...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 18 มีนาคม 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 สิงหาคม 2005
  2. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    คนที่เข้าถึงซาโตริแล้วเนี่ยเหมือนกับตรัสรู้อย่างพระพุทธเจ้าหรือเปล่า?
     
  3. กระสือข้างส้วม

    กระสือข้างส้วม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,212
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +392
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2005
  4. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 สิงหาคม 2005
  5. กระสือข้างส้วม

    กระสือข้างส้วม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,212
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +392
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2005
  6. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    "ต้นไม้ใบหญ้าล้วนโพธิสัต" คำกล่าวนี้ได้ยินมาจากไหนก็ไม่รู้ แต่ความหมายจะคล้ายๆอย่างที่กระศือว่ามาหรือเปล่าคือ

    "การพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่รอบตัวเราก็คือธรรมนั่นแหละค่ะ เพียงแต่เรามองข้ามมันไปเท่านั้นเอง
    ถ้าลองสังเกต.....ท้องฟ้าเปลี่ยนสีช่วงที่พระอาทิตย์ตก มันก็จะเปลี่ยนสีไม่เหมือนกันซักวัน
    ถ้าวันนี้ เราเห็นท้องฟ้าสวยกว่าทุกวันที่เคย เราก็อาจกำลังเข้าถึงซาโตริแล้วก็ได้"

    ตามความเข้าใจเรานะคำว่า "ต้นไม้ใบหญ้าล้วนโพธิสัต" นั้นก็หมายความสิ่งต่างๆนั้นสามารถสอนอะไรเราได้ ถ้าเรามาพิจารณามัน แม้กระทั่งต้นไม้ใบหญ้าก็เถอะ
     
  7. กระสือข้างส้วม

    กระสือข้างส้วม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,212
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +392
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2005
  8. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    แหม เขินนนนนนน กระสือชม อิอิอิ
     
  9. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    บทที่ 3 ซาโตริ : ความหมายและภาวะ [font=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]


    ซาโตริ (Satori) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งตรงกับคำในภาษาจีนว่า หวู่ (Wu) และมีรูปกิริยาในภาษาญี่ปุ่น ซาโตรุ (Satoru : รู้แจ้ง) เราอาจให้คำจำกัดความซาโตริได้ว่า เป็นการมองเข้าไปรู้แจ้งภายในอย่างฉับพลัน (intuitive looking-into) ซึ่งแตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับความรู้ความเข้าใจที่เกิดเพราะกระบวนการทางปัญญาหรือกระบวนการทางตรรกะ แต่ไม่ว่าเราจะนิยามอย่างไรก็ตาม ซาโตริก็ยังคงหมายถึงการตีแผ่เปิดเผยโลกทัศน์ใหม่ที่ไม่สามารถจะรับรู้ได้ด้วยจิตใจที่ยังสับสนในทวิทัศน์ (a dualistic mind) ซาโตริเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของเซนซึ่งจะขาดเสียไม่ได้เลยทีเดียว เพราะหากปราศจากซาโตริเสียแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีเซน เพราะชีวิตของเซนเริ่มต้นด้วยการเปิดเผยของซาโตริ


    ในพจนานุกรมเซนได้อธิบายความหมายของซาโตริเอาไว้ว่า "ซาโตริ ตามรูปศัพท์หมายถึงการรู้อย่างแจ่มแจ้งหรือการตรัสรู้ แต่ในเซนหมายถึงภาวะแห่งการสำนึกรู้ถึงพุทธจิต เป็นการสำนึกรู้ถึงจิตสำนึกที่บริสุทธิ์หมดจดอยู่แล้วด้วยตัวของมันเองโดยปราศจากสิ่งใดๆ (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางจิตใจหรือทางร่างกายก็ตาม) ศัพท์ว่าซาโตรินี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า'ปรัชญา-Prajna' ประสบการณ์ใดๆ ที่สามารถถูกอธิบายกำหนดลักษณะได้ด้วยใจหรืออารมณ์ ประสบการณ์นั้นๆ ก็ไม่จัดเป็นซาโตริตามความหมายข้างต้น แม้ว่าบางครั้งคำพูดจะถูกใช้อย่างคร่าวๆ เพื่อไปบ่งถึงภาวะที่จิตใจและอารมณ์เป็นของฟูเฟื่องสูงสุดและรู้สึกท่วมท้นที่ได้สำนึกถึงธรรมชาติแห่งการหยั่งรู้ฉับพลัน ในนิกายเซนทั่วไป ซาโตริจะมีความหมายอย่างชัดเจนคือเป็นการมองเข้าไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของตนเองแล้วค้นพบบางสิ่งซึ่งแปลกใหม่อันจะรู้ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งและสิ่งนั้นก็จะส่องประกายให้ชีวิตทั้งหมดของเขาแจ่มกระจ่างสว่างไสวไปตลอด แต่ถึงกระนั้นมันก็ไม่อาจถูกแสดงออกมาได้ไม่ว่าจะโดยวิธีใดๆ ก็ตาม อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า การหยั่งรู้อย่างฉับพลันอาจชี้บ่งถึงประสบการณ์แห่งซาโตริซึ่งมีอยู่ภายใน ซึ่งได้ส่องประกายของมันเข้าไปสู่จิต แต่ก็ไม่อาจจะสังเกตเห็นได้โดยง่าย แต่สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังเมื่อซาโตริปรากฏขึ้นมา มันก็จะส่งผลไปอย่างตรงดิ่งและดำเนินเรื่อยไปอย่างไม่ถดถอย"

