ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    ABC6C55D-C023-41ED-8142-1DFA0000BBEE.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่คะ เวลาเราสวดมนต์ อธิษฐานจิต แผ่เมตตา เราอธิษฐานบุญกุศลให้ญาติและสรรพสัตว์ทั้งหมด แล้วบุญเราจะเหลือมั้ยคะ

    หลวงปู่ : โยมมีญาติมากมั้ยจ๊ะที่โยมให้ไป เพราะโยมกลัวบุญหมดไม่ใช่เหรอจ๊ะ..

    ลูกศิษย์ : คือเราทำทุกวันบุญน่ะค่ะ แต่เราใช้หมดไปทุกวัน..นี่ บุญเราจะยังเหลืออยู่มั้ยคะ

    หลวงปู่ : บุญนั้นถ้าว่าให้ใครไปแล้ว เปรียบเหมือนเราเอาของนั้นไปฝากไว้ เมื่อเราไม่มีแล้ว..บุญนั้นจะกลับมาหาเราทั้งหมด จึงบอกว่าผู้ยิ่งให้..ยิ่งไม่หมด ยิ่งไม่จน ผู้ที่ยิ่งหวง ยิ่งกลัว..ยิ่งหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นโยมไม่ต้องกลัวบุญมันหมดหรอกจ้ะ โยมให้มากเท่าไหร่จิตโยมก็จะมีกำลังในการให้มากเท่านั้น ในกำลังที่โยมมีมากเท่าไหร่ การให้ไปก็ไม่มีวันหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เหมือนโยมทำทุกวันในคุณงามความดี มีความเพียร มีความศรัทธา เมื่อโยมทำทุกวัน เมื่อโยมเกิดมรรคเกิดผล ถามว่าโยมจะทำบ่อยมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ทำค่ะ) มีวันที่จะหมดกำลังหมดแรงที่จะทำมั้ยจ๊ะ เพราะมันให้ผลนี่จ๊ะ เราก็จึงเรียกว่า"มีกำลังใจ" ต่อเมื่อโยมหมดกำลังใจนั่นแหล่ะจ้ะ บุญมันก็จะหมด ต่อเมื่อโยมนั้นไม่มีความเชื่อในกุศลในบุญ

    นี้เมื่อโยมมีความปรารถนาจะแผ่เมตตาให้กับเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายให้เค้าพ้นทุกข์พ้นภัย นี่ก็เรียกบุญมันเกิดแล้ว แม้โยมเพียงตั้งอธิษฐานปรารถนาจะให้ใครพ้นทุกข์ขณะนั้น..บุญก็บังเกิด และเมื่อบุญบังเกิดขณะนั้น คำว่า"เกิด"นี้ เมื่อเกิดแล้ว เมื่อโยมให้ไปครั้งแรก บุญนี้จะเข้าไปสถิตในดวงจิตโยมโดยไม่รู้ตัว จะทำให้จิตโยมนั้นมีความเมตตาปราณี แล้วโยมจะทำอยู่บ่อยๆ ถามว่ามีวันหมดมั้ยจ๊ะ ถ้าหมดเมื่อไหร่คือโยมจะคิดเป็นอกุศล ไม่อยากจะให้ใคร นั่นแหล่ะคือบุญมันกำลังจะหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ฉันถึงบอกว่าถ้าญาติโยมมีทั่วจักรวาลน่ะ (ลูกศิษย์ : ให้หมดเลยใช่มั้ยคะ) เมื่อหมดแล้ว..ทั่วจักรวาลโยมให้ไปทั้งหมด ถามว่าบุญโยมมันอยู่มั้ยจ๊ะ โยมมีอยู่ทั่วจักรวาลนะ พอโยมหมดกำลังใจ โยมอธิษฐานบุญเมื่อไหร่ ต้องเป็นบุญที่โยมเคยทำแล้ว บุญนั้นเมื่อโยมอธิษฐานแล้วในขณะปัจจุบันจิต..เพราะเค้าวัดอยู่ที่ปัจจุบัน

    โยมทำมาบุญในอดีตมาแล้วเท่าไหร่ ไม่ได้จบกันนะจ๊ะ เพราะว่าบุญกรรมในอดีตที่โยมทำ มันยังลบล้างกันไม่ได้เลย นั้นเมื่อโยมมีสติแต่โยมขาดกำลังใจ อธิษฐานบุญกุศลที่โยมเคยทำไว้ในขณะปัจจุบันจิตนั้น บุญกุศลจะมาหล่อหลอมรวมเป็นหนึ่งอยู่ในจิตโยม ทีนี้โยมอธิษฐานจิตแผ่ออกไป จิตโยมจะปล่อยวางเบาสบาย เรียกว่าจิตเป็นอิสระ ไม่มีพันธนาการใดมาผูกมัดได้

    ลูกศิษย์ : แล้วเราจะรู้มั้ยคะ ว่ากรรมเรามีมากมีน้อยขนาดไหนที่ติดตามมา

    หลวงปู่ : ไม่ยากหรอกจ้ะ ดูปัจจุบันสิจ๊ะ ทำอะไรให้ดูปัจจุบันอย่างเดียว..นั่นคือ"ตัวสติ" คือตัวไม่หลง ถ้าว่าบุญเรามากไม่ยาก ดูในปัจจุบัน..การขัดสนหรืออุปสรรคมันก็มีน้อย ถ้าบุญเราบกพร่องอุปสรรคในชีวิตของเรานั้น ทำอะไรก็ขัดสนไปหมด..นั่นบุญเราเริ่มมีน้อย ต้องขวนขวายหาบุญ

    บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มุทิตา อ่อนน้อมถ่อมตน สิ่งใดก็ตามที่จิตเราคิดเป็นดี ไม่เป็นโทษแล้ว ไม่เป็นอกุศล..นั่นเรียกว่าบุญทั้งนั้น

    อย่าคิดว่าบุญเล็กน้อยทำไม่ได้ โยมให้อาหารสัตว์นี้ก็เป็นบุญกุศล ผลแห่งบุญมันก็ขึ้นเรืองรองเป็นแสงทิพย์ เป็นบุญกุศลขึ้นไป มันก็เข้ามาสู่ในจิตโยม มีความเมตตาต่อสรรพสัตว์ บุญอันนั้นแลสัตว์เขาก็ยังรู้ได้ว่าโยมมีความเมตตาต่อเขา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นบุญจึงว่าไม่มีวันหมด เรียกว่ากรรมชั่วที่โยมทำก็ไม่มีวันสูญไปไหน กรรมดีก็ไม่สูญ เพราะดังนั้นมนุษย์จึงเกิดมาจากกรรมดีและกรรมชั่ว ดังนั้นมนุษย์ที่มาอยู่รวมกันทั้งหลายทั้งปวงนี้จึงเกิดจากวิบากกรรมเส้นทางที่การกระทำขึ้นมานั้นแตกต่างกันไป ด้วยอำนาจแห่งศีลหรือการกระทำ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นสิ่งที่โยมได้มาเจริญภาวนา หลับหูหลับตานั่งสวดมนต์ภาวนานี้ เจริญบุญกุศลแผ่เมตตาจิตนี้ คิดดีต่อคนอื่นเขานั้น ล้วนแล้วแต่โยมนั้นเคยกระทำมาแล้ว ถ้าบุคคลที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม มีกรรมหนัก จะมาเจริญบุญกุศลแบบนี้ไม่ได้ เพราะถ้าไม่เคยทำมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ จิตใจผู้นั้นเค้าจะรุ่มร้อน นั่นเรียกว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ จะไม่มีทางที่จะมาเชื่อในพระรัตนตรัยเป็นอันขาด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    BC9B446B-41CD-4FE1-BAD1-CCBF04926BE4.jpeg

    "วันอัฏฐมีบูชา" วันสำคัญทางพุทธศาสนา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน ๖ ไทย)

    เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ๘ วัน มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา โดยมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน

    หลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น

    การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชากันเท่านั้น..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    CCF2C5A9-EEAC-4DAC-A039-8CF05704380D.jpeg

    บางคนมีอายุมากอยู่ไป..แต่ไม่รู้อยู่ไปทำไม นี่เรียกว่าอยู่ไปแบบทรมาน อยู่ไปแบบใช้กรรม แต่คนที่มีอายุมาก..มากเท่าไหร่ และรู้ว่ากายสังขารนี้มีประโยชน์อย่างไร บุคคลนั้นเค้าเรียกว่าอยู่เพื่อสร้างบารมี เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นการอยู่จึงอยู่ไม่เหมือนกัน นั่นก็หมายถึงว่าอยู่เพื่อรอวันตาย อย่างนี้เค้าเรียกว่าอยู่เพื่อรอวันตาย แล้วก็อยู่เพื่อว่าก่อนตายจะทำความดี จนกว่าจะหมดสิ้นลมหายใจ..อย่างนี้เรียกว่าบารมี

    แต่ถ้าอยู่เพื่อรอวันตาย..อันนี้เรียกว่าเกิดมา..มาชดใช้กรรมอย่างเดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อโยมชดใช้กรรมอย่างเดียว..ไม่มีทางหมดหรอกจ้ะ กรรมจะหมดได้ย่อมต้องสร้างกรรมดี การสร้างกรรมดีนี้เพื่อจะไปผดุงในกรรมที่เราได้กระทำไว้ในเวรอาฆาตพยาบาท เพื่อไม่ให้ลุกลามบานปลายไปอีก

    นั้นมนุษย์เราที่เรานั้นที่อยู่นี้ โยมไม่ต้องบอกว่าสร้างแต่ความดีอย่างเดียว..เป็นไปไม่ได้ แม้ในความคิดเราก็ยังมีคิดดีคิดชั่ว ใช่หรือไม่จ๊ะ มันจึงเป็นธรรมดา การคิดดีคิดชั่วนี้..ที่เราไม่สามารถไปบังคับมันได้ว่าอย่าคิดชั่วนะ การคิดชั่วหรือคิดดีนี้มันเหมือนไร้เจตนาที่เราจะควบคุมมันได้ จึงยังไม่เป็นบาปเป็นผลอะไร เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นยังไม่ต้องไปวิตกกังวลว่า การที่เราคิดชั่วคิดไม่ดีกับใครเหล่านี้ มันจะเป็นเวรเป็นกรรมกับเราหรือไม่ ถ้ากรรมอันใดไร้เจตนา..ที่เราควบคุมไม่ได้นั่นแล ที่ไม่สามารถควบคุมได้..อย่างนี้ยังไม่เป็นบาปเป็นกรรมอันใด เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าโยมควบคุมในความคิดในสิ่งที่โยมล่วงไปแล้วแล้วเท่าทันมันได้ โยมก็สามารถจะรู้ได้ว่ากรรมที่เราได้ละเมิดลงไปคิดลงไปนั้น ที่มันเป็นอกุศลนี้แล..ที่เรียกว่าจะบั่นทอนในคุณงามความดี ในความเชื่อความศรัทธา

    เมื่อใดที่โยมจะลงทุนทำคุณงามความดี แต่จิตอกุศลที่ว่ามันเป็นมารมันจะคอยขัดขวางในตัวของมันเองนี้แล ที่มันจะห้ามไม่ให้ทำนี้แล แต่ถ้าโยมทำความดีไว้มากๆมันมีกำลังมากกว่า ไอ้จิตที่เป็นอกุศลเป็นพญามารมันจะห้ามอยู่ได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้ค่ะ) นั่นแหล่ะจ้ะ เค้าถึงบอกว่าการสร้างคุณงามความดีหรือบุญบารมี ต้องทำให้มากๆเพราะอะไร เพราะเราไม่รู้ว่ากรรมเก่าที่เราทำไว้มีมากเพียงใดที่มันจะมาให้ผล

    ดังนั้นที่โยมต้องทำให้มันมีกำลังกุศลมากเป็นเพราะอะไร เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เรานั้นได้สร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ เช่นในการเจริญทาน ศีล ภาวนา เจริญพระกรรมฐานนี้เป็นกุศลยิ่งใหญ่ มนุษย์นี่มันจะมาเข้ากรรมฐานเจริญวิปัสสนาได้ในแต่ละครั้ง มันไม่ใช่ของเล็กน้อยและไม่ใช่ของง่าย แสดงว่าต้องมีกำลังใจที่ดี มันต้องมีความศรัทธามีความเชื่อพอสมควร ต้องเคยสะสมทำมาแล้วในอดีต..นั่นคือวาสนา ต้องมีครูบาอาจารย์อย่างนี้ โยมถึงจะเจริญขึ้นมาได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    บางคนเจริญขึ้นมาแล้วแต่ก็ไม่ตลอดรอดฝั่งเพราะอะไร ความเพียรเมื่อเราทำลงไปแล้ว เมื่อเราคลายจากความเพียรเมื่อไหร่ มันก็ไม่ต่อเนื่องกัน เมื่อความเพียรเรานั้นมันล่าถอยออกไป สิ่งที่มันจะเกิดและเข้ามาขัดขวางก็คืออกุศลหรือมาร ที่มันจะบั่นทอนการกระทำคุณงามความดีของเรา

    แต่ถ้าเราทำความเพียรอยู่บ่อยๆจนมันชิน จิตมันมีความกล้าแกร่งความตั้งมั่น เราก็จะทำได้อยู่บ่อยๆ เข้าใจมั้ยจ๊ะ หมายถึงว่าถ้าจะสวดมนต์ก็เป็นของเรื่องง่าย จะภาวนาจิตก็เป็นของง่าย บางคนจะสวดมนต์พอละจากความเพียร ถอยจากความเพียรไปแล้ว ความเพียรไม่ต่อเนื่องไปแล้ว..เป็นยังไง จะสวดมนต์ซักบทนึงยังไม่จบเลย

    เห็นมั้ยจ๊ะ เพราะอะไร มารมันเริ่มขัดขวาง จะขอนั่งเจริญภาวนาซักหน่อย ยังไม่ได้ชั่วยามเลย ยังไม่ได้อึดใจเดียวเลย..ไปแล้ว หลับแล้วอย่างนี้ เห็นมั้ยจ๊ะ ดังนั้นการจะทำความดีบางครั้งแม้จะต้องฝืนทำมันก็ต้องทำ เพราะถ้าโยมไม่ฝืน โยมก็ต้องเป็นเชลยเป็นทาสอยู่ร่ำไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แล้วโยมจะไม่สามารถฝ่าออกจากวงล้อมของอกุศลพญามารได้เลย แล้วเมื่อไหร่โยมจะเป็นอิสระเล่า แล้วเมื่อไหร่จะใช้หนี้เค้าหมด แล้วเมื่อไหร่จะเป็นไทอย่างแท้จริง การที่เราออกจากวงล้อม ฝ่าออกจากวงล้อมของพญามารคืออะไร นั่นหมายถึงว่าจิตปรารถนาอยากจะทำอะไรในกุศลในคุณงามความดี..ก็ทำได้ตลอดรอดฝั่ง ไม่ต้องรอให้ใครมาบอก ไม่ต้องรอให้ใครมาสั่ง และไม่ต้องรอใคร

    การทำความดีโยมไม่ต้องรอใคร บุคคลที่เจริญคุณงามความดีโดยมีสัจจะเป็นที่ตั้งเป็นที่หมายที่จะเจริญความเพียรในคุณงามความดี พอโยมจะทำอะไร..คนที่มีสัจจะมีบารมีก็เรียกว่าเทพเทวดาเจ้าเค้าจะรู้หน้าที่ เมื่อโยมมาเจริญมนต์ก็ดี เค้าก็จะมาภาวนาเจริญสาธุ มาโมทนามารักษา เพราะเทวดาเค้าก็กราบมนุษย์ผู้มีศีลมีธรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    BA09BBCC-9BF9-4C29-AE6C-3B4A1123C3D4.jpeg

    การพูดมากก็ดีในวาจา..นี่ก็เรียกเป็นการส่งจิตออกไปมาก ก็จะเสียกำลังมาก เมื่อเรามาประพฤติปฏิบัติธรรมก็ดี สิ่งที่เราพูดออกไปส่งออกไปนั้นแล..มันจะกลับมาหาเรา ให้เป็นตัวเวทนาในความคิดในความรู้สึก ว่าสิ่งที่เราพูดไปมันเป็นอย่างไร แล้วก็จะไปสนใจในกิริยาของคนอื่น ในคำพูดที่เค้าพูดกลับมาส่อเสียด กลายเป็นจิตที่เป็นโทสะเกิดขึ้น เรียกว่าโทสะจริต

    ดังนั้นเราต้องทำยังไง ให้รู้จักรู้รู้ รู้จักอธิษฐานคือแผ่เมตตา สำรวมกาย วาจา ใจ ตั้งใจเสียใหม่..ว่าวันนี้เรานั้นจะสำรวมอินทรีย์ สำรวมในศีล ในสมาธิ เพื่อให้เข้าถึงตัวปัญญา เข้าถึงจิต ให้เข้าถึงพรหมจรรย์แห่งความบริสุทธิ์ เรารักษาอย่างนี้คือรักษาใจให้เรานั้นไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง

    ทำอย่างนี้ได้ เมื่อมันจะโกรธ มันจะโลภ มันจะหลงขึ้นมา ก็ให้มีภาวนา ภาวนาเมื่อเราไปภาวนากำหนดรู้แล้ว อารมณ์เหล่านั้นมันจะค่อยๆจางหายและดับลงไป เมื่อเราเห็นอารมณ์นั้นอยู่บ่อยๆ เห็นอยู่บ่อยๆเราก็จะเท่าทัน..มีกำลังเท่าทัน เมื่อเราเท่าทันก็เหมือนเราอยู่ที่สูงย่อมเห็นที่ต่ำได้

    ไอ้ที่ต่ำนั้นคืออวิชชา เราก็จะรู้ว่าจิตที่เราต่ำตมอยู่มันมีความเสื่อมอย่างไร มันเป็นเพราะอะไร เราก็จะแก้ไขในการเพ่งโทษของตัวเราเอง ไม่ต้องไปเพ่งโทษใคร เราไม่สามารถไปเปลี่ยนใครได้ เพราะมนุษย์ก็มีกรรมเป็นของตัวเอง แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนได้คือตัวของเราเอง พิจารณาเพ่งโทษอย่างนี้อยู่บ่อยๆแล้ว..วาสนามันก็จะเปลี่ยน ดวงมันก็เปลี่ยน การประพฤติปฏิบัติมันก็จะก้าวหน้า

    อย่างที่ฉันบอก โยมฝึกจิตไป เมื่อเราอยู่ท่ามกลางความทุกข์..เราจะสามารถพ้นทุกข์ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ การมาปฏิบัตินี้เพื่อให้รู้ทุกข์เห็นทุกข์..แล้วละที่จะออกจากทุกข์ ก็คือกายมันเป็นทุกข์เราต้องละกายให้มาก สิ่งที่เราเป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้เพราะเราไปยึดกาย ยึดมาเนิ่นนานหลายภพหลายชาติ..เป็นเอนกอนันต์

    คำว่า"เอนก"นี้จึงว่านับชาติไม่ได้ มันนับไม่ได้ เมื่อมันนับไม่ได้แล้ว..ที่มันนับได้คืออะไร นี่ไงจ๊ะ..ในปัจจุบันของจิตเค้าเรียกว่านับใหม่ สิ่งที่ผ่านมาล่วงมาแล้วให้วางเฉยเสีย ให้ตัดออกไป สิ่งที่เราจะเริ่มใหม่ได้คือในอารมณ์ในปัจจุบันนี้ของจิต ดังนั้นแล้วก็ทำตรงนี้ให้มากๆ คือฟื้นฟูจิตขึ้นมาใหม่

    เมื่อฟื้นฟูจิตสติมันตั้งมั่นมากๆเข้านั่นแล เราจะระลึกได้ว่ากรรมชั่วทั้งหลายที่เราทำมาผ่านมา..มันเป็นเพราะอะไร เพราะเรานั้นยังไปข้องไปพอใจอยู่ เมื่อไปพอใจไปข้องอยู่อย่างนี้ ภพชาติมันก็ต้องเสวยอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นเราต้องมาเพียรละอารมณ์แห่งความพอใจแห่งความยินดี นั่นก็คือการละความเพลินความสุข

    เมื่อว่าขณะนี้เรามาเจริญความเพียรเราต้องละอะไร ละความสุขที่เราควรไปหลับไปนอน อย่างนี้เค้าเรียกเป็นการอุทิศกายสังขาร อธิษฐานจิตต่อพระรัตนตรัย เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณอันยิ่งใหญ่ต่อบิดามารดาพระอรหันต์ของเรา ถ้าทำได้อย่างนี้แลบุคคลผู้นั้นจะมีแต่ความเจริญ หาความเสื่อมไม่มี..

