สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg

    [58]
    1 มกราคม 2498

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    เอวมฺเม สุตํ. เอกํ สมยํ ภควา พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย. ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ

    เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค หีโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต. เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ.

    กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ. อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค. เสยฺยถีทํ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ. อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ในวันปัณณรสีที่ 15 ค่ำ ในเดือนยี่นี้ เป็น วันขึ้นปีใหม่ของทางสุริยคติ ผู้เทศน์ก็ต้องดำริหาเรื่องที่จะต้องแสดงให้สมกับวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันแรก และเป็นวันมงคลของพระพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย วันนี้แหละถือว่าเป็นวันขึ้น ปีใหม่ เราจะทำอย่างไรจึงจะเป็นคนดี เรื่องนี้เรื่องที่เป็นมงคลดี-ไม่ดีนั้น พระองค์ทรงรับสั่ง ยืนยันตัดสิน ตั้งแต่ปีใหม่นี้เราต้องตั้งใจเด็ดขาดลงไป สมกับที่พระองค์จอมปราชญ์แสดง มงคลว่า อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เราต้องตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า อเสวนา จ พาลานํ ไม่เสพสมาคมคบหาคนพาลเด็ดขาด ทีเดียว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่ได้อรุณวันนี้ ไม่เสพคบหาสมาคมกับคนพาลเป็นเด็ดขาด ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา จะเสพสมาคมคบหาแต่บัณฑิตเท่านั้น ปูชา จ ปูชนียานํ จะบูชาสิ่งที่ ควรบูชา เอตํ ติพฺพิธํ 3 ข้อนี้แหละเป็นมงคลอันสูงสุดคือจะไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต บูชาแต่สิ่งที่ควรบูชา ตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ อย่าลอกแลก ไม่เสพสมาคมกับคนพาล น่ะ ในตัวของตัวเองมีหรือ ซีกทางโลกเป็นซีกของ โลภ โกรธ หลง เป็นเหตุของคนพาล เป็นเหตุให้เกิดพาล ซีกทางธรรมเป็นซีกของ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นเหตุของบัณฑิต เป็นเหตุให้เกิดบัณฑิต บูชาสิ่งที่ควรบูชา มั่นลงไปอย่างนี้นะ นี่วันนี้ปีใหม่เราต้องตั้งใจให้ เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ละก็ ตัดสินใจว่าเราดีแน่ นี่วันนี้ปีใหม่เราต้อง ตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ ไม่มีทุจริต ไม่มีชั่วเข้าไปเจือปนเลย เป็นซีกบัณฑิตแท้ๆ เหตุนี้แล เมื่อเป็นบัณฑิตแล้วสมควรจะฟังธรรมเทศนา

    ในวันใหม่ปีใหม่ในทางสุริยคตินี้ พระจอมไตรอุบัติขึ้นในโลก ยังไม่ได้แสดงธรรมเทศนา กับบุคคลใดบุคคลอื่นเลย ได้แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก โปรดพระปัญจวัคคีย์ วันนี้จะ แสดงปฐมเทศนาที่พระองค์โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แคว้นเมือง พาราณสี บัดนี้เราจะฟัง ปฐมเทศนา ซึ่งเป็นธรรมอันลุ่มลึกสุขุมนัก ไม่ใช่ธรรมพอดีพอร้าย และธรรมนี้เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไปด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ว่าเป็น ปฐมเทศนาเท่านั้น เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนทีเดียว ที่ผู้ปฏิบัติจะเอาตัวรอดได้ใน ธรรมวินัยของพระบรมศาสดา

    เริ่มต้นแห่งปฐมเทศนาว่า เอวมฺเม สุตํ นี่เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เอามากล่าว ปฏิญาณตนเพื่อให้พ้นจากความเป็นสัพพัญญู ว่าตัวไม่ได้รู้เอง เพราะได้ยินได้ฟังมาจาก สำนักของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เอวํ อากาเรน ด้วยอาการอย่างนี้ เอกํ สมยํ ในสมัย ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งหลาย ทรงประทับสำราญอิริยาบถ ณ สำนักมิคทายวัน แคว้นเมืองพาราณสี ครั้งนั้นพระองค์ทรงรับสั่งหาพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 มารับสั่งว่า เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดทั้ง 2 อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค การประกอบตน ให้พัวพันด้วยกามในกามทั้งหลายนี้ใด หีโน เป็นของต่ำทราม คมฺโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้าน เรือน โปถุชฺชนิโก เป็นคนมีกิเลสหนา อนริโยไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ อนตฺถสญฺหิโต ไม่เป็นประโยชน์ นี่คืออย่างหนึ่ง โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต การประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่านี้ใด กลับเป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบด้วย ไม่ไปจาก ข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อย่างหนึ่ง เป็น 2 อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค นี่เป็นตัวกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ทีเดียว

    เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่แวะเข้าใกล้ซึ่งที่สุดทั้ง 2 อย่างนี้นั้น อัน พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง และทำความเห็นให้เป็นปกติ เรียกว่า จกฺขุกรณี ญาณกรณี ย่อมเป็นไปพร้อม อุปสมาย เพื่อความเข้าไปสงบระงับ อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง สมฺโพธาย เพื่อความรู้พร้อม นิพฺพานาย เพื่อความดับสนิท กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติเป็นกลางนั้นที่พระตถาคต เจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโคหนทางมีองค์ 8 ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ เสยฺยถีทํ คือ สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นชอบ สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ สมฺมาวาจา กล่าววาจาชอบ สมฺมากมฺมนฺโต ทำการงานชอบ สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ สมฺมาสติ ระลึกชอบ สมฺมาสมาธิ ตั้งใจชอบ นี่ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง กระทำความเห็นให้เป็นปกติ กระทำความรู้ให้เป็น ปกติ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อมเพื่อพระนิพพาน

    นี้หลักประธานปฐมเทศนา ทรงรับสั่งใจความพระพุทธศาสนาบอกพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 โดยตรงๆ ไม่มีวกไปทางใดทางหนึ่งเลย บอกตรงๆ ทีเดียว แต่ว่าผู้ฟังพอเป็นนิสัยใจคอ เป็นฝ่าย ขิปฺปาภิญฺญา เท่านี้ก็เข้าใจแล้วว่าธรรมของพระศาสดานี้ลึกจริง ถ้าว่าไม่เป็น ขิปฺปาภิญฺญา เป็น ทนฺธาภิญฺญา จะต้องชี้แจงแสดงขยายออกไปอีก จึงจะเข้าใจปฐมเทศนา พระองค์ทรงรับสั่งบอกพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ว่าที่สุดทั้ง 2 อย่างนั่นนั้น อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ที่สุด 2 อย่างน่ะอะไร

    เอาใจไปจรดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ที่ชอบใจนั้นแหละ หรือ ยินดีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้นแล ตัวกามสุขัลลิกานุโยค ถ้าว่าเอาไปจรดรูปนั้นเข้าแล้ว จะเป็นอย่างไร ทุกฺโข เป็นทุกข์แก่ผู้เอาใจไปจรดนั้น หีโน ถ้าเอาใจไปจรดเข้ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้น ใจต่ำ ไม่สูง ใจต่ำทีเดียว ใจมืดทีเดียว ไม่สว่างเพราะเอาไปจรดกับ อ้ายที่ชอบใจ ที่มัวซัวเช่นนั้น ถ้าไปจรดที่มืดมันก็แสวงหาที่มืดทีเดียว ไม่ไปทางสว่างละ นั่นน่ะจับตัวได้ เอาใจเข้าจรดกับรูป เสียง กลิ่น สัมผัส ที่ชอบใจ ชวนไปทางมืดเสียแล้ว ไม่ชวนไปทางสว่าง ปิดทางสว่างเสียแล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้นท่านจึงได้ยืนยันหีโน ต่ำทราม ไม่ไปทางนักปราชญ์ราชบัณฑิต ไปทางโลก ไปทางปุถุชนคนพาลเสียแล้ว หีโน ต่ำทราม ลงไปอย่างนี้ คมฺโม ถ้าไปจรดมันเข้าไม่สะดวก ทำให้ต้องปลูกบ้านปลูกเรือนให้เหมาะเจาะ มีฝารอบขอบชิดให้ดีจึงจะสมความปรารถนานั้น ไปเสียทางโน้นอีกแล้ว นั้นใจมันชักชวน เสียไปทางนั้นแล้วนั้น โปถุชฺชนิโก ก็หมักหมมสั่งสมกิเลสให้หนาขึ้นทุกที ไม่บางสักทีหนึ่ง นั่นแหละรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เข้ามาๆๆ เป็นตึกร้านบ้านเรือนกันยกใหญ่เชียวคราวนี้ แน่นหนากันยกใหญ่เชียว อนริโย ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่หลุดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่หลุดจากความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่นั่นเอง พระองค์ทรงรับสั่ง ว่า นี่ๆ พวกนี้ กามสุขัลลิกานุโยค ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ ไปไม่ได้ทีเดียว อนตฺถสญฺหิโต แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ไม่มีประโยชน์เลย ถามคนแก่ดูก็ได้ที่ครอบครองเรือนมาแล้ว ที่ติดอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสมาแล้ว ติดจนกระทั่งถึงแก่เฒ่าชรา ไปถามเถอะ ร้อยคนพันคน มายืนยัน บอกตรงทุกคน ทำไมจึงบอกตรงล่ะ แกวางก้ามเสียแล้วนะ บอกตรงซิ ถ้ายังไม่วาง ก้าม ยังกระมิดกระเมี้ยนอยู่ ยังจะนิยมชมชื่นอยู่ นั่นพระองค์ทรงรับสั่งว่า กามสุขัลลิกานุโยค ไม่มีประโยชน์อะไร อย่าเข้าไปติด ถ้าเข้าไปติดแล้วไปไม่ได้