    ก่อนจะพิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะของซาโตริต่อไป มีข้อตกลงที่ควรรับรู้ไว้ในที่นี้ก่อนว่า ภาวะแห่งซาโตริ (หรือแม้การลงมือปฏิบัติตามมรรควิธีต่างๆนั้น) ไม่อาจบอกกล่าวแสดงแก่กันได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์(หรือพูดอย่างเซนก็คือ มันไม่อาจแสดงออกให้รู้ได้เลยทีเดียว) เพราะเป็นภาวะที่รู้ได้เฉพาะตน เมื่อบรรลุถึงแล้วก็ไม่สามารถนำมาแสดงด้วยคำพูดและภาษาใดๆ ได้ เพราะสิ่งที่แสดงออกมานั้น ย่อมเป็นเพียงสื่อตัวกลางที่ไม่ใช่ตัวซาโตริแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งสื่อกลางที่แสดงออกมาก็อาจสร้างความไขว้เขวหรือความเข้าใจผิดแก่ผู้รับสื่อได้ ทั้งนี้ก็อาจเป็นเพราะการตีความหมายทางภาษาของผู้รับสื่อเอง หรือบางทีก็เป็นเพราะความจำกัดของสื่อที่ไม่สมบูรณ์พร้อมที่จะชี้ถึงตัวความจริงหรือซาโตริที่ตนเองได้ประสบนั้นๆ (หรือแม้ว่าผู้รับสื่อจะสามารถเข้าใจในภาวะที่แสดงออกมานั้นได้ ความเข้าใจของเขาก็เป็นเพียงมโนทัศน์ -Concept- ที่มีเกี่ยวกับภาวะนั้นเท่านั้น หาใช่เป็นการรู้เห็นภาวะนั้นแล้วเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงไม่)



    [/font]
     
  10. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    เกี่ยวกับประเด็นการลงมือปฏิบัติ(และรู้แจ้ง)ด้วยตนเองนี้ก็มีเรื่องเล่าว่า

    ในสำนักของท่านไดเยหรือต้าฮุย [Daiye (in Japanese) or Ta-hui (in Chinese) 1089-1163 A.D.] ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ซุ่ง มีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่าโดเก็นหรือเต้าเฉียน [Doken (in Japanese) or Tao-ch'ien (in Chinese)] ซึ่งใช้เวลาศึกษาเซนมาหลายปีแต่ก็ไม่พบธรรมแต่อย่างใด เมื่อถูกอาจารย์ส่งไปทำธุระบางอย่างที่เมืองแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป ท่านรู้สึกหดหู่และท้อแท้เป็นอย่างมาก เพราะจะต้องใช้เวลาเดินทางถึงครึ่งปี ซึ่งสำหรับท่านแล้ว มันดูเหมือนจะกลายเป็นอุปสรรคมากกว่าจะเป็นบทเรียนที่ช่วยในการศึกษาเซน พระภิกษุซึ่งเป็นเพื่อนร่วมสำนักของท่านอีกรูปหนึ่งนามว่าโซเง็น หรือ ซุ่งหยวน (Sogen or Tsung-yuan) รู้สึกเห็นใจท่านจึงกล่าวว่า "ผมจะร่วมเดินทางไปเป็นเพื่อนคุณและจะช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่จะช่วยได้ แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่มีเหตุผลเลยที่ว่าคุณจะไม่สามารถปฏิบัติสมาธิได้แม้ในขณะเดินทาง" จากนั้น ทั้งสองท่านก็ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่จุดหมายเพื่อทำภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย

    ขณะร่วมเดินทางด้วยกัน ในเย็นวันหนึ่ง ท่านโดเก็นได้ออกปากขอร้องเพื่อนให้ช่วยไขปริศนาแห่งชีวิตแก่ท่านด้วย คือขอร้องให้เพื่อนช่วยทำอะไรก็ได้ที่จะยังผลให้ท่านโดเก็นได้บรรลุซาโตริขึ้นมา ท่านโซเง็นจึงตอบว่า "ความจริง ผมก็อยากจะช่วยคุณในทุกๆเรื่องที่ผมจะสามารถช่วยได้เหมือนกัน แต่ว่าก็มีอยู่บางอย่างที่ผมไม่สามารถจะช่วยคุณได้ เพราะเป็นเรื่องที่คุณจะต้องจัดการสิ่งเหล่านั้นด้วยตัวของคุณเอง" พอจบคำพูดของเพื่อน ท่านโดเก็นก็แสดงความกระตือรือร้นอยากจะรู้อย่างเต็มที่ว่าสิ่งนั้นมันคืออะไรกันแน่ ท่านโซเง็นจึงตอบว่า "ก็มีมากมายหลายอย่างนะ เช่น เมื่อคุณหิวข้าว หรือกระหายน้ำ การที่ผมกินข้าวและดื่มน้ำก็ไม่ได้ช่วยให้คุณอิ่มขึ้นมาได้ คุณจะต้องลงมือกินข้าวและดื่มน้ำด้วยตัวของคุณเอง เมื่อคุณต้องการที่จะตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของธรรมชาติ คุณก็จะต้องดูแลตัวคุณเอง เพราะผมย่อมไม่สามารถจะช่วยเหลืออะไรคุณได้ และในที่สุดแล้ว ก็จะไม่มีใครอื่นใดนอกจากตัวคุณเองที่จะดูแลร่างกายของคุณไปตลอดเส้นทางนี้ได้"

