางทีไปอธิษฐานว่า ถ้าไม่เห็นไม่ยอมลุก บางทีเราตายเปล่านะ ผู้ที่อธิษฐานอย่างนี้ได้ อย่างหลวงพ่อท่านอธิษฐาน ข้อนี้ดีจริงนะ ไม่ใช่ไม่ดี พระพุทธเจ้าก็อธิษฐาน แต่นั่นท่านรู้ตัวท่านแล้วว่าบารมี ท่านแค่ไหน คือปฏิบัติไปจะรู้ตัว แต่ถ้าท่านผู้ใดรู้ตัวมีบารมีพอ จึงค่อยอธิษฐาน เอาเลย ! หรือว่ารู้ว่าสิ่งนี้ถูกต้องแน่ เราจะทำอย่างนี้ หรือจะไม่ทำอย่างนี้ ให้มันแน่นอนลงไปอย่างนั้นได้ แต่ถ้าเป็นไปด้วยอารมณ์ เป็นไปด้วยกิเลส เหตุนำเหตุหนุนให้พูดหรืออธิษฐาน ขณะมีความรัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลงอยู่ กลัวอยู่ อย่างนี้เป็นต้น ไปพูดตั้งสัตยาธิษฐานด้วยอาการอย่างนั้นละก็เสร็จเลย จะกลับคำก็ไม่ได้ กลับคำก็ถือว่าเสียสัจจะ นี่ไปยึดผิดๆ อย่างนั้น

    แต่ผมน่ะพระคุณเจ้า จะบอกโยมด้วย อาตมานี่ถ้าว่าจะตั้งใจทำอะไร ตั้งใจทำให้สำเร็จจริง แต่ถ้าเห็นมีอุปสรรค มีปัญหา หรือเห็นว่านี่เรามาผิดทางแล้ว เห็นว่าควรจะปรับปรุงแก้ไข ก็แก้ไข ไม่ใช่ว่าฉันตั้งสัตยาธิษฐานไว้แล้วว่าฉันจะเดินไปทางนี้ บางคนเดินไปแล้วมันจะชนเสา หัวก็ โขกเสาอยู่นั่น แต่ผมไม่ยอมชนเสาละ ผมหลีกนะ แต่ไม่ใช่ถือว่าเสียสัจจะ เพราะวัตถุประสงค์ของผมอยู่ที่ว่าจะไปให้ถึงจุดโน้น ไม่ใช่ว่าจะต้องเดินไปทางนี้ แม้จะตรงเสาก็ให้ชนเสาเพื่อไปถึงจุดโน้น ก็ย่อมไม่ถึง เพราะเสาไม่หลีกให้เรา เราก็ไปถึงจุดโน้นไม่ได้

    เพราะฉะนั้นเมื่อผมมีวัตถุประสงค์จะเดินให้ไปถึงจุดตรงนู้น แม้เมื่อไปทางนั้นจะชนเสาก็หลีกได้ ขอให้ไปถึงจุดที่ต้องการก็แล้วกัน

    การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ให้ถูกต้องตรงตามหลักการ เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ประสงค์ ไม่ใช่เป็นการเสียสัจจะ เพราะจุดประสงค์เรามุ่งที่จะถึงจุดตรงนู้น เข้าใจไหม ?

    เพราะฉะนั้นจะอธิษฐานอะไรต้องให้รอบคอบ โดยเหตุนี้ อาตมาจึงนำอธิษฐานเป็นคำกลางๆ แม้แต่การทำบุญกุศลก็จะนำอธิษฐานเพื่อไปมรรคผล นิพพาน เป็นคำกลางๆ และถูกต้องแน่นอนดี อธิษฐานเพื่อถึงมรรคผลนิพพานฝ่ายสัมมาทิฏฐิ

    ทีนี้มีคนถามเหมือนกันว่า “มรรคผล นิพพาน ฝ่ายมิจฉาทิฏฐิมีไหม หลวงพ่อ [พระภาวนาวิสุทธิคุณ] จึงได้กล่าวอธิษฐานอย่างนี้ ?”

    มันมีได้ด้วยความหลงเข้าใจผิด คิดว่าที่ตนเองเคยเรียนรู้มา (ผิดๆ) ว่ านั่นเป็นมรรคผลนิพพานจริงๆ แต่นั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่างนี้ก็มี

    เพราะฉะนั้นนี่แหละที่อาตมาบอกว่า นิพพานมิจฉาทิฏฐิของคนที่สอนสืบต่อๆ กันมาก็มีอยู่

    อาจมีคนค้านว่านิพพาน ต้องของจริงอย่างเดียวสิ บางครั้ง คนเกิดมาในยุคในสมัย หรือในครอบครัวหรือในสังคมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ พูดเรื่องนิพพาน เราก็เห็นดีด้วย เราก็เลยตามดุ่ยเลย อย่าลืมว่ามิใช่ว่าสัตวโลกทุกผู้ทุกนาม ทุกชาติ ทุกศาสนา จะรู้เรื่องนิพพานแจ่มแจ้งดีแล้ว แท้ที่จริง ผู้รู้จริงก็มีแต่พระพุทธเจ้า พระอรหันตเจ้า และพระอริยเจ้า ในพระธรรมวินัยนี้ คือในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น

    แต่สัตวโลกทั้งหลายมีความต้องการตามคุณสมบัติพระนิพพานที่จริงแท้ๆ นั่นแหละคือ ไม่อยากมีทุกข์ ไม่อยากแก่-เจ็บ-ตาย อยากจะมีแต่ความสุขอันถาวรนิตย์นิรันดร์

    มีใครอยากจะตายมั่ง มีมั้ย ? อยากจะเที่ยงกันทุกคน ใครอยากได้รับความทุกข์บ้าง มีไหม ? ก็ต้องการความสุขด้วยกันทุกคน

    ต้องการความเที่ยงเป็นสุข และต้องการยั่งยืน คือไม่รู้จักตาย ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ว่ามนุษย์ ไม่ว่าเทวดา พรหม อรูปพรหม ล้วนต้องการคุณลักษณะของพระนิพพานแท้ๆ อย่างนี้ทั้งนั้น แต่ว่าไม่รู้จักพระนิพพานของจริงในพระพุทธศาสนา ทีนี้ ก็แล้วแต่ใครจะพูดจะแนะนำสั่งสอนอะไรไปผิดๆ ถูกๆ นี่แหละ “นิพพานมิจฉาทิฏฐิ” คือไม่รู้จัก พระนิพพาน ที่แท้จริง

    ที่อาตมาให้อธิษฐานแต่ละคำนั้น มีความหมายทั้งหมด ไม่ใช่ว่าพอดีพอร้าย ไม่ใช่ธรรมดา ไม่ใช่สักแต่พูด อาตมาจึงให้เน้นตรงนั้นตรงนี้ อย่างนั้นอย่างนี้ โปรดเข้าใจนะ

    สรุปว่า ถ้ามั่นใจว่าเรามีบุญบารมีพอ ก็อธิษฐานเช่นนั้นได้ แบบพระพุทธเจ้า แต่ถ้าไม่มั่นใจก็ไม่ต้องอธิษฐานอย่างนั้นหรอกครับ อธิษฐานอย่างที่หลวงพ่อท่านสอนให้อธิษฐานนั่นแหละ นี้แหละมันปลอดภัยที่สุด อธิษฐานตามนั้นแหละว่า

    “ขอบารมีทั้งหลายเหล่านั้น จงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร”

    คืออย่างไร ? ก็คือมาเป็นตัวเรานั่นแหละ พูดกันง่ายๆ ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้นมาเป็นตัวเรา บุญบารมีที่บริสุทธิ์ผ่องใส จะมาเป็นตัวเรา คือกายเนื้อนี้ได้อย่างไร เป็นไม่ได้ มาเป็นธรรมกายละก็ได้ เข้าใจไหม ?

    คำอธิษฐานของหลวงพ่อเป็นอย่างนี้ ทีนี้อาตมาก็เลยคิดว่า อาจจะมีโยมที่อาจจะไม่ค่อยรู้ความหมาย อาจจะมีพระไม่ค่อยรู้ เณรไม่ค่อยรู้ ก็เลยบอกให้ละเอียดลงไปหน่อยว่า “จงมาช่วยประคับประคองใจให้หยุดให้นิ่ง” เพราะถ้าใจไม่หยุดไม่นิ่งๆ ก็ไม่ถึงพระ ใจต้องหยุดต้องนิ่งจึงถึงพระ คือ ต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์ก่อน

    วิธีการปฏิบัติภาวนาให้ใจสงบ ให้หยุดให้นิ่งอย่างนี้ ผิดหรือถูกล่ะ เมื่อรู้ว่าถูกแล้วก็ไม่ต้องไปคิดมาก เดินหน้าอย่างเดียว ลุยอย่างเดียว ลุยไปจนตาย แล้วก็ได้เห็นเองเป็นเองเท่านั้นแหละ

    เราพิจารณาดูว่าทางปฏิบัตินั้นถูกมั้ย ถ้าถูกแล้วก็ทำไปเลย แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นว่าทางนี้ไม่ถูก ถ้าไม่ถูกก็เปลี่ยนหรือปรับปรุงให้มันถูก ก็เท่านี้แหละ

    อาตมาใช้อย่างนี้ เพราะฉะนั้นหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านจึงสอนว่า “ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก ประกอบในเหตุ สังเกตในผล ทนเอาเถิด ประเสริฐดีนัก” ก็คือว่าปฏิบัติไปก็พิจารณาดูเหตุ ดูผลไป คอยประคับประคองใจของเราให้ถูกทางว่า ทำแล้วได้ผลไหม อย่างนี้ๆๆ ถ้าไม่ได้ผล เป็นเพราะเราไม่ถูกต้องตรงไหน เราก็ปรับตรงนั้นซะ

    จุดหมายปลายทาง ก็ต้องการให้ใจหยุด จะให้ใจหยุดตรงไหน ? ก็ให้หยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม หยุดตรง นั้นแล้วได้อะไร ? หยุดแล้วถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย

    ถ้ามีคนถามว่านั่นนิมิตนี่ บอกเขาไปว่า คุณรู้จริงหรือเปล่าว่า นิมิตเป็นอย่างไร ?

