เรื่องเด่น “พระมหาชนก” หนึ่งในงานพระราชนิพนธ์ของ “ในหลวง” รัชการที่ 9

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 11 ตุลาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    lg.jpg

    0b8b2e0b88ae0b899e0b881-e0b8abe0b899e0b8b6e0b988e0b887e0b983e0b899e0b887e0b8b2e0b899e0b89ee0b8a3.jpg

    “พระมหาชนก” เป็นหนึ่งในงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นหนังสือที่พระราชนิพนธ์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยจาก “มหาชนกชาดก”ในพระไตรปิฎก ส่วนพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เล่มที่ 4 ภาคที่ 2 เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้าย ก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทรงปรับแต่งดัดแปลงเล็กน้อย เพื่อให้เข้าใจง่าย และสอดคล้องกับยุคสมัยและปัญหาโลกปัจจุบัน

    พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” มีทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ในเล่มเดียวกัน ทรงแปลพระมหาชนกชาดกเสร็จสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2531 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดพิมพ์ ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อปี พ.ศ.2539 มีภาพวาดโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ที่สำคัญมีภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อาทิ ภาพวันที่เรือล่ม โดยมีแผนที่อากาศแสดงเส้นทาง พายุจริงๆ และภาพพระมหาชนกทรงว่ายน้ำ โดยมีนางมณีเมขลาเหาะอยู่เบื้องบน เป็นต้น


    สำหรับเรื่องราวในพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” มีใจความโดยสรุปดังนี้

    “พระมหาชนก” เป็นกษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ “พระอริฎฐชนก” และ “พระโปลชนก” หลังจากพระมหาชนกสวรรคต พระอริฏฐชนกได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ และทรงแต่งตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช ต่อมาได้เกิดเหตุสู้รบกันระหว่างพระอริฏฐชนกและพระโปลชนก อันเนื่องมาจากการยุแหย่ของเหล่าอมาตย์ใกล้ชิด พระอริฏฐชนกได้สิ้นพระชนม์ชีพในสนามรบ พระเทวีซึ่งเป็นพระอัครมเหสีกำลังทรงพระครรภ์อยู่ จึงได้หลบหนีออกจากกรุงมิถิลา มุ่งหน้าสู่นครจัมปากะ และต่อมาได้ประสูติพระโอรสซึ่งมีวรรณะดั่งทอง พระเทวีได้ขนานนามพระโอรสเหมือนพระอัยกาว่า “มหาชนกกุมาร”

    “พระมหาชนก” ทรงทราบเรื่องเกี่ยวกับพระบิดาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงตั้งพระทัยเสด็จฯ ค้าขายยังเมืองสุวรรณภูมิ เพื่อให้ได้ทรัพย์เพื่อทำการทวงสมบัติคืน จึงทรงนำพวกพาณิชย์ประมาณ 700 คน ขึ้นเรือเดินทางออกสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่พระโปลชนกทรงประชวร เมื่อเรือแล่นไปได้ 7 วัน ไกลประมาณ 700 โยชน์ ก็เจอคลื่นยักษ์จนเรืออับปาง และวันนั้นก็เป็นวันที่พระโปลชนกสวรรคต


    8b2e0b88ae0b899e0b881-e0b8abe0b899e0b8b6e0b988e0b887e0b983e0b899e0b887e0b8b2e0b899e0b89ee0b8a3-1.jpg

    “พระมหาชนก” ทรงว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรอยู่ 7 วัน เทพธิดาชื่อ “มณีเมขลา” ผู้ดูแลรักษาสัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณความดี ไม่ให้ตามในมหาสมุทรก็ตรวจตราพบ จึงเหาะมาทดลองความเพียร โดยถามพระมหาชนกว่า “เมื่อมองไม่เห็นฝั่งแล้วจะพยายามว่ายอยู่ทำไม” พระมหาชนก ตรัสตอบว่า “เราไตร่ตรองเห็นปฏิปทาแห่งโลก และอานิสงส์ แห่งความเพียร เพราะฉะนั้นถึงจะมองไม่เห็นฝั่ง เราก็ต้องพยายามว่ายอยู่ท่านกลางมหาสมุทร เราทำความพยายามแม้ตายก็จักพ้นครหา บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ชื่อว่าไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ ญาติ เทวดา และบิดา มารดา อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง”



    8b2e0b88ae0b899e0b881-e0b8abe0b899e0b8b6e0b988e0b887e0b983e0b899e0b887e0b8b2e0b899e0b89ee0b8a3-2.jpg

    นางมณีเมขลา ยังได้กล่าวทดลองความเพียรของพระมหาชนกอีกหลายประการ จนได้ประจักษ์ในความเพียรของพระองค์ จึงได้อุ้มพาเหาะไปในอากาศจนถึงเมืองมิถิลา ด้วยความเพียรและปัญญา ทำให้พระมหาชนกสามารถตอบปัญหา 4 ข้อ ที่พระโปลชนกทิ้งไว้ก่อนสวรรคตได้ และได้อภิเษก กับ “สีวลีเทวี” พระธิดาองค์เดียวของพระโปลชนก ตลอดจนได้ครองกรุงมิถิลา และต่อมาได้ทรงตั้งสถาบันการศึกษาขึ้น ชื่อว่า “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย”

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” ด้วยความประณีต และทรงตั้งพระราชหฤทัยเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ให้เป็นเครื่องเตือนใจประชาชน เข้าถึงจิตใจผู้คน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ให้เกิดความคิดในทางสร้างสรรค์ ถึงความเพียรเพื่อที่จะฝ่าฟันทุกอุปสรรคให้ผ่านพ้น และก่อให้เกิดสัมมาทัศนะในการดำเนินชีวิต ในทิศทางการพัฒนาประเทศ ในพระราชปรารภหรือคำนำของพระราชนิพนธ์ คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ ในโอกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล ให้เป็นเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของสาธุทั้งหลาย


    8b2e0b88ae0b899e0b881-e0b8abe0b899e0b8b6e0b988e0b887e0b983e0b899e0b887e0b8b2e0b899e0b89ee0b8a3-3.jpg


    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.komchadluek.net/news/487689
     

แชร์หน้านี้

Loading...