สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    ผู้มีปัญญาสัมมาทิฐิ เมื่อรู้ถึงตัววิชชาธรรมกายของจริงแล้ว

    จะพบว่า ไม่ผิดจากที่ท่านสารีบุตรได้กล่าวไว้แล้วเลย( และพระอานนท์ก็ได้ฟังมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบบเดียวกัน ไม่ผิดทั้งอรรถและพยัญชนะ )

    เชิญสิกขา

    https://palungjit.org/threads/สมาธิ...บรรยายโดยพระอัครสาวกผูู้เลิศด้วยปัญญา.721507/
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    เมื่อปฏิบัติถูกตรงตามรอยทางที่เป็นเนื้อแท้วิชชาฯ เมื่อเข้าถึงดวงปฐมมรรคและดำเนินปฏิปทากลางของกลาง การรู้ การเห็น การมีสติสัมปชัญญะ หาใช่การเพ่งเพียงจุดเดียวไม่ เสมือนดวงอาทิตย์ที่ลอยเด่นกลางฟ้า ย่อมส่งแสงไปทุกทิศทาง
    สติสัมปชัญญะ จะสามารถรู้ตัวทั่่ว ไปตลอดกาย

    นี่คือความรู้จากการปฏิบัติประการหนึ่ง ที่ไม่มีในตำราใด และทฤษฎีใด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เข้าถึง
    จะทราบได้ด้วยตน พิสูจน์ได้ด้วยตน
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    3-5.jpg


    “..... ให้ตั้งใจไว้ตรงกลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    อันนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดฐานที่ตั้งใจไว้...สำคัญนัก

    เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งของ ธรรมในธรรม ฝ่ายบุญฝ่ายกุศล

    และก็ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต

    คือ ทั้งธรรม และกาย และใจ...ตั้งอยู่ตรงนั้น

    ณ ภายในมีเท่าไร สุดละเอียดเพียงไหน...อยู่ตรงนั้น ถึงนิพพานทีเดียว


    เพราะฉะนั้น ท่านให้เอาใจไปจรดไว้ตรงนั้น

    ที่นี้ ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อยู่เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ

    ถ้าท่านหายใจเข้าออก ท่านจะพบว่า...ลมหายใจเข้าไปจนสุดนั้น

    สุดตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี

    และก็ตั้งต้นหายใจออกตรงนั้น เป็น “ต้นทางลม” และก็เป็น “ปลายทางลม” หายใจเข้าออก

    ตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี

    ใจหยุดก็ต้องไปหยุดตรงนั้น เขาเรียกว่า “กลางพระนาภี”



    พระพุทธเจ้าทรงสอน “อานาปานสติ”

    เมื่อลมหยุด ก็ไปหยุด... “กลางพระนาภี”

    ถึงให้กำหนดใจกี่ฐานๆ ก็แล้วแต่

    สำหรับผู้ทำอานาปานสติ กำหนดที่ตั้งสติลมหายใจผ่านเข้าออก

    ทาง ปากช่องจมูก หรือ ปลายจมูก

    ที่ ลำคอ

    และที่ กลางพระนาภี

    นี่อย่างน้อย ๓ ฐาน … เขามักจะกำหนดกัน


    กำหนดอานาปานสติ ๓ ฐาน เป็นอย่างน้อย

    กำหนดอะไร กำหนดสติ รู้ลมหายใจเข้าออก...กระทบอย่างน้อย ๓ ฐาน นี้สำหรับผู้ปฏิบัติทั่วไป

    แต่เมื่อลมละเอียดเข้าไป ๆ ๆ แล้ว โดยธรรมชาติลมหายใจมันจะสั้นเข้า ๆ ๆ ละเอียดเข้า

    ทรงสอนว่า ลมหายใจเข้าออก ... พึงมีสติรู้

    ลมหยาบ ลมละเอียด ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น ... พึงรู้ มีสติรู้




    จนถึงลมหยุด ... หยุดที่ไหน ?

    หยุดที่ “กลางพระนาภี”


    หยุดกลางพระนาภี ก็คือ ศูนย์กลางกายนั่นแหละ

    ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก หรือ ที่ตั้งต้น

    หรือจะเรียกว่า “ต้นทางลม” หรือ “ปลายทางลม” ... ก็แล้วแต่จะเรียก



    จริงๆ แล้ว อยู่ตรงกลางกาย...ตรงระดับสะดือพอดี

    ที่หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖





    แต่ว่า ... ถ้าว่าเอาใจไปจรดตรงนั้นนะ

    จะไม่เห็น ธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้ชัด



    เพราะเหมือนอะไร ?

    เหมือนเอาตาแนบกระจก ไม่เห็นเงาหรือภาพข้างใน ... ฉันใด



    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยให้ขยับ “เห็น จำ คิด รู้” คือ “ใจ”

    ที่ตั้ง “เห็น จำ คิด รู้” ให้สูงขึ้นมา ... เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ

    เหมือนเราขยับสายตาเรา...ห่างจากกระจก เราจะเห็นเงาได้ชัดเจน






    ประกอบกับดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายและใจ

    มีธรรมชาติ หรือ อาการเกิดดับ...ตามระดับจิต หรือ ภูมิของจิต

    คือ เมื่อจิตสะอาดยิ่งขึ้นจากกิเลส จิตดวงเดิมก็ตกศูนย์

    จาก “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ลงไปสู่ “ศูนย์กลางฐานที่ ๖”

    ธรรมในธรรม ที่ใสบริสุทธิ์ ซึ่งมีจิต หรือ จิตในจิตซ้อนกันอยู่...ที่ใสบริสุทธิ์กว่า

    ก็ลอยเด่นขึ้นมา “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... แล้วก็ทำหน้าที่ของตนไป


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...

    เมื่อสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น

    จิตดวงเดิม ... จะตกศูนย์

    จิตดวงใหม่ ... ลอยเด่นขึ้นมาตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... เพื่อทำหน้าที่ต่อไป



    ตรงนี้นักปริยัติบางท่านก็เข้าใจว่า…จิตเกิดดับ

    แต่เกิดดับอย่างไร...ไม่รู้ เพราะไม่เคยเห็น

    และยังมีบางท่าน...ที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีก

    บอกว่า จิตเดิมแท้ๆ ไม่ได้เกิดดับนะ

    ที่เกิดดับนั้น มันเฉพาะ...อาการของจิต ที่มีกิเลสของจรมาผสม

    หรือว่า มีบุญเข้ามาชำระกิเลสนั้น จิตก็เปลี่ยนวาระ เป็นอาการของจิต คือถูกทั้งนั้น


    แต่ว่า อาการของจิตที่เกิดดับตรงนั้น มันมาปรากฏตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”

    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยกำหนดที่เหมาะๆ

    สำหรับที่ควรเอาใจ ... ไปหยุด ไปจรด ไปนิ่ง ตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”

    อันเป็น “ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม”

    เป็นที่ตั้งของ กายในกาย จิตในจิต และ ธรรมในธรรม



    อาตมาพูด “จิตในจิต” ให้พึงเข้าใจว่า

    รวมทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ...เข้าด้วยกัน


    ที่ หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดไว้ เพื่อให้เข้าพิจารณาเห็น

    กาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ... ไปสุดละเอียด

    เป็นตัว “สติปัฏฐาน ๔” ไปจนถึง ... “นิพพาน”

    และเป็นตัวชำระกิเลส ณ ที่ตรงนั้น ด้วยหยุดในหยุด กลางของหยุด

    เพราะ ถูกกลางของกลางธรรมในธรรม

    ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป เป็นการละ หรือ ปหานอกุศลจิตเรื่อยไป

    จึงมีสภาวะที่เป็น “นิโรธ” ดับสมุทัย






    * ที่มา

    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๑๘

    ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๓
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    temp_hash-8c4f6238fd9bc87480d83023f54caf54-jpg.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    - บางคนชอบตำหนิสมถะ
    ไปตำหนิก็เท่ากับคุณเอาน้ำร้อนสาดหน้าตัวเอง
    เป็นกรรมนะ.


    ในยามต้นแห่งราตรี ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงระลึกชาติได้ เห็นสัตว์โลกตายเกิด ตายเกิด แล้วไปทุคติภูมิ นี่ เห็นนรกนะ ทุคติภูมิ ไปเกิดเป็นเปรตบ้าง สัตว์นรกบ้าง อสุรกายบ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง ไปเกิดในทุคติภูมิอย่างนี้มากต่อมาก แต่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์น้อยเหลือเกิน หรือจะกลับไปเกิดเป็นเทพยดาน้อยนัก

    พระพุทธองค์ถึงกับตรัสสอนพระภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์โลกตายแล้วจากความเป็นมนุษย์นี่ จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกน้อยนัก แต่ไปเกิดในนิรยภูมิมากต่อมากนัก ก็คือ ไปเกิดเป็นเปรต สัตว์นรก อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มากต่อมาก

    ตรงนี้ เป็นวิชชาที่หนึ่ง ที่สำคัญ ที่บุคคลทั้งหลายไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง เพราะไม่รู้เห็นนรก ไม่รู้เห็นสวรรค์ ตามความเป็นจริง ไม่รู้เห็นการเวียนว่ายตายเกิด ก็หลงคิดว่า เรานี่สบายแล้ว ตายแล้วก็เดี๋ยวกลับมาสบายใหม่ ไม่มีทางถ้าคุณไม่ทำความดี และหลีกหนีความชั่ว

    ต้องทำความดีหลีกหนีความชั่ว เพราะความชั่วนำไปสู่นิรยภูมิ ไปเกิดในทุคติภูมิ ในภพชาติปัจจุบันก็ต้องลำบาก ลำบากในภพชาติปัจจุบันนี่แหละ กรรมมันตามสนองทุกคนแหละ แต่ว่าเรื่องกรรมตรงนี้ยังไม่พูด พูดว่าไปเกิดในทุคติภูมิ

    บุคคลที่กระทำความชั่วมากๆ ก็มีอาการเหมือนสัตว์โลกในทุคติภูมิ บางคนก็เหมือนเปรต บางคนก็เหมือนอสุรกาย บางคนก็เหมือนสัตว์เดรัจฉาน บางคนก็เหมือนสัตว์นรก ร้อนรุ่มมากมายก่ายกอง แสดงอาการต่างๆเหมือนสัตว์นรก ใช่ไหม นั่นความทุกข์นะ ตัวเองยังไม่รู้ บางคนก็หลงทำ

