สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    - กำหนดบริกรรมนิมิตไม่ได้
    จะบริกรรมภาวนาอย่างเดียวจะเกิดผลหรือไม่ ?


    ตอบ :: ภาวนาอย่างเดียวก็ได้ แต่ว่า ถึงอย่างไร "ใจ" ต้องมีที่ตั้ง

    เพราะใจเรานั้น เห็นด้วยใจ เห็นที่ไหน ใจก็อยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้น ต้องให้เห็นอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ใจจึงจะอยู่ที่นั่น

    บริกรรมนิมิตนึกให้เห็นด้วยใจ ณ ภายใน ซึ่งจะได้ผลดีเป็นของยาก แต่ถ้านึกอยู่ภายนอกเห็นได้ง่ายกว่า เมื่อใครนึกอยู่ ณ ภายในได้ จะได้ผลดีที่สุด

    เมื่อใจหยุดตรงนั้น ถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ เมื่อถูกแล้วเราจะสามารถเข้าถึงธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้โดยสะดวก และไปถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพาน

    เรารู้ว่าจุดนี้เป็นจุดที่เที่ยงตรง เห็นหรือไม่เห็นจงทำต่อไป จนกว่าจะเห็น แต่ถ้านึกไม่เห็น ปวดเมื่อยเหนื่อยใจหนักหนา ก็นึกให้เห็นจุดเล็กใสเข้าไว้เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ใจเข้าอยู่ ณ ภายใน

    การนึกให้เห็น อย่าไปคิดว่าสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่นึกเอา #นึกให้เห็นเป็นอุบายเบื้องต้น ใจประกอบด้วยความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ มารวมกันเป็นจุดเดียวกันตรงเห็นนั้น

    เพราะฉะนั้น ความจำเป็นในเบื้องต้นที่นึกให้เห็น จึงต้องทำแต่อุบายวิธีที่เราจะให้เห็น ตรงนั้นก็ต้องปล้ำกันหลายเพลง เช่นว่า นึกดวงไม่เห็น อาจจะนึกองค์พระก็ได้ #นึกง่ายๆคือ #นึกว่าในท้องมีลูกแก้วลูกหนึ่ง ประมาณเอา คือใจ จะค่อยปรับตัวจนหยุดนิ่ง นี่เป็นอุบายอย่างหนึ่ง ซึ่งอาตมาใช้อุบายหลายอย่างเช่นกัน กว่าจะได้เห็น

    แม้กระทั่งดวงไฟตรงไหน ที่ไหน ที่เห็นกลมๆ ก็นึกดวงให้สว่างอยู่ข้างในท้อง ซึ่งใช้ได้เช่นกัน ถ้านึกอย่างนั้นไม่ได้ก็ให้ท่อง "สัมมาอะระหังๆๆ" ไป ตรงกลางจุดศูนย์กลาง นึกให้เห็นจุดเล็กใสนิ่งๆไว้ พอนึกเห็นตามสบาย #อย่าอยากเห็นจนเกินไป จนไม่ได้เห็น เพราะเพ่งแรงเกินไป จิตที่จะเห็นต้องพอดีๆ เหมือนกับที่ท่านทั้งหลายลองเอาปิงปองวางอยู่ในน้ำ จะกดปิงปองให้จมในน้ำ ได้โดยวิธีไหน อุปมาอย่างนั้นฉันใด การเลี้ยงใจให้หยุดให้นิ่ง และจะได้เห็นเอง ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน

    แต่ถ้าจะนึกให้เห็น พอไม่เห็นก็อึดอัด โมโห หรือหงุดหงิด อย่างนี้ไม่มีทางเห็น ทำให้เป็นธรรมดา เห็นก็ช่าง ไม่เห็นก็ช่าง

    ความจะเห็น ต้องประกอบด้วยใจสบาย ละวางให้หมด เรื่องในอดีต ปัจจุบัน อนาคต แม้ตัวเราก็ต้องละให้หมด วางใจนิ่งๆ พอดีๆ ใจสบายๆ ก็จะเห็นได้ง่าย

    อีกวิธีหนึ่ง ก่อนนอนจะหลับให้ท่อง "สัมมาอะระหังๆๆ" นึกเบาๆ ท่องไป พอใจจะหลับ สภาพของใจจะตกศูนย์ ความรู้สึกภายนอกจะหมดไป จะเหลืออยู่แต่ข้างใน พอจิตตกศูนย์ ดวงธรรมดวงใหม่จะลอยขึ้นมาที่ศูนย์กลางกาย ใสสว่างอยู่ตรงนั้นก่อนหลับ แล้วก็เผลอสติหลับไป เห็นตรงนั้นจับให้ดี พอเห็นดวงก็เข้ากลางของกลาง หยุดในหยุดนิ่งก็จะสว่าง นี่ จะเห็นของจริงก็จะไม่หลับ จะรู้เลยว่า เมื่อวิตก วิจาร คือ เห็นดวงสว่างระดับ "อุคคหนิมิต" หรือ "ปฏิภาคนิมิต" แล้วนั้น ความง่วงเหงาซึมเซาจะหมดไป กิเลสนิวรณ์หมดไปในขณะนั้น ช่วงจะหลับสามารถจะเห็นได้ง่าย

    ช่วงจะตื่น ถ้าเคยตื่น ๖ โมงเช้า ลองตื่นตี ๕ ครึ่ง พอตื่นแล้ว ไม่ตื่นเลย คือไม่ลุกขึ้น ตายังหลับอยู่ แต่ใจเราตื่น ดูไปที่ศูนย์กลางกายจะเห็นดวง ทำไมจึงเห็น? เพราะใจคนเพิ่งตื่นใหม่ๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายลอยเด่น ยังเห็นได้อยู่ พอเห็นแล้วเราเอาอารมณ์นั้นมาสู่ใจเรา ทำบ่อยๆก็จะเป็น เมื่อถึงเวลาก็เป็นเอง บางทีอาจจะเห็นธรรมกายใหญ่มาก ขณะเดิน นั่ง ปกติธรรมดา

    อารมณ์สบาย ใจเป็นบุญเป็นกุศล ใจก็สบาย พอใจสบายก็จะเห็น ใจสบายด้วยบุญกุศล แตกต่างกับสบายด้วยกามคุณ คือ ได้นั่นได้นี่ตามที่เราอยากได้ อันนั้นไม่สบายอย่างที่เราสบายอย่างนี้ การสบายด้วยบุญคือสบายเฉยๆ และลองกำหนดเห็นศูนย์กลาง ก็จะเห็นเป็นดวงใสได้โดยง่าย ต้องทำบ่อยๆเนืองๆ แม้อาตมาเองถ้าไม่ทำบ่อยๆเนืองๆ ก็จะจาง ต้องทำบ่อยๆจึงดี

    ________________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _________________
    ที่มา
    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
    __________________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
    __________________
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เห็นใจกันหน่อย




    Ta5wBnmRg8n21YHXOHhXVI3GciE5UevPAKIbwfMZbVdOs1ZiQTaw1w7-GWJA8GTaiW17kP8w&_nc_ht=scontent.fbkk5-3.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    52611643_1042069069327598_6452960411145732096_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg


    #เมื่อเราจะเข้ามาบำเพ็ญบารมีถือพรหมจรรย์
    แม้จะถืออยู่ในเพศฆราวาส เรื่องเวรเก่าอะไรๆที่เคยมีเกี่ยวข้องกันมา ก็รุมเร้าหนักหนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรี สำหรับพระ สำหรับเณร ไม่ใช่เล่นๆ ถูกรุมมากเลย ไม่ว่าแก่ ไม่ว่าหนุ่ม ถูกรุมหมด ต้องฝืนอำนาจของกิเลสมารและบ่วงมาร คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นั้นแหละ ต้องฝืนให้ได้ ถ้าฝืนได้เราก็ชนะ