    นั่นว่า โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข ประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่า ไร้ ประโยชน์ นี่ อตฺตกิลมถานุโยโค เป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไปจากข้าศึกคือกิเลสนั้นไม่ได้ ไม่มี ประโยชน์อีกเหมือนกัน อัตตกิลมถานุโยคนั่นทำอย่างไร ประกอบความลำบากให้แก่ตน พวกประกอบความลำบากให้นั่นทำอย่างไร นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย นี่พวกประพฤติดับกิเลส นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย นอนหนามหนามนั่นเจ็บ เสียความสงัดยินดีก็หายไปได้ เข้าใจว่าหมดกิเลส เป็นทางหมด กิเลส ตากแดดล่ะ เมื่อตากแดด แดดร้อนเข้าก็ไม่มีความกำหนัดยินดีเข้านะซิ เข้าใจว่ากิเลส ดับแล้ว นั่นความเข้าใจของเขา เข้าใจอย่างนั้น ย่างไฟล่ะ ย่างไฟมาจากแดด แดดไม่สะดวก ก็เอาไฟย่างมาก่อไฟ ก่อไฟถ่าน อยู่ข้างบนเข้าให้ นอนบนกองไฟ นอนบนไฟย่าง นอนบนไฟ นอนข้างบนร้อนรุ่มเหมือนอย่างกับไฟย่างนั้น ได้ชื่อว่าย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้งล่ะ มีความ กำหนัดยินดีขึ้นมา ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเดินก็ไม่ถนัด ขาแข็งไปหมด ไม้เคาะหน้าแข้งเปก เข้าไปให้เงียบ หายความกำหนัดยินดี ดับไป เอ้อ! นี่ดีนี่ ได้อย่างทันอกทันใจ ทีหลัง กำหนัดยินดี เวลาไหนก็เอาไม้เคาะหน้าแข้งเปกๆ เข้าไปให้อย่างหนัก นี้ความกำหนัดยินดีก็ หายไป อย่างนี้เป็นหมู่เป็นพวก ต้องทำเหมือนกัน เป็นหนทางดีทางถูกของเขา พวกไม้เคาะ หน้าแข้ง หาบทราย หาบทรายเหนื่อยเต็มที่ หมดความกำหนัดยินดี ควายเปลี่ยวๆ ยังสยบ เลย ถึงอย่างนั้น หาบทราย ไอ้ทรายกองใหญ่ที่พวกอัตตกิลมถานุโยคประพฤติตนปฏิบัติ อยู่นาน เข้ามาอาศัยกองใหญ่มหึมาทีเดียว หาบมาเอามากองเข้าไว้ หาบเข้ามากองไว้ใหญ่ มหึมา นั่นเพื่อจะทำลายกิเลส ดับกิเลส นี่เขาเรียกว่าอัตตกิลมถานุโยคทั้งนั้น ลักษณะ อัตตกิลมถานุโยค มีมากมายหลายประการ ที่ผิดทางมรรคผลปฏิบัติตนให้เหนื่อยเปล่า ไม่มี ประโยชน์ นั่นแหละอัตตกิลมถานุโยคทั้งนั้น ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อัตตถิลมถา- นุโยคเหมือนกัน เอาดีไม่ได้ เดือดร้อนร่ำไป นั่นอัตตกิลมถานุโยคเหมือนกัน อัตตกิลมถานุโยค เป็นอย่างไรล่ะ ร่างกายทรุดโทรมไปตามกัน ฆ่าตัวเอง ทำลายกำลังตัวเอง ตัดแรงตัวเอง นี่ งมงายอวดว่าฉลาด นึกดูที เอ้อ! เราไม่รู้เท่าทัน ถ้ารู้เท่าทัน ไม่ถึงขนาดนี้เลย เพราะไม่ได้ยิน ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฝึกฝนใจทางพระพุทธเจ้าเลย ความรู้ไม่เท่าทัน จึงได้เป็นอัตตกิลมถานุโยคอยู่เช่นนี้ นี่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    2 อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค เลิกเสีย ไม่เสพ อย่าเสพ อย่าเอา ใจไปจรด อย่าเอาใจไปติด ปล่อยทีเดียว ปล่อยเสียให้หมด เมื่อปล่อยแล้วเดินมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่แวะวงเข้าไปใกล้ซึ่งทางทั้ง 2 อย่างนั้น อันพระตถาคตเจ้าตรัสรู้ แล้ว ด้วยพระญาณอันยิ่ง นี่ข้อปฏิบัติเป็นกลางซึ่งเราควรรู้ กลางนี่ลึกซึ้งนัก ไม่มีใครรู้ ใครเข้าใจกันเลย ธรรมที่เรียกว่าข้อปฏิบัตอันเป็นกลางน่ะ ปฏิบัติแปลว่า ถึงเฉพาะซึ่งกลาง อะไรถึง ต้องเอาใจเข้าถึงซึ่งกลางซิ เอาใจเข้าไปถึงซึ่งกลาง กลางอยู่ตรงไหน กลางมีแห่งเดียว เท่านั้นแหละ เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ใจเราก็หยุดอยู่กลาง เมื่อเวลาเราจะหลับ ใจเราก็ต้อง ไปหยุดกลาง ผิดกลางหลับไม่ได้ ผิดกลางเกิดไม่ได้ ผิดกลางตายไม่ได้ ผิดกลางตื่นไม่ได้ ต้องเข้ากลางถูกกลางละก้อ เป็นเกิด เป็นหลับ เป็นตื่นกันทีเดียว อยู่ตรงไหน ในมนุษย์นี่ มีแห่งเดียวเท่านั้น ศูนย์กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ได้ระดับ กรอบปรอททีเดียว สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มอีกเส้น ตึงอยู่ในระดับแค่กัน ได้ระดับกันทีเดียว ได้ระดับกันเหมือนแม่น้ำทีเดียว ระดับน้ำ หรือระดับ ปรอทแบบเดียวกัน เมื่อได้ระดับเช่นนั้นแล้ว ดึงทั้ง 2 เส้น ข้างหน้าข้างหลังตึง ตรงกลาง จรดกัน ตรงกลางจรดกันนั่นแหละ เขาเรียกว่า “กลางกั๊ก” ที่เส้นด้ายคาดกันไปนั่น กดลงไป นั่นกลางกั๊ก กลางกั๊กนั่นแหละถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟอง ไข่แดงของไก่ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ แรกเรามาเกิดเอาใจหยุดอยู่ ตรงนั้น ตายก็ไปอยู่ตรงนั้น หลับก็ไปอยู่ตรงนั้น ตื่นก็ไปอยู่ตรงนั้น นั่นแหละเป็นที่ดับ ที่หลับที่ตื่น กลางแท้ๆ เทียว กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ กลางนั่นแหละ ตรงกลางนั่นแหละ ไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางนั่นแหละ ได้ชื่อว่ามัชฌิมา มัชฌิมานะ พอหยุดก็หมดดีหมดชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วกัน หยุดทีเดียว พอหยุดจัดเป็นบุญก็ไม่ได้ พอหยุดจัดเป็นบาปก็ไม่ได้ จัดเป็นดีก็ไม่ได้ ชั่วก็ไม่ได้ ต้องจัดเป็นกลาง ตรงนั้นแหละกลางใจ หยุดก็เป็นกลางทีเดียว นี้ที่พระองค์ให้นัยไว้กับองคุลิมาลว่า “สมณะ หยุด!” “สมณะ หยุด!” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มา สมณะหยุดแล้ว ท่านก็หยุด นี้ต้องเอาไปหยุดตรงนี้ หยุด ตรงนั้นถูกมัชฌิมาปฏิปทาทีเดียว พอหยุดแล้วก็ตั้งใจอันนั้นที่หยุดนั้น อย่าให้กลับมาไม่หยุด อีกนะ ให้หยุดไปท่าเดียวนั่นแหละ พอหยุดแล้วก็ถามซิว่า หยุดลงไปแล้วยังตามอัตตกิลม- ถานุโยคมีไหม ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตัวรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ยินดีไหม ไม่มี นั่นกามสุขัลลิกานุโยคไม่มี ลำบากยากไร้ประโยชน์ (อัตตกิลมถานุโยค) ไม่มี หยุดตาม ปกติ ของเขาไม่มี ทางเขาไม่มีแล้ว เมื่อไม่มีทางดังกล่าวแล้ว นี่ตรงนี้แหละที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา พระตถาคตเจ้ารู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง ตรงนี้แห่งเดียวเท่านั้น ตั้งต้นนี้แหละจนกระทั่งถึงพระอรหัตตผล

    ทีนี้จะแสดง วิธีตรัสรู้ เป็นอันดับไป ถ้าไม่แสดงตรงไม่รู้ ฟังปฐมเทศนาไม่ออกทีเดียว อะไรล่ะ พอหยุดกึกเข้าคืออะไร หยุดกึกเข้านั่นละ เขาเรียกใจเป็นปกติละ หยุดนิ่งอย่าขยับไป หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ กลางของนิ่งนั้นแหละ จะไปเห็น ดวงธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิทดังกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า อยู่ในกลาง หยุดกลางนิ่งนั่นแหละ กลางนั่นแหละ พอเข้าถึงกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็หยุด นิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีกแบบเดียวกัน พอถูกส่วนเข้า จะเข้าถึง ดวงศีล เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถูกส่วน เข้ากลางดวงศีล นั่นเอง จะเข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงเท่ากัน พอถูกส่วนเข้า เท่านั้น จะเข้าถึง ดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เท่านั้นแหละ เข้าถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ-ญาณทัสสนะหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เห็น กายมนุษย์ ละเอียด เห็นแจ่มแปลกจริง กายนี้เราเคยฝันออกไป เวลาฝันมันออกไป เมื่อไม่ฝัน มันอยู่ ตรงนี้เองหรือ ให้เห็นแจ่มอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ กลางตัวของตัวนั่น เห็นชัดเชียว อีกชั้นหนึ่งละนะ เข้ามาถึงนี้ละ นี่พระพุทธเจ้าเดินอย่างนี้ พักอย่างนี้ทีเดียว เอา เราเดินเข้า มาชั้นหนึ่งแล้ว เข้ามาถึงอีกชั้นหนึ่งแล้ว ต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของกายมนุษย์หยาบละ เป็น หน้าที่ของกายมนุษย์ละเอียดทำไป

    ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกันที่เดียว พอถูกส่วนก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมา-นุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา แบบเดียวกัน เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณ- ทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายทิพย์ ที่นี่หมดหน้าที่ ของกายมนุษย์ละเอียดไปแล้ว

    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์อีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายทิพย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูก ส่วนเข้า เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ- ญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด นี้เป็นกายที่ 6 แล้ว พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วน เข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายอรูปพรหมละเอียด

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง สมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรม รูปเหมือนพระพุทธปฏิมากร เกตุดอก บัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน ไม่ถึง 5 วา หย่อนกว่า 5 วา นี่เรียกว่า กายธรรม

    กายธรรมนี่เรียกว่าพุทธรัตนะ นี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ได้อย่างนี้ นี่ปฐมยาม ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ทีเดียว เป็นตัวพระพุทธรัตนะอย่างนี้ นี่พระพุทธเจ้าท่าน ตรัสรู้ขึ้นอย่างนี้ นี่ปฐมยามได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ทีเดียว เป็นตัวพระพุทธเจ้า ทีเดียว รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องหน้า ที่ทำรูปไว้ นี่แหละ นี่แหละตัวพระพุทธเจ้าทีเดียว แต่ว่ากายเป็นที่ 9 กายที่ 9 เป็นกายนอกภพ ไม่ใช่กายในภพ ทำไมรู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ก็ทำรูปไว้ทุกวัดทุกวาจะไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธ- เจ้าอย่างไร ทำตำราไว้อย่างนี้ ก่อนเราเกิดมาเป็นไหนๆ ก็ทำไว้อย่างนี้ ปรากฏอย่างนี้แหละ ตัวพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทีเดียว ตัวพุทธรัตนะทีเดียว อ้อ! นี่เข้าถึงพุทธรัตนะ เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว ที่ท่านรับรองว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ตถาคเตน แปลว่า ตถาคต ธรรมกายน่ะ แต่ว่าธรรมกายนั้นท่านทรงรับสั่งว่า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราพระตถาคต ผู้ เป็นธรรมกาย ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ คำว่า ธรรมกายน่ะ ตถาคตแท้ๆ ทรงรับสั่งอย่างนี้ เข้าถึงธรรมกายแล้วนี่ตถาคตทีเดียว รู้ขึ้นแล้ว เป็นขึ้นแล้ว ปรากฏขึ้นแล้ว

