สมเด็จ๙ผงวิเศษลพ.นุ่มวัดนางในหลวงพ่อพระเสริมหลังภปรวัดปทุมวนารามลพ.มหาถาวร

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    kb-phromma-00.jpg
    มีครั้งหนึ่งท่านครูบาพรหมาพร้อมด้วยคณะได้ไปอาศัยอยู่ป่า ไกลจากหมู่บ้านห้วยปันจ้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็เกิดมีฝนห่าใหญ่หลั่งไหลตกลงมา พระทุกรูปไม่มีกลดไม่มีร่ม ต่างก็พากันลุกขึ้นไหว้พระ เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งภาวนาอยู่ ในที่สุดก็นอนลง ทันใดนั้นก็มีน้ำป่าไหลหลากลงมา ทั้งฝนก็กระหน่ำตกไม่ขาดสาย พวกท่านก็ปล่อยเลยตามเลย นอนกันอยู่อย่างงั้น ก็เพราะต่างก็ง่วงเต็มแก่ พอตื่นขึ้นมาก็เป็นเวลาสว่าง ท่านครูบาพรหมาได้เหลือบตามองดูจีวรที่ห่มอันเปียกชุ่มว่ามันเป็นอย่างไร ปรากฏว่าเป็นดินทรายไปหมด ยกเกือบไม่ขึ้น น่าสังเวชใจในชีวิตของตนเป็นกำลัง นึกปลอบในตนเองว่าช่างมันเถอะ อะไรๆ ล้วนแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น
    พอถึงเวลาภิกขาจารก็มีพวกศรัทธาชาวบ้านมากันมากหลายเพื่อตักบาตร พวกท่านก็เอาจีวรที่เปียกแฉะเป็นดินเป็นทรายนั่นแหละห่มคลุมไปบิณฑบาต ขณะนั้นมีคนแก่คนหนึ่งชื่อ พ่อพญาอักขระราชสาราจารย์ พอแกมองเห็นสภาพของพระธุดงค์เปียกม่อลอกเช่นนั้น แกก็ร้องไห้โฮออกมาด้วยความสงสารสภาพของพระธุดงค์ พลอยทำให้คนอื่นพลอยหลั่งน้ำตาลงด้วยเป็นแถว
    https://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-bhroma/kb-bhroma_hist.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ล็อกเก็ตเข็มกลัดครูบาพรหมาให้บูชา 120 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20231004_215542.jpg IMG_20231004_215619.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2023
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    พระสมเด็จ๙ชั้นเนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดเกศไชโยอ่างทองปี๒๕๒๑
    รายละเอียด
    #พระสมเด็จ๙ชั้นเนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดเกศไชโยอ่างทองปี๒๕๒๑
    พิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ของวัดไชโยวรวิหาร อ่างทอง ในงานสมโภช ๑๙๐ปี แห่งชาตะของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วันที่ ๒๔-๒๕ พฤศจิกายน พศ.๒๕๒๑ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตาญาณฯ สมเด็จพระสังฆราชฯ(วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ ทรงเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย และมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ(เสงี่ยม) วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ ดับเทียนชัยครับ รายนามพระคณาจารย์ เจริญพระพุทธมนต์ บริกรรมภาวนาและสวดพุทธาภิเษก ดังนี้
    ๑.หลวงปู่คำแสน วัดป่าดอนมูล เชียงใหม่
    ๒.หลวงปู่สุด วัดกาหลง สมุทรสงคราม
    ๓.หลวงปู่เปรื่อง วัดสุวรรณภูมิ สุพรรณบุรี
    ๔.พระราชมงคลมุนี วัดชัยมงคล อ่างทอง
    ๕.พระมหาพุทธพิมพาภิบาล วัดไชโย อ่างทอง
    ๖.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
    ๗.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    ๘.หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
    ๙.พระครูประสานนวกิจ วัดพระนอนจักร์สีห์ สิงห์บุรี
    ๑๐.หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท
