การสอนดูจิตที่เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริงว่าจิตเกิดดับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 5 มิถุนายน 2010.

  1. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ผมถามท่านนะครับว่าที่ท่านยกพุทธพจน์มา มันมีสิ่งที่ชี้ว่าเป็นอาการหรือไม่
    ครับ ผมเห็นมีแต่คำว่าเสวย

    ก็ได้ครับถ้าท่านจะบอกว่าเสวยแล้วจึงมีอาการ
    แต่ท่านต้องไม่ลืมนะ คำว่าอาการไม่มีอยู่ในพุทธพจน์ที่ท่านนำมา แสดงว่า
    คำว่าอาการมันแต่งขึ้นภายหลัง

    ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ผมเคยเห็นท่านไปแย้งคนอื่นว่า "ไม่ยอมรับคหเขา
    เพราะไปอ้างบทความที่อรรถาจารย์แต่งขึ้นภายหลัง"

    ฉะนั้นคำว่าอาการเป็นบัญญัติที่ อรรถาจารย์นำมาบัญญัติไว้ที่หลัง
    เพื่อให้เขากับทิฐิของตนที่ว่า จิตเที่ยงไม่เกิดดับ

    ท่านธรรมภูติครับ การกระทำแบบนี้โบราณเรียกว่า เกลียดตัวกินไข่
    เกลียดปลาไหลกินน้ำแกงครับ

    ด้วยเหตุนี้ท่านคงจะรู้แล้วนะว่า ผมรู้สึกไม่พอใจเมื่อท่านอ้างถึงพุทธพจน์
    เพราะพุทธพจน์ที่ท่านอ้าง มันก็เป็นสิ่งที่ เหล่าอรรถาจารย์เรียบเรียง(ผมไม่
    ได้ใช้คำว่าแต่งขึ้นใหม่นะครับ กลัวมีปัญหา)
    แล้วท่านเรียบเรียงจากไหน ก็มาจากคำบอกเล่าของพระอานนท์อีกที

    .....แล้วเรื่องสักกายทิฏฐิ ที่ท่านให้ความหมายมาผมยังไม่เข้าใจครับ
    แต่ผมไม่ชี้ผิดชี้ถูกนะครับ

    ในส่วนของผมขออธิบายง่ายๆนะครับ
    คือการเห็นเอากายและใจเป็นตัวตน ยึดเอาไว้เป็นของตนเอง

    ท่านทราบมั้ยครับ ที่ผมถามเรื่องนี้กับท่านก็เพราะ ถ้าเรายังยึดติดว่ากายใจเป็น
    ของตน การอธิบายความที่เกี่ยวกับจิต จิตจะไปยึดเอากายมาเป็นองค์ประกอบ
    ด้วยเสมอ มันเป็นไปด้วยความเคยชิน

    ฉะนั้นด่านแรกเลยก็คือ เลิกยึดหมั้นถือหมั้นกายกับใจ แต่เราคุยกัน
    เรื่อง"อาการของจิตหรือกายนี้" ตอนแรกก็ให้จิตเลิกยึดถือกายเสียก่อน
    เมื่อมีความรู้สึกว่า กายก็ส่วนกาย จิตส่วนจิต
    เมื่อเหลือแต่จิตแล้ว แล้วลองพิจารณาว่าสิ่งที่เกิดที่จิตเป็นอารมณ์หรืออาการ

    สมมุติตามคหท่านที่ว่า จิตเที่ยง มีดวงเดียว ไม่เกิดดับ
    จิตที่มีดวงเดียวและเป็นปัจจุบันณ.เวลานั้น สามารถมองตัวเองได้หรือไม่
     
  2. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    บทความของดังตฤณ เกี่ยวกับการเกิดดับของจิต


    "ตามที่พระพุทธองค์ตรัส ว่าเปรียบเหมือนลิงเหนี่ยวกิ่งไม้หนึ่ง เปลี่ยนไปเป็นอีกกิ่งหนึ่ง
    เหมือนจิตจับอารมณ์หนึ่งแล้วเปลี่ยนไปจับอีกอารมณ์หนึ่ง เช่นตอนนี้ฟัง แล้วเปลี่ยนเป็นเห็น
    อย่างนี้ก็จัดว่าวิญญาณทางตา หรือความรู้แจ้งทางตาเกิดแล้วดับ

    หรืออีกนัยหนึ่ง ขณะนี้จิตเป็นกุศล เดี๋ยวเปลี่ยนเป็นอกุศลจิต
    ตัว สภาพ ความเป็นจิตนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง
    เปรียบเหมือนลูกไฟมหัศจรรย์กองหนึ่ง ตอนนี้สว่างขึ้นเป็นสีขาว
    อีกตอนหนึ่งลุกโพลงขึ้นเป็นสีดำ เป็นสภาวะที่ขัดกันเป็นคนละอัน
    มีที่เหมือนกันอย่างเดียวคืออุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น
    ความไม่เป็นอิสระจากความครอบงำของขันธ์
    กุศลจิตเกิดขึ้นเพราะกรรมขาว อกุศลจิตเกิดขึ้นเพราะกรรมดำ
    ส่วนจิตที่พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล คืออพยากตจิตนั้น เกิดจากกรรมไม่ขาวไม่ดำ