    ต่อไปนี้เรามาเป็นธรรมกายดังนี้ รู้จักทางแล้ว ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ดวงธรรมของธรรมกายวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตัก ธรรมกาย กลมรอบตัว ใสเกินกว่าใส ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นธรรมกาย หยุดนิ่งพอถูกส่วน ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงธรรมนั้น หยุด อยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงปัญญา ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณ- ทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น ธรรมกายละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ธรรมกายหยาบเป็นพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกายเป็นธรรมรัตนะ ธรรมกายละเอียดอยู่ในกลางดวงธรรมรัตนะ นั่นแหละเป็นสังฆรัตนะ ดังนี้ อยู่ในตัว ที่อื่นไม่มี ทุกคนมีอยู่ในตัวของตัว ผู้หญิงก็มี ผู้ชายก็มี เช่นเดียวกันทุกคน นี่แหละพุทธรัตนะ ธรรม- รัตนะ สังฆรัตนะ เมื่อรู้จักดังนี้ เมื่อท่านเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นเช่นนี้แล้ว นี้เป็นโคตรภูแล้ว ท่านก็สำเร็จขึ้นไปอีก 8 ชั้น ท่านก็เป็นพระอรหันต์ไปอยู่กับพระพุทธเจ้าทีเดียว

    พอเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ท่านเอาเรื่องนี้มาแสดงกับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ให้ พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ฟัง ท่านแสดงเรื่องของท่านว่า อันเราตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญา อันยิ่ง ท่านทำความเห็นเป็นปกติ เห็นอะไร ตาอะไร ตาพระพุทธเจ้า ตาธรรมกาย มีตา ตาดีนัก เห็นด้วยตาธรรมกายนั่นแหละ จกฺขุกรณี ทำให้เห็นเป็นปกติ เห็นความจริงหมด ญาณกรณี กระทำความรู้ให้เป็นปกติ ญาณของท่าน

    เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ส่วนดวงวิญญาณของท่านก็เล็กเท่าดวงตาดำข้างในของท่าน เมื่อท่านขึ้นไปเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตาของท่านก็มีเหมือนเราเช่นนี้ ตาธรรมกาย มีญาณ ของธรรมกาย มีดวงวิญญาณนั่นแหละกลับเป็นดวงญาณใหญ่โตมโหฬาร ใหญ่โตขึ้น ดวงใส เท่าดวงตาดำ ข้างในแหละที่มีความรู้อยู่ในใจนี้แหละเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ พอไปเป็น ธรรมกายเข้าแล้วกลับเป็นดวงญาณทีเดียว วัดผ่าเส้นศูนย์เท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงญาณ เท่าหน้าตักธรรมกาย นั้นแหละเรียกว่า จกฺขุกรณี เห็นเป็นปกติ เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็น อะไร เห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ในมนุษย์โลกนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ของมนุษย์ละเอียด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ ของกายทิพย์ละเอียด เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด, อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ของ 8 กายนี้ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นจริง เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็นไม่เที่ยงจริงๆ เห็นจริงอย่างนี้ ตามนุษย์เห็นไม่ได้ ตา 8 กาย ในภพนี้เห็นไม่ได้ กายมนุษย์ก็ไม่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายมนุษย์ละเอียดก็ไม่เห็น กายทิพย์ก็ไม่เห็น กายทิพย์ละเอียดก็ไม่เห็น กายรูปพรหมก็ไม่เห็น กายรูปพรหมละเอียด ก็ไม่เห็น อรูปพรหมก็ไม่เห็น อรูปพรหมละเอียดก็ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นไม่ได้ ตามันไม่ดี ตามันไม่ถึงขั้นที่จะได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำไมไม่ถึงขนาดเล่า ก็มัน ขั้นสมถะนี่กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด นี่มันขั้นสมถะ แต่รูปฌาณ เท่านั้น เลยไปไม่ได้ พอถึงกายธรรมมันขั้นวิปัสสนา ตาพระพุทธเจ้าท่านก็เห็นเบญจขันธ์ ทั้ง 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แท้ๆ เห็นจริงๆ จังๆ อย่างนั้นละ เห็นแท้ทีเดียว เห็นชัดๆ ไม่ได้เห็นด้วยตากายในภพ เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยฌาณธรรมกาย เห็นด้วยตาพระ พุทธเจ้า รู้ด้วยญาณพระพุทธเจ้า เห็นอย่างนี้แหละเห็นด้วยตาของพระตถาคตเจ้า รู้ด้วย ญาณของพระตถาคตเจ้า ธรรมกายนั่นเป็นตัวของพระตถาคตเจ้าทีเดียว ไม่ใช่อื่น เห็นชัด อย่างนี้นี่แหละ เห็นอย่างนี้แหละเขาเรียกวิปัสสนา เห็นเบ็ญจขันธ์ทั้ง 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เห็นเป็นอนิจจังน่ะเห็นอย่างไร เห็นตั้งแต่กายมนุษย์เกิด กายมนุษย์เกิดไม่อยู่ที่ เกิดเรื่อยๆ เกิดริบๆ เหมือนไฟจุดอยู่ มีไส้ มีน้ำมัน มีตะเกียง จุดมันก็ลุกโพลง เราเข้าใจ ว่าไฟดวงนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ ไอ้กายมนุษย์มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ แต่ตาธรรมกายไม่ เห็นอย่างนั้น เห็นไฟเก่าหมดไป ไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมา ไฟเก่าหมดไปไฟใหม่เดินเรื่อย ขึ้นมา แล้วก็เอามือคลำดูข้างบน ก็รู้ ร้อนวูบๆๆๆ ไป อ้อ! ไฟใหม่เกิดเรื่อย กายมนุษย์นี้ก็ เช่นเดียวกัน ไอ้เก่าตายไป ไอ้ใหม่เกิดเรื่อย หนุนไม่ได้หยุดเหมือนไฟ เหมือนดวงไฟ อย่างนั้นแหละ ไม่ขาดสาย มันเกิดหนุนอย่างนั้น นั่นเห็นขนาดนั้น เห็นเกิดเห็นตายเรื่อย เกิดแล้วก็ตายไป เกิดแล้วก็ตายไป ไม่มีหยุดละ เหมือนกันหมดทั้งสากลโลก เห็นทีเดียวว่า มีแต่เกิดกับดับ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมมีความเกิดเสมอ สิ่งทั้งปวงมีเกิดเสมอ มีความดับเสมอ มีเกิดกับดับ 2 อย่างเท่านั้น หมดทั้งสากลโลก เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกายจริงๆ อย่างนี้ นี้ทำวิปัสสนา เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้

    ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ก็แบบเดียวกัน สมุปาทยธมฺมํ เห็นตลอดขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12, แปดดวงนี้เห็นตลอด หมด เห็นจริงเห็นจังทีเดียว เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกาย รู้ชัดอย่างนี้ นี้เรียกว่า สํวตฺตติ ย่อมเป็นด้วยพร้อม อุปสมาย เพื่อความสงบเมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่มี สงบหมด หายไปหมด เงียบฉี่เชียว ที่ยินดีถอนไม่ออก เงียบฉี่ เชียว อภิญฺญาย รู้ยิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง สมฺโพธาย รู้พร้อมรู้จริงทุกสิ่งทุกอย่าง นิพฺพานาย ดับหมด ราคะ โทสะ โมหะ ดับหมด ปรากฏอย่างนี้ ดังความจริงอย่างนี้ นี่ที่ไปถึง พระตถาคตเจ้าอย่างนี้ ไปถึงธรรมกายเช่นนี้ ไม่ได้ไปทางอื่นเลย ไปทางปฐมมรรค ไปกลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ดวงศีลคืออะไร ดวงศีลนะคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว อริยมรรค 3 องค์ นั้นเรียกว่าดวงศีล ดวงสมาธิ : สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อริยมรรคอีก 3 องค์ ดวงปัญญา : สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นแปด องค์ในอริยมรรคนั้นทั้งสิ้นอยู่ในนั้น จึงได้ เข้าถึงธรรมกายนี้ได้ ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แท้ๆ นี้แหละ ให้แน่วแน่ลงไว้ เราก็ เกิดมาประสพพบพระพุทธศาสนา พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ไม่ได้ถึงตัวจริงของ ศาสนาไม่ได้ มีตัวจริงศาสนา นี่แก่นศาสนาอยู่ในตัวของเราเป็นลำดับของกายเข้าไป อย่าไปทางอื่นนะ ไม่ได้ ต้องไปทางหยุดทางเดียว จะยุ่งยากอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าให้ถึง หยุด ให้ถูกส่วน หยุดให้เข้ากลาง หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา ทำตามที่พระองค์ รับสั่งไว้ในปฐมเทศนา ให้แน่นอนอย่างนี้ จะได้เข้าถึงตัวจริงเช่นนี้ ถ้าเข้าถึงตัวจริงเช่นนี้แล้ว ก็พึงรู้ อ้อ! ที่แสดงมานี้ เว้นเสียจากที่สุดทั้ง 2 สิ่ง ไม่เสพที่สุดทั้ง 2 นั้น เดินตามมัชฌิมาปฏิปทาไป ทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ไปเป็นลำดับนั้น จึงเข้าถึงตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นตถาคตเจ้าแท้ๆ ดังที่ได้แสดงมานี้ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ผู้มีปรีชาญาณ มนสิการกำหนดไว้ในใจทุกคน ทุกถ้วนหน้า

    วันนี้เป็นวันปีใหม่ ได้แสดงปฐมเทศนา พระองค์ทรงตรัสเทศนาเป็นเบื้องต้น เป็น ทีแรกเรียกว่าปฐมเทศนา พอเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท คฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ว่าเราท่านทั้งหลายผู้เป็นเมธีมีปัญญาต้องการสิ่งที่เป็นมงคล ต้องการความเจริญแล้ว ตั้งใจ ให้แน่แน่ว ให้ถึงพระรัตนตรัย วันนี้เป็นวันใหม่ ชั่วร้ายด้วยกายวาจาใจตัดขาด อย่ากระทำ ทำใจให้หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำทางพระพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมา มนุษย์แท้ๆ ถึงจะ ไม่เข้าใจ อย่างดีมนุษย์ธรรมดาเห็นจะดีกว่าค้างคาวแน่ ฟังเทศน์เอาบุญกัน ไม่ฟังเทศน์เอา เรื่องเอาราวกัน คนแก่คนเฒ่าเป็นอย่างนั้น คนที่สนใจฟังธรรมจริงๆ เรียนธรรมจริงๆ รู้ธรรม จริงๆ เป็นอีกพวกหนึ่ง ต้องเรียนเอาเรื่องเอาราวกันจริงๆ จึงจะปฏิบัติธรรมกันในพระพุทธศาสนาได้ ดังนี้

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ เป็นตำรับตำราแน่นอนในทางพระพุทธศาสนา ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สิ่งอื่น ไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย สรณํ เม รตนตฺตยํ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอัน ประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ มาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา ขอ สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    การเห็นกับวิปัสสนากรรมฐาน


    ถ้าพิจารณาด้วยหลักการทางภาษาศาสตร์ เมื่อวิปัสสนาแปลว่า “เห็นแจ้ง” ก็หมายความว่า วิปัสสนากรรมฐานต้องมีการเห็นเป็นหลักสำคัญเลย ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าก็ต้องทรงใช้ศัพท์อื่นไปแล้ว นี่ว่ากันตามหลักการของภาษาล้วนๆ นอกจากชื่อจะบ่งแสดงให้เห็นว่า วิปัสสนาต้องมีการเห็นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ยังมีพระสูตรเป็นจำนวนมากที่สนับสนุนว่า วิปัสสนาต้องมีการเห็น


    ธัมมจักรกัปปวัตนสูตรเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกมาสอนปัจจวัคคีย์ และน่าจะเป็นพระสูตรที่สำคัญมาก เพราะ พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า พระองค์เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าแล้ว ด้วยวิธีการใด ในพระสูตรนี้พระองค์ได้ทรงกล่าวกับปัจจวัคคีย์ว่า ไม่ควรทรมาณ ตนเองให้ลำบาก และหมกมุ่นอยู่ในกาม เพราะไม่เป็นประโยชน์ ต่อจากนั้นพระองค์ทรงกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พระองค์มีดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณ/ความรู้จึงเกิดตามขึ้นมา ดังนี้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?


