ไฟฟ้าราคาถูกข้อเสนอกรีนพีซ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 10 มกราคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    'ไฟฟ้าราคาถูก'ข้อเสนอ'กรีนพีซ'

    ไฟฟ้าราคาถูก ข้อเสนอ"กรีนพีซ"

    พนิดา สงวนเสรีวานิช



    [​IMG]

    ต้องยอมรับโดยดุษณีว่าสภาพบรรยากาศของโลกเปลี่ยนไปมากจนแทบกู่ไม่กลับ ไม่ต้องดูอื่นไกล แค่ในประเทศไทยวันเดียวมีถึง 3 ฤดู

    เหล่านี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ แต่กลายเป็นสิ่งที่รู้เห็นและเป็นอยู่ และนับวันมีแต่จะย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เพราะไม่เพียงเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ถูกมนุษย์กระทำชำเรามานานนับสิบๆ ปีจนเสียสมดุล แม้จะมีการรณรงค์กันให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ แต่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรดีขึ้น

    ระยะหลังหลายๆ หน่วยงานในประเทศไทยเริ่มหันมาวิเคราะห์ให้ความสำคัญกับเรื่องของพลังงานทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม-น้ำ-นิวเคลียร์ ฯลฯ ที่จะเข้ามาทดแทนการใช้น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติที่มีเหลือให้ใช้น้อยลงทุกขณะ

    ล่าสุด กรีนพีซได้เสนออีกทางเลือกของการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ในรายงาน "การกระจายศูนย์การผลิตไฟฟ้าไทย : สู่ระบบพลังงานที่ยั่งยืน" ซึ่งเขียนโดย คริส กรีเซน นักวิชาการด้านพลังงานกลุ่มพลังไท และ จิม ฟุตเนอร์ เจ้าหน้าที่รณรงค์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    รายงานดังกล่าวเขียนขึ้นในช่วงรัฐบาลพรรคไทยรักไทยยังคงอยู่ในอำนาจ ดังนั้นจึงมีการย้ำว่าให้อ่านในฐานะ *เป็นการทบทวนเชิงวิจารณ์ของสถานการณ์ที่มีขึ้นมาพร้อมกับรัฐบาลใหม่ มากกว่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์กระทรวงพลังงานใหม่*

    ทั้งนี้ ถ้าพิจารณาในแง่ของสัดส่วนของไฟฟ้าที่เราใช้กันในประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่มาจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซความร้อนร่วม โดยร้อยละ 72 ผลิตจากก๊าซธรรมชาติและอีกประมาณร้อยละ 15 จากถ่านหินและลิกไนต์

    ที่เหลือประกอบด้วยน้ำมันร้อยละ 6 โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในประเทศร้อยละ 4 โรงไฟฟ้าพลังน้ำนำเข้าซึ่งส่วนใหญ่จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร้อยละ 3 และอื่นๆ โดยมีองค์ประกอบเป็นพลังงานหมุนเวียนน้อยกว่าร้อยละ 1

    ประเด็นสำคัญของรายงานฉบับนี้ คือ *การผลิตไฟฟ้าแบบรวมศูนย์* เนื่องจากการวางแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่แบบรวมศูนย์นั้นส่งผลให้มีการสูญเสียพลังงานจากเชื้อเพลิงอย่างสูญเปล่าอย่างน้อยที่สุดร้อยละ 60 ก่อนที่ไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกจากสถานี

    ขณะเดียวกันในระหว่างที่ไฟฟ้าถูกส่งไปตามระบบสายก็ยังมีการสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นอีก จนกระทั่งไปถึงบ้านเรือนก็เป็นภาระของประชาชนที่จะตัดสินใจว่าจะใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองหรือใช้อย่างเหมาะสม

    ปัญหาประการหนึ่งคือ ที่ผ่านมาสิทธิในการผลิตไฟฟ้าไม่ได้ถูกกระจายให้กับเอกชนที่เสนอตัวเข้ามาขอเป็นผู้ร่วมผลิตไฟฟ้ารายย่อย และเมื่อดูจากร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่มีแผนการก่อสร้างขึ้นในทศวรรษหน้ายังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล

    เฉพาะแผนการจัดสร้างโรงไฟฟ้าจนถึงปี 2553 ยังเตรียมให้มีการจัดสร้างโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิสแบบรวมศูนย์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) อยู่แล้ว 4 แห่ง ทำให้กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและกระจายศูนย์