    ทีนี้ ต่อไป อาตมาภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ (นี่ ในยามกลางแห่งราตรี ทรงเจริญฌานสมาบัติถึงจตุตถฌาน) บริสุทธิ์ผ่องแผ่วไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ รู้อุบัติรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย และอาตมาภาพนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังอุบัติ เลว ปราณีต มีผิวพรรณดีมี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์

    คือ เห็นกฏแห่งกรรม ญาณที่สอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพราะฉะนั้น คนไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธ พึงสำเหนียก รู้ตัวซะ ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว กรรม กรรมชั่วติดตามเหมือนเกวียน ล้อเกวียนกระทบเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉันใดฉันนั้น แต่คนทำดีเหมือนมีเงาติดตามตัวไปทุกหนทุกแห่ง ให้ผลเป็นความเจริญสันติสุขในชีวิต กรรมชั่วหนัก กรรมดีเบา หรือเรียกว่าบุญ ก็คือธรรมชาติที่ชำระจิตใจให้ผ่องใส เพราะคนจะทำดีก็ด้วยจิตใจที่มันผ่องใสนั่นแหละ ผ่องใสจากกิเลส ใช่ไหม

    นี่ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สองที่อาตมาภาพได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี (คือ ในยามกลางแห่งราตรี) อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่อาตมาภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่ (ก็คือว่า ดำเนินไปอย่างนั้น)

    ในยามปลายแห่งราตรี อาตมาภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ (นี่เจริญฌานสมาบัติขั้นที่ ๔ อีกครั้งหนึ่ง) บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอยู่อย่างนั้น ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ได้รู้ชัดความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ เหล่านี้อาสวสมุทัย เหล่านี้อาสวนิโรธ เหล่านี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

    เอาล่ะ ตรงนี้คือ เห็นแจ้งในอริยสัจตามความเป็นจริง โดยญาณสาม สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ดังได้กล่าวมาแล้ว และก็รู้เหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน กิเลสตกตะกอนนอนเนื่องในจิตสันดานอย่างไร ที่ไหน ตรงนี้นะ ผู้เจริญภาวนาถูกส่วนจะรู้จะเห็นได้ ตามรอยบาทพระพุทธองค์ จะรู้เห็นอย่างนี้ได้

    (บางคนชอบตำหนิสมถะ) ทรงใช้อยู่แล้ว คุณไปตำหนิก็เท่ากับคุณเอาน้ำร้อนสาดหน้าตัวเอง เป็นกรรมนะ

    เมื่ออาตมาภาพนั้นรู้เห็นอย่างนี้จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สาม ที่อาตมาได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมาภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่.

    นี่ พระพุทธเจ้าท่านยังเจริญภาวนาสมาธิ นี่อาการตรัสรู้เลย แล้วใครปฏิเสธสมาธิคุณเป็นอะไร คุณเป็นอะไร คุณจะละเว้น แล้วมาตำหนิสมาธิน่ะ ถ้าใครตำหนิสมาธิน่ะ คุณเป็นอะไร.

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    jos3ehixyzybiphrwmcf3txgfqjkix4nrioopcww-_nc_ohc-2cp0kupow7wax-yksdh-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
    สภาวะของอานาปานสติ

    "...สภาวะของอานาปานสติ เมื่อจิตละเอียดหนักเข้า ลมจะไปหยุดที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางพระนาภีนั้นเอง ตรงนั้นเป็นตำแหน่งลมหยุด แต่พอหยุดอย่างมีสติ ไม่ใช่หยุดด้วยการเผลอสติและนั่งตัวแข็งทื่อ ลมหยุดอย่างมีสติ เกิดมีปฏิภาคนิมิต จิตถึงอัปปนาสมาธิ ได้อานาปานสติ
    ถ้าหากไม่กำหนดองค์บริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนาช่วย กว่าที่ลมจะหยุดอาจจะนาน ถ้าหากกำหนดองค์บริกรรมนิมิต องค์บริกรรมภาวนาช่วย ลมจะหยุดได้เร็ว..."

    โอวาทธรรม
    พระเทพญาณมงคล
    (เสริมชัย ชยมงฺคโล) (หลวงป๋า)
    #วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    [​IMG]




    ถ้าผมไม่เล่าก็ไม่มีใครรู้ ว่าญาณทัศนะของหลวงป๋าแจ่มใสชัดเจนขนาดไหน ขอย้อนกลับไปเมื่อ26ปี
    ที่แล้วสมัยนั้นผมเป็นเณรอุปถากหลวงป๋าที่กุฎิ9
    เวลาหลวงป๋านั่งสมาธิในห้องท่านจะเอาป้ายมาแขวนหน้าห้องว่าห้ามรบกวน นั่นแปลว่าถ้าใครจะมาขอพบท่านไม่ได้ท่านทําสมาธิอยู่ วันนั้นท่านก็เเขวนป้ายนี้
    ก็แปลว่าห้ามรบกวน ผ่านไปสักชั่วโมงนึงท่านกดลงมาบอกขอกาแฟให้ท่านแก้วนึง แปลว่าท่านนั่งสมาธิเสร็จแล้ว เอากาแฟขึ้นไปถวายท่าน
    อยู่ดีๆท่านบอกต่อไปในยุคของพวกเธอจะเห็นคนล้มตายจำนวนมาก แต่ถึงเวลานั้นป๋าเองอยู่ไม่ทันเห็น
    ทุกวันนี้เป็นจริงที่หลวงป๋าพูด ต่างประเทศตายวันๆนึงจํานวนมาก และท่านเองอยู่ไม่ทันได้เห็น
    ท่านเสียก่อนโรคโควิดระบาด



    ************************

     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    ?temp_hash=7047f70d1da03dee7de2cdb7c9a9b6a8.jpg
    _l3dMIYwONcab7JMnxM6QFez7YWqBsoGaxvpOdr5j2Gf&_nc_ohc=rQjz38TqIUsAX_MgEjg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ใครมีแววว่าจะได้ธรรมกาย หลวงพ่อสดท่านจะมาสอนเอง

    หลวงพ่อ (สด) ท่านตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ท่านต้องการให้ผู้มาปฏิบัติได้รู้เห็นเป็นจริงๆ ท่านจึงพยายามหาวิธีการทุกอย่างมาอธิบายให้ลูกศิษย์เข้าใจ ท่านบอกว่าการได้ธรรมกายนั้นไม่ง่ายนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะยากจนเกินไปถ้าปฏิบัติตามที่ท่านสอนอย่าให้ผิด จะผิดแม้เท่าเส้นผมก็ไม่ได้ ถ้าใครปฏิบัติตามที่ท่านสอนแล้วไม่ได้ ท่านกล้าท้าทายให้มาตัดศีรษะท่านทีเดียว
    หลวงพ่อ (สด) ท่านจะมองดูออกว่าผู้ใดมีแววที่จะได้ธรรมกาย ท่านจะเรียกผู้นั้นมาสอนเอง หรือถ้าผู้ใดเห็นดวงกลมใสหรือเห็นองค์พระปรากฏที่ฐานที่ 7 แล้ว ท่านก็จะหาครูต่อวิชาให้ ท่านเข้มงวดกวดขันและเอาใจใส่ดังนี้ จึงมีผู้ได้ธรรมกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    • เกร็ดความรู้ •
    หลวงพ่อ (สด) เล่าว่าในครั้งแรก (ตอนบรรลุธรรมกายใหม่ๆ) ท่านคิดจะปลีกตัวหลีกเร้นไปแสวงหาที่สงบสงัด ปฏิบัติธรรมเพียงลำพังตามป่าตามเขา แต่มานึกถึงเพื่อนมนุษย์ที่ยังมีอวิชชา มีกิเลส และโมหะเข้าครอบงำจนจิตใจมืดมนอนธการ ก็มีอยู่ไม่น้อย แล้วยังมีผู้ตกทุกข์ได้ยากลำบากเดือดร้อนจากการทำมาหาเลี้ยงชีพ จากโรคภัยไข้เจ็บ ก็มีจำนวนมาก คนเหล่านี้ถ้าได้ผู้แนะนำสั่งสอนที่ถูกต้อง ก็สามารถช่วยตนเองให้ความทุกข์ลดน้อยลงได้ สามารถเปลี่ยนชีวิตได้ ถ้าหากท่านจะหลีกเร้นไปหาประโยชน์ส่วนตัวของท่านแล้ว ท่านก็จะไม่มีโอกาสสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์
    ในสมัยนั้น คณะสงฆ์ไทยและคนทั่วไปไม่ค่อยสนใจศึกษาเรื่องการทำสมาธิ การปฏิบัติธรรม ถ้าใครแสดงความสนใจหรือสั่งสอน ก็จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปในทางลบทันที พระที่สนใจปฏิบัติธรรมจึงต้องออกธุดงค์ไปอยู่ที่ไกลผู้คน พระปฏิบัติบางรูปเดินทางธุดงค์ไปถึงนอกเขตแดนไทยก็มี
    ที่มา : หนังสือตรีธาเล่าเรื่องหลวงพ่อและวัดปากน้ำ
    ____________________
    พระพุทธเจ้าท่านอุบัติตรัสขึ้นในโลก ท่านมีธรรมกาย ธรรมกายเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระตถาคตเจ้า ท่านมองทีเดียวแหละ ใครจะมีธรรมกายเหมือนเราบ้าง ท่านมีความรู้วิเศษ คนนี้มีเหตุได้สั่งสมอบรมมา สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยกันแล้ว บารมีเป็นเหตุ บารมีแก่แล้ว สมควรที่จะได้มรรคผล สมควรจะมีได้ธรรมกายเหมือนเรา ไม่ว่าอยู่ใกล้อยู่ไกล พระองค์อุตส่าห์พยายามไปแนะนำให้มีธรรมกายเหมือนท่าน เมื่อมีธรรมกายเหมือนท่าน ก็เป็นหมู่เดียวกับท่าน เป็นพวกเดียวกับท่าน พอมีธรรมกายเหมือนท่าน ก็เป็นพวกเดียวกับท่าน เป็นหมู่ มีธรรมกายน่ะเป็นชั้นๆ เป็นพระอรหันต์ อรหัตบ้าง เป็นพระอนาคาบ้าง เป็นพระสกิทาคาบ้าง เป็นพระโสดาบ้าง เป็นโคตรภูบ้าง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน พระองค์เสด็จไปแนะนำสั่งสอน ให้มีธรรมกายปรากฏขึ้นเหมือนพระองค์ เมื่อมีธรรมกายปรากฏขึ้นเหมือนพระองค์แล้ว ก็เป็นพระพุทธเจ้า (อนุพุทธะ) ทีเดียว

    - โอวาทพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    พระสารีบุตรได้อธิบายวิธีการเจริญอานาปานสติไว้ว่า

    "ไม่พึงกำหนดใจตามลมหายใจเข้า-ออก เพราะจิตที่แกว่งไปมา จะเป็นไปเพื่อความปั่นป่วนและหวั่นไหวแห่งจิต แต่พึงมีสติกำหนดจิตอยู่ตรงที่ๆ ลมกระทบ"
    ดังปรากฏในมหาวรรค อานาปานกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (31/369/249) ว่า
    "เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด แห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน
    เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด แห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก"
    นอกจากนี้ พระสารีบุตรยังได้เปรียบเทียบการเจริญอานาปานสติเหมือนกับการเลื่อยต้นไม้ คนเลื่อยไม้กำหนดสติไว้ที่ตำแหน่งที่กำลังเลื่อย ไม่ได้กำหนดสติไว้ที่ฟันเลื่อย ดังข้อความที่ปรากฏในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (31/383-384/254) ว่า
    "นิมิต ลมอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) ปัสสาสะ (ลมหายใจออก) ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะไม่รู้ธรรม 3 ประการ จึงไม่ได้ภาวนา
    นิมิต ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะรู้ธรรม 3 ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล
    ธรรม 3 ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุผลวิเศษอย่างไร
    เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ บุรุษเอาเลื่อยเลื่อยต้นไม้นั้น สติของบุรุษย่อมเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกที่ต้นไม้ บุรุษนั้นไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุผลวิเศษ ความเนื่องกันเป็นนิมิต เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ ลมอัสสาสปัสสาสะเหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปากไม่ได้ใส่ใจถึงลมอัสสาสปัสสาสะออกหรือเข้า ลมอัสสาสปัสสาสะออกหรือเข้าจะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ เหมือนบุรุษตั้งสติไว้ด้วยสามารถฟันเลื่อยอันถูกที่ต้นไม้ เขาไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฉะนั้น"
    และพระมหานามะก็ได้อรรถาธิบายถึงเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด แห่งลมหายใจเข้า-ออก ไว้ว่า
    "ปลายจมูกหรือปากเป็นเบื้องต้นของลมหายใจเข้า หัวใจเป็นท่ามกลาง นาภี (สะดือ) เป็นที่สุด และนาภีเป็นเบื้องต้นของลมหายใจออก หัวใจเป็นท่ามกลาง ปลายจมูกหรือปากเป็นที่สุด เมื่อใช้สติไปตามลมหายใจเข้า-ออก จิตย่อมถึงความฟุ้งซ่าน เป็นอันตรายแก่สมาธิ"
    ดังปรากฏในคัมภีร์สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ภาค 2 หน้า 83 ว่า
    บทว่า "อสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสานํ"
    ความว่า "เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของลมหายใจเข้า คือปลายจมูกหรือนิมิตปาก เป็นเบื้องต้นของลมเข้าในภายใน หัวใจเป็นท่ามกลาง มีนาภีเป็นที่สุด เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งลมหายใจเข้านั้น จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน โดยไปตามความต่างกันแห่งที่ตั้ง จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายในนั้น เป็นอันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียว"
    บทว่า "ปสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสานํ"
    ความว่า "เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของลมหายใจออก คือสะดือ เป็นเบื้องต้นของลมออกไปในภายนอก หัวใจเป็นท่ามกลาง ปลายจมูก นิมิตปาก หรืออากาศภายนอก เป็นที่สุด"
    ดังนั้น หลวงพ่อสดวัดปากน้ำท่านจึงได้สอนให้รวมใจ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ ไปรวมหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ซึ่งเป็นที่ตั้งของใจ เป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่จิตเปลี่ยนวาระ และเป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ณ ภายในต่อๆ ไปจนสุดละเอียด
    ถ้าท่านหายใจเข้าออก ท่านจะพบว่าลมหายใจเข้าไปจนสุดตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี และก็ตั้งต้นหายใจออกตรงนั้นเป็นต้นทางลม และก็เป็นปลายทางลมหายใจเข้าออก ตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี
    ใจหยุดก็ต้องไปหยุดตรงนั้น เขาเรียกว่า "กลางพระนาภี" ซึ่งเมื่อใจหยุดนิ่งสงบมั่นคงดีแล้ว ผู้ปฏิบัติก็จะได้เห็นดวงธรรมผุดลอยขึ้นมาจากศูนย์กลางกาย ดังในพระไตรปิฎก มหาสุญญตสูตรที่ว่า
    "เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ"
    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านได้เลือกใช้วิธีที่ดีที่สุดมาผสมกัน โดยกล่าวรวมย่อๆ ได้ดังนี้
    1.ให้มองดู "ดวงแก้ว" ให้จำได้ แล้วนึกให้เห็นดวงแก้วด้วยใจ เพื่อให้ใจซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไม่มีตัวตน มารวมอยูที่ความนึกเห็นดวงแก้ว
    การนึกเห็นดวงแก้วนั้น มีลักษณะเป็นการเพ่งกสิณแสงสว่าง ชื่อว่าอาโลกกสิณ เป็นหนึ่งในสมถะภูมิ 40
    2.ให้กำหนดบริกรรมภาวนาท่องในใจว่า "สัมมาอะระหัง"
    คำว่า "สัมมา" นั้นย่อมาจาก สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า พระผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ หมายเอาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า
    ส่วนคำว่า "อะระหัง" นั้น แปลว่า พระผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรมทั้งปวง หมายเอาพระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า
    เมื่อท่องในใจหรือกำหนดบริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอะระหัง" ตรงกลางของกลางจุดเล็กใสศูนย์กลางดวงใสแล้ว พึงให้น้อมพระพุทธคุณในข้อพระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า มาสู่ใจเราเป็นพุทธานุสสติ หนึ่งในสมถะภูมิ 40
    3.ให้เอาใจไปรวมหยุดนิ่งตรง "ศูนย์กลางกาย" เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ตรงนั้นอยู่สูงกว่าต้นทางลมหรือที่สุดลมหายใจเข้าออก เป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งให้สามารถปฏิบัติภาวนาเข้าถึงรู้เห็น กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็นทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายในได้
    และ ณ ที่นั้น เนื่องด้วยอยู่สูงกว่าระดับที่สุดหรือปลายทางลม หรือที่ตั้งต้นลมหายใจเข้าออก ประมาณ 2 นิ้วมือ เมื่อผู้ปฎิบัติภาวนามีสติสัมปชัญญะ รู้ลมหายใจเข้าออกกระทบ หรือผ่านดวงแก้วตรงนั้น ก็เป็น "อานาปานสติ" อีกโสดหนึ่ง
    ในขั้นสมถภาวนาจึงมีอุบายวิธี 3 วิธี คืออาโลกกสิณ 1 พุทธานุสสติ 1 และอานาปานสติ 1
    ซึ่งมีอยู่พร้อมในการปฏิบัติภาวนาเบื้องต้นตามแบบวิชชาธรรมกายที่หลวงพ่อสดสอน โดยเป็นธรรมปฏิบัติที่มีอานุภาพสูงให้เกิดวิชชาอันเป็นธรรมเครื่องกำจัดอวิชชามูลรากฝ่ายเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    เพราะเมื่อรวมอุบายวิธีทั้ง 3 นี้เข้าด้วยกันแล้ว จะมีผลให้เกิด "ทิพยจักขุ" กับ "ทิพยโสต" เป็นพื้นฐานให้เจริญวิชชา คือ ความสามารถพิเศษหรืออภิญญาได้เป็นอย่างดีตามรอยบาทพระพุทธองค์
    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้มีลักษณะเป็นแบบที่ใช้ “เจโตสมาธิ” เป็นบาท คือ สมาธิที่ประดับด้วยอภิญญาหรือวิชชา 3 ถ้าบรรลุมรรคผลโดยวิธีนี้ เรียกว่าหลุดพ้นโดย “เจโตวิมุตติ”
    ซึ่งในระหว่างที่ปฏิบัติแต่ยังไม่ถึงขั้นบรรลุมรรคผล ก็จะยังได้ความสามารถในทสมาธิยังประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรมให้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติเป็นอันมาก
    นอกจากนี้ผู้ประสงค์จะเจริญภาวนาแบบ “ไตรลักษณ์” ก็จะสามารถเจริญได้โดยสะดวก เพราะการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้มีสติปัฏฐาน 4 อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ สามารถที่จะยกเอากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้งภายในและภายนอกขึ้นมาพิจารณาได้เสมอ เป็นทางให้ได้บรรลุมรรคผลทางปัญญา เป็นผลพลอยได้อีกด้วย
    จึงมิต้องวิตกกังวลว่าการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้ จะเป็นแค่ขั้น “สมถะ” โดยไม่มี “วิปัสสนา” แต่อย่างใด
    _________________





    การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาจะต้องมี "การเห็น" ถ้าปฏิเสธการเห็น ก็ไม่ใช่การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง
    ดังในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่มที่ 5 ภาค 1 หน้า 218 สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา มีความว่า
    [51] คำว่า เราย่อมเห็น ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก
    จากพระสูตรดังกล่าว "ตา" ในพระพุทธศาสนามี 5 ชนิด ดังนั้น การปฏิบัติธรรมจึงต้องมี "การเห็น" ด้วยตา
    ในทางวิชชาธรรมกาย การเข้าถึงกายในกาย จนกระทั่งเกิด "ตา" หรือ "ญาณทัศนะ" ตรงตามพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่มที่ 4 ภาค 1 หน้าที่ 16 ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา มีความว่า
    [14] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    "สมถะ" คือการทำใจให้หยุดให้นิ่ง "วิปัสสนา" คือการเห็นแจ้ง ดังนั้น ทั้งสมถะและวิปัสสนาจะทำให้ปฏิบัติธรรมในโพธิปักขิยธรรม 37 ได้ และทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้
    บางคนมีอาการรังเกียจสมถกรรมฐาน และเข้าใจผิดไปว่าสติปัฏฐาน 4 เป็นวิปัสสนา ทำให้บรรลุมรรคผลได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของกรรมฐานสายพระพม่า แต่ชาวพุทธไทยจำนวนหนึ่งนำมายึดเป็นหลักเป็นแก่น (เชื่ออย่างสุดหัวใจ) ก็เลยทำให้เกิดมีการโจมตีสมถะ รังเกียจสมถะขึ้น
    สมถกรรมฐานมีหัวข้อธรรมะที่ต้องฝึกปฏิบัติ 7 หัวข้อ คือ
    - กสิณ 10
    - อสุภะ 10
    - อนุสสติ 10
    - อัปปมัญญา | พรหมวิหาร 4
    - อรูปฌาน 4
    - จตุธาตุววัฏฐาน
    - อาหาเรปฏิกูลสัญญา
    วิปัสสนากรรมฐานมีหัวข้อธรรมะที่ต้องฝึกปฏิบัติ 6 หัวข้อ คือ
    - ขันธ์ 5
    - อายตนะ 12
    - ธาตุ 18
    - อินทรีย์ 22
    - ปฏิจจสมุปบาท 12
    - อริยสัจ 4
    ไม่ว่าจะปฏิบัติธรรมในหัวข้อธรรมะใดๆ จะต้องใช้ "สมถะ-วิปัสสนา" ควบคู่กันไป ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ เปรียบเสมือนเหรียญต้องมี 2 ด้าน ถ้าขาดด้านใดด้านหนึ่งไป ก็ไม่ใช่เหรียญ
    สมถะทำให้ใจ หยุด-นิ่ง-แน่น เมื่อใจ หยุด-นิ่ง-แน่น แล้ว พอเห็นอะไร ก็จะเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เพราะธรรมะทุกหัวข้อ เราจะต้องเห็นได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ไม่ใช่ตีความหรือคิดแบบการเรียนหนังสือ
    (เมื่อ "เห็น" ก็จะ "รู้" ไปเลย)
    สมถกรรมฐานทั้ง 7 หัวข้อใหญ่ 40 หัวข้อย่อยนั้น มีไว้เพื่อฝึกปฏิบัติเพื่อให้ใจ "หยุดนิ่ง" ซึ่งทั้ง 40 หัวข้อย่อยนั้น จะฝึกเพียงหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งก็ได้
    ส่วนวิปัสสนากรรมฐานทั้ง 6 หัวข้อใหญ่ 73 หัวข้อย่อยนั้น ต้องฝึกปฏิบัติให้ครบทุกหัวข้อ เว้นหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งไม่ได้เลย เพราะเป็นพื้นฐานของการบรรลุมรรคผลนิพพาน
    ซึ่งหัวข้อธรรมะทุกสิ่งที่กล่าวไปข้างต้นนั้น มีลักษณะเป็น "ดวง" ทั้งสิ้น
    และในหัวข้ออินทรีย์ 22 นั้น มีดวงแค่ 21 ดวง เพราะดวงปุรินทรีย์จะมีเฉพาะของผู้ชาย ส่วนดวงอิตถินทรีย์จะมีเฉพาะของผู้หญิง
    มีบาลีพุทธภาษิตว่า : คมฺภีโรจายํ ธมฺโม ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย
    คำแปล : ธรรมนี้เป็นสภาพลึก เห็นได้ยาก ตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต คิดเดาด้วยเหตุผลธรรมดาไม่ได้ (หยั่งไม่ได้ด้วยตรรกะ) เป็นธรรมละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตเท่านั้นที่จะถึงรู้ได้
    ขยายความ : ธรรมทั้งหลายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้นั้น มีสภาพละเอียด เห็นได้ยาก ไม่สามารถนึกคิดด้วยเหตุผลธรรมดาได้ เนื่องจากรู้ได้เฉพาะโลกุตรญาณของธรรมกายเท่านั้น พระพุทธองค์จึงเกิดความปริวิตก ดังที่ตรัสไว้ในพรหมยาจนกถา (วินย.มหา.ปฐมภาค 4/7/12) ว่า
    ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลงสู่ความนึกคิด ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง อันหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย (กามคุณ 5) ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัย เห็นได้ยาก
    เป็นเหตุให้พระพุทธองค์มีพระทัยน้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม ดังมีปรากฏในอนัจฉริยคาถา (วินย.มหา.ปฐมภาค 4/7/12) ว่า
    บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะครอบงำแล้ว ไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน
    ณ ตรงนี้เห็นได้ว่าพระพุทธศาสนานั้น ใช่ว่าเราจะใช้สมองตรึกนึกตรองข้อธรรมต่างๆ แล้วจะเข้าใจแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมนั้นๆ สมาธิขั้นสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อใจสงบระงับมีกำลังจึงยกภูมิสูงขึ้นสู่ภาควิปัสสนา ภาควิปัสสนานั้นเราต้องมีรู้ญาณหรือมีญาณทัศนะเห็นธรรมตามความเป็นจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่องขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 ปฏิจจสมุปบาท 12 อริยสัจ 4 ใช่ว่าเราจะใช้สมองคิดตรึกตรองแล้วจะเข้าใจสภาวธรรมเหล่านี้อย่างแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้รู้ให้เห็นจริงๆ ให้เกิดเป็นอธิจิต อธิปัญญา รู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง
    เวลาฝึกสมาธินั้นหลายท่านบอกว่าเราฝึกสมถะจนจิตสงบ พอออกจากสมาธิแล้วจะใช้ปัญญาคิดพิจารณาข้อธรรมต่างๆ แล้วเป็นวิปัสสนาได้หรือไม่ ทำเช่นนั้นยังไม่ใช่การพิจารณาธรรมในขั้นวิปัสสนาอย่างแน่นอน เพราะขั้นตอนของสมถะและวิปัสสนาต้องต่อเนื่องกันไปในขณะหลับตาทำสมาธิอยู่ เช่น เราต้องการพิจารณาขันธ์ 5 เมื่อปฏิบัติสมาธิเบื้องต้นจนจิตสงบแล้วต่อไปก็ยกภูมิขึ้นสู่วิปัสสนา รู้เห็นขบวนการของขันธ์ 5 รู้ญาณชนิดนี้เป็นรู้ญาณละเอียดขั้นอธิจิต อธิปัญญา จึงมีตาวิเศษ รู้เห็นขบวนการของขันธ์ 5 อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เพียงแต่ว่าใจเราละเอียดอยู่ในระดับใด ถ้าละเอียดอยู่ในขั้นโลกิยะก็ไม่สามารถรู้เห็นสภาพธรรมชั้นสูงในภาคโลกุตระได้ เพราะชั้นโลกิยะจะมีคุณธรรมเครื่องรู้เห็น คือ ระดับจิตได้แค่มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ซึ่งทั้ง 4 ระดับนี้ พิจารณาได้แต่ธรรมขั้นโลกิยะ เช่น มนุษยธรรมได้แก่ใจระดับที่มีหิริโอตตัปปะ เทวธรรมคือใจที่มีศีลห้าธรรมห้า (กุศลกรรมบถ 10) พรหมธรรมได้แก่ใจที่สำเร็จฌานโลกิยะ 4 ระดับ หรืออย่างหยาบต้องมีพรหมวิหารธรรม 4 อรูปพรหมธรรมได้แก่ใจที่สำเร็จอรูปฌาน 4 นี่คือการรู้ ส่วนการเห็นนั้น ตาหยาบก็เห็นของหยาบ ตาละเอียดก็เห็นของละเอียด เหมือนนักวิจัยใช้กล้องส่องดูอนุภาคเล็กๆ ถ้ากล้องมีกำลังขยายสูงเราก็เห็นได้ละเอียด
    ตามนุษย์เรียกว่า "มังสจักษุ" ตาเทพ (ทิพย์) เรียกว่า "ทิพยจักษุ" ตาพรหมเรียกว่า "ปัญญาจักษุ" ตาอรูปพรหมเรียกว่า "สมันตจักษุ" ตาระดับโลกุตรภูมิหรือตาธรรมกายเรียกว่า "พุทธจักษุ" (ธรรมจักษุ)
    เข้าถึงภูมิระดับใดใจก็มีตา (ญาณทัศนะ) ระดับนั้น รู้เห็นได้ละเอียดกว่ากันเป็นชั้นๆ ไป ทั้งโลกิยธรรมและโลกุตรธรรมตามแต่ภูมิธรรมที่เข้าถึง เมื่อใจละเอียดมีอย่างนี้แล้ว ก็เป็นธรรมดาที่ว่า มีใจที่ใดต้องมีกายครองที่นั่น ก็กายกับใจเป็นของคู่กัน เหมือนรูปกับนามเป็นของคู่กัน เมื่อมีรูปย่อมมีนาม เมื่อมีนามย่อมมีรูป เมื่อใจมี กายก็ต้องมารองรับ ใจละเอียดกายก็ละเอียด ใจหยาบกายก็หยาบ ใจหยาบช้าทำแต่กรรมชั่ว กายที่มารองรับก็อัปลักษณ์น่าเกลียด เช่น สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และพวกสัตว์เดรัจฉานต่างๆ นี่เพราะใจหยาบช้า กายก็หยาบช้า ถ้าใจละเอียด กายก็ละเอียดเป็นเครื่องรองรับกันเสมอ เช่น เทพ (ทิพย์) พรหม อรูปพรหม เมื่อใจเรางามกายที่งามสมกับใจก็มารองรับซึ่งกันและกัน ตรงนี้เป็นผังสำเร็จ เป็นผังชีวิตที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ถ้าเราเข้าใจเรื่องกายกับใจเช่นนี้ได้ เราก็จะสามารถเข้าใจสภาวธรรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
    วิชชาธรรมกายสอนเรื่องกายละเอียดต่างๆ นั้น มิได้หมายเรื่องนิมิตหรือเห็นอะไรสักแต่เป็นนิมิต แต่นี่เป็นผังชีวิตของจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านได้รู้ ได้เห็น เพียงแต่ว่าต้องปฏิบัติจนเข้าถึงจึงจะหมดข้อสงสัย เพราะธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นของลุ่มลึกเกินวิสัยแห่งปุถุชนที่จะคาดเดาเอาเองได้ ต้องไปรู้ไปเห็นด้วยญาณทัศนะอันละเอียดจึงจะเข้าใจ ที่พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสไว้โดยละเอียดเพราะเนื้อแท้แล้วพระองค์ต้องการให้เราปฏิบัติเพื่อเข้าถึงเองเป็นดีที่สุด พระพุทธองค์จึงตรัสบอกแต่วิธีการเข้าถึง เช่น ให้ปฏิบัติตามกรรมฐาน 40 วิธี เช่น อานาปานสติ กสิณ อนุสสติ เป็นต้น แล้วเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้เข้าถึง กาย เวทนา จิต ธรรม ที่ละเอียด เข้าถึงได้ ก็จะเข้าใจสภาวธรรมตามที่เป็นจริงหมดข้อกังขาเอง
    ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย ใจละเอียดมีตาละเอียด ตาละเอียดมีญาณทัศนะที่ละเอียด รู้ได้เห็นได้อย่างละเอียดถึงรูปแบบและขบวนการของสภาวธรรมในระดับวิปัสสนาได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 ปฏิจจสมุปบาท 12 อริยสัจ 4 หรือธรรมขั้นโลกุตรภูมิใดๆ ก็รู้เห็นได้หมด เพียงขอให้ใจละเอียดเป็นอธิจิต อธิปัญญาเถิด แต่พิจารณาอย่างเดียวไม่พอต้องทำการสะสางธาตุธรรมภายในให้หมดกิเลสเป็นชั้นๆ ได้ด้วย เพระกิเลสอวิชชาเขาก็มีเป็นชั้นๆ ซ้อนอยู่ในกายและใจของเราที่เป็นชั้นๆ อยู่ด้วยเหมือนกัน ชำระสะสางกิเลสให้หมดจากจิตใจได้จึงเชื่อได้ว่าหลุดพ้นจริง หมดภพหมดชาติ หมดการเวียนว่ายตายเกิดจริง
    ถ้าเรารู้จักกายมนุษย์หยาบกายนี้เพียงกายเดียว ไม่มีทางกำจัดกิเลสเข้าไปเป็นชั้นๆ ได้ เพราะกิเลสระดับละเอียด (อนุสัย) เขามีอยู่ เขาก็อยู่ในชั้นละเอียดเข้าไป กายและใจมนุษย์ไม่สามารถรู้เห็นได้ ต้องใช้รู้ญาณทัศนะที่ละเอียด (ญาณธรรมกาย) เข้าไปจึงจะทำลายกิเลสให้หมดจนสุดหยาบสุดละเอียด

