ชินราชอินโดจีน,ลพ.ปาน,นาดูน,กริ่งชินบัญชร,ชินกรุ วร.อยุธยา,อ.ฝั้น อาจาโร

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย stoes, 19 สิงหาคม 2010.

  1. teerapolhaviros

    teerapolhaviros เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2011
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +521
    รบกวนสักองค์นะครับอาจารย์แต่ตัดมาแค่ 6 เองนะครับ ไม่ครบ 9 ครับ
    เช่ามาจาก จ.มหาสารคาม 2-3 ปีแล้วครับ ภาพไม่ค่อยชัดเท่าไหร่นะครับ
    ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • R0013499.JPG
      R0013499.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3 MB
      เปิดดู:
      247
    • R0013500.JPG
      R0013500.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.3 MB
      เปิดดู:
      111
    • R0013501.JPG
      R0013501.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.2 MB
      เปิดดู:
      103
    • R0013498.JPG
      R0013498.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.3 MB
      เปิดดู:
      118
  2. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    การตอบไม่ยากเย็น...ถึงแม้จะเช่ามาจากสารคาม ถิ่นกำเนิดพระนาดูน
    เพราะผมเวลาดูพระไม่สนใจประวัติที่มา สำหรับองค์นี้เป็นพิมพ์เหมือนตุ๊กตาใหญ่
    องค์พระเรียงเป็นระเบียบเกินไป ซึ่งของจริงไม่ใช่ลักษณะอย่างนี้ เรียกว่าผิดพิมพ์
    สำหรับเนื้อพระที่ดูแล้วจืดสำหรับนาดูนก็มี แต่ธรรมชาติด้านข้างรอยตัดนั้น
    จะมีสามชั้น คือชั้นหน้า ชั้นหลัง และชั้นกลาง ชั้นหน้าและหลังบางชิ้นสี่เข้มเท่ากัน
    บางชิ้นสีชั้นหน้าจะเข้มกว่าชั้นด้านหล้ง แต่ชั้นกลางอย่างไรสีก็จะจืดกว่าเพราะถูกไฟแต่อยู่ข้างใน
    เรียกว่ามีสามชั้น และพระบางชิ้นที่แตกหัก คนแกะพระก็นิยมนำมาแกะเป็นพระที่ขึ้นรูปใหม่ก็มี
    เรียกว่าเนื้อแท้แต่พระไม่แท้ก็มี สรุปองค์นี้เมื่อพิจารณาตามที่บรรยายมาถือว่าไม่แท้ครับ
     
  3. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    รบกวนพี่ stoes องค์นึงครับ พระพุทธชินราชหน้านางอกเลา แต่เนื้อหา พิมพ์ไม่ได้ อกเลาด้านล่างก็ไม่ใช่ และอกเลา ด้านหน้า ด้านหลัง แบบ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้วแต่หน้าไม่ใช่พระพุทธชินราชที่หลวงปู่เผือกสร้าง ไม่ทราบมีที่ใดสร้างอีกหรือป่าวครับ คนเขาให้มาเห็นแล้วแปลกเลยนำมาฝากถามครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • shin1.jpg
      shin1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      391.7 KB
      เปิดดู:
      120
    • shin2.jpg
      shin2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      397.2 KB
      เปิดดู:
      93
    • shin3.jpg
      shin3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      216.1 KB
      เปิดดู:
      88
  4. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เสียดายมาก ๆ เลยครับ คุณทิพย์มงคล ใช้เวลาเขียนบรรยายข้อความใช้เวลายาวมาก
    พอจะส่งข้อความปรากฏว่าเบราเซอร์แฮ้ง ข้อความที่บรรจงเขียนมลายหายไป
    ถ้าจะเขียนใหม่คงต้องใช้เวลามาก เป็นอย่างนี้หลายครั้งแล้ว เสียดาย

    ผมขอสรุปสั้นว่า ถ้าไม่มีสังกัดคือ เป็นพระอุปโลกน์อย่างเดียว
    เพราะเรื่องการหล่อนั้น สำหรับคนมีวิชาทำง่าย เมื่อไม่นานผมพบ
    เหรียญหล่อหลวงพ่อเฮง วัดบ้านขอม สมุทรสาคร หล่อได้ดีมาก
    แต่ไม่มีในสารบบ เจ้าของพระบอกไม่ทราบที่ แต่ขาย 2500 ได้เงินแน่ ๆ
    สำหรับองค์ ชินราชพิมพ์ อกเลานูน เป็นสังฆาฏิยาวด้านหน้า
    แต่ด้านหลังกับไม่ถึงฐานเรียกว่าผิดพิมพ์ เนื้อออกสีเหลืองธรรมดาคาบสีจำปาไม่เกี่ยว เรียกว่าผิดเนื้อ ขอบรรยายสั้น ๆ แค่สองจุดครับ ขออภัยด้วยครับ
     
  5. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    ขอบพระคุณมากครับ พี่stoes คนทำก็ช่างคิดจะทำนะครับ ทำทั้งทีดันมาทำคาบลูกคาบดอก ผมเห็นตอนแรกนี่ เกาหัวเลย งง ไม่เคยเจอ รู้ว่าคงไม่ใช่ แต่ก็อดสงสัยไม่ได้
     
  6. ยากจริง

    ยากจริง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +105
    องค์นี้แท้ไหมครับพี่ ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.JPG
      1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      55.5 KB
      เปิดดู:
      235
    • 2.JPG
      2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      59.7 KB
      เปิดดู:
      217
  7. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    องค์นี้ถ้าจะแท้ก็ดูยากเพราะว่าเป็นภาพถ่าย ข้อหนึ่ง
    พระแท้หลวงพ่อปานที่ผมดูมาส่วนใหญ่สะอาด ถึงลงรัก ก็รักเขา
    คือเคยดูหลายสภาพ แบบสึกมาก ๆ ก็มี ก็ยังดูออก แต่ที่คุณยากจริง
    นำมาถามดูผ่าน ๆ ดี ดูจริง ๆ ไม่ดีสำหรับองค์นี้ ด้านหลังแบนเกินไป
    ส่วนใหญ่จะเกิดร่องรอยการยกพรขึ้นจากพิมพ์จึงเกิดสันนูน ส่วนใหญ่ถ้าแบน
    บางแบบนี้มักเก๊
    ธรรมชาติในจุดนี้ไม่ผ่าน ส่วนสีดำที่มองเห็นตอบตามตรงมองไม่ถนัด
    เพราะภาพถ่ายนี้ยังไม่สมบูรณ์แบบ ความชัดสวยของภาพขาดอรรถรสในการดูและการมองมาก
    และก็สำคัญมากที่จะชี้เก๊แท้ครับ
     
  8. ยากจริง

    ยากจริง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +105
    ขอบคุณครับได้วิธีการดูเพิ่มเติมเป็นความรู้ ขอบคุณครับ
     
