การสอนดูจิตที่เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริงว่าจิตเกิดดับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 5 มิถุนายน 2010.

  1. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    อนัตตา แปลว่าไม่ใช่ตัวตน ถูกแล้วครับ

    เราได้สนทนาธรรม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
    พอสมควรแล้ว ผิดถูกอย่างไร ทุกท่านที่เข้ามาดู
    คงจะไปพิจารณากันเองได้ ด้วยปัญญาของท่านเอง

    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     
  2. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    บางคนทำสมาธิได้สมถะ แต่ไม่เคยใช้กำลังสมถะมาเจริญปัญญา ให้เห็นความจริงแท้ของชีวิต

    กลับติดความสุข ความสงบ จากสมาธิ และพยายามจะทำสมาธิให้ยิ่งๆขึ้นไป

    เมือทำได้มากขึ้นมากขึ้น บางคนเกิดมิจฉาทิฐิว่า ตนเองสามารถบังคับกดข่มไม่ให้เกิดอารมณ์ได้ตามความต้องการ

    เกิดความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนของตนเอง หากเพียงทำตัวเอง ก็ไม่ว่าอะไร แต่...เป็นห่วงคนทั่วไป เมื่อออกมาเผยแพร่ความเห็นผิดๆ จึงเข้ามาแย้งเอาไว้
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณโปครับ

    ถ้าไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาจริง ก็อย่าพยายามแสดงภูมิเลยครับ

    คุณไม่รู้จริงๆหรือรู้เพียงเล็กๆน้อยที่ได้มาจากการอ่านและลักจำเค้ามาพูดเท่านั้นครับ

    คุณรู้ได้ยังไงครับว่า ผู้ที่ปฏิบัติสัมมาสมาธินั้น ไม่ได้ทำวิปัสสนาควบคู่ไปด้วย

    ของแบบนี้คิดเองเออเองหรือเดาสวดไม่ได้หรอกครับ

    ผมถามนะครับว่า คนที่ไม่มีปัญญาจะทำสมถะให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิได้หรือครับ???

    อย่าพยายามเอาของที่เป็นไปไม่ได้มาพูดสิครับ???

    ผู้ที่ปฏิบัติสมถะนั้น ล้วนต้องมีวิปัสสนาควบคู่ไปทั้งนั้น จิตจึงจะสงบตั้งมั่นป็นสมาธิได้ใช่มั้ยครับ???

    คุณนี่ทำตัวเก่งจังนะครับ ที่เที่ยวรู้ไปหมดว่าคนอื่นไม่ได้ทำวิปัสสนาเลย

    ผมจะไปยึดมั่นถือมั่นในตัวตนขันธ์๕ไปเพื่ออะไรหละครับ ใกล้มรรคผลนิพพานก็ไม่ใช่ อย่าคิดเองสิครับ

    คุณรู้จักตนที่เป็นที่พึ่งหรือยังครับ???

    เมื่อยังไม่รู้จักที่พึ่งที่แท้จริงแล้วละก้อ อย่าเที่ยวคุยอวดเลยครับ มั

    นน่าอายนะครับ แถมยังชอบแอบอ้างครูบาอาจารย์อีกต่างหาก

    ถ้าคิดจะถกกับผม ก็กรุณาคิดที่จะตอบคำถามที่ผมถามไปด้วยนะครับ

    ไม่ใช่ทำตัวอย่างที่ผ่านๆมา เมื่อตอบไม่ได้ก็หาเรื่องใส่ร้ายไว้ก่อน

    คนที่ผ่านการปฏิบัติอย่างจริงจังมา เค้าไม่ทำกันหรอกครับ

    ;aa24
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญพิชิตครับ

    การที่คุณมีคำถามก็เป็นการแสดงให้ถึงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในรูปแบบของคำถามใช่มั้ยครับ???