    นั้นฉันก็ขอโมทนาสาธุที่โยมได้อุทิศกายสังขารอุทิศตน เพื่อมาเจริญศีล สมาธิ ภาวนานี้ ให้เข้าถึงตัวปัญญา การให้เข้าถึงตัวปัญญาคือตัววิมุติ คำว่าตัววิมุติคือตัวที่หลุดพ้น ที่จิตนั้นเป็นอิสระจากบ่วงมารใดๆแล้ว แต่ถ้าเรายังไม่หลุดต้องทำอย่างไร เราก็ต้องรู้จักอารมณ์ของมาร

    พอเรามีโอกาส..เมื่อมารมันหลับมันหยุดแล้วมันสงบแล้ว ให้เรายกจิตขึ้นมาเพ่งโทษในกาย อารมณ์ที่จิตมันสงบนั้นเค้าเรียกว่ามารมันนอนหลับ โยมรู้มั้ยจ๊ะว่ามารมันหลับตอนไหน กิเลสมันหลับตอนไหน เมื่อเรามีความอยากจิตเรานั้นจะดิ้นรนดิ้นพล่าน กระเสือกกระสน

    เพราะเรานั้นกายสังขาร..เช่นความหิวเป็นโรคอย่างหนึ่ง ใช่มั้ยจ๊ะ พอเราบริโภครู้สึกอิ่มแล้วรู้สึกสบายมั้ยจ๊ะ สุขก็เกิดขึ้น คนหิวหลับลงได้ยาก คนมีความคิดมีความทุกข์ก็หลับลงได้ยาก เมื่อมันรู้สึกอิ่มแล้ว มันมีความสุขแล้ว มันก็เสวยสุขคือการหลับนอนพักผ่อนได้..

    ดังนั้นเมื่อตอนนี้เราไม่หลับไม่นอน แต่เราทำยังไงให้เหมือนได้พักได้ผ่อน ก็คือการภาวนาจิต ให้จิตมันสงบ คือการทรงฌาน การทรงฌานก็คือการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เป็นการยืดอายุ..อายุขัย การเพิ่มพูนความแข็งแรงของกายสังขารที่มันเสื่อม เป็นเพราะยังไง..

    เพราะการที่เรามาเจริญภาวนาจิตเจริญสมาธินี้ โยมใช้กำลังมากมั้ยจ๊ะ..แทบไม่ได้ใช้กำลังอะไรเลย นั่งเฉยๆนี่ใช้กำลังมากมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่มากครับ) คนที่ใช้ความคิดสิจ๊ะ..ใช้กำลังมาก คนที่แบกหามใช้กำลังมาก คนที่มีความโกรธอยู่ใช้กำลังมาก คนที่มีจิตริษยาอยู่ใช้กำลังมาก คนที่ยังหลงอยู่ใช้กำลังมาก

    คนที่ไม่ใช้กำลังเป็นอย่างไร หรือใช้กำลังน้อย คนที่หยุดคิดนี้เรียกว่าแทบไม่ใช้อะไรเลย ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะคนที่คิดอยู่เท่ากับว่าแบกโลกอยู่ เพราะนี่เรียกตัวยึด จึงทำให้กายเสื่อม จิตเสื่อม คุณธรรมเสื่อม ศีลเสื่อม ฌานเสื่อม ญาณเสื่อม นั้นการที่เรามาภาวนาจิตนี้จึงเรียกว่าใช้กำลังน้อย..แต่ต้องมีศรัทธาให้มาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าศรัทธาโยมน้อยมันก็เข้าถึงได้ยากในความเพียร นั้นการที่โยมนั้นเอาสติเอาความเพียรมาประคองธาตุขันธ์ของกายนี้ เพื่อจะให้ข้ามขันธมาร ก็คือตัวมารภายในคือขันธมาร เพราะว่ากายนี้มันคอยจะหลับจะนอนอย่างเดียว มันติดอยู่ในสุข พอถึงเวลามันก็อยากจะหลับอยากจะอะไร แต่ถ้ามันหลับก็ให้มันหลับไป..แต่จิตต้องมีภาวนา นี่เค้าเรียกว่าจิตและกายแยกกันแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แม้จิตนั้นแม้กายนั้นมันจะผ่อน ก็ให้ผ่อนกายสังขารลงไป แต่จิตกำหนดรู้ในอานาปานสติและก็กำหนดภาวนาจิต..ว่าพุทโธ พุท..เข้า โธ..ออก พุทธัง สรณัง คัจฉามิ อยู่ที่ระหว่างกลางหน้าผาก กับเหนือสะดือศูนย์กลางกาย และที่ลมนั้นกระทบเข้ากระทบออกที่ปลายจมูก นี่เค้าเรียกว่าจิตและกายเป็นคนละส่วนกัน

    เมื่อจิตเราภาวนาไปมากๆแล้ว ภาวนาไปมากๆเค้าเรียกว่าอินทรีย์ คือการสำรวมกาย วาจา ใจมันตั้งมั่น ก็เกิดศีล เมื่อศีลมันมารวมตัวกัน มันก็ประสานกายขึ้นมาใหม่ เพราะผู้ใดมีศีลผู้นั้นจะนั่งอย่างสง่าผ่าเผย ผู้ใดไม่มีศีลตัวจะเริ่มอ่อน ศีลนั้นจึงสำคัญนัก ศีลนั้นจะประคับประคองโรค ประคับประคองธาตุขันธ์ให้เรา แม้เราจะมีวัยที่มากก็ดี แต่ศีลนั้นจะช่วยให้เรานั้นมีกำลังเหมือนวัยหนุ่มสาวได้ ไอ้คนที่มีแต่ความอ่อนล้าอ่อนแรง..เป็นเพราะพวกนี้ขาดศรัทธา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    15319597-E4D5-4E00-A479-C514D58C322A.jpeg

    สิ่งที่ควรรู้ก็คืออะไร..รู้จิตรู้ใจตนเอง รู้ที่จะแก้ไขในบาปอกุศลและกรรมชั่วของตัวเอง..นี่ควรรู้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ควรทำคือทำความเพียรให้มันเกิดขึ้น ทำกุศลให้บังเกิด..อย่างนี้ควรทำ สิ่งที่ควรละ..ละความชั่วในดวงจิตดวงใจ คืออกุศลมูล..นี่ควรละ สิ่งที่ควรรักษา..บุญอันใดที่ทำมาแล้ว บารมีอะไรที่ทำมาแล้วก็ควรรักษามันไว้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    การละสักกายทิฏฐิ..คือละอัตตาตัวตน คือเพ่งโทษในกาย เห็นกายไม่สวยไม่งาม..คือเพ่งโทษ ไม่ว่ากายนี้..ไม่มีอะไรดีเลย แม้กายเราเป็นยังไงกายคนอื่นก็เป็นอย่างนั้น นี่คือการละสักกายทิฏฐิ การหลงตัวหลงตน หลงรูปพอใจนั่นเอง คือละความพอใจ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพ่งโทษมันลงไป คือการเจริญกรรมฐานอสุภะนั่นเอง คือเรียกว่าให้จิตมันเกิดปลงเข้าถึงความสังเวชของกายที่เราอยู่นี้

    วันดีคืนดีมันก็เจ็บมันก็ป่วย เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่มันเป็นอย่างนั้น เรียกว่าร่างกายสังขารนี้มันมีแต่วันเสื่อมไปๆ บ่ายหน้าไปหาความตาย ไปหาหุบเหวอย่างนี้ เราต้องประพฤติปฏิบัติเจริญสติแข่งกับมัน คือแข่งกับความตาย เอาความตายมาเป็นอารมณ์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ จะนอนก็ดี ระลึกก็ดี ฉันบอกแล้วโยมจะทำอะไรก็ตาม เมื่อโยมเล่นของเล่น (โทรศัพท์) ของโยมเพลินๆก็ให้ภาวนาพุทโธไปด้วย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะเราห้ามมันไม่ได้ ก็เราเล่นมันจนเคยของเล่นน่ะ แต่เรามีสติอยู่กับมันได้ พอเราพุทโธมากๆเข้าเดี๋ยวจะวางเอง พอจิตมันสงบแล้ว จิตมันเห็นมันจะรู้จักเวลาในการเล่น..แต่ไม่ได้ห้าม เข้าใจมั้ยจ๊ะ กายก็เหมือนกัน เมื่อเรามีความกำหนัดในกาย มีความเพลิดเพลินในกาย มีความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งในความสุข นั่นเค้าเรียกว่าเกิดกามคุณเกิดขึ้น ก็ให้เราภาวนาพุทโธเข้าไป

    แต่ยังไม่ได้ไปพิจารณากายในตอนนั้น เพราะเรียกว่าน้ำมันเชี่ยวอยู่โยมเอาเรือไปขวางไม่ได้ โดยธรรมชาติของจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ ภาวนาพุทโธกำกับไปเพื่อให้สติมันตั้งมั่น ตั้งมั่น ตั้งมั่น..เมื่อมันตั้งมั่นมากๆเข้าแล้ว จิตนั้นมันจะสอนจิตในตัวมันเอง กิเลสนั้นมันก็สามารถทำให้เป็นประโยชน์กับเราได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นการละสักกายทิฏฐิ คำว่าสักกายทิฏฐิก็คือกาย การเพ่งโทษในกาย การเห็นกายในกาย การพิจารณากายในกาย การละอารมณ์ในกาย คือการละอารมณ์ในขันธ์ ๕ นั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อเราละรูปในกายในสังขารบ่อยๆ เวทนามันก็จะมีน้อย อารมณ์มันก็มีน้อย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่ออารมณ์มันมีน้อยแล้ว ความผูกพันความห่วงใยนั้นมันก็สลัดกันได้ง่าย ไม่พะวงหน้าพะวงหลัง เกิดมาคนเดียวก็ตายคนเดียว เกิดมาผู้เดียวก็ต้องไปผู้เดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่าไปหวังไปช่วยเหลือใคร..ไม่ได้เลย ทุกคนต้องช่วยตัวเองทั้งนั้น ถ้าเค้าไม่เอาดีมันไปด้วยกันไม่ได้ แต่ถ้าเค้าประพฤติปฏิบัติในทางแห่งมรรค..นี่เรียกว่าไปทางเดียวกัน

    ถ้าที่เราจะทำได้คือการแผ่เมตตากุศลให้เค้า ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำนี้ จงเป็นบุญเป็นกุศล เป็นพลังให้กับคนที่ข้าพเจ้าห่วงใยอยู่ ให้เห็นไปในทางเดียวกัน..ในทางอันประเสริฐนี้ ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าอธิษฐานจิตนี้จงเป็นผลเป็นพละเป็นกำลัง ให้บังเกิดมีกับบุคคลผู้นั้นเถิด..อะไรก็อธิษฐานไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นี่ถือว่าเรานั้นได้ส่งกระแสจิตไปแล้ว อธิษฐานไปแล้ว ที่เหลือนั้นเป็นวิบากกรรม เป็นบุญเป็นวาสนาของเค้าเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ที่เหลือเราก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาของเรา สิ่งที่เราสงเคราะห์ได้ก็ได้ทำไปแล้ว คนที่จะช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้นั้น..ไม่ใช่ใครไปช่วย พระพุทธเจ้าก็ช่วยใครไม่ได้ แต่ท่านเป็นผู้ชี้บอกทางได้ ใครจะเห็นทางนี้เป็นอย่างไร อยู่ที่บุญวาสนานั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    คำอธิษฐานที่เราอธิษฐานไป ถ้าบุญกุศลของเราที่เราทำปฏิบัติถึงแล้วในศรัทธาในกระแสพระรัตนตรัย สิ่งที่เราอธิษฐานไปมันจะบังเกิดมีกับบุคคลผู้นั้นไม่ช้าไม่นาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    54918E8C-E60F-40A6-AC0C-ED855554A869.jpeg

    วันไหนถ้าจิตเราดี จำไว้นะจ๊ะ..ถ้าจิตเราสงบแต่ปัญญาไม่เกิด ให้ภาวนาเข้าไปอีก เพราะถ้าในความสงบนั้นโยมไปเพ่งดูอยู่ เดี๋ยวมันจะเกิดความเคลิบเคลิ้ม เพลินอยู่ในสุขอยู่ในสมาธิ เค้าเรียกว่าติดในสมาธิ ติดอยู่ในฌาน เมื่อติดอยู่ในฌานแล้วมันไปไหนไม่ได้ มันจะทำให้โยมนั้นเสียเวลาเสียกำลังใจ มีแต่ความเพียรแต่ไม่มีสติ..ความเพียรนั้นก็ไร้ความหมาย มันจะเป็นการท้อถอย เบื่อหน่าย

    เบื่อหน่ายในที่นี้ไม่ได้เบื่อหน่ายในทุกข์ แต่มันเบื่อหน่ายในการทำความดีเพราะมันไม่เจริญเติบโตไม่เห็นอะไร เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วต้องมีสติ เมื่อมันสงบ..ภาวนาเข้าไปอีก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพื่อรักษาความสงบนั้นให้มันตั้งมั่น เพื่อให้เข้าถึงสมาธิ ให้จิตและลมหายใจนั้นเป็นหนึ่ง

    เมื่อเป็นหนึ่ง ลมหายใจนั้นก็คือกาย จิตและกายเป็นหนึ่งเมื่อไหร่นั้นแล..ร้อนก็ดี หนาวก็ดี เย็นก็ดีทำอะไรไม่ได้ มันจะดับในเวทนานั้น แล้วพิจารณาด้วยเห็นตามความเป็นจริง เมื่อถอนออกมาจากสมาธิจากญาณแล้ว ธรรมที่เราเห็นในภายในยังอยู่ในภายนอกโดยที่ไม่ต้องหลับตา คือมันอยู่ในกระแสจิต ได้พิจารณาธรรมได้ตลอดเวลา ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั่นเรียกว่าผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมได้บังเกิด จักษุญาณก็บังเกิดโดยที่ไม่ต้องหลับตา เห็นอะไรก็เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น ไม่ต้องไปนิมิตไปสมมุติเอาอย่างนั้น แต่ถ้าเรายังไม่เห็นให้เราสมมุตินิมิตเข้าไปก่อน ซ้อนเข้าไปในกาย ซ้อนนิมิตในความตายในขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ซักวันนึงเราหายใจเข้าไม่หายใจออกก็ต้องตาย ระลึกถึงศพเรา อย่างนี้เค้าเรียกว่านิมิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ในตอนที่เรามีกำลังยังไม่แก่ ก็ให้ซ้อนเข้าไปเห็นว่ามีความแก่อยู่ซ่อนอยู่ ตอนนี้เรายังดีอยู่ก็มีความเจ็บซ่อนอยู่ มันเป็นการปลุกให้จิตเรานั้นเกิดความไม่ประมาท นั่นคือตัวสติ ตัวสติจำไว้คือตัวระลึกได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่สมาธิคือใจที่ตั้งมั่นในสิ่งที่ทำอยู่ คือจิตที่จดจ่อ จะว่าเป็นการเจริญฌานก็ได้

    อันว่าตัวปัญญาไม่ได้เป็นผู้รอบรู้ในสิ่งที่คนเค้าไม่รู้ แต่ตัวปัญญาคือการรอบรู้เท่าทันในอารมณ์และกองสังขารแห่งทุกข์แห่งภัยในวัฏฏะ แม้เพียงเห็นแค่ขณะจิตเดียวก็มีอานิสงส์มหาศาล ที่จะเป็นพื้นฐานบรรทัดฐานต่อไปให้โยมนั้นเข้าถึงการพ้นทุกข์ได้ คือความเบื่อหน่ายในสังสารวัฏแห่งการเกิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ขึ้นชื่อว่าด้วยปัญญาแล้ว มันจะรู้มันจะเข้าใจ ฉันถึงบอกว่าผู้ใดมีธรรมแล้วเกิดขึ้นแล้ว ได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้ว ธรรมนั้นจะไม่มีวันเสื่อมเลย เหมือนที่ฉันบอกถ้าใครได้กรรมฐาน ไม่ว่าโยมจะอยู่สภาวะการณ์ใด จะสุขหรือทุกข์ก็ดี ผู้นั้นจะได้เจริญปัญญาเจริญสติได้อยู่ตลอดเวลาไม่มากก็น้อย คือธรรมนั้นจะไม่มีวันเสื่อม เพราะว่าได้ธรรมแล้ว หรือเรียกว่าได้กระแสพระนิพพานชั้นต้นแล้ว จะมีแต่ว่าการพัฒนาธรรมหรือจิตนั้นให้สูงๆยิ่งขึ้นไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นอันว่าปัญญาญาณมันคืออะไร ปัญญาญาณคือการอบรมบ่มจิตให้รอบรู้อยู่ในกองสังขาร รอบรู้ในกองทุกข์ หรือภัยในวัฏฏะแห่งการเกิด ว่าเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริงมันเกิดอยู่ที่ใด แล้วญาณนั้นก็คือการหยั่งรู้แห่งชาติ การกำเนิด การตาย การจบสิ้นในการเกิดการตาย ว่าเราตายแล้วจะไปไหน