    -->> จะเห็นได้ว่า พระองค์ตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า พระองค์ทรงทำดวงตาให้เกิด หลังจากนั้นมาจึงทรงทำญาน/ความรู้ให้เกิด ทั้งดวงตาและญาน/ความรู้นั้นจะทำให้บรรลุพระนิพพานได้ หลังจากนั้น พระองค์ทรงอธิบายต่อถึงเรื่องอริยสัจ 4 ซึ่งรวมถึงมรรค 8 ด้วย หลังจากพระองค์ตรัสว่า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ


    -->> พระองค์ตรัสข้อความดังกล่าว 3 รอบ รอบแรกทรงกล่าวว่า พระองค์รู้จักอริสัจ 4 รอบที่สองทรงกล่าวว่า จะทำอะไรกับอริสัจ 4 และรอบที่สาม ทรงกล่าวว่า ได้ทำอะไรไปแล้วกับอริยสัจ 4 ซึ่งเมื่อกระทำแล้วพระองค์จึงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ข้อความในส่วนนี้ก็เช่นเดียวกัน พระองค์ตรัสว่า ดวงตาของพระองค์เกิดขึ้น ลำดับญาณ/ความรู้จึงเกิดขึ้น ต่อจากนั้น ปัญญา วิทยา/วิชา และแสงสว่างจึงเกิดขึ้นมาตามลำดับ


    ต่อจากนั้นมา พระสูตรนี้กล่าวว่า
    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.


    -->> จะเห็นได้ว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสธัมมจักรกัปปวัตรสูตรอยู่นั้น ปัจจวัคคีย์ก็ปฏิบัติธรรมตามไปด้วย เมื่อใจสงบเป็นหนึ่งเดียว/เอกัคคตารมณ์แล้ว พระโกณฑัญญะจึงมีดวงตาเกิดขึ้น และเห็น “ธรรม” ซึ่งผ่องใส ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เมื่อพระโกณฑัญญะเห็นธรรมแล้ว จึงกล่าวขอบรรพชาอุปสมบท


    ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้วได้รู้ธรรม แจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น.


    -->> จากธัมมจักกัปปวัฒนสูตรข้างต้น คำว่าดวงตานั้นต้องไม่ใช่ดวงตาที่เป็นตาเนื้อของพระพุทธเจ้าและปัจจวัคคีย์ เพราะ ตาเนื้อนั้นมนุษย์ทุกคนต้องมีมาตั้งแต่เกิดแล้ว แสดงว่า ดวงตาในพระสูตรนี้ต้องเป็นดวงตาชนิดอื่น

    -->> มีนักวิชาการเป็นจำนวนมากที่อธิบายคำว่า “เห็น” ในพระสูตรนี้เป็นไปในทำนองว่า “เข้าใจ” หรืออธิบายคำว่า “เห็น” เป็นเพียงชื่อของปัญญา บางท่านก็กล่าวว่า เป็นสภาวธรรม โดยไม่อธิบายให้ชัดเจนว่า เป็นสภาวธรรมอย่างไร ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าไม่ถูกต้อง คำว่าเห็นจะต้องอาศัยอายตนะตาเป็นเครื่องมือ ซึ่งตาหรือจักษุอื่นๆ ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระสุตตันตปิฎก เล่ม21 ขุททกนิกาย มหานิทเทส ดังนี้


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม ร่ำไรใกล้ปากมัจจุ. สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา
    คำว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู [ซึ่งหมู่สัตว์นี้] ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา


    -->> จากพระสูตรดังกล่าวจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าตรัสก่อนว่า พระองค์เห็นหมู่สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา พระองค์ทรงใช้คำที่ต้องใช้ตาเป็นเครื่องมือแทบจะคลอบคลุมทั้งหมด คือ เห็น แลดู ตรวจดู พิจาณาดู ด้วยดวงตา 5 ประเภทคือ 1) มังสจักษุ/ตาเนื้อ 2) ทิพยจักษุ 3) ปัญญาจักษุ 4) พุทธจักษุ 5) สมันตจักษุ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าและพระปัจจวัคคีย์นั้น ต้องเห็นด้วยทิพยจักษุ, ปัญญาจักษุ, พุทธจักษุ หรือสมันตจักษุ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะหลายอย่างแต่ต่างกรรมต่างวาระกัน


    หลังจากทรงสอนธัมมจักรกัปปวัตนสูตรแก่ปัจจวัคคีย์ไปแล้ว ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 คนดังกล่าวมีดวงตาเห็นธรรมในระยะเวลาไล่เลี่ยกันแต่ไม่พร้อมกัน กล่าวคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรมก่อน หลังจากนั้นพระวัปปะกับพระภัททิยะมีดวงตาเห็นธรรมต่อมา และคู่สุดท้ายที่มีดวงตาเห็นธรรมก็คือ พระมหานามะกับพระอัสสชิ แต่พระปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 รูป ยังไม่มีใครบรรลุพระอรหันต์ หลังจากนั้นมา พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนอนัตตลักขณสูตร หลังจากได้ฟังพระสูตรนี้แล้ว พระปัจจวัคคีย์จึงบรรลุพระอรหันต์ทั้ง 5 รูป


    อนัตตลักขณสูตรเริ่มต้นด้วยคำสอนที่ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา ไม่ได้เป็นอัตตาอย่างที่พระปัจจวัคคีย์ยังมีความเห็นความเชื่อเช่นนั้นอยู่ การที่พระปัจจวัคคีย์เห็นว่า ที่ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอัตตาจึงทำให้ไม่สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้ หลังจากนั้นพระองค์จึงตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ ดังนี้


    ตรัสถาม ความเห็น ของพระปัญจวัคคีย์


    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

    ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.



    -->> ในข้อความข้างต้นนั้น มีคำว่า “ความเห็น” ซึ่งในภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจำวันจะตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า opinion; view; viewpoint; idea; suggestion; assumption; belief; thought เป็นต้น ความเห็นในภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะเกิดมาจาก การเห็น การอ่าน การฟัง แล้วมาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดเป็นความเห็นขึ้นมา แต่ในพระสูตรดังกล่าวนี้ พระพุทธเจ้ามีพระสงค์จะทรงถามความเห็นที่เกิดจากการ “เห็น” จริงๆ จะสังเกตได้จากข้อความ ที่ว่า “ควรหรือจะตามเห็น” สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?


    หลังจากที่ตรัสถามความเห็นของปัจวัคคีย์จนครบทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณแล้ว พระองค์ตรัสต่อไปว่า



    ตรัสให้พิจารณาโดย ยถาภูตญาณทัสสนะ


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่ สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.


    .......................................................................................................................

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้นเมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


    -->> ขอให้สังเกตข้อความในพระสูตรส่วนนี้ จำนวน 3 ข้อความนี้ “ยถาภูตญาณทัสสนะ”, “เห็นรูปนั้น”, “อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้”

    คำว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ แปลว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งเมื่อคำนึงถึงธัมมจักกัปปวัตนสูตรที่กล่าวไปแล้วว่า พระองค์ทรงทำดวงตาให้เกิด หลังจากนั้นมาจึงทรงทำญาน/ความรู้ให้เกิด ดังนั้น การรู้เห็นในพระสูตรนี้จึงเกิดจาก “การเห็น” และ “การรู้” หรือเมื่อเห็นแล้วจึงรู้ และเป็นการรู้การเห็นตามความเป็นจริงด้วย ซึ่งสามารถยืนยันได้จากข้อความที่ต่อมาว่า เธอทั้งหลายพึงเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณด้วยปัญญาอันชอบ


    ข้อความที่ยืนยันได้อย่างชัดแจ้งที่สุดก็คือ ข้อความที่ว่า “อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้” ข้อความนี้แสดงว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศน์สั่งสอนอยู่นั้น พระปัจจวัคคีย์ได้ปฏิบัติธรรมตามไปด้วย ขณะที่หูได้ยินหรือกำลังฟังอยู่ ใจ/จิต/วิญญาณก็กระทำตามไปด้วย จึง “เห็น” ตามไปตามคำที่พระองค์สอน เมื่อทั้งฟังทั้งเห็นตามความเป็นจริง พระปัจจวัคีย์จึงบรรลุพระอรหันต์ทั้ง 5 รูป

    จากหลักฐานจากพระไตรปิฎกและที่อธิบายมาข้างต้น โดยยกธัมมจักกัปปวัตนสูตรและอนัตตลักขณสูตรซึ่งเป็นพระสูตรแรกและพระสูตรที่สองที่พระพุทธเจ้านำมาทรงสอนปัจจวัคคีย์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ในการปฏิบัติธรรมให้เพื่อ “รู้” และ “เข้าใจ” ในหัวข้อธรรมะต่างๆ ต้องมี “การเห็น” ด้วยตา คือ ตั้งแต่ตาเนื้อของร่างกายตลอดจนตาภายใน อย่างไรก็ดี เพื่อให้ข้อเขียนของผู้เขียนมีน้ำหนักแน่นขึ้นไปอีก ผู้เขียนขอยกตัวอย่างสำคัญอีกสองตัวอย่างดังนี้



    ตัวอย่างแรก


    ในพระไตรปิฎก เล่ม 19 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หัวข้อนีวรณสูตร พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงนิวรณ์ 5 กับโพชฌงค์ 7 นิวรณ์ 5 ก็รู้กันทั่วๆ ไปว่าเป็นเครื่องกั้นคุณความดี สำหรับโพชฌงค์ 7 นั้น เป็นหัวข้อธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ซึ่งก็แสดงว่ามีความสำคัญมากเลยทีเดียว


    ในนีวรณสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า นิวรณ์ 5 ทำให้มืดเพราะจักษุไม่มี และญาณ/ความรู้ไม่มี แต่โพชฌงค์ 7 นั้น กระทำสิ่งตรงกันข้ามกับนิวรณ์ 5 คือ ทำให้มีจักษุ ซึ่งก็หมายถึงมีการเห็นเกิดขึ้น และก็มีญาณ/ความรู้เกิดขึ้น ดังนี้


    [501] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ 5 เหล่านี้ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุกระทำไม่ให้มีญาณเป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

    [502] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน



    ตัวอย่างที่สอง


    ตัวอย่างแรกนั้น เป็นกระบวนการในการที่จะตรัสรู้ซึ่งก็ต้องมีการเห็น ญาณ/ความรู้จึงเกิดขึ้น พระสูตรต่อไป ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ยืนยันอีกว่า จะต้องมีการเห็น คือ มีจักษุเกิดขึ้น จักษุนี้มีประสิทธิภาพดีกว่าตาเนื้อ


    พระสูตรนี้กล่าวถึงความเป็นมาว่า มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อเวรัญชพราหมณ์ กล่าวหาว่า พระพุทธเจ้าทรงขาดสัมมาคารวะกับพราหมณ์ผู้ใหญ่ ซึ่งตามวัฒนธรรมประเพณีของอินเดียสมัยนั้น ผู้มีอายุน้อยกว่าต้องให้ความเคารพกับผู้มีอาวุโสกว่า