    เป็นสิ่งที่ดีที่เกิดขึ้นในการสนทนาหรือถกธรรมกัน

    เมื่อไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วย ก็ควรแสดงคคห.ออกมาในรูปแบบต่างๆ

    เช่นแสดงออกมาในรูปของการแสดงคคห.ให้เปรียบเทียบกันเอาเอง

    ชี้ข้อธรรมที่ไม่เห็นด้วยลงไปชัดๆเลยว่า ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร? หรือในรูปแบบคำถามใช่มั้ยครับ???

    ไม่ใช่ว่า เมื่อไม่เห็นด้วยแล้ว ก็กล่าวร้ายไว้ก่อนเลย และเอาเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องกับการสนทนานั้น

    หรือกดไม่เห็นด้วย โดยไม่แสดงคคห.อะไรเลย เป็นการไม่ให้เกียรติคคห.นั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจมากๆ

    ข้างบนนี้ไม่ต้องคิดมากนะครับ อันนี้เป็นการบอกกล่าวให้รู้กันทั่วๆไปกับคนที่คิดจะมาถกกับผม

    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันก่อนที่จะสนทนา เรื่องจิตและอาการของจิตนั้น

    คุณควรต้องยอมรับก่อนนะครับว่า ในร่างกายมนุษย์ของเราทุกๆคนที่เกิดขึ้นมานั้น

    ล้วนเพราะมีจิตเข้ามาถือครอง ที่เป็นไปตามกรรมที่ส่งผลมาจึงมีชีวิตินทรีย์เกิดขึ้นใช่มั้ยครับ???

    ถ้าคุณมีคคห.เป็นอื่นไปจากนี้ คุณควรแสดงคคห.ออกมาให้ชัดๆว่า คุณเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องกรรมกำหนด

    เรื่องต่อมาคุณรู้ใช่มั้ยว่า จิตเป็นธาตุรู้ รู้อยู่ที่ไหน จิตอยู่ที่นั่นใช่มั้ยครับ???

    ใช่หรือไม่ใช่ควรต้องตอบนะครับ??? อย่าเอาแบบที่ผ่านๆมา เลือกตอบเฉพาะที่ต้องการเท่านั้นนะครับ

    ;aa24
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เกิดจากการที่จิตชอบเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายมาเป็นของๆตน

    เมื่อคุณรู้แล้ว คุณไม่เกิดอาการ รัก ชอบ ชัง ในสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้มั้ยครับ???

    นี่แหละอาการของจิต

    ;aa24
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สำหรับคนทั่วๆไป รู้ทีหลังเมื่อเกิดอาการของจิตแล้ว เพียงแต่ช้าหรือเร็ว

    ส่วนผู้ที่ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาพอสมควร
    มีทั้งสองแบบ แต่รู้เห็นอาการของจิตที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนครับ

    ตอนคุณเลิกบุหรี่ใหม่ๆนั้น เมื่อคุณเข้าใกล้บุหรี่ คุณมีอาการอยากมั้ยครับ??? รู้ก่อนหรือรู้ทีหลังครับ???
    คุณควรตอบตามความเป็นจริงนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

    ;aa24
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณต้องเข้าใจก่อนว่า อาการของจิตนั้นไม่ใช่หายไปนะครับ

    ถ้ามันหายไปได้ก็ดีสิครับ ผมจะได้แกล้งทำหายไปบ้าง แล้วไม่ต้องไปหามันกลับมา

    อาการของจิตนั้น มักเกิดดับไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่จิตไปยึดมั่นถือมั่นเข้ามาที่จิตครับ

    ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อมีอารมณ์โกรธเกิดขึ้นมา จิตก็แสดงอาการของจิตออกมาทางร่างกายให้รู้เห็นใช่มั้ยครับ???

    เมื่ออารมณ์โกรธจืดจางไปหรือดับไป อาการของจิตก็จืดจางไปหรือดับไปด้วยเช่นกันใช่มั้ยครับ???

    ถึงอารมณ์โกรธที่ผ่านมาที่จิตจะเกิดดับไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพร้อมที่จะหวลกลับเข้ามาที่จิตได้อีกใช่มั้ยครับ???