  9. greenpower

    greenpower สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +0
    รบกวนอีกครั้งพี่ ที่ไหน เหมือกริ่งแต่สั่นแล้วไม่มี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3267.jpg
      IMG_3267.jpg
      ขนาดไฟล์:
      621.3 KB
      เปิดดู:
      134
    • IMG_3269.jpg
      IMG_3269.jpg
      ขนาดไฟล์:
      613.4 KB
      เปิดดู:
      150
    • IMG_3274.jpg
      IMG_3274.jpg
      ขนาดไฟล์:
      693.9 KB
      เปิดดู:
      135
  10. akkhawee

    akkhawee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,908
    ค่าพลัง:
    +5,260
    มาแวะเยี่ยมชมครับพี่stoes แอบมาศึกษาเงียบๆเก็บความรู้ครับ (แอบซุ่มฮ่าๆๆ)
     
  11. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    พระกริ่งส่วนใหญ่จะมีเครื่องหมายบ่งบอกให้ดูว่ามีที่มาพอคาดเดาได้
    แต่องค์นี้ขาดสัญลักษณ์ ในการดูจึงทำให้ผมไม่ทราบจริง ๆว่าสร้างที่ไหน
    ลองดูท่านอื่นนะครับ
     
  12. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ขอบคุณคุณ Akkhawee ครับที่มาเยื่ยมชม
     
  13. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    วิเคาะห์ประวัติศาสตร์พระคง ลำพูน

    [​IMG][​IMG]


    <DD>เรื่องพระสกุลลำพูน นั้น หลังจาก การศึกษาของนักประวัติศาสตร์ โดยอาศัยตำนานเป็นต้นตอเพื่อสืบสาว เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ยุคสมัยทวารวดีมีอยู่จริง พระนางจามเทวี ก็ตัวตนจริง มิใช่เพียงนางในตำนาน
    ------------------------------
    ประเด็นจึงอยู่ที่ แล้ว พระนางจามเทวี เป็นผู้สร้างพระสกุลลำพูน ตามตำนานพื้นบ้านที่เช่าขานกันมาจริงหรือปล่าว( สมัยนั้น การสร้างพระ ไม่มีโบรชัวร์ จึงยากต่อการค้นคว้า )
    ความเชื่อเรื่อง พระสกุลลำพูน สร้างโดยพระนาง จามเทวี มิได้เกิดจาก การสร้างกระแสปั่นราคาของเซียนพระ ( ปั่นพระคงกันยังไง ราคาต่ำกว่า หลวงพ่อปานที่ในอดีตเป็นพระน้ำจิ้ม)
    <DD>แต่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของมหาชน สมัยที่ยังไม่มีบาร์มหาผัน ยังไม่มีศูนย์พระ และเป็นการเชื่อตามตำนานที่เล่าสืบทอดกันมาปากต่อปาก (สมัยนั้น ยังไม่มีบริการฝากข้อความ ว้อยซ์เมล์ บ็อกซ์ หรือ โน้ตบุ๊ก<DD>@ อยากรู้เรื่อง พระคงอย่าไปถาม สาวยาคูลท์ @ <DD>ถ้าผมอยากรู้เรื่องพระเครื่อง ไปศึกษาจากนักวิชาการที่ท่านมิได้ให้ความสำคัญกับ พระเครื่อง ก็ย่อมไม่ได้ข้อเท็จจริง และการไม่ได้ข้อเท็จจริง หรือไม่ได้กล่าวถึง ย่อมไม่สามารถนำไปสู่ข้อสรุปได้ว่า พระพิมพ์สกุลลำพูน รวมทั้งพระคง ไม่ได้มีความสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ <DD>@ อยากรู้เรื่องพระเครื่อง ศึกษาจากนักศึกษาพระเครื่องชั้นครู
    ผมเพียงอยากนำเสนอ เอกสาร ที่ท่านตรียัมปวาย(ผู้ล่วงลับ) ได้ใช้เวลากว่าครึ่งชีวิต ศึกษาเรื่องพระเครื่อง ต้นกำเนิดความคิด เบญจภาคี
    โดยเฉพาะพระสกุลลำพูน ท่านได้ศึกษาแบบเจาะลึก ลงเฉพาะด้านพระเครื่อง มากกว่านักวิชาการคนใด
    รวมทั้งการยอมรับในพระสกุลลำพูนว่า ได้สร้างในสมัย ทวารวดี ของกรรมการชาติเป็นกลางอย่าง พี่เดย์(ไม่ได้เปิดเว็บ ขายพระคง )
    <DD>[​IMG]<DD>จะว่า ไม่มีการพูดถึงพระคง เห็นจะไม่ถูกนัก
    เพราะเห็นเค้าคุยกัน กระหนุง กระหนิง เรื่องพระคงด้วยล่ะ
    <DD>[​IMG]<DD> <DD>ท่อนที่สองครับ<DD> <DD>[​IMG]

    <DD>สรุปความตามท้องเรื่อง <DD>ท่านตรียัมปวาย เชื่อหลักฐานว่าพระสกุลลำพูน สร้างในยุคทวารวดี มิใช่ยุคศรีวิชัย หรือลพบุรี (ไม่เคยคิดลงมาถึงอยุทธยา)

    และได้พยายามให้ ท่านศ.เซเดส์ ช่วย คอนเฟิร์ม อีกที
    -----
    ท่านเซเดส์ ก็ช่วยคอนเฟิร์มให้ โดยบอกว่าเห็นพ้องด้วยว่า "พระคง"และพระลำพูนอื่นๆ ไม่ได้มี ศิลปะ ศรีวิชัยมาแปดเปื้อนเลย
    </DD>
    [​IMG]