    ถ้าเขาว่า นั่นปฏิภาคนิมิตยังไงล่ะ เห็นเป็นดวงใสเหมือนกัน ก็บอกเขาไปว่า “ใช่”

    แต่นี่เมื่อเห็นดวงใสตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น “ใจ” คือ เห็น จำ คิด รู้ (ที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม เมื่อใจหยุดตรงนั้นถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางนั้นก็ขยายว่างออกไป เราจะสังเกตเห็นหรือไม่เห็นก็แล้วแต่ แต่ศูนย์กลางตรงนั้นขยายว่างออกไป ขยายออกแล้ว แวบเดียวที่เรารู้สึกหวิวนิดหนึ่งนั่นแหละ ก่อนที่เราจะเห็นดวงใสดวงใหม่ พอขยายออก จิตดวงเดิมตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 จิตดวงเดิมนั่นละปฏิภาคนิมิต นั่นไปแล้ว แล้วก็ปรุงเป็นจิตดวงใหม่ ตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใหม่ ลอยเด่นขึ้นมาใสแจ่ม ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อีก ที่เห็นใสแจ่มลอยเด่นมานี้ ไม่ใช่ปฏิภาคนิมิตดวงใหม่แล้ว แต่เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายดวงใหม่ มีใจตั้งอยู่ตรงกลางนั้น ใสแจ่มขึ้นมา และมีความแตกต่างจากดวงใส ที่เป็นปฏิภาคนิมิตดวงเดิม

    กล่าวคือ ดวงใสดวงใหม่ จะปรากฏธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 (คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม 4 อย่าง) ไม่ใช่เห็นดวงเฉยๆ แต่ยังมีธาตุละเอียดข้างในอีกคือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม ตรงกลางเป็นอากาศธาตุ (เป็นที่ 5) ตรง กลางอากาศธาตุมี “วิญญาณธาตุ” ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของนามขันธ์ 4 (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หลวงพ่อถึงบอกว่า “ถ้าธาตุทั้ง 6 ไม่ประชุมกัน ปฐมมรรคก็ไม่เกิด”

    เพราะฉะนั้น ที่เราเห็นคือ “ดวงปฐมมรรค” หนทางเบื้องต้นไปสู่มรรคผลนิพพาน หรือ “ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย” หรือ “ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เพราะเราสามารถจะเข้าถึงและรู้เห็นกายในกาย เวท นาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบไปสุดละเอียดได้ตรงนั้นเอง จึงชื่อว่าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    เพราะฉะนั้น คำพูดของหลวงพ่อ ธรรมะของหลวงพ่อลึกซึ้งอย่างนี้

    เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็พิจารณาดูซิว่าวิธีของท่านผิดหรือถูกล่ะ ? เราพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และก็เห็นธรรมในธรรม คือว่าเมื่อใจหยุดนิ่ง จิตไม่สังขาร (ไม่ปรุงแต่ง) ก็เป็นกุศลธรรม เป็นบุญผ่องใส และค่อยๆ แก่กล้าไป จนกระทั่งถึงเป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี ละเอียดเข้าไปสุดละเอียด จาก “มนุษยธรรม” ถึง “เทวธรรม” “พรหมธรรม” และถึง “พุทธธรรม” คือ ธรรมกาย ณ ที่สุดละเอียดของธรรมกาย ก็ คือ อายตนะนิพพาน ได้รู้เห็นไปตลอดอย่างนี้ เป็นขั้นเป็นตอนอย่างนี้ ผิดหรือถูกล่ะ เมื่อเราได้พิจารณาโดยแยบคายรู้ว่าถูกทางแล้ว ก็จงเพียรปฏิบัติไป เดินหน้าลูกเดียว แต่ถ้าเราพิจารณาเห็นว่า ทางไม่ถูกหรอก เอ้า! ไม่ถูกก็ไม่ถูก ไม่ว่ากัน

    เพราะฉะนั้น ข้อนี้ไม่ต้องอธิษฐานอย่างนั้น แต่ถ้ามั่นใจว่า บุญบารมีของเรามีพอ เอาละ ! อธิษฐานได้ แบบพระพุทธเจ้า หลวงพ่อท่านก็อธิษฐานนะ อธิษฐานอย่างที่พระสมุห์ท่านว่าเมื่อกี้นี้ ก็แสดงว่าท่าน (พระสมุห์ เขียน) มีบุญ ท่านถึงได้เห็นได้ เห็นเพียงแวบหนึ่งนี่ หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านว่าเห็นเพียงแวบหนึ่ง ก็ใจหยุดเพียงแวบหนึ่ง “เท่าช้างกระดิกหู” ช้างกระดิกหูเป็นอย่างไร ? เพียงกระพริบตาเดียวเท่านั้นแหละ หรือว่า “เท่างูแลบลิ้น” แวบเดียวเท่านั้น นั่นบุญใหญ่กุศลใหญ่ยิ่งกว่าการสร้างโบสถ์วิหารการเปรียญเสียอีก เพราะเป็นทางมรรคผลนิพพาน คือได้สัมผัสได้ลิ้มรส ได้รู้ว่า “นิพพาน” บริสุทธิ์ผ่องใส คือ ใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส ได้สัมผัสธรรมที่ละเอียดสุขุมลุ่มลึก อย่างนี้ทางนี้แหละเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลาง โดยทางปฏิบัติไม่ใช่ปริยัติ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็อยู่ที่นี่ อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ อริยมรรคมีองค์ 8 ก็อยู่ที่นี่ ไม่ได้อยู่ที่ไหน ไม่ได้อยู่ที่ห้องสมุด ไม่ได้อยู่ที่คัมภีร์ แต่อยู่ตรงที่ใจหยุด ใจนิ่ง ตรงกลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายหรือปฐมมรรคนี้

    เพราะฉะนั้น พระพุทธรูป พระประธานบนศาลาอเนกประสงค์นี้ นี่เป็นพระปางปฐมเทศนา ซึ่งมีปริศนาธรรมอยู่ เห็นไหมล่ะ ? นิ้วชี้ซ้ายนี่ชี้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี้บอกตำแหน่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย เป็นปางปฐมเทศนา ที่พระพุทธเจ้ากำลังโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ทรงอุทานว่า “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ - โกญฑัญญะเห็นแล้วหนอ” ที่เราสวดธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

    เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ซึ่งมีอาการเกิดดับๆ หลวงพี่สมุห์ท่านก็เห็นนะ ลองพิจารณาตามที่ผมได้เล่าให้ฟังนี้ดูก็แล้วกันนะครับ

    คำถามที่ท่านถามมานี้ก็พิจารณาเอาเองก็แล้วกันว่า สมควรจะปฏิบัติ (อธิษฐาน) อย่าง ไร ผมคงจะไม่ต้องไปชี้ว่าต้องทำอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้ แต่ขอให้พิจารณาเอาเองว่า เมื่อใดสมควรจะปฏิบัติ คือจะอธิษฐานอย่างไร ? จึงจะเหมาะสมแก่บุญบารมีของตนๆ ก็ดำเนินไปตามนั้น.
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    เกี่ยวกับบริกรรมนิมิต เมื่อใดจะได้นิมิตสักที เพราะกำหนดบริกรรมนิมิตไม่ได้ จะบริกรรมภาวนาอย่างเดียวจะเกิดผลหรือไม่ ?
    ตอบ:

    จะภาวนาอย่างเดียวก็ได้ แต่ว่าถึงอย่างไร ใจต้องมีที่ตั้ง เพราะใจเรานั้น เห็นด้วยใจ เห็นที่ไหนใจอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้น ต้องให้เห็นอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ใจจึงจะอยู่ที่นั่น

    การนึกบริกรรมนิมิตให้เห็นด้วยใจ ณ ภายใน ซึ่งจะได้ผลดีเป็นของยาก ถ้านึกนิมิตอยู่ภายนอก มักเห็นได้ง่ายกว่า แต่เมื่อใครนึกอยู่ ณ ภายในได้จะได้ผลดีที่สุด เพราะเมื่อใจหยุดตรงนั้น ถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ เมื่อถูกแล้ว เราจะสามารถเข้าถึงธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้โดยสะดวก และไปถึงธรรมกายถึงพระนิพพาน
    เรารู้ว่าจุดนี้เป็นจุดที่เที่ยงตรง เห็นหรือไม่เห็น จงทำต่อไปจนกว่าจะเห็น แต่ถ้านึกไม่เห็นปวดเมื่อยเหนื่อยใจหนักหนา ก็นึกให้เห็นจุดเล็กใสเข้าไว้เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ใจเข้าอยู่ ณ ภายใน การนึกให้เห็น อย่าไปคิดว่าสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่นึกเอา "นึกให้เห็น" เป็นอุบายเบื้องต้น ใจประกอบด้วยความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ มารวมกันเป็นจุดเดียวกันตรงเห็นนั้น เพราะฉะนั้นความจำเป็นในเบื้องต้นที่นึกให้เห็นจึงต้องทำ

    แต่อุบายวิธีที่เราจะให้เห็นตรงนั้นก็ต้องปล้ำกันหลายเพลง เช่นว่า นึกดวงไม่เห็น อาจจะนึกองค์พระก็ได้ หรือนึกง่ายๆ คือนึกว่าในท้องมีลูกแก้วลูกหนึ่ง ประมาณเอา คือใจจะค่อยปรับตัวจนหยุดนิ่ง นี่เป็นอุบายอย่างหนึ่ง อาจจะต้องใช้อุบายหลายเพลงเช่นกันกว่าจะเห็นได้ แม้กระทั่งดวงไฟตรงไหนที่ไหนที่เห็นกลมๆ ก็นึกดวงให้สว่างอยู่ข้างในท้อง ซึ่งใช้ได้เช่นกัน ถ้านึกอย่างนั้นไม่ได้ให้ท่อง "สัมมา อรหังๆๆๆ" ไปตรงกลางจุดศูนย์กลางนึกให้เห็นจุดเล็กใส นิ่งๆ ไว้ พอนึกเห็นตามสบาย อย่าอยากเห็นจนเกินไป จนไม่ได้เห็น เพราะเพ่งแรงเกินไป จิตที่จะเห็นต้องพอดีๆ เหมือนกับที่ท่านทั้งหลายลองเอาปิงปองวางอยู่ในน้ำ จะกดปิงปองให้จม ในน้ำได้โดยวิธีไหน อุปมาอย่างนั้นฉันใด การเลี้ยงใจให้หยุดให้นิ่ง และจะได้เห็นเองก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน แต่ถ้าจะนึกให้เห็น พอไม่เห็นอึดอัดโมโหหรือหงุดหงิดอย่างนี้ไม่มีทางเห็น ทำให้เป็นธรรมดา เห็นก็ช่างไม่เห็นก็ช่าง ความจะเห็นต้องประกอบด้วยใจสบาย ละวางให้หมด เรื่องในอดีต ปัจจุบัน อนาคต แม้ตัวเราก็ต้องละให้หมด วางใจนิ่งๆ พอดีๆ ใจสบายๆ ก็จะเห็นได้ง่าย