    ๑๑.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    ๑๒.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    ๑๓.ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    ๑๔.พระครูศรีรัตนาภิวัฒน์ วัดวิเศษชัยชาญ อ่างทอง
    ๑๕.พระครูอดุลสุดกิจ วัดโคกพุทธา อ่างทอง
    ๑๖.พระครูใบฎีกาเจริญ วัดอ่างทองวรวิหาร อ่างทอง
    ๑๗.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม นครปฐม
    ๑๘.หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ชลบุรี
    ๑๙.หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร ชัยนาท
    ๒๐.หลวงพ่อคูณ วัดสระแก้ว นครราชสีมา
    ๒๑.พระอธิการสน วัดไทร อ่างทอง
    ๒๒.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา
    ๒๓.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
    ๒๔.พระอาจารย์จำเนียร วัดละมุด อ่างทอง
    ๒๕.หลวงปู่วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
    ๒๖.หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดสันติสังฆารามพรรณานิคม สกลนคร
    ๒๗.หลวงปู่คำแหง จนฺทสาโร วัดป่าสุวรรณนิเทศทรงธรรม ร้อยเอ็ด
    ๒๘.หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
    ๒๙.พระราชสุวรรณโมลี วัดต้นสน อ่างทอง
    ๓๐.พระราชสังวรญาณ(เจ้าคุณสนิท) วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    ๓๑.พระวิเศษชัยสิทธิ์ วัดอ่างทองวรวิหาร อ่างทอง
    ๓๒.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    ๓๓.หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร กทม.
    ๓๔.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
    ๓๕.หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
    ๓๖.พระครูสิริปัญญาธร วัดตูม อยุธยา
    ๓๗.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
    ๓๘.พระครูวิบูลคุณาวัตร วัดน้อย อ่างทอง
    ๓๙.พระครูวิรัตนธรรมวัตร วัดรางฉนวน อ่างทอง
    ๔๐.พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กทม.
    ๔๑.พระอาจารย์บัว วัดแสวงหา อ่างทอง
    ๔๒.หลวงพ่อชม วัดอินทราราม ชัยนาท
    ๔๓.หลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ สระบุรี
    ๔๔.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    ๔๕.หลวงปู่พล วัดหนองคณฑี สระบุรี
    ๔๖.หลวงพ่อพุทธิ วัดวงศ์พาสน์ อ่างทอง
    ๔๗.หลวงพ่อสวน วัดบางกระดาน ตราด
    ๔๙.พระอาจารย์สมภพ วัดสาลีโข นนทบุรี
    ๕๐.หลวงปู่แว่น วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร
    ๕๑.หลวงปู่ธูป วัดสุนทรธรรมทาน กทม....มวลสารเนื้อกระเบื้องโบสถ์อายุนับร้อยปี โบสถ์เก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ .. ได้รับพลังพุทธมนต์นับครั้งไม่ถ้วน รวมพิธีใหญ่ๆอย่างสร้างเขื่อน ปี๒๔๙๕ พิธีทุกวันพระที่ลงปาฏิโมกข์ สวดมนต์ทำวัตร แค่นี้พุทธคุณก็สะสมอยู่ในตัวมวลสารแล้วครับ รวมทั้งพุทธคุณจากพระเกจิระดับประเทศในยุคนั้นหลายสิบท่าน...
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    องค์นี้พิมพ์ ๓ ชั้น สภาพมีบิ่น ขอบ แต่ มีกล่องเดิมๆ ส่วนมาก จะเช่ายุคหลัง ไม่มีกล่องใส่ มีแต่องค์พระ
    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20231005_233642.jpg IMG_20231005_233708.jpg IMG_20231005_233744.jpg IMG_20231005_233815.jpg
     