    นอกจากนี้ยังขาดการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของประสิทธิภาพด้านพลังงานตามบ้านเรือนในภาคธุรกิจ

    อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบถึงประสิทธิภาพของการเปลี่ยนเชื้อเพลิงเป็นพลังงานแล้ว โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของไทยใช้ระบบกังหันก๊าซแบบความร้อนร่วม ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานเพียงแค่ร้อยละ 41 ที่เหลือจะเป็นความร้อนที่ถูกปล่อยอย่างสูญเปล่าไปสู่สิ่งแวดล้อมโดยผ่านปล่องก๊าซหรือหน่วยหล่อเย็น

    ระบบกังหันไอน้ำที่ขับเคลื่อนด้วยถ่านหินและก๊าซธรรมชาติยิ่งมีประสิทธิภาพน้อยกว่า กล่าวคือ มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเพียงแค่ร้อยละ 30.4 และ 25.4 โดยลำดับ

    ระบบการผลิตร่วมไฟฟ้า-ความร้อน จึงเป็นตัวเลือกที่รายงานฉบับให้ความสำคัญ เพราะช่วยลดการสูญเสียพลังงานที่ไม่ควรจะเสีย เนื่องจากระบบการผลิตร่วมไฟฟ้า-ความร้อนจะมีการจับ "ความร้อนสูญเสียไป" เอาไว้ และนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมจากร้อยละ 70 เป็น 90

    ด้วยเหตุที่โรงไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์มักตั้งอยู่ในสถานที่ซึ่งสามารถนำความร้อนที่สูญเปล่ากลับมาใช้ประโยชน์ได้ โดยรูปแบบทั่วไปจะมีการตั้งโรงผลิตร่วมไฟฟ้า-ความร้อนอยู่ใกล้ หรืออยู่ภายในโรงงาน จึงมีการนำไอน้ำที่ได้ไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ในเชิงอุตสาหกรรม หรืออาจมีการนำความร้อนที่ถูกปล่อยออกมาไปใช้เพื่อให้พลังงานกับระบบทำความเย็นในพื้นที่ ซึ่งช่วยลดการปรับอากาศด้วยไฟฟ้าลง

    บางครั้งจึงเรียกระบบนี้ว่า "ระบบผลิตร่วมไฟฟ้า-ความเย็นและความร้อนร่วม" หรือระบบ "Trigeneration"

    โดยสรุปก็คือ *ระบบผลิตร่วมไฟฟ้า-ความเย็น-ความร้อนร่วม มีความเหมาะสมกับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะไอน้ำเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากสำหรับเครื่องปรับอากาศ แทนที่จะต้องไปดึงพลังงานในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุด โดยระบบผลิตร่วมไฟฟ้า-ความเย็น-ความร้อนร่วม จะทำหน้าที่จ่ายพลังงานส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้าในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุดได้

    นอกจากนั้นการที่ตั้งโรงผลิตไฟฟ้าใกล้กับจุดที่มีการใช้ไฟฟ้ามาก ทำให้ลดการสูญเสียเนื่องจากการจ่ายไฟฟ้าตามระบบส่งไฟฟ้า ทั้งนี้ระบบผลิตร่วมไฟฟ้า-ความเย็น-ความร้อนร่วม ส่วนใหญ่มักดำเนินการโดยเอกชนตามโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก*

    ในรายงานของกรีนพีซฉบับล่าสุดนี้ยังตั้งข้อสมมติฐานที่สอดคล้องกับเหตุผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการท้าทายแนวคิดแบบเดิมๆ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าของไทย กล่าวคือ

    จนถึงปี 2559 โครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบรวมศูนย์ใดๆ หรือการนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านตามที่ระบุไว้ในร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. (ที่ครอบคลุมปี 2554-2559) นั้นไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด

    อีกทั้งบรรดาโรงไฟฟ้าที่อยู่ใน "พันธสัญญา" (ระหว่างปี 2549-2553) และเริ่มมีการก่อสร้างไปแล้ว มีเพียง 3 ใน 4 ของกำลังการผลิตเท่านั้น (5,300 เมกะวัตต์ จาก 7,200 เมกะวัตต์) ที่มีความจำเป็น

    แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าที่สะอาดและให้ผลตอบแทนจะส่งเสริมให้เกิดการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและกระจายศูนย์ หากมีการปฏิบัติตามการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในปี 2549