    อีกวิธีหนึ่ง ก่อนนอนจะหลับให้ท่อง “สัมมาอรหังๆๆ” นึกเบาๆ ท่องไป พอใจจะหลับ สภาพของใจจะตกศูนย์ ความรู้สึกภายนอกจะหมดไป จะเหลืออยู่แต่ข้างใน พอจิตตกศูนย์ ดวงธรรมดวงใหม่จะลอยขึ้นมาที่ศูนย์กลางกาย ใสสว่างอยู่ตรงนั้นก่อนหลับ แล้วก็เผลอสติหลับไป เห็นตรงนั้นจับให้ดี พอเห็นดวงก็เข้ากลางของกลาง หยุดในหยุดนิ่งก็จะสว่าง นี่จะเห็นของจริงก็จะไม่หลับ จะรู้เลยว่าเมื่อวิตกวิจาร คือเห็นดวงสว่างระดับอุคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิตแล้วนั้น ความง่วงเหงาซึมเซาจะหมดไป กิเลสนิวรณ์หมดไปในขณะนั้น ช่วงจะหลับสามารถจะเห็นได้ง่าย


    ช่วงจะตื่นถ้าเคยตื่น 6 โมงเช้า ลองตื่นตีห้าครึ่ง พอตื่นแล้วไม่ตื่นเลย คือไม่ลุกขึ้นทันที ตายังหลับอยู่แต่ใจเราตื่น ดูไปที่ศูนย์กลางกายจะเห็นดวง ทำไมจึงเห็น เพราะใจคนเพิ่งตื่นใหม่ๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายลอยเด่น ยังเห็นได้อยู่ พอเห็นแล้วเราเอาอารมณ์นั้นมาสู่ใจเรา ทำบ่อยๆ ก็จะเป็น เมื่อถึงเวลาก็เป็นเอง บางทีอาจเห็นธรรมกายใหญ่มาก ขณะเดิน นั่ง ปกติธรรมดา อารมณ์สบาย ใจเป็นบุญเป็นกุศล ใจก็สบาย พอใจสบายก็จะเห็น ใจสบายด้วยบุญกุศลแตกต่าง กับการสบายด้วยกามคุณคือได้นั่นได้นี่ตามที่เราอยากได้ อันนั้นไม่สบายอย่างที่เราสบายอย่างนี้ การสบายด้วยบุญคือสบายเฉยๆ และลองกำหนดเห็นศูนย์กลางก็จะเห็นเป็นดวงใสได้โดยง่าย ต้องทำบ่อยๆ เนืองๆ แม้อาตมาเองถ้าไม่ทำบ่อยๆ เนืองๆ ก็จะจาง ต้องทำบ่อยๆ จึงดี
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    เห็นตัวเราในนิมิตศูนย์กลางกาย ?
    ดวงนิมิตในศูนย์กลางกายยังไม่ใส แต่เห็นตัวเราในนิมิตศูนย์กลางกาย จะปฏิบัติอย่างไร ? และนิมิตตัวเราให้เห็นชัดขึ้น เจริญขึ้นอย่างไรบ้าง ?




    ตอบ:

    ที่เห็นนิมิตยังไม่ใส ควรปฏิบัติเช่นนี้

    1. หากใจยังไม่หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ให้หยุดนิ่ง กริ๊กลงไป ให้นึกในใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง นิดเดียว พอใจหยุดนิ่งถูกส่วน จะใสขึ้นมาทันที นี่ข้อที่หนึ่ง

    2. เมื่อศูนย์กลางขยายออก ใสพอสมควร ก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียด ถึงแม้จะยังเห็นไม่ใสก็ไม่เป็นไร มีอุบายวิธีทำอย่างนี้ ละอุปาทาน ละความรู้สึกที่เนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ ไม่สนใจ ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้น แม้เห็นไม่ชัด แม้เห็นลางๆ ก็ทำความรู้สึกว่าเป็นกายละเอียดนั้น ใจจะละจากอุปาทานในกายหยาบ เข้าไปเป็นเวทนา จิต ธรรมของกายละเอียด เมื่อใจกำหนดหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางกาย ก็จะเห็นดวงธรรมใสสว่างขึ้น กลางของกลาง หยุดในหยุด กลางของหยุด ให้ใสสว่างขึ้น จะใสสว่างทั้งดวงและทั้งกาย และองค์ฌานแล้วใจก็ หยุดในหยุดเรื่อยไป ดับหยาบไปหาละเอียด หยุดนิ่ง ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายละเอียดอื่นๆ ก็จะปรากฏขึ้นมาใหม่ ให้จำไว้เลย ดับหยาบไปหาละเอียด ทำความรู้สึกเป็นกายละเอียดต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของกลาง ให้ใสสว่างทั้งดวงทั้งกาย และองค์ฌาน

    เราจะเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ที่ผ่องใส สวยงามโตใหญ่ขึ้นกว่าเดิมไปตามลำดับจนถึงธรรมกาย แต่ว่าดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของแต่ละกายในภพ 3 นั้น เนื่องจากยังมีอวิชชานุสัย หุ้ม “ดวงรู้” กามราคานุสัยหุ้ม ” ดวงคิด” ปฏิฆานุสัยหุ้ม “ดวงเห็น” อยู่ เพราะฉะนั้น ดวง เห็น จำ คิด รู้ ที่ตั้งอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมนั้น จึงยังไม่เบิกบาน คือ ยังไม่ขยายโตเต็มกาย แต่ว่าขยายโตขึ้นในระดับหนึ่ง เช่นของกายมนุษย์จะประมาณฟองไข่แดงของไข่ไก่เท่านี้ สำหรับผู้ที่จะสามารถเจริญกัมมัฏฐานได้ แต่ถ้าใครเห็นดวงเล็กขนาดนิดเดียว เท่าดวงดาว คนนั้นชาตินี้เจริญกัมมัฏฐานสำเร็จได้ยาก บางท่านเห็นดวงโต อย่างโตเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ขึ้นอยู่ที่บุญบารมีของแต่ละท่านที่บำเพ็ญมาแล้วไม่เหมือนกัน ของกายทิพย์เป็น สองเท่าของกายมนุษย์ ของกายรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายทิพย์ ของกายอรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายรูปพรหม

    เพราะเหตุไร ?

    เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่หุ้มซ้อนอยู่นั้นค่อยๆ จางหมดไป ด้วยการรวมใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยๆ เราจึงถึงคุณธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่ากันไปตามลำดับ จากมนุษย์ธรรมไปถึงเทวธรรม ถึงพรหมธรรม อรูปพรหมสุดละเอียด ของคุณธรรมของกายในภพ 3 ก็จะถึงธรรมกาย

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี้จึงเบิกบานเต็มที่ เต็มธาตุเต็มธรรม หมายความว่า ดวงธรรม และดวงเห็น จำ คิด รู้ ของธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู แม้จะมีขนาดหน้าตักและความสูงเพียง 4 วาครึ่ง แต่เส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม และเห็น จำ คิด รู้ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนั้น ขยายโตเต็มส่วนเต็มธาตุเต็มธรรม คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย จากธรรมกายโคตรภูไปสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ก็เป็นอย่างนี้.
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    #อย่าไปหลงเชื่อตามกิเลสของผู้ใด
    ที่กล่าวหาว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    เลิกปฏิบัติและเลิกสอนวิชชาธรรมกาย
    #เพราะไม่เป็นความจริง

    ใครเอาไปกล่าวอย่างอื่นน่ะ ทำไมต้องเอามากล่าว ท่านต้องถามตัวเอง ว่าทำไมต้องเอามากล่าว
    #ทำไมต้องเอามาติฉินนินทากัน
    #ถ้าเผื่อว่าของตนดีจริงไม่ต้องไปกลัวใคร

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ หรือผู้ปฏิบัติในสายสัมมาอะระหัง หรือในสายปฏิบัติธรรมกายนี่ ไม่มีใครไปตำหนิติฉินใครอื่นเลย
    เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ สาธุชนทั้งหลาย
    แม้พระมหาเถระ พระเถรานุเถระ โปรดทราบ

    #กระผมขอยืนยันว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    #ท่านปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน_๔
    #ถึงธรรมกาย_ถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
    โดยการศึกษาสัมมาปฏิบัติ
    อบรมกาย วาจา และใจ
    โดยทาง #ศีล_สมาธิ_ปัญญา
    ให้ถึง #อธิศีล_อธิจิต_อธิปัญญา
    ให้ถึง #ปฐมมรรค_มรรคจิต_มรรคปัญญา
    ธรรมโคตรภู โสดา พระสกทาคา พระอนาคา พระอรหัต
    ถึงเข้าไปรู้ไปเห็นธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    ในอายตนะ คือ พระนิพพาน
    อันนี้อาตมาหรือเกล้ากระผม ขอยืนยันนะครับ

    พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล
    หรือหลวงป๋า เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

    -------------------------------------------------------------------------



    "คนเช่นเราไม่ใช่ไร้ปัญญา ชั่วก็รู้ ดีก็เห็น
    เราจะฆ่าตัวเราเองเพราะความปรารถนาลาลกทำไม
    ที่เขาพูดหาว่าเราอย่างนั้น บางคนคงจะไม่รู้จักคำว่า“ธรรมกาย” มีอยู่ที่ไหน หมายเอาใคร
    เขาอาศัยความไม่รู้มาว่าเราผู้ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    เมื่อผู้ไม่รู้มาติเตียนเรา ความไม่รู้ของเขาจะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ถ้าจะกลบก็กลบได้เพียงชั่วคราว ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนาก็จะเปล่งรัศมีให้ผู้มีปัญญาเห็นด้วยสายตาของตนเอง การที่เขานำไปพูดเช่นนั้น เป็นผลแห่งการปฏิบัติที่เราได้กระทำกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าคณะวัดปากน้ำไม่ได้กินแล้วนอน เป็นสำนักที่เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม การที่เขานำไปพูดเช่นนั้น เท่ากับเอาสำนักเราไปเผยแพร่ ดีเสียกว่าการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เพราะการที่เขานำไปพูดเช่นนั้นเป็นการกระทำของผู้พูดเอง เราไม่ได้จ้างไม่ได้วานใคร เมื่อพูดทางไม่ดีได้ก็ต้องมีคนพูดทางดีได้เหมือนกัน ธรรมจะต้องชนะอธรรมเสมอ เราไม่ต้องเดือดร้อนใจ เพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นความจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณพระพุทธศาสนา"

    หลวงพ่อสด จันทสโร
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=702c6f31d7069fbbe8c630d8df5b3082.jpg