    ถ้าความตายที่เราตายไปแล้ว..เรายังไม่หมดในความพอใจที่เรานั้นอยากเป็นนั่นเป็นนี่อยู่ นั้นความต้องการเกิดมันก็มีอยู่ร่ำไป พระพุทธองค์ท่านค้นหาที่ว่าทางที่จะไม่เกิดไม่ตายมีอยู่หรือไม่ นี่เค้าเรียกว่าการถอนคำสาป ก็มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อมีชีวิตมีสังขารย่อมต้องตายทั้งหมด เมื่อตายแล้วก็ต้องเกิดทั้งหมดเช่นเดียวกัน

    เมื่อการเกิดการตายวนเวียนอยู่อย่างนี้เป็นวัฏสงสาร ไม่สามารถออกจากวงจรนี้หรือคำสาปนี้ไปได้ จนว่ามีพระสัพพัญญูที่อุบัติเกิดขึ้นมา ได้สงสัยในธรรมข้อนี้หรือเหตุข้อนี้ ว่าเมื่อมีการเกิดแล้ว มีการตายแล้ว นั้นการไม่เกิดไม่ตายมีหรือไม่ ต้องทำอย่างไร เห็นมั้ยจ๊ะ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ต้องทำอย่างไร ท่านก็แสวงหาคือทางออกแห่งทุกข์ทั้งปวง

    ดังนั้นความกลัวตายจักไม่มี..ถ้าเราเข้าถึงในบุญในพระรัตนตรัย ในหมู่บุญในหมู่กุศลแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าเรียกว่าข้ามความตาย พ้นจากความตาย เมื่อโยมพ้นจากความตายโยมก็จะพ้นจากการเกิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะนั้นถ้าโยมไม่อยากตายก็อย่าไปเกิด ตอนนี้เมื่อเกิดมาแล้วก็ฝึกตายให้มันบ่อยๆ ละอารมณ์ที่มันยังไม่ตายที่มันยังไม่ดับ ทำให้มันดับเสีย ทำได้มากได้น้อยทำไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    6C9153BB-D52B-48FA-B0F6-CEBD2BB1BB99.jpeg
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    7F97613F-91ED-4B40-8129-8E6207E36AE2.jpeg

    คำว่าจิตว่างคือจิตที่มีความสุข บางคนคิดอยู่แต่มีความสุข แล้วบอกว่าจิตว่างได้อย่างไร..จิตมันว่าง คนที่จิตไม่ว่างจะหาความสุขไม่ได้เลยแม้ชั่วขณะจิตเดียว เช่นคนระลึกถึงบุญอยู่..ก็มีความสุข นั่นเค้าเรียกว่าจิตเค้าว่าง..ว่างจากอัตตาตัวตน ว่างจากการยึดมั่นถือมั่น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่คราใดเมื่อโยมทำบุญไปแล้วจิตโยมเป็นทุกข์ ว่าโยมทำบุญไปแล้ว บุญที่โยมทำนั้นไม่ได้ดั่งใจ ไม่ได้อย่างที่เราตั้งใจที่เราจะทำไป แม้โยมทำบุญแบบนั้นจิตโยมก็ไม่เป็นสุขได้ เหตุเพราะยังไปยึดในบุญกุศล เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ให้ทานไปแล้วก็ยังหวังผลว่าให้เค้าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ตามที่เราปรารถนา นั้นทานนั้นยังไม่เป็นธรรมทานโดยแท้จริง ยังเป็นมลทินอยู่ เพราะโยมนั้นยังไปยึดอยู่ บุญนั้นสำเร็จยังไม่ได้ เมื่อยังไม่สำเร็จแสดงว่าการงานที่โยมทำยังคั่งค้างอยู่ ยังไม่สมบูรณ์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นบุญจะสมบูรณ์และให้ผลได้ต่อเมื่อโยมนั้นไม่หวังผล บุญถึงจะให้ผลเต็มร้อย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นการที่โยมจะทำอะไรก็ตาม โยมก็ต้องตั้งจิตตั้งมั่นให้มันดี อย่ายึดว่านี่ของกู ว่านี่ของฉัน แต่จงระลึกว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นเป็นการตอบแทนแผ่นดิน จรรโลงศาสนา ตอบแทนบิดามารดาบรรพบุรุษที่เค้าให้แผ่นดินเราอยู่ ที่เค้าให้เราเกิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมทำได้แบบนี้ เรียกว่าเป็นคนแบบนี้แล้ว จะไปไหนก็ตาม จะมีเภทภัยอะไรก็ตาม เค้าเรียกว่าตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    อ้าว..ก็โยมทำไปเพื่ออะไร โยมทำไม่หวังผล นี่เค้าเรียกเป็นธรรมทานอันยิ่งใหญ่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เทพเทวดาเค้ารู้เค้าก็แซ่ซ้อง อนุโมทนาสะเทือนสะท้านแผ่นดินทั่วทั้งจักรวาลพิภพ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นอย่าคิดว่าโยมจะสร้างวัดวาอารามแล้วโยมยังยึดนั้นว่ามีบุญมหาศาล..ไม่จริง เพราะโยมเอาอะไรไปไม่ได้เลย เป็นเพียงแค่อาศัยเท่านั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่สิ่งที่โยมจะเอาไปได้จริงคือบุญกุศลกับอกุศล กรรมดีและกรรมชั่ว..นี่คือของจริงที่โยมจะเอาไปได้ ใช่มั้ยจ๊ะ ถ้าคนมีปัญญาเค้าจะรีบแสวงหาทรัพย์นั้น ที่ฉันกล่าวไปว่าเป็นของจริง..เป็นอย่างไร ทาน ศีล ภาวนานี้เมื่อโยมทำแล้วมันจะเป็นของจริงได้อย่างไร ก็ต่อเมื่อโยมเข้าถึงความสงบ เข้าถึงในพระรัตนตรัย ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คือเชื่อในบุญกุศล เชื่อในพระธรรม เชื่อในคำสอน โยมถึงจะกล้าลงมือประพฤติปฏิบัติ

    บางคนกว่าจะเข้าถึงในพระธรรม ต้องยอมเสียทรัพย์แม้กระทั่งจนไม่มีจะให้เสียแล้ว มันต้องแลกกันมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมกลัวที่จะหมด..โยมไม่มีทางที่จะเป็นผู้มั่งมีได้เลย คือไม่มีทางที่จะมีความสุขได้เลย คนไม่มีอะไรต่างหากที่เป็นผู้มีความสุข เพราะไม่ต้องระวังกังวลอะไร แต่คนที่ไม่เคยมีจะรู้ไม่ได้ ใช่มั้ยจ๊ะ

    เฉกเช่นเดียวกับการปฏิบัติ ถ้าโยมไม่ลงมือทำนั้นโยมจะไม่รู้เลย เพราะเมื่อโยมไม่ได้สัมผัสประสบขึ้นมาเอง ความลำบากความทุกข์ก็จริงถ้าโยมไม่เคยกระทำมา คนไม่เคยมีมันอยากมีมั้ยจ๊ะ มันก็อยากมีเป็นธรรมดา ทีนี้คนมันมีมันก็อยากจนอีกทีนี้ เห็นมั้ยจ๊ะ

    พอมีมากก็กลัว..กลัวคนจะเอาของตัวเองไป โยมลองมีมากๆสิจ๊ะโยมจะกลัว นี้เป็นเรื่องจริงของมนุษย์ แต่คนที่ไม่มีก็อยากมีเป็นของธรรมดา แต่ถ้าโยมมีแล้วโยมเป็นผู้ให้ อยากให้คนอื่นเค้ามีนั่นแล ของที่โยมมีจะไม่มีวันหมดเลย เค้าเรียกว่าผู้บริบูรณ์ เรียกว่าผู้ไม่พร่องผู้ไม่ขาด

    ศีลก็เหมือนกัน เมื่อเราเข้าถึงความสงบ ก็ควรเจริญเมตตาจิตให้กับสรรพสัตว์ที่เค้ายังเข้าไม่ถึงในธรรม ที่เค้ายังมืดบอดอยู่ คือการให้อภัยบุคคลทั้งหลายทั้งปวง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าเค้ามีศีลมีธรรมแล้วเค้าจะไม่เป็นผู้มีอกุศล ใช่มั้ยจ๊ะ ก่อนที่เราจะเข้าถึงความดี เราก็เคยไม่ดีมาก่อน ใช่มั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วก็ควรจะให้อภัย เมตตาต่อกัน

    นั้นเมื่อโยมจะทำอะไรขอให้ทำด้วยใจ..อย่าได้หวังผล ให้ทำเป็นธรรมทาน เมื่อโยมไม่หวังผลมันก็เป็นสังฆทาน บุญมันจะยิ่งใหญ่มหาศาล เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    2A325B1A-2FD2-4AEF-86E0-6CFF61F6908C.jpeg

    กรรมฐานก็ดีเมื่อเราปฏิบัติลงมือทำมากๆแล้ว เราก็จะเกิดปัญญาพิจารณาธรรรม แม้ธรรมข้อเดียวก็ได้ปัญญาแตกต่างกันไป นั่นคือความละเอียดความสงบจากจิต จิตที่สงบตั้งมั่นแม้เราจะพิจารณาธรรม..ความละเอียดของปัญญามันก็ต่างกัน ซึ่งมันก็ต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติให้มากๆ การประพฤติปฏิบัติมากๆมันเป็นยังไง (ลูกศิษย์ : ละให้มากเจ้าค่ะ) ละอะไรได้บ้างมากๆ (ลูกศิษย์ : ละอารมณ์ ละโลภ โกรธ หลง)

    เรามาเจริญกรรมฐานกัน อันดับแรกเราก็ตั้งจิตตั้งใจขอขมากรรมต่อพระรัตนตรัยเสียก่อน แล้วตั้งจิตอธิษฐานอุทิศกาย วาจา ใจที่เราได้ล่วงเกินคุณพระรัตนตรัย ในสิ่งการใดก็ตามที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการใดก็ดี ให้ตั้งจิตอธิษฐานขอขมากรรม สิ่งใดที่เราไม่รู้จะว่าผิดเลยก็ไม่ได้ จะว่าไม่ผิดเลยก็ไม่ได้..

    สิ่งที่เราจะว่าผิดหรือถูกได้นั้นคือเราต้องถอนมานะทิฏฐิ การถือตัวถือตนคือการถือดี วางจิตให้สงบแล้วก็ละอารมณ์เหล่านั้นที่ขุ่นเคืองในจิต อารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านมาแล้วมันก็เป็นอดีตไปแล้ว ให้เราตั้งใจเสียใหม่ ดังเช่นว่าคืนนี้เราตั้งใจมาเจริญพระกรรมฐานมาเจริญบุญเจริญกุศล เมื่อสิ่งการใดก็ดีที่ล่วงมาแล้ว..ไม่ว่าจะเป็นกรรมชั่วทางกาย ทางวาจา ใจก็ดี ที่นึกคิดล่วงเกินผู้ใด หรือแม้แต่ล่วงเกินในธรรมในครูบาอาจารย์ ในพระรัตนตรัยก็ดี

    ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้มาเจริญทาน ศีล ภาวนานี้ จงเป็นตบะเดชาให้ตัวของข้าพเจ้านั้นหลุดพ้นจากเวรพยาบาทเวรภัยทั้งหลาย ขอน้อมส่งบุญกุศลนี้จงสำเร็จประโยชน์ใหญ่ให้กับเวไนยสัตว์ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลาย แม้จะอยู่ในภพภูมิใดก็ตาม ขอให้เขาเหล่านั้นจงมาโมทนาในผลบุญของเราในขณะนี้

    เพื่อช่วยเปิดทางเปิดแสงสว่าง เปิดจิตเปิดญาณให้เกิดให้มีแก่ข้าพเจ้า จะได้น้อมนำเจริญในความเพียร เจริญปัญญาให้เกิดขึ้น ให้เห็นตามความเป็นจริงแห่งธรรม ให้ปรากฏชัดคือตัวสติ ตัวระลึกรู้ได้ว่าในขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ ก็กำหนดรู้ที่จิตของเรา สภาวะจิตเราเป็นอย่างไร เมื่อสภาวะจิตเรารู้ก็เรียกว่าเรารู้สภาวะธรรม

    ก็เอาธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนี้เพ่งดูในอารมณ์ในอาการนั้น จนธรรมก็ดีที่เห็นลึกซึ้งในอารมณ์นั้นของจิต เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ แล้วดับไปของอารมณ์นั้น ก็ทำจิตให้มันว่าง วางอุเบกขาคือการวางเฉย คือไม่สนใจใดๆแล้วของอารมณ์ ไม่สนใจในกาย แต่แค่ทำความรู้สึกในกาย ทำความรู้สึกในลม เมื่อเรารู้ลมรู้กายแล้ว..เราก็วางลมไว้ในกาย แล้วก็ทรงจิตอยู่อย่างนั้น

    รู้ความกระเพื่อมของจิตของอารมณ์ ที่เหนือสะดือ ศูนย์กลางกาย ใต้ท้องน้อยของเรา รู้ลมเข้าลมออกพองยุบอย่างนี้ ดูความสงบนิ่งของจิต ไอ้ความนิ่งนี้ที่มันสงบนี้ที่เราต้องทำให้มันสงบ..ก็เพื่อให้เราเห็นตัวที่มันยังไม่นิ่งมันเป็นอย่างไร ตัวจิตที่เป็นอกุศลมูล อารมณ์แห่งอดีต อารมณ์แห่งอนาคตที่จิตมันฟุ้งออกไป

    ความหดหู่เศร้าหมองของจิต ความเคลิบเคลิ้มของจิต ความลังเลสงสัยใดๆ ก็ให้กำหนดรู้ในอารมณ์นั้น แล้วพิจารณาละมันลงไป นี่เรียกว่าวิตกวิจาร เมื่อเราวิตกวิจารละอารมณ์ได้เสียแล้ว ไม่นานปิติสุขมันก็บังเกิด เมื่ออาการปิติสุขมันบังเกิดนี้ มันจะทำให้จิตเราค่อยๆตื่นขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อย

    นั้นการจะข้ามสภาวะนิวรณ์ที่มันเป็นข้าศึกแห่งสมาธิ บางครั้งมันก็ต้องต่อสู้กันยาวนาน เหตุเพราะการทรงศีลทรงสมาธิเราไม่สามารถทำได้อยู่ตลอดเวลา เมื่อเราจะกระทำจิตให้มันสงบมันก็เหมือนมาบังคับจิตนั้นแล ดังนั้นโดยธรรมชาติของจิตนั้นเราหาควรที่จะไปบังคับบีฑามันไม่ เราต้องมีอุบายแห่งธรรม หล่อหลอกให้จิตเรานั้นมีความเพลิดเพลินเสียก่อน

    ความเพลิดเพลินจิตเป็นอย่างไร ก็คือมีอิทธิบาท ๔ คือมีความพอใจฉันทะในความเพียรในการที่เราจะประพฤติปฏิบัติในธรรม นั่นก็คือการอธิษฐานจิต ที่เราจะประพฤติปฏิบัติธรรมให้เกิดมรรคเกิดผล เพื่อให้รู้ถึงสภาวธรรมของเรา ในบุญบารมีของเราเอง

    นั้นถ้าจิตก็ดีกายก็ดีมันอ่อนล้า ก็ขอให้เรานั้นกำหนดลมรู้อาการของอานาปานสติ..นี่จึงว่าเป็นกรรมฐานบทใหญ่ กรรมฐานคือการงานของจิต เป็นที่ตั้งมั่นของจิต ดังนั้นถ้าเราไม่กำหนดรู้..จิตมันก็จะเคลิบเคลิ้มอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตมันเคลิบเคลิ้มเพลินอยู่ในสุข อยู่ในกามสุข พวกตัวนิวรณ์นี้มันก็จะมีกำลังมาก

    เมื่อเราจะฝืนทำความเพียรมันก็เป็นการทรมานสังขาร เหตุอย่างนี้เรียกว่าทำให้สังขารมันเสื่อม ดังนั้นต้องทำอย่างไร ให้กำหนดรู้ลมเข้าลมออก ลมเข้าลมออกก็รู้ ทีนี้กำหนดลมเข้าให้สุด แล้ววางลมกักลมไว้ที่ลิ้นปี่ เราจะเอากำลังลมนี้ที่อยู่ภายใน เรียกว่าเดินกระแสลมปราณของจิต รู้สึกว่าตั้งมั่นมากจิตนั้น..ให้เพ่งไปที่ศูนย์กลางกายก็ดี ไปที่กลางกระหม่อม ทั่วสรรพางค์กายก็ดี เพื่อให้จิตมันเกิดสติสัมปชัญญะ จะรู้สึกว่าขนลุกขนพองขนชันเกิดขึ้นนั่นแล เรียกว่าปลุกธาตุให้มันตื่น ก็เรียกว่าปิติก็ดีมันก็บังเกิด

    แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจ ทำความรู้สึกให้ทั่วตัวให้พร้อมในกายนี้ ผ่อนกายสังขารลงมาเหมือนเรานั่งแบบพักผ่อนกาย ไม่ต้องไปตึงไปเครียดอะไร ทำจิตให้มันสบาย ทำกายให้มันสบาย เมื่อกายมันก็สบายแล้ว จิตมันก็สบายแล้วเราก็จะมีความพอใจในการทำความเพียร..มีฉันทะ ไอ้ตัววิริยะนี้ก็คือขันติแห่งธรรม

    ขันติคืออะไร คือความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ต่อความขัดข้องใจ นั้นถ้าเรามีการอธิษฐานเข้ากรรมฐาน ปรารภปรารถนาอยากจะเจริญความเพียรให้บังเกิดขึ้น แม้จะมีความง่วงก็ดีเราก็สามารถประคับประคองมันได้..นั่นเรียกว่าเรารู้หน้าที่