    ทันใดนั้น คำแนะนำด้วยความปรารถนาดีอย่างกัลยาณมิตรเช่นนี้ก็สามารถเปิดใจของพระภิกษุผู้แสวงหาสัจจะออกมาอย่างฉับพลันได้ ซึ่งท่านโดเก็นเองไม่รู้ว่าจะแสดงความสุขสดชื่นที่ได้พบนั้นออกมาได้อย่างไร ท่านโซเง็นจึงกล่าวลาด้วยเหตุผลที่ว่า ภารกิจของท่านได้เสร็จสิ้นลงแล้ว และหลังจากนั้น การที่ท่านจะร่วมเดินทางต่อไปก็ไม่มีความหมายอีกแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงปล่อยให้ท่านโดเก็นเดินทางต่อไปตามลำพัง

    หลังจากครึ่งปีผ่านไป ท่านโดเก็นก็กลับมาสู่วัดเดิม และในช่วงหนึ่ง ท่านอาจารย์ไดเยได้พบกับท่านโดเก็นโดยบังเอิญ และทันใดนั้น ท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวออกมาว่า "บัดนี้ โดเก็นได้รู้อย่างครบถ้วนแล้ว"

    หากจะถามว่า เมื่อซาโตริไม่อาจจะแสดงออกมาทางคำพูดและภาษาใดๆ ทั้งไม่อาจจะสื่อถึงกันได้เช่นนี้แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์ (ผู้ปฏิบัติธรรม) จะเป็นไปในลักษณะใด กล่าวคือ อาจารย์จะสามารถทำประโยชน์แก่ศิษย์ในด้านที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมได้หรือไม่อย่างไร เพราะดูเหมือนว่าอาจารย์จะไม่สามารถอธิบายประสบการณ์ทางธรรมให้ศิษย์รับทราบได้เลย ? ประเด็นนี้ รินไซเซนก็จะตอบว่า ถูกแล้วที่ซาโตริของอาจารย์ไม่สามารถสื่อให้ศิษย์เข้าใจได้ (ยกเว้นเสียแต่ว่าศิษย์ผู้นั้นจะได้บรรลุซาโตริเองด้วย) แต่คุณค่าแห่งความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์ยังคงมีอยู่ โดยอาจารย์จะอยู่ในฐานะเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำบอกกล่าว และชี้ทางถูกผิดให้แก่ศิษย์อันจะช่วยย่นระยะเวลาในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ดร.ซูสุกิ กล่าวเอาไว้ว่า "ทั้งหมดที่เรา (อาจารย์) สามารถกระทำได้ในการอบรมสั่งสอนก็คือ การชี้แนะ (indicate) การแนะนำ (suggest) หรือการแสดง (show) ทางที่อาจจะทำให้เจตนารมย์ของผู้ปฏิบัติมุ่งตรงต่อจุดหมายได้ ส่วนการที่ผู้ปฏิบัติจะบรรลุถึงจุดหมายและได้รับสิ่งผลการปฏิบัติต่างๆนั้น จะต้องถูกกระทำด้วยตัวผู้ปฏิบัติเอง เพราะไม่มีบุคคลอื่นที่จะสามารถทำให้แก่เขาได้"
     
  11. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ดร.ซูสุกิ ได้พยายามใช้ภาษาอธิบายถึงภาวะและความสำคัญของซาโตริ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

    1. ซาโตริ ไม่ใช่ภาวะแห่งการครุ่นคิดถึงมันอย่างเอาจริงเอาจังแล้วสร้างมโนภาพเกี่ยวกับมันขึ้นมาโดยไม่ผ่านการลงมือปฏิบัติ เพราะก่อนที่การสำนึกรู้จะเปิดเผยตัวออกมา เราก็ได้ตอบสนองต่อเงื่อนไขทั้งภายในและภายนอกด้วยการนึกคิดปรุงแต่งและวิเคราะห์วิจารณ์อยู่ตลอดเวลา หลักการแห่งเซนก็คือการทำลายกรอบแห่งความเคยชินเช่นนั้นแล้วสร้างเค้าโครงเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วกลับขึ้นมาใหม่บนพื้นฐานที่แปลกใหม่ออกไป ฉะนั้น ในพุทธศาสนานิกายเซนจึงไม่มีการคิดคำนึงถึงข้อความที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งมีลักษณะทางอภิปรัชญาซึ่งรังแต่จะสร้างการสำนึกรู้ที่มีลักษณะสัมพัทธ์เท่านั้น

    2. ถ้าผู้ปฏิบัติไม่ได้บรรลุซาโตริเสียแล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าไปสู่ความจริงแห่งเซนได้ ซาโตริจึงเป็นการเปล่งประกายอย่างฉับพลันเข้าไปสู่การสำนึกรู้ถึงความจริงใหม่ๆ ที่ไม่เคยคาดฝันมาก่อน มันเป็นอาการแตกกระจายทางใจอย่างหนึ่ง (a sort of mental catastrophe) ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันหลังจากที่ผู้ปฏิบัติได้เพียรพยายามใช้กระบวนการทางปัญญาและการแปลความหมายเข้าโหมกระหน่ำ(เพื่อแก้ปัญหาโกอัน)อย่างเต็มที่ เป็นภาวะทางธรรมชาติที่คลี่คลายออกมาหลังจากถูกอัดทับถมไปด้วยทฤษฎีและการใช้เหตุผลต่างๆ นานา