    เหมือนชิงแชมป์มวยนั่นแหละ ตอนแรกก็ชนะหน่อยนึง เป็นแชมป์บ้านนอก ถัดมาก็แชมป์มีอันดับของเขาในประเทศ แล้วก็แชมป์ภาค แล้วก็แชมป์ต่างประเทศ แล้วก็จะถึงแชมป์โลก ก็จะมีคู่ต่อสู้ของเราที่หนักๆยิ่งๆขึ้นไปตามลำดับ นี้เป็นของธรรมดา ต้องรู้เท่าทัน เราก็ต้องสู้ อย่านึกกลัว

    เพราะอะไร

    เพราะว่าสู้หรือไม่สู้ เราก็ต้องตาย ใช่ไหม ต้องตายแหงๆอยู่แล้ว เพราะว่ากายของเราทั้งหมด มารเขาปรุงอยู่แล้ว มีฝ่ายบุญฝ่ายสัมมาทิฏฐิอยู่ส่วนหนึ่ง หน่อยเดียวเท่านั้นเอง นอกนั้นเป็นฝ่ายของมารเขาปรุงขึ้นมาเป็นสังขาร เป็นเบญจขันธ์ เป็นนามรูป จึงต้องมีสภาพที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าไม่งั้นไม่ต้องตายสิ ที่ต้องตายนี่ มารเขาปรุงขึ้นจากปัจจัยต่างๆ นี่เค้าปรุงแต่งตลอดหมดทั้งภพ 3 ต่อให้เป็นอรูปพรหมมีอายุนานเท่าไหร่ๆ พระพุทธเจ้ามาตรัสตั้งหลายองค์ก็ไม่ตายเสียที ลงท้ายก็ตาย แต่ว่านานกว่าจะตายเท่านั้นเอง สัตว์โลกทั้งหมดในภพสามนี่มารเค้าปรุงขึ้นทั้งนั้น แต่ว่าเขาปล่อยให้ฝ่ายบุญมาร่วมปรุงด้วย เลยได้เข้าถึงสุคติกันพอสบายหน่อย

    เพราะฉะนั้น ใครจะพ้นโลกไปนิพพาน เขาจึงไม่ปล่อยไปง่ายๆ บางทีพระดังๆถ้าเผลอสติก็เสร็จภาคมารเขา ถ้าเห็นผู้หญิง มองตาเชื่อม หรือว่าใช้คำพูดหวานๆกับผู้หญิง ก็เสร็จเขานั่นแหละ ไม่มีปัญหา

    จงกลัวสตรี กลัวเขาไปเลย ไม่ได้กลัวอะไรหรอก ไม่มีใครเขาจะมากระโดดกอดคอเราหรอก กลัวตัวเรา ใจเรานี้แหละ จะไปเสียท่าเสียทางเขา

    เรื่องกามคุณ เป็นธรรมชาติเคยเสพกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วนแล้ว จนติดเป็นนิสัย เพราะฉะนั้นจึงติดลึกอยู่ในกมลสันดาน แม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน ตัวเล็กตัวน้อย ให้นึกเห็นได้เลย ไส้เดือน กิ้งกือ ตัวหนอน หนอนขน หนอนไม่มีขน มันก็เสพกามทั้งนั้น เราเป็นคนต้องประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านี้ โดยเฉพาะพระภิกษุ บวชมาแล้วอย่าไปเห็นอะไรสวยเลย

    ผู้หญิงนี่ ต้องยกให้เขาไปเลยว่าเขาแน่จริงๆ บางทีกรรมเก่ามาทวง จะบอกให้น่ะ จะสวยหรือไม่สวยก็ตาม เวลาใกล้ชิดกัน เพียงแค่สบตามองกันก็สะท้านทีเดียวแหละ หรือไม่จริง ลองถามพระหนุ่มๆดู พระแก่ๆก็เถิดน่าอย่าได้ประมาท แก่ๆนั้นแหละต้องระวัง เหมือนหญ้าแห้วหมู มีอะไรๆมันทับอยู่ แค่ใบซีดๆ แต่หัวมันเบ้อเร่อ พร้อมที่จะงอกขึ้นได้ทุกขณะ จงอย่าประมาท ถ้าว่ากรรมเก่ามันทวงแล้ว เพียงแต่ใกล้กัน จะสวยไม่สวยไม่สำคัญ เพียงแต่เดินผ่านได้กลิ่นอาย หรือได้สบตาแว้บเดียว มันยุ่งแหละ หัวใจน่ะ ที่เป็นข่าวดังๆอยู่ทุกวันนี้ ดูๆแล้วก็ไม่เห็นจะสวยสักคน แต่ถ้าเวรกรรมเก่ามาทวงก็เป็นอย่างนั้นไปได้

    เพราะฉะนั้น เรื่องของกรรมมารเขามาทวง พูดประเด็นนี้ พูดว่ามารเขาทวง สรุปแล้วอย่าประมาท ประมาทไม่ได้ ชาตินี้เรามีเวลาไม่เท่าไหร่ ถ้าไม่รีบทำให้ดีในชาตินี้ ท่านจะลำบากอีกต่อไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน กราบเรียนไว้อย่างนี้

    และขอเจริญพรให้โยมทราบอย่างนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะตำหนิผู้หญิง แต่พูดความจริงให้พระภิกษุทั้งหนุ่มทั้งแก่และลูกเณรท่านรู้ไว้ พอได้เป็นเครื่องประดับสติปัญญา ไว้เป็นเครื่องป้องกันตัวบ้างเท่านั้น.

    พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล(หลวงป๋า)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ?temp_hash=a29e0e622af0119b53d332189adb2bc8.jpg



    ?temp_hash=a29e0e622af0119b53d332189adb2bc8.jpg





    บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ นี้เอง.
    บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนัตตา คือว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของได้แก่ไม่มีอิสระ เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะใคร ๆ ไม่อาจให้เป็นไปในอำนาจว่า " ธรรมทั้งปวง จงอย่าแก่ จงอย่าตาย."
    บทที่เหลือ ก็เช่นกับบทที่มีแล้วในก่อนนั่นเอง ดังนี้แล.
    ขุ.ธ.อ.(ไทย) ๔๓/๑๐๕ มหามกุฏ ฯ
    ......................
    เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
    เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
    นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
    ขุ.ธ.(ไทย) ๒๕/๒๗๙/๑๑๘ มหาจุฬา ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    โดยคุณสร้อยเพชร โสตะระ
    *** หนังสือบารมีธรรม หลวงพ่อวัดปากน้ำ

    ท่านเขียนไว้หลายเรื่อง เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับท่าน เป็นประสบการณ์การปฏิบัติธรรมและบารมีธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำอันเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ต่ออนุชนรุ่นหลัง
    --------------------------------------------------------------

    วิชชาธรรมกายของหลวงพ่่อกำจัดทุกข์ได้จริง

    ในปี 2519 ดิฉันได้รับทุนเพื่อไปสัมมนาจากรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นครั้งที่สองการได้รับทุนไปครั้งนี้ระยะเวลาห่างจากครั้งแรกเพียง 2 ปี

    โดยความจริงแล้วตามกฎเกณฑ์ถ้าเขา จะให้ทุนครั้งที่ 2 ต้องมีระยะเวลาห่างกัน 7 ปีเป็นอย่างต่ำ

    สำหรับกรณีดิฉันนี้เป็นกรณีพิเศษดังนั้นการไปครั้งนี้ทางสำนักงานใหญ่จึงเกรียวกราวกันมากว่ามาอีกแล้วหรือเนี่ยเธอนะโชคดีมากไม่เคยมีใครได้รับทุนกระชั้นชิดเหมือนกับเธอหรอก

    ✏ดิฉันอยากจะบอกว่าฉันได้มาก็เพราะหลังจากได้รับทุนครั้งแรกที่กลับมาแล้วดิฉันนั่งสมาธิขอหลวงพ่อเกือบทุกวันว่าให้ได้ไปฝรั่งเศสอีกภายใน 3 ปีนี้