    ;aa24
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มีพระพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้ ยังมีอีกหลายหมวดที่กล่าวถึงอาการของจิตครับ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
    หรือเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
    หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส

    ดังพรรณนามาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ
    จบเวทนานุปัสสนา


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    ดังพรรณนามาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง

    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
    จบจิตตานุปัสสนา

    ;aa24
     
  10. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ......เช่นกันครับ ก่อนสนทนาขอทำความเข้าใจเล็กน้อยว่าเรา
    เราต้องเคารพ ในความเห็นของกันและกัน อย่าถกกันแบบไม่รู้จบ เพื่อที่จะ
    ให้อีกฝ่ายยอมรับความเห็นของตน เมื่อเจ้าตัวว่าตอบแล้วก็ให้ผ่านไป ไม่ใชเซ้าซี้อยู่ไม่ไปไหนซะที เอาตามนี้นะครับ

    คุณควรต้องยอมรับก่อนนะครับว่า ในร่างกายมนุษย์ของเราทุกๆคนที่เกิดขึ้นมานั้น

    ล้วนเพราะมีจิตเข้ามาถือครอง ที่เป็นไปตามกรรมที่ส่งผลมาจึงมีชีวิตินทรีย์เกิดขึ้นใช่มั้ยครับ???

    ถ้าคุณมีคคห.เป็นอื่นไปจากนี้ คุณควรแสดงคคห.ออกมาให้ชัดๆว่า คุณเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องกรรมกำหนด

    .....ถ้าท่านกล่าวว่า กรรมกำหนด ผมไม่ค่อยเข้าใจความหมาย
    แต่ถ้าหมายถึง ทำอะไรไว้ชาตินี้ ชาติหน้าต้องได้รับผลกรรม ถ้าเป็นอย่างนี้
    ผมไม่เชื่อครับ

    ผมว่าน่าจะเกิดจาก ที่จิตไปยึดมั่นเหตุต่างๆไว้ ทำให้เกิดภพชาติ
    เอาเป็นว่า จิตเรานั้นแหล่ะทำให้เป็นไป ไม่ใช่กรรมกำหนด

    อย่าใช้คำว่าจิตไปถือครองกายเลยครับ เอาเป็นว่า มาอาศัยอยู่น่าจะดีกว่า
    เพราะถ้าใช้คำว่าถือครอง จิตก็สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่ในร่างกายแบบไหน
    แต่มันเลือกไม่ได้ครับ

    เรื่องต่อมาคุณรู้ใช่มั้ยว่า จิตเป็นธาตุรู้ รู้อยู่ที่ไหน จิตอยู่ที่นั่นใช่มั้ยครับ???

    .....จิตมีคุณสมบัติเป็นผู้รู้ด้วยครับ ไม่ใช่ธาตุรู้ เพราะถ้าให้ความหมายว่า
    จิตเป็นธาตุรู้ จิตต้องรู้อย่างเดียว ต้องไม่มีอะไรเจือปนอยู่ที่จิตครับ

    ใช่หรือไม่ใช่ควรต้องตอบนะครับ??? อย่าเอาแบบที่ผ่านๆมา เลือกตอบเฉพาะที่ต้องการเท่านั้นนะครับ

    ......ถ้าท่านไม่เซ้าซี้ จะเอาคำตอบที่ตรงกับความเห็นของท่าน ท่านจะต้อง
    รู้ว่า ผมได้ตอบท่านทุกประเด็นคำถาม
     
  11. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ......ว่ากันตามจริงแล้ว พวกท่านนำเอาคำว่าอาการมาใช้ ในลักษณะผิดรูป
    ผิดแบบตั้งแต่ต้น เนื่องด้วยท่านมีทิจฐิว่าจิตมีหนึ่งเดียวไม่เกิดดับ ถ้าจะ
    อธิบายในสิ่งที่เกิดหรือสภาวะที่เป็นลักษณะของนาม มันไม่สามารถอธิบายหรือไปต่อได้ เลยตรงเหมาไปว่า เป็นอาการของจิต