    3. ซาโตริเป็นเหตุผลเดิมแท้ (raison d'etre) ของเซน ซึ่งหากปราศจากมันเสียแล้ว เซนก็จะไม่ใช่เซนอีกต่อไป "เซนที่ไร้ซาโตริก็เหมือนกับพริกที่ไร้รสเผ็ดนั่นเอง" เพราะฉะนั้น อุบายวิธีหรือข้อวัตรปฏิบัติและหลักธรรมทุกอย่างจึงมุ่งตรงต่อซาโตริเหมือนกันหมด อาจารย์ผู้อบรมจะไม่รอให้ซาโตริเกิดขึ้นมาเอง แต่จะพยายามใช้วิธีการที่เหมาะสมมาช่วยศิษย์ เป็นการจัดเงื่อนไขที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้ซาโตริได้ปรากฏขึ้นมา แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับการถกเถียงปัญหาทางอภิปรัชญาหรือการใช้มโนทัศน์สร้างจินตภาพขึ้นแก่ศิษย์แต่อย่างใด เพราะหากทำเช่นนั้น บรรดาศิษย์ก็ยิ่งจะหลงทางหนักเข้าไปอีก ซาโตริจึงอยู่เหนือการศึกษาเล่าเรียนพระสูตร และอยู่เหนือการอภิปรายพระสูตรด้วยแง่มุมทางวิชาการ เป็นภาวะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเซนโดยแท้

    4. การเน้นซาโตริเช่นนี้ทำให้เซนมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจาก"ธฺยาน"อย่างเห็นได้ชัดทีเดียว เซนไม่ใช่ระบบของธฺยาน (Dhyana) ที่พุทธศาสนานิกายอื่นๆ นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียและในประเทศจีน เพราะจุดมุ่งหมายของธฺยาน คือ ความสงบนิ่งแห่งจิตที่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ (ที่เรียกชื่อว่า การอยู่ในฌาน -trance- ) ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในตัวเอง แต่ในนิกายเซนจะต้องมีซาโตริ คือมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายในจิตใจซึ่งได้ทำลายกระบวนการสั่งสมทางปัญญา (the accumulations of intellection) ที่คุ้นชินอยู่ตามปกติวิสัย แล้วสร้างฐานชีวิตใหม่แก่ตนเอง ซึ่งในระบบธฺยานจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงท่าทีเช่นนี้ มีเพียงการฝึกจิตให้สงบนิ่งแน่วแน่เท่านั้น

    5. ซาโตริไม่ใช่การเห็นพระเจ้า เพราะในเซนจะไม่มีมโนทัศน์เรื่องพระเจ้าแต่อย่างใด เซนดำเนินไปด้วยตัวของมันเอง ไม่อิงอาศัยการสนับสนุนช่วยเหลือจากพระผู้สร้าง (-ในกรณีที่มีพระผู้สร้าง-) เมื่อมนุษย์เข้าใจเหตุผลแห่งการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับเขา เพราะ ณ ที่ใดที่เราเข้าใจพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นความเร้นลับ ณ ที่นั้นก็ถือว่ามีการเข้าใจต่อสิ่งที่จำกัด (ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าผู้ไม่ทรงมีข้อจำกัดใดๆ) เมื่อเรามีพระเจ้า สิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าก็จะอยู่แยกต่างหากออกไป กลายเป็นการจำกัดตัวเองไปโดยปริยาย (กลายเป็นว่ามีสิ่งที่ยิ่งใหญ่ดำรงอยู่พร้อมกันในขณะเดียวกัน 2 สิ่ง คือ สิ่งที่เป็นพระเจ้ากับสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะยอมรับกันได้) เซนประสงค์จะให้เกิดอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ แม้กระทั่งสามารถเป็นอิสระจากพระเจ้าได้ เซนไม่ต้องการให้ศาสนิกไปยึดติดกับพระผู้เป็นเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ที่ถือกันว่าสูงส่ง หากแต่ประสงค์ให้เขาดำรงอยู่อย่างอิสระ ปราศจากอัตตาที่มุ่งแสวงหาแหล่งยึดติด และอัตตาที่จะเป็นแหล่งยึดติดใดๆ ทั้งสิ้น ดังคำกล่าวอย่างทระนงที่ว่า "จงล้างปากของเจ้าเสีย เมื่อเจ้ากล่าวคำว่าพุทธะ"

    6. ซาโตริไม่ใช่ภาวะแปลกประหลาดในจิตใจ(ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในสาขาจิตวิทยาอปกติ -Abnormal Psychology- ) หากแต่เป็นภาวะปกติที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยมในจิตใจ แต่เมื่อเซนบอกว่าซาโตริหมายถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ภายในจิตใจดังที่ผ่านมานั้น หลายคนอาจสงสัยว่ามันเป็นความผิดปกติทางจิตใจที่แตกต่างไปจากผู้คนทั่วๆ ไปกระมัง ข้อสงสัยนี้เราอาจตอบได้ด้วยคำกล่าวของท่านโจชู (Joshu) ที่ว่า "เซนก็คือความคิดในทุกๆ วันของคุณนั่นเอง" เมื่อเราเข้าถึงเซนอย่างแท้จริงแล้ว เราจะเป็นคนสมบูรณ์และเป็นปกติอย่างที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น เรายังได้ประสบกับสิ่งต่างๆ ด้วยท่าทีใหม่ๆ อีกด้วย ความคิดของเราจะดำเนินไปแตกต่างจากแต่ก่อน คือจะรู้สึกสบายใจ สุขสงบมากขึ้นกว่าเดิม และมีความสดชื่นแจ่มใสมากกว่าที่เคยประสบมาก่อนหน้านี้ ลีลาแห่งชีวิตก็จะแปรเปลี่ยนไป บางสิ่งจะกลับดูสดใสฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีก ดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิก็ดูสดสวยขึ้นกว่าเดิม ลำธารแห่งขุนเขาก็ดูมีสีสันและสดใสสบายตามากขึ้น เมื่อชีวิตที่บรรลุซาโตริกลายเป็นสิ่งที่สามารถสร้างความสุขสดชื่นได้มากกว่าเดิมและแผ่ขยายขอบเขตไปครอบคลุมทั่วทั้งจักรวาลได้เช่นนี้ ก็น่าจะต้องมีอะไรบางอย่างในซาโตริที่มีคุณค่าสูงส่งพอที่จะทำให้เราเพียรพยายามเสาะแสวงหาเพื่อที่จะได้บรรลุถึงมันอย่างแน่นอน