    ดิฉันก็ได้ไปจริงๆวันแรกที่ไปถึงยังคิดว่าตัวเองฝันไปซะอีกมีหลายคนถามดิฉันว่าอธิษฐานอย่างไรจึงได้สมปรารถนาทุกครั้ง ๆ

    ดิฉันจึงอธิบายให้ฟังว่าต้องตั้งใจเอาใจจรดฐานที่ 7 ให้นิ่งนานเกิดแสงสว่างให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วเราจึงอธิษฐานหมั่นนั่งสมาธิบ่อยๆท่านจะประสบความปรารถนา

    การสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากประเทศต่างๆทั่วโลกประมาณ 30 คนมีชาวฝรั่งเศสเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานมากมาย รัฐบาลเองถือเป็นความสำคัญเพราะเป็นเรื่องระหว่างประเทศดังนั้นการจัดการต้อนรับการเลี้ยงรับรองต่างๆทั้งในเมืองหลวงและต่างจังหวัดก็จัดอย่างสมเกียรติ

    ในการนี้เองดิฉันได้รู้จักกับชาวฝรั่งเศสกิริยาดีคนหนึ่งดูเขาเป็นผู้ดีสุภาพจิตใจโอบอ้อมอารีได้คอยดูแลเอาใจใส่ดิฉันเป็นพิเศษตลอดการสัมมนา จนเพื่อนๆล้อว่ารายการหนุ่มฝรั่งเศสหลงรักสาวเอเชียซะแล้ว

    ❤ดิฉันก็ไม่อยากจะประเมินผลว่าเขารักเพราะเขาก็ไม่เคยบอกแต่อดครึ้มๆใจไม่ได้ อย่างน้อยๆมีคนเอาอกเอาใจเราเป็นพิเศษก็รู้สึกว่าตัวเองนั้นมีค่า ไม่อยากคิดมากไปกว่านั้น

    เพราะเรามีเวลาที่จะร่วมสัมมนานั้นสั้นมากตลอดเวลาดิฉันก็เห็นว่าเขาใจดีเหลือเกินแล้วไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็ดูถูกใจเราไปเสียหมดมันรู้สึกจะถูกชะตากันซะแล้วหรือเนี่ย แหมไม่อยากให้กามเทพแผลงศรเลย

    เพราะเราก็เป็นคนไทยเขาก็เป็นคนฝรั่งเศสมันจะไปกันได้อย่างไรกัน ดิฉันพยายามห่างๆยิ่งห่างเท่าไหร่ก็รู้สึกจะย่างเท้าไปไหนก็เห็นสายตาเขาจ้องมองแววตาประกาย โอ๊ยตายแล้วเกิดมาไม่เคยมีใครมามองอย่างนี้อดประมาทหวั่นไหวไม่ได้เมื่ออยู่ใกล้

    และในใจดิฉันก็รู้สึกตัวเองว่าไม่ได้รักเขาแน่ๆเพราะหลังจากจบการสัมมนา 6 สัปดาห์ดิฉันได้ขอดูงานต่อตามโรงเรียนช่างของการไฟฟ้าฝรั่งเศสเป็นเวลาอีก 6 สัปดาห์ ซึ่งระหว่างนั้นดิฉันได้เร่ร่อนไปหลายจังหวัดและดิฉันก็ได้พบเขาเป็นครั้งคราว เมื่อมาติดต่องานที่ปารีสระหว่างเวลานั้นดิฉันก็ไม่ได้คิดถึงจะนึกถึงเขาอีกเลย

    เมื่อเสร็จสิ้นการสัมมนาดูงานแล้วดิฉันก็เดินทางกลับประเทศไทยอยู่ต่อมาได้ 1 เดือน

    ไม่รู้ว่าเกิดอะไรใจหวนไปคิดถึงเขาอย่างมากมายแล้วใจเกิดความฟุ้งซ่านเกิดการปรุงแต่งวาดมโนภาพไปตามใจคิดจิตใจเหมือนเรือที่ขาดหางเสือควบคุมไม่ได้ใจล่องลอย บางทีปรุงแต่งมโนภาพได้สมหวังก็นั่งยิ้มคนเดียว ปรุงแต่งมโนภาพไม่สมหวังก็เกิดทุกข์จิตใจหม่นหมอง

    ความคิดที่ไม่สมหวังเริ่มเพิ่มพูนเพราะอยู่ไกลกันความทุกข์ทางใจเริ่มทับทวีเหมือนไฟสุมขอนมันร้อนเร่าอยากจะพบหน้านี่หรือคือพิษรัก

    เรารักเขาหรือนี่ ใจบอกว่าเปล่า ถ้าเปล่าแล้วเราไปคิดถึงเขาทำไม ความคิดถึงบ่อนทำลายจิตใจทำให้จิตใจหม่นหมอง

    พึ่งรู้ซึ้งนั่งสมาธิก็ทำไม่ได้ หลับตาลงใจก็โบยบินไปฝรั่งเศสแล้วเป็นอยู่เช่นนี้ได้ประมาณ 2 เดือน มีสิ่งหนึ่งฉายแว่บเข้ามาในจิตใจบอกว่าหลวงพ่อช่วยได้

    เออสินะ นี่เราลืมหลวงพ่อสุดบูชาของลูกเสียสนิท หลวงพ่อเป็นที่พึ่งสุดท้ายของลูกบารมีของหลวงพ่อคุ้มครองลูกตลอดเวลา มารแห่งความรักจะแทรกมาขัดขวางการนั่งสมาธิของเราแล้ว

    ดิฉันรวบรวมสมาธิทั้งหมดที่มีพยายามให้เกิดแสงสว่างในกลางดวงใจแล้วอธิษฐาน ลูกขอบารมีของหลวงพ่อเป็นที่พึ่งขอให้ดับทุกข์ความคิดถึงความรักและความฟุ้งซ่านที่มีต่อชายคนนี้เสียให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ

    ใจจรดที่ฐานที่เจ็ดยิ่งนานหลวงพ่อคงรับทราบ ดิฉันจุดธูปแล้วอธิษฐานขอให้ท่านช่วยที่บนหอเช่นนี้ 3 วันติดกัน

    เช้าวันหนึ่งตื่นขึ้นมาอากาศแจ่มใสเสียงนกร้องที่ต้นไม้ใหญ่ข้างบ้านจิตใจแจ่มใสเบิกบานความทุกข์ความคิดถึงและอื่นๆที่มีต่อชายคนนั้นมลายหายไปราวปลิดทิ้ง

    เหมือนกับสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ผ่านเข้ามาในจิตใจเหมือนกับว่าเมื่อวันก่อนปวดศีรษะอย่างหนักได้กินยาเข้าไป 2 เม็ดตื่นนอนความปวดหัวนั้นก็หายสนิท

    ความทุกข์ทางใจนี้ถ้าไม่เกิดกับใครก็ไม่รู้ซึ้ง บัดนี้ดิฉันซึ้งใจแล้วและซึ้งใจในบทสวดของหลวงพ่อ

    "อุกาสะ ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ซึ่งข้าพเจ้าถือ ว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดทุกข์ได้จริง ด้วยสักการะนี้"
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ?temp_hash=f857f21b8f99931d514181d6b713fdcf.jpg