    เมื่อภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ โดยเฉพาะในหมวดจิตตานุปัสสนา
    เฝ้ารู้ตามจริงว่าขณะนี้มีราคะในจิต ขณะนี้จิตไม่มีราคะ
    ขณะนี้มีโทสะในจิต ขณะนี้ไม่มีโทสะในจิต
    ขณะนี้มีโมหะในจิต ขณะนี้ไม่มีโมหะในจิต
    ขณะนี้จิตหดหู่ ขณะนี้จิตฟุ้งซ่าน
    สติที่รู้อยู่เห็นอยู่เสมอๆว่าจิตมีสองหน้า มีสองข้าง มีสองลักษณะเป็นทวิลักษณ์
    ก็จะเริ่มยอมรับว่าจิตแต่ละแบบไม่เหมือนกัน เป็นคนละตัวกัน
    และต่อมาเมื่อมีสัมปชัญญะ มีความ "รู้ชัด" ขนาดเห็นขณะแห่งความแปรไปของสภาวจิต
    ก็จะทันทีเดียวว่าขณะนี้จิตอย่างหนึ่งเกิด ขณะนี้จิตอย่างนั้นกำลังแปรไป หรือขณะนี้จิตอย่างนั้นดับแล้ว
    หรือถ้าฝึกในหมวดอายตนะ จิตที่มีความรู้ชัดต่อเนื่องอยู่
    ก็สามารถเห็นว่าขณะนี้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์ไหน
    ขณะนี้วิญญาณกำลังหยั่งลงในอายตนะใด
    ขณะนี้จิตกำลังเสวยอารมณ์ทางอายตนะใด
    ขณะนี้จิตมีความปรุงแต่งเป็นชอบชังเพราะอายตนะนั้นอย่างไร
    ยึดมั่นถือมั่นด้วยลักษณะของสังโยชน์ข้อใด
    ความรู้ชัดเป็นขณะๆนั้นก็รายงานให้ผู้เฝ้ารู้เฝ้าดูอยู่ได้ทราบ
    ว่าวิญญาณทางตาไม่เที่ยง เกิดดับในลักษณะของการหยั่งลงไปในอายตนะต่างๆ
    เมื่อตัดอุปาทานว่าเป็นตัวเราออกไปได้ ก็ไม่เห็นอะไรนอกจากธรรมชาติรู้อารมณ์
    ถูกปรุงแต่งด้วยความชอบความชังอันไหลแต่สุขทุกข์ในผัสสะหนึ่งๆ

    เห็นในลักษณะอย่างนี้เป็นการเห็นจิตเกิดดับได้ครับ
    เพราะจิตนั้น ถ้าไม่มีเจตสิก หรือธรรมมาปรุงแต่งให้มีอันเป็นไป
    เราก็จะจำแนกไม่ได้เลยว่าจิตเป็นอย่างไรๆ ตรงไหนเกิดขึ้น ตรงไหนดับไป
    อันนี้มองในลักษณะเปรียบเทียบกับการปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ นะครับ"
    <O:p</O:p
    <O:p ******************************************
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2010
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มีคำถามมาหลังไมค์ ผมได้ตอบแล้ว และขออนุญาตตอบหน้าไมค์ด้วยครับ
    คุณต้องรู้ก่อนนะครับว่า จิตคือธาตุรู้ ทรงตัวรู้อยู่ทุกกาลสมัย

    ถึงไม่รู้เพราะขาดสติไป ก็รู้ว่าเมื่อครู่ไม่รู้เพราะขาดสติไป

    ไม่ใช่รู้บ้างไม่รู้บ้างนิครับ

    ถ้าจิตเกิดๆดับๆ ก็แสดงว่ารู้บ้างไม่รู้บ้างใช่มั้ยครับ???

    ถ้าจิตเกิดดับจริงแล้ว ตอนมันเกิดดับคุณรู้มั้ยครับ???

    ถ้าคุณรู้อยู่ก็แสดงว่ามันไม่เกิดดับนิครับ

    ที่เกิดดับเป็นเพียงอาการของจิตต่างหากครับ

    ในมหาสติปัฏฐานสูตรก็กล่าวไว้ชัดเจนอยู่แล้วครับ

    จิตมีราคะก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ จิตไม่มีราคะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีราคะ
    จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ จิตไม่มีโทสะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีโทสะฯลฯ

    ส่วนเรื่องจิตไม่เป็นอนัตตานั้น ในอนัตตลักขณสูตร ก็กล่าวไว้ชัดเจนว่า

    ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา จิตหลุดพ้นเพราะปล่อยวางการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕

    มีตรงไหนในพระสูตรครับที่บอกว่าจิตเป็นอนัตตา

    มีแต่เอามาพูดกันเองทั้งนั้นครับ พอโดนถามกลับไปก็ตอบไม่ได้

    ;aa24
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จิตคือผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่
    ผู้ปฏิบัติต้องรู้ต้องเห็นตลอดสายในการปฏิบัติ

    ฉวิโสธนสูตร

    [๑๖๘]ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์
    อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ
    ตรัสไว้ชอบนี้ มี ๕ ประการแล ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์

    ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
    อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบแล้ว

    ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ฯ

    [๑๖๙] ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุ
    ข้าพเจ้ารู้แจ้ง รูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ แล้วแล
    ว่าไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ

    จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ
    และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ ได้

    ดูกรท่านผู้มีอายุ
    จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณโลกุตตระครับ

    ในเมื่อคุณเอาบทความของคนอื่นมา คุณต้องรับผิดชอบนะครับ

    เมื่อผมมีคำถามไปคุณต้องตอบแทนนะครับ เพราะเจ้าของบทความไม่สามารถมาตอบเองได้

    คุณอย่าคิดเองเออเองสิครับ ตรงไหนครับที่จิตเกิดดับ

    จิตเปรียบเหมือนวานร ตัวเดียวเที่ยวไปในป่าใหญ่ เหนี่ยวกิ่งไม้หนึ่ง เปลี่ยนไปเป็นอีกกิ่งหนึ่ง

    ที่เปลี่ยนไป(เกิดดับ)คือกิ่งไม้ใช่มั้ยครับ??? ไม่ได้บอกตรงไหนเลยนะครับว่าวานรเปลี่ยนไป

    ในมหาสติปัฏฐานก็ชัดเจนอยู่แล้วนิครับ

    ขณะนี้จิตมีราคะในจิตก็รู้ชัด ขณะนี้จิตไม่มีราคะก็รู้ชัด

    ขณะนี้จิตมีโทสะในจิตก็รู้ชัด ขณะนี้ไม่มีโทสะในจิตก็รู้ชัด

    ขณะนี้จิตมีโมหะในจิตก็รู้ชัด ขณะนี้ไม่มีโมหะในจิตก็รู้ชัด

    ขณะนี้จิตหดหู่ก็รู้ชัด ขณะนี้จิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดฯลฯ

    อารมณ์หนึ่งเกิดขึ้น ดับไป ก็รู้ อารมณ์ใหม่เกิดขึ้น ดับไปก็รู้ใช่มั้ยครับ???

    อารมณ์ความรู้สึกทั้งหลายที่กล่าวมานี้ เกิดขึ้นที่ไหนครับ???

    ที่ยกมาก็ชัดเจนนะครับว่าเกิดขึ้นในจิต เมื่อดับไปต้องดับไปจากจิตใช่มั้ยครับ??? ไม่ใช่จิตดับ

    ที่คุณยกมาพูดว่า "ก็สามารถเห็นว่าขณะนี้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์ไหน"

    ใครที่สามารถเห็นครับ???

    บทความที่ยกมาบอกว่า"จิตตั้งอยู่ในอารมณ์ไหน" แสดงว่าที่เปลี่ยนไปคืออารมณ์ต่างๆใช่มั้ยครับ???

    ตรงไหนล่ะครับที่บอกว่า อารมณ์ตั้งอยู่ในจิตดวงไหน???

    อะไรคือธรรมชาติรู้ครับ??? แล้วใครหละครับไม่เห็นอะไรนอกจากธรรมชาติรู้อารมณ์ครับ???

    ;aa24




     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯครับ

    คุณก็ชี้แจงเองแล้วนิครับว่า คุณพิมพ์ผิดไปเอง ดีครับที่ยังระลึก(สติ)รู้ทัน

    จะได้ระมัดะระวัง ไม่ให้ผิดพลาดอีก ไม่มีใครที่ไม่เคยผิดพลาดนะครับ

    ผมก็ยังนั่งยัน ยืนยัน นอนยันนะครับว่า ใจที่เป็นนามไม่ใช่สมองแน่นอนครับ

    ผมถึงให้คุณเอาใจมาให้ผมดูยังไงล่ะครับ อย่าลืมนะครับว่าคนที่เพิ่งตายก็มีสมองเช่นกัน

    ผมเห็นถึงความพยายาม ที่คุณอุตส่าห์นำเอาภาพสมองมาให้ดู ก็ว่าไปตามเนื้อผ้าครับ

    ;aa24
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คำว่าเสวยเป็นคำกิริยานะครับ อะไรที่เป็นกิริยา ล้วนก็คืออาการทั้งนั้นครับ

    คำว่าอาการก็คือกิริยาที่แสดงออกไปทางกาย วาจา ใจครับ

    และยังมีอาการซ้อนอาการอยู่อีกนะครับ

    จะภายหลังหรือก่อนหน้า อาการก็คืออาการอยู่ดี

    กาย วาจา ใจที่แสดงอะไรออกไปก็ได้รับผลเช่นนั้นครับ

    ;aa24
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อันนี้คุณกำลังใส่ความผมอยู่นะครับ ผมเคยพูดว่าจิตเที่ยงไว้ที่ไหนครับ (ว่าจะไม่ถามแล้วเชียว)

    ที่ผมพูดเสมอๆก็คือจิตไม่เกิดดับ เพราะจิตเป็นธาตุรู้ ย่อมทรงไว้ซึ่งความรู้

    ที่เกิด-ดับและแปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เกิดขึ้นมาและดับไปนั้น

