เว็บพลังจิต ไม่ควรป่วนกันด้วยวจีทุจริต ๔ แม้เขียนเป็นคำอ่าน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด, 29 พฤษภาคม 2010.

  1. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    <center>
    แก้มุสาวาท
    </center>
    กายประโยค(ความพยายามทางกาย)หรือวจีประโยค(ความพยายามทางวาจา)ที่หักรานประโยชน์ (ผู้อื่น) ของผู้มุ่งจะพูดให้ผิด ชื่อว่ามุสา.

    เจตนาของผู้พูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยประสงค์จะให้เข้าใจผิด มีกายประโยคและวจีประโยค
    <table valign="Bottom" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" vspace="0" width="760"><tbody><tr><td border="1" bordercolor="black" bgcolor="white" width="660"><wbr>เป็น<wbr>สมุฏ<wbr>ฐาน ชื่อ<wbr>ว่า<wbr>มุสา<wbr>วาท.

    อีกนัยหนึ่ง เรื่องไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่ามุสา (เรื่องเท็จ). การให้ (ผู้อื่น) เข้าใจเรื่องเท็จนั้นว่าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่าวาทะ (การพูด) แต่โดยลักษณะ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่จริงว่าเป็นเรื่องจริง อันเป็นสมุฏฐานแห่งวิญญัติ (การเคลื่อนไหว) อย่างนั้น ชื่อว่ามุสาวาท (การพูดเท็จ).

    มุสาวาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนมาก.

    อีกอย่างหนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ไม่มีเพราะไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตน (แก่คนอื่น) มีโทษน้อย ที่กล่าวเบิกพยานเพื่อหักล้างประโยชน์ (ของคู่ความ) มีโทษมาก.

    สำหรับบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้วโดยนัยแห่งบูรณากถา (พูดให้เต็มความหรือเล่นสำนวน) ว่า วันนี้น้ำมันในบ้านเห็นจะไหลเป็นแม่น้ำนะด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยไป มีโทษน้อย. แต่ของผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นเลยว่าได้เห็น มีโทษมาก.

    มุสาวาทนั้นมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ

    เรื่องไม่จริง ๑
    ตั้งใจพูดให้ผิด ๑
    พยายามพูด ๑
    ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.

    ประโยคมีประโยคเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น. ประโยคนั้นพึงเห็นว่า ได้แก่การแสดงกิริยาของผู้จะพูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยวาจา. ถ้าหากผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น กิริยานี้ชื่อว่าเนื่องด้วยมุสาวาทกรรม ในขณะแห่งเจตนาที่มีกิริยาเป็นสมุฏฐานนั้นเอง.

    <center>
    แก้ปิสุณาวาจา
    </center>
    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า
    ปิสุณาวาจา เป็นต้น.

    วาจาที่เป็นเหตุให้หัวใจของบุคคลผู้ที่ตนพูดด้วย เกิดความรักตนและเกลียดชังคนอื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจา.
    ส่วนวาจาที่เป็นเหตุทำให้ตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคายและวาจาที่หยาบคายเอง คือไม่ไพเราะโสต หรือไม่ชื่นใจ (ผู้ฟัง) นี้ชื่อว่าผรุสวาจา.

    วาทะที่เป็นเหตุให้เจรจาเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาป. ถึงเจตนาที่เป็นมูลฐานของการกล่าวคำหยาบและคำเพ้อเจ้อเหล่านั้น ก็ได้นามว่าปิสุณาวาจาเป็นต้นอยู่นั่นเอง. และในที่นี้ก็ประสงค์เอาเจตนานั้นแล.

    เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมองที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยค และวจีประโยค เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นหรือเพื่อประสงค์จะทำตนให้เป็นที่รักของผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจาในวจีกรรมนั้น.

    ปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ถูกทำให้แตกกันนั้น มีคุณธรรมน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณธรรมมาก.

    ปิสุณาวาจานั้นมีองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ

    ผู้ต้องถูกทำลายเป็นคนอื่น ๑
    ความมุ่งหน้าจะทำลายด้วยประสงค์ว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้แตกแยกจากกัน ด้วยอุบายอย่างนี้ หรือความประสงค์ว่าเราจักเป็นที่รักเป็นที่คุ้นเคย (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้ (รวมเป็นองค์) ๑
    ความพยายามที่เกิดจากความตั้งใจนั้น ๑
    การที่เขาเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.
    <center>

    แก้ผรุสวาจา

    </center> เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่าผรุสวาจา.

    เพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.
    ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป. มารดาเมื่อไม่สามารถ
    <wbr>จะให้เขากลับได้ จึงด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุร้ายจงไล่ขวิดมึง. ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่นแหละ. เด็กจึงทำสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปาก ขออย่าเป็นอย่างนั้น แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น. แม่กระบือได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.

    วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรัก (คำที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดังที่พรรณนามานี้
    ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน.

    จริงอยู่ บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกๆ อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็นท่อนๆ ไปเถิด ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้ตกลงบนเบื้องบนของพวกเขาเลย. และบางครั้งอาจารย์และอุปัชฌาย์ต่อว่า อันเตวาสิก
    <wbr>และ<wbr>สัทธิวิหาริก<wbr>ผู้ อยู่อาศัยทั้งหลายว่า พวกนี้จะพูดอะไรกันก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลายจงไล่เขาไปเสีย. แต่ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม (ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ) แก่อันเตวาสิก<wbr>และ<wbr>สัทธิวิหาริก<wbr>เหล่า นั้นอยู่.

    อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด จะไม่เป็นผรุสวาจาเพราะผู้พูดมีคำพูดอ่อนหวานฉันนั้นก็หามิได้ เพราะว่า คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า แกจงให้คนคนนี้นอนสบายเถิด ดังนี้ ไม่ใช่ไม่เป็นผรุสวาจา แต่วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะผู้พูดมีจิตหยาบคาย.

    ผรุสวาจานี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาทีบุคคลพูดหมายถึงเป็นผู้มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณมาก.

    ผรุสวาจานั้นมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ

    ผู้ที่จะต้องถูกด่าเป็นคนอื่น ๑
    จิตขุ่นเคือง ๑
    การด่า ๑.
    <center>

    แก้สัมผัปปลาปะ

    </center> ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค ที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคำพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ.

    สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้พูดมีอาเสวนะอ่อน (ความเคยชินน้อย) ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้พูดมีอาเสวนะมาก (ความเคยชินมาก).

    สัมผัปปลาปะนั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ

    ความมุ่งหน้าที่จะพูดถ้อยคำไร้ประโยชน์ มีเรื่องสงครามภารตะและเรื่องการลักพานางสีดา (เรื่องรามเกียรติ์) เป็นต้น ๑
    การกล่าวถ้อยคำชนิดนั้น ๑.


    ที่มา
    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤษภาคม 2010
  2. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    ...........
     
  3. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    ...............
     

แชร์หน้านี้

Loading...