  3. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +1,193
    โอนแล้วครับ เวลา 08.35 น. 6/10/66 จำนวน 230 บ.จัดส่งที่เดิมครับ
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    รับทราบ ครับ ขอบคุณครับ ขออภัยล่าช้าเวปเข้าไม่ได้ จัดส่งตามแจ้งครับ
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    เรื่องจากหลวงปู่บุญฤทธิ์

    lp-chob-32-01.jpg
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต เป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่ทั้งพระและโยมในวงพระธุดงคกรรมฐานรู้จักท่านเป็นอย่างดี

    เรื่องราวของหลวงปู่บุญฤทธิ์ น่าสนใจและน่าเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ในอดีตท่านเป็นนักศึกษาปริญญาจากต่างประเทศ เป็นข้าราชการหนุ่มที่มีอนาคตสดใส แต่ด้วยความเลื่อมใสปฏิปทาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงลาออกจากราชการแล้วออกบวชและปฏิบัติธรรมแบบถวายชีวิตต่อพระศาสนา ออกธุดงค์อยู่ตามป่าตามเขาโดยตลอด

    ท่านเป็นศิษย์กรรมฐานของ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ท่านพ่อลี ธมฺมธโร และออกป่าติดตาม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม นานถึง ๙ ปี

    ในช่วงหลัง ท่านได้รับบัญชาจากคณะสงฆ์ธรรมยุตให้ท่านไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา ๓๐ กว่าปีแล้ว

    นานๆ ท่านจึงจะกลับมาเยี่ยมเมืองไทยสักครั้งหนึ่ง ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาในเมืองไทยได้มีโอกาสกราบไหว้ และศึกษาธรรมปฏิบัติจากท่านนำความปลาบปลื้มและความชุ่มชื่นหัวใจเป็นอย่างยิ่ง (พวกเราได้กราบท่านครั้งหลังสุดในงานถวายเพลิงศพหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ที่อำเภอสามโคก ปทุมธานี เมื่อ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ นี้เอง ดูหลวงปู่ท่านชรามาก แต่ดูท่านสดใสมาก นั่งรถเข็นให้ศิษย์ที่เป็นฝรั่งเป็นผู้เข็น - ปฐม)

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ได้เปิดเผยเรื่องราวต่างๆ ที่ท่านไปอยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่ชอบ ในป่าเขาทางภาคเหนือ ทำให้พวกเราได้ทราบปฏิปทาและความมหัศจรรย์ต่างๆ ของหลวงปู่มากยิ่งขึ้น
    โวหาร ก็เข้าใจดี เหมือนกับอ่านวิสุทธิมรรคนั่นแหละ แต่เป็นเหตุผลภาษาธรรมดาๆ และก็เข้าใจง่าย
    ดูอย่างในปัจจุบันนี้ซี...ทำไมคนไทย อยู่กับพระพุทธศาสนาอยู์ใกล้ครูบาอาจารย์ ทำไมจึงไม่ค่อยจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าก็มิทราบ ?
    เวลาพวกฝรั่งเขาได้อ่านตำราเป็นภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษทั้งที่เขาไม่เคยเห็นพระสงฆ์ ไม่เคยรู้จักประเพณีเลย ครั้นได้อ่านตำราพุทธศาสนา ทำไมเขาเข้าใจได้ ?
    อันนี้แหละ ทำให้อาตมาคิดพิจารณาและก็มั่นใจว่าพวกต่างชาตินั้น ถ้าจะไปสอนหลักพระศาสนากับเขาละก็อย่า - อย่าไปสอนเขาเลยไม่สำเร็จผลหรอก

    https://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-boonyarit/lp-boonyarit-hist-01.htm

    https://www.posttoday.com/lifestyle/570835
    l3.jpg
    พระผง 100 ปีหลวงปู่บุญฤทธิ์ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20231006_185915.jpg IMG_20231006_185940.jpg IMG_20231006_185857.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    หลวงปู่พิมพา-ธัมมวโร-วัดหนองตางู-อ.บรรพต-จ.นครสวรรค์.jpg

