กึ่งพุทธกาล..เปิดธรรมโลกุตระ! ไขความลับจักรวาล ไขขปริศนาแห่งธรรมจักร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jityim, 24 พฤษภาคม 2016.

  1. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อยู่กับปัจจุบัน (ไม่หลงในอดีต ไม่หลงในอนาคต)
    อยู่กับอดีต อยู่กับอนาคต..(หลงไปจาก ปัจจุบัน)

    อยู่กับปัจจุบันคือ...อยู่กับ กายใจ..ของตัวเองที่ เป็นความจริง
     
  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ขอนำประสบการณ์อันล้ำค่าของท่านมังกรบูรพา ขออนุญาตนำมาลงไว้ที่กระทู้นี้หน่อยนะคะ

    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3.565758/page-20 หน้า 20

    สมาธิแบบที่หนึ่ง...

    จิตนิ่งสนิท แล้วมีความรู้สึกที่เป็นหนึ่ง รู้อยู่ที่จิตเฉพาะของตนเอง เหมือนรู้อยู่ในที่มืดสนิท ไม่มีลมไม่มีกาย

    พอค่อยๆถอนจิตออก เพื่อกลับสู่สภาวะปรกติ เริ่มปวดเอวปวดขา (สมาธิโง่ ถ้าไม่ยกภูมิเข้าวิปัสนา)


    สมาธิแบบที่สอง...

    จิตนิ่งสนิท เห็นโพลงอุโมงค์มืดๆ ดำๆ เห็นยานอวกาศลำหนึ่ง(จิต) ลอยอยู่ในอุโมงค์ พอหลุดจากอุโมงค์

    เข้าสู่จักรวาลที่มีดวงดาวน้อยใหญ่ พอหลุดออกจากดวงดาวน้อยใหญ่ เข้าไปสู่ในแดนที่มืดสนิด พอหลุดจาก

    ดินแดนที่มืดสนิด เข้าไปสู่แดนแห่งความสว่าง สว่าง สว่างๆๆๆๆๆ มีความรู้สึกซ้ายขวา หน้าหลัง รอบทิศทาง

    โดยไม่หัน มีแต่ความสว่างไสว เย็นๆๆๆๆนะ รู้สึกเย็นไปหมดในดินแดนแห่งนั้น


    ป.ล. แบบที่สอง ผ่านมานานมากแล้วล่ะนะ ได้ความสว่างเย็น เพียงครั้งเดียวนะ เรียกสมาธิแบบนี้ว่าอะไรดี

    ********************--------***********************

    อ่านแล้วก็ตื่นเต้น! อมยิ้มอยู่ในใจ....ว่าเดี๋ยวนี้มีอะไร ๆ ที่ชักเชื่อมโยงกันได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2016
  3. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    และอันนี้ประสบการณ์ของท่านมังกรบูรพา ค่ะ

    ขออนุญาตนำมาลงไว้ก่อน...แล้วค่อยมาต่อกันทีหลังค่ะ จิตจักรวาลกล่าวไว้ว่าอย่างไร...

    จักรหกที่กลางหน้าผาก หมุนติ้วควงสว่านเป็นพายุทอนาโด แล้ว ค่อยๆแกว่างไปทางซ้าย ไปทางขวา

    แล้วค่อยนิ่งสนิท เป็นมืดๆดำๆ แล้วสิ่งที่เราต้องการดูจึงปรากฏ หากมีใครถามผมว่า ต้องการสมาธิ

    แบบนี้ไหม ก็ขอตอบว่า ไม่ถูกโฉลกกับตนเอง ฝึกยังไงก็ไม่ถูกโฉลก เพราะดับทุกข์ในใจ ไม่ได้จริง

    ดับราคะ โทสะ โมหะไม่ได้จริง ยังพร้อมที่จะลงนรกได้ตลอด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ในยุคพลังงานใหม่ เป็นยุคที่อำนาจคลื่นแม่เหล็กเพิ่มขึ้น มีผลต่อต่อมไพนีล ตาที่สามของมุนษย์ ที่ในยุคพลังงานเก่า ถูกกำหนดให้ปิดกั้นมิติไว้มิดชิดเกินไป จนเป็นอุปสรรคสำหรับมนุษย์ส่วนใหญ่ที่จะกระทำได้ง่าย ๆ เมื่อพลังงานยุคใหม่ ต่อมไพนีลที่เป็นส่วนสำคัญในการฝึกฝนทักษะจะทำได้ทันทีโดยไม่เสียเวลาฝึกฝนอย่างยาวนานอีกต่อไป