    ถามว่า ในปัจจุบันนี้ ถ้าว่ากันตามหลักการ ปฏิบัติแบบมโนมยิทธิมีสายปฏิบัติไหนที่ใกล้เคียงที่สุดต้องบอกว่าแบบธรรมกายใกล้เคียงที่สุด
    ธรรมกายนั้นจริงๆแล้วเป็นต้นแบบของมโนมยิทธิ เนื่องจากว่า ธรรมกายนั้นมีพื้นฐานมาจากกสิณ โดยเฉพาะอาโลกกสิณ คือการกำหนดลูกแก้ว ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นการใช้ผลของกสิณ คิดให้ดีๆนะ อย่างหนึ่งเริ่มตั้งแต่สร้างเหตุ ส่วนอีกอย่างหนึ่งใช้ผลเลย

    ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน ธรรมกายจะเริ่มตั้งแต่ถมพื้นที่ ออกแบบ วางแปลน เทฐานรากขึ้นมา จนกระทั่งสร้างเป็นบ้านเสร็จ เรียบร้อย ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นลูกคนรวย ควักเงินในกระเป๋าไปซื้อบ้านสำเร็จรูป ก็มีที่อยู่เหมือนกันใช่ไหม แต่ถ้าเอาพื้นฐานแล้วจะสู้ธรรมกายไม่ได้ เพราะว่าธรรมกายเริ่มจากนับหนึ่งมาเลย จะมีความมั่นใจกว่ามาก เพราะเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน

    แต่ถ้าหากเราซักซ้อมจนคล่องตัวท้ายสุดก็จะเหมือนกัน เพราะว่ามาจากหลักเดียวกัน คือพื้นฐานของกสิณ เพียงแต่ว่ามโนมยิทธินี้ในอดีตเราทำได้ ปัจจุบันไม่ได้ทำ ก็แค่มาย้อนทวนของเก่า มีเงินเต็มกระเป๋าแต่เปิดใช้ไม่เป็น ครูจะมีหน้าที่บอกว่า ต้องเปิดกระเป๋าอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าธรรมกายนี่เราต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ หาเงินมาเองเลย เพราะฉะนั้น.....พื้นฐานจึงแน่นกว่ามาก....

    ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ....พระจูฬปันถกเถระ....พระบาลีบอกว่า มโนมยิทธิของพระ จูฬปันถกเถระ นี้ เป็นเอตทัคคะ คือเลิศที่สุดในหมู่สาวกทั้งปวงของพระพุทธเจ้า สามารถถอดกายในออกมาอยู่ตรงหน้าของตัวเองได้เหมือนอย่างกับถอดใส้หญ้าปล้องหรือว่าชักดาบออกจากฝักกลายเป็นอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างหน้าเลยและท่านสามารถกำหนดได้มากถึง 1,000 องค์ แล้วทั้ง1,000 องค์นั้นสามารถทำงานคนละอย่างกันด้วย

    จากหนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ หน้า 62/63 พระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535

    temp_hash-82c0e9b3001cd9efaf50716f1c50d920-jpg.jpg





    สัจจกิริยคาถา เทศนาธรรม โดย หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จันทสโร)


    สัจจกิริยคาถา





    3 กรกฎาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ พุทฺโธ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ธมฺโม เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
    เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา เย จ พุทฺธา อนาคตา
    โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน
    สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน วิหรึสุ วิหาติ จ
    อถาปิ วิหริสฺสนฺติ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา
    ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน มหตฺตมภิกงฺขตา
    สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ.
    ณ บัดนี้ จักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย สัจจกิริยคาถา วาจาเครื่องกล่าวในการกระทำ สัจจะ เรียกว่า สัจจกิริยคาถา วาจาเครื่องกล่าวในการกระทำสัจจะนั้น สัจจะต้องแสวงหา ความจริง หญิงก็ดี ชายก็ดี ถ้าว่าเป็นคนจริงอยู่แล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมีสาระแก่นสาร หรือ ภิกษุสามเณรก็ดี ถ้าว่าเป็นภิกษุสามเณรที่จริงอยู่แล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสาระแก่นสารจริง นี่แหละเป็นที่มั่นหมายของพระศาสดาจารย์ทุกๆ พระองค์ ที่ล่วงไปแล้วมากน้อยเท่าใด สำเร็จด้วยความจริงทั้งนั้น ที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคหน้าเท่าใดก็สำเร็จด้วยความจริง ซึ่งปรากฎอยู่ในบัดนี้ ก็สำเร็จด้วยความจริง ความจริงอันนี้แหละ หญิงชาย คฤหัสถ์ บรรพชิตทุกทั่วหน้า ควรให้มีในสันดานของตน ถ้ามีความจริงอยู่แล้ว ถึงจะแก่เฒ่าชราสัก เท่าใดก็ตามเถิด ได้ชื่อว่าเป็นคนมีแก่นสาร ถึงจะตั้งอยู่ในวัยปานกลางก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมี แก่นสาร ถึงจะตั้งอยู่ในวัยเป็นเด็ก ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนมีแก่นสาร ความจริงอันนี้เป็นบารมี ของพระพุทธเจ้าที่ได้สั่งสมอบรมมาทุกๆ พระองค์ จะเว้นเสียสักพระองค์หนึ่งไม่ได้เลย เว้นความจริงแล้วเป็นอันไม่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าทีเดียวอย่างแน่นอน เหตุนี้เราท่าน ทั้งหลาย หญิงชายคฤหัสถ์ บรรพชิตทุกทั่วหน้า เมื่อรู้จักหลักที่จริงนั่นเป็นอย่างไร ตาม วาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นเป็นตำรับตำราว่า นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี พุทฺโธ เม สรณํ วรํ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการ กล่าวคำสัจนี้ โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี ธมฺโม เม สรณํ วรํ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวคำสัจนี้ โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ ท่านทุกเมื่อ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี สงฺโฆ เม สรณํ วรํ พระสงฆ์เป็น ที่พึ่งอันประเสริฐของเรา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวคำสัจนี้ โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    นี่เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้ นี่เป็นหลักสำคัญ ที่จะแสดงสัจจกิริยคาถานี้เพราะเนื่องมาจากสัปดาห์ก่อนๆ โน้น สัปดาห์ต้นวันอังคารเมื่อ เข้าพรรษา แสดงถึงธรรมขาวกับธรรมดำ ซีกดำให้ละเสีย ซีกขาวให้เจริญต่อไป ซีกดำเป็น ปหาตัพพธรรม ซีกขาวเป็นภาเวตัพพธรรม และให้พิจารณากายวาจาใจของตนด้วยตน ของตนเอง ไม่มีชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ตัวเองพินิจพิจารณาแล้วว่าเสียหายพิรุธ อย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ คนอื่นจะพินิจพิจารณาด้วยใจของตน หาความเสียหายไม่ได้ แม้ ทั้งตนและบุคคลอื่น ทั้งพินิจพิจารณาด้วยปัญญาด้วย ก็ไม่เห็นความพิรุธเสียหายอย่างหนึ่ง อย่างใด เห็นความดีชัดๆ นั่นแหละ ให้รักษาความดีอันนั้น ไม่ให้กระจัดกระจาย ให้แน่นอน ในขันธสันดาน นี่ในขั้นต้นเมื่อเข้าพรรษา กัณฑ์ที่ 2 รองมา ให้เคารพพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ แล้วแสดงให้รู้จักพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ด้วย

