จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นพระโพธิสัตว์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Tony Lin, 24 ธันวาคม 2011.

  1. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายไม่ได้มีป้ายบอก เพราะฉะนั้น ต้องพิจารณาโดยใช้หลักการ
    คือ ดูที่อุปนิสัย หรือ สันดาน โดยภาพร่วมในปัจุบัน ดังนี้

    1. ทานบารมี ในปัจจุบัน ท่านมีอุปนิสัยในการแจกจ่ายแบ่งปันให้ทาน เอื้อเฟื้อผู้อื่นโดยธรรมหรือไม่ ? ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง ทานบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    2. ศีลบารมี ในปัจจุบัน ท่านมีการรักษาศีล ตามโอกาสอันควรหรือไม่ ? ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง ศีลบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    3. เนกขัมมบารมี ในปัจจุบัน ท่านมีการถือบวช หรือประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ เพื่อความสงัดออกจากกาม มีการปลีกวิเวก ชอบถือสันโดษ ไม่คลุกคลีในหมู่คณะอันเป็นเหตุทำจิตให้ฟุ้งซ่าน หรือไม่ ? ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง เนกขัมมบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    4. ปัญญาบารมี ในปัจจุบัน ท่านมีการใช้หลักเหตุผลเพื่อพิจารณา ประกอบการตัดสินใจ ในกิจต่างๆโดยไม่ลุอำนาจแห่ง อคติ 4 (ความลำเอียง) เพื่อยังประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท อยู่โดยมากหรือไม่ ? ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง ปัญญาบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    5. วิริยะบารมี ในปัจจุบัน ท่านมีความพยายามพากเพียรทำกุศลจิตให้เกิดขึ้น อยู่เนืองๆ เพียรรักษากุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้หมดไป เพียรละอกุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป เพียรป้องกันรักษาไม่ให้อกุศลจิตเกิดขึ้นได้อีก ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง วิริยะบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    6. ขันติบารมี ในปัจจุบัน ท่านมีความอดทน คือเป็นผู้มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหว ต่อสภาวธรรม ที่มากระทบ ทางกาย และทางจิตใจ อยู่โดยมากหรือไม่ ? ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง ขันติบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    7. สัจจะบารมี ในปัจจุบัน ท่านมีความจริงใจต่อตนเอง และผู้อื่น มีวาจาที่มั่นคงน่าเชื่อถือได้ ทั้งในที่ลับ และในที่แจ้ง เป็นผู้ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ในหลักเหตุผล มีจุดหมายและปณิธานเป็นปริโยสาน ชัดเจน จนกว่าจะสำเร็จในกิจนั้นๆ อยู่โดยมากหรือไม่ ? ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง สัจจะบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    8. อธิษฐานบารมี ในปัจจุบัน ท่านมีความปรารถนาแห่งใจ หรือตั้งปณิธานมุ่งหวังเพื่อจะกระทำความเพียร ในสิ่งใดๆแล้ว จึงกระทำสิ่งนั้นๆ อย่างเต็มความสามารถ เพื่อหวังผลความสำเร็จในกิจแห่งโพธิญาณนั้น อยู่โดยมากหรือไม่ ? ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง อธิษฐานบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    9. เมตตาบารมี ในปัจจุบัน ท่านมีความรัก ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข อันเกิดจากการกระทำของตน อยู่โดยมากหรือไม่ ? ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง เมตตาบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    10 . อุเบกขาบารมี ในปัจจุบัน ท่านเป็นผู้วางเฉยแบบคนผู้มีปัญญา ต่ออารมณ์ที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีอารมณ์ไม่โน้มเอียงไป ในกระแสโลกธรรม ๘ (ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทรา ทุกข์ ) และไม่ลุอำนาจ อคติ ๔ คือความลำเอียงเพราะ ( รัก โกรธ โง่ กลัว ) อยู่โดยมากหรือไม่ ? ถ้าเด่น และยิ่งกว่าบารมีธรรมข้ออื่นๆให้ถือว่า ชาตินี้ท่านมาสร้าง อุเบกขาบารมี (บำเพ็ญในเบื้องต้นเรียกว่า บารมี บำเพ็ญอย่างกลางเรียกว่า อุปปารมี บำเพ็ญอย่างสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถปารมี )

    นี่เป็นเพียงทัศนคติ ขั้นพื้นฐาน ที่เราพอสังเกตเห็นได้โดยทั่วไป หาใช่ความหมายในขั้น พิเศษพิศดารไม่ ที่เหลือคงเป็น อจิณไตย ในจิตท่านเอง กระมัง.

    พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญพระบารมีธรรม ก็เห็นจะมีนัยยะ ดังได้
    รับประทานวิสัชชนามาแล้ว.........
    เอวังก็มีด้วยประการ ฉะนี้.

    เจริญในรสธรรม.
     
  2. uncle loy

    uncle loy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +28
    นักปฏิบัติที่แท้จริงจะต้องตั้งจิตอธิษฐานบารมีว่าปรารถนาสิ่งใดคือพระนิพพาน หรือพุทธภูมิคือสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งจะต้องเป็นโพธิสัตว์ก่อนเพื่อสั่งสมบารมีไปเรื่อยๆ พระสงฆ์หรือบุคคลทั่วไปที่พยายามสร้างบารมี สงเคราะห์ ช่วยเหลือบุคคลหรือสัตว์ทั้งหลาย ที่หลายท่านคิดว่าใช่ก็อาจจะยังไม่ใช่โพธิสัตว์ เป็นเพียงผู้ที่ปรารถนาจะเป็นโพธิสัตว์ การจะได้เป็นโพธิสัตว์ต้องสั่งสมบารมีไปเรื่อยๆก่อนหลายชาติจนกว่าจะถึงเวลาจึงจะถูกกำหนดให้ได้เป็น มิใช่ว่าทุกคนจะได้เป็น สิ่งสำคัญคือต้องเป็นหน่อเนื้อขององค์พรหมโลกตามที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่าพระพุุทธเจ้าทุกพระองค์เป็นพรหมบุตร การยกย่องบุคคลที่กระทำความดีว่าเปรียบเหมือนโพธิสัตว์เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก โพธิสัตว์ที่แท้จริงมีบารมีมากและทำความดีมากมายหาที่สุดมิได้ ต้องหมั่นทำความดีไปเรื่อยๆอย่าท้อถอย ผู้ที่ได้เป็นโพธิสัตว์คือได้ถูกกำหนดให้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆไปจะมีสัญลักษณ์ดอกบัวรองทั้งเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน หากเป็นโพธิสัตว์ลงมาเกิดเพื่อสร้างบารมีเพิ่มก็จะมีสัญลักษณ์ดอกบัวติดตัวมาด้วยตั้งแต่เกิด ลักษณะดอกบัวแบบที่เห็นจากภาพเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น บางองค์จะมีดอกบัวหลายชั้นขึ้นอยู่กับบารมีของแต่ละท่าน ผู้ที่มีอภิญญา มีตาทิพย์สามารถจะมองเห็นได้ถ้าท่านเปิดให้ดู หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตเคยปรารถนาพุทธภูมิแต่ท่านพิจารณาแล้วว่าต้องรออีกนาน แต่ภายหลังท่านได้อธิษฐานขอเปลี่ยนเป็นนิพพานไม่ขอกลับมาเกิดอีกจึงบรรลุธรรมขั้นสูง
     
  3. sad boy

    sad boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +454
    ดูในหลวงดิ นั่นเเหละตัวอย่างโพธิสัตว์ ของชาวไทย
     
  4. Jhakhawarho

    Jhakhawarho สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +2
    ตามความเข้าใจของผมนะ การที่เราจะรู้ว่าใครคนไหนเป็นพระโพธิสัตว์หรือไม่ บารมีมากน้อยแค่ไหน ผมว่าเราน่าจะต้องมีอินทรีย์บารมีอยู่ในระดับที่เท่ากันหรือมากกว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นนะครับ ถึงจะพอประมาณได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าพิจารณาจากคำพระศาสดาที่ว่า...

    ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล
    และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษ
    ของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ


    ผมคิดว่าพระศาสดาให้พิจารณาแต่ตนครับ ไม่ควรพิจารณาผู้อื่น
     
  5. din555

    din555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2010
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +544
    สวากขาโต ภะ คะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ
     
  6. Unlimited Indy

    Unlimited Indy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,228
    ค่าพลัง:
    +803
    ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...