    ความเป็นผู้เสมอกันโดยทิฏฐิและศีล
    .
    ธรรมดาว่า มนุษย์ในสังคมแต่ละสังคม ย่อมมีความแตกต่างกันทั้งสถานภาพ อายุ วัย เพศ การศึกษา ลักษณะอารมณ์ สังคม สติปัญญา ภาษา และศาสนา “ทิฏฐิสามัญญตา” และ “สีลสามัญญตา” ทั้ง ๒ ประการ จะเป็นนตัวประสานความแตกต่างดังกล่าวนั้นให้หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    .
    #ทิฎฐิสามัญญตา หมายถึง ความเป็นผู้เสมอกันโดยทิฏฐิ คำว่า “ทิฏฐิ” ในที่นี้ ประสงค์เอาความเห็นที่เป็น “สัมมาทิฏฐิ” เป็นความเห็นชอบกอปรด้วยพระธรรมวินัย และกฎหมายของบ้านเมือง อันเป็นความเห็นพ้องต้องกันของผู้คนในสังคม เพื่อที่จะสรุปออกมาเป็นมติ ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา และพัฒนาสังคมให้เจริญโดยยิ่งขึ้น
    .
    #สีลสามัญญตา หมายถึง ความเป็นผู้เสมอกันโดยศีล เป็นความประพฤติชอบทางกายและวาจา และเป็นหลักปฏิบัติสำคัญอันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ทุกสังคม ศีลนั้นไม่ว่าจะเป็นศีลของบรรพชิตและคฤหัสถ์ จึงเปรียบเสมือนเป็นไม้บรรทัดที่จะคอยดัดกายวาจาของผู้คนในสังคมให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ผู้ใดประพฤติได้ นอกจากจะทำให้ผู้นั้นปลอดเวรภัยทั้งปวงแล้ว ยังส่งประโยชน์โสตถิผลไปถึงผู้คนในสังคมให้ดำเนินชีวิตอยู่ร่วนกันอย่างสันติสุข มีความร่มเย็นเป็นสุขอีกด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    41073952_287035125230638_420407857247158272_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    #ไม่บริสุทธิ์ไม่ได้เป็นมนุษย์

    ถ้าว่ามนุษย์ไม่ทำความบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ให้ถ่องแท้แล้วละก็ ไม่ได้เป็นมนุษย์ กลับไปเป็นอสุรกาย เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรกไป ธรรมนั้นก็เสียไป ดำขุ่นหมองเศร้ามัวไปหมด

    แต่ว่าสัตว์นั้นไม่เห็น ถ้าเห็นแล้วไม่ไปนรกแน่นอน ไม่ไปละ กลับเป็นมนุษย์ทีเดียว นี่แหละได้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์แล้ว เห็นไหมล่ะ ด้วยวิธี บริสุทธิ์. กาย วาจา ใจ

    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒๑
    เรื่อง อุทานคาถา
    ๒๑ มีนาคม ๒๔๙๗
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    49329071_1062775753930471_3155139342792392704_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg







    อานุภาพของความประพฤติสุภาพอ่อนโยน
    ย่อมส่งผลเป็น"ปโยคสมบัติ"
    มีกำลังบำบัดกรรมบีบคั้นและกรรมตัดรอนได้.

    #มทฺทวํ ความสุภาพอ่อนโยน
    มัททธรรม คุณธรรม คือ ความสุภาพอ่อนโยนนี้ หมายความถึง ความเป็นผู้มีอัธยาศัยใจคอและมีกิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน งดงาม ตามฐานะ ตามเหตุผลที่ควรดำเนิน ไม่แข็งกระด้าง ดื้อดึง ด้วยความเย่อหยิ่งถือตัวถือตน(มานะ) และ/หรือ ด้วยความดื้อรั้น(ถัมภะ)๑ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน(สาขลยะ)๑ ความเป็นผู้รู้จักเคารพนับถือเกรงใจ(สัมมานะ)ผู้อื่น อย่างสูง คือ รู้จักเคารพนับถือบูชาคุณพระศรีรัตนตรัย ได้แก่ คุณพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสงฆ์ ๑

    นอกจากนี้ มัททวธรรม คุณธรรม คือ ความสุภาพอ่อนโยนนี้ ยังหมายความรวมถึงความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ ต่อผู้ใหญ่โดยชาติ(ชาติวุฒิ) ต่อผู้ใหญ่โดยวัย(วัยวุฒิ) และต่อผู้ใหญ่โดยเป็นผู้ทรงความรู้และทรงคุณธรรม(คุณวุฒิ) อีกด้วย ความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนนี้ ชื่อว่า"อปจายนธรรม"

    อานิสงส์ คือ กุศลผลบุญของผู้มีอัธยาศัยและมีปกติประพฤติสุภาพอ่อนโยนตามฐานะ มีวาจาอ่อนหวาน รู้จักเคารพนับถือผู้อื่นอย่างสูง คือ รู้จักเคารพนับถือและบูชาคุณพระรัตนตรัย และมีปกติประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นผู้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ รวมทั้งปฏิภาณ ธรรมสาร/ธนสารสมบัติ

    สมดังคำให้พรเป็นภาษาบาลีว่า...

    "อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
    จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนํติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ"

    แปลความว่า
    ธรรม ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญทวีมากขึ้น แก่ผู้มีปกติไหว้กราบ อ่อนน้อม ถ่อมตน ต่อผู้ใหญ่อยู่เป็นนิตย์ฯ

    อธิบายว่า "#อปจายนมัย"บุญกุศล คือ คุณความดีอันสำเร็จด้วยความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ผู้มีคุณความดีมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคุณพระพุทธ คุณพระธรรม และคุณพระสงฆ์ ย่อมเป็น"#ปโยคสมบัติ" มีกำลังบำบัดกรรมบีบคั้น(อุปปีฬกกรรม) และกรรมตัดรอน(อุปฆาตกรรม)เสีย ไม่ให้ช่องเพิ่มผลกรรมที่ไม่น่าปรารถนา(อนิฏฐวิบาก) แก่ผู้มีปกติประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนนั้น ให้ผู้มีปกติประพฤติ"อปจายนธรรม"นั้น พ้นจากภยันตรายต่างๆ ให้มีอายุยืนนาน และวรรณะ สุขะ พละ สามประการนั้น ก็พลอยเจริญตามอายุนั้นด้วย

    บัณฑิต คือ ผู้รู้ จึงย่อมสรรเสริญผู้มีปกติประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ และเมื่อแตกกายทำลายขันธ์ คือตายลง ย่อมไปสู่สุคติภพ คือไปสู่ภพภูมิที่ดี ที่เจริญ ได้แก่ ไปเกิดเป็นมนุษย์ที่ดี หรือไปเกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดา ในเทวโลก เป็นต้น

    มัททวธรรม คุณธรรม คือ ความสุภาพอ่อนโยนนั้น เป็นเครื่องแสดงออกซึ่งความเมตตาและไมตรี เป็นคุณธรรมที่เกี่ยวเนื่องและเป็นเหตุให้สังคหวัตถุ ๔ คือ...

    #ทาน การให้
    #ปิยวาจา เจรจาอ่อนหวาน
    #อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และ
    #สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอ ไม่ถือตัว
    เกิดและเจริญขึ้น

    ส่วน"#อปจายอารธรรม"นั้น เป็นธรรมเครื่องกำจัด"#มานะ" คือ ความเย่อหยิ่ง ถือตัว ถือตน ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ และเป็นธรรมเครื่องกำจัด"#ถัมภะ"/Stubborn คือ ความดื้อรั้นไม่ยอมฟังเหตุผลของใครเสียได้ จึงมีผลให้ทั้งผู้ใหญ่ ผู้มีฐานะเสมอกัน และทั้งผู้น้อย ที่อยู่ร่วมกันในสังคมและในวงงาน รู้จักนับถือกันและกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยดี มีสามัคคีธรรม เพราะเหตุนั้น มัททวธรรม อันหมายความรวมทั้ง อปจายนธรรม จึงเป็นธรรมยังผู้ปฏิบัติให้มีความเจริญมั่นคงในชีวิต และยังสังคมหรือหมู่คณะ ให้ดำเนินไปได้โดยสวัสดีอีกด้วย

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงคุณอันประเสริฐของเรา ทรงห่วงใยเด็กๆและเยาวชน ซึ่งนับวันแต่จะละเลยคุณธรรมข้อนี้มากขึ้น จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็กประจำปีพ.ศ ๒๕๒๙ ความว่า...