    หลวงพ่อสดวัดปากน้ำมีวิริยคติที่ว่า

    “บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็น เราก็ยังไม่รู้เห็น สมควรที่เราจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง”
    ในที่สุดหลวงพ่อก็เข้าถึงกายละเอียดใจละเอียดเป็นชั้นๆ ซึ่งมีกายและใจละเอียดถึง 18 ชั้น (18 กาย) จึงได้รู้เห็นผังของจริง เมื่อเรารู้เห็นเป็นชั้นๆ เข้าไป ต่อไปงานสะสางธาตุธรรมไปจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ก็ทำได้ นี่จึงชื่อว่าเป็นเหตุเป็นผลรองรับกัน ฉะนั้น เราเข้าถึงกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ธรรมกาย ทั้งหยาบและละเอียด ก็คือเรามีหนทาง (มรรควิธี) แห่งการกำจัดกิเลสอวิชชาเป็นชั้นๆ เข้าไป ตามที่กล่าวมาแล้ว ส่วนขั้นปฏิบัติจริงจังนั้นจะต้องว่ากันโดยละเอียดต่อไป
    และสำหรับพระพุทธลักษณะขององค์พระธรรมกายที่ถูกต้องนั้น จะมีลักษณะเหมือนพระพุทธปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ขาวใสบริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งนัก ครองจีวรม้วนลูกบวบเข้าใน คือ ม้วนขวาเท่านั้น ไม่ม้วนซ้าย ประทับนั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย นิ้วชี้พระหัตถ์ขวาแตะนิ้วหัวแม่มือพระหัตถ์ซ้าย ประทับอยู่บนองค์ฌาน มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ขาวใส หนาประมาณ 1 ฝ่ามือของพระธรรมกาย
    ธรรมกายเป็นกายที่เรียกว่าธาตุเป็นธรรมเป็น พ้นจากโลกิยวิสัย บางท่านคิดว่าเป็นเพียงนิมิตหรือคิดไปเอง ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะการเข้าถึงธรรมกายนั้น ใจ ของผู้เข้าถึงต้องรวมใจหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์ และใจที่หยุดนั้นต้องเข้ากลางของกลางดวงธรรมจนถึงธรรมกาย เมื่อเข้าถึงธรรมกาย เราเอาใจจรดศูนย์ เราจะเห็นพุทธลักษณะของพระธรรมกายได้ทั้งซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง กลาง ระหว่างหัวต่อกาย กล่าวคือ เห็นธรรมกายได้ทุกทิศทางทุกสัดส่วนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า เห็นได้รอบตัว ซึ่งเกินสามัญสำนึกของมนุษย์ปุถุชนธรรมดาที่จะคิดหรือจินตนาการเอาเองได้ เพราะมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ไม่เคยมีใครที่มีประสบการณ์ในการมองเห็นด้วยตาเนื้อลักษณะเช่นนี้มาก่อนทั้งสิ้น
    เวลาเราส่องกระจกเราเห็นได้ด้านหน้าด้านเดียว ต่อให้เราตั้งกระจกไว้หลายบาน เราก็เห็นได้ทีละบาน ทีละด้าน ดังนั้น การเห็นธรรมกายไม่ใช่เกิดจากจินตนาการหรือเป็นเพียงนิมิต เพราะยังมีรายละเอียดอีกมากที่จะตรวจสอบได้ว่า การเข้าถึงธรรมที่เราเห็นนั้น ตรงตามหลักวิชชาหรือไม่ นี่เป็นเพียงการอธิบายบางส่วนเบื้องต้นเท่านั้น
    ลูกศิษย์ลูกหาบางท่านฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียดตรงที่ว่านิมิต (ลวง) ไม่ให้ถือ และยิ่งเมื่อเห็นอะไรเป็นนิมิตไปหมด ก็เลยปฏิเสธหมด เมื่อปฏิเสธหมดก็ไม่มีฐาน ปฏิเสธนิมิต จิตก็ไม่มีฐานที่ตั้ง เหมือนยิงจรวดไม่มีฐานที่มั่นคง จะไปได้สักเท่าไร
    มีพระคุณเจ้าระดับวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นเจ้าสำนัก ได้ยินว่าท่านนั่งเจริญภาวนา ท่านนั่งไปเอง พุทโธๆ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นภายนอกกายหยาบ ท่านเห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่งอยู่ภายนอกกายหยาบ ท่านก็เลยเอากายละเอียดพิจารณากายหยาบ เอากายหยาบพิจารณากายละเอียด ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เพียงเท่านั้น เลยไม่ได้ก้าวหน้าให้ถึงธรรมกาย ท่านก็พิจารณาไตรลักษณ์อยู่แค่นี้
    อีกท่านหนึ่งนั่น เป็นระดับลูกศิษย์ในสำนักหนึ่ง นั่งภาวนาทีไร เห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป เพราะอาจารย์ท่านสอนไว้ว่านั่นเป็นนิมิต เป็นนิมิตลวง นั่งไปอีกก็เห็นอีก ไม่เอา ปฏิเสธเสีย ธรรมจึงไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร ไปติดอยู่แค่นั้น
    เพราะฉะนั้น เรื่องจริงๆ ก็มีอยู่นิดเดียวเท่านั้นว่า บางท่านอาจจะถือกันมาผิดๆ จากเจตนาที่พระอาจารย์ท่านสอนจากประสบการณ์
    การเจริญฌานทั้ง 4 ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ ต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรอง ประคองนิมิต นั่นแปลว่าเริ่มมาตั้งแต่ บริกรรมนิมิต อุุคคหนิมิต ถึงปฏิภาคนิมิต จึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติ กำจัดพยาบาท สุข กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตา กำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ 5 ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ 5 เพราะฉะนั้นใครตั้งนิมิตขึ้น ถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย จะผิดที่ไหนกัน
    เพราะฉะนั้น นิมิตนี้เป็นของต้องมี สมถภูมิ 40 บอกไว้ชัดเจนเลย เช่น กสิณ 10 เป็นต้น
    โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ
    คำแปล : ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
    (คัมภีร์บาลีมังคลัตถทีปนี)
    ธรฺมกายปรินิษฺปตฺติโต มํ ภิกฺษโว ทฺรกฺษยถ
    คำแปล : ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นเราโดยการเข้าถึงธรรมกาย
    (คัมภีร์สันสกฤตอัษฏสาหัสริกา)
    無後邊身常身法身金剛之身。
    คำแปล : ตถาคต คือ ธรรมกาย มีกายที่ไร้ขอบเขต เป็นกายเพชร [กายแก้ว]
    (คัมภีร์จีนมหาปรินิรวาณสูตร)
    _________________




    สภาวะของอานาปานสติ
    พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)

    "สภาวะของอานาปานสติ เมื่อจิตละเอียดหนักเข้า ลมจะไปหยุดที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางพระนาภีนั้นเอง ตรงนั้นเป็นตำแหน่งลมหยุด แต่พอหยุดอย่างมีสติ ไม่ใช่หยุดด้วยการเผลอสติและนั่งตัวแข็งทื่อ ลมหยุดอย่างมีสติ เกิดมีปฏิภาคนิมิต จิตถึงอัปปนาสมาธิ ได้อานาปานสติ
    ถ้าหากไม่กำหนดองค์บริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนาช่วย กว่าที่ลมจะหยุดอาจจะนาน ถ้าหากกำหนดองค์บริกรรมนิมิต องค์บริกรรมภาวนาช่วย ลมจะหยุดได้เร็ว"