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    B8350F30-B256-4F43-A7BB-88B769019DD5.jpeg

    ฉันถึงบอกว่าเวลาใดๆที่เราทำสมาธิ อย่าได้ไปคาดหวังว่าสมาธิมันจะทรงตัวอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราคาดหวังอย่างนั้น..ความผิดหวังย่อมมี มันจะทำให้จิตเรานั้นมีกังวล นั้นก็ขอให้มีสติในเฉพาะหน้า คือกำหนดรู้ว่าอะไรที่เกิดขึ้น ต้องรู้ในสภาวะจิตของตน ว่าจิตของตนตอนนี้ในขณะนี้เป็นอย่างไร นั่นเรียกว่าอาการของจิต

    เมื่อเรารู้อาการของมันแล้ว ก็ให้ทรงรู้อยู่ในอารมณ์นั้น จนเห็นอารมณ์นั้นเกิดขึ้นอยู่ ตั้งอยู่ และดับไปของอารมณ์นั้น เมื่อเห็นอย่างนี้ก็ทรงอารมณ์แห่งความสงบเข้าไปอีก ภาวนาเข้าไปอีก เมื่อมีอารมณ์เข้ามาอีกก็ให้กำหนดรู้ลมนั้น ดูลมอาการนั้นที่เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป ทำให้มันเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ นั่นเรียกว่านิโรธมันก็บังเกิด คือดับอารมณ์ได้

    ตัวดับอารมณ์นี้แล เมื่อไม่มีอารมณ์ให้เกิดขึ้น จิตจะเข้าถึงความว่างคือความสงบ ความนิ่ง นั่นก็เรียกว่าจิตมันจะรวมตัวเป็นหนึ่งเป็นเอกัคคตา เมื่ออย่างนั้นแล้วเมื่อกำหนดรู้อย่างนี้ เมื่อรู้มากๆเข้ากำลังแห่งตัวรู้นี้ จิตมันจะค่อยๆตื่นของมันเอง เมื่อจิตมันตื่นแล้ว ก็จะเห็นอาการเกิดดับของจิตของอารมณ์ จึงเท่าทันในอารมณ์ที่เกิดขึ้น นั่นเรียกว่าจิตมันเบิกบาน

    ก็เอาจิตที่ตื่นและเบิกบานนั้นเสวยอารมณ์แห่งปิติสุขเสีย พอมีกำลังแล้วเราก็ละสุขและปิตินั้น เมื่อมันละสุขและปิติก็มีอารมณ์แห่งฌานเป็นเบื้องบาท คือจิตเข้าอุเบกขาฌาน จิตมันก็ตั้งมั่นมีกำลัง ก็ลองกำหนด..เค้าเรียกปรารภธรรมเกิดขึ้น การปรารภธรรมก็เหมือนการสนทนาพิจารณาแห่งจิตแห่งธรรมเกิดขึ้นภายใน

    พิจารณาธรรมที่เป็นอกุศลที่เรานั้นยังไม่ได้ตัด ยังละวางไม่ได้ พิจารณาธรรมสังเวชก็เพื่อให้มันน้อมจิตให้คลายความกำหนัด ความอยากได้ใคร่ดีที่เราไปหลงพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนั่นแล นี่เรียกว่าเราจะได้เจริญญาณให้บังเกิด คือวิปัสสนาญาณ คือการพิจารณาธรรม คือละอารมณ์ ดับอารมณ์ในขันธ์ ๕

    เพราะว่ากายเมื่อมันดับสงบดีแล้ว จึงเรียกว่ามารมันได้พักผ่อน แต่เราจะเอาจิตที่เป็นกุศล จึงเรียกว่าจิตพุทธะนั้น เรียกว่าจิตที่ตื่นรู้จึงเรียกว่าจิตพุทธะ ก็เอาจิตพุทธะนี่แลเพ่งดูจิตนั้น จนทำให้จิตนั้นสว่างตื่นรู้ เมื่อจิตมันสว่างตื่นรู้ จิตนั้นแลมันก็จะสอนในตัวของมันเอง

    สอนอะไรได้บ้าง สอนให้รู้เหตุแห่งทุกข์ สอนให้เท่าทันทุกข์ สอนให้รู้เท่าทันทุกข์แล้ว มันก็ต้องทำให้จิตนั้นมันคลายจากความเบื่อหน่ายในทุกข์ แล้วอะไรเล่าที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็คือการเกิดแห่งภพชาติ ก็คือการที่เกิดมาแล้วมีกายสังขารนี้ จึงว่ามีทุกข์อย่างยิ่ง เราก็น้อมจิตเข้าไปละอารมณ์ในรูป ในความพอใจความไม่พอใจ ความถือดีถือตน ความยึดมั่นถือมั่นในจิต ในอัตภาพ ในขันธ์ ๕ นี้ ว่าเป็นตัวเราของเราอย่างนี้

    แท้ที่จริงแล้วลองพิจารณาดูซิว่า อันว่ากายสังขารทั้งหลายที่มันดำรงอยู่นี้ เราจะรู้ได้อย่างไรที่แท้ว่ามันประกอบด้วยอะไร เรารู้ที่มาที่ไปของมันหรือยัง แท้ที่จริงแล้วมันก็สักแต่ว่าเป็นกายขึ้นมา ด้วยอำนาจแห่งธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมประชุมธาตุ มีอากาศธาตุจิตวิญญาณธาตุประชุมจุติเข้าไป จึงทำให้เกิดกายสังขาร

    เมื่อปราศจากธาตุทั้ง ๔ หรือว่าธาตุใดธาตุหนึ่งก็ตาม ร่างกายสังขารเรานั้นก็เปรียบเสมือนท่อนไม้ท่อนฟืน หาประโยชน์มิได้อีกต่อไป ก็ต่อเมื่อเรายังมีลมหายใจเข้าและออกอยู่ จึงว่ายังหาประโยชน์ในกายนี้ได้อยู่ ก็ให้กำหนดรู้ที่กาย ที่ลมหายใจ คือการเจริญสติปัฏฐานให้มันเกิดขึ้น คือดูกายในกาย ดูเวทนาในเวทนา ดูจิตในจิต ดูธรรมในธรรม ย้อนอยู่อย่างนี้

    ดูกายคือดูอะไร คือดูลมหายใจ ดูซิว่ามันสงบมากน้อยเพียงใด ดูซิว่ากายมันระงับเป็นอย่างไร แล้วดูซิว่าอารมณ์ใดเกิดมาเราก็รู้..เอาอารมณ์นั้นมาเพ่งดู เฉกเช่นเดียวกับเวทนาคือความรู้สึก หากยังมีความรู้สึกอยู่ จึงเรียกว่าจิตนั้นอุปาทานแห่งขันธ์มันยังไม่ได้ดับ ยังไม่ได้ละ ยังไม่ได้วางในอารมณ์ ก็ให้เราภาวนาเข้าไปกำกับให้กระชับจิตให้มันแนบกับลมหายใจ

    เมื่อมันแนบกับลมหายใจมันก็ดับไปอย่างนี้ นิโรธมันก็เกิดขึ้นอีกอยู่อย่างนี้ เราจึงบอกว่าถ้ากำลังจิตเรานี้สติเรานี้ยังไม่ตั้งมั่นมากพอที่จะดูที่จะพิจารณาธรรม ก็ให้เราดูกายดูลมหายใจสงบอารมณ์นี้ให้มันสงบ คือเจริญสมถะให้มันมาก การภาวนาจิตก็เป็นการเจริญสมถะอย่างหนึ่ง ให้รู้อยู่อย่างนี้ สลับสับเปลี่ยนกับการพิจารณาธรรม อยู่ในกาย ในเวทนา จิต ธรรม อยู่ในอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เรารู้อยู่ในกายอย่างนี้ แม้จิตจะมีความเคลิบเคลิ้มไปบ้าง ก็ให้กำหนดเข้ามาใหม่ที่ลม แล้วก็ภาวนาลงไป..

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    ABF61FDF-6BF1-449D-BE50-93EFD1768964.jpeg

    การที่เราเจริญพระคาถาชินบัญชรก็ดี สิ่งนั้นมันทำให้เราตั้งมั่นก็ดี แต่การที่เรามาเจริญสติอย่างนี้ ให้เรารู้เท่าทันในอารมณ์ โดยการเจริญวิปัสสนาญาณ ดังนั้นอาการของกายสังขารที่มันอ่อนล้าก็ดี เราต้องปลุกธาตุไฟเตโชให้มันตื่น การปลุกธาตุไฟเตโชนั้นปลุกอย่างไร คือเพ่งดูสภาวะอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นให้มันสงบจดจ่ออยู่ในกายอยู่ในจิต

    คือวางลมอยู่ในฐานของกาย อยู่ที่เหนือสะดือก็ดี ที่ลิ้นปี่ก็ดี อยู่กลางกระหม่อมก็ดี กลางหน้าผากก็ดี ท้ายทอยก็ดี ที่ใดที่หนึ่งที่เราพอใจ ที่ถนัดที่ถูกจริตถูกวาสนาแล้วก็เพ่งดูมันไป แล้วก็ภาวนากำกับลงไป ดูไม่ยากถ้าสมาธิมันบังเกิด..หนึ่งลมหายใจมันจะดับ คือลมหายใจจะละเอียด สองเมื่อเราภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ หรือองค์บริกรรมบทใดบทหนึ่งก็ดีแล้วมันขาดหายไปก็เช่นเดียวกัน นั่นก็เรียกว่ากายและจิตมันตั้งมั่นเป็นหนึ่งเป็นเอกัคคตานั่นเอง

    เท่ากับว่าเรานั้นได้เจริญฌาน..จตุตถฌานให้เกิดขึ้น จิตเรามันจะค่อยๆตื่นขึ้นมา จิตที่อยู่ในกำลังฌานที่มีความละเอียดของสมาธิของลมแล้ว มันจะไปปลุกธาตุไฟเตโชให้มันตื่นให้มันสว่าง นั่นก็เรียกว่าเกิดไฟเผาผลาญคือความเพียร ก็เอาความเพียรที่จิตเราตื่นรู้ขึ้นมานั้นแล เอาเข้าไปเผากิเลสอีก

    การเข้าไปเผากิเลสเผาอย่างไร ก็กิเลสตอนนี้มันมีอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง มีความหดหู่ ความเศร้าหมอง ความเคลิบเคลิ้มแห่งจิต เคลิบเคลิ้มในกายสังขารคือความพอใจในกามคุณ ในการหลับนอน หรือเรียกว่าตัวขี้เกียจทั้งหลายเหล่านี้..ต้องทำอย่างไร เราจะขับไล่อย่างไร

    ขอให้โยมนั้นกำหนดลมหายใจให้สุด..แล้วกักลมไว้ที่ท้องน้อยก็ดี ที่ลิ้นปี่ก็ดี ที่เหนือสะดือก็ดี กักไว้จนเรานั้นรู้สึกว่าเรากักไว้ไม่ได้แล้ว ก็จะได้ธรรมะเกิดขึ้น ๑ ข้อว่า แม้ลมหายใจเราก็ไม่สามารถยึดไว้ได้ แต่ในขณะที่เรากำหนดเข้าไป เราลองทนให้มันถึงที่สุดซิ ดูซิว่าความตายมันจะดิ้นรนเป็นอย่างไร ดูซิว่ามันจะปลุกกระแสจิตวิญญาณให้เราตื่นได้หรือไม่ในความตายนี้

    ดูซิว่าในความเพียรความอดทน ถ้าโยมทนมันได้ไม่เกิดกระอักกระอ่วน เมื่อลมหายใจนั้นมันเข้าไปแล้วเราไม่ยอมเอาออก มันจะเป็นอย่างไร ทีนี้ทวารที่มันมีอยู่มันก็จะออกตามทวารรูขุมขน ออกทางหู แต่เราจะไม่ให้ออกจากในจมูกนั่นเอง เอาลมเข้าไปให้สุด..เอาเข้าไปให้สุด จนไม่มีสุดแล้วนั่นเอง เอาเข้าไป

    กายสังขารเราก็ผ่อน วางกายให้สบาย แต่ทำจิตให้ตั้งมั่น อย่าส่งจิตออกไปไหน วางเฉยต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วดูอาการของจิตที่ลมเข้าแล้วไม่ออกเป็นอย่างไร ดูซิว่ากิเลสมันจะตายมั้ย ไอ้ความง่วง ความหดหู่ ความเคลิบเคลิ้มใจมันจะอยู่ได้มั้ย ถ้าโยมไม่ช่วยเหลือตัวเอง ไม่ปลุกกระแสธาตุจิตของตัวเอง ก็ไม่รู้ว่าจะมีใครช่วยโยมได้ มันก็จะมาขี่คอเหนี่ยวรั้งอยู่อย่างนั้น

    ฉันเคยบอกแล้วเมื่อสภาวะอารมณ์แบบนี้เกิดขึ้น ให้เรากำหนดรู้ กำหนดอานาปานสติ เพียงแค่เรากำหนดรู้ในอานาปานสติแล้วทำจิตให้มันสงบ จิตมันตั้งมั่นเพียงเล็กน้อยก็ดี ฌานมันเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็ดี ก็ตั้งจิตอธิษฐานแผ่บุญกุศลออกไป ให้กับสรรพสัตว์ดวงวิญญาณทั้งหลายทุกดวงจิตดวงวิญญาณที่เราเคยได้ล่วงเกิน ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด ที่ผ่านมาแล้วเป็นอดีต หรือในปัจจุบันก็ดี ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอะไรทั้งหลายก็ดี

    ขอเวรภัยพยาบาททั้งหลายจงอดโทษอาฆาตพยาบาท อย่าได้มีเวรภัย ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงเป็นกระแสนำทางดวงจิตเหล่านั้นให้พ้นจากภัยพาล อย่าได้เข้ามากล้ำกรายในขณะที่ข้าพเจ้านี้เจริญบุญเจริญกุศลอยู่เลย ก็ขอบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้วในขณะนี้จงสำเร็จแก่ทุกดวงจิตดวงวิญญาณ ขอให้ทุกดวงจิตดวงวิญญาณจงมาโมทนาสาธุ พึงได้ประโยชน์เหมือนที่เราจะได้ประโยชน์..ก็อธิษฐานไป

    เอ้า..ค่อยๆถอนจิตถอนลมหายใจถอนออกจากสมาธิออกมา เมื่อเรากำหนดลมเข้าเราก็ต้องกำหนดตอนที่ออกมา เมื่อเราจะออกจากสมาธิ การจะรักษากายสังขารของขันธ์อันขาออกจากสมาธิ ก็คือการกำหนดลมปราณแล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจคลายออกจากสมาธิ ทำความรู้สึกตัวให้ทั่วสังขาร เพื่อจะเป็นการรักษาธาตุขันธ์ อย่าออกอย่างกระทันหันโดยที่ไม่กำหนด

    เพราะตอนที่เราทำสมาธิ เรากำหนดเข้าไป แล้วจะออกเราก็ต้องกำหนดออกมา หากไม่อย่างนั้นแล้วธาตุที่มันมาประชุมกันอยู่ มันจะมีการสั่นสะเทือน ทำให้กายสังขารของเรานั้นมีการเสื่อมได้ เมื่อจิตเรารู้สึกสบายแล้วให้โยมอธิษฐานจิต แผ่บุญกุศลให้กับสรรพสัตว์อีกสักครั้ง จะทำให้จิตเราได้ตื่นบ้างไม่มากก็น้อย

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    B937D443-7CA4-4F98-B9E0-858F1521AAD5.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่ครับผม การที่สัมภเวสี หรือภูติผีปีศาจ หรืออะไรไม่ทราบ บางครั้งก็มาทำให้มนุษย์ป่วยได้เนี่ยะครับ เค้าทำไมถึงทำได้ครับปู่

    หลวงปู่ : มันก็ต้องดูว่าสัมภเวสีนั้นน่ะ ก่อนที่จะเป็นสัมภเวสี ในดวงจิตของเขาในดวงวิญญาณนั้น เค้าเคยมีอาฆาตพยาบาทกับใคร และในขณะนั้นผู้ที่เค้าเคยล่วงเกินไว้ในขณะนั้น หากว่าจิตของเขานั้นขาดที่พึ่งหรือกำลังบุญนั้นอ่อนแอ ย่อมดลบันดาลทำให้เกิดอาเพศได้

    ดังนั้นการเจริญมนต์ก็ดีการเจริญกุศลก็ดี บุญนี้ย่อมมีอำนาจมาก เรียกว่าปกป้องป้องกันภัย สัมภเวสีนี้เค้าเรียกว่ายังไม่มีที่จุติ จึงล่องลอย ดังนั้นวันดีคืนดีนั้นหากเค้ามาพบเราเข้า เผอิญว่าเรานั้นเคยล่วงเกินหรือมีเวรพยาบาทต่อกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ลูกศิษย์ : งั้นแล้วเราจะสวดมนต์บทไหนดีถึงจะคุ้มครองหรือป้องกันภัยส่วนนี้ได้ดีครับผม

    หลวงปู่ : บทไหนก็ขลังทั้งนั้นแหล่ะจ้า บทที่ดีเรียกว่าบทการเจริญเมตตาจิต เป็นไปในทางทำให้จิตเรานั้นเกิดกุศล เกิดเมตตา นั้นเรียกว่าคือการเจริญภาวนาจิต การเจริญภาวนาจิตนี้เพื่อให้จิตสงบ

    เมื่อจิตสงบดีแล้วก็ให้โยมนั้นระลึกถึงบุญกุศลหรืออาศัยอ้างอิงแห่งอำนาจแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัย จงคุ้มครองอภิบาลดวงจิตวิญญาณทั้งหลายที่เรานั้นเคยล่วงเกินด้วยกายวาจาใจ ให้เขานั้นพ้นทุกข์พ้นภัย อย่าได้ไปเบียดเบียนบีฑา ขอให้เขานั้นเป็นสุขทุกทิวาราตรีอยู่เป็นนิตย์ด้วยเทอญอย่างนั้น..