    วันนี้ ในสัจจกิริยคาถานี้ เพราะเราท่านทั้งหลายทุกทั่วหน้า อยากหาที่พึ่งกันนัก ที่ว่าไม่รู้ที่พึ่งจริงอยู่ที่ไหน ที่พึ่งจริงนี่แหละเป็นตัวสำคัญนัก เข้าใจว่าเงินเป็นที่พึ่ง ทองเป็น ที่พึ่ง หาเงินหาทองไปแล้วก็ตาย ไม่เห็นติดตัวไปสักนิดเดียว หาเงินหาทองได้แล้ว ไม่ติดตัว ไปเลย นี่เข้าใจว่าเงินทองเป็นที่พึ่งแล้วนะ บางพวกคิดไปอีกว่า เป็นตายก็ได้ภรรยาสักคน เถิด จะได้พึ่งพักพาอาศัยกันและกัน เอ้า! พอได้ภรรยาแล้ว ได้ลูกอีกคนเถิด จะได้พึ่งพา อาศัยลูกต่อไป ผู้หญิงก็เช่นนั้น ได้สามีสักคนเถิด จะได้พึ่งสามีต่อไป พอได้สามีแล้ว ได้ ลูกสักคนสองคนเถิด จะได้พึ่งลูกต่อไป แล้วลงท้ายเป็นอย่างไรบ้าง ถามท่านยายท่านตา ดูบ้างซิ ท่านก็รู้หรอก ท่านบอกว่าเหลวทั้งนั้น ไม่ใช่ที่พึ่งจริงอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่พึ่งเลว เหลวไหลทั้งนั้น เหตุนี้แหละที่พึ่งแน่แท้แน่นอนทีเดียวนั้นพึ่งอื่นไม่ได้ พึ่งอื่น พระพุทธเจ้า ไม่ทรงรับสั่งเลย รับสั่งว่าพึ่งตัวของตัวนี่แหละ ที่ทรงรับสั่งว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตน นี่แหละเป็นเกาะ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตัวนี่แหละเป็นที่พึ่งของตัว สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ บริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์เฉพาะตัว นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย บุคคลอื่นทำบุคคลอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องตัวของตัวเองจึงได้ ตัวของตัวเองรักความบริสุทธิ์ก็ทำความบริสุทธิ์ของตัวได้ ตัวเอง รักความบริสุทธิ์แต่ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัวก็บริสุทธิ์ไม่ได้ ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัวก็ชื่อว่าไม่รักตัว ลงโทษตัวอย่างขนาดหนัก เมื่อทำความบริสุทธิ์ให้แก่ตัวแล้ว ช่วยตัวเองอย่างขนาดหนัก ทำความไม่บริสุทธิ์ใส่ตัว เหมือนเรามีผ้าที่สะอาด เอาของโสโครกมาประพรมเสีย ผ้านั้น เป็นอย่างไรบ้าง ผ้าที่สะอาดนั้นก็ดูไม่ได้ กลายเป็นของเลวเกวไป คนที่สะอาด คนที่ดีๆ แท้ๆ คนที่บริสุทธิ์แท้ๆ ไปประพฤติชั่วเข้าเป็นอย่างไร ก็เหมือนผ้าเปื้อนสกปรกนั่นแหละ ใช้ไม่ได้ดุจเดียวกัน ต้องรักษาความสะอาดนั้นไว้ พระองค์ทรงรับสั่งว่า อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา นาญฺญสฺสรณา ว่าตัวนี่แหละเป็นเกาะ ตัวนี่แหละเป็น ที่พึ่งของตัว สิ่งอื่นไม่ใช่ ธรรมนั่นแหละเป็นเกาะ ธรรมนั่นแหละเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ รับสั่ง อย่างนี้ บัดนี้ในสัจจกิริยคาถาท่านยกขึ้นไว้ว่า นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี พุทฺโธ เม สรณํ วรํ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา อ้าวรู้หละ พระพุทธเจ้าเป็น ที่พึ่งอันประเสริฐของเรา พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอัน ประเสริฐของเรา เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราแท้ๆ แล้วจะคิดว่ากระไร พระพุทธเจ้าเป็น ที่พึ่งอันประเสริฐของเราละ เราจะเอาใจเข้าจรดในรูปพระปฏิมากรนี่หรือ รูปพระประธาน ในโบสถ์นี่หรือ นั่นหรือคือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน หรืออยู่ในตัวเรา หรือนอกตัวเรา คิดดูซิว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ที่เรานับถือพระพุทธเจ้า เอาหละ จะเอาใจไปเข้าที่ไหน จรดเข้าที่พระปฏิมากรนี่หรือ หรือนับถือพระธรรม พระธรรม เป็นที่พึ่งของเรานั่น เอาใจไปจรดในพระธรรมในตู้ในใบลานนั่นหรือ นับถือพระสงฆ์นั่นหรือ เอาใจไปจรดเข้าที่ตรงนุ่งเหลืองสมมตินี่แหละ หรือว่ากระไรกัน นึกดูซิ ท่านตาท่านยาย เชียวนะ กล่าวเข้าอย่างนี้ละก็ ท่านตาท่านยายงง ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังนั้นงง เอ! นี่จะเอา ใจไปจรดที่ใดแน่ จึงได้ถูกพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือโน้น เอาใจเข้าที่พระสิทธัตถราชกุมาร ที่กรุงกบิลพัสดุ์ ผู้เป็นโอรสพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา ที่ได้ดับ ขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ที่เมืองกบิลพัสดุ์โน้น ไปจรดเข้าที่พระพุทธเจ้าตรัสปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั่นหรือ หรือว่าเอาใจเข้าไปจรดเข้าที่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 หรือ พระยสะ 55 พระราชกุมาร 30 ชฎิล 1,003 รูปโน้น หรือ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ หรือไม่ อย่างนั้น หรือพระพุทธเจ้าอยู่ในตัว พระพุทธเจ้า แปลว่า ตรัสรู้ ความรู้ในตัวของเรานี่ แหละเป็นพระพุทธเจ้าอย่างนั้นหรือ หรือพระธรรมอยู่ในตัว ทำถูกทำจริงที่อยู่ในตัวนี่แหละ นั่นคือพระธรรม แล้วตัวของตัวที่รักษาความดีความถูกความจริงไม่ให้หายไป ความรู้นั่น ไม่หายไป ที่รักษาไว้ได้นั่นหรือเป็นพระสงฆ์ อย่างนี้ก็เหลวทั้งนั้น เอาจริงไม่ได้เลย เอา หลักฐานไม่ได้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าอันประเสริฐ ไม่ใช่พระธรรมอันประเสริฐ ไม่ใช่พระสงฆ์ อันประเสริฐ พระพุทธเจ้าอันประเสริฐนั่น มีจริงๆ หนา แต่ว่าอยู่ในตัวของเรานี่แหละ พระพุทธเจ้าเป็นเนมิตตกนาม พระธรรมก็เป็นเนมิตตกนาม พระสงฆ์ก็เป็นเนมิตตกนาม ไม่ใช่ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ตัวพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะนั่นแหละ เป็นตัวจริง ยืมให้บังเกิดเป็น พุทฺโธ ยืมให้บังเกิดเป็น ธมฺโม ยืมให้บังเกิดเป็น สงฺโฆ พุทธรัตนะ ยืมให้ บังเกิดนั่น ไปตรัสรู้ธรรมทั้ง 4 เกิดสงฆ์เข้าประณามขึ้น เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นกับพระองค์ เป็น พุทฺโธ พระธรรมรัตนะ เล่า ได้ทรงผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไป ในที่ชั่ว เกิดสงฆ์ที่เป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม นี่เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นอย่างนี้ ก็ส่วน สังฆรัตนะ เล่า รักษาธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไว้ไม่ให้หายไป ธรรมนั่นแหละ อันพระสงฆ์ทรงไว้ ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ สงฺเฆน ธาริโต ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ ที่ท่าน ทรงธรรมไว้ได้นั่นแหละเป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้น เรียกว่า สงฺโฆ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เกิดขึ้น เป็นเนมิตตกนามเหมือนอย่างกับนาม อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นเนมิตตกนามทั้งนั้น สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ เป็นเนมิตตกนามทั้งนั้น สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่เป็นเนมิตตกนามทั้งนั้น ไม่ใช่ตัวจริง ตัวจริงนะ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละที่เป็นที่พึ่งจริงๆ อยู่ที่ไหน ท่านจะ เอาใจไปจรด ตรงไหน จึงจะถูกพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ จะจรดให้ถูกแท้ๆ ละก้อ ในมนุษย์นี่แหละมีพุทธรัตนะ ทางไปถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอยู่ในกายมนุษย์นี่ จะให้ถูกแท้ๆ ต้องจรดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ ในกายมนุษย์นี่แหละ เอาใจหยุดที่เดียว พอหยุดกึกเข้า ก็ถูกพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะทีเดียว พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะไปทางนี้ นั่นก็จะถูกทางเท่านั้น ยังไม่ใช่ ถูกองค์ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เลย ยังไม่ใช่ถูกองค์ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เลย ถูก แต่ทางเท่านั้น

    เอาเถอะถูกทางนั้นเป็นพบตัวแน่นอนละ ไม่ต้องสงสัย เมื่อถูกทางแล้วก็ใจหยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า จะเข้า ถึงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์หนักเข้า ที่ลัดว่าลัดๆ ให้เร็วขึ้น หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วน เข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดหนักเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหม หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนหนักเข้า จะเข้าถึง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถึงดวงธรรมที่ทำให้ เป็นธรรมกาย ก็เห็นตัวทีเดียว

    เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียด โด่อยู่นี่เอง

    พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เห็นกายทิพย์ พอเข้าถึงกายทิพย์ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ก็เห็น กายทิพย์ละเอียด

    หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ก็เห็นกายรูปพรหม หยุดอยู่ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ก็เห็นกายรูปพรหมละเอียด

    เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมละเอียด ก็เห็นกายอรูปพรหม หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ก็เห็นกายอรูปพรหม ละเอียด

    หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เห็นกายธรรม รูปพระปฏิมาเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งามนัก อย่างน้อยๆ หน้าตัก ไม่ถึง 5 วา แต่ว่านี่ธรรมกายหยาบ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายหยาบ วัดเส้นผ่าศูนย์ กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ใจธรรมกายไปหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยาบนั่นแหละ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นธรรมกายละเอียด เส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมเท่าหน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม เห็นชัดๆ อย่างนี้

    เมื่อเห็นธรรมกายหยาบ นั่นแน่! นั่นแหละตัวพุทโธหละ ตัวพุทธรัตนะหละ เป็น เนมิตตกนามให้เกิดขึ้นว่า พุทโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่นแหละ เป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นให้เป็นธัมโม พระธรรมรัตนะ และ สังฆรัตนะ ก็ ธรรมกายละเอียด นั่นแหละ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้น เรียกว่า สังโฆ

    นั่นต้องจรด นี่ไม่ใช่จรดชื่อนะ จรดตัวจริงนี่ ต้องเอาใจไปนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพุทธรัตนะทีเดียว วัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย เอาใจหยุดนิ่ง อยู่ตรงนั้น นิ่งอยู่ที่เดียวนะ ถูกพระพุทธรัตนะ ถูกพระธรรมรัตนะ ถูกพระสังฆรัตนะ ไม่ต้อง มีสองต่อไป นิ่งอยู่ที่เดียว ถูกพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นี่ที่พึ่งจริงๆ เป็นอย่างนี้นะ ถ้ารู้จักที่พึ่งจริงอย่างนี้แล้ว อย่าเอาใจไปจรดที่อื่นนะ จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น พุทธรัตนะนั่น พอถูกส่วนเข้าแล้วจะเข้าถึง ธรรมกายละเอียด

    จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียดเข้าแล้ว นั่นดวงธรรมที่ ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ใจธรรมกายละเอียด หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด พอถูกส่วนเข้าแล้วจะเข้าถึงธรรมกาย พระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้าแล้ว จะเข้าถึงธรรมกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา ดวงธรรมวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 วา เท่ากัน กลมรอบตัว

    หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้า จะเข้า ถึงธรรมกายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พระสกทาคา จะเข้าถึงธรรมกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคาละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว

    ใจธรรมกายพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พระสกทาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าแล้ว จะเข้าถึงธรรมกายพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา และดวงธรรมวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระอนาคาหยาบนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงธรรมกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอนาคาละเอียด 20 วา เท่ากัน กลมรอบตัว

    ใจของธรรมกายพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น ธรรมกายพระอนาคาละเอียดนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าแล้ว ก็เข้าถึง ธรรมกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัต วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พระอรหัต พอถูกส่วนเข้า ก็จะเข้าถึงธรรมกายพระอรหัตละเอียด หน้าตัก 30 วา สูง 30 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัตละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 วา กลมรอบตัว เหมือนกัน นั่นเป็นธรรมกายพระอรหัตละเอียด