    คืออาการของจิต ที่แสดงออกโดยผ่านทางกาย วาจา ใจให้แลเห็นเท่านั้นครับ

    ส่วนเรื่องจิตเที่ยงหรือไม่เที่ยงนั้น ผมก็แค่เสนอให้พิจารณากันเอาเองครับ

    แต่อย่าใส่ความกันสิครับ(รู้สึกจะเป็นนิสัยถาวรกันไปแล้วนะครับ) เพราะมีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า

    ท่านพระโสดาบันนั้น ท่านเป็นผู้เที่ยงตรงต่อพระนิพพานใช่มั้ยครับ

    ผมจึงมีคำถามต่อไปว่า ผู้เที่ยงที่ว่า ใช่ร่างกายของท่าน หรือโลกุตตรจิตชั้นพระโสดาที่เที่ยงครับ

    ไม่ต้องตอบก็ได้นะครับ ผมไม่ได้ตั้งใจจะถามคุณ

    คุณเองก็ยังเคยพูดไว้เองนิครับว่า "ถ้าเป็นในความหมายของ นิพพานแล้วละก็
    มันน่าจะหมายถึงการไม่เกิดดับของจิต
    มันไม่ได้หมายความว่า การเกิดในร่างกายใหม่
    ด้วยเหตุนี้เราเลยต้องหาวิธี ไม่ให้จิตเกิดดับครับ"

    คุณพูดเองนะครับว่า จิตปุถุชน ต่างกับพระอริยสาวก ตรงที่ เรา(จิต)ยึดอารมณ์ หรือไม่ยึดอารมณ์ใข่มั้ยครับ

    ถ้าจิตยึดอารมณ์ ก็แสดงอาการเกิดดับไปตามอารมณ์เหล่านั้นใช่มั้ยครับ

    ถ้าจิตไม่ยึดอารมณ์ ก็ไม่แสดงอาการอะไรออกไป จิตอยู่ส่วนจิต อารมณ์ก็อยู่ส่วนอารมณ์ใช่มั้ยครับ

    ;aa24
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ครับ ผมเองก็เป็นคนประเภท ใช่คือใช่ ไม่ใช่คือไม่ใช่ครับ จะต้องเกลียดไปเพื่ออะไรหละครับ

    ที่ผมอ้างถึงพระพพุทธพจน์นั้น เป็นพระพุทธพจน์ชั้นต้นๆ ที่มีอยู่หลายฉบับกล่าวไว้ตรงกัน

    คุณก็พูดไว้เองว่า "แต่ของผม การแสดงคำตอบเพื่อให้จบเร็วๆ
    คือการ อ้างคำพูดครูบาอาจารย์และอ้างพุทธพจน์ครับ"

    ส่วนมีอะไรบ้างที่เพิ่มเติมเสริมแต่งในภายหลังบ้างนั้น ผู้ที่มีคุณวุฒิหลายท่านได้วิจารณ์ไว้มากมายแล้วครับ

    ไม่ต้องกลัวว่ามีปัญหาหรอกครับ เพราะปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ มีมานานเป็นพันปีแล้วครับ

    ;aa24
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯครับ สั้นๆนะครับใครที่เห็นกายใจเป็นตัวตนครับ

    "ถ้าเรายังยึดติดว่ากายใจเป็นของตน" เราในที่นี้คือใครกันครับ

    จิตมีดวงเดียวแน่นอนครับของใครของเค้ามีคนละดวงใช่มั้ยครับ

    ถ้าจิตเข้าถึงปัจจุบันธรรมที่แท้จริงได้ ย่อมเห็นตนเองชัดเจนที่สุด เพราะในขณะนั้นไม่ขึ้นกับกาลเวลา

    ไม่ต้องตอบก็ได้นะครับ หรือจะเลือกตอบเฉพาะที่ต้องการ
    ก็แล้วแต่ความต้องการของคุณครับ

    ;aa24
     
  11. namotussa

    namotussa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,470
    เรื่องอนัตตาเป็นเรื่องที่มีเฉพาะในพุทธศาสตร์ ไม่มีในศาสตร์หรือปรัชญาอื่นใด เพราะเรื่องอัตตาเป็นสามัญสำนึก เป็นสัญชาตญาณ รู้โดยไม่ต้องสอน เข้าใจโดยไม่ต้องมีคนมาบอก เหมือนลูกเต่าออกจากไข่ก็รู้ว่าทะเลไปทางไหน ทั้งนี้เป็นเพราะธรรมชาติได้กำหนดสิ่งนี้มาเพื่อให้มนุษย์รู้จักเอาตัวรอดเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ จึงได้มนุษย์ติดอยู่ในเรื่องอัตตาซึ่งนำมาซึ่งความทุกข์ยากที่จะสลัดออกได้ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงที่ว่า อัตตาเป็นเรื่องความเข้าใจผิดของมนุษย์ แท้ที่จริงสังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา


    หากยกตัวอย่างเปรียบเทียบมนุษย์เหมือนรถยนต์ สิ่งที่เปรียบได้กับอัตตาก็คือคนขับ รถยนต์ที่วิ่งไปมาได้ต้องมีคนขับ คนทั่วไปก็ต้องคิดเหมือนกันทั้งโลกว่าถ้าไม่มีคนขับ รถยนต์จะวิ่งไปมาได้อย่างไร บังเอิญว่าโลกเรากำลังมีรถยนต์ที่วิ่งได้อัตโนมัติ เลี้ยวได้เอง หยุดได้เอง แถมหลบคนหรือรถอื่นได้ด้วยตัวเอง จึงเป็นตัวอย่างอันดีที่จะนำมาเปรียบเทียบเรื่องอนัตตา ว่ามนุษย์ก็คือรถยนต์ที่ไม่มีคนขับนั่นเอง แต่ที่วิ่งได้อย่างอัตโนมัติเพราะมีโปรแกรมเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์คอยกำกับอยู่ ซึ่งโปรแกรมควบคุมมนุษย์ก็คือปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง


    พุทธศาสตร์มีเครื่องมือสำหรับการตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตาก็คือสัมมาสติหรือสติปัฎฐานสี่เพื่อพิจารณาหรือวิปัสนาสังขารทั้งหลาย นั่นคือ กาย เวทนา จิต และธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนประกอบในวงจรปฏิจจสมุปบาท เป็นการไปตามดูความเป็นอนัตตาของการปรุงแต่ง มีแต่การหายใจ แต่ไม่มีผู้หายใจ (ในอานาปานสติ) การควบคุมร่างกายตกอยู่ในอำนาจของสติ แทนที่จะอยู่ในอำนาจของตัณหาหรืออวิชชา


    การเข้าถึงอนัตตาตามที่วิธีแห่งสติปัฎฐานสี่ นำมาซึ่งการละ การปล่อยวาง เพราะประจักษ์แล้วซึ่งความจริงแล้วว่าสังขารทั้งปวงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะเป็นไปตามลำดับในสัมมาสมาธิ ได้แก่ฌานทั้งสี่ เป็นการดำเนินการครบถ้วนแห่งมรรคทั้งแปด
    ท่านผู้อ่านทั้งหลายขอจงมีดวงตาเห็นธรรม ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อย่าได้เข้าใจมิจฉาทิฏฐิ ที่บางท่านได้พยายามเผยแพร่ เพราะคนจำพวกนี้ไม่ใช่เพิ่งจะมีในปัจจุบัน ในสมัยพระพุทธเจ้าเองก็มีกลุ่มคนจำพวกดังกล่าวเช่นกัน
     
  12. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    <CENTER></CENTER><CENTER>มหาวรรคที่ ๗

    </CENTER><CENTER>๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
    </CENTER>[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
    คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
    นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
    ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
    จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
    ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
    เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
    ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
    กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
    [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
    ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
    เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
    อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
    บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
    บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
    ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
    ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
    [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
    กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
    อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
    บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
    นั้นแล ฯ
    [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย
    ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ
    ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี
    สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ
    ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
    เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-
    *โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
    อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
    วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
    ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
    แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
    ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๑</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER>
     
  13. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

    [๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น
    วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
    จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา
    อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น
    อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
    เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด
    ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
    เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
    ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
    ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย
    กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ
    ความถือมั่นได้ ฯ
    [๑๑๓] จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ
    จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีจักษุเป็น
    อารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระ
    โยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อม
    พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
    ไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ
    [๑๑๔] การก้าวไปสู่อัญญวัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญาอัน
    รู้ชอบ การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม ๒ ประการ คือ
    การพิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง บัณฑิตกำหนดเอาด้วย
    สภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์ ความน้อมจิต
    ไปในความดับ ชื่อว่าวิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ
    การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความ
    แตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ ชื่อว่า
    อธิปัญญาวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา) พระ-
    *โยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่
    หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดความ
    ปรากฏ ๓ ประการ ฯ
    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์ แล้วพิจารณาเห็น
    ความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ ฯ

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��
     
  14. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    วิญญาณ มโน และจิต ใน ปิฎก
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

    เมื่อจะจัดเข้าขันธ์ ๔ หรือว่าจัด ๕ เข้าในหมวดเจตสิก,
    วิญญาณ จัดเข้าในหมวด จิต,
    เวทนา สัญญา สังขาร ๓ นี้เป็น เจตสิก,
    เจตสิกทั้งปวงนี้ เมื่อย่นย่อลงแล้ว
    ก็ย่นย่อลงในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหมด

    และตามนัยในพระอภิธรรมนี้
    วิญญาณ ในขันธ์ ๕ มนะ ในอายตนะภายใน
    และ จิต ที่กล่าวถึงในที่ทั้งปวง จัดเข้าในหมวดจิตทั้งหมด

    เพราะฉะนั้น หลักการจัดหมวดจิตในพระอภิธรรม
    จึงต่างจาก หลักของการแสดงจิต มโน และวิญญาณ
    ในสุตตันตะ หรือในพระสูตร

    ในพระสูตรนั้น จิตมีความหมายอย่างหนึ่ง
    วิญญาณมีความหมายอย่างหนึ่ง
    มโนมีความหมายอย่างหนึ่ง ดังที่แสดงแล้วใน
    อนัตตลักขณสูตร และใน อาทิตตปริยายสูตร