    จดหมายจริงเป็นภาษาไทย

    <DD>ถ้าจะให้ร่วมสมัยหน่อย ก็ต้องเปลี่ยนเป็นเพลงว่า...... <DD>คุณครูครับ คุณครูครับ ผมมีปัญหา อยากจะถามคุณครูว่า........
    พระคง สร้างกันไว้ เมื่อไหร่ครับ......เมื่อไหร่ครับ...
    สมัยทวาร ..ศรีวิชัย...หรือลพบุรี หรือลพบุรีครับ
    ---------
    <DD>แล้วคุณครูก็จะทำเสียงเบิบๆแล้วตอบว่า..... <DD>ผิดทุกข้อเลยค่ะ นักเรียน .......เพราะจริงๆแล้ว พระคงสร้างไว้ในยุค อยุทธยาค่าา.</DD> *********************************************
    <DD> </DD><DD>สวัสดีครับ ไม่เหงาเลยครับเสาร์นี้ไม่ต้องนั่งเฝ้าสำนักงานเงียบๆมีอะไรให้อ่านเยอะดีครับ
    ผมแสดงความเห็นบ้างนะครับ แบบว่าอยู่คนเดียวเหงาหนะครับผมคิดว่าการศึกษาประวัติศาสตร์บางครั้งก็ดูเหมือนกับการตัดสินคดีความนั่น
    แหละครับบางครั้งไม่มีพยานชี้ชัดลงไปเลย ก็ต้องอาศัยพยานแวดล้อมเข้าช่วย
    ตัดสิน ซึ่งบางครั้งผลการตัดสินก็ค้านกับอีกฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะไม่มี
    หลักฐานที่แน่ชัดนั่นเอง แต่กับเรื่องพระผมว่ามันมีเรื่องของใจมาด้วยนะ
    ผมขอแบ่งเป็นสองพวกก็แล้วกันครับ จะขอยกตัวอย่างก็แล้วกันครับ อย่างใน
    ช่วงหนึ่งพระของพระอาจารย์สายกรรมฐานท่านนึง นิยมกันใครก็กล่าวถึงใคร
    ก็หาไว้ แต่ที่นี้มาเกิดเหตุท่านมรณภาพด้วยอุบัติเหตุทางเครื่องบิน ผลคือกลุ่มที่เคยเก็บพระของท่านก็เลิกมีบางพวกกล่าวจาบจ้วงไปอีก แต่ในกลุ่ม
    นั้นยังมีคนอีกบางพวกไม่คลายศรัทธาเลยยังคงรักษาไว้นี่แหละครับ สองพวกที่
    ในความคิดผม เรียกว่า พวกด้วยใจ กับพวกตามแฟชั่นครับ ดังนั้นใน
    ความคิดผม สำหรับพวกด้วยใจแล้วไม่มีอะไรสั่นคลอนได้หรอกครับ
    ---------------------------------------------------------------------------------------
    พิมพ์ไปพิมพ์มาไม่เห็นเกี่ยวกับกระทู้เลย แต่อย่างไรซะผมก็อยากรู้ว่า
    ประวัติศาสตร์ เป็นยังไง ขอบคุณข้อมูลที่คุณเค้าแมวนำมานะครับ
    ทำให้ไม่เหงาเลยมีอะไรให้ได้คิดสนุกดี ขอบคุณครับ</DD><DD>****************************************</DD><DD>ขอบคุณพี่เค้าแมวมากครับที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น และรู้สึกดีใจที่พี่เข้ามาตอบ <DD>ความคิดเห็นของผมที่มีในกระทู้ เป็นความเชื่อส่วนตัวที่มีเค้าของความน่าจะเป็นอยู่ไม่น้อยครับ ก็เลยถือโอกาสอันนี้เรียนชี้แจงเพิ่มเติมเป็นข้อ ๆ ครับ <DD>ก. เซเดส์ท่านเป็นอาจารย์ของกรมดำรง ฯ แต่กรมดำรง ฯ ท่านเป็นนายจ้างของเซเดส์ ผลงานวิจัยของท่านเซเดส์จึงมักออกมาในลักษณะเชิดชูสถาบันกษัตริย์ และทฤษฎีหลายประการของท่าน แม้แต่เรื่องศรีวิชัยหรือทวารวดีแม้แต่สุโขทัย ก็ได้ถูกหักล้างไปเกือบหมดแล้วในปัจจุบัน เซเดส์ท่านจึงเปรียบเหมือนครูที่เคารพเพราะได้วางรากฐานไว้ แต่ปัจจุบันมักไม่มีใครอ้างอิงถึงทฤษฎีท่านแล้ว <DD>คือหากมองตามหลักฐานที่มีอยู่ในสมัยของท่านทฤษฎีของท่านจะเป็นเรื่องถูกทุกข้อ แต่หากมองตามหลักฐานที่มีเพิ่มเติมมาจากในและต่างประเทศ จนในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องผิดเกือบทุกข้อเลยครับ <DD>
    ข. ตำนานจามเทวี ที่มักใช้อ้างอิง ถูกเขียนขึ้นในสมัยพระยาแก้ว ผู้เป็นหลานของพระเจ้าติโลกราช ห่างจากที่คาดคะเนไม่กี่ปีซึ่งเป็นช่วงสงครามกับอยุธยาอยู่ ทำไมจึงเขียนกันถึง ๒ ตำราในเวลานั้น ก่อนหน้านี้ทำไมไม่เขียน <DD>
    ค. อยุธยาสถาปนาโดยราชวงศ์อู่ทอง ที่มีหลักฐานว่าเป็นราชวงศ์ทางลพบุรี เมื่อครองอำนาจไม่กี่ปีก็ถูกโค่นอำนาจลงโดยราชวงศ์จากสุพรรณบุรี .. <DD>ต่อมาเชียงใหม่เกิดรบกับอยุธยาเพื่อชิงสุโขทัย เป็นไปได้หรือไม่ว่าเขียนตำนานจามเทวีขึ้นมา เพื่อแสดงและตอกย้ำว่าเชียงใหม่หรือล้านนามีรากฐานมาจากหริภุญชัยที่เกิดจากลพบุรีโดยตรง (เพราะราชวงศ์ลพบุรีเป็นที่ยอมรับกันมากในสุโขทัย สมัยพระราเมศวร) <DD>การแข่งบุญหรือวาสนาระหว่างคู่สงคราม ยังแสดงออกชัดเจนแม้กระทั่งชื่อหรือพระนามก็ตั้งขึ้นมาแข่งขันกัน ไตรโลกนาถ และติโลกนาถหรือติโลกราช ทั้งสองพระนามคือชื่อเดียวกัน ต่างก็เป็นผู้อ้างความเป็นใหญ่ในภูมิภาคนี้ <DD>เรื่องพระคงนี้อย่างที่บอกไปแล้วว่ายังมีจุดอ่อนเกี่ยวกับหลักฐานอยู่ ซึ่งหากมีเพิ่มเติมก็จะนำมาเสนอต่อไปครับ <DD>ขอบคุณครับ</DD><DD>****************************************</DD><DD>ลุงเซเดย์แกพ้นยุคไปตั้งแต่ที่ทฤษฎีไทยอพยพถูกล้มแล้วครับ พอกับกรมพระยาดำรงฯที่ยกให้ท่านขึ้นหิ้งไว้ฐานเป็นบิดาของประวัติศาสตร์ไทย แต่ไม่มีใครอ้างข้อความท่านแล้วเพราะมีเรื่องที่ผิดแบบฉกาจอยู่หลายเรื่อง และเป็นการศึกษาความรู้ที่พ้นยุคไปครึ่งศตวรรษแล้วครับ


    พระคง พระเปิมได้กลิ่นของศิลปะบากานครับ ไม่ใช่ศรีวิชัย มีที่มาจากอินเดียใต้คนละตระกูลกัน พระนางจามฯเป็นเรื่องการเมืองของสุโขทัยที่ต้องการสร้างความชอบธรรมของการรวมอณาจักร์เหนือให้ อโยธยาเกรงใจมากกว่า หลักฐานโดยตรงไม่มี มีแต่หลังฐานขั้นสองที่แต่งยุคหลังทั้งนั้น การพิจรณาจึงได้เพียงฟังนิทานที่แต่งหลังพระนางสิ้นไปหลายร้อยปีเท่านั้น