    ก็เรียกว่าเป็นการเจริญเมตตาจิต เรียกว่าจิตเรานั้นไม่มีอกุศลไม่มีเภทมีภัย ไม่มีอาฆาตพยาบาทต่อใคร เมื่อจิตเราเป็นกุศลเสียแล้ว จิตเราวางจากไฟทั้งหลายทั้งปวง เรียกว่าไม่ถือหรือไฟไม่ถือโทษโกรธเคืองแล้ว แม้ภัยทั้งหลายที่เค้าเคยมีอาฆาตพยาบาทกับเรา เค้าก็ไม่สามารถมาทำอะไรเราได้ เพราะเรานั้นในขณะนั้น เราวางไฟแล้วนั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    670CDDFB-FCF3-46BE-9DD2-17F43B8A8079.jpeg
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    60B1B9BE-3671-4443-80A3-8800A87406BA.jpeg

    ลูกศิษย์ : หลวงปู่คะ ถ้าอย่างกรณีที่เราเห็นจิตมันสกปรก เห็นกิเลสในจิตอย่างเนี้ยค่ะ แล้วมันมีอยู่ช่วงนึงเราอยากจะทิ้งจิต คือจิตทิ้งจิตน่ะค่ะ หนูก็ไม่มั่นใจว่ามันแว่บขึ้นมาว่าในเมื่อมันสกปรกนักก็ทิ้งมันไปซะเลย ในเมื่อมันทุกข์นักก็ทิ้งมันไปซะเลย หนูไม่รู้ว่าหนูจะต้องปฏิบัติยังไงต่อ.. เพราะว่าได้แค่มองมันน่ะค่ะ

    หลวงปู่ : โยมจะไปทิ้งได้ยังไงจ๊ะ..ไอ้สกปรก มันเกิดมาจากสิ่งสกปรก..มันจะไปทิ้งสกปรก เค้าให้รู้ว่าสิ่งสกปรกนั้นต้องทำยังไง แล้วโคลนตมมันเกิดจากที่ไหน การเกิดเป็นทุกข์อย่างไร โยมต้องไปทิ้งที่ไหน โยมต้องไปละที่กายสังขารสิจ๊ะ ไปพิจารณาละที่รูป..ไปเพ่งโทษ นั่นแหล่ะจ้ะเค้าเรียกว่าทิ้งละอารมณ์ ไม่ใช่ว่าไปทิ้งจิต เข้าใจหรือเปล่าจ๊ะ

    กายนี่..เป็นของที่ตั้ง เป็นของที่หนัก เป็นของที่รวมแห่งธรรมทั้งหลาย นั้นการที่โยมจะไปทิ้งอะไรได้ แม้กายสังขารโยมก็จะไปฆ่าเค้าตายได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) เค้าก็ให้คุณประโยชน์กับโยม เพราะเราเกิดมาจากโคลนตม เค้าให้โยมเห็นความเบื่อหน่าย ถ้าโยมยังไปติดไปพอใจ..โยมจะสลัดทิ้งได้มั้ย เค้าก็ต้องตามโยมเป็นเงาอยู่อย่างนั้น เหมือนเลี้ยงลูกไม่รู้จักโตอย่างนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าโยมเลี้ยงลูกให้เค้ารู้จักเข้มแข็งเติบโต เค้าจะตามโยมมั้ยจ๊ะ เค้าก็จะมีวิถีชีวิตวิถีกรรมของเค้าเอง

    นั้นการที่โยมเห็นสกปรก เห็นจิตนั้นแล จิตจริงๆแล้วไม่ได้สกปรก ความอยากตัวนั้นแลที่เรียกว่าสกปรก นั้นโยมต้องไปละความพอใจที่โยมไปพอใจในรูป คืออย่าเกิดไงล่ะจ๊ะ เกิดมามันก็ต้องมีกายมีขันธ์ ๕ มันเป็นทุกข์อย่างนี้อยู่แล้วเป็นของหนัก ให้โยมไปพิจารณาเพ่งโทษในกาย ในกายสังขารที่บอก..ของสกปรกมันอยู่ในนั้น ที่โยมไปพอใจไปยินดีว่านี่รูปว่าสวยว่างาม นั้นโยมต้องไปละพอใจยินดี น้อมน้ำดินไฟที่เป็นธาตุขันธ์ขึ้นมา หากไม่มีหนังปกปิดแล้วในเลือดน้ำอะไรนี่ ให้โยมไปพิจารณาเอา

    นี่เค้าเรียกว่าให้ละ..คือละทิ้ง เค้าเรียกว่าละอารมณ์ในขันธ์ ๕ คือดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ ให้เกิดนิโรธ ให้เกิดนิโรธคือทำให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆ ให้เกิดอารมณ์เห็นความเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไปของอารมณ์แล้วให้เห็นความเบื่อหน่าย ไอ้การเกิดขึ้นดับไปของอารมณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน ตั้งอยู่ที่ใด ดับไปที่ใด มันต้องเกิดขึ้นที่ในกาย ตั้งอยู่ในกาย ดับไปที่ในกาย คือไม่ยึดไม่พอใจในกาย เห็นว่ากายนี้สักแต่ว่าเป็นกาย เป็นที่ยึดถืออาศัย ไม่ใช่ของเราของเขาหรือสัตว์สิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง..จะยึดเป็นเราก็ไม่ได้

    เมื่อสภาวะยึดในสภาวะใดสภาวะหนึ่งนั่นแล จิตมันเข้าไปยึดเมื่อไหร่ตัวทุกข์มันก็บังเกิด ไอ้ตัวคำว่ายึดมันทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานจิตที่เข้าไปยึดมั่น มันทำให้เกิดภพเกิดชาติ เกิดเวทนา เกิดสัญญาสังขารตามมา..นี่เรียกว่าวัฏฏะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อมันเป็นวัฏฏะแล้วทีนี้มันหลุดพ้นได้มั้ยจ๊ะ มันหลุดพ้นไม่ได้ในวงจรนี้ โยมต้องตัดดับละอารมณ์เสีย ให้เห็นความเบื่อหน่าย ให้เห็นทุกข์ ให้เห็นชัด

    เห็นชัดต้องไปเห็นที่ไหน ชัดก็ต้องเห็นด้วยปัญญา เอาปัญญานี้พิจารณาละอารมณ์ ละในกายนี้ พิจารณาไปว่าอีกไม่ช้าไม่นานสังขารร่างกายเรานี้มันก็ต้องผุต้องพังต้องสลายไป ประกอบด้วยดิน น้ำ ไฟ ลม ฉันถึงบอกว่าอันดับแรกของกระแสพระนิพพานต้องตัดสักกายทิฏฐิในกายให้ได้เสียก่อน ไอ้ตัวตนนี้แล เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมตัดตัวนี้ได้ตัวเดียวโยมก็ไปนิพพานได้เหมือนกัน

    ฉันถึงบอกว่า..พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าธรรมแม้ข้อใดข้อหนึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว ซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้เห็นความเบื่อหน่าย เห็นความไม่เที่ยง เห็นความสละคืนในทุกสรรพสิ่ง นั่นแลเรียกว่าเห็นกฎแห่งไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อพิจารณาได้อย่างนี้ก็จะเข้าถึงอริยสัจ ๔ ได้ว่าทุกอย่างมันเป็นทุกข์..

    เมื่อจิตโยมส่งออกไปภายนอกนั่นแลมันเป็นทุกข์มั้ยจ๊ะ ลองพิจารณาตาม ผลจากจิตที่ส่งออกไปเป็นสมุทัยมั้ยจ๊ะ เมื่อมันมีเหตุจึงมีผลตามมา ใช่มั้ยจ๊ะ แล้วผลที่เราส่งออกไปเป็นทุกข์..มันเป็นสมุทัย จิตที่เห็นจิต เห็นอารมณ์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเรียกว่านิโรธ ผลจากจิตที่เห็นอีกเหมือนกันก็เรียกว่าเป็นมรรคคือทางออก โยมลองพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนี้สิจ๊ะ อันนี้เค้าเรียกว่าวิปัสสนาญาณมันก็บังเกิด

    มีเหตุเมื่อไหร่ต้องมีผลตามมา ต้นไม้เช่นมะม่วงนี่มันออกกลางอากาศได้มั้ยจ๊ะ มันต้องมีต้นอยู่มั้ยจ๊ะ หรือว่าโยมออกมาจากอากาศเลย ไม่ต้องมีบิดามารดา ไม่ต้องไปอยู่ตั้งครรภ์ในมารดา ๘ เดือน ๙ เดือนอย่างนี้มีมั้ยจ๊ะ เมื่อมันไม่มีมันต้องมีเหตุแห่งกรรม นั้นโยมกลับไปดูที่เหตุ เรายึดอะไรไว้มากสิ่งนั้นก็ทำให้เราทุกข์มาก

    นั้นการที่จะไปละทิ้งเห็นจิตที่ว่ามันมีความสกปรกนั่นแลโยมเห็นธรรมแล้ว นั้นเห็นแล้วโยมต้องไปดูที่เหตุแห่งธรรมว่ามันเกิดที่ไหน การเกิดที่เรามีกายนี้แลมันจึงเป็นทุกข์เป็นของหนัก นั้นของสิ่งสกปรกทั้งหลาย..กิเลสไม่ใช่ของสกปรก แต่ความอยากได้ต่างหากที่เป็นของสกปรก จิตที่มีความอยากนั้นแล..เรียกว่าของสกปรก

    แล้วโยมว่าอะไรเป็นของสกปรกล่ะถ้าอย่างนั้น ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะของสกปรกโยมก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นของสกปรก แต่โยมไปอยากได้มันน่ะ อันนั้นแหล่ะของสกปรก..จิตโยมต่างหาก ไอ้ของวิจิตรพิศดาร ความสวยความงาม ของไม่สวยไม่งามมันมีของมันอยู่แล้ว กิเลสตัณหาในโลกนี้มันก็มีอยู่แล้วในโลกนี้ แต่โยมไปหลงไปเพลินกับมันเองต่างหาก โยมไปอยากได้มันต่างหาก ถ้าโยมบอกไม่เอาสิจ๊ะ โยมวางมันได้

    แต่เพราะเรายังไม่รู้โทษรู้คุณมัน เข้าใจอย่างนี้มั้ยจ๊ะ เราต้องไปเพ่งโทษกายสิว่าที่เราพอใจ..มันใช่กายเราจริงมั้ย ลองไปทบทวนดูสิจ๊ะ พิจารณาดูว่ากายเรานี้ใช่กายเราจริงมั้ย ถ้าจริงเราสั่งมันได้มั้ย (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) อย่าเพิ่งบอกไม่ได้สิจ๊ะ โยมต้องพิจารณาก่อน พอมันจะเจ็บเราห้ามมันว่าอย่าเจ็บ..ห้ามได้มั้ย พอมันปวด..อย่าปวด พอแค่โยมไม่สบายเจ็บป่วยโยมก็ห้ามมันไม่ได้แล้ว ใช่มั้ยจ๊ะ

    แสดงว่าโยมห้ามไม่ได้ มันเป็นของมันอย่างนี้..แสดงว่าเป็นของว่าง เป็นของปรกติ เป็นของธรรมดาของมันอยู่แล้วใช่มั้ยจ๊ะ ว่ากายสังขารมีความเจ็บความเสื่อมเป็นธรรมดาใช่มั้ยจ๊ะ แสดงว่าร่างกายมันเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว หรือว่าโยมจะรอให้ร่างกายสังขารโยมป่วยแล้วชราแล้ว โยมถึงจะมาสวดมนต์มาภาวนาจิตมาปฏิบัติ โยมว่าทันมั้ยจ๊ะ

    คราใดที่โยมว่าโยมป่วยขอให้จำไว้..นั่นแหล่ะคือเวลาที่โยมปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง แล้วขอให้โยมรู้ด้วยว่า นี่..ยมทูตเค้าได้เตือนโยมแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ บางคนก็เห็นว่าความเสื่อมของร่างกายก็ดี ในตาก็ดี ฟันก็ดี ผมก็ดีเริ่มหงอก หนังก็ดีเริ่มเหี่ยว..ยังไม่เห็นในทูตมรณะนั้น บางคนก็ต้องเห็นความเจ็บความป่วยเข้ามาในกาย เห็นความทรมาน ถึงจะยอมรับความจริงว่าโอ้..ร่างกายสังขารมันไม่ใช่ของเรา เพราะเรายึดมันอยู่อย่างนี้ มันจึงเป็นทุกข์อยู่อย่างนี้

    พอเราวางความเจ็บความป่วยได้ แล้วเห็นว่าอ้อ..เป็นของธรรมดา ความเจ็บความป่วยมันก็บรรเทาลง ถามว่ามันหายไปหรือเปล่าจ๊ะ มันไม่ได้หายไปแต่มันบรรเทาลง แล้วกำลังใจเรามีเพิ่มขึ้นมามั้ยจ๊ะ..มันมีกำลังใจเพิ่มขึ้นมา ทีนี้ก็ทำให้เราเห็นแล้ว ก็พิจารณาร่างกายสังขารไป ให้เราหลุดจากกายของทุกข์นี้ออกมาให้ได้

    ถ้าเราไปยึดเพลินยินดีว่ากายของเรา อย่างนั้นเราก็ต้องไปก่อภพก่อชาติเป็นกายอย่างนี้อยู่ร่ำไป ทำยังไงเราจะออกจากกายทุกข์นี้ได้ ก็เราไปยึดมันมาก นี้การที่เราจะออกเราต้องละมั้ยจ๊ะ คนเราจะละทิ้งอะไรมันจะละเลยทีเดียวได้มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ได้) ค่อยๆละมัน โดยที่มันไม่รู้ตัว

    ภาวนาเราจะง่วง..เราก็รู้ว่ามันง่วง แต่เราจะไม่หลับ แม้เราจะนอนเราก็ไม่หลับ เราก็ภาวนาเอา แต่ร่างกายมันหลับ นี่เรียกว่ากิเลสมันหลับ เราอาศัยเวลาช่วงนั้นของจิตยกจิตขึ้นมา..มาภาวนา เอากระแสพระรัตนตรัยนี้เปิดประตูของมรรค หรือเรียกว่าจิตที่เราภาวนานี้ทำให้เกิดแสงสว่างของจิต นั่นเค้าเรียกว่าเรากำลังจุดตะเกียงขึ้นมาในท่ามกลางความมืดของอุโมงค์แห่งถ้ำในวัฏฏะ

    เมื่อแสงสว่างมันเริ่มสว่างออกมา โยมจะได้เห็นตามความเป็นจริง เพราะในขณะที่โยมนั่งอยู่ภาวนาอยู่ โยมจะเห็นความผิดปรกติอะไรบ้าง ในขณะที่โยมนอนอยู่ หรือมีคนนอนอยู่ใกล้ๆโยม บางคนก็มีเสียงเรอออกมา เสียงกรน บางคนก็ปล่อยลมพิฆาตมากลิ่นตลบอบอวลไปหมด แม้ขณะร่างกายสังขารมันนอนแล้วมันก็ยังไม่วางทำความทุเรศให้เห็นอีก เห็นมั้ยจ๊ะ มันมีแต่ความน่าละอายทั้งนั้น

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    1F57B3F4-3DC3-4F0C-BB8B-89941781FBA3.jpeg

    เวลาที่โยมสวดมนต์ โยมเอาเวลาให้ตรงนั้นให้มาก สวด ๒ ชั่วโมง..โยมก็นั่งได้ ๒ ชั่วโมง จำไว้นะจ๊ะ อยู่ในความเพียรได้จิตโยมไม่ส่งออกไปภายนอกได้นั่นแล..เค้าเรียกว่าสติสัมมาสมาธิมันก็บังเกิด บางคนสวดมนต์นี่เห็นนิพพานทันที เพราะอะไร ถ้าสวดไปๆจิตมันสงบว่าง..เค้าเรียกว่านิพพาน แต่มันชั่วขณะหนึ่ง

    แต่การจะไปถึงนิพพานได้มันต้องผ่านด่านไปตั้งมากมาย คือขจัดกิเลสตัณหาอุปสรรคออกไปให้หมด คือการละอัตตาตัวตน ไม่มีตัวตนนั่นแลถึงจะไปได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะยิ่งมีอัตตาตัวตนมันก็มีความหนัก ก็เรียกว่าตัวที่เรียกว่ายึดนั่นแลเค้าเรียกว่าความหนัก ไอ้ตัวคำว่าหนักนี้..หนักว่าเอามาชั่งได้ว่าเท่านั้นเท่านี้นี่แลตัวเรียกว่าตัณหา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นสิ่งที่โยมประพฤติปฏิบัติอยู่นี้ เป็นทางของอริยเจ้าเค้าทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ พอถึงเวลามาชุมนุมสวดมนต์โยมก็มาชุมนุม พอโยมมาชุมนุม..เทวดาเค้าก็มาชุมนุมกัน ใช่มั้ยจ๊ะ ก็เหมือนคนพาลเค้ามาชุมนุมกันสังสรรค์กัน บัณฑิตเค้ามาทำอะไรกัน บัณฑิตเค้าก็มาชุมนุมมาเจริญมนต์สวดมนต์สาธยายมนต์กัน ใช่มั้ยจ๊ะ เพราะว่าเค้ามีปณิธานมีจุดหมายไปในทางเดียวกัน

    เมื่อมีจุดหมายไปในทางเดียวกัน เสียงสวดมนต์มันจะเป็นระนาบเดียวกันเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าเรียกว่าแตะพอดีถึงกันหมด ทีนี้บางคนมากันจากหลายสำนักก็ยังไม่ค่อยลงกัน พอไม่ลงกันหลายสำนักนึงก็ว่าทำนองกูมาอย่างนี้ อีกสำนักนึงทำนองเป็นอย่างนี้ จริงๆแล้วถ้าโยมเป็นทำนองเดียวกัน แบบไหนล่ะจ๊ะที่เรียกว่าทำนองเดียวกัน ไหนลองบอกดูสิจ๊ะ มีพื้นฐานมีอะไรกฎเกณฑ์หรือเปล่าจ๊ะว่าทำนองต้องเป็นยังไง

    สวดถ้าโยมรู้จักจังหวะแล้วมันจะเป็นทำนอง ถ้าโยมท่องแล้วเค้าจะไม่เรียกว่าทำนอง เค้าเรียกว่าบ่นอะไรให้ฟัง คือฟังแล้วไม่รู้เรื่อง รีบ..สวดให้มันจบ เหมือนโยมมารีบพูดมันจะเอาใจความได้มั้ยจ๊ะ สวดมนต์เพื่อเอาความ ไม่ได้ว่าสวดไม่ได้ความ โยมจงไปพิจารณาหน่อยนะจ๊ะ นั่นแหล่ะเค้าเรียกว่าสมาธิ