    ท่านก็บอกเองว่า จิตเป็นธาตุรู้ รู้อย่างเดียว แล้วมันจะมีอาการอื่นมาเกิดที่จิต
    ได้อย่างไร ถ้าจิตมีหนึ่งเดียว เป็นธาตุรู้ รู้อย่างเดียว แล้วตอนเกิดอารมณ์
    เกิดการปรุงแต่งขึ้น จิตธาตุรู้ไปอยู่เสียที่ไหนกันครับ


    อันที่จริงแล้ว คำว่าอาการนี้ เขาใช้อธิบายความถึง รูปหรือร่างกายของเรา
    ที่แสดงออกหรือมีอาการอย่างไร มันเป็นไปตามสภาพหรือสภาวะของจิตที่เป็น
    ไป อย่างเช่นจิตเป็นสภาวะโกรธ ร่างกายก็จะแสดงไปตามจิตที่เป็นนั้น


    สรุปถ้าจะเรียกว่าอาการ ต้องหมายถึงสภาพร่างกายที่แสดงออกครับ

    รัก ชอบ ชัง มันไม่ใช่อาการครับ มันเป็นอารมณ์

    แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีอารมณ์รัก ชอบ ชัง
    ก็ต้องไปดูที่กาย นี้แหล่ะที่เรียกอาการ เช่น ....
    มีความรัก กายก็แสดง อาการกอด หอมแก้ม
    ชอบ อาการ พูดคุยคำพูดไพเราะ
    ชัง อาการที่กายแสดงอาการ กลีกหนีหรือด่าทอเป็นต้นครับ
     
  12. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านธรรมภูติครับผมพยายาม ที่จะตอบคำถามท่านทุกคำถามนะครับ
    แต่ท่านต้องเข้าใจในส่วน ทิฐิหรือความเห็นของเราตั้งแต่ต้นของเราต่างกัน
    ผมจะตอบถามทิฐิของผม ถ้าไม่ตรงกับท่าน ก็เท่ากับว่าผมตอบแล้ว
    ท่านต้องเข้าใจตามนี้นะครับ

    ผมยึดเอาสถาวะที่เกิดขึ้นเป็นจิตครับ และการเกิดหรือดับ ยึดหลักให้อยู่กับ
    ปัจจุบัน เมื่อตัวรู้เกิดตอนไหน นั้นและคือปัจจุบัน และสิ่งที่ถูกรู้คืออดีต
    เท่ากับว่าได้ดับไปแล้ว

    ตอนผมมีอาการอยากผมไม่รู้ครับ แต่ตอนที่รู้อาการอยากดับไปแล้ว
    แล้วอาการอยากกลับมาใหม่ผมก็ยังไม่รู้ มารู้ตอนอยากดับไปวนเวียนแบบนี้

    ถ้าเรายึดว่าต้องอยู่กับปัจจุบัน จิตเป็นสภาวะ จิตเกิดดับ แลพะสิ่งที่เกิดขึ้น
    เป็นตัวของจิตเอง ไม่ใช่อาการของจิต เพราะยึดตามสภาวะหรือจิตเกิดดับ

    ใช่ครับสื่งที่ท่านว่ามันไม่ได้หายไป แต่มันเกิดดับตามวัฏฏะ ผมพูดในลักษณะ
    ยังไม่บรรลุนะครับ มีคนกล่าวกันว่า ไม่ขอมาเกิดอีก ถ้าเป็นในความ
    หมายของ นิพพานแล้วละก็ มันน่าจะหมายถึงการไม่เกิดดับของจิต มันไม่ได้
    หมายความว่า การเกิดในร่างกายใหม่ ด้วยเหตุนี้เราเลยต้องหาวิธี ไม่ให้จิต
    เกิดดับครับ

    ที่ท่านกล่าวว่า " อาการของจิตมักเกิดดับไปตามอารมณ์ที่จิตไปยึด"ผมขอแย้ง
    ครับ ต้องกล่าวดังนี้ครับ"อารมณ์ที่จิต มักเกิดดับไปตามผัสสะหรือ
    อาการทางกายครับ