    ศิลปะบากานเข้ามาทางเหนือจากฝั่งพม่าหลังเจ็ดร้อยปียุคสร้างเชียงใหม่นี่เองครับ พระคง พระเปิม พระบาง อย่างมากก็เจ็ดร้อยปี ถ้าพิจรณาจากประวัติศาสตร์ศิลป์ยุคใหม่ ซึ่งตรงกับช่วงเอาพม่ามาคานอำนาจกรุงอยุทยาพอดี เหมือนกับที่คุณ 1812 เล่าไว้ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ได้ยึดถือเป็นฐานเวลาอ้างอิงในปัจจุบันครับ ต้องอัพเดทข้อมูลใหม่เพราะ อาจารย์ตรีฯอ้าง เซเดย์ หรือการศึกษาที่พ้นยุคของกรมพระยาดำรงค์ ที่สองท่านเป็นเพียงผู้บุกเบิก แต่ไม่ใช่ผู้ทำให้กระจ่างในรายละเอียดที่แท้จริง เหมือนนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันทำกันครับ
    </DD><DD>
    *********************************************</DD><DD>เรื่องประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับกันว่าเป็นเรื่องที่เกิดก่อนทฤษฎีและแนวทางการศึกษาในยุคหลัง
    เพราะฉะนั้นเมื่อมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้นเมื่อพบหลักฐานทางโบราณคดีมากขึ้น ก็มีทฤษฎีใหม่ตามมา ถ้าเราไม่ตั้งทฤษฎีขึ้นมาเองเราก็บริโภคจากทฤษฎีของผู้อื่นแล้วกลั่นมาเป็นความรู้ของตัวเรา แล้วแต่ว่าใครจะยึดถือของผู้ใด
    การศึกษาประวัติศาสตร์ผมคิดว่าไม่มีผู้ใดผิดหรือผู้ใดถูกในแนวคิดของตัวเอง เพียงแต่จะต้องหาข้อมูล หลักฐานที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ ทฤษฎีใหม่ที่มีเหตุมีผลน่าเชื่อถือ....ทฤษฎีใหม่ในวันนี้อาจจะผิดไปก็ได้ถ้าหลังจากนี้มีคนพบหลักฐานหรือพบทฤษฎีใหม่ขึ้นมาอีก....เชื่อว่าพวกเราทุกคนในตอนเด็กถูกสอนให้เชื่อว่าคนไทยอพยบมาจากจีนแต่ตอนนี้ส่วนใหญ่คงไม่เชื่อกับแนวคิดอันนี้แล้ว</DD><DD>*****************************************</DD><DD>
    เป็นเรื่องราวของคุณเค้าแมวในกระทู้เว็บ Siam Amulet เมื่อ 9 ปีที่แล้ว เอามาให้อ่านเป็นเรื่องเป็นราวกันครับ

    </DD>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    <DD> </DD><DD>[​IMG]</DD><DD> </DD><DD>ผมหมือนกับใกล้เกลือกินด่าง จริงๆแล้ว หนังสือ"เซียนพระมินิ" ของคุณกริช สงวนคม (พี่ชายคุณสมศักดิ์ เว็บมาสเตอร์) ได้ศึกาาและรวบรวมเรื่องนี้ไว้พอสมควร โดยหนังสือเล่มนี้ออกวางขายประมาณ ๑๐ ปีก่อน ราคา ๑๙๙ บาท ครับ</DD><DD>[​IMG]</DD>
    ข้อเขียนส่วนนี้เป็นของ คุณ จร ชีวจาริก เป็นส่วนหนึ่งในบทความเรื่อง "อีกทรรศนะของพระเมืองลำพูน
    ขออนุญาต ถ่ายเอกสารมาแสดงเพื่อการศึกษาครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    <DD>อันนี้เป็นบทความของคุณเล็กวัดรวก ซึ่งเป็นเรื่องแรกชื่อ พระรอด อัครพระเครื่อง หนึ่งในเบญจภาคี" ในหนังสือเล่มเดียวกันครับ
    ขออนุญาตเผยแพร่เป็นวิทยาทานด้วยครับ</DD><DD> </DD><DD> [​IMG]</DD><DD> </DD><DD>ขอจบแค่นั้นครับ เพราะส่วนต่อมาท่านเขียนเรื่องพิมพ์ทรงและพุทธคุณครับ
    </DD>
    <DD>
    </DD>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ผมเอาพระคงไปลงในหลายกระทู้และนำมาลงในกระทู้นี้
    เพื่อเวลาค้นหาจะได้ง่าย ครับ
    นำภาพพระคงมาให้ชมกัน แต่ไม่ใช่ผมลงเพื่อเป็นวิทยาทาน

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    เอาภาพการดูตำหนิพระคงกรุเก่า กรุใหม่มาให้ชมให้ศึกษากัน
    <!-- google_ad_section_end -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    </FIELDSET>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TH vAlign=top align=left colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=530 border=0><TBODY><TR><TD class=F21 vAlign=top>พระคง ลำพูน พระเครื่องเนื้อดินเผาที่เก่าแก่ที่สุด ตรงนี่อ่านกันเยอะหน่อย