    แม้ว่าโยมจะทำอะไรไว แต่อย่าลืมว่ากายสังขาร..การฝึกสติมันต้องไปพร้อมกัน จิตแม้จะไวก็ตาม แต่อย่าลืมว่ากายสังขารมันยังเป็นกายหยาบอยู่ มันต้องให้แนบกันสนิทกัน ต้องให้มันสัมพันธ์กัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไปพร้อมๆกัน สวดให้มีจังหวะ ให้เทวดาฟังเค้าจะได้รื่นหู เค้าจะได้มาเป็นขาประจำโยม เข้าใจมั้ยจ๊ะ รู้จักขาประจำมั้ย เค้าเรียกว่าอุดหนุนค้ำชูน่ะ

    เพราะสวดมนต์เค้าเรียกว่าทำบุญเค้าเรียกว่าสร้างบุญสร้างบารมี นั้นขอให้เข้าใจไว้ว่า..ให้เห็นความสำคัญ ไหนลองว่าซิว่าสวดมนต์นอกจากทำให้เกิดทานแล้วทำให้เกิดอะไรอีกจ๊ะ (ลูกศิษย์ : เกิดศีล) ศีลคืออะไร จิตมันสำรวมสงบ อ้าว..ก็กายโยมระงับแล้วตอนนั้น วาจาโยมก็เป็นวาจาที่ชอบ ใช่มั้ยจ๊ะ ใจโยมก็ระลึกอยู่ในบทสวดที่เป็นมงคล ใช่มั้ยจ๊ะ อย่างนี้แลเค้าเรียกว่าศีลมันก็บังเกิด..คือความเป็นปรกติ

    เราทำอะไรแล้วไม่ทำให้เราเดือดร้อน แล้วไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนเค้าเรียกว่าความเป็นปรกติ นั่นเรียกว่าศีล ถ้าเราทำให้ตัวเราเดือดร้อน ความคิดเราก็ดีที่ทำให้จิตเราเป็นทุกข์ จิตเราไปอาฆาตพยาบาท..อันนั้นเรียกจิตเราไม่ปรกติ ศีลเรามีปัญหามั้ยจ๊ะ แต่ถ้าในขณะนั้นจิตเราเป็นปรกติ กาย วาจา ใจเรานั้นเมื่อเราสวดมนต์แล้วมันทำให้จิตเราสงบ นั่นแลเค้าเรียกว่าเข้าถึงศีล

    อะไรก็ตามเมื่อเราคิดแล้วกระทำแล้วมันทำให้จิตเรานั้น ไม่สงบก็ดี ให้เราละอารมณ์นั้นเสีย ดังนั้นเมื่อศีลบังเกิดแล้ว มันก็เหมือนเข้าถึงศีล คนที่เข้าถึงศีลแล้วก็เหมือนเข้าถึงว่าเรานั้นเหมือนได้บวชนั่นเอง..เป็นเนกขัมมะนั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นเรียกเกิดทาน ศีล ภาวนา เพื่อให้จิตมันเข้าถึงความสงบ เข้าถึงจิตที่ละ ละนี่เค้าเรียกว่าเป็นนักบวช เป็นนักพรต เป็นบรรพชิต เป็นสมณะก็ดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เมื่อโยมเกิดศีลแล้วอะไรอีก (ลูกศิษย์ : มีสมาธิมีสติ เกิดปัญญาค่ะ) บารมี ๑๐ ทัศโยมมีทาน ศีล แล้วมีอะไรอีก (ลูกศิษย์ : เนกขัมมะ) เออ..โยมได้เข้าถึงความสงบก็เหมือนได้บวชจิตอยู่ ใช่มั้ยจ๊ะ เหมือนได้บวชจิตแล้วมันมีอะไรเกิดขึ้นอีก (ลูกศิษย์ : ปัญญา) ปัญญาเกิดขึ้น เกิดข้ออรรถข้อธรรมได้พิจารณาตามว่าโยมเข้าใจในอักขระภาษาในบทสวด เค้าจึงบอกว่าถ้าโยมสวดช้าๆ โยมจะเข้าใจ ถ้าโยมสวดเร็วโยมจะไม่ได้อะไร โยมจะได้แค่สมถะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าโยมสวดช้าด้วยกำลังจิต มันจะได้สมถะไม่พอ มันจะได้วิปัสสนาคือได้ปัญญาเกิดขึ้นในข้ออรรถข้อธรรม เมื่อได้บวชแล้วได้ปัญญาแล้วได้อะไรอีก (ลูกศิษย์ : ได้ขันติค่ะ) แล้วโยมสวดแล้วโยมไม่ได้ขันติโยมจะสวดได้นานมั้ยจ๊ะ มันต้องทนต่อขันธมารในร่างกายที่มันเจ็บมันปวด มันมีอะไรมารบกวนอยู่ตลอดเวลา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ในความขี้เกียจ ในความง่วง ในความเหนื่อยล้าทั้งหลายเหล่านี้ มันอาศัยศรัทธาเป็นที่ตั้ง มันถึงจะข้ามพ้นไปได้

    เมื่อเรามีความเพียรมีขันติแล้วมีอะไรเกิดขึ้นมาอีก (สัจจะความจริงใจ) เราก็ต้องอธิษฐานมาแล้วว่าเราจะสวดมนต์ไปถึงขณะนี้ มันได้สัจจะมั้ยจ๊ะ การที่เราได้สัจจะแล้วมันเกิดอะไรขึ้น (ลูกศิษย์ : อธิษฐาน) พอโยมสวดมนต์เสร็จแล้วโยมได้มาอธิษฐานมั้ยจ๊ะ มาอธิษฐานเสร็จแล้วเกิดอะไรขึ้นอีก (ลูกศิษย์ : แผ่เมตตา) จิตโยมสงบไม่มีเวรภัย จิตโยมก็แผ่เมตตาได้ โยมก็เห็นว่าเรานั้นก็ไม่อยากให้ใครเบียดเบียน ใช่มั้ยจ๊ะ หรือถ้าเป็นอย่างนี้แล้วก็ไม่มีใครหรอกที่อยากจะให้โยมเบียดเบียน ใช่มั้ยจ๊ะ หรือไปเอาเปรียบใคร เฉกเช่นเดียวกับเราก็เหมือนกัน ใช่มั้ยจ๊ะ ก็ไม่อยากให้ใครมาเบียดเบียน นั้นเราก็ต้องอย่าไปเบียดเบียนใครอย่างนี้

    เค้าถึงได้บอกว่าการสวดมนต์เป็นการสร้างบารมีทั้ง ๑๐ ทัศ ให้มันเกิดให้มันรวมตัวให้เข้าถึงความเชื่อความศรัทธา ให้พละและอินทรีย์ทั้ง ๕ มันเกิดขึ้นไปในตัว ศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ และปัญญาเกิดขึ้น เห็นมั้ยจ๊ะ นั้นเค้าถึงบอกว่าคนเราสวดมนต์เช้าเย็น-เช้าเย็นตลอดเมื่อสิ้นอายุขัยไปนิพพานหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มันก็ต้องไปพิจารณาว่าเราสวดมนต์เช้าเย็นอย่างนี้ เพราะว่าธรรมและปัญญามันเกิดขึ้นในขณะที่เราสวด เพราะสวดอยู่เราถือว่าได้เจริญสมาธิอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะว่าธรรมมันเกิดขึ้นในขณะจิตหนึ่ง คือตัวรู้ตัวปัญญา เค้าไม่ได้บอกให้โยมมานั่งสมาธินานๆ แต่นั่งสมาธินานๆเพื่ออะไรเล่า..เพื่อรอให้มันสงบ

    ถามว่าโยมตั้งของขายหน้าร้านโยมขายดีทั้งวันมั้ยจ๊ะ โยมนั่งอยู่หน้าร้านทั้งวันให้เต็มที่สมมุติว่า ๑๐ ชั่วโมง โยมขายเต็มที่ไม่เกินครึ่งชั่วโมงหรอกจ้ะที่ขายดีๆน่ะ งั้นโยมนั่งไปนานๆสมาธิมันเกิดตลอดเวลามั้ยจ๊ะ ความสงบมันเกิดตั้งอยู่ตลอดเวลามั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ไม่ค่ะ) มันจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นตลอดเวลาได้คงที่ เพราะสภาวธรรมทั้งหลายมันไม่เที่ยง เมื่อยึดแล้วมันเป็นทุกข์หมด ใครไปยึดว่าสมาธิต้องนั่งแล้วสงบเหมือนวันนั้นวันนี้ เพียงเมื่อโยมคาดหวังเมื่อไหร่..ความผิดหวังก็บังเกิดขึ้นทันที

    แสดงว่าเราคาดหวังอะไรไม่ได้เลย ต้องเอาปัจจุบันแห่งจิตนั้นแลที่เราทำอยู่นั้นเป็นประธานเป็นที่ตั้งขึ้นมา อย่าเอาอารมณ์ที่ล่วงมาแล้วที่ผ่านมาแล้วมาเป็นอารมณ์..ไม่ได้ แต่ให้เราระลึกได้ พิจารณาได้ นั่นเรียกว่าวิตก เพื่อจะเอามาพิจารณาละมาวิจาร วิจารตัวนี้คือพิจารณา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    7572369E-833C-4BC0-964C-18048D690C62.jpeg

    โยมไม่ต้องเอาอะไรมากหรอกจ้ะ รู้เคล็ดลับรู้อุบายธรรมเล็กๆน้อยๆ แล้วโยมก็ค่อยๆปะติดปะต่อสะสมกำลังจิต ค่อยๆทำไปเหมือนค่อยๆคลำไปเดี๋ยวก็เจอปมเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ พอเจอปมแล้วโยมก็ค่อยๆแกะมันดู ไอ้ปมทั้งหลายไม่ใช่ว่าใครทำไว้ เราเป็นผู้ทำไว้ทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    อะไรที่เราเป็นผู้ทำไว้เราจะเป็นผู้เห็น จะไม่มีใครเห็นปมของเราได้ นั้นโยมจะไปโกหกจิตไม่ได้เลยว่าเราไปทำอะไรมา กรรมชั่ว กรรมเลว กรรมดีอะไรโยมโกหกใครก็โกหกได้ แต่โยมโกหกตัวเองไม่ได้ เพราะจิตเป็นผู้รู้เป็นผู้เห็น เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นแล้วก็ลองไปพิจารณาดู

    นั้นอารมณ์ใดอาการใดเล่าที่กายมันมีกำลังแล้วจิตยังไม่ค่อยมีกำลัง แต่ตรงกันข้ามเมื่อกายโยมนั้นอ่อนกำลังแต่จิตโยมจะมีกำลัง ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งสองอย่างนี้มันไม่สมดุลกันแล้ว การจะตั้งสติให้กายตรงตั้งมั่นด้วยสติในการพิจารณาธรรม..มันก็ทำได้ยาก

    เค้าถึงบอกว่าตอนที่โยมนั้นตื่นนอนมาใหม่ๆ กายโยมมีกำลังแต่จิตโยมนั้นยังไม่ได้คลาย..คลายจากอะไร มันคลายจากนิวรณ์ นั้นเค้าถึงบอกว่าตอนช่วงโยมตื่นมาใหม่ๆ กายโยมมีกำลังโยมก็ทรงกายไว้ทรงสติไว้ในกาย ดูลมทรงลมอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องไปพิจารณาอะไร

    พอจิตโยมมีกำลังตื่นขึ้นมาแล้ว แล้วโยมเห็นตามความเป็นจริง ให้พิจารณาอาหารเก่าอาหารใหม่ มันจะมีกลิ่นออกมา ให้พิจารณาอสุภะซากศพของตัวเอง มีลมออกมาจากกระเพาะอาหาร ลมออกมาจากท้องน้อย มีกลิ่นเรอเปรี้ยวอย่างนี้ ให้พิจารณาดู ทำอย่างนี้อยู่บ่อยๆ

    ก่อนนอนให้โยมพิจารณาละกายสังขารปลงสังขาร ปลงอสุภะว่าเรานี้วันนี้แล้ว เผื่อว่าพรุ่งนี้อาจจะไม่ได้อยู่แล้วให้พิจารณา เมื่อจิตสงบมากพอแล้วก็ให้ภาวนาไป ให้หลับไปกับองค์ภาวนาก็ดี เมื่อเราภาวนามากๆเข้าแล้วต่อไปจิตนี้มันไม่ได้ภาวนาแล้วทีนี้ จิตมันจะเกิดปัญญาได้พิจารณาธรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ แม้ว่าโยมหลับไปแล้วจิตมันก็ยังพิจารณาธรรมได้ ปฏิบัติธรรมได้

    เค้าถึงบอกว่าเมื่อไม่มีกายสังขารแล้ว ก็หาใช่ว่าจิตนี้จะประพฤติปฏิบัติธรรมไม่ได้ ก็เอาอารมณ์ของจิตนั้นแลที่เรายังละไม่ได้ ยังปลงไม่ได้ ยังวางไม่ได้..เอามาเป็นสังขารแล้วก็พิจารณาธรรมเสีย ไม่ว่าจะเป็นดวงวิญญาณเหล่าใดก็ตามที่ไม่มีสังขารแล้ว อารมณ์เหล่าใดที่ยังละไม่ได้ ยังไปติดยังไปพอใจ..นั่นก็เรียกว่าภพชาติยังมีอยู่

    เมื่อภพชาติมันยังมีอยู่เค้าเรียกว่ามันยังมีห่วงยังมีบ่วงอยู่นี้แล ก็เอาอารมณ์เหล่านั้นมาพิจารณาละ เมื่อซักวันหนึ่งเมื่อเขาไม่มีกายเขาก็เป็นอย่างเรา มีความพลัดพรากมีความตายเป็นธรรมดา เมื่อนั้นแท้ที่จริงแล้วสิ่งที่สำคัญคืออะไร สิ่งสำคัญคือสัมปรายภพที่เราจะไป

    นั้นเมื่อเรายังห่วงอยู่มันก็ไปไม่ได้ ไปเสวยบุญก็ยังไม่ได้ ไปเสวยทุกข์ก็ยังไม่ได้ มันก็เหมือนตายทั้งเป็น นั้นต้องทำอย่างไร ก็เอาทุกข์ที่มีอยู่ในอารมณ์ของจิตนั้นแลตอนที่เรายังมีชีวิตอยู่..ก็เอาพิจารณาละลงไป อย่าได้ไปยึดใคร เพราะไอ้ตัวยึดตัวเดียวนี้แลแม้เราไม่มีสังขารแล้วแต่ก็ทำให้จิตเป็นทุกข์..เพราะอะไร เพราะเรายังไปยึดอยู่

    ตัวยึดนี่เรียกตัวอุปาทาน เมื่อใดจิตยังมีอุปาทานอยู่เท่ากับว่าจิตนั้นยังมีขันธ์อยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ งั้นบุคคลที่จะบรรลุธรรมที่พระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าจะมาเทศน์ เทพเทวดาที่เค้าไม่มีสังขารฟังธรรมกัณฑ์นี้ยังบรรลุธรรมหมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เพราะว่าการจะปลดปล่อยดวงจิตตัวเองจากพันธนาการที่เราไปยึดอารมณ์ต้องทำอย่างไร นั้นโยมต้องฝึกให้มันชิน อย่าลืมว่าเราไม่มีสังขารก็จริงเมื่อเราตายไปแล้ว แต่อะไรอารมณ์เหล่าใดที่เราไปยึดอยู่แล้วทำให้เราทุกข์ ตัวยึดนั่นแลคืออุปาทาน ตัวอุปาทานนั่นแลคือตัวขันธ์ ขันธ์ตัวอุปาทานนั่นแลคือภพคือชาติที่เราจะไปเสวยต่อ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ดังนั้นอย่าคิดว่าตายแล้วไม่มีกายแล้วต้องจบกัน..เราต้องเดินทางต่อ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นจงจำไว้ความตายไม่ได้น่ากลัวเลย..แต่การไปเกิดต่างหากที่น่ากลัว ถ้าโยมมีจุดหมายที่โยมจะไป..โยมไม่ต้องกลัวความตาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าโยมประพฤติปฏิบัติธรรมเมื่อเวทนามา โยมก็เอาจิตที่ตั้งมั่นอธิษฐานสู้กับมัน แล้วโยมละร่างกายสังขารอยู่บ่อยๆ ละสักกายทิฏฐิอยู่บ่อยๆ มีความเชื่อมั่นในศีลในพระรัตนตรัยให้มันถึง..ความกลัวตายโยมจักไม่มี

    เพราะอะไรจ๊ะ เพราะยิ่งตายเร็วยิ่งดี เพราะว่ากายสังขารนี้มันทุกข์ แต่ที่อยู่เพราะอะไร..เราต้องชดใช้ในกรรม ถ้าเราอยู่แล้วยังอาศัยสังขารนี้สร้างบุญกุศลบารมีเพื่อประโยชน์กับคนอื่นได้อีก..นี่เรียกเป็นการสร้างทานบารมีอันยิ่งใหญ่ จิตแบบนี้เค้าเรียกจิตพระโพธิสัตว์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วขอให้โยมฝึกหัดรบกับกิเลสตัวเองให้มาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อโยมรบกับตัวเองให้มากๆแล้ว การที่โยมจะสร้างบารมีใหญ่มันก็ทำได้ง่าย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    DEB627C0-297C-4D10-93F3-BB1A9B24AF4E.jpeg

    ขอให้โยมฝึกปฏิบัติไป อย่างที่ฉันบอกถ้าโยมอยากรู้อะไรก็กำหนดรู้จิตตัวเองก่อน นี่เค้าเรียกว่าเป็นของเล่นอย่างหนึ่งของพวกที่เจริญอภิญญา เพราะเมื่อโยมเจริญฌาน เจริญสมาธิ เจริญภาวนามากๆแล้วอภิญญามันก็บังเกิด โยมอยากรู้อภิญญาอะไรของโยมที่มันมีมาแต่ก่อนแล้ว โยมก็กำหนดจิตเอา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้ามันยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นให้ภาวนาไป อย่างน้อยมันก็เป็นเบื้องบาทในการเพ่งจิตให้สงบได้ แล้วอย่าไปอยากรู้อยากเห็นอะไร ไอ้ตัวอยากรู้อยากเห็นนี่แลคือตัวกิเลส มันจะทำให้จิตโยมเศร้าหมองเมื่อไม่ได้ดั่งใจที่โยมปรารถนา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่เมื่อเราไม่รู้อะไร..ถ้าอยากรู้ให้ภาวนาให้มาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ มีสติอยู่กับภาวนา อยู่กับกาย อยู่กับจิต อยู่กับตัวความรู้สึก ในความรู้สึกนี่แล..คือตัวสติ เมื่อโยมรู้สึกแต่ไม่รู้ว่าคือจิตในขณะนั้นเสวยอารมณ์ใดนี่แล..สติมันก็ขาดหายไป นั้นฝึกสติอยู่ตลอดเวลาเท่ากับว่าโยมเจริญศีลอยู่ตลอดเวลา