    หลวงปู่พิมพา ธมฺมวโร วัดหนองตางู นครสวรรค์
    หลวงปู่พิมพา ธัมฺมวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองตางู ตำบลหนองตางู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เดิมชื่อ พิมพา สาริกิจ เกิด 22 กรกฎาคม 2452 ตำบลวังเมือง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี ก่อนย้ายตามบิดา มารดา มาอยู่ที่ บ้านวังกระชอน ตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่ออายุ 20 ได้อุปสมบทที่วัดเขาดินใต้ โดยมีหลวงพ่อเฮง วัดเขาดินใต้ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในระหว่างที่บวชเรียนได้ศึกษาวิชากับเป็นเกจิอาจารย์หลายท่านในภูมิภาคนี้ เช่น หลวงพ่อเฮง วัดเขาดินใต้ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ และหลวงพ่อพวงวัดหนองกระโดน นครสวรรค์ ศิษย์ร่วมรุ่นคือ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จังหวัดชัยนาท และยังเรียนกับหลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง จังหวัดพิษณุโลก หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา จังหวัดลพบุรี หลวงพ่อดี วัดหัวถนนใต้ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ศิษย์ร่วมรุ่นของท่านคือ หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ และหลวงปู่ ยังได้เรียนตำราเมตรามหานิยม ตำรายาสมุนไพรจากคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านวังกระชอนที่ท่านบวชอยู่อีกด้วย หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อศึกษาธรรมและวิปัสสนากำมฐาน ที่วัดมหาธาตุฯและวัดระฆังฯ ในสมัยหลวงปู่นาค และได้เดินทางธุดงค์ ไปหลายแห่งทั่วประเทศเลยไปถึง ประเทศลาวและจีน
    ด้านการพัฒนา
    หลวงปู่พิมพา จำพรรษาวัดแรกคือวัดวังกระชอน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาจำพรรษาที่วัดชายเคือง อำเภอขาณุฯ จังหวัดกำแพงเพชร นายสุข บุญสวัสดิ์ ชาวบ้านหนองตางูเลื่อมใส จึงนิมนต์ให้มาโปรดชาวหนองตางู ท่านจึงมาสร้างวัดหนองตางู ประมาณ ปี ๒๔๘๐ และได้พัฒนาทั้งทางด้านการศาสนาการศึกษาและช่วยเหลือชาวบ้านในด้านต่างๆมากมาย เช่น สร้างโรงเรียน แหล่งน้ำ ได้ก่อสร้างวัด และช่วยหาทุนบำรุงรักษาเพื่อเผยแพร่ศาสนาให้กับญาติโยมที่ห่างไกล นับได้หลายสิบวัด ทั้งในและนอกจังหวัด เลยไปถึงประเทศลาว ท่านเคยนำคณะผ้าป่าและพระประธานขึ้นเรือนำไปถวายวัดฝั่งลาว จำนวนร้อยกว่าองค์ สมเด็จพระสังฆราชของประเทศลาว ยังมาให้การต้อนรับ การก่อสร้างวัดและบำรุงพระศาสนานี้ท่านก็คงเจริญรอยตามหลวงพ่อเดิม
    ด้านวัตถุมงคล