    อ้างอิง จาก
    http://tulip.bu.ac.th/~kanong.c/zen
     
  12. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    เมื่อจิตวิญญาณจีนได้สัมผัสกับมโนคติของอินเดียในรูปแบบของปรัชญาพุทธ ในราวศตวรรษแรกของคริสตศักราช จึงกำเนิดเป็นสายพัฒนาการสองสายขนานคู่กันนับแต่นั้นเป็นต้นมา ในด้านหนึ่ง การแปลพระสูตรในศาสนาพุทธ กระตุ้นและนำบรรดานักคิดจีนสู่ความพยายามในการตีความคำสอนของพระพุทธ ของชาวอินเดียนออกมาตามมุมมองปรัชญาของตนเอง เกิดการแลกเปลี่ยน แนวความคิดที่ผลิดอกออกผล แตกกิ่งก้านสาขาและปรากฏผลเป็นลัทธิพุทธ Hua-Yen ในประเทศจีน และลัทธิ Kegon ในญี่ปุ่นสืบต่อมา

    อีกด้านหนึ่งนั้น จิตใจที่มุ่งสู่ผลปฏิบัติของจีนตอบสนองต่อผลกระทบจากลัทธิพุทธของอินเดีย โดยการมุ่งเน้นสู่การปฏิบัติและพัฒนาขึ้นเป็นการรู้จักควบคุมและบังคับจิตใจภายใต้ชื่อของ ฌาน ซึ่งมักจะแปลว่า การทำสมาธิ ญี่ปุ่นรับเอาปรัชญาฌาณไปเมื่อค.ศ. 1200 และบ่มเพาะจนหยั่งรากเป็นลัทธิเซ็นในปัจจุบัน


    เซ็นจึงเป็นการหลอมรวมที่แนบสนิทประดุจเป็นหนึ่งเนื้อเดียวกันของปรัชญา และแนวคิดที่ต่างขั้วกันของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันถึงสามสาย เซ็นเป็นวิถีชีวิตของญี่ปุ่นอย่างจริงแท้ แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงมนต์เสน่ห์แห่งความลึกลับของอินเดีย รวมทั้งจิตใจที่ผูกพันกับวิถีธรรมชาติที่ดำเนินไปโดยตนเองอย่างแน่นแฟ้น ของสาวกเต๋า และจิตใจที่มุ่งเน้นการปฏิบัติของลัทธิขงจื๊อ ลักษณะการทั้งหมดนี้แทรกประสานเป็นฐานคติของเซ็น
    แต่ถึงแม้ จะมีลักษณะพิเศษเช่นนี้ โดยสารัตถะแล้ว ธรรมชาติของเซ็นก็เป็นพุทธบริสุทธิ์นั่นเอง ด้วยจุดมุ่งหมายของเซ็นก็คือจุดมุ่งหมายของพระพุทธ: กล่าวคือการไปถึงซึ่งการรู้แจ้งหรือการบรรลุโสดาบัน ประสบการณ์ซึ่งเรียกว่า ซาโตริ ในคำสอนของเซ็น ประสบการณ์การรู้แจ้งนี้เป็นแก่นกลางของแนวคิดของปรัชญาตะวันออกทุกสาย

    แต่เซ็นกลับโดดเด่นกว่าลัทธิอื่นๆในแง่ที่ว่า เซ็นมุ่งเน้นการปฏิบัติสู่จุดหมายนี้เพียงประการเดียวเท่านั้น โดยมิพักที่จะพะวักพะวงถึงการตีความใดๆอีกต่อไป ดังคำกล่าวของซูซูกิที่ว่า "เซ็นคือ วิถีปฏิบัติสู่การรู้แจ้ง" จากจุดยืนของเซ็น การบรรลุโสดาบันของพระพุทธ และคำสอนของพระองค์ที่ว่า ทุกคนล้วนมีศักยภาพที่จะไปถึงการตื่นจากอวิชชาทั้งมวลนี้คือหัวใจและแก่นของปรัชญาพุทธ ส่วนที่เหลือดังปรากฏในเนื้อหามากมายของพระสูตรเป็นเพียงบทเสริมเท่านั้น

    ประสบการณ์เซ็นจึงเป็นประสบการณ์ของซาโตริ และเนื่องจากท้ายที่สุดแล้ว ประสบการณ์นี้ก็อยู่เหนือความเข้าใจของลัทธิปรัชญาทุกลัทธิ เซ็นจึงไม่มุ่งเน้นสู่การเป็นนามธรรม หรือการสร้างมโนทัศน์ใดๆทั้งสิ้น เซ็นไม่มีหลักปรัชญาใดเป็นพิเศษ ไม่มีสิทธันต์หรือคำสอนที่ปรากฏเป็นรูปแบบ เซ็นยึดมั่นเพียงว่าอิสรภาพจากการยึดติดในความเชื่อ ทำให้เซ็นเป็นพุทธะทางจิตวิญญาณโดยแท้จริง