    ศีลตัวนี้จะเป็นการบังเกิดเปิดทุกอย่างให้โยมเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่เมื่อโยมระลึกเข้าถึงสติได้..ศีลหาว่าใช่จำเป็นไม่ เพราะศีลมันไปเกี่ยวเนื่องเป็นตัวเชื่อมต่อแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ถ้าสติโยมยังขาดหายอยู่แสดงว่าศีลโยมยังไม่บริบูรณ์ ยังบกพร่องอยู่ โยมว่ามันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันมั้ยจ๊ะ

    ศีลคืออะไร..การสำรวมกาย วาจา ใจที่ตั้งมั่นแล้ว เป็นปรกติแล้ว ใช่มั้ยจ๊ะ นั้นอารมณ์ที่ไม่ปรกติมีอะไรบ้าง มีอารมณ์แห่งโทสะเข้ามา มีโมหะคือความไม่รู้..ต้องแก้ด้วยการภาวนา มีราคะคือความอยากความทะยานอยากได้คือตัณหา คือความพอใจไม่พอใจเหล่านี้ เหล่านี้ผิดปรกติมั้ยจ๊ะ..นี่โยมต้องกำหนดรู้

    อย่าเพิ่งอยากรู้หนอ รู้ตัวนี้ให้ได้มากๆก่อน เพราะพอโยมข้ามตัวนี้แล้วทีนี้พอโยมอยากจะรู้อะไร..รู้ทุกอย่าง เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมไม่ต้องไปอยากเรียนมีฤทธิ์มีเดชหรอกจ้ะ สวดมนต์ก็มีฤทธิ์ได้ ภาวนาก็มีฤทธิ์ได้ แต่ขอให้บ่มให้มันถึงก่อน จะได้รู้ว่ารสชาติที่เราบ่มแล้วมันเป็นอย่างไร อย่าเพิ่งชิงสุกก่อนห่าม เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันจะกลายเป็นวิปัสสนูกิเลสไปเสีย..เอาวิปัสสนา

    คำว่า"วิปัสสนา"เป็นอย่างไร วิปัสสนามันต้องวิปัสสนาแล้วพิจารณาแล้วกำหนดแล้วต้องเป็นของจริง เมื่อเรากำหนดรู้ในกายเห็นในกายแม้ยังไม่เห็นจริง..แต่ว่ามันมีอยู่จริงมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : จริงค่ะ) อันนั้นเรียกว่าของจริง แต่อย่าได้ไปวิปัสสนูขึ้นมา คือเมื่อเรายังไม่เห็นจริงไปทึกทักไปอุปาทานว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นั่นเรียกว่าการส่งจิตออกไปภายนอก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เราต้องเอาจิตไว้ภายใน มันจะได้ไม่เสียกำลังแห่งสมาธิไม่เสียกำลังแห่งฌาน เมื่อสมาธิมันมีกำลังเติบโต..จิตโยมก็จะมีกำลังมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อมีกำลังมากอยากรู้อะไรมันก็จะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ดังนั้นฝึกรู้..รู้เท่าทันอารมณ์ให้อยู่บ่อยๆ แล้วโยมข้ามอารมณ์ไปได้เมื่อไหร่..โยมก็จะเห็นสิ่งที่โยมอยากรู้

    อารมณ์ตัวนั้นแล..ตัณหาอุปาทานมันคืออวิชชาที่มันบดบังตัวไม่รู้คือตัวปัญญาอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ค่อยๆฝึกแล้วค่อยๆพิจารณา..ไม่ต้องรีบ เพราะยิ่งรีบเมื่อไหร่แสดงว่าจิตโยมยังหยาบอยู่ สมาธิของโยมนั้นยังไม่ตั้งมั่น ถ้าจิตโยมค่อยๆตะล่อมมัน..หาอุบายมัน..ละมัน ค่อยๆปลงค่อยๆสละ จิตจะค่อยๆละเอียดขึ้นละเอียดขึ้น กำลังสมาธิมันก็จะมีมากขึ้นมากขึ้น..มากขึ้นต่อเนื่อง

    เช่นว่าโยมปฏิบัติไปแล้วมีความอ่อนล้ากายสังขาร โยมก็นอนไปกำหนดนอนไป เมื่อมีสติลุกขึ้นมา ไม่นับตอนนอนแล้วไม่มีสติแล้ว ก็กลับมานั่งลงไปอีกพิจารณาลงไปอีก เมื่อยังพิจารณาไม่ได้ก็ทรงกายทรงฌานไว้อยู่อย่างนี้ เมื่อสติมันได้รอบของมัน มันมีกำลังของมันแล้วนั่นแล..ตัวปัญญาวิมุติมันจะบังเกิดขึ้น

    คำว่าวิมุติ..คืออะไร คำว่าวิมุตินั้นเค้าเรียกว่าตัวหลุดพ้น ตัวข้ามพ้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อโยมข้ามพ้นสิ่งสมมุติได้ โยมจะเห็นของจริง แล้วอะไรเรียกว่าสิ่งสมมุติ โยมต้องข้ามพ้นกายตัวนี้ไปก่อน คือโยมต้องละสักกายทิฏฐิให้มาก โยมมีอัตตามากเท่าไหร่โยมก็จะไม่เห็นตน แต่โยมละตนได้มากเท่าไหร่โยมจะเห็นตนชัด ว่าที่แท้แล้วตนไม่ใช่ตน..ไม่ใช่เรา..ไม่ใช่เขา..ไม่ใช่ของใคร ใช่มั้ยจ๊ะ

    แต่ว่าตนหรือกายนี้สักแต่ว่าเป็นกาย เป็นสัตว์สิ่งของ เป็นบุคคลใดก็หาชื่อหานามไม่ได้ เป็นของสมมุติขึ้นมาตั้งอยู่ตั้งอาศัยของธาตุขันธ์เท่านั้นเอง เมื่อถึงเวลาไม่มีดิน น้ำ ไฟ ลมประกอบธาตุแล้ว มันใช้ประโยชน์ได้มั้ยจ๊ะ เหมือนท่อนไม้ท่อนซุงเหมือนซากศพซากผี..ให้พิจารณาละอย่างนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมจะเข้าถึงกรรมฐาน

    ดังนั้นฉันถึงบอกว่าถ้าโยมอยากตั้งมั่นในสมาธิและเจริญฌานวิปัสสนาให้เข้าถึงธรรม โยมต้องละตรงนี้ให้ได้ ข้ามมันไปให้ได้เสียก่อน เพราะถ้าโยมยังยึดกายอยู่ โยมจะข้ามอารมณ์ไปไม่ได้ เพราะว่าโยมยึดกายมากเท่าไหร่ เมื่อถึงเวลาเวทนามันเกิดขึ้นในความเจ็บความปวดนั้น..ตายทุกราย ยิ่งโยมดิ้นรนมันก็ยิ่งทรมาน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ถ้าโยมละ..ดับที่เหตุได้เมื่อไหร่ ผลจากการที่โยมไปดับเหตุได้มันจะเกิดความเย็นคือความสงบ ไฟที่ลุก..แล้วเราเอาน้ำไปดับมันต้องใช้เวลาที่มันจะเย็นมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ใช้เวลาค่ะ) ถูกต้อง นั้นเมื่อโยมพิจารณาธรรมแล้ว..ละรูปกายสังขารได้แล้ว ก็ทรงอารมณ์ในความสงบนั้นเสียก่อน อย่าเพิ่งไปทำอะไรมัน ดูซิว่ามันนิ่งจริงมั้ยมันสงบจริงมั้ย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แล้วมีผัสสะหรือมีโทสะหรือมีอารมณ์เหล่าใดมากระทบมั้ย จิตยังกระเพื่อมอยู่หรือเปล่า เข้าใจมั้ยจ๊ะ จิตมันจะรู้ของมันว่าจิตนิ่งเป็นยังไง จิตสงบเป็นยังไง จิตมีโทสะเป็นยังไง จิตมีราคะอย่างไร..นี่คือตัวรู้ของจิต ถ้าสิ่งเหล่านี้เราไม่รู้ไม่เท่าทัน..เค้าเรียกว่าจิตเราเข้าถึงความเคลิบเคลิ้ม

    ไอ้ตัวเคลิบเคลิ้มมันมาจากไหน..มันเกิดจากนิวรณ์ไงเล่าจ๊ะ แสดงว่าเรายังมีอารมณ์แห่งนิวรณ์อยู่ เราจะสลัดสิ่งนี้ออกไปได้ยังไง หนึ่งให้ภาวนา สองให้แผ่เมตตา สาม..ถ้านั่งแล้วไม่เกิดอะไรเลยให้โยมไปเดิน จำไว้นะจ๊ะ พากายสังขารเราไปเดิน เพื่ออะไร..เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถ ผ่อนคลายจิต

    ยิ่งโยมอยากจะนั่งแล้วอยากจะไปไอ้นั่นไอ้นี่แล้ว..ยิ่งเป็นการคาดหวัง บีบคั้นจิต โดยธรรมชาติจิตนี้..จิตไม่ชอบบังคับ ถ้ามันจะสารภาพอะไรแล้วโยมต้องเป็นมิตรกับมันก่อน ค่อยๆพูดคุยกับมัน ค่อยๆพิจารณาธรรม ยกธรรมตรึกตรองในธรรมสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้อยู่อย่างนี้ แล้วมันจะเป็นมิตรกับโยม เมื่อมันเป็นมิตรกับโยมแล้วมันจะคลายทุกอย่าง คือจิตมันจะสอนบอกทุกอย่างเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่มันเป็นอย่างนั้น..นี่คือวิปัสสนาโดยธรรมชาติของจิต

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    2A763AE9-231B-44F5-89B1-0AE4E6C2204B.jpeg

    ไม่ว่าหญิงไม่ว่าชายในยุคนี้ก็สามารถบรรลุธรรมกันได้หมด ถ้าพวกโยมมีแนวทางเดินไปทางเดียวกัน ที่พระองค์ท่านได้ตรัสทิ้งทางไว้ให้ มันไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นทางของใคร มันเป็นทางของผู้ที่ต้องการหลุดพ้น ไม่ว่าหญิงหรือชายมันก็สามารถไปได้กันทั้งนั้น อยู่ที่ว่าพวกโยมจะสามารถเอาชนะใจตัวเองได้หรือไม่

    แล้วนี่เดินอยู่มาตั้งนานเจอพุทโธบ้างหรือเปล่าจ๊ะ เดินมาบ้าง นั่งมาบ้างแล้ว ได้เจอพุทโธกันบ้างรึเปล่าจ๊ะ ฉันถามว่าได้เจอรึเปล่าได้พบรึเปล่า (ลูกศิษย์ : เจอเจ้าค่ะ) เจอแล้วท่านตรัสว่ายังไงบ้างจ๊ะ (คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเจ้าค่ะ) นั่นสิจ๊ะรู้อย่างไร ตื่นอย่างไร เบิกบานอย่างไร อ้าว..แล้วได้พบพุทโธแล้วท่านไม่ได้สนทนาธรรมด้วยเหรอจ๊ะ (ลูกศิษย์ : สนทนากับตัวเองเจ้าค่ะ แล้วก็ฝึกปฏิบัติ น้อมนำธรรมของท่านมาประพฤติปฏิบัติ เดินอยู่ก็รู้ ก้าวอยู่ก็รู้ ปฏิบัติอยู่ก็รู้ เพียรกระทำอยู่ก็รู้)

    อ้าว..แล้วไหนว่าเจอพุทโธไม่ใช่เหรอจ๊ะ ถ้าเราเจอพุทโธแล้ว..ตัวรู้มันก็ต้องดับหายไป ทีนี้เรารู้มากรู้ชัดหรือไม่ ถ้าเรารู้ชัดแล้วจิตมันจะค่อยๆตื่น เมื่อจิตมันตื่นมากๆแล้วจิตมันก็จะเบิกบาน สลัดความง่วงนิวรณ์ออกไปได้ แล้วได้พบพุทโธตอนไหนจ๊ะ..

    นั้นต้องดูว่าสติเราได้ห่างออกไปจากกายหรือไม่ สติเรายังอยู่กับลมหายใจหรือไม่ อยู่กับผัสสะที่มากระทบจิตเราหรือไม่ ถ้าสติเราหายไปจากกายนี้..จากลมหายใจก็ดี ในสติที่เรากระทำอะไรอยู่ก็ดี เมื่อผัสสะมันมากระทบแล้วเราไม่สามารถเท่าทัน อย่างนี้เค้าเรียกว่าเมื่อเราปฏิบัติไปมากๆแล้วนั้น..มันจะห่างเหินพระนิพพาน

    แต่ถ้าสติเราตั้งมั่นอยู่ในกาย อยู่ในเวทนา อยู่ในจิตของเรา อยู่ในธรรมที่ปรากฏขึ้นมา อย่างนี้เค้าเรียกว่าชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพาน การที่โยมรู้ เดินก็รู้ นั่งก็รู้เหล่านี้ เมื่อรู้แล้วเราเอามาทำอะไร เราจะไปรอให้ธรรมมันบังเกิด บางครั้งไอ้ตัวรู้นี้หรือสมถะนี้ที่เรายังไม่แข็งแรงพอ สมาธิมันยังไม่ตั้งมั่น มันก็เหมือนว่าต้นไม้มันยังไม่มีกำลังพอ มันอาจจะล้มลงไปอีกก็ได้ นั่นเรียกว่าสติมันหลุดหายไป

    นั้นก็ขอให้เรานั้นรู้จักปรารภธรรม ปรารภจิต ปรารภธรรมปรารภจิตคืออะไร ก็เหมือนเราหยิบยกธรรมข้อใดข้อหนึ่ง เหมือนเราพูดคุยกับจิตตัวเองว่าเรามาประพฤติปฏิบัติแล้ว เรามาทำอะไร ต้องการอะไร นั้นจิตที่เราปรารถนาในความเพียรในการปรารภความเพียร ขอให้เรานั้นยกจิตขึ้นมา หยิบยกธรรมมาปรารภพิจารณา

    นั้นการที่เราจะอยู่ใกล้พระนิพพานเป็นอย่างไร เราต้องหยิบยกกายขึ้นมาพิจารณา คือเพ่งโทษในกาย กำลังเดินอยู่ก็เพ่งโทษได้ พิจารณาธรรมได้..แล้วเพ่งโทษมันอย่างไร การเพ่งโทษเค้าเรียกการรู้ว่าโทษในกายนั้นมีโทษอย่างไร โยมรู้หรือเปล่าจ๊ะ..ว่าในกายเรามีโทษอย่างไรบ้าง

    การจะเพ่งโทษอะไรก็ตามให้รู้ว่าสิ่งที่เรามองหรือหยิบยกขึ้นมานั้น เป็นแต่ของที่ไม่ดี จึงเรียกว่าเป็นโทษ ถ้าของดีมันคงไม่เป็นโทษได้ นั้นเรียกเอาทุกข์ไปเพ่งโทษ แล้วการเพ่งโทษโยมต้องรู้ว่ากายนี้มันมีโทษอย่างไร หรือเรียกว่ามันมีโทษมากกว่าคุณนั้นเอง หรือว่ามันมีทุกข์มากกว่าสุขอย่างนี้..

    กายนี้มีโทษอย่างไรบ้างจ๊ะ.. (ลูกศิษย์ : มีภาระ) การที่โยมได้สดับฟังแล้วแล้วพิจารณาแล้วตอบออกมานี้..นี่แหล่ะจะทำให้ปัญญาโยมมันเกิด เมื่อโยมไปประพฤติปฏิบัติธรรมโยมจะได้ปรารภธรรมของตัวเองได้ ไม่ต้องรอให้ธรรมบังเกิด ไม่ต้องรอให้เวทนาบังเกิด ไม่ต้องรอให้ผัสสะบังเกิด หรือสัญญาหรือความคิดที่ปรุงแต่งฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมาแล้วค่อยไปกำหนดรู้มัน เมื่อเราเพ่งอยู่ตึกตรองอยู่อารมณ์แห่งธรรม..นั่นก็ชื่อว่าเราอยู่ในใกล้ฝั่งพระนิพพานเช่นเดียวกัน

    นั้นโยมต้องรู้ว่ากายนี้มีโทษอย่างไร กายนี้มีโทษอย่างไรบ้างจ๊ะ กายนี้มีความเจ็บมั้ยจ๊ะ กายนี้มีความป่วยหรือเปล่า มีความเสื่อมหรือไม่ แล้วมันเป็นของธรรมดาหรือไม่ นี่แหล่ะเรียกว่าโทษ..ให้โยมเพ่งมันเข้าไป มองแต่ส่วนไม่ดีไป นี่คือละอารมณ์ในรูปเสียก่อน นี่จะเป็นพื้นฐานและหัวใจของกรรมฐาน ไม่ว่าโยมจะเจริญอานาปานสติอย่างไร โยมก็ต้องมาพิจารณาละที่กายก่อน แม้มันจะละไม่มากหรือรูปยังไม่ดับ..ก็เพียรละอยู่บ่อยๆ ให้มันชำนิชำนาญ ให้มันชิน ให้มันเคยตัว ให้ปัญญามันเคย

    เมื่อเราพิจารณาอยู่ในกายอยู่บ่อยๆแล้วเห็นโทษเห็นคุณในการเกิดแล้ว เห็นภัยในวัฏฏะอย่างนี้แล้ว มันจะทำให้เรานั้นเกิดความเบื่อหน่าย ทุกครั้งที่เราจะประพฤติปฏิบัติ เราจะประพฤติปฏิบัติไปเพื่อการหลุดพ้น ไปเพื่อการละ..ไม่ได้ยึด เมื่อมันพิจารณาอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ การปฏิบัตินั้นก็จะรุดหน้า

    แล้วถ้ายิ่งเดินก็รู้ นั่งก็รู้ มีสิ่งใดเข้ามาก็รู้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการเจริญสมถะ เพราะตัวรู้มันยังไม่ดับเมื่อตัวรู้มันไม่ดับแล้ว..ตัวปัญญามันก็เกิดได้ยาก งั้นเราอย่าไปรอให้มันมันดับหรือว่ารอให้มันเกิด เราก็สามารถตรึกตรองยกธรรมขึ้นมาพิจารณาได้