    ต่อมไพลนีอันเป็นช่องทางตาที่สามในการสื่อภาษาที่สามของมนุษย์ทุกคน

    กระบวนการตาที่สามนี้เป็นการปลดปล่อยพลังงานความรักที่มอบให้แก่โลก เป็นกระบวนการที่เกิดจากจิตสำนึกในการบริหารสมองซีกขวาให้ทำงานนำสมองซีกซ้ายเป็นการสร้างความรู้สึกทางอารมณ์เท่านั้น เป็นกิจกรรมเบื้องต้นที่เกิด คือ จะเกิดเพียงความสงบสุขและความปีติภายในจิตเท่านั้น แต่ถ้ามนุษย์สามารถพัฒนากระบวนการรู้สึกไปสู่การคิดรู้อีกระดับหนึ่งะได้ค้นพบพลังมหัศจรรย์สูงสุดในการสร้าพลังอำนาจให้ตนเอง ที่ไม่อาจมีใครมอบให้แก่ตัวเองได้เลยอีกชั่วชีวิตของการเป็นมนุษย์นี้เลย

    เพียงแค่ค้นพบวิธีกระตุ้นจิตภาคสองให้ใช้สมองซีกขวาของตนเองได้แล้ว และ..เพียงแค่ใส่รหัสการคิดรู้ในสิ่งใด ๆ ที่ต้องการจะรู้เข้าไป โดยตั้งมั่นอยู่กับความสงบสุข หรือ ปีติที่เรียกว่า สมาธิ แล้วเพ่งการคิดรู้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ คลื่นการคิดรู้จะผสมผสานกับคลื่นพลังงานบวก(สมาธิปีติสุข) จะถูกผลักดันผ่านช่องตาที่สามสู่สิ่งนั้นได้ทันที

    ลื่นการคิดจะทำหน้าที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่งเป้าหมายนั้น เช่น จิตใจมนุษย์คนอื่น เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งปัจจุบัน ในต่างสถานที่กัน และในอดีตชาติ ซึ่งยังคงเป็นปัจจุบันในจักรวาลเสมอ หรือ แม้แต่เนื้อในของรูปธรรมของสรรพสิ่งที่เล็กละเอียด คลื่นพลังงานการคิดรู้จากกระบวนการนี้ จะเข้าไปรับเอาคุณสมบัติทางพลังงานของสิ่งนั้น ๆ ทั้งหมดแล้วทวนสัญญาณย้อนกลับเข้าสู่จิตสำนึกอันเป็นศูนย์กลางของการสั่นสะเทือน เพื่อเป็นข้อมูลแก่สมองซีกขวาให้รวบรวมคุณสมบัติที่ได้มาทั้งหมด ทำให้เกิดความรู้เข้าใจในสิ่งนั้นชั่วพริบตา

    เพราะเป็นขบวนการในมิติที่สามนอกเหนือมิติแห่งกาลเวลาที่มนุษย์คุ้นเคย

    การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ ไม่ใช่แค่การสัมผัสรู้ แต่เป็นการหยั่งรู้ด้วยวิธีสังเคราะห์ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มนุษย์ยุคพลังงานใหม่ทุกคนต้องฝึกฝนและกระทำให้ได้ เพื่อเตรียมตนให้พร้อมต่อบทเรียนและบททดสอบตนเอง แม้มนุษย์จะใส่ใจในการรู้แจ้งหรือไม่ก็ตาม เพราะบทเรียนใหม่ไม่ใช่แค่เพียงบทเรียนโลกเท่านั้น แต่มันจะเป็นบทเรียนระหว่างเผ่าพันธ์แห่งดวงดาว ระหว่างจักรวาลและกาแล๊กซี่ ซึ่งมนุษย์ต้องเรียนรู้วิธีการใช้ภาษาที่สามนี้เท่านั้นคือ ภาษาจิตอันเป็นภาษาสากลจักรวาล

    การที่หลักปฏิบัติทางศาสนาสอนให้มนุษย์หมั่นทำกรรมดีหรือ รู้จักมอบพลังงานด้านบวกอันเป็นปีติสุขสงบภายในใจตน ก็ก่อให้เกิดความเมตตาความรักความปราถนาดีต่อผู้อื่น การฝึกฝนการใช้จิตบริหารสมองซีกขวาของตนไว้ และค้นพบความมหัศจรรย์ทั้งหมดได้ด้วยตนเองนี้ ยังนำมนุษย์ไปสู่เป้าหมายการรู้แจ้งได้อีกด้วย

    รอติดตามไปพร้อมกันค่ะว่าเป็นเพราะอะไร?

    นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเองแล้ว กระบวนการดังกล่าวยังเป็นประโยชน์่ต่อโลกของเราด้วยค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    หลายคนสงสัยเชื่อหรือไม่? พลังงานยุคใหม่!

    หากภัยพิบัติที่กำลังประสบกันอยู่ทั่วโลกนี้ นี้คือหนึ่งขบวนการเข้าสู่พลังงานยุคใหม่ หากที่สนใจและศึกษาและทำความเข้าใจจริง ๆ จะรู้ว่ามันอาจไม่น่ากลัวอย่างที่เราคิด ถ้าเราเตรียมพร้อมด้วยสติ ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตใจเพื่อรับรู้และเผชิญกับสถานการณ์ ..อาจไม่รุนแรงอย่างที่คิด ขึ้นอยู่กับตัวเราจริง ๆ ว่า...เราพร้อมจะเผชิญสถานการณ์แบบไหน ..เราเป็นผู้กำหนดขึ้นได้ด้วยความดีของตนเอง...และความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติ...และหรือคนทั่้งโลก ..โดยเฉพาะถ้าคนในชาติกระทำได้ร่วมมือร่วมใจกัน ...ธรรมชาติปกป้องคุ้มกันภัยให้กับเราและประเทศชาติเอง จักรวาลแจ้งว่าอยู่ที่การตัดสินใจของทุกคน แต่ยุคพลังงานใหม่นี้ ใกล้เข้ามาแล้ว และกำลังคืบคลานเข้ามาจริง ๆ

    ถ้าประเทศไทย หรือ จุดไหน โดนผลกระทบเรื่องภัยธรรมชาติมากหรือน้อย หนักหรือเบา ขึ้นอยู่กับเคราะห์กรรมของคนในชาตินั้น หรือ ของตนเองของสังคมชุมชนนั้นด้วย โลกจะต้องปรับความสมดุล หากว่ามันเสียความสมดุลไป เสียความสมดุลไปมาก ความเสียหายก็มาก แต่ถ้าทุกคนอยากจะให้ภัยพิบัติน้อยลงมนุษย์ต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างพลังงานด้านบวกมอบให้แก่โลก ภัยพิบัติมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่า ความเสียสมดุลทางพลังงานมากหรือน้อย ซึ่งสิ่เหล่านี้กำลังเกิดขึ้นกับมนุษย์บนโลกเราแล้วค่ะ พวกเรากำลังเผชิญอยู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อเข้าสู่ยุคพลังงานใหม่...

    ความรุนแรงยากที่จะคาดเดา ขึ้นอยู่กับว่าโลกจะเสียสมดุล หรือ ขาดความสมดุลไปมากแค่ไหน...และที่กล่าวมานี้...มันจะเชื่อมโยงกับคำว่าหน้าที่ของเราในโลกใบนี้ด้วยค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

    ในการทำวิปัสนาญาณ วิชชา 8 ประการ


    [๒๑๖] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร อริยสติ-
    สัมปชัญญะ
    และอริยสันโดษอย่างนี้แล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า
    โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
    ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า

    อันดับแรกเลยการละนิวรณ์ 5 ให้ได้ก่อน

    การละนิวรณ์ ๕

    [๒๑๗] เธอละอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) ในโลก๑ มีใจปราศจาก
    อภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่
    พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือ
    พยาบาท ละถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง
    มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้ง
    ซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
    อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉา
    ในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา


    [๒๒๔] มหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว เหมือนความ
    ไม่มีหนี้ ความไม่มีโรค การพ้นโทษจากเรือนจำ ความเป็นไทแก่ตัวเอง และภูมิสถาน
    อันสงบร่มเย็น

    [๒๒๕] เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้ว ย่อมเกิดความ
    เบิกบานใจ เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
    ย่อมได้รับความสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น


    ปฐมฌาน

    [๒๒๖] ภิกษุนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่
    มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยปีติและ
    สุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิด
    จากวิเวกจะไม่ถูกต้อง

    ทุติยฌาน

    [๒๒๘] ยังมีอีก มหาบพิตร เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุ
    ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายในมีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มี
    แต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยปีติและสุขอัน
    เกิดจากสมาธิ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจาก
    สมาธิจะไม่ถูกต้อง