    พระพุทธเจ้าก็ทรงอธิบายเปรียบเทียบการกระทำของพระองค์กับการฟักไข่ ว่าไก่ที่ออกมาทีหลังๆ นั้น จะต้องเรียกไก่ที่ฟักตัวแรกว่าพี่ พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้ก่อนคนอื่น และนำมาสอน คนอื่นก็ต้องให้ความเคารพกับพระองค์ หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงบรรยายถึงเหตุการณ์ที่พระองค์ตรัสรู้วิชชา 3 วิชชาแรกก็คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ การรู้จักระลึกชาติได้ แต่เป็นการระลึกชาติของตนเอง ต่อมาวิชชาที่สองคือ จุตูปปาตญาณ คือ การรู้จักระลึกชาติของคนอื่นได้ ซึ่งมีข้อความบางส่วนดังนี้


    เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการดังนี้


    -->> จากข้อความดังกล่าว พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า พระองค์ทรงเห็นการเกิดของหมู่สัตว์ทั้งหลายด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าจักษุของมนุษย์ นี่ก็หมายถึงว่า ในการระลึกชาติของพระองค์เองก็ต้องเห็นในลักษณะนี้ ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือ เห็นเหมือนเราดูหนัง ไม่ใช่นึกเอาแบบมัวๆ ซัวๆ ไม่ได้เห็นเป็นภาพชัดเจน ในกรณีก็เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า สายปฏิบัติใดก็ตามที่ปฏิเสธการเห็น ก็ไม่สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้เลย


    ต่อจากนั้นพระองค์ก็ทรงกล่าวถึงวิชชาสุดท้ายว่า


    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ


    -->> ข้อความที่ว่า “รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้” ก็เป็นหลักฐานสำคัญว่า ในการพิจารณาหัวข้อธรรมะขั้นละเอียดลึกซึ้งจนถึงการบรรลุพระอรหันต์ต้องใช้การเห็นเป็นสำคัญ พูดให้ง่ายเข้าก็คือ ทั้งเห็นทั้งรู้ และก็ทั้งรู้ทั้งเห็น จะรู้อย่างเดียวโดยปราศจากการเห็นไม่ได้ เพราะ รู้อย่างนั้นไม่ใช่การรู้แจ้งเห็นจริง [1]


    -->> ในการตอบคำถามข้อนี้ ถ้าไม่นำเรื่องการเห็นของสายวิชชาธรรมกายเข้ามาตอบด้วย ก็อาจจะทำให้ผู้อ่านไม่ค่อยเข้าใจดีนัก จึงขอนำการเห็นนิมิตกับการเห็นดวงปฐมมรรครวมถึงกายต่างๆ มาอธิบายดังนี้


    --> ขั้นตอนแรกของวิชชาธรรมกายนั้น วิทยากรจะสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรม “นึกให้เห็น” โดยมีการนำเอาดวงแก้วมาชูให้เห็นก่อน การเห็นครั้งแรกนี้เป็น “ภาพนิมิต” จึงไม่ใช่การเห็นด้วยตาภายใน แต่เป็นการจำดวงแก้วที่เห็นด้วยตาเนื้อ แล้วใช้จินตนาการ


    การนึกให้เห็นดวงแก้วภาพนิมิตนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมจะนึกอย่างมีทิศทาง เพราะ ในการเห็นวัตถุของตาเนื้อนั้น จะต้องอาศัยแสงกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาของเรา ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นการจินตนาการก็เป็นการจินตนาการที่มีทิศทางในการเห็นกำกับ

    แต่เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมตามสายวิชชาธรรมกาย “เห็น” ดวงปฐมมรรคนั้น เป็นการเห็นโดยรอบ คือ เห็นดวงปฐมมรรคซึ่งมีลักษณะคล้ายดวงแก้ว แต่ใหญ่กว่า ใสกว่าเหมือนกับมีตาอยู่รอบทั้งภายนอกและภายใน การเห็นดวงปฐมมรรคนี้ไม่มีทิศทางที่กำกับการเห็น เพราะเป็นการเห็นด้วยตาภายใน



    -->> สายปฏิบัติธรรมอื่นๆ ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการเห็นนิมิตกับการเห็นตามสายวิชชาธรรมกาย หลังจากนั้นไปแล้ว การเห็นของสายวิชชาธรรมกายจะมีหลักสูตรกำกับ เป็นระดับ เป็นขั้น เป็นตอน ไม่ใช่เห็นไปทั่วอย่างนิมิต เช่น เห็นป่าเขา ลำธาร ทะเล ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งก็ตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า “ปัจจัตตัง” คือ เป็นการเห็นด้วยตนเองของใครของมัน แต่การเห็นนั้น สอดคล้องกันเพราะมีหลักสูตรกำกับ ไม่ใช่ต่างคนต่างเห็นไปคนละเรื่อง คนละราวอย่างเช่นการเห็นนิมิต


    นอกจากนั้นแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเห็นดวงปฐมมรรคนั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายด้วย ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ปฏิบัติธรรมจะรู้สึก โปร่ง โล่ง สบาย และจะเข้าใจว่า “ความสุขที่เกิดจากความสงบ” นั้นเป็นอย่างไร ขั้นตอนในส่วนนี้ พุทธวิชาการที่ศึกษาปริยัติธรรมแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ปฏิบัติธรรมเลย หรือปฏิบัติธรรมอย่างผิวเผิน หรือตีความไปว่า การปฏิบัติตัวของท่านทุกวันนั้น เป็นการปฏิบัติธรรม โดยไม่ได้ปฏิบัติสมถ/วิปัสสนากรรมฐาน จะไม่มีทางเข้าใจเป็นเด็ดขาด


    -->> โดยสรุป การเห็นเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเป็นสมถกรรมฐานหรือวิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงหัวข้อธรรมะในระดับสูง ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าปฏิเสธการเห็นว่า ไม่ถูกต้อง ไม่จริง ก็เปรียบเสมือนกับคนที่มีตาพิการในโลกของเรานี้ ซึ่งไม่อาจจะเรียนรู้โลกได้ถูกต้อง เป็นจริงอย่างเช่นที่คนตาดีกระทำได้เลย ถ้าไม่อาศัยการเห็น ก็ไม่สามารถจะทำให้ใจ/จิต/วิญญาณ เบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณได้ เมื่อใจ/จิต/วิญญาณไม่เบื่อหน่ายในขันธ์ห้า ความกำหนัด ก็ไม่สิ้นไป ใจ/จิต/วิญญาณก็ไม่สามารถพ้นภพสามไปได้ การบรรลุพระอรหันต์ก็ไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้


    ----------------------------------


    https://www.gotoknow.org/posts/215535
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    หลวงป๋า :: วิปัสสนานี่คืออะไร เพราะเราไปนึกว่ามันจะต้องทำอย่างนั้น มันจะต้องทำอย่างนี้ นึกถึงรูปแบบ ซึ่งมันไม่ใช่ อ้ายรูปแบบมันจะใช่แหละ แต่ว่าตัวจริงมันไม่ใช่ ของจริงที่เราจะรู้น่ะมันไม่ใช่ อ้ายรูปแบบมันเรื่องของรูปแบบ ใช่ไหม

    ที่นี้ กล่าวถึงรูปกายอุบัติและธรรมกายอุบัติเนี่ย ท่านก็บอกชัดเลย เมื่อธรรมกายอุบัตินั้น เมื่อตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ที่นี้มีคำถามว่า ถ้าท่านอยากจะถามว่า อย่างนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าไปอยู่ในสำนักอาฬารดาบส-อุทกดาบส ก็เรียนจบ พระองค์จบไตรเพทมาก่อน เท่ากับ Dr. Ph.D. แล้วมาเรียนในสำนักอาฬารดาบส สมาบัติ 7 อุทกดาบสเพิ่มอรูปฌาน สมาบัติ 8 ถามว่า โดยสามัญสำนึกธรรมดาถามว่า ทิพพจักษุ-ทิพพโสตพระพุทธเจ้าเกิดหรือยัง ถามท่าน ?

    พระครูฯ :: เกิดแล้วครับ

    หลวงป๋า :: เกิดแล้ว เห็นหมดแล้วนรก-สวรรค์ เห็นหมดแล้ว ที่นี้ เมื่อเห็นนรกสวรรค์หมดแล้วเนี่ย ถ้าพระองค์ไม่มีญาณที่เหนืออาจารย์ ท่านจะอ่านออกไหมว่าเท่านี้ยังไม่สามารถจะพ้นทุกข์ได้

    พระครู :: หลวงป๋ากำลังมองว่า อาจารย์ถึงขนาดนี้ ยังไม่

    หลวงป๋า :: ยังไม่เห็น แต่ด้วยบุญบารมีของพระองค์ พระองค์เริ่มบรรลุคุณธรรมที่สูงกว่าสมาบัติ 8 จึงเห็นแม้แต่รูปฌานและหรืออรูปฌานก็ยังไม่เป็นธรรมที่นำให้พ้นโลกได้ ฟังให้ดีนะตรงนี้ นะ มาแปลกันผิดเพี้ยน มาแปลกันว่าไม่ใช่ทาง คนก็เลยไม่ทำสมาธิ เพราะไม่เข้าใจว่าคำว่าทางมันคืออะไร คือ มันไม่ใช่ธรรมที่มีอานุภาพให้พ้นโลกได้ ถ้าพูดตรงนี้แล้วก็คือยังไม่พอที่จะนำให้พ้นโลกได้

    พระครู :: มันไม่ใช่ทางที่ว่าจะต้องไม่ใช่ว่าจะไม่ดำเนินไป ดำเนินไป แต่ว่ามันไม่ถึงที่สุดของมัน

    หลวงป๋า :: ใช่! นิดเดียวนี่ก็เรียกว่าผิดประเด็น หลวงป๋าจึงเน้นแต่ต้น การศึกษาหาข้อมูลต้องเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ ที่ถูกต้องและตรงประเด็น นี่คือประเด็น ใช่ไหม ก็เลยไปแปลกันว่าสมาบัติ 8 ไม่ใช่ทาง เลยตำหนิสมาธิเลยทีนี้ ยิ่งตำหนิปุ้บ ของดีของถูกต้อง ทำให้ตัวเองปิดบังปัญญาตัวเองเลย ปิดบังคุณธรรมของตัวเองเลย รู้จักเท่าไหร่ เพียงแค่นี้ คุณพูดคุณสอนว่าสมาธิไม่มีคุณประโยชน์ ไม่ต้องทำหรอก ทำปัญญาเลย แค่นี้มันก็ปิดบังคุณแล้ว กรรมน่ะ เล่นๆได้ที่ไหนเรื่องธรรมะ...

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    37984092_913313595536480_7102356635917484032_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ถ้าปฏิบัติถึงสุกขวิปัสสโก จะมีโอกาสถึงธรรมกายหรือไม่ ?