    ทั้งนี้ ควรมีการสนับสนุนโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก รวมทั้งเล็กมาก ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น โดยการกำหนดมาตรการค้ำประกันอัตราการรับซื้อไฟฟ้าในระยะยาวสำหรับเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะ ซึ่งให้ประโยชน์ในเชิงสิ่งแวดล้อมและสังคมมากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล

    เป็นอีกทางเลือกของการผลิตไฟฟ้า ที่ไม่เพียงลดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าดาย ยังช่วยลดการเกิดภาวะเรือนกระจกได้อีกด้วย

    ----------------
    Ref.
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02100150&day=2007/01/10
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2007
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ที่จริงประเทศไทยมีศักยภาพในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงแบบนี้อย่างมาก

    -เพราะ ไทยเรามี วัสดุเหลือใช้ในการเกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก แถมชอบนำมาเผาทิ้งในแปลงเพาะปลูกซึ่งเป็นการทำให้โลกร้อน เกิดไฟป่า สร้างมลพิษ และเป็นการเผาเงิน เผาพลังงานไปอย่างไร้ค่า

    -การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก เป็นเครือข่าย (Mini Grid) ในแต่ละชุมชน จะเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังมีต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อหน่วยถูกกว่า การสร้างโรงงานขนาดใหญ่ อีกด้วย เฉลี่ยราคาโรงไฟฟ้าขนาดย่อมสำหรับชุมชน ไม่เกิน สิบล้านบาท ถ้าใช้เครื่องที่สร้างและประกอบในประเทศก็จะถูกลงอีก

    -การสูญเสียไฟฟ้าในระบบสายส่งนั้น ทำให้ไฟฟ้าหายไปจากความต้านทานความเป็นฉนวนในสายส่งแรงสูง ประมาณ 20-25 เปอร์เซนต์ แต่ระบบที่มีการจ่ายไฟฟ้า ณ จุดนั้น มีการสูญเสียที่ต่ำกว่า ซึ่งหมายความว่ามีประสิทธิภาพที่สูงกว่า

    ไว้วันหลังจมาเล่าให้ฟังต่อครับ
     
  3. R_Ravad

    R_Ravad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +31
    คิดว่าไง หากเราคิดจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สร้างเพื่อ ก้าวไปสู่อะไรครับ ........

    ลองไปเที่ยว ไปเยี่ยมผู้ป่วยจากโรคมะเร็งดูบ้างครับ

    ถึงเวลา เมื่อมีเงิน แต่เจ็บป่วยก็ทุกข์ครับ

    เชื่อพ่อ เดินตามเศรษฐกิจพอเพียงดีกว่าครับ พลังงานแบบพอเพียง และเผื่อแผ่ ความมี สู่ผู้คนในชนบททั่วประเทศครับ

    ความจริงโครงการที่กรีนพีช เสนอมา มีคนไทย ทำอยู่ และผลักดันกันมาตลอด ตัวผมเองยังได้ไปช่วยนำเสนอในคณะกรรมาธิการพลังงานที่สภา ด้วยซ้ำ แต่ก็ด้วยเหตุผลที่ทุกคนทราบครับว่า.......
    1. ....................
    2. ........................
    3. ......................................
    4. ....................................................

    คงพอเข้าใจกันนะครับ
     
  5. e20ehq

    e20ehq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +770
    Solar Panel หรือแผงพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ที่จริงแล้วเมืองไทย มีแดดทั้งปีสม่ำเสมอ แต่แปลกว่า การใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั้นน้อยเหลือเกิน ในประเทศที่แดดไม่ค่อยจะมีเช่น เยอร์มัน จีน ก็ยังใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์

    ลองคิดเล่นๆ ว่า ทุกหลังคาบ้าน มีแผงพลังงานแสงอาทิตย์ติดบนหลังคา ทำให้หมู่บ้านจัดสรรค์กลายเป็นโรงไฟฟ้าย่อยๆ จะทำให้โรงไฟฟ้าลดกำลังการผลิตลงไปอีก

    แต่ก็อย่างว่า บ้านเรานั๊น........................................
     