    เมื่อเอ่ยถึง "พระคง ลำพูน" หนังสือเกี่ยวกับ พระเครื่องแทบทุกฉบับ ต้องเคยลง เรื่องราวกันมาแล้ว มากบ้างน้อยบ้าง หลายท่านก็คงเคยอ่าน และทราบถึงความเป็นมาของ"พระคง ลำพูน"เป็นอย่างดี ผู้เขียนจะพยายามสอดแทรก "ข้อมูลใหม่" มาเพิ่มเติมให้ สำหรับท่าน ที่เพิ่งเข้ามาสู่วงการใหม่ จะได้ทราบรายละเอียดบางแง่บางมุมกันมากขึ้น
    นับตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน นักนิยมพระเครื่องก็มักจะเล่นหา "พระตระกูลลำพูน" เนื้อดินเผา กันมาโดยตลอด เพราะเชื่อกันว่า "พระตระกูลลำพูน" เป็น...ต้นแบบของพระเนื้อดินเผา ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด
    อันได้แก่ พระรอด พระเลี่ยง พระลบ พระลือ พระลือโขง พระเปิม พระคง พระบาง พระรอดหลวง พระสาม พระนางสิกขี (จามเทวี) พระกวาง พระสิบสอง นอกจากนั้นยังมี พระพิมพ์แปลกๆ แต่มีจำนวนน้อย อีกหลายพิมพ์
    เท่าที่เอ่ยชื่อมานั้นล้วนเป็น พระพิมพ์ที่วงการ พระเครื่องรู้จักกันดี และนิยมกันมานานแล้ว โดยเฉพาะ พระรอด มีราคาเช่าหาแพงที่สุด เป็นหนึ่งใน พระชุดเบญจภาคี ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดอีกด้วย
    ฃาวจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง ทางภาคเหนือ ต่างเชื่อกันว่าพระพิมพ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น มีอายุการสร้างเก่าแก่ ร่วมสมัยยุคเดียวกัน แต่ตามการสันนิษฐาน การอ่านศิลปะยุคสมัยของท่านผู้รู้หลายๆ ท่านก็ยังมีความแตกแยกในความคิดเห็นกันไป เช่น บางท่านว่า พระบางพิมพ์สร้างในยุคสมัย พระนางจามเทวี คือประมาณ 1,200 ปีล่วงมาแล้ว และพระบางพิมพ์จะมีอายุการสร้างเพียง 700-800 ปีเท่านั้น
    แต่ทุกคนยืนยันตรงกันว่า พระคง เป็น... พระเครื่องที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด...พิมพ์หนึ่ง ในพิมพ์พระ ที่มีปัญหาโต้แย้งจากผู้เขียนต่างคนต่างทรรศนะ บางราย ถึงกับต่างคนต่างอ้างอิงหลักฐานที่พบ และถกเถียงกันทางหนังสือมาแล้วก็มี แต่สำหรับผู้เขียนต้อง การจะโน้มน้าวท่านผู้อ่านให้มองแบบกว้างๆ โดยใช้วิจารณญาณกันไปด้วยว่า... ขอเป็นเพียง พระเก่าก็เพียงพอแก่คุณค่าในการอนุรักษ์...อยู่แล้ว
    พระเครื่องต่างๆ มีประวัติการขุดค้นพบ ที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะได้จากบริเวณ วัดในเขตจังหวัดลำพูน และจังหวัดใกล้เคียง (เป็นการนำฝากกรุภายหลัง) ความรู้สึกลึกๆ เราก็ทราบว่า เป็นพระเครื่องเก่าแก่แต่โบราณ อย่างน้อยก็มีอายุการสร้างหลายร้อยปี ก็ตรงจุดนี้แหละที่ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า พระเครื่องดังกล่าวจะถูกสร้างด้วยบารมีและด้วยจิตศรัทธาอันบริสุทธิ์ มิได้สร้างด้วย อกุศลเจตนา โดยเด็ดขาด
    ดังนั้น พระเครื่องโบราณเก่าแก่ จึงมั่นใจได้ว่า จะต้องเต็มเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณอันศักดิ์สิทธิ์ ท่านไม่ต้องคำนึงว่า จะเก่าแก่ถึงพันปีจริงหรือ ?...พระฤาษีกับพระนางจามเทวีสร้างไว้จริงหรือ ?... หากจะคิดว่า พระนี้มีอายุไม่ถึงพันปีหรอก แค่เจ็ดแปดร้อยปี เท่านั้น แล้วความศรัทธาเชื่อถือจะลดน้อยถอยลงไป อันนี้ไม่น่าจะถูกต้องนัก
    จริงอยู่ หากการเล่นหาสะสมพระเครื่อง ถ้าสามารถทราบถึงศิลปะ อายุสมัย ที่แน่นอนก็ย่อมจะเป็นการดียิ่ง หากไม่สามารถ ทราบได้ แต่รู้ว่าเก่าแก่ ก็น่าจะอนุรักษ์ไว้ด้วยจิตศรัทธาว่า เป็นสมบัติ ของบรรพบุรุษสร้างไว้ด้วยความบริสุทธิ์ ด้วยกุศลเจตนา เราอนุรักษ์เก็บรักษาไว้ก็ย่อมจะเป็นสิริมงคลแก่เราแน่นอน
    อันที่จริงพระเครื่องใหม่ๆ ในปัจจุบันที่สร้างด้วยกุศลเจตนา มีพุทธคุณดีก็มี แต่หากเราได้ พระเก่า มาเก็บไว้สักการะบูชาบ้าง ก็ยิ่งน่าจะภาคภูมิใจ และสบายใจมิใช่หรือ ?
    อันนี้ผู้เขียนว่าเป็นความรู้สึกลึกๆ ของคนส่วนใหญ่ทีเดียว โดยเฉพาะผู้ที่นับถือพระเครื่องโดยไม่สนใจในด้านราคาเช่าหา ความจริงอันหนึ่งซึ่งท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะยังไม่เคยทราบคือ บุคคลที่เราๆ ท่านๆ ยกย่องให้เป็น "เซียนพระ" ที่ทำหน้าที่ซื้อๆขายๆพระระดับราคาแสน ราคาล้าน ท่านเชื่อไม่ว่าเขาเหล่านั้นหลายคนต่างใช้พระ ประจำตัวที่เชื่อมั่นในพุทธคุณได้ แต่...มีราคาเช่าหาแค่หลักร้อยหลักพัน... เท่านั้น บางคนพกไว้ในกระเป๋าเสื้อบ้าง กลัดเหน็บไว้ในเสื้อบ้าง
    อันนี้ไม่ใช่ว่า พระราคาแพงจะเป็นพระไม่ดี เพราะความจริงส่วนหนึ่งคือ พระต้องดีและดังจึงจะมีราคาสูงได้ ... แต่ส่วนหนึ่งก็ยังคงอยู่ที่การสร้างความเชื่อถือ และความต้องการ คือมีผู้ต้องการกันมาก ราคาก็ย่อมจะสูงขึ้นด้วย
    ในปัจจุบัน พระราคาสูงส่วนใหญ่ จะตกไปอยู่กับผู้มีฐานะการเงินดี ยิ่งหายากราคาก็ยิ่งแพง พระราคาแพงก็ยิ่งรักษายาก หากเอาออกมาอวดโชว์กันมาก ๆ ก็รังแต่จะมีโอกาสเดือดร้อนอีกต่างหาก ดังที่มีข่าวบ่อยครั้งลงวันจันทร์ที่ 11 มีค. 45
    สำหรับ "เซียนพระ" พระเครื่องที่มีราคาแพงเขาจะมีไว้โชว์เพื่อขาย การแขวนเดี่ยวในคอจะเป็นการเพิ่มราคาพระให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้น แต่พระเครื่องที่ตัวเองใช้จริงๆ ส่วนมากจะใช้พระพื้นๆ ราคาไม่แพง...ดังกล่าว
    ต้องขอวกกลับเข้าเรื่อง "พระคง ลำพูน" เสียที เพราะชักจะตกขอบออกนอกเรื่องไปมากแล้ว ตามที่กล่าวมาแล้วว่า พระตระกูลลำพูน มีหลายพิมพ์ หากเป็นไปได้ผู้เขียนจะพยายามแนะนำ พระตระกูลลำพูน แต่ละพิมพ์เท่าที่โอกาสจะอำนวยให้ ฉบับนี้เรามาทำความรู้จักกับ "พระคง" กันก่อนเป็นปฐมฤกษ์
    ในอดีต 30-40 ปีก่อน "พระคง"มีจำนวนมากมาย เพราะนอกจากจะขุดได้จากบริเวณ วัดพระคงฤาษี จ.ลำพูน แล้ว ยังปรากฏว่า กรุพระวัดอื่นๆ ทั้งในจ.ลำพูนและจ.ใกล้เคียง เช่น เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย ก็มี "พระคง" แตกกรุออกมาปะปนอยู่กับพระประจำกรุนั้น ๆ ด้วย ไม่มากก็น้อย
    อันนี้ก็เป็นข้อยืนยันได้อีกอย่างหนึ่งว่า "พระคง"มีอายุการสร้างมานาน เพราะเคยมีการ ขุดพบ "พระคง" ได้จากศาสนสถาน ที่ชำรุดทรุดโทรมหลายแห่ง เพื่อนำมมาใช้ในสถานการณ์สงคราม ต่อมาเมื่อสงคราม สงบจึงได้นำ "พระคง" นั้นกลับไปบรรจุฝากกรุ ไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ดังกล่าว