    เหนือกว่าลัทธิปรัชญาตะวันออกที่ลึกลับใดๆ เซ็นเชื่อมั่นว่าคำพูดหรือภาษาไม่มีวันแสดงถึงความจริงอันติมะได้เป็นอันขาด ความเชื่อนี้เป็นผลพวงจากลัทธิเต๋าซึ่งแสดงท่าทีเดียวกันนี้อย่างไม่ยี่หระต่อคำสอนอื่นๆ "ถ้ามีผู้ถามว่าเต๋าคืออะไร และมีคนตอบคำถามนี้ " จวงจื๊อกล่าว "ทั้งคู่หารู้สิ่งใดเกี่ยวกับเต๋าไม่"

    แต่ประสบการณ์เซ็น สามารถถ่ายทอดจากครูสู่ศิษย์ได้ และ ดำเนินมาเช่นนี้หลายศตวรรษแล้วโดยวิธีพิเศษที่เหมาะสมกับเซ็น คำกล่าวเพียงสี่บันทัดสามารถสรุปเรื่องของเซ็นได้อย่างกระชับและงดงามยิ่งดังนี้
    การถ่ายทอดด้วยวิธีพิเศษซึ่งอยู่เหนือถ้อยคำจดจาร
    เจาะลึกมุ่งสู่จิตใจมนุษย์
    มองเพ่งสู่ธรรมชาติของคน
    และเข้าสู่สภาวะของพุทธะ


    เทคนิค "การมุ่งตรงสู่"นี้ คือรสชาติที่พิเศษแตกต่างของเซ็น นี่คือลักษณะที่ฝังแนบอยู่ในจิตวิญญาณของญี่ปุ่น ผ่านมาจากสัญชาติญาณมากกว่าจากการใช้สมอง และกล่าวถึงข้อเท็จจริงในลักษณะของข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ โดยมิพักต้องมีข้อคิดเห็น ผู้รู้ของเซนไม่ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือและมองเมินการตั้งทฤษฏีหรือการคาดหวังใดๆ เซ็นพัฒนาวิธีการที่พุ่งตรงสู่ความจริง ด้วยคำพูดหรือท่าทีที่เรียบสั้นและง่าย อันนำสู่ปฏิทรรศน์ของมโนทัศน์เชิงความคิด โดยมีจุดประสงค์เพื่อหยุดยั้งกระบวนการความคิดและเครียมผู้เรียนให้พร้อมรับประสบการณ์ที่สัมผัสได้ด้วยจิต ตัวอย่างการสนทนาสั้นๆระหว่างครูเซ็นและศิษย์ เหว่ยล่างแสดงให้เห็นถึงเทคนิคดังกล่าว ในการสนทนาเหล่านี้ซึ่งปรากฏในวรรณกรรมเซ็นส่วนใหญ่ อาจารย์จะพูดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คำพูดทุกคำที่เปล่งออกมามีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงความสนใจของศิษย์จากความคิดเชิงนามธรรมสู่ความเป็นจริงที่เห็นได้ชัดทั้งสิ้น

    พระเซ็นรูปหนึ่งต้องการแสวงหาคำสั่งสอน จึงเอ่ยถามโพธิธรรมว่า
    "ข้าพเจ้าไร้สิ้นซึ่งความสงบแห่งจิตใจ โปรดช่วยทำให้จิตใจของข้าพเจ้าสงบลงด้วยเถิด"
    "จงนำจิตใจของท่านมาวางไว้ตรงหน้าเรา"โพธิธรรมตอบ"แล้วเราจะทำให้จิคใจนั้นสงบลง"
    "แต่เมื่อข้าพเจ้าตามหาจิตใจของข้าพเจ้า" พระเซ็นรูปนั้นตอบ"ข้าพเจ้าหาพบมันไม่"
    "นั่นไง" โพธิธรรมเน้นเสียง "เราทำสำเร็จแล้ว"

    พระเซ็นรูปหนึ่งบอกโจชู "ข้าพเจ้าเพิ่งเข้ามาในอาศรมนี้ โปรดสั่งสอนข้าพเจ้าด้วย"
    โจชูถามว่า ท่านกินข้าวต้มของท่านหรือยัง?"
    "กินแล้ว" พระเซ็นตอบ
    "ล้างจานของท่านเสียซิ" เป็นคำพูดจากโจชู

    บทสนทนาเหล่านี้ทำให้มองเห็นอีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะสมบัติของเซ็นชัดขึ้น การรู้แจ้งในความหมายของเซ็น มิได้หมายถึงการปลีกตัวจากภาระกิจของโลก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับหมายถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มุมมองนี้สอดคล้องกับสภาพอารมณ์ของจีนซึ่งให้ความสำคัญอย่างสูงต่อชีวิตที่มีผลผลิตจากการปฏิบัติงานและต่อแนวคิดการสืบต่อครอบครัววงค์ตระกูล จึงไม่อาจยอมรับพฤติกรรมการบวชเพื่อตัดกิจกรรมทางโลกของลัทธิพุทธอินเดียได้ อาจารย์เซ็นชาวจีนย้ำเสมอว่าฌาณ หรือเซ็นคือประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน "จิตของชีวิตที่ดำเนินอยู่ทุกวัน" ตามคำกล่าวของหม่าซู จุดเน้นของจีนคือ "การตื่น" ในท่ามกลางการใช้ชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปตามปกติ เห็นได้ชัดว่าคนเหล่านี้มิได้ให้ความหมายต่อชีวิตประจำวันเพียงแค่เป็นวิถีสู่การรู้แจ้งเท่านั้น แต่เป็นตัวตนของการรู้แจ้งเองอีกด้วย