    "เด็ก ต้องหัดทำตัวให้สุภาพอ่อนโยน หมั่นขยันเอาการเอางาน เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยความเต็มใจอยู่เสมอให้ติดเป็นนิสัย จักได้เติบโตเป็นคนดี มีประโยชน์ และมีความเจริญมั่นคงในชีวิต"

    สาธุชน พึ่งเห็นน้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ต่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ เป็นที่ปรากฏชัดเจน ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร และโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เกิดขึ้นด้วยน้ำพระทัยอันอ่อนโยน ทรงเห็นและทรงปฏิบัติต่อพสกนิกรของพระองค์ดังเช่นบิดาต่อบุตร เป็นที่ประทับใจของชนทั้งหลาย ด้วยน้ำพระทัยอันอ่อนโยนนี้ แม้บางครั้งอาจทรงเครียดกับงาน แต่ก็ไม่เคยปรากฏพระพักตร์บึ้งตึงกับผู้ใด ควรที่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานองค์กรทั้งหลาย จะพึงถือเป็นเยี่ยงอย่าง เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ เพื่อความเจริญและสันติสุขแก่ตนเองและผู้อยู่ร่วมกันในสังคม

    ส่วนผู้มีปกติประพฤติชั่วร้าย ด้วยกิริยา วาจา และด้วยอัธยาศัยใจคอที่หยาบคาย ก้าวร้าว ดูหมิ่นดูแคลน ล่วงเกินต่อผู้อื่นเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทำต่อผู้ใหญ่โดยชาติวุฒิ โดยวัยวุฒิ และโดยคุณวุฒิ ผู้ทรงศีล ทรงธรรม หรือผู้ประทุษร้าย/ผู้ทำลายพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ย่อมได้รับผลเป็นวิบากที่ไม่ดี ที่ไม่น่าปรารถนา(#อนิฏฐวิบาก) อย่างรุนแรง ตามระดับแห่งคุณธรรมของผู้ที่ถูกกระทบ และ/หรือที่ถูกก้าวร้าวล่วงเกินนั้น ให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้รับผลกรรมนั้นเป็นดุจซัดธุลีทวนลม เพราะความประพฤติที่ไม่ดีเช่นนั้น ย่อมให้ผลเป็น"#อุปัตถัมภกกรรม" คือ เป็นกรรมสนับสนุน ช่วยเร่งกรรมที่ไม่ดีที่เคยกระทำไว้แต่อดีตให้ให้ผลเร็วและแรงขึ้น และในขณะเดียวกันยังเป็น"#อุปปีฬกกรรม" กรรมเบียดเบียนกรรมดีที่ได้เคยกระทำไว้ หรือที่กำลังกระทำอยู่ ให้อ่อนกำลังลง คือ ให้ผลน้อย และ/หรือ ให้ผลช้าลง

    ดังปรากฏเป็นข่าวให้ได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า ผู้ประทุษร้ายหรือทำลายผู้ที่มีคุณความดีมากๆ ดังเช่น ผู้ประทุษร้ายหรือผู้ทำลายคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ และแม้ทำลายพระพุทธรูปด้วยใจบาปหยาบช้า ย่อมได้รับผลกรรมตามสนองในภพชาติปัจจุบันทันตาเห็น เป็นต้นว่า ให้เป็นผู้มีอายุสั้น หรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและเรื้อรัง หรือฟุ้งซ่านมากถึงเสียสติเพ้อคลั่ง บางรายประสบกับความเสื่อม ถึงความตกต่ำล้มเหลวในชีวิต หาความเจริญและสันติสุขในชีวิตมิได้ เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ คือถึงความตาย เขาผู้มีปกติประพฤติชั่วร้ายเช่นนั้น ย่อมไปสู่ทุคคติภพ คือ ไปเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี ที่ไม่เจริญ ได้แก่ ไปเกิดเป็นเปรตบ้าง สัตว์นรก อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉานบ้าง ตามกฎแห่งกรรม โดยที่ไม่มีอำนาจใดที่จะช่วยได้เลย.

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มา
    หลักธรรมาภิบาล
    และ ประมุขศิลป์ : คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
    ขอบคุณภาพประกอบธรรมะ
    _______________
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    สมาธิสูตร



    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
    เป็นไฉน คือ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
    เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
    แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนา
    อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
    ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
    อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลก-
    *สัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ๑- ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือน
    กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่ ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่
    เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น
    รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
    อาสวะเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
    เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
    ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
    ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
    ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้ว
    ในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
    ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะรู้ความ
    สูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
    เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง เรากล่าวว่า ข้าม
    ชาติและชราได้แล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๑

    *************************************


    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1188&Z=1233
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ?temp_hash=bbb3604d72e1b0114474a90cd95d7c83.jpg

    ในขัั้นตอนการเจริญวิชชาฯ

    พระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล ได้อธิบายคำว่า “นิโรธ” ไว้ว่า
    ... “นิโรธ ดับสมุทัย (มิใช่นิโรธสมาบัติ) ตามความหมายของ ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ’ กล่าวคือเป็นการละ (ปหาน) อกุศลจิตของกายในภพ ๓ [ซึ่งเป็นที่ตั้ง หรือ เป็นที่สะสม – หมักดอง – ตกตะกอนนอนเนื่องของกิเลส (หยาบ-กลาง-ละเอียด) เป็น ‘อาสวะ/อนุสัย’ ในจิตตสันดาน] ให้กิเลสเบาบางลง ถึงหมดสิ้นไป บรรลุมรรค-ผล-นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้” ...
    (สมถวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า หน้า ๗๖)

    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้กล่าวถึงอริยสัจ ๔ ไว้ว่า
    ทุกข์ เป็นผล สมุทัย เป็นเหตุ
    นิโรธ เป็นผล มรรค เป็นเหตุ
    (คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย หน้า ๑๖๕)

    ดังนั้น การทำนิโรธให้ได้ผลดีนั้น ต้องทำมรรคให้ดีเสียก่อน เพราะมรรคเหตุให้เกิดนิโรธ นิโรธเป็นผลมาจากมรรค
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a (1).jpg
      a (1).jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.9 KB
      เปิดดู:
      135
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้ว่า ขันธ์ 5 ที่เป็นส่วนละเอียดนั้นซ้อนเป็นชั้น ๆ อยู่ในร่างกายของมนุษย์ทุกคน กล่าวคือ นอกจากที่มนุษย์แต่ละคนจะมีกายหยาบที่เห็น ๆ กันอยู่นี้ ภายในร่างกายของมนุษย์แต่ละคนยังมีรูปขันธ์คือกายละเอียด และนามขันธ์ละเอียดซ้อนอยู่เป็นชั้น ๆ เข้าไปข้างในอีกด้วย ซึ่งสรุปได้ดังนี้

    (1) ขันธ์ 5 ของกายมนุษย์หยาบ หรือกายเนื้อ
    (2) ขันธ์ 5 ของกายมนุษย์ละเอียด หรือกายฝัน
    (3) ขันธ์ 5 ของกายทิพย์หยาบ
    (4) ขันธ์ 5 ของกายทิพย์ละเอียด
    (5) ขันธ์ 5 ของกายรูปพรหมหยาบ
    (6) ขันธ์ 5 ของกายรูปพรหมละเอียด
    (7) ขันธ์ 5 ของกายอรูปพรหมหยาบ
    (8) ขันธ์ 5 ของกายอรูปพรหมละเอียด

    นอกจากนี้ยังมีขันธ์อื่นอีกแต่ไม่เรียกว่า "ขันธ์ 5" เรียกว่า "ธรรมขันธ์" ซึ่งซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์ของเรา โดยมีอีก 10 ขันธ์รวมทั้งหมดเป็น 18 ขันธ์ดังนี้