  6. tawatd

    tawatd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    506
    ค่าพลัง:
    +2,020
    ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทำได้ครับแต่ไม่คุ้มทุน ค่าแซลไฟฟ้าแพงมาก อายุใช้งาน 20 ปี คิดค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้น้อยกว่าค่าแผง+ดอกเบี้ยมาก ส่วนไฟฟ้าพลังงานสะอาดและหมุนเวียนจากแกลบและอื่นๆต้นทุนการผลิตสูงหากทำมากรายจะขาดแคลนเชื้อเพลิงด้วย ถ้าทำได้ดีจริงก็สนับสนุนครับแต่ขอให้กรีนพีทค้ำประกันให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กด้วยว่าหากขาดทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ให้ทั้งหมด ตามความเห็นของผมการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กจากก๊าซธรรมชาติแบบ trigeneration คือเป็นแบบโคเจนเนอร์เรชั่นแล้วใช้ความร้อนที่เหลือทำน้ำเย็นป้อนศูนย์การค้าที่อยู่ใกล้ๆ ตามนโยบายของ ปตท.ที่กำลังทำอยู่ดีกว่าเพราะมีสัมประสิทธิ์การใช้พลังงานสูงมากประมาณ 60 %
     
  7. chotiwit

    chotiwit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,616
    ค่าพลัง:
    +1,794
    เห็นด้วยนะ แต่ต้องให้รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจถือหุ้นทั้งหมด ถ้าเอกชนมาถือหุ้น คงจะเสียสมบัติของชาติไปแน่ๆ
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ถ้าจะสร้างโรงานผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดย่อมในระดับชุมชนควร มีการจัดตั้งและรวมตัวกันในระบบสหกรณ์ครับ

    ทุกคนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

    ถ้าเป็นระบบไบโอแก๊ซ จากขยะชุมชนและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ประโยชน์ที่ได้คือ
    1. เกษตรกร มีรายได้จาก
    -การขายวัสดุการเกษตร
    -เงินปันผลจากการถือหุ้นของสหกรณ์
    ได้
    -ปุ๋ยชีวภาพราคาถูกจากการหมักแก๊ซ
    -ได้ใช้ไฟฟ้าในราคาถูก ไม่เสียค่า เอฟที

    ส่วนชุมชนได้

    -การกำจัดขยะที่แทนต้องเสียค่ากำจัด ตันละ 100-200 บาท กลายมาเป็นรายได้ของชุมชน ซึ่งจากต้องจ่ายกลายเป็นได้เงิน
    -เป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยการนำไอน้ำจากการผลิต ไตรเจน มาทำ ห้องเย็น โรงน้ำแข็ง โรงอบแห้งพืชผลทางการเกษตร อุตสาหกรรมย่อมๆ ตามสภาพในแต่ละพื้นที่
    -ลดการเคลื่อนย้ายประชากรออกไปยังเมืองหลวง
    -สร้างความเข้มแข็งและความสามัคคีให้ชุมชน
    -สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ทั้งในระดับชุมชนจนถึงระบบกริดรวมของประเทศ
    -ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะ และการก่อก๊าซเรือนกระจก ของโลก

    ที่จริงโครงการนี้สามารถทำได้เลยครับ เพราะสหกรณ์สามารถกู้ยืมเงินทุนผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศที่ตอนนี้มีเงินอยู่ ประมาณ แสนล้านบาท(รวมกันทุกแห่ง)

    ลองคิดเล่นๆดูว่า ถ้าแต่ละหมู่บ้านมีโรงไฟฟ้า ขนาด 100-400 กิโลวัตต์ โดยหมู่บ้านทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 50000 หมู่บ้าน จะมีกำลังการผลิต รวมอยู่ที่ ประมาณ สองหมื่นเมกกะวัตต์ ซึ่ง เท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กี่โรงงานมารวมกัน แต่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า งบประมาณถูกกว่า อันตรายน้อยกว่า

    ส่วนข้อเสียคือ
    ไม่หรูหรา
    หมดรายได้ของผู้รับสัมประทานกำจัดขยะ
    ระบบสหกรณ์ทำให้หาช่องทางหาผลประโยชน์ยาก

    สรุปแล้วการพัฒนาประเทศไทย ถ้าทำเพื่อความสุขของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศก็จงทำเถิดครับ แต่อย่าให้ผลประโยชน์ส่วนตนมาบังตาไม่ให้เห็นผลเสีย ผลกระทบของคนทั้งชาติ

    เพราะพอเราประกาศจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปุ๊ป อาจมีข่าวดีแบบอีรัคหรืออิหร่านโดนก็ได้ครับ อย่าลากประเทศไปสู่หายนะเลยครับ เวรกรรมมีจริงครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...