    กล่าวโดยย่อ ใน อนัตตลักขณสูตร

    วิญญาณนั้นเป็นขันธ์ ๕ ข้อหนึ่ง
    ซึ่งตกในลักษณะของไตรลักษณ์
    คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ดั่งที่ในพระสูตรนั้นสอนให้รู้ว่าวิญญาณเป็นอนัตตา

    ใน อาทิตตปริยายสูตร
    มนะเป็นอายตยะภายในข้อหนึ่ง
    ที่ท่านสอนให้พิจารณาว่าเป็นของร้อน,
    ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

    คราวนี้ ใครเป็นผู้พิจารณาวิญญาณว่าเป็นอันตตา
    พิจารณามนะก็นับว่าเป็นของร้อน,
    ต้องมีผู้พิจารณาอีกผู้หนึ่ง
    ไม่ใช่วิญญาณพิจารณาวิญญาณเอง
    หรือมนะพิจารณามนะเอง,

    ในตอนท้ายของพระสูตรทั้งสองนี้
    ก็แสดงว่าจิตพ้นจากอาสวกิเลส,
    แต่ว่าไม่ได้แสดงว่าวิญญาณพ้นหรือมนะพ้น,
    จะแสดงอย่างนั้น ก็ย่อมไม่ได้

    เพราะเมื่อวิญญาณเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้นกิเลส,
    และมนะก็เป็นของร้อนเพราะไฟกิเลส
    ก็ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้พ้น

    นักอภิธรรมบางท่านได้กล่าวหาผู้ที่แสดงอย่างนี้ว่า

    แสดงขันธ์ ๖ คือแสดง จิต เพิ่มขึ้นอีก ๑ ขันธ์,

    เพราะว่าตามอภิธรรมนั้น
    จิต มนะ วิญญาณ อยู่ในหมวดจิตอันเดียวกัน

    คราวนี้ให้พิจารณาดูให้รู้อธิบายของท่าน
    และเมื่อต้องการจะพูดถึงธรรมะในปิฎกใด
    ก็เอาอธิบายของปิฏกนั้นมาอธิบาย...ก็ไม่ยุ่ง

    คือว่าเมื่อจะอธิบายอภิธรรมก็อธิบายว่าทั้งสามนี้เหมือนกัน,
    แต่ว่าเมื่อจะอธิบายพระสูตร
    ก็อธิบายตามหลักฐานในพระสูตรดั่งที่กล่าวมาแล้ว

    แต่อภิธรรมนี้ได้เป็นที่นิยมนับถือมาเป็นเวลาช้านาน,
    พระอาจารย์ผู้อธิบายพระสูตร
    เมื่อจะอธิบายถึง จิต ถึง มโนถึง วิญญาณ
    ก็คัดเอาคำอธิบายในอภิธรรมมาใส่ไว้ในพระสูตรด้วย,
    เพราะฉะนั้น จึงเกิดความสับสนกันขึ้น,

    ดั่งเช่นบาลีพระสูตรกล่าวถึงจิต
    พระอาจารย์ผู้อธิบายก็คัดเอามาจากพระอภิธรรมว่า
    “จิตฺตนฺติ วิญฺญาณํ วิญญาณ ชื่อว่าจิต”
    เป็นอย่างนี้เป็นพื้น ตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา,

    อันนี้แหละวิญญาณเป็นเหตุให้สับสนกัน,
    ถ้าหากว่าแยกเสียดั่งที่กล่าวมาแล้วก็จะไม่สับสน

    พิจารณาดูในคัมภีร์อภิธรรมนั้น
    ท่านต้องการแสดงเพียงขันธ์ ๕ เท่านั้น
    คือจำแนกขันธ์ ๕ ออกไปอย่างวิจิตรพิสดาร
    วิญญาณก็จำแนกออกไปเป็นจิตต่างๆ อย่างวิจิตรพิสดาร
    และเวทนา สัญญา สังขาร
    ก็จำแนกออกไปเป็นเจตสิกถึง ๕๒,
    จาก ๓ ไปเป็น ๕๒ ,
    แล้วรูปก็ยังจำแนกวิจิตพิสดารออกไปอีกมากมาย,

    เพราะฉะนั้น
    เมื่อจับได้ว่าท่านต้องการจะอธิบายธรรมะแค่ ขันธ์ ให้พิสดาร,
    ท่านจะเรียกว่า จิต ว่า มนะ หรืออะไรๆก็ตาม
    เราก็เข้าใจไปตามที่ท่านประสงค์ ก็เป็นการไม่ยุ่ง
    แต่ไม่ควรไปอธิบายให้ปะปนกัน

    และที่ท่านจำแนกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวงนั้น
    ก็ด้วยยกเอาเจตสิกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อเท่านั้น
    คือ เวทนา ๑ ญาณะ ความรู้ ๑
    สังขาร คือปรุงขึ้นเองหรือว่าต้องกระตุ้นเตือน ๑,

    เจตสิกมีถึง ๕๒ ยกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อ ยังแจกออกไปตั้ง ๘๙,
    คราวนี้ถ้ายกทั้ง ๕๒ จะได้จิตนับหาถ้วนไม่

    เพราะฉะนั้นจิตที่จำแนกไว้นั้น
    ก็หมายความว่ายกขึ้นมาไว้เป็นตัวอย่างเท่านั้น,
    จิตของคนก็เป็นอย่างนั้น
    เพียงในระยะครู่หนึ่ง ก็ความคิดไปต่างๆ มากมาย.