    (9) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมโคตรภูหยาบ หรือโคตรภูมรรค
    (10) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมโคตรภูละเอียด หรือโคตรภูผล
    (11) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมพระโสดาบันหยาบ หรือโสดาปัตติมรรค
    (12) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมพระโสดาบันละเอียด หรือโสดาปัตติผล
    (13) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมพระ กทาคามิหยาบ หรือ กทาคามิมรรค
    (14) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมพระ กทาคามิละเอียด หรือ กทาคามิผล
    (15) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมพระอนาคามิหยาบ หรืออนาคามิมรรค
    (16) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมพระอนาคามิละเอียด หรืออนาคามิผล
    (17) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมพระอรหัตหยาบ หรืออรหัตตมรรค
    (18) ธรรมขันธ์ ของกายธรรมพระอรหัตละเอียด หรืออรหัตตผล
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    a.jpg






    โดยทั่วไป มักเข้าใจว่าจิตคือวิญญาณ และวิญญาณ
    ก็คือจิต ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง จิตคือตัวคิด วิญญาณ
    คือตัวรู้ ไม่เหมือนกัน ทั้งจิตและวิญญาณตามความเข้าใจ
    ของสามัญชนนั้น วิชชาธรรมกายเรียกว่า “ดวงใจ” อันที่จริง
    แล้วควรเรียกว่า “หัวใจ” แต่คำว่า “หัวใจ” ก็พากันเข้าใจว่า
    คืออวัยวะที่มีหน้าที่สูบฉีดโลหิต ไปสู่ร่างกายเสียแล้ว จึงจำ
    เป็นต้องใช้คำว่า “ดวงใจ” ในที่นี้

    ในปัจจุบันนี้ มีปัญหาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ในวงการ
    ต่างๆว่า ดวงใจหรือจิตอยู่ที่ไหน วงการแพทย์เห็นว่า จิตอยู่
    ที่มันสมอง สำนักวัดมหาธาตุและวงการอภิธรรม เข้าใจ
    ว่า จิตอยู่ที่ถุงน้ำเลี้ยงหัวใจภายในหัวใจ สำนักวัดปากน้ำว่า
    จิตอยู่ที่เบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ที่ตรงกลางกาย คือตรงกับสะดือ
    เข้าไปข้างใน

    ความเห็นของ วงการแพทย์และของสำนักวัด
    มหาธาตุ กับวงการอภิธรรมเป็นความเห็นที่นำความมหัศจรรย์
    ของจักรวาลแห่งจิต ไปปนกับความมหัศจรรย์ของระบบ
    สรีรศาสตร์ เช่นเดียวกับการสังเกตเห็นว่า เขื่อนหรือทำนบ
    สามารถกั้นคลื่นและกระแสน้ำได้ ก็เลยเหมาเอาว่า ผ้าหรือ
    หนังสามารถกั้นคลื่นวิทยุได้ ซึ่งความจริงไม่เป็นเช่นนั้น มัน
    สมองเป็นเสมือนเครื่องรับกระแสจิต จากจักรวาลจิต แล้วส่งต่อ
    ไปยังระบบต่างๆของร่างกาย สำหรับความเห็นของวัด
    มหาธาตุและสำนักอภิธรรม ไม่มีอะไรดีไปกว่า นำผลปฏิบัติ
    แบบไตรลักษณ์มาค้าน กล่าวคือถ้าจิตอยู่ที่หัวใจหรือสมอง
    ทำไมญาณวิถีเกิดขึ้นในอนุโลมญาณ จึงพุ่งจากตรงสะดือไป
    ยังกลางกระหม่อม

    ศูนย์กลางของตัวเรานี้ อยู่กลางลำตัวตรงสะดือเข้า
    ไปข้างใน ที่นั่นมีเครื่องหมายเป็นดวงกลมๆ ขนาดเท่าดวง
    จันทร์ มีสภาพคล้ายปรมาณูของธาตุจับกลุ่มรวมตัวกัน วิชชา
    ธรรมกายเรียกดวงนี้ว่า “ดวงเห็น” มีหน้าที่เป็น"กาย"

    ในเนื้อของดวงเห็นนี้ กลุ่มปรมาณูอีกกลุ่มหนึ่ง แทรก
    ซึมอยู่เป็นดวงกลม รอบตัว มีขนาดเท่ากับเบ้าตา เรียก
    ว่า “ดวงจำ” คือเห็นแล้วก็จำได้ หรือทำหน้าที่เป็น“ใจ”

    ตรงกลางดวงจำมีช่องว่าง และมีกลุ่มปรมาณูอีกกลุ่ม
    หนึ่ง ลอยอยู่เป็นดวงกลม ขนาดเท่าดวงตาดำข้างนอก เรียก
    ว่า“ดวงคิด” แม่ธาตุตรงกลางปรมาณูดวงคิดนี้คือ“จิต”

    ในเนื้อของดวงคิด มีกลุ่มปรมาณูอีกกลุ่มหนึ่ง แทรกซึม
    อยู่เป็นดวงกลม มีขนาดเท่าดวงตาดำข้างในเรียกว่า “ดวงรู้”

    แม่ธาตุตรงกลางดวงรู้คือ “วิญญาณ” เราจะรู้อะไร
    ก็ต้องได้เห็น เมื่อเห็นแล้วก็จำ แล้วก็คิด แล้วจึงจะรู้ ดวงเห็น
    จึงเป็นแม่ธาตุของดวงรู้ คุณสมบัติของเห็น จำ คิด รู้
    ทั้งสี่อย่างนี้ ผสมผสานรวมกันเป็นหนึ่ง เรียกว่า“ดวงใจ”
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    “อมตะวาทะ”
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ------------------------------
    ขันธ์ ๕

    ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อยวางขันธ์ ๕ ละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดปล่อยได้ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติหมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ ๕ ออกเป็นชั้นๆไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ ๕ จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกันไม่หลุด ไม่กรอกจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ ๕
    ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ ๕ เราจะเห็นขันธ์ ๕ เห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์ รูปเราเห็นได้ เวทนาเราก็เห็นได้ หน้าตาแช่มชื่นดี เราก็รู้ว่าสุข เรื่องสัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ไม่เห็น เราจะต้องเห็นทั้ง ๕ อย่างจึงจะละได้วางได้ ถ้าไม่เห็นขันธ์ทั้ง ๕ อย่าง ละวางไม่ได้
    ถ้าอยากเห็นขันธ์ ๕ เราต้องถอดกายออกเป็นชั้นๆ ต้องถอดกายทิพย์ออกจากกายมนุษย์ วิธีจะถอดขันธ์ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยากหมื่นยากแสนยากทีเดียว แต่วิธีเขามีที่วัดปากน้ำ วิธีเข้ากายถอดขันธ์ คือ ทำจิตให้หยุดให้นิ่งที่กำเนิดเดิม ถอดขันธ์ออกไปแล้วจึงเห็นขันธ์

    a.jpg


    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๖๑
    เรื่อง ภารสุตตกถา
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    " ใจ " หร่ือ "มโน" เป็นนามธรรม ที่ต้องอาศัย"รูป"คือกายในภพต่างๆ

    และสามารถแยกย่อย"ใจ" ออกเป็นขันธ์ 4 ขันธ์ ได้คือ


    เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์


    เวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) และ วิญญาณ (ความรู้อารมณ์)


    ขันธ์ห้าของมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม นั้น เราต้องถอดออก เป็นชั้นๆไป
    เข้าถึงธรรมขันธ์
    ธรรมขันธ์ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสะ คือธรรมกาย