    ตอบ:

    ขึ้นชื่อว่าพระอรหันต์เป็นธรรมกายทั้งหมดนะครับ ขึ้นชื่อว่ามรรค ผล นิพพาน ผู้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งหมดครับ แต่เป็นธรรมกายมรรค ธรรมกายผล เพราะพระนิพพาน หรือพระอรหัต อรหันต์ท่านแสดงตนว่าเป็นธรรมกายอยู่ในเอกสารที่แจก อย่างน้อยเปิดดูเล่มสีส้ม ปกหลัง ดูสรภังคเถรคาถาว่า

    “พระพุทธเจ้าทั้ง 6 พระองค์ มีพระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ก็เสด็จไปโดยทางนั้น ทรงหยั่งถึงความสิ้นสิเลสเสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย”

    ท่านสรภังคเถระท่านกล่าวอย่างนั้น และท่านก็ว่าท่านก็บรรลุธรรมเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่า มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งสิ้น แต่ว่าบุคคลในปัจจุบันมองข้าม คำว่าธรรมกายไป แต่ที่กำลังจะเข้าถึงก็มี แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า

    ธรรมกายสัมผัสได้หรือเปล่า? ธรรมกายสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน ทำไมจึงสัมผัสได้พระบาลีแสดงไว้แล้ว “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ..” คือ บอกไว้เลยว่าอายตนะนิพพาน มีอยู่ เป็นที่สถิตของพระนิพพาน เมื่อขึ้นชื่อว่าอายตนะ แปลว่า สื่อถึงกันได้ 100% แต่ต้อง อายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ที่จิตละเอียดนะครับ สัมผัสพระพุทธเจ้าได้ทุกคน และรู้ด้วยว่า พระพุทธเจ้ามีพุทธลักษณะอย่างไร สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไร ละเอียดปราณีตหรือ หยาบอย่างไร แต่ว่าเราจะไม่ถามพระ แต่กับฆราวาสเราถามเขาได้ แต่ถึงอย่างไรเราห้าม มี กฎเกณฑ์ห้ามอยู่ว่าพระภิกษุอวดอุตตริมนุษยธรรมอันมีในตนกับอนุปสัมปันต้องปาจิตตีย์ ถ้าไม่มีอยู่แล้วอวดต้องปาราชิก โดยไม่ต้องอาบัติ เพราะฉะนั้นการพูดเรื่องอุตตริมนุษยธรรมมี ประตูออกทางเดียว คือพูดตามครูบาสั่งสอน และพูดเพื่อเป็นวิทยาทาน แต่ถ้าโอ้อวดแล้วละก็ เป็นอันว่าเดินใกล้ขอบนรกเข้าไปทุกทีๆ
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ปฏิบัติแนวพุทโธ ยุบหนอ ไม่ได้เข้าศูนย์กลางกาย บรรลุนิพพานไม่ได้ ใช่ไหม ?
    ที่ว่าวิชชาธรรมกายเป็นทางสายเอก อย่างนี้การปฏิบัติในแนวทางอื่น เช่น พุทโธ ยุบหนอพองหนอ ซึ่งไม่ได้เข้าทางศูนย์กลางกายก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ใช่ไหมครับ ? หรือว่ากระผมเข้าใจผิด

    ตอบ:

    การบรรลุมรรคผล บรรลุจากธาตุ-ธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ณ ภายในนะครับไม่ใช่ภายนอก และธาตุ-ธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือใจ นั้นอยู่ตรงกลางกำเนิด ธาตุธรรมเดิม ใจอยู่ที่ไหน? นั้นท่านเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดบอกแล้วว่า“ใจ” มันทำหน้าที่ตาม โรงงานต่าง ๆ โรงงานกาย โรงงานหู โรงงานตา โรงงานลิ้น แล้วก็โรงงานหัวใจก็มี พอไปทำงาน โรงงานต่าง ๆ เสร็จตามออฟฟิซเหล่านั้นแล้วกลับมานอนบ้าน ตื่นเช้าก็ออกจากบ้าน บ้านอยู่ ตรงไหน? อยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ภาษาบาลีว่าคุหาสยํ “อยู่ในถ้ำ” ถ้ำก็อยู่ตรงนั้นแหละ ตรงกลางกายกลางพระนาภี เพราะฉะนั้นใจมันอยู่ตรงนั้น เมื่อใจอยู่ตรงนั้น การเปลี่ยนวาระจิต เปลี่ยนภูมิธรรม มันเปลี่ยนที่ไหน? ก็เปลี่ยนที่ใจ ใจอยู่ตรงไหน? ก็อยู่ตรงศูนย์กลางกำเนิด ธาตุธรรมเดิม การเปลี่ยนวาระจิตตามภูมิธรรมก็เปลี่ยนตรงนั้น จะดีจะชั่วก็ตรงนั้น จะไป นิพพานก็ตรงนั้น

    หลวงพ่อวัดปากน้ำน่ะท่านจึงรู้ว่าตรงศูนย์กลางกายนั้น คือ ทางสายเอก จะทำอะไร จะถือศีลกี่ร้อยกี่พันข้อ จะนั่งสมาธิ วิปัสสนา จะยุบหนอพองหนอ พุทโธ อะไรก็ตาม มันไป เป็นอยู่ตรงนั้น ใจมันเกิดดับตรงนั้น ไปจนถึงนิพพานก็เป็นตรงนั้น คุณธรรมจะสูงขึ้น ก็เปลี่ยนที่ตรงศูนย์กลางกายนั้นแหละอาตมาจะพูดง่าย ๆ “ใจ” นั้นตั้งอยู่ตรงกลางธาตุ ธาตุเป็น ที่ตั้งของธรรม เมื่อใจสะอาดด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ธรรมก็สะอาดธรรมคือบุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี อันเป็นธรรมชาติเครื่องชำระจิตใจที่อยู่กับใจและอยู่ในธาตุนั้นก็ เป็นธรรมสะอาด และเมื่อธรรมสะอาด ธาตุนั้นจะสกปรกได้ไหม? มัวหมองได้ไหม? ไม่ได้ เมื่อไม่ได้มันละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไปเท่าไหร่ ธาตุที่ละเอียดสุดละเอียดนั่นแหละ สุดท้าย เมื่อพ้นจากความบริสุทธิ์ของกายในภพ 3 จึงถึงธรรมกายไม่ว่าจะทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล หรือบารมีสิบ มันไปกลั่นไปชำระกันตรงธาตุ-ธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ ใจ จากสุดหยาบ ไปสุดละเอียด ถึงธรรมกาย ณ ที่ตรงนั้น เมื่อเป็นตรงนั้นอาตมาจึงกล่าวว่าจะบรรลุมรรคผล นิพพาน ก็บรรลุด้วยธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ที่บริสุทธิ์สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรม ธาตุที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า “วิสังขาร”

    ใจของสัตว์ในโลกในภพ 3 ชื่อว่า “ใจ” ได้แก่ เห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบ มาจาก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ถ้าสุดละเอียด เป็นใจของธาตุล้วนธรรมหรือ วิสังขารแล้ว ไม่เรียกว่า “วิญญาณ” ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ แต่เรียกว่า “ญาณ” คือความหยั่งรู้ หรือ ความรู้แจ้ง ด้วยการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น

    ที่นี้นี่แหละบรรลุมรรคผลด้วยคุณธรรมตั้งแต่หยาบ เราไปทางกาย ทางวาจา ทางใจ มันไปเป็นผลที่ธาตุที่ธรรมในที่สุดละเอียดแล้วเบิกบานขึ้น จึงชื่อว่า “พุทโธ” เบิกบาน ตื่น นั่นเบิกบานขึ้นมาธรรมกายก็ดี หรือกายที่ละเอียด ๆ นี่มันโตใหญ่ เพราะไม่ถูกหุ้มด้วยกิเลส อวิชชา ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ ไม่ถูกหุ้ม เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำดีอะไร จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว มันเป็นอยู่ตรงนั้น นี่แหละตรงนี้แหละที่คนไม่รู้เคล็ดลับ คุณธรรมจะดี เป็นคุณธรรมที่ดี ที่สูง ที่สะอาดบริสุทธิ์ ก็เป็นที่ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ เพราะฉะนั้นแหละตรงศูนย์กลางกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด ถึงธรรมกายและพระนิพพานถึงเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายเอก แม้จะยุบหนอพองหนอ พอใจสะอาดมันก็ไปสะอาดตรงนั้น แต่ผู้ปฏิบัติยุบหนอพองหนอที่ไม่เคย รู้จุดตรงนั้น ก็อาจจะไม่ทราบว่าใจของตนไปสะอาดตรงนั้น หรือจะพุทโธก็แล้วแต่พระอริยเจ้า จริง ๆ แล้วท่านรู้ ไม่ใช่ไม่รู้ รู้ครับ แต่ว่าผู้อื่นที่ยังไม่ถึงอริยเจ้า ท่านไม่รู้ เป็นได้ มีได้ หรือที่รู้ ก็มี เพราะฉะนั้นไม่ว่าปฏิบัติสายไหนนะครับ มันเป็นเรื่องเดียวกัน จึงไม่ต้องมาว่ากัน ดีด้วยกันทุกสาย เพราะมันไปสะอาดที่ธาตุ ธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” เหมือนกัน จะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม จึงมีสิทธิ์บรรลุมรรคผลได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่ามรรคผล มันเกิดตรงนั้น ธรรมกายมรรค ผล และนิพพาน เบิกบานขึ้นมาจากตรงนั้น ตื่นขึ้นมาจาก ตรงนั้น เท่านั้นเอง แต่ว่าผู้เป็นพระอริยเจ้าท่านรู้ทุกองค์ ต้องรู้ รู้มากอย่างละเอียดหรือว่า ผู้พอเข้าใจแจ่มแจ้งพอสมควรเท่านั้นเองครับเพราะฉะนั้นไม่ต้องกังขา ปฏิบัติสายไหนดีทั้งสิ้น เป็นทางไปมรรค ผล นิพพาน ได้ทั้งนั้นถ้าใครปฏิบัติไปแล้ว กาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ธาตุ-ธรรม เห็น จำ คิด รู้ สะอาดบริสุทธิ์ ใจสะอาดบริสุทธิ์ ปัญญาก็บริสุทธิ์ ที่สุดใจก็หมดกิเลสแล้ว ก็ไปหมดกันตรงนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นจึงเหมือนกัน ไม่แตกต่างกันเพียงแต่จะรู้ หรือไม่รู้ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติยังไม่ถึง หมายความว่ายังไม่เป็นมรรคเป็นผลที่แท้จริง ก็อาจจะรู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่ผู้ที่ถึงมรรคผล และพระนิพพานแล้วเชื่อแน่ว่าต้องรู้แน่นอนครับ
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ถาม....ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก





    ......................................................



    ตอบ......ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน

    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า

    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ

    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ

    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย

    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง

    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา

    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง

    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย

    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    วิมุตติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ [๒๖] หน้า ๒๑ - ๒๓


    เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ

    ๑. ได้ฟังธรรม และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีได้แสดงธรรมไว้

    ๒. ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมที่ตนแสดง

    ๓. ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมที่ตนสาธยาย

    ๔. ได้ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ตรึกตรองใคร่ครวญ

    ๕. ได้เล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่เล่าเรียนมา
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ผู้ถึงธรรมกาย จัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้ถึงที่สุดแล้วหรือ ?


    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกาย แล้วจัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ได้ถึงที่สุด (บรรลุมรรค ผล นิพพาน) แล้วหรือ ?

    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ตราบใดที่ยังไม่สามารถละสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก) เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการ (คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้โดยเด็ดขาด ตราบนั้น ก็ยังมิได้บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคล จึงยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ (บรรลุ) ถึงที่สุดแล้ว

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้สอนภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกาย แต่ยังไม่สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการได้ดังกล่าวแล้วว่า ยังจัดเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคล
    ซึ่งท่านอุปมาไว้ว่า
    เสมือนหนึ่งว่า ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นได้ก้าวขาข้างหนึ่งขึ้นไปอยู่บนพระนิพพาน ส่วนขาอีกข้างหนึ่งยังยืนอยู่ในภพ 3 กล่าวคือ หากผู้ปฏิบัติธรรมที่ถึงธรรมกายแล้วนั้นก้าวหน้าต่อไป คือปฏิบัติภาวนาต่อไปอีกจนสามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการนั้นได้โดยเด็ดขาด ก็ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคลตามภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ แต่ถ้าผู้ที่เคยปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะของการก้าวถอยหลังกลับคืนมาสู่โลก (ภพ 3) ด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำ เหตุหนุน จนธรรมสัญญาขาดจากใจและธรรมกายดับลงเมื่อใด บุคคลผู้นั้นก็กลับเป็นปุถุชนธรรมดาที่หนาไปด้วยกิเลส และมีสิทธิถึงทุคคติได้เมื่อนั้น


    ผู้ปฏิบัติธรรมจนได้ถึงธรรมกาย และยังทรงอยู่เสมอนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้บวชภายใน
    ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย คือแปลว่า ใจนั้นบวชอยู่ และถ้าหากได้บรรพชาอุปสมบทอีกด้วย (ในกรณีที่เป็นชาย) ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้บวชทั้งภายในและภายนอก
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ดวงธรรม และธรรมกาย ทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม ?