    เมื่อเรายกธรรมมาพิจารณานั้นแล ในขณะจิตเราสำรวมกายวาจา..หรือสมาธิหรือฌานมันก็บังเกิดแล้ว เมื่อเรากำหนดพิจารณายกธรรมมาปรารภ เรียกว่าวิปัสสนามันก็บังเกิด เข้าใจมั้ยจ๊ะ สิ่งใดการใดเราก็เดินเราก็รู้ นั่งก็รู้อยู่แล้ว เราก็ทำเหมือนเดิมอยู่อย่างนี้ เค้าเรียกว่ามันไม่ไปไหน เข้าใจมั้ยจ๊ะ และนี่เค้าเรียกว่าแม้จะเจริญความเพียรมากเพียงใด..แต่ขาดซึ่งสติแล้ว มันจะทำให้เรานั้นเหนื่อยล้าในการประพฤติปฏิบัติ

    แท้ที่จริงแล้วการประพฤติปฏิบัตินั้น..ข้อสำคัญคือมีสติเท่าทัน ที่เรานั้นจะตัดความเพลิดเพลิน ความสุข กามตัณหา หรือความอยากทั้งหลายหรือกิเลสนี้แล นั้นการที่เรามาฝึกรู้ ฝึกดู ฝึกเห็นนี้..เพื่อให้เรานั้นเกิดสติ แต่การที่ดูที่แท้จริงนั้นมันต้องดูด้วยเกิดจากปัญญา

    นั้นเมื่อเรารู้มากๆเข้านี้เพื่อว่าเป็นการปลุกจิต รู้ว่าทำอย่างนี้..เรียกว่าเป็นการย้ำเตือน เรียกว่าย้ำสติ เมื่อรู้มากๆเข้ามีกำลังมากของจิต มันก็เรียกว่าจิตมันก็จะตื่นรู้ เมื่อตื่นรู้แล้วก็เรียกว่าจิตเข้าถึงการจิตเบิกบาน พ้นจากสภาวะที่เมฆหมอกตัณหามันมาปกคลุมหรือบดบัง มันก็จะทำให้เรานั้นเมื่อจะเจริญปัญญาแล้วมันก็เห็นได้ชัด

    นั้นการที่เรานั้นปรารภจิตปรารภธรรมในการเพ่งโทษกายนี้ ก็เพื่อการละอารมณ์แห่งความพอใจ เมื่อเราละอารมณ์ได้มากเท่าไหร่ เวทนาหรือความรู้สึกนั้นมันก็เบาลง เมื่อมันเบาลงแล้วจิตเราก็จะมีกำลังในความเพียรมากยิ่งขึ้น นั้นขอให้โยมจงเพ่งโทษในกาย ลองพิจารณาทบทวนดู เราเกิดมาถึงบัดนี้แล้ว มีอะไรบ้างว่ากายสังขารนี้..มันยังให้คุณให้ความสุขเรามากเพียงใด อันนี้เค้าเรียกว่าเราตกเป็นทาสของกายสังขารมาเนิ่นนาน หรือเรียกว่าตกเป็นทาสมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    8662E3B6-BFC7-4A14-87A1-2A3FDB1D7AB0.jpeg

    การเพ่งโทษในขันธ์ ๕ คือการละอารมณ์ ละให้มากที่สุด เพราะหัวใจของกรรมฐานคือการเพียรละ เมื่อละถึงที่สุดแล้วไม่มีอารมณ์แล้วจิตมันก็สงบ จิตมันก็ว่าง นั่นแลเรียกว่าเราเข้าถึงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แต่เมื่อพุทโธเกิดขึ้นแล้วก็เอาพุทโธนั่นแลไปอบรมบ่มจิต ไปอบรมบ่มจิตไปอบรมที่ไหน..กาย กายานุสตินี้แลเราอบรมเรียนรู้มันให้มากๆ

    เพราะที่เราไปหลงกายอยู่นี้ ไปหลงอะไร หลงหนัง..หนังเมื่อไม่มีห่อหุ้มกายแล้วจะเป็นอย่างไร ใต้ผิวหนังเรามีอะไร มีน้ำเลือดน้ำหนอง..ก็เพ่งพิจารณาดูธาตุ สีสันวรรณะ น้ำเลือดน้ำหนอง ก็ให้พิจารณาอย่างนี้ ถ้าเราพิจารณาได้อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเห็นสภาวะความไม่เที่ยงนั่นแล ก็เราให้พิจารณาให้เห็นอยู่บ่อยๆ จะทำให้จิตเรานั้นคลายจากความกำหนัด ความยึดมั่นถือมั่นในกาย แม้เรายังมีหลงรูปพอใจ มันก็เป็นธรรมดาในขณะจิตที่เรานั้นออกจากสมาธิออกจากฌานเสียแล้ว มันก็จึงเป็นวิสัยของมนุษย์ธรรมดา

    แต่เมื่อในขณะจิตที่เราเจริญกรรมฐาน เราต้องน้อมจิตเพื่อเข้าถึงเพื่ออะไร..เพื่ออบรมบ่มจิต เรานั้นแล..เมื่อเราเห็นโทษเห็นภัยมันมากเข้าแล้ว มันจะละรูปละความพอใจของมันไปในตัวทีละเล็กทีละน้อย ดังนั้นไม่ต้องถามว่าการเจริญพระกรรมฐานนี้มันจะสิ้นสุดอย่างไร กิเลสมันจะดับสลายไปตอนไหน..ไม่ต้องไปถามหามัน มันจะทำให้อุปาทานในขันธ์เกิดขึ้น

    แต่เมื่อเราทำอยู่บ่อยๆ ละอยู่บ่อยๆ ในขณะนี้ทำตอนนี้ นั่นแลมันจะเป็นผู้บอกเองว่าเราจะละได้มากเท่าไหร่ การเจริญกรรมฐานมีความก้าวหน้าอย่างไร จะรู้ได้อย่างไร ดูซิว่าโกรธมันลดลงมั้ย โลภมันลดลงมั้ย โมหะมันเหลือน้อยมั้ย ถ้าสามตัวนี้พิจารณาแล้วเพ่งดูแล้วด้วยจิตด้วยญาณมันน้อยลง ถ้ามันน้อยลงสติของเราจะควบคุมมันได้ แต่ถ้ามันมากเหมือนความเร็วของรถถ้ามันเร็วจนเกินไปเราจะควบคุมยาก ถ้าเราขับพอประมาณอยู่ในวิถีสติของเรากำลังของเราในความสามารถ เราก็จะบังคับบังเหียนมันได้ เท่าทันมันได้ในสตินั้น คือไม่ประมาท

    นี่ก็เช่นกัน สิ่งที่เรามาเจริญกรรมฐาน บุญกุศลที่เรามีอยู่มันพัฒนาอย่างไร ถ้าสิ่งไหนลด..คุณธรรมภูมิธรรมเราก็เพิ่ม ถ้าสิ่งไหนมันเสื่อม..คุณธรรมภูมิธรรมเราก็ลด ก็ให้พิจารณาอย่างนี้ ไม่ต้องไปถามครูบาอาจารย์ที่ไหนว่าฉันนั้นสำเร็จขั้นไหนแล้ว ได้ภูมิธรรมอะไร ไม่ต้องไปถามหาขั้น เพราะบุคคลประพฤติปฏิบัติแล้วจะรู้ด้วยจิตของตัวเอง

    หากโทสะ โมหะ โลภะ ไอ้พญามารสามตัวนี้ โยมสามารถควบคุมและลดมันลงไปได้ ถ้าเราสามารถลดมันได้ ควบคุมมันได้ ทีนี้แล้วเมื่อเรากำหนดรู้อยู่บ่อยๆมันก็เป็นประโยชน์ เราจะได้รู้ว่าทางเดินที่เราจะออกจากทุกข์นั้นมันอีกไกลแค่ไหน ความเพียรเราต้องมีมากแค่ไหน..

    ดังนั้นทุกข์เวทนาเค้าไม่ได้ให้มาเป็นทุกข์ แต่เค้าให้รู้ทุกข์ ทีนี้โยมรู้ถึงที่สุดหรือยัง บางคนยังไม่รู้ถึงที่สุด พอเจ็บนิดก็ทนไม่ได้ เมื่อเรายังไม่มีการข่มเวทนาหรือข่มอารมณ์..นี่เรียกว่าการสะกดวิญญาณ ถ้าเราไม่รู้จักสะกดวิญญาณ อารมณ์มันจะพลุ่งพล่านอยู่ตลอดเวลา

    ดังนั้นเวทนาเกิดขึ้นก็ดี ความไม่พอใจก็ดีเราต้องรู้จักข่มจิต คือข่มอารมณ์ ต้องทำใจให้ได้ก่อน..ว่าเราทำไปเพื่ออะไร เรากำลังทำอะไรอยู่ มันต้องรู้ใจตัวเองก่อนถึงจะไปรู้อารมณ์ แล้วถึงจะไปรู้สภาวะจิตได้ ถ้าเราไม่รู้จักข่มจิตข่มใจเสียเลย..หิริโอตัปปะมันไม่มีทางเกิดขึ้นได้แน่นอน เทวดาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิมันไม่สามารถหนีจากเราไปได้แน่นอน มันก็จะเกาะบุญเกาะกุศล ทำให้เราหลงฤทธิ์หลงเดช หลงตัวหลงตน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนเทวดาที่อยู่กับเราเสียให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็เปลี่ยนอะไรเล่าที่จะเป็นอย่างนั้น เปลี่ยนจากตัวเรา เปลี่ยนจากต้นกำเนิดตัวเรา ให้เรามีศีล ให้เรามีหิริโอตัปปะ ให้เรามีความเกรงกลัวต่อบาป

    สิ่งไหนที่เรามีโอกาสที่จะทำชั่วได้โดยที่ไม่มีใครเห็นก็ตาม..แต่เราไม่ทำ นั่นแลเค้าเรียกว่าบารมี มีขันติธรรม นั้นก็ค่อยๆฝึกไปทีละเล็กละน้อยมันจะมากเอง ต้องอย่าลืมว่าทีละเล็กละน้อย..บุญที่ทำแล้ว กรรมชั่วก็ดีทำแล้วแม้เพียงเล็กน้อย..ไม่มีทางหายไปเลย ยังคงอยู่เป็นรอย เมื่อขีดไปแล้วจะว่าไม่เป็นรอยเป็นไปไม่มี เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    B6DBFCB1-6CA8-4EC3-8844-9BE22623EECF.jpeg

    อันว่ากายสังขารนี้เป็นของมีทุกข์อยู่แล้ว เราจงอาศัยสังขารนี้เพื่อฝึกจิตให้รู้ทุกข์ ไม่ได้บอกว่าให้เรานั้นหนีออกจากทุกข์ เมื่อเราเกิดมาพร้อมกับกองขันธ์ พร้อมกับความทุกข์ เราจะไปหนีทุกข์นั้น..เป็นของที่ทำได้ยาก แต่ทางหนึ่งที่เราทำได้คือรู้ทุกข์ เมื่อเรารู้ทุกข์เท่ากับว่าเราจักรู้กรรม เมื่อเรารู้กรรมเราจึงค่อยไปกำหนดกรรม ตั้งจิตให้มันดีให้มันมั่น..อธิษฐานบุญกุศลที่เราเคยทำมา แผ่เมตตาจิตให้กับสภาวะร่างกาย

    อันว่าร่างกายสังขารเรานี้ เราก็สามารถแผ่เมตตาจิตได้ แผ่อย่างไร..ก็ว่ากุศลอันใดที่ว่าข้าพเจ้าได้เคยทำมาแล้วในทาน ศีล ภาวนา ในทุกภพทุกชาติหรือในขณะนี้แล้วก็ตามที ด้วยอำนาจบุญกุศลแห่งพระรัตนตรัย จงช่วยขจัดปัดเป่าแห่งภัยพาล ในโรคอะไรก็ตาม คุณลมคุณไสยที่ข้าพเจ้าในสังขารนี้ จงช่วยขจัดภัยใดทั้งหลายนี้ ให้สภาวะกายสังขารของเรานี้เป็นปรกติ ด้วยอำนาจศีล ทาน ภาวนาที่ข้าพเจ้าได้กระทำมาแล้ว

    ขอบุญกุศลเหล่านี้จงสำเร็จประโยชน์กับทุกดวงจิตที่ข้าพเจ้าได้เคยเบียดเบียนด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นภพใดก็ตาม ทุกรูปทุกนาม ทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด จงมาโมทนาบุญกับกุศลกับข้าพเจ้า และจงอโหสิกรรมในกรรมทั้งปวงที่เคยได้มีอาฆาตพยาบาทมาดร้ายต่อกัน ขออำนาจบุญกุศลแห่งพระรัตนตรัยจงอดอาฆาตพยาบาทมาดร้าย ขจัดปัดเป่าภัยให้มลายหายลงไป..ก็ด้วยอำนาจบุญกุศลนี้ด้วยเทอญ

    นี่เรียกเป็นการรักษากายสังขารของเรา เราก็ต้องรักษาด้วยบุญ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วอธิษฐานบุญกุศลว่าเราจะเอากายสังขารที่เรามีกำลังพอที่จะใช้งานอยู่นี้เอาไปทำอะไร หากเมื่อเราจะต้องการเอากายสังขารนี้ไปเพื่อเจริญบุญกุศล เจริญพระศาสนาก็ดี เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมก็ดี จะมีเทพเทวดาก็ดี ท้าวเวสสุวรรณโณก็ดีจะคอยตามดูแลรักษากายสังขารของเรานั้นเมื่อเราจะสร้างความดี เค้าเรียกเป็นการชะลอ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เรียกเป็นการปกป้องคุ้มกันภัยให้เรา

    ดังนั้นเมื่อกายเรานี้ไม่มีอะไรคุ้มครองดูแลก็ดี หรือเรียกว่าจิตอ่อน จิตที่ไม่ถูกฝึกจึงเรียกว่าจิตอ่อน เข้าใจมั้ยจ๊ะ จิตผู้ที่ฝึกแล้วย่อมเข้มแข็ง นั้นเราต้องดูว่าจิตเรานั้นเป็นอย่างไร คนที่จิตแข็งเป็นอย่างไร จิตมีภูมิคุ้มกันเป็นอย่างไร จิตมีอะไรป้องกันก็ดีนั้นเรียกว่าถ้าอารมณ์อะไรเกิดขึ้นแล้ว..เรียกว่าเราเท่าทันอารมณ์ ละวางอารมณ์และดับอารมณ์นั้นได้ ไม่ยึดไม่ติดในอารมณ์ ไม่ถือในอารมณ์นั้นได้ เรียกว่าเรานี้ได้ฝึกจิต..จิตเรามีภูมิคุ้มกันมาแต่ปางก่อน คือวาสนาเคยกระทำมา

    ถ้าจิตของผู้ใดไม่มีภูมิคุ้มกัน เมื่ออารมณ์อะไรมากระทบก็ดี มันก็จะอ่อนแอและเข้าไปสิงอยู่ในใจ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ย่อมทำให้เกิดทุกข์เกิดภัยพาล เกิดความหดหู่เศร้าหมองใจ เกิดความอาฆาตพยาบาทได้ สิ่งเหล่านี้แล..บุคคลพวกนี้เค้าเรียกว่าขาดที่พึ่ง ดังนั้นที่พึ่งที่เป็นธงชัย..ก็คือที่พึ่งแห่งพระรัตนตรัย

    นั้นการที่โยมทั้งหลายจะเจริญภาวนาจิตก็ดี หากได้มีการสำรวมกาย วาจา ใจ ได้เจริญภาวนาสาธยายมนต์แล้วก็ตามที ย่อมทำให้จิตผู้นั้นเข้มแข็ง มีกำลังอาจหาญ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะในขณะที่โยมสาธยายมนต์อยู่นั้น ได้เป็นการเปล่งวาจาอันเป็นมงคล เป็นการสรรเสริญคุณงามความดีของพระรัตนตรัย ย่อมจะทำให้เทพเทวดาทั้งหลายมาสถิตมาชุมนุมห้อมล้อมให้เป็นมงคล เกิดรัศมี เกิดอำนาจแห่งทิพย์ เกิดกำลังจิต สิ่งเหล่านี้เรียกว่าเรานั้นได้ดึงดูดพลังที่ดีเข้ามาสู่ในกาย

    เมื่อพลังที่ดีนี้เข้ามาสู่ในกายย่อมผลักดันสิ่งที่ไม่ดีนั้นออกมาทางกระหม่อมก็ดี จากรูทวารก็ดี จากรูขุมขนก็ดี จากเหงื่อไคลก็ดี จากความร้อนภายในออกมาสู่ภายนอกก็ดี สิ่งเหล่านี้เรียกว่าเป็นพุทธคุณทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ มนุษย์อาจจะยังไม่เข้าใจ เห็นว่าการสวดมนต์นั้นมีประโยชน์น้อยและเสียเวลามาก แท้ที่จริงแล้วมันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะการสาธยายมนต์นี้จึงเรียกเป็นการล้างของสกปรกอย่างหนึ่ง เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ยังไม่ได้ขัดคราบสกปรกออกไป

    การจะขัดคราบสิ่งสกปรกที่มันฝังแน่นในใจนี้ หรือเปรียบเหมือนภาชนะที่มันติดแน่น ก็ต้องอาศัยการขัด การจดจ่อ การเพ่งดู การพิจารณา การอาศัยของเครื่องชำระ ก็ต้องอาศัยทาน ศีล หรือการภาวนา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่ใช่ที่โยมสวดมนต์สาธยายมนต์กันนั้นเพื่อเป็นการอ้อนวอนขอให้ข้าพเจ้าพ้นทุกข์..นั้นเป็นสิ่งที่ว่างมงาย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แต่ว่าการสาธยายมนต์นั้นเป็นอุบายแห่งธรรม เป็นพื้นฐานหรือว่าเป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบขั้นแรก..ที่จะนำดวงจิตโยมนั้นเข้าไปสู่ในพระรัตนตรัย เข้าไปสู่ความเชื่อ เพื่อจะให้เข้าถึงความศรัทธา เพราะศรัทธานี้จะเป็นหนทางที่จะเข้าสู่พระนิพพานอย่างหนึ่ง หากโยมไม่มีศรัทธาในสิ่งใดแล้ว..ความหวังก็ดี..จุดหมายปลายทางก็ดี..ย่อมกำหนดอะไรไม่ได้เลย

    มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...