     
  13. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ต้องกล่าวดังนี้ครับ เมื่อมีอารมณ์โกรธขึ้นมา
    ร่างกายจะแสดงอาการให้รู้ครับ
    เมื่ออารมณ์โกรธดับไป อาการทางกายที่แสดงอยู่ก็จะเปลี่ยนไปครับ
    ถ้าเรายังไม่สำเร็จหรือปฏิบัติให้ถึง มันก็ยังกลับมา
    และอีกนัยของปุถุชน ถ้ายังมีผัสสะอยู่ อารมณ์ก็ยังหวลกลับมาครับ
     
  14. วจีทุจริต

    วจีทุจริต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +263
    รู้จักที่เกิดที่ดับแล้ว ก็ให้เบื่อ ให้รู้ว่าไม่ใช่เรา ของที่เราที่ไปหลงอยู่ ไม่ใช่ของเรา ....
    ความเปลี่ยนแปลงของวัตถุธาตุทั้งหลาย และอาการทางกาย ก็พาให้ใจไปเกาะเกี่ยวกับอาการทั้งหลาย มาเป็นอารมณ์ปรุงแต่งอารมณ์ของใจ .....


    รู้เท่าทันอาการของธาตุ อาการทางกาย อาการทางใจก็สะท้านหวั่นไหวน้อยลง หดเข้ามาถึงอาการของใจก็ไม่ใช่สิ่งที่หน้ายึดถือ สักแต่ว่าอาการใจ ....
    พิจารณาอาการของใจ ความนึกคิดที่ออกมาก็จะเห็น ว่าใจที่ไปเกาะเกี่ยวกับวัตถุ ธาตุใดอยู่ มาปรุงแต่งเป็นอารมณ์ เผาผลาญตัวให้รุ่มร้อน เผื่อวางสิ่งที่ร้อยรัดกับวัตถุธาตุทั้งหลายลง ....


    อาการเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง ดับสลายหายไป สักว่าอาการ ....
    สักว่าสังขาร ....


    แค่อุปทานทั้งหลายที่ตายตกฉิบหาย ตายเกิดกัน จิตดวงนี้ไม่เคยสลายธรรมชาติฉิบหายไม่มี มีสภาพรู้ มีอาการวิตก วิจาร จดจำ อยู่ทุกกาลสมัย ....
    พิจารณาถึงตัวใจ มันตายตอนไหน ธรรมชาติที่ไม่มีวันฉิบหายสลายสูญ ถึงแม้ลงมหานรกเอวจีก็ไม่สามารถเผาทำลายใจดวงนี้ได้เลย ....
    ทำให้ได้เพียงเศร้าหมองลงไป ก็กลับมาสว่างสดใส ....


    เข้าใจตัว เจอตนแล้ว ก็พากันถนอมรักษาสิ่งประเสริฐ วิเศษ นี้ ให้กลับเป็นสิ่งผ่องใส แล้วให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากโคลนตมทั้งสิ้นเสียเถิด พากันชำระสิ่งสกปรกโสมมม ออกจากดวงใจนี้ ....
    ผู้ใดรู้จักตัว เข้าใจตน ย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน ได้ทุกกาลทุกเวลา ไม่หลงพึ่งสิ่งใดๆ ข้ามพ้นกาลเวลาสมัยไป ...



    นี้จึงเป็น " ตน เป็น ที่พึงแห่ง ตน " ....

    ********************************************************************
    ทิฐิส่วนตัวจำมา อมมา คิดเองเออเองบ้าง ตามประสา ไม่ใช่ธรรมะ ..








    อัตตา หิ อัตตโน นาโถ
    ************


    มิใยใคร จะพึ่ง ซึ่งพระเจ้า
    แต่พวกเรา ชาวพุทธ- ศาสนา
    ผู้เชื่อฟัง โอวาท พระศาสดา
    พึ่งธรรมา คือพึ่ง ซึ่งตัวเอง
    ประกอบกรรม นำมา ซึ่งโภคผล
    ตั้งแต่ต้น จนปลาย ได้เหมาะเหม็ง
    ทั้งทางโลก ทางธรรม ก็ยำเกรง
    ถือเลบง สร้างตัว อยู่ทั่วกัน
    อัตตา หิ อัตตโน นาโถ แปล
    ว่า "ตัวพึ่ง ตัว" แน่, ถ้าบิดผัน
    เป็นอื่นไป วนเวียน พาเหียรครัน
    พึ่งเขานั้น ไม่ "หนึ่ง" เหมือนพึ่งตัว ฯ