    ดวงธรรม และธรรมกาย ทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม ?


    เมื่อสมัยเกือบ 20 ปีมาแล้วก่อนท่านกับผมลาออกนิดหน่อย ท่านยังไม่ได้บวช ผมเคยถามปัญหาธรรมท่านอย่างหนึ่ง พอดีมีคนอื่นมาขัดจังหวะ ท่านเลยยังไม่ได้ตอบผม ปัจจุบันนี้อายุผมเกือบจะ 70 แล้ว ก็ยังไม่ได้คำตอบ ผมจึงขอเรียนถามท่านเสียที่นี่อีกครั้งนะครับ ผมถามอย่างนี้ครับ ดวงธรรม และธรรมกายทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรม หรือรูปธรรมครับ ผมเรียนถามเท่านี้ละครับ ผมตีไม่แตกซะที
    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เรื่องที่ถามไป ขอเจริญพรตอบสั้นๆ ไว้ก่อนว่า เฉพาะเรื่อง “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม) ส่วนที่รับรู้ เป็นนามธรรม ส่วนที่ถูกรับรู้เป็นรูปธรรม กล่าวคือ ส่วนที่ขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ นั้นก็คือ “ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรมนี้ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงกายซึ่งขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ซึ่งเห็นเป็นดวงใสอยู่ชั้นนอก และมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ตั้งอยู่ภายในดวงกายนั้นแหละ ส่วนนี้เป็นรูปธรรม และยังมีเจตสิกธรรมที่เป็นบุญกุศล, บาปอกุศลหรือกลางๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่เป็นกุศล/อกุศล/กลางๆ อีกด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็น “สังขารธรรม” ทั้งสิ้น จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นสังขตธรรมสังขตลักษณะคือความเกิดปรากฏ 1 ความเสื่อมสลายปรากฏ 1 เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ 1 (อุปฺปาโท ปญฺญายติ วโย ปญฺญายติ ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

    ส่วน “ธรรมกาย” ที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นธรรมธาตุที่บริสุทธิ์ (วิราคธาตุ) ล้วน ๆ ของพระอริยเจ้า-พระอรหันตเจ้าที่ยังมีชีวิต คือยังครองเบญจขันธ์อยู่ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ที่เบญจขันธ์แตกทำลายแล้วชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” เฉพาะพระนิพพานธาตุของพระอรหันต์เป็น “วิสังขารธรรม” ที่ไม่ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ มีสภาวะที่เป็นนิจจัง ปรมัง สุขังและธุวัง (ธุวํ-ยั่งยืน หรือ สสฺสตํ มั่นคง หรือ ตาทิ-คงที่) เป็นอมตํ ปทํ เป็นอสังขตธรรมที่มีอสังขตลักษณะคือไม่ปรากฏความเกิด 1 ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย 1 (และ) เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน 1 (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ น วโย ปญฺญายติ น ฐิตสฺส อญฺยถตฺตํ ปญฺญายติ) นี้แหละที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระปัญจวัคคีย์ผู้บรรลุพระโสดาบันบุคคลแล้ว ด้วยอนัตตลักขณสูตร มีความตอนหนึ่งว่า

    “รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส. นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย. ฯเปฯ ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว รูปํ อนตฺตา. ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สวตฺตติ.”

    “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ.... ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูป[นี้]แลเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป[นี้]จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ”
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    สุขอันไพบูลย์


    ... “ถ้าเมื่อมาเจอกายมนุษย์แล้ว มาสุขกับกายมนุษย์ มัวงมอยู่แต่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนั้นแหละ มันก็ได้เท่านั้นจนแก่ตาย เอาดีไม่ได้เลย สุขแค่นั้นเอง นี่มันสุขน้อยอย่างนี้ เพียงนิดเดียว เพราะอะไร


    เพราะรู้ไม่เท่าทันตัวเอง ไม่ฉลาด รู้ไม่เท่ากันตัวเอง ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในทางพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ความเห็นจึงพิรุธไปเช่นนั้น


    ถ้าหากว่าฉลาด รู้จักให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ถ้าแม้ว่ายังไม่ได้สูงขึ้นไปก็จะได้สุขในชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตีเหล่านี้ มันก็เวียนอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนั่นแหละ ในกามนั่นเอง มันยังเป็นกาม ไปทางโลกก็สุขนิดหน่อยเท่านี้ ไม่ได้อะไรหละ สุขอยู่ชั่วคราว


    มนุษย์นี่ก็สุขอยู่ชั่วคราว ประเดี๋ยวเดียว อายุ ๑๐๐ ปีเท่านั้น อย่างมาก หรือน้อยกว่านั้น ก็ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น


    ถ้าเราได้เป็นเทวดาก็สุขตามส่วนขึ้นไป อายุก็ตามส่วนขึ้นไป จะนานหนักเข้า แต่ว่าถึงกระไรก็เถอะ ปรนิมมิตวสวัตตีสุขมากน้อยเท่าใดก็ช่าง สุขประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ไม่มากเท่าใด


    ไปถึงรูปพรหมก็สุขเป็นกัลป์ๆ เหมือนกัน เป็นมหากัลป์ถึงอกนิฏฐภพ ถึงเวหัปผลานั่นแน่ อสัญญีสัตตาโน้น ๕๐๐ มหากัลป์ ถึง ๕๐๐ มหากัลป์ ก็สุขนิดเดียวอีกเหมือนกัน ไม่จริง หลอกๆ ไม่จริงหรอก สุขในชั้นเนวสัญญานาสัญญา อกนิฏฐาโน้น สุขสูงขึ้นไปๆ ขนาดนั้นก็ขนาด ๑,๐๐๐ มหากัลป์เท่านั้น ไม่เท่าไรนัก สุขยิ่งขึ้นไป นี่ไม่ใช่สุขในทางนิพพาน มีชั้นสุขสูงสุดอย่างนี้ ถ้าสุขในภพถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัลป์ในโลก เพราะติดสุขในภพเหล่านี้แหละ เรียกว่าติดสุขน้อยไม่ใช่สุขใหญ่


    สุขใหญ่คือสุขอันไพบูลย์ ให้ละสุขน้อยอันนั้น เมื่อไปถึงแล้วก็ไม่ติดสุข หนักขึ้นไป ไม่ถอยเลย ไม่ได้หยุดอยู่กับที่ สุขทวีขึ้นไปเหล่านี้เลย ไม่มีถอยกลับ


    นี้ต้องนับว่าวิชชาวัดปากน้ำ วิชชาสมถวิปัสสนาเดินให้ถูกแนวนั้นทีเดียว เข้าถึงธรรมกายให้ได้ เข้าถึงธรรมกายเป็นลำดับไป ยิ่งใหญ่ไพศาลนับประมาณไม่ได้ จะไปพบพระพุทธเจ้า พระนิพพาน พระอรหันต์ ก็จะรู้ตัวทีเดียวว่า อ้อ! เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ได้รู้จักของจริง เห็นของจริงอย่างนี้ ไม่เสียทีที่พ่อแม่อาบน้ำป้อนข้าวมา อุ้มท้องมา ไม่หนักเปล่า แม้บุคคลที่จะทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าก็ไม่เมื่อยเปล่า ไม่หนักเปล่า ได้ชื่อว่าเป็นคนมีปัญญา ประกอบคุณสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาลใส่อาตมาของตนได้ ไม่เสียที่ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา” ...

    (สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้ ๑๙ กันยายน ๒๔๙๗)
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ใช้ลูกกลมสีขาวที่เกิดขึ้นในใจ แทนการเห็นลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?
    การกำหนดลูกแก้วใสขึ้นในใจ ถ้าไม่สามารถเห็นเป็นลูกแก้วใสได้ จะสามารถใช้ลูกกลมสีขาวที่เกิดขึ้นในใจแทนการเห็นลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?

    ตอบ:

    ได้ ใช้ได้เลย เรื่องการกำหนดลูกแก้วหรือดวงแก้วนั้น ถ้ากำหนดหรือเห็นได้เป็นดวงขาวที่ยังไม่ใส หรือนึกเห็นเป็นดวงแก้วใสก็ได้ หรือจะนึกเห็นพระพุทธรูปแก้วใสก็ได้



    แต่ที่ยังไม่ใสน่ะ เพราะใจยังไม่หยุดนิ่งเข้าไปที่กลางจุดเล็กใสที่กลางดวงขาวๆ ที่เห็นนั้น ถ้าหยุดนิ่งสนิทเข้าไป ณ ภายในแล้ว จุดเล็กใสตรงกลางดวงขาวนั้นจะขยายตัวเองออก แล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง

    ดวงขาวใช้ได้ เช่น ใครอาจจะติดใจลูกกอล์ฟ อาจจะนึกเห็นลูกกอล์ฟก็ได้ ไม่เป็นไร แต่ว่าเมื่อใจมันรวมลงหยุดนิ่งจริงๆ แล้ว จะเห็นใสขึ้นมาเอง แต่ในเบื้องต้นอาจจะต้องช่วยเล็กน้อย ด้วยการอธิษฐานขยายจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางดวงใส หรือดวงที่เห็นขาวๆ นั้น แล้วหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งๆ กลางของกลางๆ นิ่งๆ เข้าไว้ เมื่อศูนย์กลางนั้นขยายออก ก็จะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    กำหนดดวงแก้วอยู่ฐานที่ 7 ได้สักพักใหญ่ จะมีอาการมึนศีรษะ ?
    ในขณะที่ปฏิบัติภาวนาและกำหนดจิตอยู่นั้น ดวงแก้วอยู่ฐานที่ 7 ได้สักพักใหญ่จะมีอาการมึนศีรษะที่ท้ายทอย ?

    ตอบ:

    เพราะเหตุว่าท่านบังคับใจที่จะให้เห็นนิมิตด้วยสายตาเนื้อจนเกินไป ซึ่งผิดวิธี ที่ถูก จะต้องไม่บังคับใจที่จะให้เห็นนิมิตโดยการเพ่ง พยายามที่จะให้เห็นด้วยสายตาเนื้อ แต่ให้ใช้ใจนึกให้เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส



    ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อให้ “ใจ” คือความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง

    วิธีป้องกันและแก้ไขมิให้สายตาเนื้อแย่งหน้าที่ใจที่จะทำกิจภาวนาก็คือ ให้เหลือบตากลับนิดๆ เพื่อให้ใจคือความเห็น-จำ-คิด-รู้ กลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้รวมลงหยุดนิ่ง ณ ภายใน ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ แล้วตาในจะทำหน้าที่รู้-เห็นได้อย่างสมบูรณ์เอง
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    รู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เห็นในขณะปฏิบัติภาวนา ไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง ?
    จะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เห็นในขณะปฏิบัติภาวนาธรรมนั้น ไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง ?