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=29292
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    มันจะเป็นอย่างไร ก็ช่างมัน ขอให้กิเลสลดลงไปจากใจ ก็พอ

    ขออธิบายคำว่า ไม่ใช่เรา สักหน่อย

    คำว่า ไม่ใช่เรา นั้นไม่ได้หมายความว่า ไม่มีเรานะ พระพุทธเจ้ามี พระธรรมมี พระสงฆ์มี
    นิพพานมี เรามี

    แต่ว่า ที่ท่านยกบอกว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่ใช่เรา ก็เพราะว่า จะได้ถอน อัตตานุทิฎฐิ หรือ ความเป็นตน และ เปลือกทิ้งไป

    ก็สิ่งใดที่เป็นเปลือก ก็คือ หลงว่า สิ่งต่างๆ ที่มาประชุมนี้คือเรา หลงว่า สังขารอันเป็นนาม ที่ปรุงอยู่ เป็นเรา หลงว่า ความรู้สึกทั้งหลาย เป็นเรา

    ทีนี้ ผลก็คือว่า ถ้าใครเห็นธรรม ก็จะมีทัสนะอย่างหนึ่งที่ เห็นว่า ความรู้สึกทั้งหมด ไม่ใช่ร่างกาย และ ไม่ใช่จิตที่แล่นไป ต่างๆ แต่จะเห็นฐีติจิต คือ สภาวะแท้ที่ รู้ แม้แต่ผู้รู้วิ่งออกไปจากจิตก็รู้ หลงก็รู้ นั่นแหละ คือ เรา

    และ ไม่ได้หมายความว่า เรานั้นเป็นอนัตตา

    ธรรมชาติ แห่ง ฐีติจิต หรือ จิตเดิมแท้นั้น มีอวิชชาดองติดมาแต่ไหนแต่ไร จะบอกว่า จิตคืออวิชชาก็ไม่ใช่ เพราะว่า จิตนี้มีวิชชาได้ เข้าสู่พระนิพพานได้

    ก็ลองพิจารณากันดู
     
  16. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย
    ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ
    ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี
    สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ
    ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
    เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-
    *โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
    อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
    วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
    ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
    แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
    ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ฐีติจิตนี้ ไม่เคยตาย มาแต่ไหนแต่ไร

    แต่ เราครองอวิชชา ก็ครองกระเปาะเปลือก มาแต่ไหนแต่ไร

    เหมือน น้ำ ตั้งใส่ ขัน พอเทรวมแล้วก็รวมกันหมด

    ดูตรงนี้ให้ดี

    อวิชชา อยู่ที่ไหน เกิดขึ้นลอยๆ หรือ

    อวิชชา อยู่ที่จิต ก็เปรียบเหมือน น้ำตักใส่ขัน ขันน้ำนั้นแหละ คือ อวิชชา

    จิตก็คือน้ำ

    พอสุดท้าย ทำลายอวิชชาไป จิตนี้ไม่หายไปสิ ขันน้ำแตกไป น้ำมันไม่ได้หายไป

    มันก็ไปรวมเข้ากับ มหาวิมุตติ มหานิพพาน นั่น

    ก็ถึงว่า เรานี้มันไม่ได้หาย ไม่ได้ตาย จะว่ามีอวิชชาเป็นแก่น ก้ได้
     
  18. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านธรรมภูติครับ ท่านชอบเป็นแบบนี้ จะตอบจะแย้งกลับรบกวนให้ท่านอยู่
    ในกรอบของความเห็นที่ท่านจะแย้งด้วย มิน่าเล่ามันถึงไถลไปไกลขนาดนี้

    ที่ท่านตอบมาไม่ตรงกับคำถามครับ คำถามมันอยู่ที่ คำว่าอาการไม่มีอยู่ใน
    พุทธพจน์ที่ท่านอ้าง
    และอีกปัญหาหนึ่งคือท่านไปแย้งเรื่อง การแต่งบัญญัติขึ้นภายหลัง
    ของ อรรถาจารย์ ครับ

    ผมข้อตอบส่วนที่เกินมาสั้นๆครับ
    "อาการ"คือผลรับที่ได้จากกริยาครับ ไม่ใช่กริยาซ้อนกริยา
    ท่านครับ ตอนแรกผมว่าระดับท่านแล้ว คงไม่มานั่งจับผิดกับการพิมพ์
    อักษรผิดถูก ผมคิดว่าอย่างท่าน ถึงแม้ผมจะให้อักษรย่อ ท่านก็คงตีความ
    หมายของผมออก ไม่เป็นไรครับเอาเป็นว่าผมเข้าใจผิดไปเอง

    ผมจะอธิบายคำว่า"ใจ"ให้ฟังนะครับ
    ที่เราๆท่านๆ เกิดการสับสนกับคำนี้ เพราะบางครั้งมีผู้นำเอาคำทางโลก
    ไปผสมปนเปกับทางธรรม หรือแม้แต่ในทางโลกเองก็ยังใช้ปนกัน
    มันเลยตีความผิด ผมจะบอกนะครับว่า "ใจ" มันหมายถึงอะไรบ้าง