    แต่เข้าถึงธรรมกายเบื้องต้น ที่ยังไม่บริสุทธิ์ถึงที่สุด ก็ต้องเจริญวิชชาในส่วนละเอียดต่อไปเพื่อ
    ขาดจากสังโยชน์ทั้งสิบ ให้ถึงซึ่งวิมุตติหลุดพ้นอันจริงแท้ คือ พระนิพพานธาตุ
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ธรรมกาย มีหยาบมีละเอียดไปจนสุดละเอียดธาตุล้วนธรรมล้วน
    • ธรรมกาย มีชีวิตจิตใจ แต่ก็มีใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ คือไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์ เป็นวิสุทธิขันธ์
    • ธรรมกาย ปราศจากตัณหาราคะใดๆ (วิราคธาตุ-วิราคธรรม)
    • ธรรมกาย เป็นวิสังขารธรรม ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง พ้นจากความปรุงแต่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นความปรุงแต่งด้วยผลของ บาปอกุศล หรือ บุญกุศล (คือเป็นอสังขตธาตุ-อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร) จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์หรือสามัญญลักษณะ คือลักษณะที่เสมอกันของสังขาร คือ ความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) ความเป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และความเป็นของไม่ใช่ตน (อนตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร) จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามเหตุปัจจัยดังสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งเขาเป็นกัน นี้เอง ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว จึง มีสภาวะที่ตรงกันข้ามกับสังขาร โดยเหตุนี้จึงเป็นกายที่เที่ยง (นิจฺจํ) เป็นสุข (สุขํ) และเป็นกายที่เป็นตัวตนที่แท้จริง (โลกุตฺตรอตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุเป็นธรรมเป็น คือเป็น กายที่มีชีวิตจิตใจ แต่ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ อย่างสัตว์โลกทั้งหลาย ซ้อนอยู่ในที่สุดละเอียด ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ณ ศูนย์กลางกาย ของสัตว์โลกทั้งหลาย
    • ธรรมกาย เป็น อมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย จึงไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ และตาย อีก
    • ธรรมกาย มีความสุขที่เหนือความสุขทางโลกทั้งสิ้น ดังพระพุทธพจน์ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ - นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่สุขในนิพพานก็ไม่ใช่สุขเวทนาอย่างชาวโลก
    • ธรรมกาย เป็นกายที่ประมวลความบริสุทธิ์ 3 ประการเข้าไว้ คือ
      • กายและหัวใจ เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก เป็น ปฐมมรรค [พระวินัยกลั่นออกมาเป็นกายและหัวใจ]
      • ดวงจิต เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระสุตตันตปิฎก เป็น มรรคจิต [พระสูตรกลั่นออกมาเป็นดวงจิต]
      • ดวงปัญญา เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมหรือพระปรมัตถปิฎก เป็นมรรคปัญญา [พระอภิธรรมกลั่นออกมาเป็นดวงปัญญา]
    ฐานะ ความสำคัญ ของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว
    • ธรรมกายเป็น กายในกาย ที่สุดละเอียด ของมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลาย ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน (เที่ยงและเป็นบรมสุข) ไว้
    • พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ธรรมกาย" เป็นชื่อของพระองค์ - อหํ ธมฺมกาโย อิติปิ ก็คือ พระองค์เป็นธรรมกาย นั่นเอง
    • ธรรมกายทำหน้าที่ตรัสรู้อริยสัจ 4 (กรณีพระอรหันตสาวก) และตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (กรณีพระพุทธเจ้า)
      • ธรรมกายจึงเป็นพระพุทธรัตนะ
      • ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายคือพระธรรมรัตนะ
      • ธรรมกายที่ละเอียดๆ ทั้งหลาย คือ พระสังฆรัตนะ
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ที่ใครๆว่า ตายไปแล้วจะมีผู้มีอำนาจเบื้องบนใด
    ช่วยอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่เป็นความจริง
    สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม.

    บาปอกุศลนั่น มันเกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจที่ไม่ดี ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน คือ ให้ประพฤติผิดศีล ผิดธรรม ติดอยู่ในอบายมุข แล้วผลก็คือเสียอนาคต หรือว่าชีวิตเสื่อม ไม่เจริญ ทั้งไม่ถึงความสำเร็จด้วย ไม่เจริญด้วย และบางรายก็ถึงความล้มเหลวแห่งชีวิต ดังนี้เป็นต้น ก็แปลว่า นำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อน นี่เป็นบทสรุป

    บาปอกุศลนี่ นำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อน ทั้งในภพชาติปัจจุบัน ทันตาเห็นเลย แต่บางคนไม่ทันได้เห็น เพราะไม่รู้ว่าเป็นทุกข์ ก็ตะเกียกตะกายเอาตัวรอดต่อไปอีก ทางดีไม่ได้ ก็เอาทางชั่ว ดังนี้เป็นต้น มันก็ยิ่งได้รับรับโทษความทุกข์เดือดร้อนหนักยิ่งขึ้นไปตามลำดับ นี่แหละพระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้ว

    และเมื่อแตกกายทำลายขันธ์ นี่ผลอีกประการหนึ่ง กรรมชั่ว ประพฤติผิดศีล ผิดธรรม ติดอยู่ในอบายมุข ด้วยอำนาจของกิเลส ตัณหา ราคะ นี่แหละ นำไปให้ไปเกิดในทุคติภูมิ ตายแล้ว มนุษย์นี่แหละ ตายแล้วไปเกิดเป็นเปรตก็มี ไปเกิดเป็น นี่ขนาดเบานะ เปรตนี่ขนาดเบานะ แล้วไปเกิดเป็นสัตว์นรกนั่นลึกลงไปอีกกว่า เป็นสัตว์เดรัจฉานก็หนักยิ่งขึ้นไปกว่า ทำไมถึงว่าหนัก ก็คนยังไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานมันจะรู้ได้ยังไง มันยิ่งหนักไปกว่าคนอีก

    ทีนี้ โอกาสที่จะตกต่ำต่อๆไปไม่มีที่สิ้นสุด ก็เกิดเป็น จากสัตว์ที่มันโตๆหน่อย เดี๋ยวก็กลายเป็นสัตว์ที่เล็ก ตายจากสัตว์นั้นก็ ต่อไปก็เป็นสัตว์เล็กๆ ไปจนถึงเป็นเชื้อโรค ที่สุดก็คือเป็นไวรัส ล่องลอยอยู่ในอากาศ สัตว์ทั้งนั้น นี่มันเป็นไปแต่ความประพฤติบาปอกุศล นี่จำไว้โทษ

    ไม่มีใครช่วยใครได้ ที่ใครๆว่า ตายไปแล้วจะมีผู้มีอำนาจเบื้องบนใดช่วยอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่เป็นความจริง สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม

    กรรม เป็นเหมือนเขตพื้นที่เพาะปลูก และวิญญาณนั่น ที่ชุ่มโชกด้วยกิเลส ตัณหา ราคะนั่น ก็เป็นเหมือนเมล็ดพืชที่ยังสดอยู่ เอาไปเพาะปลูก งอก ถ้าพื้นที่ที่ดี ก็ไปปลูกก็พืชพันธ์ุดี ก็ไปเกิดในที่ดี ถ้าพื้นที่ไม่ดี พันธ์ุไม่ดี ปลูกยังไงมันก็ไปทางที่ไม่ดีหมด ที่เกิดมาเป็นต้นไม้ใหม่ เป็นพืชใหม่ ไม่ใช่ต้นเดิม แต่มันไปจากต้นเดิม ก็เหมือนคนตายแล้วก็เกิด ตายแล้วก็เกิด เป็นอย่างนี้ นี่ฝ่ายชั่วนะ บาปอกุศล ใครช่วยใครไม่ได้ เพราะสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    ______________
    ที่มาจากเทศนาธรรมเรื่อง
    อย่าหลงตามกิเลส
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    12388078_440750016122822_409981350_n-jpg.jpg