    ตอบ:

    รู้ได้ด้วยการพิสูจน์ด้วยตนเอง เช่น



    1. การนึกให้เห็นดวงแก้วหรือพระแก้วขาวใสที่เรียกว่า กำหนดบริกรรมนิมิต ในเบื้องต้นของการฝึกเจริญภาวนาสมาธินั้น จะไม่มีทางนึกให้เห็นได้ชัดเจน ใสแจ๋ว และสว่างไสว เท่าเมื่อใจรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงดีแล้ว (ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งของ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม) การเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย และการเห็นกายในกายไปจนถึงธรรมกายนั้น สวยงาม ละเอียด ประณีต และมีรัศมีปรากฏ แตกต่างจากการนึกเห็นด้วยใจในเบื้องต้นนั้นมากมายนัก อย่างที่เรียกว่า “ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน” แล้วจะไปนึกเอาเองได้อย่างไร จึงไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง
    2. เมื่อปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ทดลองฝึกน้อมเข้าสู่อนาคตังสญาณ ดูเหตุการณ์ในอนาคตอันใกล้ๆ ดูบ้าง หรือฝึกขยายทิพยจักขุและข่ายของญาณทัสสนะ ดูสิ่งต่างๆ ที่พอจะพิสูจน์ได้ว่าเห็นจริงหรือไม่จริงดูบ้าง ก็ค่อยๆ มีประสบการณ์เองว่า ที่เห็นนั้นถูกต้องตามที่เป็นจริงก็มีมาก ที่ผิดพลาดบ้างก็มี ก็ให้พิจารณาเหตุสังเกตผลดู ว่าเป็นเพราะเหตุใด
    และถ้าได้ทำนิโรธดับสมุทัยปหานอกุศลจิตให้หมดสิ้นไปได้ดีเพียงใด และใจเป็นอุเบกขาเพียงใดในขณะใด ในขณะนั้นการรู้เห็นจะเป็นตามจริง ทั้งจริงโดยสมมติและจริงโดยปรมัตถ์เพียงนั้น แต่ถ้าขณะใด จิตใจยังมัวหมองอยู่ด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน มีอคติ การรู้เห็นในขณะนั้นก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ง่ายดาย

    ผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นพระอริยเจ้า หรือผู้ปฏิบัติธรรมที่หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันในกองกิเลส และหมั่นชำระจิตใจให้ผ่องใสไว้เสมอ ด้วยการเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 และทำนิโรธ ให้ใจสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอเพียงใด ธรรมชาติเครื่องรู้เห็นมีทิพพจักขุและญาณทัสสนะเป็นต้นย่อมบริสุทธิ์ ให้สามารถรู้เห็นได้ถูกต้อง แม่นยำ กว่าผู้ที่ทรงคุณธรรมที่ต่ำกว่าเพียงนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็อย่าได้เหิมเกริมว่าเลิศแล้ว ต้องปฏิบัติภาวนาธรรมเพื่อกำจัดขัดเกลากิเลสให้หมดสิ้นไป ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบอยู่เสมอ นั่นแหละจึงจะพอแน่ใจได้ว่าพอเอาตัวรอดได้ และเมื่อนั้นเครื่องรู้เห็น ได้แก่ ทิพพจักขุและญาณทัสสนะก็จะบริสุทธิ์ ให้สามารถรู้เห็นได้อย่างถูกต้องแม่นยำเอง

    จึงพึงเข้าใจว่า การสอนให้ตรึกนึกเห็นด้วยใจเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือ พระพุทธรูปขาวใส ขึ้น ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น เป็นเพียงอุบายวิธีในการอบรมจิตใจ ให้มารวมหยุดเป็นจุดเดียว (เอกัคคตารมณ์) ตรงศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตและธรรมในธรรม เพื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็นการเจริญภาวนานั้นเองทั้งสมาธิและปัญญา ด้วยการที่ให้ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นสภาวธรรมและสัจจธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ?temp_hash=afb94046dc000e668c84f549bdda4a2b.jpg
    #สภาพที่เป็นธรรมย่อมนำสัตว์ไปสู่สุคติ และ
    #สภาพที่เป็นอธรรมย่อมนำสัตว์ไปสู่ทุคติ

    สภาพที่เป็นบุญก็ย่อมนำสัตว์ไปสู่สุคติ สภาพที่เป็นบาป ก็ย่อมนำสัตว์ไปสู่ทุคติ สภาพที่เป็นบุญ เป็นดวงใส ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นมนุษย์ สภาพที่เป็นบาป เป็นดวงดำ ติดอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ แบบเดียวกัน

    #ถ้าดวงบุญใหญ่โตกว่าก็นำไปสู่สวรรค์
    #ถ้าดวงบาปใหญ่โตกว่าก็นำไปสู่นรก
    ใครจะแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ทั้งนั้น ย่อมเป็นไปตามคติของตน เหมือนหญิงชายจะเป็น สามีภรรยากัน ใครก็แล้วแต่ จะต้องลงใจของกันและกันเอง

    ฉะนั้น การที่สัตว์จะไปสู่ทุคติ ภพดึงดูดมีอยู่ ทำความชั่ว ไม่มีความดีเข้าไปจุนเจือเลย แม้เพียงเท่าปลายผมปลายขน พอแตกกายทำลายขันธ์โลกันต์ดึงดูดเอาไป จะไปอยู่ที่ อื่นใดไม่ได้ทั้งนั้น อายตนะบาปดึงดูดไปทันที ถ้าว่าภพหย่อนลงกว่านั้นมา ก็ไปอยู่ใน อเวจี มหาตาปนรก เหล่านี้เป็นต้น แต่พอมาเกิดในจำพวกสัตว์เดรัจฉานได้ สัตว์เดรัจฉาน ก็ดึงดูดเอาไปเกิดในจำพวกสัตว์เดรัจฉาน แต่ถ้าทำความผิดไม่ถึงขนาดนั้นก็ไปเกิด เป็นเปรต อสุรกาย ตามลำดับไป

    ถ้าทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ไม่มีความชั่วบาปช้าเข้ามาเจือปนเลย พอแตก กายทำลายขันธ์ อายตนะของมนุษย์ดึงดูดเข้าสู่ครรภ์สัตว์ไปติดอยู่ในกำเนิดมนุษย์ ถ้าดี มากขึ้นไปกว่านี้ ก็ไปเกิดในจำพวกเทวดา เป็นชั้นๆ สูงขึ้น ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี สูงขึ้นไปตามสภาพของธรรม ดึงดูดกันเองว่า ตนได้กระทำความดีไว้ขนาดเท่าไร ควรอยู่ควรเกิดในที่ไหน เมื่อตรงกับ อายตนะไหน อายตนะนั้นก็ดึงดูดไป เขามีอายตนะสำหรับเหนี่ยวรั้งและดึงดูดกันทั้งนั้น เราติดอยู่ในมนุษย์นี้ไปไหนได้เมื่อไร ไปไม่ได้ทั้งนั้น อยากจะตายก็ตายไม่ได้ บ่นไปเถอะ ก็ไม่ตาย แต่พอถึงกำหนด ไม่อยากตายก็ต้องตาย จะถูกบังคับบัญชาอย่างนี้ ดึงดูดอย่างนี้ เสมอไป เหตุนี้เราจึงได้แสวงหาบุญ บุญจะได้ดึงดูดไปสู่สุคติ ทุคติจะได้ไม่มีต่อไป

    คัดลอกมาส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนา
    หลวงพ่อสด จนฺทสโร
    ขอบคุณเจ้าของภาพเพจกฏแห่งกรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ?temp_hash=3137b792807d364226bd056d0b9296a9.jpg



    ความเกิดขึ้นแห่งนิพพาน ไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่มี ความเป็นอย่างอื่นของนิพพานนั้น ก็ไม่ปรากฏ นิพพานจึงเป็นสภาวะเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
    ขุ.จู.(ไทย) ๓๐/๑๒๐/๓๙๑ มจร.
    ขุ.จู.(บาลี) ๓๐/๖๕๙/๓๑๕ สยามรัฐ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ?temp_hash=0ab9641c094155b549c3de9505c4b460.jpg
    ?temp_hash=0ab9641c094155b549c3de9505c4b460.jpg





    บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ นี้เอง.
    บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนัตตา คือว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของได้แก่ไม่มีอิสระ เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะใคร ๆ ไม่อาจให้เป็นไปในอำนาจว่า " ธรรมทั้งปวง จงอย่าแก่ จงอย่าตาย."
    บทที่เหลือ ก็เช่นกับบทที่มีแล้วในก่อนนั่นเอง ดังนี้แล.
    ขุ.ธ.อ.(ไทย) ๔๓/๑๐๕ มหามกุฏ ฯ
    ......................
    เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
    เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
    นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
    ขุ.ธ.(ไทย) ๒๕/๒๗๙/๑๑๘ มหาจุฬา ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,067
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,153
    ค่าพลัง:
    +70,586
    ถ้าปฏิบัติถึงสุกขวิปัสสโก จะมีโอกาสถึงธรรมกายหรือไม่ ?

    ตอบ:

    ขึ้นชื่อว่าพระอรหันต์เป็นธรรมกายทั้งหมดนะครับ ขึ้นชื่อว่ามรรค ผล นิพพาน ผู้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งหมดครับ แต่เป็นธรรมกายมรรค ธรรมกายผล เพราะพระนิพพาน หรือพระอรหัต อรหันต์ท่านแสดงตนว่าเป็นธรรมกายอยู่ในเอกสารที่แจก อย่างน้อยเปิดดูเล่มสีส้ม ปกหลัง ดูสรภังคเถรคาถาว่า

    “พระพุทธเจ้าทั้ง 6 พระองค์ มีพระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ก็เสด็จไปโดยทางนั้น ทรงหยั่งถึงความสิ้นสิเลสเสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย”

    ท่านสรภังคเถระท่านกล่าวอย่างนั้น และท่านก็ว่าท่านก็บรรลุธรรมเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่า มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งสิ้น แต่ว่าบุคคลในปัจจุบันมองข้าม คำว่าธรรมกายไป แต่ที่กำลังจะเข้าถึงก็มี แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า

    ธรรมกายสัมผัสได้หรือเปล่า? ธรรมกายสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน ทำไมจึงสัมผัสได้พระบาลีแสดงไว้แล้ว “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ..” คือ บอกไว้เลยว่าอายตนะนิพพาน มีอยู่ เป็นที่สถิตของพระนิพพาน เมื่อขึ้นชื่อว่าอายตนะ แปลว่า สื่อถึงกันได้ 100% แต่ต้อง อายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ที่จิตละเอียดนะครับ สัมผัสพระพุทธเจ้าได้ทุกคน และรู้ด้วยว่า พระพุทธเจ้ามีพุทธลักษณะอย่างไร สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไร ละเอียดปราณีตหรือ หยาบอย่างไร แต่ว่าเราจะไม่ถามพระ แต่กับฆราวาสเราถามเขาได้ แต่ถึงอย่างไรเราห้าม มี กฎเกณฑ์ห้ามอยู่ว่าพระภิกษุอวดอุตตริมนุษยธรรมอันมีในตนกับอนุปสัมปันต้องปาจิตตีย์ ถ้าไม่มีอยู่แล้วอวดต้องปาราชิก โดยไม่ต้องอาบัติ เพราะฉะนั้นการพูดเรื่องอุตตริมนุษยธรรมมี ประตูออกทางเดียว คือพูดตามครูบาสั่งสอน และพูดเพื่อเป็นวิทยาทาน แต่ถ้าโอ้อวดแล้วละก็ เป็นอันว่าเดินใกล้ขอบนรกเข้าไปทุกทีๆ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...