    ในทางโลก ใจ ตีความหมายได้สองอย่างคือ สิ่งมองเห็นกับไม่เห็น
    "มองไม่เห็น"คือความนึกคิดฟุ้งซ่าน จินตนาการต่าง
    "มองเห็น"คือสมอง มันสำคัญเพราะเป็นผู้นึกคิดจินตนาการ
    ที่หนักไปกว่านั้นยังมีผู้ใช้ผิด เอาคำว่าหัวใจคือใจ

    ส่วนในทางธรรม ก็มีจิตกับใจ ความหมายเหมือนกัน
    มันแล้วแต่ว่า ครูบาอาจารย์ท่านจะใช้คำไหน

    มันอยู่ที่เราต้องพิจารณาเอาเองว่า สิ่งที่พูดคุยกันมันเรื่องของอะไร
    เป็นทางโลกหรือธรรมครับ

    ถ้าเราย้อนกลับไปดูเรื่อง อายตนะในและนอกสังเกตุดู
    อายตนะภายนอกคือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธรรมารมณ์
    อายตนะภายในคือ ตา ลิ้น จมูก หู กาย และ สมอง

    ท่านดูตามหลักความเป็นจริงเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เหล่านี้ล้วนเป็นรูปธรรม
    มีหน้าที่ไปรับผัสสะที่เกิดจาก รูป เสียง รส สัมผัส
    ธรรมารมณ์ มันเป็น ความนึกคิด จินตนาการ แล้วจะเป็นอะไรละครับที่
    ทำหน้าที่ไปรับธรรมารมณ์ ถ้าไม่ใช่สมอง

    ปัญหามันอยู่ที่การนำบัญญัติไปตีความผิดกันครับ
     
  19. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    ผมไม่ได้ระบุตรงๆ ว่าใครเป็นมิจฉาทิฏฏฐิเลย
    คุณธรรมทูต ไปอ่านให้ดี ผมเพียงแต่บอก
    ว่า พวกที่ตีความหมายของจิต ตามพระอภิธรรม
    ไม่ถูกต้อง ทั้งๆที่เขียนไว้ชัดเจนแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    คุณธรรมทูต มาเดือนเนื้อร้อนใจ ต้องออกมาแก้ต่าง
    เพราะอะไรหรือ .......
    เมื่อท่านออกมายอมรับแล้ว ก็ไม่เป็นไร

    ที่ออกมาติติงกันไม่ใช่เพื่อเหตุใดหรอก
    เพียงเพื่อไม่ต้องการให้ความเชื่อผิด
    แพร่ไปในวงกว้าง เป็นผลร้ายต่อศาสนาพุทธ
    เพราะบางท่านมีความเชียวชาญเก่งกาจในการ
    ใช้สำนวนโวหาร สามารถชักจูงโน้มน้าว
    จับโน้นโยงนี้ ทำให้ชาวพุทธผู้เพิ่งเข้ามาศึกษา
    เกิดความสับสน...

    ที่ควรประกอบในการพิจารณาคือ ครูบาอาจารย์
    ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายๆท่าน ตั้งแต่อดีตมาจน
    ถึงปัจจุบัน ไม่เคยมีท่านใดเลยที่ออกมาบอกว่า
    พระอภิธรรม ปริยัติ ไม่ถูกต้อง มีเพียงแต่บอกกล่าว
    กันว่าเมื่อปฏิบัติกันถึงขั้นแล้ว ก็จะสอดคล้องต้องกัน
    ทั้งปฏิบัติ ปริยัติ ปฏิเวช ............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2010
  20. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    เป็นจริงดังกล่าวค่ะ คนจำพวกที่อ่านแต่ตำราพุทธศาสตร์
    ไม่ได้ลงมือปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘
    ย่อมไม่มีทางที่จะมีดวงตาเห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้

    และมักกล่าวหาให้ร้ายผู้อื่นไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาทิฐิ
    ด้วยตนเองไม่รู้จักสัมมาทิฐิที่แท้จริง
    รู้สัมมาทิฐิจากการอ่าน การตรึกตามตำรา
    ซึ่งเด็กประถม หรือคนต่างศาสนาก็รู้เฉกเช่นเดียวกัน

    สัมมาทิฐิ คือ การที่จิตรู้อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
    ซึ่งจิตจะรู้ตามความเป็นจริงได้นั้น ต้องเกิดจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเป็นพื้นฐาน

    เพราะทรงตรัสไว้ว่า
    ปัญญาเกิดเพราะความประกอบ (ประกอบสัมมาสมาธิ)
    ไม่ประกอบ ปัญญาก็หมดสิ้นไป

    บุคคลรู้ทางแห่งความเจริญและความเสื่อม
    พึงตั้งตนในทางที่ปัญญาจะเจริญ


    และมีตรัสไว้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้


    และถึงใครจะเชื่อใคร หรือไม่อย่างไรก็ตาม
    ดวงตาเห็นธรรมคงเกิดขึ้นไม่ได้แน่
    ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘


    (smile)
     

แชร์หน้านี้

Loading...