    ตติยฌาน

    [๒๓๐] ยังมีอีก มหาบพิตร เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มี
    สติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
    ว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ
    รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง

    จตุตถฌาน

    [๒๓๒] ยังมีอีก มหาบพิตร เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
    โทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
    อุเบกขาอยู่ เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่
    ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง

    วิชชา ๘ ประการ
    ๑. วิปัสสนาญาณ


    [๒๓๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจาก
    ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
    น้อมจิตไป
    เพื่อญาณทัสสนะ๑ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง
    ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา
    เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสด
    ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณ
    ของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’

    ๒. มโนมยิทธิญาณ

    [๒๓๖] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
    ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
    น้อมจิตไปเพื่อเนรมิตกายที่เกิดแต่ใจ
    คือ กายอื่นจากกายนี้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ
    มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง



    ๓. อิทธิวิธญาณ


    [๒๓๘] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
    ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
    น้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคน
    ก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง
    (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไป
    ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไป
    ในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
    มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้

    ๔. ทิพพโสตธาตุญาณ

    [๒๔๐] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
    ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
    น้อมจิตไปเพื่อทิพพโสตธาตุญาณได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
    ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์


    ๕. เจโตปริยญาณ

    [๒๔๒] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
    ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิต
    ไปเพื่อเจโตปริยญาณ กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะ
    ก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่ามีโทสะ หรือ
    ปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศจากโมหะก็รู้
    ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ
    ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ๑ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้
    ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า
    เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่
    หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น

    ๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

    [๒๔๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
    ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
    น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
    คือ ๑ ชาติบ้าง
    ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
    มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไป
    เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย
    สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อน
    ได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้

    ๗. ทิพพจักขุญาณ

    [๒๔๖] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
    ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
    น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
    กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
    งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
    สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
    กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด
    พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่
    ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
    และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไป
    บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
    งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
    สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล

    ๘. อาสวักขยญาณ

    [๒๔๘] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
    ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
    น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
    รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
    ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้
    อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’
    เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
    ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้น
    แล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๑ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
    อย่างนี้อีกต่อไป’๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2016
  7. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร]
    ทิฏฐิ ๖๒ เอกัจจสัสสตวาทะ ๔

    กรณีที่เป็นมิจฉาทิฐิ เกิดความเห็นผิด...

    มูลเหตุที่ ๑

    [๔๔] ๕. (๑) ข้อที่สัตว์ผู้จุติ (เคลื่อน) จากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้๑ เป็น
    เรื่องที่เป็นไปได้ เมื่อเขามาเป็นอย่างนี้แล้วออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต เมื่อ
    บวชแล้วอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ
    ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็น
    เหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึงชาติก่อนนั้นได้ ถัดจากนั้นไประลึกไม่ได้


    เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เป็นพระพรหมผู้เจริญ เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่
    ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้
    ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิด พระ
    พรหมผู้เจริญบันดาลพวกเราขึ้นมา ท่านเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร จัก
    ดำรงอยู่เที่ยงแท้ไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นบันดาลขึ้น
    มากลับเป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน อายุสั้น ต้องจุติมาเป็นอย่างนี้’
    ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมูลเหตุที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภ
    แล้วจึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่าง
    เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
     
  8. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    นำรายละเอียดจากโพสทั้งสองข้างบนมาเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง สัมมาทิฐิ และ มิจฉาทิฐิ แตกต่างกันอย่างไรค่ะ

    แต่เราจะเห็นได้อย่างหนึ่งว่า ระหว่างคำว่า น้อมจิตไป และ ใช้ความคิดอย่างถูกวิธี แต่สิ่งที่ได้เหมือนกัน คือ พลังจิต อภิญญา หรือ เจโตสมาธินะค่ะ

    แล้วจิตกับความคิด คือ อะไร?