    แผนนี้แหละพระสมณโคดมท่านทรงสั่งสอนมา พระอรหันต์ท่านก็คิดเอาเอง ค้นเอา เอง ค้นทั่วถึงหมด ไม่ต้องเกรงใจใคร ไปถึงหมด นรกสวรรค์ไปตลอด นรก 456 ขุม ดูตลอด อบายภูมิทั้ง 4 สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก ดูตลอด กายทิพย์ ดูตลอด ชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี ไปพูดกันได้ ถามอะไร กันได้ ไปทำอะไรกันได้ รู้เรื่องหมด ตลอดจนกระทั่งไปถึงรูปพรหม 16 ชั้น อรูปพรหม 4 ชั้น ไปตลอด นิพพานไปตลอด พระพุทธเจ้าไปอยู่ในนิพพานที่ไหนไปพบกันหมด ไปพูดกันได้ ถามกันได้ทั้งนั้น นี่ถ้าแม้ว่าเข้าถึงที่พึ่งอันนี้แล้ว เลิศประเสริฐอย่างนี้ นี่ถ้าว่าผู้หนึ่งผู้ใด เข้าถึงกันได้ดังนี้แล้ว ก็นี่วาจากล่าวสัจจะอันนี้แหละ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ เถิด ความจริงเป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักความจริงดังนี้แล้ว พระพุทธเจ้าท่านได้สำเร็จตัดกิเลส เป็นสมุจเฉท ท่านรู้ว่าท่านเป็นศาสดาจารย์เอกในโลก ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่มีใคร ล้ำท่านทีเดียว ไม่มีใครถึงท่านทีเดียว มาร พรหม อยู่ใต้บังคับใต้อำนาจหมด ท่านเฝ้า นึกอยู่ในพระทัยว่า เออ! นี่เราจะเคารพใครล่ะ ธรรมดาการเคารพนั่น ถ้าว่ามนุษย์คนใด มีความเคารพแน่นหนาอยู่แล้วก็มนุษย์คนนั้นมีหลักฐาน ภิกษุสามเณรองค์ใดมีความเคารพ แน่นหนาอยู่ในที่ใดแล้ว ภิกษุสามเณรองค์นั้นมีหลักฐาน อุบาสกอุบาสิกาเคารพสิ่งใด มั่นหมายอยู่แล้ว ก็ได้ชื่อว่าอุบาสกอุบาสิกาคนนั้นมีหลักฐาน ถ้าว่าไม่มีที่เคารพ ไม่มี หลักฐานกันทีเดียว ไม่มีที่หลักฐานทีเดียว นักปราชญ์ทุกๆ ประเทศเขากล่าวกันว่า คนที่ ชั่วร้ายน่ะไม่สำคัญนัก พอแก้ได้ เขาอิดหนาระอาใจและเกลียดคนไม่มีศาสนานี่แหละ เขา อิดหนาระอาใจรังเกียจนักคนไม่มีศาสนานั่น ไม่มีที่จรดของใจ ไม่รู้จะเอาใจไปจรดกับอะไร ไม่รู้ที่พึ่งเสียด้วย ไม่มีที่จรดไม่มีที่พึ่งทีเดียว ไม่มีที่พึ่งก็จะเอาหลักที่ไหน จะเอาอะไรมาแก้ไข เธอแก้ไขไม่ได้ เพราะไม่มีหลักใจเสียแล้ว คนต้องมีหลักใจ อย่างพระพุทธเจ้าท่านได้เป็น ศาสดาเอกในโลก ต้องมีหลักพระทัย หลักใจเหมือนกัน ถ้าไม่มีหลักใจแล้วท่านจะไปเป็น พระพุทธเจ้าขึ้นเองเป็นเอกอุดมในโลกไม่ได้ เมื่อท่านพบหลักใจเป็นหลักฐานแล้ว ท่านก็ แนะนำสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้มีหลักใจ ไม่ใช่มีเองนะ ไม่ใช่ไปหาเองหรอก มีเอง เมื่อถึงพระอรหัตแล้ว เอาใจจรดติดแน่นที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตทีเดียว ไม่ขยับเขยื้อน ไม่เลื่อนทีเดียว ตั้งหลักตายตัวทีเดียว ตั้งแน่นตายตัวทีเดียว ตามวาระพระบาลี ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้ว่า เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วง ไปแล้วด้วย เย จ พุทฺธา อนาคตา พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาค ข้างหน้าด้วย โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน พระสัมพุทธเจ้าองค์ใด ผู้ยังความ โศกของคนเป็นอันมากให้พินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในบัดนี้ สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน พระพุทธเจ้า ทั้งสิ้นล้วนเคารพสัทธรรม สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น

    เคารพสัทธรรมนั้นเป็นอย่างไร ใจนั้นก็ตั้งอยู่กลางดวงธรรมนั้น ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว ตั้งตายตัวตั้งแน่นหนา ตั้งติดทีเดียว และตำรับตำราอ้างว่า อินฺทขีลูปโม แน่นหนาเหมือน เสาเขื่อนที่ปักไว้หน้าผา ลมพัดไปจากทิศทั้ง 4 ไม่เคลื่อนเลย อีกนัยหนึ่ง ปพฺพตูปโม เหมือน ภูเขาที่ตั้งอยู่โดยปกติธรรมดา ลมที่จะพัดมาจากทิศทั้ง 4 จะให้ภูเขาเขยื้อนไม่ได้เลย นี่ฉันใด ก็ดี ใจของพระแน่นในธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าฉันนั้น แต่ว่าปุถุชนก็ไม่แน่นหนาขนาด นั้น พระโสดาก็ติดอยู่บ้างแล้ว พระสกทาคาแน่นอยู่หน่อย พระอนาคาแน่นขึ้น พอถึงพระ อรหันต์แน่นจริงทีเดียว เหมือนเสาเขื่อนทีเดียว เหมือนภูเขาทีเดียว ไม่เขยื้อนตามไป ทางใดหละ แน่นขนาดนั้นนั่นแหละมีที่พึ่ง ท่านได้ที่ตั้งของใจ ที่ปักของใจ ที่ติดของใจ ไม่ไหว เขยื้อนไปตามใครละ โลกธรรมทั้งแปดจะมาระดมพระองค์ ให้ใจพระองค์เขยื้อนไม่ได้ ตายตัว ทีเดียว ตั้งอยู่ในพรหมวิหารฝ่ายเดียว เมตตา รักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข กรุณา ความ สงสารคิดช่วยจะให้พ้นทุกข์ มุทิตา พลอยยินดีในเมื่อผู้อื่นเขาได้ดี อุเบกขา วางเฉยเมื่อ แก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ก็เฉย หรือถ้าแก้ไขได้ก็แก้ไป แก้ไขไม่ได้ก็เฉยเสีย อุเบกขา ไม่สมน้ำหน้า ไม่อิจฉาริษยาอย่างหนึ่งอย่างใดเลย นี่หน้าที่ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้เคารพสัทธรรม วิหรึสุ มีอยู่แล้วด้วย พระพุทธเจ้ามี อยู่แล้วด้วย ที่ตรัสรู้ไปแล้วมากน้อยเท่าใด มีอยู่แล้วด้วย วิหาติ จ มีอยู่ในบัดนี้ด้วย ปัจจุบัน นี้ที่มีธรรมกายนั้น เป็นพระพุทธเจ้าทั้งนั้น

    คำว่าพระพุทธเจ้ามี 6 จำพวก สัพพัญญูพระพุทธเจ้า เป็นที่ 1, ปัจเจกพุทธเจ้า เป็น ที่ 2 สาวกพุทธเจ้า เป็นที่ 3, สุตพุทธเจ้า เป็นที่ 4, พหุสุตตพุทธเจ้า เป็นที่ 5, อนุพุทธเจ้า เป็นที่ 6, พระพุทธเจ้ามี 6 จำพวก

    เป็นธรรมกายแล้วเป็นพระพุทธเจ้าทั้งนั้น เป็นอนุพุทธเจ้า ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไป นั่นแหละคือพระพุทธเจ้า นั่นแหละมีอยู่ในปัจจุบันนี้ด้วย อถาปิ วิหริสฺสนฺติ มีต่อไปในภาย ภาคข้างหน้าด้วย พระพุทธเจ้าจำพวกที่ยังไม่เป็นธรรมกาย พอเป็นธรรมกายแล้ว ก็เป็น ปัจจุบันขึ้น ถ้ายังไม่เป็นธรรมกายก็เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตต่อไป นี่ปรากฏอย่างนี้ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรากฏอย่างนี้อยู่เนืองนิตย์ ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน เพราะเหตุนั้น บุคคลมีความใคร่ประโยชน์ของตน มหตฺตมภิกงฺขตา จำนงความเป็นใหญ่ ไม่มีใครถึงละ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนํ ระลึกถึงคำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรเคารพสัทธรรม ผู้ที่เคารพสัทธรรมนั่นแหละ จะถึงซึ่ง ความเป็นใหญ่ เป็นใหญ่อย่างไร ด่าท่านก็ไม่โกรธ ทำอย่างไรก็ไม่โกรธ แกไม่อิจฉาริษยาใคร แกตั้งอยู่ในธรรมของแกมั่น ไม่ง่อนแง่นไปตามใคร ถึงเด็กก็ต้องยกว่าเป็นผู้ใหญ่ คนชนิด นั้นถึงกลางคนก็ต้องยกให้เป็นผู้ใหญ่ ถึงเป็นผู้หญิงก็ต้องถือว่าเป็นบัณฑิตถี หญิงประกอบ ด้วยปัญญา หญิงเป็นใหญ่ ไม่ใช่หญิงเลวทราม ไม่ใช่หญิงง่อนแง่นคลอนแคลน มั่นคงตั้ง เป็นหลักเป็นฐาน เป็นหัวหน้าประธานของคนได้ หากว่าเป็นสามเณรก็เป็นประธานของคนได้ เป็นภิกษุก็เป็นประธานของคนได้ เป็นคนแก่ยิ่งน่านับถือหนักเข้า น่าบูชาหนักเข้า เพราะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน จะด่า จะว่า จะเสียดสี สักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ยิ้มแฉ่ง สบายอกสบายใจ เพราะตั้งอยู่ในพระธรรม คนที่ว่านั้นก็ไม่รู้เดียงสา เหมือนพระพุทธเจ้า ใครจะไปด่าก็ด่าไปซิ ใครจะไปเสียดสีก็เสียดสีไปซิ ไม่เขยื้อนเลย ไม่กระเทือนเลย นี่แหละ ทางพระพุทธศาสนาประสงค์จริงอย่างนี้ ให้ตั้งมั่นให้เคารพสัทธรรม