    *************************


    • เกร็ดความรู้ •

    1.พระทิเบตบรรลุธรรมกาย
    พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล) ท่านกล่าวว่า พระทิเบตเขาสามารถเข้าถึงธรรมกายได้ โดยเขาทำวิชชาไปจนถึงเหตุสุด แต่ไปต่อไม่ได้ แต่ก็ทำได้และทำกันมาเนิ่นนาน กล่าวคือ เขาทำสืบทอดกันมานานแล้วตั้งแต่ครั้งโบราณกาล แต่ไม่ได้เป็นหลักวิชชาที่บริบูรณ์เหมือนอย่างหลวงพ่อสด
    หลวงป๋าเสริมชัยจึงไปสอนและแก้วิชชาให้เขา เขาปีติมากจนน้ำตาซึม ที่วิชชาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและเห็นได้อย่างถูกต้องบริสุทธิ์สมบูรณ์
    ดังนั้น พระทิเบตเองท่านก็เข้าถึงธรรมกายเป็นเหมือนกัน แล้วยิ่งได้หลวงป๋าเสริมชัยไปชี้ทาง เขาก็ยิ่งก้าวหน้าในธรรมมากยิ่งขึ้น
    2.พระญี่ปุ่นบรรลุธรรมกาย
    พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) ครั้งยังเป็นพระวีระ ท่านได้เขียนเล่าเรื่องเมื่อภิกษุญี่ปุ่นบรรลุธรรมไว้ว่า เมื่อคณะสมณทูตญี่ปุ่นซึ่งมาเยี่ยมสำนักวัดปากน้ำ หลังจากได้เดินทางกลับจากประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์ ณ ประเทศอินเดียกับดูการสังคายนา ณ ประเทศพม่า สมณฑูตคณะนี้มีท่านสังฆราชตาคาชินาเป็นประธาน
    หลังจากการเยี่ยมคำนับท่านเจ้าคุณพ่อเมื่อ 16 มิถุนายน 2497 เวลา 18.00 น. ข้าพเจ้าได้รับการเชื้อเชิญจากภิกษุญี่ปุ่นรูปหนึ่งซึ่งเป็นผู้สนใจในวิชาสมถวิปัสสนาตามแบบของสำนักเรานี้ ขอให้ไปพบกับท่าน เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กันที่โรงแรมชิโตเซะ ถนนนเรศ
    ข้าพเจ้าได้รับเชิญให้เข้าพบท่านสังฆราชกับคณะ เรื่องโดยมากที่สนทนากันมีสารสำคัญเกี่ยวกับวิชาเจริญสมถวิปัสสนา ในระหว่างการสนทนานั้น ท่านเลขานุการของพระสังฆราชเป็นผู้มีความสนใจเป็นพิเศษถึงกับหาสมุดมาจดบันทึกข้อความ ท่านผู้นี้ได้ถามถึงจุดที่ตั้งของจิตขณะเจริญสมาธิตามแบบของวัดปากน้ำ
    เป็นที่สนใจแก่สังฆราชญี่ปุ่น ถึงกับกล่าวว่าวิธีของวัดปากน้ำนี้ดีมาก และจะได้ใช้แบบของวัดเรานี้ในกาลต่อไป กับได้ชี้แจงให้คณะของเราทราบว่า วิธีของนิกายโซโตนั้น ได้กำหนดที่ตั้งของจิตที่บริเวณหน้าผากหรือดั้งจมูก ซึ่งต่างกว่าแบบของวัดเรา
    ต่อจากนั้นคณะสมณทูตได้ขอให้ข้าพเจ้าอธิบายถึงวิธีดำเนินการปฏิบัติการเจริญสมถวิปัสสนา ซึ่งข้าพเจ้าได้ชี้แจงให้พอเป็นสังเขป ตามแบบของท่านเจ้าคุณพ่อ
    ในระหว่างการสนทนาโต้ตอบ ท่านเลขานุการของพระสังฆราชได้แสดงความจำนงใคร่จะทราบว่า บิดาของท่านซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว บัดนี้อยู่ ณ ที่ใด ดังนั้นข้าพเจ้าจึงชักชวนให้คณะสมณทูตทั้งหมดทดลองทำการเจริญสมถวิปัสสนาตามแบบของวัดเราดูบ้าง
    คณะสมณทูตมีความยินดีจะปฏิบัติตามคำเชื้อเชิญ จึงพากันเข้าไปสู่ห้องสงัดห้องหนึ่ง แล้วเริ่มเจริญสมถวิปัสสนาธรรมกันทันทีข้าพเจ้าได้กำหนดให้เขาปฏิบัติโดยนั่งขัดสมาธิแล้วหลับตาเจริญสมถวิปัสสนาธรรม กับได้ชี้แจงวิธีการแก่คณะสมณทูตโดยลำดับไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเลขานุการพระสังฆราช ซึ่งต้องการทราบว่าบิดาของท่านล่วงลับไปแล้วอยู่ ณ ที่ใดนั้น ข้าพเจ้าได้แจ้งวิธีสอบสวนหาที่อยู่ของท่านให้ทราบโดยละเอียดเป็นพิเศษ
    การนั่งภาวนาเจริญสมถวิปัสสนาธรรมได้ดำเนินไปจนถึงขั้นสุดท้าย ท่านเลขานุการพระสังฆราชกลับลืมตาขึ้น เบ้าตาทั้งสองของท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำตา พร้อมกับได้พึมพำด้วยความตื้นตันใจว่า
    “ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดมาจนถึงบัดนี้ ไม่เคยได้พบความสุขใดยิ่งไปกว่าที่ได้เข้าถึงพระนิพพานท่ามกลางพุทธสาวก ดังที่ได้ประสบมาเมื่อสักครู่นี้เลย”
    _________________


    ไม่ควรตั้งจิตไว้ที่หน้าผาก
    พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)

    "มีไฟอยู่ตรงหน้าผาก ตรงนี้ล่ะถูกบ้างไม่ถูกบ้าง เป็นคติของพวกพวกฤๅษีชีไพร ทำสมาธิไว้ที่หน้าผาก เขาถือว่าตาอยู่ตรงนี้ มีอีกตาหนึ่งอยู่ที่หน้าผาก แต่ว่าเอาล่ะไม่ต้องไปคิดมาก จะอยู่ตรงไหนก็ช่าง ถ้าเอาใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย แสงสว่างจะออกจากศูนย์กลางกาย ธมฺโม ปทีโป ธรรมเป็นเหมือนแสงสว่างหรือแสงสว่างคือธรรม
    ดวงไฟกลางหน้าผากอย่าไปสนใจ อยู่กลางหน้าผากมันผิดเรื่องผิดราว พวกฤๅษีชีไพรจึงไม่ถึงนิพพานซะที เพราะไปอยู่ที่หน้าผาก"
    _________________


    คัมภีร์อานาปานสมฤติสูตร
    (อานาปานสติสูตร) 安般守意經
    จีน : 息中具有四大。而心在中
    ไทย : ใจควรถูกกําหนดไว้ตรงกลางกายในขณะหายใจ
    wps3j_rguBmXHK8-tUnkco3t2tNUrMayrXjPsxR1ZQl7&_nc_ohc=tO-kHgclAOQAX-Wsygy&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    =AZXsNCRenAvcXbvbwpRHXS2UeqAUhquffl9IzIr0plnfGAPYb_7qI8Nv5mZjsyZewFjSXCfMIdXESw3tB1fiNXWz5Zp3pUlnIMm3MC3683t8k2p-MuxztTXtgeIxNTdsP4pTpZn2hyMPjkD8w5ajKpMP&__tn__=*bH-R']
    =AZXsNCRenAvcXbvbwpRHXS2UeqAUhquffl9IzIr0plnfGAPYb_7qI8Nv5mZjsyZewFjSXCfMIdXESw3tB1fiNXWz5Zp3pUlnIMm3MC3683t8k2p-MuxztTXtgeIxNTdsP4pTpZn2hyMPjkD8w5ajKpMP&__tn__=*bH-R']

    goFwCO_khhIhCaUcithrGa-Ds_hSl_WTKAreP07Wius5&_nc_ohc=z90ywn1M6eoAX9tEUQg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    =AZXsNCRenAvcXbvbwpRHXS2UeqAUhquffl9IzIr0plnfGAPYb_7qI8Nv5mZjsyZewFjSXCfMIdXESw3tB1fiNXWz5Zp3pUlnIMm3MC3683t8k2p-MuxztTXtgeIxNTdsP4pTpZn2hyMPjkD8w5ajKpMP&__tn__=*bH-R']
    =AZXsNCRenAvcXbvbwpRHXS2UeqAUhquffl9IzIr0plnfGAPYb_7qI8Nv5mZjsyZewFjSXCfMIdXESw3tB1fiNXWz5Zp3pUlnIMm3MC3683t8k2p-MuxztTXtgeIxNTdsP4pTpZn2hyMPjkD8w5ajKpMP&__tn__=*bH-R']

    IHFyFZG30szT4tXc4EfV0_w_Sro7MaIoSyR-qMbiH3Nk&_nc_ohc=yrcGw3oErX8AX-AVt7Z&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    =AZXsNCRenAvcXbvbwpRHXS2UeqAUhquffl9IzIr0plnfGAPYb_7qI8Nv5mZjsyZewFjSXCfMIdXESw3tB1fiNXWz5Zp3pUlnIMm3MC3683t8k2p-MuxztTXtgeIxNTdsP4pTpZn2hyMPjkD8w5ajKpMP&__tn__=*bH-R']
    =AZXsNCRenAvcXbvbwpRHXS2UeqAUhquffl9IzIr0plnfGAPYb_7qI8Nv5mZjsyZewFjSXCfMIdXESw3tB1fiNXWz5Zp3pUlnIMm3MC3683t8k2p-MuxztTXtgeIxNTdsP4pTpZn2hyMPjkD8w5ajKpMP&__tn__=*bH-R']

    -4bMxo2aRJWZ0DuCr1zMYstkVk6MwYXXmOkPM7c7W7dS&_nc_ohc=xGo2tAJYclEAX8OCV1m&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    =AZXsNCRenAvcXbvbwpRHXS2UeqAUhquffl9IzIr0plnfGAPYb_7qI8Nv5mZjsyZewFjSXCfMIdXESw3tB1fiNXWz5Zp3pUlnIMm3MC3683t8k2p-MuxztTXtgeIxNTdsP4pTpZn2hyMPjkD8w5ajKpMP&__tn__=*bH-R']
    =AZXsNCRenAvcXbvbwpRHXS2UeqAUhquffl9IzIr0plnfGAPYb_7qI8Nv5mZjsyZewFjSXCfMIdXESw3tB1fiNXWz5Zp3pUlnIMm3MC3683t8k2p-MuxztTXtgeIxNTdsP4pTpZn2hyMPjkD8w5ajKpMP&__tn__=*bH-R']

    =AZXsNCRenAvcXbvbwpRHXS2UeqAUhquffl9IzIr0plnfGAPYb_7qI8Nv5mZjsyZewFjSXCfMIdXESw3tB1fiNXWz5Zp3pUlnIMm3MC3683t8k2p-MuxztTXtgeIxNTdsP4pTpZn2hyMPjkD8w5ajKpMP&__tn__=*bH-R'] rp5mkEG7UfcTrhul4dlTCgeib2U42KeeDgBS2V9IbIf3&_nc_ohc=MD42_7GaIq0AX_xdUst&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    ในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้วบรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเข้า อธิฏฐานะ การตั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้าแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.

    ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
    แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.

    อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุและทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.

    อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลมย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้นของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.

    ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.

    เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
    เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.
    ................
    สมันตปาสาทิกา มหาวิภังคอรรถกถา
    วิ.มหา.อ. (ไทย) ๒/๓๗๐-๓๗๑ มหามกุฏ ฯ

    mp7wkas-_vzngqbosw6u3lqfto7_ahph5x2q-_nc_ohc-q_pol7fbxcsax-gzwb3-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg-jpg.jpg

    ไฟล์ที่แนบมา:
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    9GVa4c6Vn4NzEuArne1hvUqJAR6zGEj6FDADZ5T9WgmK&_nc_ohc=x2N42o1zpMIAX_vADTm&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    aMQocBsx6Y_4uTHLMLnYyHCKpjwUJe2nAMU5EbTkOX-u&_nc_ohc=bLjSMfUMNjgAX9-ye9B&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    O27XY8mv3hVb2O4C27oZJdgm6Xa318Ae3CGUoRyM1voQ&_nc_ohc=v217J5JtgHsAX8TLnSA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    - เคล็ดลับในการตั้งจิตอธิษฐานให้ได้ผลสำเร็จเร็ว
    บุญ เป็นธรรมชาติชำระจิตใจให้ผ่องใส นี่จำหลักตรงนี้ไว้ เพราะท่านทำบุญนั้นใจยิ่งใส ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ยิ่งผ่องใส ผ่องใสด้วยคุณความดี
    มันแยกกันด้วยนะ ในตัวเรามันยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์ ยิ่งกว่านะ คอมพิวเตอร์นี่ ถ้าไปทำโปรแกรมผิดพลาด ไปใส่ข้อมูลผิดพลาด ก็ผิดไปเลย ออกมาก็ผิดๆ หรือ ไม่ออกมาครบถ้วนตามที่เราต้องการ
    แต่ใจนี่ ตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย โอ้โห บันทึกละเอียดยิบ เจตนาความคิดอ่านทุกขณะจิต เพราะฉะนั้น ท่านจึงบอกให้เรามีสติสัมปชัญญะ ทำดีเข้าไว้ อย่าเผลอสติไปทำไม่ดี อะไรดีทำเข้าไว้ กาย..วาจา..ให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ ใจ..ให้สงบ แล้วก็ทำความดีเพิ่ม มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ให้ยิ่งขึ้นไป บุญตรงนี้ ๑๐ ประการ แล้วแต่ว่าเราทำด้านไหน มันจะแก่กล้าขึ้น
    บุญเนี่ย ถ้าว่าขนาดมาตรฐานปานกลาง มันก็เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เท่ากันกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย แต่ถ้าทำความดีมากขึ้น กลายเป็นจากแก่กล้าขึ้นมาเป็นบารมี
    บุญโตใหญ่หนึ่งคืบเนี่ย บางคนพอนั่งปุ้บ เห็นสว่างเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มี ไม่ใช่ไม่มี นั่นแปลว่าดวงบุญเขาเต็ม เต็มหนึ่งคืบของผู้เป็นเจ้าของ แต่มาตรฐานปานกลางนี่เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่
    เพราะฉะนั้น การเห็นดวงใสแจ่มนี่ไม่เท่ากันนะ จำไว้ด้วย ไม่เท่ากัน ไม่อยากจะบอกว่า ถ้าเห็นดวงเล็กนิดเดียวใส แม้ใสเห็นดวงเล็กนิดเดียวนี่ ดวงบุญน้อยไป ปฏิบัติกรรมฐานก็ได้เป็นบาทฐาน เป็นทุนสำรองที่จะไปปฏิบัติในภพชาติต่อไป ในภพชาตินี้ก็คงไม่สำเร็จ ก็คงไม่เจริญเท่าไหร่ แต่ต้องทำนะ ไม่ใช่ไปนั่งเสียใจอยู่ แล้วเลยไม่ทำเลย หนักเข้าไปกว่าเก่าอีกที่นี้ ต้องทำนะ
    เพราะฉะนั้น ดวงบุญน่ะ มันอยู่ตรงนี้ หลวงพ่อท่านเรียกว่า #ทะเลบุญ
    #เพราะฉะนั้นเวลาเราอธิษฐานจิตให้สำเร็จอะไรๆนี่ ทำใจให้สงบนะ ให้เห็นใสแจ่มได้เท่าไหร่ยิ่งดี ดวงบุญใหญ่เท่าไหร่ก็แล้วแต่ ก็เป็นบุญ อธิษฐานจิตใจที่เป็นบุญเป็นกุศลเนี่ย ถ้าข้ออธิษฐานนั้น มีเหตุปัจจัยฝ่ายบุญกุศลมาประกอบแล้ว สำเร็จเร็วขึ้น
    #ปัจจัยฝ่ายบุญกุศลมาประกอบมีอะไร ?
    มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ที่เราทำอยู่เนี่ย ไม่ใช่ว่าอธิษฐานแล้วไม่ได้ทำอะไรเลยให้มันเกิดนะ มันก็ไม่เกิด หรือมันเกิดช้า เพราะต้องอาศัยบุญเก่า แต่บุญใหม่นี่ เก่ากับใหม่รวมกันนี่ มันจะกว้างขวางมีพลังมาก
    เพราะฉะนั้น ดวงบุญนี่ ถ้าขยายโต เราทำมากขึ้นขยายโตเท่าหนึ่งคืบของผู้เป็นเจ้าของ จะกลั่นตัวเองเป็นบารมีคุณความดีอย่างยิ่งยวด ประมาณหนึ่งองค์คุลีมือ
    แล้วบารมีนี่ เราทำแก่กล้าขึ้น กล้าเสียสละ ๑๐ ข้อนะ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ว่าไป ๑๐ อย่างน่ะ อันไหนมันเจริญแก่กล้าไปเท่าไหร่ ดวงบารมีนั้นก็แก่กล้าขึ้นไปเป็นลำดับ จนเต็มหนึ่งคืบของผู้เป็นเจ้าของ ในแต่ละอย่างๆนั่นน่ะแล้ว นี่เป็นอุปบารมี เป็นอุปบารมีเท่าหนึ่งองค์คุลีมือ
    อุปบารมีนี่ เจริญแก่กล้าขึ้นไปประมาณหนึ่งคืบของผู้เป็นเจ้าของ จะกลั่นตัวเองให้เป็นปรมัตถบารมี คือแก่กล้าเป็นปรมัตถบารมีเท่าหนึ่งองค์คุลีมือ
    นี้ #เมื่อปฏิบัติไปจนปรมัตถบารมีเต็มส่วน ทั้ง ๑๐ ข้อ ในภพชาติใด ผู้ปรารถนาเพียงปกติสาวก เป็นอันว่าบุญบารมีเต็มส่วนในภพชาตินั้น แล้วก็สามารถที่จะเจริญสมณธรรมบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ในภพชาตินั้นเอง เป็นพระอรหันต์ในภพชาตินั้น
    พระพุทธเจ้าจึงตรัสนะ ตรัสว่าใครเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความจริงพระองค์ไม่ได้แสดงเรื่องเงื่อนไขนะ แต่เรามาปฏิบัติแล้วเนี่ยเรารู้ ว่าถ้าบุญบารมีมันยังไม่เต็ม มันก็ไม่ได้บรรลุตามนั้นนะ เราต้องรู้เลยทีเดียว
    ทีนี้ พระพุทธเจ้าตรัส ใครเจริญสติปฏฐาน ๔ อย่างน้อย นี่หมายถึงผู้ปฏิบัติจริงจังนะ อย่างน้อย ๗ วัน อย่างมากไม่เกิน ๗ ปี เป็นอันบรรลุพระอรหันต์บุคคล นี่ย่อมหมายถึงว่า ผู้นั้นมีบุญบารมีเต็มแล้ว แก่กล้าแล้วถึงปรมัตถบารมีทั้ง ๑๐ อย่าง รวมเป็นบารมี ๓๐ ทัศ อย่างน้อยอย่างต่ำที่สุด บรรลุเป็นพระอริยบุคคลในขั้นพระอนาคามีบุคคล ไม่เกิน ๗ ปี ถ้าปฏิบัติจริงๆ อย่างนี้แปลว่าบุญบารมีประเภทเต็มแล้ว หรือว่า ใกล้จะเต็มเต็มที ก็จะบรรลุมรรคผลระดับอย่างต่ำพระอนาคามีบุคคล
    นี่ พระพุทธเจ้าตรัสคำนี้เราต้องเข้าใจว่า ต้องประกอบด้วยบุญบารมีด้วย เพราะฉะนั้น เราเจริญไปนี้ ต้องเข้าใจเรื่องบุญบารมี อยู่ที่ไหน? อยู่ที่ศูนย์กลางกาย เวลาอธิษฐานจิตปรารถนาสิ่งใดๆโดยชอบ กอปด้วยปัจจัยฝ่ายบุญกุศล ตรงนี้ ช่วยให้สำเร็จเร็วขึ้น และแน่นอนขึ้น.
    ________________
    เทศนาธรรมจาก
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _________________
    ที่มา
    บางตอนจากเทศนาธรรมเรื่อง
    "ธาตุเป็นที่ตั้งของธรรมทุกฝ่าย"
    _________________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า.
    =AZUHpFUo8cDIY03eedkR2SIejpjsNsVHeOaWjmi8LXS5XjdiWUnbrTIBverfoheXsT9GozH8X3RPrsQcNNFSV1eJx_Z3Fm8MrvTYU49loeNxZT1-2_ZiHtZqPPFvMQWHLR9as7nZFytCaDu04Lmokmp3kcl2FBm2X_T3WV76YILxeY9X8DUU9Q8p_Ss0xHhIHX1rsfg22PYjSMSw1bg2ZceJ&__tn__=EH-R'] j36Hh07buS7SBT_B4IWIHotnnBwRqLChZdVhWgSuxaDj&_nc_ohc=RvgIzqr32nwAX8fZy6r&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    - บางคนชอบตำหนิสมถะ
    ไปตำหนิก็เท่ากับคุณเอาน้ำร้อนสาดหน้าตัวเอง
    เป็นกรรมนะ.