    ในศาสตร์ของเซ็น ซาโตริหมายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใดในลักษณะธรรมชาติของพระพุทธคือจุดมุ่งหมาย กิจกรรมและผู้คนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวัน ดังนั้น แม้เซ็นจะเน้นการปฏิบัติของชีวิต แต่เซ็นก็เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้ง บุคคลผู้ถึงซึ่งซาโตริย่อมยังชีวิตอยู่ในปัจจุบันและปฏิบัติกิจของตนด้วยความมีสติ พร้อมกับเข้าถึงความปิติแห่งจิตอันเร้นลับภายใต้การกระทำในทุกกรณี

    โอ้ ช่างมหัศจรรย์ ช่างลึกลับเสียนี่กระไร
    ข้าแบกท่อนฟืน ข้าตักน้ำ


    การปฏิบัติเซ็นอย่างสมบูรณ์แบบจึงหมายเป็นการใช้ชีวิตประจำวันตามธรรมชาติ ตามที่เป็นไปเอง เมื่อมีผู้ขอให้ โปเช็งนิยามคำว่าเซ็น เขาตอบว่า "เมื่อหิว กิน เมื่อง่วง นอน" แม้คำพูดนี้จะดูเรียบง่ายและเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับคำกล่าวอื่นๆของเซ็น แต่ช่างทำได้ยากยิ่งนัก การกลับสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของเรากลับต้องใช้เวลายาวนานในการฝึกและทำจิต พระเซ็นผู้มีชื่อเสียง กล่าวว่า

    "ก่อนศึกษาเซ็น ภูเขาก็คือภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ ขณะกำลังศึกษาเซ็น ภูเขาไม่ใช่ภูเขา และแม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำอีกต่อไป แต่เมื่อไปถึงการรู้แจ้งแล้ว ภูเขาก็กลับเป็นภูเขา และแม่น้ำก็ปรากฏเป็นแม่น้ำอีกครั้งหนึ่ง"

    จุดเน้นของเซ็นเกี่ยวกับความเป็นธรรมชาติและการปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามครรลองที่ควรจะเป็นสะท้อนถึงรากฐานที่มาจากเต๋า แต่พื้นฐานของแนวคิดเช่นนี้ย่อมเป็นแนวคิดจากปรัชญาพุทธอย่างแท้จริง มันคือความเชื่อในความสมบูรณ์สูงสุดของธรรมชาติแต่เดิม การตระหนักว่ากระบวนการรู้แจ้งนั้น แท้ที่จริงก็คือการกลับคืนสู่สิ่งที่เรา "เป็น"ตั้งแต่ต้น เมื่อมีผู้ถามอาจารย์เซ็น โปชางว่าจะแสวงหาธรรมชาติพุทธะได้อย่างไร ท่านตอบว่า "ก็คล้ายกับเมื่อเราขี่หลังวัว ตามหาวัวนั่นเอง"

    ปัจจุบัน มีสายเซ็นสองสายในญี่ปุ่น ทั้งสองสายแตกต่างกันด้วยวิธีการสอน สาย"รินไซ"ใช้วิธี โกอัน ซึ่งให้ผู้ปฏิบัติเข้าพบและสนทนาปริศนาธรมกับอาจารย์ (ซานเซ็น)อย่างสม่ำเสมอ การแก้ปริศนาธรรมโกอัน ใช้เวลานานในการเพ่งสมาธิซึ่งจะนำไปสู่การมองเห็นจากภายในอย่างทันทีทันใด อาจารย์ผู้มีประสบการณ์จะรู้ว่าเมื่อใดที่ ศิษย์ของตนเข้าใกล้สภาวะการรู้แจ้ง และจะสามารถผลักศิษย์ให้ไปสู่จุดของการรู้แจ้งได้ทันทีทันใด ด้วยการกระทำที่ไม่คาดฝัน เช่น หวดด้วยไม้หรือตะโกนดังๆเป็นต้น

    ส่วนสาย "โซโต" หรือ สาย"ค่อยเป็นค่อยไป"นั้นหลีกเลี่ยงวิธี "รุนแรงและรวดเร็ว" ของรินไซ และมีจุดมุ่งหมายที่การบ่มเพาะศิษย์ให้เติบโตชึ้นตามลำดับ "เช่นเดียวกับที่สายลมแผ่วของฤดูใบไม้ผลิโลมไล้ดอกไม้ไว้ในอ้อมกอด รอวันที่จะผลิบานเต็มที่อย่างงดงาม" โซโตใช้วิธี "นั่งนิ่ง" ในความสงบงัน และการประกอบกิจกรรมประจำวันอย่างมีสติทุกย่างก้าว เป็นตัวนำสู่การเข้าฌาณ

    ทั้งโซโตและรินไซ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อซาเซ็น หรือการนั่งวิปัสสนา ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ปฏิบัติในวัดเซ็นทุกวัน วันละหลายชั่วโมง ท่านั่งและการฝึกหายใจที่ถูกต้องคือสิ่งแรกที่ศิษย์รินไซทุกคนต้องเรียนรู้ เซ็นใช้ซาเซ็นเป็นเครื่องเตรียมความพร้อมของสัญชาตญาณจิตเพื่อรอรับโกอัน ขณะเดียวกัน โซโตก็ใช้ท่านั่งและการหายใจนี้เป็นวิธีการสำคัญในการช่วยให้นักเรียนเซ็นเติบโตและค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่ซาโตริ นอกจากนี้ซาเซ็นยังถูกมองว่าเป็นการตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของพุทธะ ร่างกายและจิตใจหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวอย่างสอดประสานซึ่งไม่ต้องการการเปลี่ยนแปรอีกต่อไป ดังที่บทกวีเซ็นบทหนึ่งกล่าวไว้