    ******************************
    พุทธทาส ภิกขุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2010
  15. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านธรรมภูติครับตรงไหนครับ ที่กล่าวถึง อาการของจิต
    รบกวนช่วยคอมเม้นมาหน่อยครับ และช่วยอธิบายกำกับด้วย

    ท่านธรรมภูติครับ ท่านมีความเข้าใจในเรื่องสักกายทิฐิเท่าไรเพียงใด???
    กรุณาอธิบายให้ทีครับ
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯครับ

    ไม่รู้สึกว่าวางกฏเกณฑ์เข้าข้างตัวเองไปหน่อยหรือครับ

    คุณพูดว่าเราต้องเคารพในความเห็นของกันและกัน หนะใช่ครับ

    แต่ต้องยืนอยู่บนหลักเหตุผลด้วยใช่มั้ยครับ???

    การจะยอมรับหรือไม่ยอมรับนั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่ามีเหตุผลด้วยใช่มั้ยครับ???

    จะให้ยอมรับโดยผ่านๆไป ทั้งๆที่ขาดเหตุผลไม่ได้นะครับ

    ทำไมถึงต้องเซ้าซี้??? เพราะการตอบแบบเลี่ยงบาลี จะปล่อยผ่านไปกันง่ายๆได้หรือครับ

    แบบนี้จะเรียกว่าสนทนาเพื่อหาความจริงไปทำไม ถ้าตอบแบบขอๆไปทีก็ให้ผ่านได้หรือครับ???

    ;aa24
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯครับ

    นี่ก็เป็นคำตอบแบบที่ผมพูดไว้ยังไงหละครับว่า ตอบแบบเลี่ยงบาลี

    สรุปว่าคุณไม่เชื่อว่า "สัตว์โลก(จิตผู้ติดข้องในอารมณ์) ย่อมเป็นไปตามกรรม"ใช่มั้ยครับ???(พระพุทธพจน์)

    คุณพูดว่า ไม่ใช่ "กรรมกำหนด" กรรมคือการกระทำ กรรมกำหนดก็คือ การกระทำเป็นตัวกำหนดใช่มั้ยครับ???

    คุณพูดอีกว่า "จิตเรานั้นแหละทำให้เป็นไป" แสดงว่าจิตเป็นผู้กระทำ(กรรม)ให้เป็นไปใช่มั้ยครับ???

    ก็ชัดเจนอยู่แล้วนิครับว่า "กรรม(การกระทำ)เป็นตัวกำหนดใช่มั้ยครับ???

    คุณยอมรับเองแล้วนะครับว่า จิตเป็นผู้ทำให้เป็นไป ไม่ใช่กายอย่างที่คุณชอบพูดเสมอๆ

    ที่คุณบอกว่า "จิตไปยึดมั่นเหตุต่างๆไว้" จิตรู้แล้วไม่ยึดมั่นเหตุต่างๆได้มั้ยครับ???

    ส่วนเรื่องที่ผมใช้คำว่าถือครองร่างกายถูกต้องแล้วครับ หรือคุณไม่ได้ถือครองร่างกายนี้ว่าเป็นของคุณแล้ว???

    คุณกำลังจะบอกอะไรอยู่หรือเปล่าครับว่า??? คุณปล่อยวางไม่ถือครองร่างกายนี้ได้แล้ว

    ถ้าเป็นเพียงแต่ผู้อาศัยเท่านั้น จะไปเมื่อไหร่ก็ไปได้ โดยไม่ต้องถือครองเลยใช่มั้ยครับ???

    แบบนี้ใครคิดจะทำร้ายหรือขับไล่ใสส่งก็ทำได้ตามสบายใจสิครับ เพราะเป็นเพียงแค่ผู้อาศัยเท่านั้น

    คุณจะถือครองอะไรได้นั้น คุณต้องมีความเป็นเจ้าของก่อนเท่านั้น จึงจะถือครองได้ใช่มั้ยครับ???