    ในยามต้นแห่งราตรี ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงระลึกชาติได้ เห็นสัตว์โลกตายเกิด ตายเกิด แล้วไปทุคติภูมิ นี่ เห็นนรกนะ ทุคติภูมิ ไปเกิดเป็นเปรตบ้าง สัตว์นรกบ้าง อสุรกายบ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง ไปเกิดในทุคติภูมิอย่างนี้มากต่อมาก แต่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์น้อยเหลือเกิน หรือจะกลับไปเกิดเป็นเทพยดาน้อยนัก

    พระพุทธองค์ถึงกับตรัสสอนพระภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์โลกตายแล้วจากความเป็นมนุษย์นี่ จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกน้อยนัก แต่ไปเกิดในนิรยภูมิมากต่อมากนัก ก็คือ ไปเกิดเป็นเปรต สัตว์นรก อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มากต่อมาก

    ตรงนี้ เป็นวิชชาที่หนึ่ง ที่สำคัญ ที่บุคคลทั้งหลายไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง เพราะไม่รู้เห็นนรก ไม่รู้เห็นสวรรค์ ตามความเป็นจริง ไม่รู้เห็นการเวียนว่ายตายเกิด ก็หลงคิดว่า เรานี่สบายแล้ว ตายแล้วก็เดี๋ยวกลับมาสบายใหม่ ไม่มีทางถ้าคุณไม่ทำความดี และหลีกหนีความชั่ว

    ต้องทำความดีหลีกหนีความชั่ว เพราะความชั่วนำไปสู่นิรยภูมิ ไปเกิดในทุคติภูมิ ในภพชาติปัจจุบันก็ต้องลำบาก ลำบากในภพชาติปัจจุบันนี่แหละ กรรมมันตามสนองทุกคนแหละ แต่ว่าเรื่องกรรมตรงนี้ยังไม่พูด พูดว่าไปเกิดในทุคติภูมิ

    บุคคลที่กระทำความชั่วมากๆ ก็มีอาการเหมือนสัตว์โลกในทุคติภูมิ บางคนก็เหมือนเปรต บางคนก็เหมือนอสุรกาย บางคนก็เหมือนสัตว์เดรัจฉาน บางคนก็เหมือนสัตว์นรก ร้อนรุ่มมากมายก่ายกอง แสดงอาการต่างๆเหมือนสัตว์นรก ใช่ไหม นั่นความทุกข์นะ ตัวเองยังไม่รู้ บางคนก็หลงทำ

    ทีนี้ ต่อไป อาตมาภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ (นี่ ในยามกลางแห่งราตรี ทรงเจริญฌานสมาบัติถึงจตุตถฌาน) บริสุทธิ์ผ่องแผ่วไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ รู้อุบัติรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย และอาตมาภาพนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังอุบัติ เลว ปราณีต มีผิวพรรณดีมี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์

    คือ เห็นกฏแห่งกรรม ญาณที่สอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพราะฉะนั้น คนไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธ พึงสำเหนียก รู้ตัวซะ ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว กรรม กรรมชั่วติดตามเหมือนเกวียน ล้อเกวียนกระทบเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉันใดฉันนั้น แต่คนทำดีเหมือนมีเงาติดตามตัวไปทุกหนทุกแห่ง ให้ผลเป็นความเจริญสันติสุขในชีวิต กรรมชั่วหนัก กรรมดีเบา หรือเรียกว่าบุญ ก็คือธรรมชาติที่ชำระจิตใจให้ผ่องใส เพราะคนจะทำดีก็ด้วยจิตใจที่มันผ่องใสนั่นแหละ ผ่องใสจากกิเลส ใช่ไหม

    นี่ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สองที่อาตมาภาพได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี (คือ ในยามกลางแห่งราตรี) อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่อาตมาภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่ (ก็คือว่า ดำเนินไปอย่างนั้น)

    ในยามปลายแห่งราตรี อาตมาภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ (นี่เจริญฌานสมาบัติขั้นที่ ๔ อีกครั้งหนึ่ง) บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอยู่อย่างนั้น ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ได้รู้ชัดความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ เหล่านี้อาสวสมุทัย เหล่านี้อาสวนิโรธ เหล่านี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

    เอาล่ะ ตรงนี้คือ เห็นแจ้งในอริยสัจตามความเป็นจริง โดยญาณสาม สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ดังได้กล่าวมาแล้ว และก็รู้เหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน กิเลสตกตะกอนนอนเนื่องในจิตสันดานอย่างไร ที่ไหน ตรงนี้นะ ผู้เจริญภาวนาถูกส่วนจะรู้จะเห็นได้ ตามรอยบาทพระพุทธองค์ จะรู้เห็นอย่างนี้ได้

    (บางคนชอบตำหนิสมถะ) ทรงใช้อยู่แล้ว คุณไปตำหนิก็เท่ากับคุณเอาน้ำร้อนสาดหน้าตัวเอง เป็นกรรมนะ

    เมื่ออาตมาภาพนั้นรู้เห็นอย่างนี้จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สาม ที่อาตมาได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมาภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่.

    นี่ พระพุทธเจ้าท่านยังเจริญภาวนาสมาธิ นี่อาการตรัสรู้เลย แล้วใครปฏิเสธสมาธิคุณเป็นอะไร คุณเป็นอะไร คุณจะละเว้น แล้วมาตำหนิสมาธิน่ะ ถ้าใครตำหนิสมาธิน่ะ คุณเป็นอะไร.

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มาจากเทศนาธรรมเรื่อง "ปฏิบัติให้เข้าถึง"
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531

    โรงงานทำวิชชา



    ผู้ที่รู้เห็นเป็นวิชชาธรรมกาย แล้ว หลวงพ่อจะให้ผลัดกันเข้าเวร ปฏิบัติกิจภาวนา ในสถานที่ที่หลวงพ่อ จัดไว้ให้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง แบ่งเป็น เวรเวรละ ๔ ชั่วโมง หลวงพ่อท่านจัดชั้น ล่างของกุฎีของท่าน ให้เป็นที่ทำวิชชาธรรมกาย ท่านเรียกว่าโรงงาน แบ่งเป็น ๒ ด้าน มีฝากั้น ด้านหนึ่งสำหรับพระสงฆ์ อีกด้านหนึ่งสำหรับแม่ชี แม้จะมีฝากั้น เมื่อหลวงพ่อบอกวิชชาก็จะได้ยิน ทั่วถึงกันทั้งด้านพระสงฆ์ และแม่ชี
    คำว่าโรงงานของหลวงพ่อ หมายถึง สถานที่ทำงานงานของหลวงพ่อ คือ สอนการปฏิบัติวิชชาธรรมกายขั้นสูง ต้องเป็นผู้ที่บรรลุวิชชาธรรมกายแล้ว หลวงพ่อจะคัดเลือกเข้าไปต่อวิชชา เข้าไปทำงานรับใช้องค์ต้นธาตุต้นธรรม

    สอนวิชชาธรรมกายในโรงงาน ไม่ใช่สถานที่สำหรับผู้ฝึกหัดนั่งภาวนาทั่วไป
    แต่บางคนไม่เคยได้ยินก็คิดไปว่าหลวงพ่อ สร้างโรงงานสานกระบุงบุ้งกี้ขาย และในสมัยก่อนแถวหน้าวัดปากน้ำมีอาเจ็กทำบุ้งกี๋ ขายเสียอีก คนที่ไม่รู้เลยนำเรื่องมาปะติดปะต่อกัน บางคนก็เพิ่มเติมต่อไปอีกว่า หลวงพ่อ มีโรงงานขายกระบุงบุ้งกี๋จึงมีเงินเลี้ยงพระทั้งวัดได้
    ผู้ที่เข้าเวรทำวิชชาในโรงงานนี้จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ประจำในวัด ผู้หญิงมีทั้งแม่ชีและ อุบาสิกา การที่ต้องผลัดกันเข้าเวรปฏิบัติธรรม ทั้ง ๆ ที่ได้วิชชาธรรมกายแล้ว ก็เพราะหลวงพ่อ ต้องการให้เกิดความชำนาญ มีความรู้ ความเข้าใจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น วิชชาของหลวงพ่อยังมี ให้ค้นคว้ากันไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบเสมือนนักกีฬาต้องฟิตซ้อมร่างกายอยู่เสมอ

    อีกประการหนึ่งก็เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือและแก้โรคให้แก่เพื่อนมนุษย์ตาม ใบอาการโรคที่มีผู้นำไปใส่ไว้ในตู้ หลวงพ่อให้เปิดตู้อาการโรควันละ ๔ ครั้ง แล้วแจกจ่าย ใบอาการโรคแก่ผู้ทำวิชชาในโรงงานให้ถือไว้ ช่วยกันแก้โรค บางคนถึงแก่อายุขัย ไม่สามารถ แก้ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ก็สามารถบรรเทาทุกขเวทนาได้...


    **หนังสือตรีธาเล่าเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    kUe3W1c3Nb_lA1vYmf04D-n5fqoah2WvG2-4i86VypZG&_nc_ohc=8kjltIUT6RkAX-Qodx8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    =AZU2mL7eMHbE3c0HqHZG5nycErO7GEVgdfJVex8y0Ke1Ab0fvHkzE7FYl5h4lNtcNT-8s0vHJpshQjblroMmMPh29saWtGBqAVb3RQCZ4XUuQGcSHf0vG1ee1igYFwkoXLu5R8g7-GrkDlpA8_YHuf2FY8ZmG4yrP4_hpu6hVkQDyrLxt_1CLtoIYe2-RqlgVX0&__tn__=EH-R']
    =AZU2mL7eMHbE3c0HqHZG5nycErO7GEVgdfJVex8y0Ke1Ab0fvHkzE7FYl5h4lNtcNT-8s0vHJpshQjblroMmMPh29saWtGBqAVb3RQCZ4XUuQGcSHf0vG1ee1igYFwkoXLu5R8g7-GrkDlpA8_YHuf2FY8ZmG4yrP4_hpu6hVkQDyrLxt_1CLtoIYe2-RqlgVX0&__tn__=EH-R']


    131131
    ความคิดเห็น 15 รายการ
    แชร์ 47 ครั้ง
    ถูกใจ


    แสดงความคิดเห็น

    แชร์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...