    ได้รายละเอียดมาให้พิจารณา ถึงการปฏิสนธิทางวิญญาณ...ว่าเป็นอย่างไร

    กาย จิต วิญญาณ ที่มีชื่ออย่างนี้ จิตจักรวาลกล่าวว่าอย่างไร ถ้าเราไปเทียบกับศาสนพุทธของเรานะค่ะ
     
  9. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    จิต กับ ใจ แตกต่างกันอย่างไร

    จิตวิญญาณ พลังงานแก่นแท้อยู่ในร่างกายมนุษย์เข้ามาปฏิสนธิทางวิญญาณพร้อมกันกับการปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา คุณสมบัติของจิตวิญญาณ คือ สติปัญญาแห่งการคิดรู้ได้ทุกสรรพสิ่ง

    จิตวิญญาณ จะถูกแยกออกเป็นสองส่วนในร่างกายมนุษย์

    ส่วนแรก วิญญาณ จะยึดเหนี่ยวอยู่ตรงต่อมพิทูอิทารี่ติดกับสมอง

    วิญญาณทำหน้าที่ห่อหุ้มพลังงานที่เล็กละเอียดกว่าซึ่งเรียกว่า "จิต" หรือ ตัวคิดรู้ (จิตหรือตัวคิดรู้จะถูกห่อหุ้มด้วยวิญญาณอีกที)

    วิญญาณจะถูกกับเก็บไว้ที่สมอง เพราะเป็นพลังงานขั้นสูงเต็มไปด้วยอำนาจฤทธิ์เป็นพลังงานที่ไม่อยู่บนโลกใบนี้ นอกจากสนามพลังงานจักรวาล

    พลังของวิญญาณ ได้พลังพื้นฐานจากจิตจักรวาลส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้จากการสั่งสัมในอดีตชาติจากการเป็นมนุษย์ทีเกิดจากพลังงานบวก

    กลุ่มพลังงานนี้ไม่มีคุณสมบัติในการคิดรู้ใด ๆ แต่จะเชื่อมโยง กับกลุ่มของพลังจิตที่เป็นนิวเคลียสที่วิญญาณห่อหุ้มเอาไว้ มันจะเชื่อมโยงกันด้วยพลังงานด้านบวกเท่านั้น และมันพร้อมจะทำตามจิตที่เป็นนิวเคลียสเสมอ

    วิญญาณนี้ ก็คือ ดวงตาของจิตวิญญาณ หรือ ตาที่สามนั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2016
  10. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ส่วนที่สอง จิต


    แม้จิตจะถูกแบ่งออกไปให้กระจัดกระจายไปทั่วร่างกายของมนุษย์แล้วก็ตาม แต่จิตทุกจิต สามารถสื่อสารกับวิญญาณได้ ด้วยกลไกในร่างกายที่เกิดจากพลังงานบวก เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างจิตกับวิญญาณจะถูกเปิดออก การปลดปล่อยพลังงานทางวิญญาณก็จะเกิดขึ้น กระบวนการนี้เรียกว่า การสร้างพลังจิตใต้สำนึก

    จิตใต้สำนึก ซึ่งเป็นพลังงานเช่นเดียวกันจะแทรกตัวอยู่ภายในเซลล์อวัยวะร่างกายทั้งระบบ ซึ่งมีต่อมอะดรีนาลีน เป็นศูนย์กลางควบคุมกลไกนี้ และมีระบบซิมปาเทติค บริเวณช่องท้องน้อยเป็นอวัยวะเพื่อการรับรู้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ที่ตั้งของจิตวิญญาณที่สำคัญก็คือ สมอง (ตรงต่อมพิทูอิทารี่)

    ถ้าสมองได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายต่อระบบสมอง หมายถึงการเสียชีวิตของมุนษย์ มนุษย์จะเสียชีวิตเพราะสมองเป็นที่ตั้งสำคัญของจิตวิญญาณ
    ถ้าอยู่ที่หัวใจ ทำไมมนุษย์เราจึงสามารถเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ คือ หัวใจได้

    ร่างกายมนุษย์จึงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ กาย จิต และวิญญาณ

    จิต อันหมายถึง ผู้คิดรู้ได้เอง (จิตหรือตัวคิดรู้)

    จิตสำนึก คือ สมอง

    คลื่นความคิด ก็คือ กระแสจิต

    สติปัญญาในจิต เรียกว่า ปัญญาญาณ

    การสื่อภาษาที่สาม หรือ คลื่นพลังงานการคิดของจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    ที่เราเคยกล่าวกันไว้แล้วข้างต้น วิญญาณ (ผู้รู้) หรือ (ผู้รู้)

    ในปฏิจจสมุทปบาท คือ ผัสสะ นั่นเอง

    ซึ่งถือเป็นดวงตาของจิตวิญญาณ หรือ ตาที่สาม


    ซึ่งไม่มีคุณสมบัติในการคิดรู้ใด ๆ

    ถ้าดับการเกิดดับของวิญญาณได้

    จิตก็หลุดพ้น....ค่อยหาคำตอบกันต่อไปค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...