    จึงนับว่า "พระคง" เป็นพระพิมพ์ที่มีการสร้างมากที่สุดใน "ตระกูลพระลำพูน" ทั้งหมด "พระคง" จึงถูกแจกถูกแลก ถูกแถมแก่คนต่างถิ่นเสมอ ในสมัยก่อนโน้น ทำให้ "พระคง"แพร่กระจายไปทั่ว ทุกสารทิศของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ถึงขนาดคนต่างถิ่นเรียก "พระคง" ว่า "พระลำพูน" ไปก็มี กลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำพูนไปเลย เรียกว่าไปถึงไหน ไม่ต้องกลัวว่าจะตกรถ เพราะไปถึงจังหวัดใดก็เอา"พระคง"แลกเปลี่ยนเป็นเงินค่ารถกลับบ้านได้เสมอ แสดงให้เห็นถึง ความนิยมอย่างกว้างขวางของ"พระคง"ซึ่งมีประสบการณ์มากมาย เล่าขานกันไม่รู้จักจบ
    นอกจาก กรุวัดพระคง จะมี"พระคง"มากที่สุดแล้ว ย้อนกลับไปทบทวนดูกรุที่พบ พระคง นับจำนวนหลักร้อยก็มีหลายกรุเช่น ประมาณปี 2505 พบที่ วัดพวกหงษ์ เชียงใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น "พระคง"ที่ลงรัก
    ต่อมาประมาณปี 2507 พบที่ วัดพันอ้น เชียงใหม่ ปี 2512 พบที่ วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ "พระคง"กรุนี้จะมีสีเทาดำทั้งหมด ฝังอยู่ห่างจากผิวดินประมาณ 1 ศอก เข้าใจว่าอดีตวิหารเก่าคงถูกไฟไหม้ทำลาย "พระคง"กองทับถมอยู่จึงมีสีดำทั้งหมด
    ต่อมาเมื่อปี 2517 พบที่ กรุจามขี้มด ถนนซุปเปอร์เชียงใหม่-ลำปาง และครั้งล่าสุด มีการขุดกรุใหญ่จาก วัดพระคง เองในปี 2516 โดยทางวัดจะย้ายสร้างอุโบสถหลังใหม่ ต้องการทุนทรัพย์ คณะกรรมการจึงตกลงเสี่ยงขุดกรุพระที่ ใต้พระประธานโบสถ์หลังเก่า ในครั้งนั้นต้องขุดลึกลงไปถึงกว่า 2 เมตร ขุดไปสูบนํ้าไปจึงพบ"พระคง"ประมาณห้าหกพันองค์
    ในจำนวนนี้มี"พระคง"สีดำ 10 กว่าองค์ และยังมี "พระคงเนื้อชินเงิน" อีกด้วย ประมาณ 10 กว่าองค์ ส่วนใหญ่ผุระเบิด "พระคง"กรุนี้เรียกกันว่า "พระกรุใหม่" นอกจากนี้ยังพบแผ่น ทองคำดุนรูปพระขนาดเท่าฝ่ามือจำนวน 2 แผ่นอีกด้วย
    อนึ่ง คำว่า "พระคงกรุใหม่" หลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็น พระคงที่มีอายุการสร้างน้อยกว่าพระคงกรุเก่า อันที่จริงแล้ว เป็น"พระคง"ที่มีพิมพ์ทรงและเนื้อหามวลสารเดียวกันทั้งสิ้น เพียงแต่สภาพกรุชื้น มีนํ้าทำให้แลดูพระกรุใหม่เสียผิวไปบ้าง แต่มาถึงปัจจุบันนี้ "พระคง"กรุใหม่ก็ได้แห้งสนิทแล้ว หากนำมาใช้ให้ถูกเนื้อถูกเหงื่อ ไม่กี่เดือนสภาพพระก็จะเป็นดุจเดียวกับพระกรุเก่าทุกประการ ปัจจุบันการเก็บรักษาพระมักใส่ตลับ ซึ่งทำให้เก็บรักษาองค์สามารถอนุรักษ์สภาพเดิมๆได้ดีมาก นับเป็นการอนุรักษ์ที่ดีและถูกต้องที่สุด
    "พระคง"ที่สร้างในยุคหลังๆ พิมพ์ทรงจะแตกต่างกันไปจากของเดิมบ้าง เท่าที่พบมีของ กรุดอยคำ เชียงใหม่ ติดต่อเขตลำพูน นอกนั้นก็มีสร้าง "พระคง"พิมพ์ล้อเลียนในยุคหลังๆ โดยพระเกจิอาจารย์ต่างๆ หลายสำนัก
    นอกจาก"พระคง"จะพบมีจำนวนมากแล้ว "พระคง"ยังเป็นพระเนื้อดินเผาที่แข็งแกร่งมาก เมื่อใช้สัมผัสถูกผิวพระจะดูหนึกนุ่ม "พระคง"จึงเปรียบเสมือน "พระองค์ครู" สำหรับเป็นแนวทางการศึกษา พระเนื้อดิน แก่ผู้ที่เริ่มสนใจศึกษา
    อันนี้ยืนยันได้เลยว่า เกือบร้อยทั้งร้อยของ เซียนพระเนื้อดิน ทุกคนต่างต้องฝึกหัดการพิจารณา เนื้อพระ ผิวพระ ตลอดจน คราบนวลกรุ จาก "พระคง" นี่แหละ เนื่องจากแต่ก่อน "พระคง"มีจำนวนให้พบเห็นมาก หาง่าย เป็นพระเนื้อดี แต่มาถึงวันนี้...ดูเหมือนว่า จะเป็นพระเครื่องที่เริ่มจะหาดูได้ยากเสียแล้ว ที่พอมีให้เห็นบ้างก็มักจะด้อยความสวยงาม และคาดว่า อนาคตอันใกล้นี้ แม้แต่องค์ไม่สวยไม่งาม ก็อาจจะพบเห็นยากเข้าทุกที
    ผู้เขียนเห็นว่า ปัจจุบัน (2545) กำลังเป็นช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อที่พระเครื่องสำคัญกำลังจะเริ่มหายไป (อยู่กับผู้เก็บมากกว่าผู้ขาย) จึงอยากชักชวนท่านผู้อ่านจงช่วยกันเสาะหาเก็บอนุรักษ์"พระคง"ไว้บ้าง ก่อนที่จะกลายเป็นพระที่หายาก และราคาเช่าหาจะสูงขึ้น ๆ โดยผู้เขียนมีเหตุผลดังต่อไปนี้
    1. วรรณะดี -- "พระคง"เป็นพระดินเผาด้วยความร้อนสูง มีความแข็งแกร่ง เนื้อที่ผ่านการใช้จะมีผิวหนึกนุ่ม ดูงามตา ยิ่งพิศยิ่งซึ้ง นับเป็น "องค์ครู" ของ พระตระกูลเนื้อดิน
    2. พิมพ์ทรงสง่างาม ศิลปะแบบทวาราวดี ห่มดอง คางเหลี่ยม มีกำไลข้อมือข้อเท้า องค์พระลํ่าสัน ฐานแก้วบัวสองชั้นดูมั่นคง ใบโพธิ์และก้านโพธิ์อ่อนช้อย ทำให้น่าพิศวง และน่ายกย่องว่า คนโบราณยุคนั้นช่างแกะแม่พิมพ์ได้งดงามเหลือเกิน ภายใต้ร่มโพธิ์สื่อถึงความ "ร่มเย็น" อย่างมีความหมายยิ่ง
    3. ขนาดกะทัดรัด กำลังสวย กว้าง 1.5 ซม. สูง 2.8 ซม. โดยประมาณ อาราธนาแขวนแล้วดูสวยงาม
    4. เก่า มีอายุการสร้างนานกว่า 1,200 ปี จากตำนานเล่าขานและจากผู้เชี่ยวชาญทางโบราณวัตถุ คือ ดร.ยอร์ช เซเดย์ ชาวฝรั่งเศส ที่นักโบราณวิทยายอมรับ และเคยพูดถึง"พระคง" มานานแล้ว ล่าสุดก็มีการทดลองวัดค่าคาร์บอนวัตถุโบราณ จากเครื่องตรวจวัด รังสีที่ทันสมัย ซึ่งใช้ในการตรวจวัดวัตถุโบราณที่มีอายุนับพันปีขึ้นไป ปรากฏว่า"พระคง"มีอายุการสร้างเก่าจริง นับว่าเป็น วัตถุโบราณที่มีคุณค่าสูงยิ่ง สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้
    5. พุทธคุณดี มีประสบการณ์มาหลายด้าน ไม่ว่าคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ก็ไม่เป็นสองรองใคร จนเป็นที่ยอมรับและกล่าวขวัญถึงมานานแล้ว
    6. นามเป็นมงคล คำว่า "คง" ดีทั้งมั่นคง คงกระพันชาตรี เป็นคำพูดอมตะน่าสนใจและมีคุณค่ามาก
    จากเหตุผลดังกล่าว ท่านผู้อ่านคงพอจะมองเห็นแล้วว่า สมควรหรือไม่ที่จะช่วยกันเก็บ รักษาอนุรักษ์"พระคง"ไว้เป็นสมบัติ แก่ลูกหลานสืบต่อไป
    ลักษณะเนื้อ : เป็นพระดินเผา ที่มีกรวดผสมบ้างประปราย ทุกองค์จะปรากฎแร่เหล็กเป็นจุดแต้มแดงๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้างทั่วองค์พระ หากอยู่ในพระที่ถูกความร้อนจัดเช่น สีเขียว สีมอย (เขียว-เทา) จุดแต้มดังกล่าวจะเป็นลักษณะไหม้ไฟกลายเป็สีดำ เนื้อละเอียดหนึกนุ่ม ยกเว้นในองค์พระกรุใหม่ไม่ผ่านการสัมผัสจะดูผิวฟ่าม หากแต่ใช้สัมผัสถูกบ่อยก็จะหนึก นุ่ม เนียน เช่นกัน