    แต่ว่าเคารพสัทธรรมนั้นเคารพอย่างไร เอาอีกแหละ เคารพไม่ถูก ถึงแก่เฒ่าชรา ปานใด เป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เคารพสัทธรรมนั่นเคารพอย่างไร เหมือนภิกษุ สามเณรอย่างนี้แหละ บูชานับถืออยู่ เป็นกระถางธูปของพลเมืองอยู่ แต่ว่าไม่รู้ตัว ไม่รู้ตัว ว่าเป็นกระถางธูปของพลเมืองอยู่ ไม่เดียงสา ได้แต่ประพฤติเลวทรามต่ำช้า ผิดธรรม ผิดวินัย นั่นฆ่าตัวเองทั้งเป็นแล้ว ไม่ให้เขานับถือ ไม่ให้เขาบูชา ให้เขาเกลียดแล้ว ให้เขาลงโทษแล้ว หนักเข้าเขาก็ให้สึกเสีย อยู่ไม่ได้ ภิกษุสามเณรอยู่ไม่ได้แล้ว ประพฤตินอกรีต ผิดธรรม ผิดวินัย ถ้าว่าภิกษุสามเณรเคารพสัทธรรมอยู่ เป็นสามเณรก็ไม่ให้เคลื่อนจากศีลของสามเณรไปเสีย นิดหน่อยหนึ่งไม่ให้ล้ำกรอบ กระทบกรอบศีลทีเดียว ตั้งมั่นอยู่ในกลางศีลทีเดียว เป็นภิกษุ ก็ตั้งมั่นอยู่ในศีล 227 สิกขาบท ไม่กระทบกรอบของศีล ตั้งมั่นอยู่ในศีลทีเดียว เป็นอุบาสก ก็ตั้งมั่นอยู่ในศีลของอุบาสกทีเดียว ในศีล 5 ศีล 8 ตามหน้าที่ ไม่กระทบกรอบของศีล ทีเดียว เป็นอุบาสิกาก็ตั้งอยู่ในศีลมั่นคง ไม่กระทบกรอบของศีลทีเดียว ตั้งอยู่ในศีลทีเดียว ถ้าว่าเป็นได้ขนาดนี้ นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน เคารพสัทธรรมหละ ใครๆ ก็ต้องไหว้ ใครๆ ก็ต้องบูชา เพราะเหตุว่ามีธรรมเป็นหลักเป็นประธานเป็นแก่นแน่นหนา ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนเหลวไหลโลเล ได้ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนาต่อไป ภิกษุสามเณร ประพฤติได้ขนาดนั้น ได้ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนาต่อไป อุบาสกประพฤติได้ขนาดนั้น ก็จะได้เป็นตัวอย่างของอุบาสก จะได้เป็นตำรับตำราของอุบาสกในปัจจุบันนี้และภายภาค ข้างหน้า อุบาสิกาล่ะ ได้เช่นนี้ก็จะได้เป็นตำรับตำราของอุบาสิกาในยุคนี้และภายภาค หน้าต่อไป ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนา ให้เคารพสัทธรรม

    เคารพสัทธรรมนั้นดีประเสริฐอย่างไรหรือ ดังที่กล่าวแล้วทุกประการว่า ถ้าว่าใคร เคารพสัทธรรมละก้อ ไม่ต้องหาข้าว ไม่ต้องหาข้าวสารนะ ไม่ต้องเที่ยวขอเขานะ ไปนั่งอยู่ คนเดียวในป่า เขาก็ต้องเลี้ยง เขาก็ต้องเอาข้าวไปเลี้ยง เอาอาหารไปเลี้ยง เอาผ้าให้นุ่งหุ่ม อย่าไปทุกข์ร้อนไปเลย ให้มั่นอยู่ในสัทธรรมเข้าเถิด สัทธรรมนี่แหละเป็นตัวสำคัญ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ พระพุทธเจ้าท่านสำเร็จแล้ว ท่านเคารพสัทธรรมอย่างเดียว ใจท่านแน่นใน กลางดวงสัทธรรมนั่นแหละ ก็อุบาสกอุบาสิกาเล่า ยังไม่มีนี่ ธรรมชั้นสูงยังไม่มีกับเขา อยากจะได้สัทธรรม จะเอาใจไปจรดตรงไหนเล่า จุดศูนย์กลางของกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่ นิ่งอยู่กลางนั่นแหละ ให้เห็นดวงให้ได้ ถ้าไม่เห็นก็จรดอยู่กลางดวงนั่น แหละ อย่าไปจรดที่อื่น จะตัดหัวขั้วแห้งก็ไม่จรดที่อื่น จะตัดหัวขั้วแห้ง เขาบอกว่าโน่นแน่ เจ็บไข้เต็มทีจะตายแล้ว หมอที่โน้นแน่ดีนัก ยิ้มเฉย ใจปักอยู่ที่ธรรมนั่น ปวดแข้งปวดขาจัด ปักเข้าไป ร้องโอยๆ ก็ช่าง เขาบอกว่าโน้นแน่ะ ผู้เป่าเก่งอยู่ที่โน่นดีนัก ยิ้มเฉย ยิ้มแฉ่ง เอาใจปักอยู่ที่ธรรมนั่นแหละ ใครๆ ไม่ช่วยก็ปวดตายไปเถิด ไม่ได้เคลื่อนไปจากธรรม มั่นใจ ปักอยู่ที่ธรรมนั่นเอง ขนาดนี้แม้จะไม่ถึงธรรมกาย ไม่มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ยังไม่เข้าถึง แต่ว่าเข้าถึงเช่นนี้ ถูกทางพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะแน่นอนแล้ว เมื่อ ถูกทางเช่นนี้แล้วก็มั่นเชียว เคารพมั่นทีเดียว ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ไม่ท้อถอยละ จะเป็นจะตายก็ช่างเถิด มั่นอยู่กับธรรมรัตนะกลางกายมนุษย์นั่นแหละ ถ้ามีกายมนุษย์ ละเอียด ก็มั่นอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ถ้ามีกายทิพย์ละก้อ มั่นอยู่ในดวงธรรม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ที่มีอยู่ในศูนย์กลางกายทิพย์นั่นแหละ 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ หรือกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กายทิพย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่นั่นแหละ ถ้ากายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมนั่นแหละ 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่ หรือหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหมละเอียด หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมดิ่งเชียว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถ้าถึงอรูปพรหมละก้อ ใจของกายอรูปพรหมแน่นอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมทีเดียว เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว งดงาม นัก ผ่องใส หรือเข้าศูนย์กลางอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายอรูปพรหมละเอียดทีเดียว ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในทางใดทางหนึ่งทั้งหมด ไม่เลอะๆ เทอะๆ ไม่เหลวไหล เขาว่าจ้าวคนโน้นแน่นะ จ้าวผีมันจะดีกว่ามนุษย์อย่างไร มนุษย์ดีกว่าจ้าวผีเป็นก่ายเป็นกอง ถ้าว่ามีฤทธิ์มีเดชก็มีเหมือนผีซิ มนุษย์ก็มีฤทธิ์เดชส่วน มนุษย์เหมือนกัน ข้าก็มีฤทธิ์ส่วนนั้น ในธรรมรัตนะเหมือนกัน ข้าไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ไม่ตามใครละ นี้แหละ สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ คนชนิดนี้แหละ ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสก ก็ดี อุบาสิกาก็ดี ได้ชื่อว่าได้เคารพสัทธรรมแท้ๆ จริงเลย ควรนับถือควรไหว้ควรบูชาทีเดียว

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นตามมตยาธิบายพอสมควร แก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้าทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง ปิฏกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอำนาจชินสาวกของท่าน ผู้ชนะมาร จงดลบันดาลให้ความสุขสวัสดิ์อุบัติบังเกิดมีในขันธ์ปัญจกแห่งท่านทายก และ อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาด้วยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.


     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    วันนี้วันดีเกิดพระอาทิตย์ทรงกลดขึ้นที่วัดหลวงพ่อสด
    วันนี้ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเป็นวันที่หลวงพ่อสดได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุถึงธรรมกายเป็นครั้งแรกที่วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี วันนี้เลยเกิดนิมิตดีขึ้นมาที่วัดหลวงพ่อสดเป็นพระอาทิตย์ทรงกลดแบบเต็มดวงสวยงามมาก

    เครดิตภาพ โดย พระมหาอนาวิล วิสุทฺธิชโย วัดหลวงพ่อสด

    c_oc=AQkxxSoobzgy6h-G-XanApP3WgpeNrBe1wiWoHC5vpPSBf-BMQmKUIiLNeNKKB01dxw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    *************************************************************************

    ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
    วันคล้ายวันบรรลุธรรมหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ๑๐๒ ปี (พ.ศ.๒๔๖๐ - พ.ศ.๒๕๖๒)
    ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๒

    "แม้เลือดเนื้อจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามที ถ้านั่งลงไปแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่จนตลอดชีวิต"

    สัตยาธิษฐานท่อนหนึ่งที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสรมหาเถร) หรือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ มอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธเจ้า ก่อนบรรลุธรรมในอุโบสถวัดโบสถ์(บน) บางคูเวียง จ.นนทบุรี ตรงกับวันนี้เมื่อ ๑๐๒ ปีที่แล้ว


    c_oc=AQkmCYtZlg9D2oAkS3G4VSrzEE6SDVCzPqDNkCTcaubG5JF7ugXV26N83-MU1MpnieM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    c_oc=AQmTDoZObnnLqZqiUle1zC_aLQ1v-SSi275bv_SChs6W3JgbFV2uGesV_PSBAk7GgKI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,783
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=1eb338ad163d74c25f663f37204a5ad2.jpg









    สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง


    28 กุมภาพันธ์ 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพ ว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในเรื่องสมาธิ ซึ่งเป็นลำดับอนุสนธิมาจากศีล ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ และโดยปริยายเบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่าก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำ โดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกัน ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จะแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่าน ผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนาในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับต่อไป

    มีคำปุจฉาวิสัชชนาว่า กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง

    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า

    อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำสละอารมณ์เสียแล้ว ลภติ สมาธึ ย่อมได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง เอวํ โข เหฏฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ

    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า

    อิธ ภิกฺขุ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่ 1 เป็นไปด้วยกับวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบเสียซึ่งวิตกวิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้ อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส จิตผ่องใสในภายใน เอโกทิภาวํ ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน ความเพ่งที่ 2 ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติสุขเกิดแต่วิเวก วิเวกชํ มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่ 2

    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ปราศจากความปีติ อุเปกฺขโก จ วิหรติ มีอุเบกขาอยู่ 1, สโต จ สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ 1, สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ เสวยความสุขด้วยนามกาย 1, อริยา อาจิกฺขนฺติ อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่ง ตติยฌาน ความเพ่งที่ 3 อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ เสวยสุขอยู่ มีสติอยู่เป็นอุเบกขา ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน เป็นความเพ่งที่ 3 อย่างนี้แหละ

    สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้แล้ว ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา สงบสุขทุกข์อันมี ในก่อนเสีย สงบความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ เข้าถึงซึ่ง จตุตถฌาน ความเพ่งที่ 4 ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความ ของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไป เป็นข้อที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน

    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ถือเอาความตามพระบาลีนี้ ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่า พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง 6 ไม่ได้เกี่ยวแก่ ใจเลย เรียกว่าปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธึ นั่นแหละสมาธิล่ะ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มี สองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ

    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง บาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา “วิตก” ความตรึกถึงฌาน “วิจาร” ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่มใจ “ปีติ” ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่า ปีติ “สุข” มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชํ ประกอบ ด้วยองค์ 5 ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ 5 ประการ นี้ปฐมฌาน

    ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบวิตกวิจารเสียได้ ความตรึกความตรอง ตรวจตราไม่มี สงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ระคนด้วยองค์ 3 ประการ คือ ปีติ สุข เกิดแต่สมาธิเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุติยฌาน

    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ระคนด้วยองค์ 2 ประการ คือ สุข เกิดแต่สมาธิ หรือ “สุข” “เอกัคคตา” อย่างนี้ ก็ได้ เพราะเกิดแต่สมาธิ

    ระงับสุข สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือดับความดีใจ เสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึงจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ระคนด้วยองค์ 2 ประการ มีสติ บริสุทธิ์ วางเฉย อยู่สองประการเท่านั้น ที่จับตามวาระพระบาลี ได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติ แท้ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ

    ส่วนสมาธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน ในทางปฏิบัติละก้อ มีรสมีชาติดีนัก สมาธิในทาง ปฏิบัติ ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงแบบเดียวกัน

    อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ กระทำอารมณ์ทั้ง 6 รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสารมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร เหมือนคนที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับ มีอารมณ์เข้าไปติดอยู่ รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คันธารมณ์บ้าง ที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต รสารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็น ของเก่าของใหม่ ของปัจจุบัน หรือธรรมารมณ์บ้างที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และ ที่จะเกิดต่อไป อารมณ์เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยังรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไปติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสียนอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็ เรียกว่าสละอารมณ์ไม่ได้

    เมื่อสละอารมณ์ได้ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่ง บางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทาง เห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางกายมนุษย์นี่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียว นิ่งหยุด ดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็น นี้เป็นทางปฏิบัติ กายมนุษย์ละเอียดมันเห็น ไม่ใช่กายมนุษย์คนหยาบนี่ กายมนุษย์ละเอียดที่มันฝันออกไป กายมนุษย์คนนั้นแหละมันเห็น มันอยู่ในกลางดวงนั่นแหละ มันเห็นดวงจิตบริสุทธิ์สนิทหลุดจากอารมณ์ดังนี้ ไม่มีอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลยทีเดียว เป็นดวงจิตใสเหน่งอยู่นั่นแหละ เหมือนไข่แดง แต่ว่ามันไม่ใสอย่างไข่แดงหรอก ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้า ใสเหน่งทีเดียว ตากายมนุษย์ละเอียดมันเห็น เพราะว่ามันก็รู้ว่าดวงจิตของมนุษย์ เวลานี้ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทั้ง 6 เลย อารมณ์ทั้ง 6 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลย หลุดจากกันหมด เห็นอย่างนี้เรียกว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ มันก็นิ่ง นิ่งแน่นอนอยู่กับดวงจิต มั่นไม่คลาดเคลื่อน ดวงจิตนั่นก็ซ้อนอยู่กับดวงจำ ดวงเห็น ดวงวิญญาณก็ซ้อนอยู่ในกลาง ดวงจิตนั่นแหละ ทั้ง 4 อย่างนี้ซ้อนไม่คลาดเคลื่อนกันเป็นจุดเดียวกันนั่นแหละ ไม่ลั่นลอดจากกัน เป็นก้อนเดียวชิ้นเดียวอันเดียวทีเดียว เห็นชัดๆ อย่างนี้เรียกว่าสมาธิในทางปฏิบัติแท้ๆ อย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ถึง เอกคฺคตา ได้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง จิตดวงนั้นแหละ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว ไม่มีสอง ไม่มีเขยื้อน แน่นแน่ว เหมือนอย่างกับน้ำที่ใส่ไว้ในแก้วตั้งไว้ ในที่มั่น ไม่มีลมพัดมาถูกต้องเลย ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว อยู่ทีดียว หยุดอยู่กับที่ทีเดียว นั้นได้ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งขนาดนั้น นั่นได้สมาธิอย่างนี้ เรียกว่าได้สมาธิแล้ว แต่ว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ อย่างนี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่สมาธิ โดยปริยายเบื้องสูง

    สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้ สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง 40 แต่ว่า 40 ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย 8 เหลืออีก 32 นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

    สมาธินอกพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนา นั่น กสิณ 10, อสุภะ 10, อนุสสติ 10 เป็น 30 แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา, จตุธาตุววัตถาน เป็น 32 นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติ ก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ

    ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น

    ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของหยุดนั้น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา (8 ศอก) หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละขึ้น นั่งอยู่กลางดวงนั้น

    เมื่อกายมนุษย์ละเอียดขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้นแล้ว นี่เนื่องมาจากดวงนั้นนะ ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวอีก นี่เป็นสมาธิทำไว้แล้วน่ะ แต่ว่าไม่ใช่ดวงจิตมนุษย์คนโน้น เป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นปรากฏทีเดียว มันก็นั่งนิ่งอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็เอาใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวนั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่ขึ้นมาเสียชั้นหนึ่งแล้ว พ้นจากกายมนุษย์หยาบขึ้นมาแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็นั่งอยู่กลางดวงฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก (2 วา) กลมรอบตัวเป็นวงเวียนหนาคืบหนึ่ง จะไปไหนก็ไปได้แล้ว เข้าฌานแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว เมื่อเข้าฌานเช่นนั้นแล้วก็คล่องแคล่ว จะไปไหนก็คล่องแคล่ว เมื่อเข้าฌานเข้ารูปนั้นแล้ว เกิดวิตกขึ้นแล้วว่านี่อะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ ไม่เคยพบเคยเห็น เกิดวิตกขึ้น ตรึกตรองทีเดียว ลอกคราบลอกคูดู วิจารก็เกิดขึ้นเต็มวิตกก็ตรวจตรา สีสันวรรณะ ดูรอบเนื้อรอบตัว ดูซ้ายขวาหน้าหลัง ดูรอบตัวอยู่ ตรวจตราแน่นอนแล้ว เป็นส่วนของความตรวจตราแล้ว เกิดปีติชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ เต็มส่วนของปีติเข้ามีความสุขกายสบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉยเกิดแต่วิเวก ใจวิเวกวังเวง นิ่งอยู่กลางดวงนั่น นี่เต็มส่วนขององค์ฌานอย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้วอย่างนี้ เรียกกายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานอยู่กลางดวงนั่น นี่สมาธิในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้ แต่ว่าขั้นสูงขึ้นไป เมื่อตัวอยู่ในฌานนี้ ยังใกล้กับของหยาบนัก

    เราจะทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ใจกายละเอียดก็ขยาย ใจขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กลางกายนั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น นิ่งหนักเข้าๆๆๆ พอถูกส่วนเข้า เกิดขึ้นมาอีกดวงเท่ากัน นี่เรียกว่า ทุติยฌาน พอเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้วละก็ กายทิพย์ทีเดียว กายทิพย์ละเอียดทีเดียวเข้าฌาน ไม่ใช่กายทิพย์หยาบล่ะ กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานอีก แบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เข้าฌาน อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌานทีเดียว นั่งอยู่กลางดวงอีกแบบเดียวกัน ชนิดเดียวกัน นั่งอยู่กลางดวงอีก ทีนี้ ไม่มีวิตกวิจาร ละวิตกวิจารเสียแล้ว เหลือแต่ปีติ ชอบอกชอบใจ มันดีกว่าเก่า ใสสะอาดดีกว่าเก่ามาก ปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อปลื้มอกปลื้มใจเช่นนั้น เต็มส่วนของความปีติก็เกิดความสุขขึ้น เต็มส่วนของความสุข เข้าใจก็นิ่งเฉย นิ่งเฉยอยู่ในอุราเรียกว่า อุเบกขา นิ่งเฉยอยู่กลางนั่น นี่กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็นึกว่าใกล้ต่อกายมนุษย์ละเอียด ที่ละเอียดกว่านี้มีอีก

    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็ขยายจากฌานที่ 2 ใจก็นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวดังเก่า ต่อไปอีก ของกายทิพย์ละเอียดต่อไปอีก กลางดวงจิตนั่น พอถูกส่วนเข้า ฌานก็ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเท่ากัน ดวงเท่ากันแต่ใสกว่านั้น ดีกว่านั้น วิเศษกว่านั้น คราวนี้กายรูปพรหมขึ้นมาแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌานนั่น แต่ว่าอาศัยกายรูปพรหมหยาบนั่งนิ่งอยู่กลางดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ เป็นสุข เอกคฺคตา ก็นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั่น มีองค์ 2 เต็มส่วน รับความสุขของตติยฌานนั่นพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็นึกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก

    ใจกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจิตจากตติยฌาน นิ่งอยู่ในกลางดวงจิตของตัวนั่น ใส อยู่นั่น กลางของกลางๆๆๆๆๆ ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่ 4 เข้าถึงจตุตถฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอาศัยกายอรูปพรหมหยาบ และกายอรูปพรหมละเอียดเข้าจตุตถฌาน กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตุตถฌานไป เมื่อเข้าจตุตถฌานหนักเข้าเป็นอุเบกขา กายอรูปพรหม เมื่อเข้าฌานนี้มีแต่ใจวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น มีสติวางเฉยบริสุทธิ์เป็น 2 ประการ พอถูกหลักฐานดีแล้ว เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนดังนี้แล้ว ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด อยู่ศูนย์กลางดวงจตุตถฌานนั้น จะเข้าอรูปฌานต่อไป เข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ต่อนี้ไปใช้กายรูปพรหมละเอียดไม่ได้ ใช้กายอรูปพรหม ใช้กายอรูปพรหมกายเดียวเข้าฌานเหล่านั้น นี้เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌานนอกภพ ฌานทั้ง 4 ประการนี้แหละเป็นสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ปฏิเวธ ที่ปรากฏชัด ตามส่วนของตนๆ มารู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัวปฏิเวธทั้งนั้น เมื่อเข้าถึงฌานที่ 1 ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เข้าถึงฌานที่ 2 ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่อีก รู้เห็นปรากฏชัด เมื่อเข้าถึงฌานที่ 3 ก็เป็นปฏิเวธอีก ปรากฏชัดด้วยตาของตัว เข้าฌานที่ 4 ก็เป็นปฏิเวธอีก เป็นปฏิเวธทั้งกายมนุษย์ เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่อีก เข้าถึงกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด ส่วนอรูปพรหมเป็นของละเอียด ส่วนจตุตฌานก็เป็นของละเอียดแต่ว่าเกี่ยวกัน ที่จะเข้าอรูปฌานต้องเริ่มต้นแต่รูปฌานนี้ พอเข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ใช้กายอรูปพรหมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้แล สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

    แสดงมาโดยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...