    ในเมื่อไม่เป็นเจ้าของ คุณถือครองได้ด้วยหรือครับ คุณเอาอะไรมาพูด อย่าคิดเองเออเองสิครับ....

    ;aa24
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯครับ

    ผมยังไม่เคยบอกไว้ตรงไหนเลยนะครับว่า จิตไม่ใช่ผู้รู้ จิตเป็นทั้งธาตุรู้และผู้รู้

    อันนี้มีหลักฐานชัดเจนที่กล่าวไว้ในพระสูตรนะครับ ว่าจิตและวิญญาณธาตุคืออันเดียวกัน

    ตรงกันทั้งพระพุทธพจน์และอรรถกถาจารย์ หรืออัตโนมัติอาจารย์ทั้งหลายพูดเหมือนกันหมดครับ

    จะผู้รู้หรือธาตุรู้ ก็มีหน้าที่รู้เช่นเดียวกันหมดใช่มั้ยครับ??? จะรู้ถูกก็รู้ จะรู้ผิดก็รู้ใช่มั้ยครับ???

    ท่านพระอรหันต์นั้นท่านรู้อยู่ที่รู้อย่างเดียว(รู้เฉยๆ) โดยไม่มีกิเลสอะไรเจือปนอยู่ที่จิตใช่มั้ยครับ???

    ส่วนจิตปุถุชนนั้น เพราะมีอวิชชาครอบงำจิตอยู่ เมื่อรู้อะไรแล้ว ไม่ยึดเป็นไม่มี ใช่มั้ยครับ???

    อย่าคิดเองเออเองสิครับ ของแบบนี้เดาสวดเองไม่ได้หรอกนะครับ....

    ;aa24
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯครับ

    ทำไมลืมเร็วเช่นนี้ครับ ผมเคยยัดเยียดความเชื่อไปให้ใครเชื่อหรือเปล่าครับ???

    ทำไมจะไม่ให้ผมเซ้าซี้หละครับ ในเมื่อมีการตอบที่ไม่ตรงคำถามนัก พร้อมทั้งขาดเหตุผลอีกต่างหาก

    แบบนี้จะไม่ให้ผมทวงถาม คำตอบได้อย่างไรครับ ผมถามใช่หรือไม่ใช่ แต่กลับตอบว่าไปไหนมาสามวาสองศอก

    คุณแน่ใจนะครับว่า คุณได้ตอบผมทุกประเด็นคำถาม??? จะเอาของเก่ามั้ยครับ???

    แต่อย่าดีกว่า แล้วกลายเป็นว่าเล่นไม่เลิกไม่รู้จบ เรามาว่ากันเฉพาะหน้า(ไม่ใช่ปัจจุบันธรรม)ดีกว่าครับ...

    ;aa24
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณบุญฯครับ

    ใครกันแน่ครับ ที่ใช้ในลักษณะผิดรูป ผิดแบบตั้งแต่ต้น

    ใช่ครับจิตมีหนึ่งเดียวของใครของมัน ส่วนอาการของจิตนั้นจะเกิดดับอีกกี่ดวงก็ได้ใช่มั้ยครับ???

    เช่นจิตจับอารมณ์กุศล ก็เรียกว่าดวงกุศลจิตใช่มั้ยครับ???

    พอจิตมาจับอารมณ์อกุศลจิต ก็เรียกว่าดวงอกุศลจิตใช่มั้ยครับ???

    ใช่จิตดวงเดิมมั้ยครับ??? ที่จับอารมณ์กุศล เมื่อปล่อยอารมณ์กุศล ก็จับอารมณ์อกุศลต่อเลยใช่มั้ยครับ???

    ลักษณะนามของจิตหรืออาการของจิตเราเรียกว่า "ดวง"ใช่มั้ยครับ???

    ผิดตรงไหนครับ แม้ท่านอรรถกถาจารย์ก็ใช้แบบนี้เช่นกัน

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...