    ลักษณะพิมพ์ : อันนี้เป็นจุดเด่นมากท่านลอง นำมาเพ่งพิจารณาดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะพบว่าพิมพ์พระคงนั้นสวยงาม ดูมีสง่ายิ่ง ว่ากันว่าหากแม้นมีจำนวนน้อยเฉกเช่นพระรอดแล้วไซร้ พระคงน่าจะถูกจัดให้อยู่ในชุดเบญจภาคีแทนพระรอดเสียด้วยซ้ำ เพราะหากมาเปรียบเทียบกันแล้ว ไม่ว่าจะมองดูด้านใดพระคงก็ดูสวยงามกว่า ศิลปะสูงกว่าแลดูซึ้งกว่ามาก
    ตำหนิพิมพ์ : อันที่จริงผู้เขียนเดิมตั้งใจว่าจะไม่พยายามเขียนถึง เพราะอาจจะกลายเป็นการตั้งตนเป็นเซียน แต่ตรองดูแล้วก็น่าจะ เป็นประโยชน์อย่างน้อยก็แก่ผู้ที่เริ่มต้นเข้ามาสนใจจะได้พอมีแนวทางบ้าง เพราะปรากฎว่าปัจจุบัน นักนิยมพระรุ่นใหม่ๆ จำนวนมากไม่กล้ามุ่งมาเล่นพระเก่า สาเหตุหนึ่งคือไม่มีผู้บอกจริง เกรงถูกต้มตุ๋น และคลำหาแนวทางไม่เจอ สำหรับพระคงก็มีตำหนิลับในแม่พิมพ์หลายแห่งแต่พอสังเกตเป็นหลักใหญ่ๆ 4 จุด คือ
    1. บริเวณซอกแขนซ้ายขององค์พระจะมีเส้นแตกเป็นเส้นขนาดกับกล้ามแขนซ้าย
    2. บริเวณช่วงกลาง ระหว่างบัวชั้นบนและล่างจะมีเส้นแตกตัวหนอนหรือคล้ายๆ สายฟ้าพาดจากใต้บัวชั้นบนถึงบัวชั้นล่าง
    3. แขนซ้ายองค์พระที่วางทอดตัก ตรงกลางมือจะมีเส้นพิมพ์แตก เป็นทิวลากไปถึงศอกขวาขององค์พระ
    4. มีเส้นพิมพ์แตกจากกลางหน้าแข้งขวาขององค์พระเฉียง ขนานไปจรดกลางระหว่างขัดสมาธิเพชร
    ตำหนิพิมพ์แตกทั้ง 4 แห่งนี้ จะมีอยู่ในพระคงลำพูนทุกองค์ ไม่ว่าจะเป็นพระกรุเก่าหรือกรุใหม่แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นพระดินเผา ตำหนิดังกล่าวในบางองค์อาจมีไม่ครบหรือถูกทำให้เสียรูปทรงหรือพิมพ์ไม่ติด ในขณะที่เป็นดินเหนียวก่อนการเผา เช่นวางทับถูกกัน ชนถูก หรือดึงถอดออกมายืดตัว เพราะแรงดึงของผู้กดพิมพ์ แต่หากสังเกตก็พอเป็นแนวทางได้ ส่วนในองค์ที่กดคมชัด ไม่เสียรูปทรงจะเห็น ตำหนิได้ดังกล่าว ทั้งนี้ต้องอาศัยความชำนาญและหมั่นดูให้ผ่านตามากๆ ก็จะพอศึกษาได้ไม่ยากนัก จุดตำหนิอาจต้องพยายามดูในหลายมุม เช่น มองตรง ช้อนหงายทะแยงขึ้น พลิกกลับหัวมองด้านตรง และพลิกกลับหัวมองทะแยง หากท่านปฏิบัติเช่นนี้จะได้อะไรดีๆ กับเคล็ดลับการดูชนิดนี้ ซึ่งอันนี้ยังไม่เคย มีผู้ใดเปิดเผยมาก่อน และสามารถปฏิรูปนำไปใช้กับการสังเกตพระ ชนิดอื่น ได้ด้วยจะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่ง ก่อนนี้ผู้เขียนเคยเห็น เซียนพระเก่าๆ เวลาส่องพระนำพระพลิกหงายดูกลับหัวและดูแม่นเสียด้วย พอภายหลังทดลอง ใช้ดูปรากฎว่าจะทำให้การส่องแบบนี้ทำให้สายตาก้าวหน้าขึ้นมาก ก็ขอให้ทดลองดูนะครับ เรียกว่าเมื่อมาเขียน บทความนี้แล้วก็ขอมอบประโยชน์ การส่องดูพระแบบนี้แก่ท่านเพื่อเป็นวิทยาทานต่อไป
    เฉดสี : พระเนื้อดินเผาก็ย่อมมีเฉดสีต่างๆ อันเกิดจากการผสมดินเหนียวด้วยดินต่างกันเป็นต้น ตลอดจนการเผาให้ความร้อนสูง-ต่ำต่างกัน ตำแหน่งที่วางอยู่ระยะได้รับความร้อนต่างกัน บางองค์เกิดเฉดเป็น 2 สี เนื่องจากส่วนหนึ่งโผล่
    มารับความร้อนแต่อีกส่วนถูกรพะองค์อื่นทับบังไว้ เนื้อส่วนที่โผล่มาก็จะรับความร้อนมากกว่า แข็งแกร่งกว่า (เพราะเนื้อที่ส่วน ละลายเกาะตัวกันมากกว่า) เนื้อส่วนที่ถูก ทับไว้ได้รับความร้อนน้อยกว่าก็จะกลายเป็นพระสองสีในองค์เดียวกันได้ สำหรับพระคง ก็จะมีเฉดสีต่างๆ คือ พิกุล (เหลือง) ชมพู ส้ม แดง ขาว เทา ดำ และเขียว และนับว่าพระเนื้อเขียวจะแข็งแกร่งที่สุด เป็นพระที่นิยม ที่สุดตามแบบฉบับของพระเนื้อดินเผาทั่วไป
    สนนราคา : พระคงเป็นพระที่ค่อนข้างจะอาภัพในด้านราคา สาเหตุเนื่องมาจากการที่มีจำนวนมากและหาง่ายในอดีต พระที่มีสภาพ ไม่สวย จึงถูกมากหาได้ในราคาหลักร้อยเท่านั้น ปัจจุบันสภาพปานกลางก็ราคาหลายพันจนขึ้นหลักหมื่น ในสภาพสวยก็หลายหมื่น และท่านคงจะต้องแปลกใจ หากผู้เขียนจะกระซิบบอกว่าในองค์ที่สวยงามมากๆ และโดยเฉพาะเป็นสีเขียว มีราคาอยู่ในหลักแสน เสียแล้วในปัจจุบัน และมีทีท่า ว่าจะขึ้นหลายแสตนได้ในองค์ที่งามเด่นเป็นพิเศษ
    ท่านจะสังเกตได้ว่าพระบางชนิดในปัจจุบันสร้าง กันนับเป็นจำนวนหลักล้านองค์ ผู้คนยังแย่งกันเก็บเป็นที่ฮือฮากันยิ่ง นับประสาอะไรกับพระคงซึ่งแม้ว่าจะ มีจำนวนมากแต่ก็คาดว่าไม่เกินแสนองค์หรอกครับ ผู้เขียนจึงอยากชักชวนให้ท่านเสาะหากันไว้ แม้พระในองค์ไม่สวยราคาถูกหน่อย พุทธคุณก็ไม่ต่างกันกับองค์สวย ในอนาคตผู้ที่สนใจอนุรักษ์พระจะมีมากขึ้น พระก็กระจายแยก ไปอยู่ทั่วสารทิศ ในที่สุด..ความต้องการจะมีมากกว่าจำนวนพระ จะเป็นสาเหตุให้พระหายากขึ้น ราคาสูงขึ้นนี่คือกฎความจริงอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ใหม่กับวงการก็ขอชี้แจงไว้ว่าพระคงมีราคาเช่าหาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสวยและสี กล่าวคือ สีพิกุล (เหลือง-ดินหม้อใหม่) อันมีจำนวน มากจะราคาถูกกว่าสีอื่นใดสภาพเดียวกัน ที่แพงขึ้นไปก็มีสีชมพู สีส้ม สีแดง สีขาว สีดำ และสีเขียว ตามลำดับ สำหรับในองค์สีดำบางท่านอาจค้านว่าราคาแพงกว่าสีเขียว อันนี้ผู้เขียนอธิบายได้ว่า ที่จริงแล้วพระสีดำเดิมจากกรุมีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่เห็นๆ กันเป็นพระที่ใช้ฝีมือทำเป็นสีดำภายหลัง พระสีดำจึงอยู่ใน กลุ่มคนเล่นน้อยกว่า พูดง่ายๆ คือพระสีดำเป็นพระ ที่หาคนซื้อขายในราคาสูงๆ ได้น้อยคน แต่สำหรับพระสีเขียว เป็นมาตรฐานกว่าเล่น หากันทุกคน ดังนั้นผู้เขียนจึงมีความเห็น ว่าสีเขียวมาตรฐานที่สุด ทั้งเนื้อพระก็มีความแข็งแกร่งกว่ามาก สวยงาม ดูง่ายกว่า สีดำด้วย อันนี้ต้องออกตัวว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว สำหรับท่านที่นิยมสีดำก็ไม่เสียหายอะไร เพราะเป็นสีที่หายากกว่า จริงเพียงแต่คนกล้าซื้อราคาสูงมีน้อยกว่าเท่านั้น ขอส่งท้ายไว้ว่าหากท่านผู้อ่านมีโอกาสเก็บอนุรักษ์พระคงลำพูนก็อย่าได้ลังเลใจ ที่มีไว้แล้วก็จงหวงไว้เถิด เพราะเป็นพระที่มีทั้งความสวย สง่างาม เนื้อหาจัด อายุเก่าแก่ที่สุด ศิลปการสร้างฝีมือชั้นสูง พุทธคุณดีเยี่ยมเทียมพระรอด แถมยิ่งส่องพิจารณาก็ยิ่งเพลินตาสมควรแก่การ เก็บอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานต่อไป ขอให้ท่านผู้อ่านโชคดีมีพระคงลำพูนเก็บไว้กันทั่วทุกคน สวัสดี