    นั่งนิ่งสงบงัน ไม่กระทำ
    ฤดูใบไม้ผลิมาถึง หญ้างอกแทงโผล่โดยลำพังตนเอง

    เซ็นยึดมั่นว่าการรู้แจ้งแสดงตนอยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างปกติ ดังนั้นวิถีเซ็นจึงมีอิทธิพลสูงต่อวิถีการดำรงชีวิตของชนชาวญี่ปุ่น ไม่แต่เฉพาะเพียง ศิลปะการวาดภาพ การประดิษฐ์ตัวอักษร การออกแบบสวน และลานหัตถกรรมประเภทต่างๆเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมกิจกรรมพิธีการต่างๆ อาทิเช่นพิธีการดื่มน้ำชา การจัดดอกไม้ และศิลปะการป้องกันตัวของนักรบ เช่น การน้าวสายธนู การฟันดาบ และยูโด (รวมทั้งศาสตร์และศิลปของการป้องกันตัวที่ลงท้ายด้วย โด อื่นๆ) อีกด้วย

    กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ โด แท้จริงคือ เต๋าหรือ "วิถี" สู่การรู้แจ้ง ทุกกระบวนการใช้ลักษณะสมบัติต่างๆจากประสบการณ์เซ็น และใช้ในการฝึกจิตให้ก้าวเข้าสัมผัสกับความจริงแท้อันติมะในที่สุด ชาโนยู พิธีกรรมการดื่มชาที่เนิบนาบ มีจังหวะ หรือการเคลื่อนไหวที่ดำเนินไปเองอย่างต่อเนื่องในการประดิษฐ์อักษรและการวาดภาพ จิตวิญญาณของบูชิโด วิถีแห่งนักรบ ศิลปะเหล่านี้ล้วนแต่แสดงออกถึงความเรียบง่ายที่ดำเนินไปด้วยตัวเอง และการดำรงอยู่ของจิตที่ตื่นอยู่เสมอตามลักษณะสมบัติของวิถีชีวิตแห่งเซ็น

    แม้ว่าศาสตร์และศิลปะเหล่านี้ต้องการความสมบูรณ์เชิงเทคนิค แต่การเป็นนายเหนือศาสตร์และศิลปจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเทคนิคนั้นเข้าสู่ภาวะที่อยู่เหนือขอบข่ายของโลก และศิลปะกลายเป็น"ศิลปะที่ไร้ศิลป์" ซึ่งถือกำเนิดจากจิตอันไร้สำนึกเท่านั้น การบรรยาย "ศิลปะที่ไร้ศิลป์"นี้พบได้ในหนังสือเซ็นเล่มเล็กของ ยูจีน แฮรริเกล (Eugene Herrigel) ชื่อ"ศิลปะแห่งการยิงธนู" แฮริเกลใช้เวลามากกว่าห้าปีกับอาจารย์ญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง เพื่อจะเรียนศิลปะที่ลึกลับนี้

    ในหนังสือของเขา แฮรริเกลเล่าไว้อย่างละเอียดถึงประสบการณ์ส่วนตัวว่าเขาเข้าถึงเซ็นได้อย่างไรจากการฝึกยิงธนู ศิลปะการยิงธนูแสดงตนต่อแฮรริเกลในรูปลักษณ์ของพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งเริงร่ายอย่างต่อเนื่อง ไร้จุดหมายและปราศจากความพยายาม แฮรริเกลใช้เวลาฝึกอย่างหนักนานหลายปี กิจกรรมซึ่งเปลี่ยนภาวะความเป็นเขาอย่างสิ้นเชิง เพื่อเรียนรู้ศิลปะของการน้าวคันธนูด้วย"จิต" โดยไม่ต้องพยายามใช้กำลัง และปล่อยลูกศรจากแหล่ง "อย่างไม่ตั้งใจ" ให้ลูกศรหล่นจากคันธนูเสมือน "ผลไม้สุกปลิดจากขั้วเมื่อถึงเวลา" เมื่อไปถึงจุดที่สมบูรณ์เช่นนี้แล้ว ธนู ลูกศร เป้า และผู้ยิง ทั้งสิ้นทั้งมวลต่างหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว และ เขาไม่ใช่ผู้ยิงอีกต่อไป "มัน" ได้ทำหน้าที่นั้นสำหรับเขาแล้ว

    การบรรยายศิลปะการยิงธนูของแฮรริเกลเป็นงานเซ็นบริสุทธิ์ที่สุดชิ้นหนึ่ง เพราะมิได้กล่าวถึงเซ็นเลย


    อ้างอิง จาก
    http://www.midnightuniv.org/midschool2000/newpage20.html
     
  13. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    ขอบคุณคับ คาเมน ข้อมูลเยอะดีมาก ชอบคำนี้
    "ก่อนศึกษาเซ็น ภูเขาก็คือภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ ขณะกำลังศึกษาเซ็น ภูเขาไม่ใช่ภูเขา และแม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำอีกต่อไป แต่เมื่อไปถึงการรู้แจ้งแล้ว ภูเขาก็กลับเป็นภูเขา และแม่น้ำก็ปรากฏเป็นแม่น้ำอีกครั้งหนึ่ง"
     

แชร์หน้านี้

Loading...