    ถามว่า ในปัจจุบันนี้ ถ้าว่ากันตามหลักการ ปฏิบัติแบบมโนมยิทธิมีสายปฏิบัติไหนที่ใกล้เคียงที่สุดต้องบอกว่าแบบธรรมกายใกล้เคียงที่สุด
    ธรรมกายนั้นจริงๆแล้วเป็นต้นแบบของมโนมยิทธิ เนื่องจากว่า ธรรมกายนั้นมีพื้นฐานมาจากกสิณ โดยเฉพาะอาโลกกสิณ คือการกำหนดลูกแก้ว ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นการใช้ผลของกสิณ คิดให้ดีๆนะ อย่างหนึ่งเริ่มตั้งแต่สร้างเหตุ ส่วนอีกอย่างหนึ่งใช้ผลเลย

    ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน ธรรมกายจะเริ่มตั้งแต่ถมพื้นที่ ออกแบบ วางแปลน เทฐานรากขึ้นมา จนกระทั่งสร้างเป็นบ้านเสร็จ เรียบร้อย ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นลูกคนรวย ควักเงินในกระเป๋าไปซื้อบ้านสำเร็จรูป ก็มีที่อยู่เหมือนกันใช่ไหม แต่ถ้าเอาพื้นฐานแล้วจะสู้ธรรมกายไม่ได้ เพราะว่าธรรมกายเริ่มจากนับหนึ่งมาเลย จะมีความมั่นใจกว่ามาก เพราะเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน

    แต่ถ้าหากเราซักซ้อมจนคล่องตัวท้ายสุดก็จะเหมือนกัน เพราะว่ามาจากหลักเดียวกัน คือพื้นฐานของกสิณ เพียงแต่ว่ามโนมยิทธินี้ในอดีตเราทำได้ ปัจจุบันไม่ได้ทำ ก็แค่มาย้อนทวนของเก่า มีเงินเต็มกระเป๋าแต่เปิดใช้ไม่เป็น ครูจะมีหน้าที่บอกว่า ต้องเปิดกระเป๋าอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าธรรมกายนี่เราต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ หาเงินมาเองเลย เพราะฉะนั้น.....พื้นฐานจึงแน่นกว่ามาก....

    ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ....พระจูฬปันถกเถระ....พระบาลีบอกว่า มโนมยิทธิของพระ จูฬปันถกเถระ นี้ เป็นเอตทัคคะ คือเลิศที่สุดในหมู่สาวกทั้งปวงของพระพุทธเจ้า สามารถถอดกายในออกมาอยู่ตรงหน้าของตัวเองได้เหมือนอย่างกับถอดใส้หญ้าปล้องหรือว่าชักดาบออกจากฝักกลายเป็นอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างหน้าเลยและท่านสามารถกำหนดได้มากถึง 1,000 องค์ แล้วทั้ง1,000 องค์นั้นสามารถทำงานคนละอย่างกันด้วย

    จากหนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ หน้า 62/63 พระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุน กาญจนบุรี


    https://www.facebook.com/photo.php?...042.1073741826.100005634826993&type=3&theater
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    #หลวงป๋า ท่านบอกวิธีลดผลจากเวรกรรม

    กรรมที่สัตว์โลก ได้ประพฤติปฏิบัติมา ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม

    ถูกบันทึกในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ (ใจ) สุดกายหยาบ กายละเอียด ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ซ้อนทับทวีกันอยู่นั้นแหละ

    ...เช่น กรรมจากปาณาติปาตา กำลังจะให้ผลก็มาที่ธาตุละเอียดก่อน คือธาตุทั้ง 4 มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม วิปริตแปรปวน เป็นเหตุให้ผู้นั้นเจ็บไข้ และถ้าไปเจ็บไข้ได้ป่วยส่วนไหน ส่วนนั้นของร่างกายเมื่อเจริญภาวนาถึง #ธรรมกายหรือเห็นแค่ดวง ก็สามารถมองเห็นว่าเป็นจุดดำหรือส่วนที่เป็นสีดำ.......

    ...เมื่อเราปฏิบัติธรรม ใจบริสุทธิ์ผ่องใสเรื่อยๆ ด้วยอำนาจของทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล นี้เป็นบุญ
    บุญ แปลว่า ธรรมชาติชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
    เพราะฉนั้นบุญอยุ่ที่ไหน อยู่ที่ศูนย์กลางกาย

    เมื่อจิตใจผ่องใส ธาตุละเอียด ณ ภายใน ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งทำหน้าที่อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ก็บริสุทธิ์ผ่องใส จึงมีสภาวะที่เป็นบุญกุศล ชำระธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ (ใจ)ให้บริสุทธิ์ผ่องใส ธาตุละเอียดมหาภูตรูป 4 ก็บริสุทธิ์ผ่องใส

    #ผลทางเวรกรรมจากบาปอกุศล เช่นปาณาติบาต เป็นต้น
    ที่หนัก ที่กำลังให้ผลจะช่วยให้เบา
    ที่เบาก็หายไปได้เลย.....

    หลวงป๋า
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    •อุปกิเลสเหล่านี้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป •



    การเจริญภาวนาธรรมนั้น มีเงื่อนไขหลายอย่าง ที่ผู้ปฏิบัติพึงจะต้องทราบ และคอยสอดส่องพิจารณา ให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกถ้วนสมบูรณ์และตรงประเด็น

    พร้อมด้วยพิจารณาในเหตุและสังเกตในผลของการปฎิบัติว่า ให้ผลในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษด้วย

    พระพุทธองค์เคยทรงมีพระดำรัส กับเหล่าพระภิกษุเกี่ยวกับอุปกิเลสของสมาธิ ปรากฏอยู่ในอุปกิเลสสูตร ในสุญญตวัคค์ อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า 302 ข้อ 452 มีใจความว่า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่ป่าชื่อว่า ปาจีนวังสะทายวัน แขวงเมืองโกสัมพี

    ณ ที่นั้นภิกษุสามรูป คือ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ได้ทูลพระองค์ว่า

    "ข้าพระองค์ทั้งสาม พยายามกำหนดเห็นแสงสว่าง แล้วเห็นรูปทั้งหลาย แต่แสงสว่างและรูปนั้น เห็นอยู่ไม่นาน ก็หายไป ข้าพระองค์ทั้งสามไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุไร "

    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย (พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งสามองค์ แต่ได้ทรงเรียกอนุรุทธะเป็นองค์แรก ในบาลีจึงใช้"อนุรุทธา")

    แม้เราเอง ครั้งก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ กำหนดเห็นแสงสว่างได้ และเห็นรูปทั้งหลาย แต่ไม่นานเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น ก็หายไป เราเกิดความสงสัยว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    เราก็คิดได้ว่า อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    อุปกิเลสเหล่านี้คือ

    1. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย

    2. อมนสิการ ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี

    3. ถีนมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน

    4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    5. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    6. ทุฏฐุลละ ความไม่สงบกาย

    7. อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป

    8. อติลีนวิริยะ ความเพียรหย่อนเกินไป

    9. อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    10. นานัตตสัญญา ความฟุ้งซ่าน นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมา หรือเคยจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ

    11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือนิมิตจนเกินไป

    อนุรุทธะทั้งหลาย เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ

    เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ก็หายไป

    ฉะนั้น เราพยายามสอดส่องดูว่า วิธีใดจะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้ เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ทำใจไว้โดยวิธีนั้น

    อนุรุทธะทั้งหลาย เรารู้ชัดว่า วิจิกิจฉาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของจิต จึงได้ละเสีย"

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสกับพระภิกษุเหล่านั้นอีกด้วยว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย เราคิดได้ว่า ขณะใด สมาธิของเราน้อย ขณะนั้น จักษุก็มีน้อย ด้วยจักษุอันน้อยนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างน้อย เห็นรูปก็น้อย

    ขณะใด สมาธิของเรามาก ขณะนั้น จักษุก็มีมาก ด้วยจักษุอันมากนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างมาก เห็นรูปก็มาก เป็นดังนี้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง"
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...