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TH></TR><TR><TH vAlign=top colSpan=2>
    </TH></TR><TR><TD class=F1 align=middle colSpan=2>สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
    บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2543
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ่านกัน....ชอบส่วนไหนก็เน้นเป็นพิเศษ ตามอัธยาศัยครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. ยากจริง

    ยากจริง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +105
    พี่สโตร์ครับ แล้วองค์นี้แท้ไหมครับ ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.JPG
      1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      102.6 KB
      เปิดดู:
      171
    • 2.JPG
      2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.6 KB
      เปิดดู:
      202
  17. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    องค์นี้ตอบง่ายครับ
    1 พิมพ์ไม่ได้
    2 เนื้อไม่ได้
    3 ดูธรรมชาติด้านหลังรอยปาดรอยขูด เหลือร่องเล็ก ๆ ตามพื้น
    แสดงว่ากรวดใหญ่ พระหลวงพ่อปานจะเป็นกรวดเล็กเสมอ
    และจะกรองก่อนทุกครั้งที่ผสมกันแล้วนำไปกดพิมพ์

    นำมาถามในกระทู้นี้ได้ครับ ต่อไปกระทู้นี้จะนำเสนอเป็นเรื่อง ๆไป ขอบคุณครับ
    http://palungjit.org/threads/สื่อกลางกระทู้ถาม-ตอบพระเครื่อง-เหรียญ-ดิน-ชิน-ผง.309181/page-5
     
  18. ยากจริง

    ยากจริง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +105
    ขอบคุณครับ
     
  19. in009

    in009 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    รบกวน อ.สโตร์ครับ พระธาตุนาดูน พิมพ์ปางลีลา เป็นอย่างไรบ้าง ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7167.JPG
      IMG_7167.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.2 KB
      เปิดดู:
      136
    • IMG_7168.JPG
      IMG_7168.JPG
      ขนาดไฟล์:
      104.9 KB
      เปิดดู:
      102
  20. greenpower

    greenpower สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +0
    รบกวน ท่าน สโตร์ ด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...