    หลวงปู่พิมพา ได้สร้างไว้หลายรุ่น ล้วนแต่มีประสบการณ์ทั้งสิ้น รุ่นแรกท่านได้สร้างที่วัดระฆังฯเป็นสมเด็จปิดทองโดยนำผงเก่าสมเด็จวัดระฆังผสมด้วย ประมาณปี ๒๔๙๑ แล้วนำมาวัดหนองตางู ประมาณ ๓ กล่องกระดาษใหญ่ บางส่วนท่านบอกฝังไว้ที่วัดระฆังฯ แต่ภายหลังให้ลูกศิษย์ไปดูปรากฏว่าเทคอนกรีตทับหมดแล้ว อีกรุ่นเป็นสมเด็จสนิมบาตรกรุโบสถ์เก่าประมาณ ๓ บาตรพระและยังนำผงสมเด็จวัดระฆังมาด้วยใช้ผสมทำพระของท่านอีกหลายรุ่น รุ่นแรกที่จัดสร้างที่วัดหนองตางู เป็นรูปขาวดำอัดกรอบกระจก ปี ๒๕๐๓ เหรียญรุ่นแรกเหรียญเสมา ปี ๒๕๐๖ จัดทำไม่มาก รูปหล่อรุ่นแรก ปี ๒๕๒๐ สมเด็จเกศาหลังเงารุ่นแรกใช้ผงสมเด็จวัดระฆังฯ ผสมด้วยเกศาท่าน ปี ๒๕๓๔ ตะกรุด มีดหมอ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเรียนวิชาตะกรุดและมีดหมอ มาจากหลวงพ่อเดิมและหลวงพ่อพวง สิงห์งาแกะจากหลวงพ่อเฮงและหลวงพ่อเดิม เสือจากหลวงพ่อเฮงและหลวงพ่อยี ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าปลุกเสกแล้วโยนไปตามกอหญ้าแล้วเอาหมูหรือเนื้อเกี่ยวเบ็ดหย่อนไปถ้าเสือตัวไหนติดมาด้วยจึงจะใช้ได้ถ้ายังไม่ติดก็ปลุกเสกจนติด คนแก่เล่าให้ฟังว่าท่านยังเคยเสกปลัดวิ่งบนน้ำแข่งกับ พระอาจารย์สุพจน์ วัดศรีทรงธรรม วัตถุมงคลของท่านสร้างน้อย ส่วนใหญ่ลูกศิษย์จะเก็บไม่ค่อยนำออกมา เช่นรูปหล่อรุ่นแรกสร้างแค่ ๒๕๒๐ องค์
    วัตถุมงคลหลวงปู่พิมพาที่เคยประสบมามีทั้ง แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน เมตรามหานิยม ลูกศิษย์ ท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีหลายวงการ นักการเมือง เช่น ท่าน วราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการคลัง พลเอกประมาณ อดิเรกสาร สมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการมหาดไทยเคยนำ ฮ.มาลงกราบนมัสการที่วัด และท่าน สวัสดิ์ คำประกอบ บุญชู โรจนเสถียร ดารานักร้อง ยอดรัก สลักใจ สีหนุ่ม เชิญยิ้ม ดอน สอนระเบียบ เคยมาบวชกับท่านและจำพรรษาที่วัดนี้ กรุง ศรีวิไล สรพงษ์ ชาตรี เอ็ดดี่ ผีน่ารัก โก๊ะตี๋ อารามบอย สุรชัย สมบัติเจริญ และนกน้อย อุไรพร วงเสียงอีสาน เป็นต้น
    หลวงปู่พิมพา มรณภาพเมือ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๑ อายุได้ ๙๑ ปี ร่างท่านบรรจุอยู่ในโลงแก้ว สรีระร่างไม่เน่าเปื่อย ที่วัดหนองตางู ถ้าท่านใดผ่านมาแถววัดหนองตางูอย่าลืมแวะมานมัสการท่านได้ ปัจจุบันลูกศิษย์ท่านที่เป็นผู้สืบทอดวิชาอาคม คือ พระครูนิภาธรรมวิสุทธ์ เจ้าอาวาสวัดหนองตางู องค์ปัจจุบัน และพระอาจารย์พนม ฐานิสฺสโร วัดวังปลากราย อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร



    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    รูปหล่อหลวงปู่พิมพาวัดหนองตางูให้บูชา
    150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20231006_194349.jpg IMG_20231006_194409.jpg IMG_20231006_194326.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    หลวงปู่ทวดวัดประสาทบุญญาวาสปี 2538 อ.นอง วัดทรายขาวปลุกเสก
    และพิธีใหญ่
    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20231007_110825.jpg IMG_20231007_110922.jpg IMG_20231007_110758.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    1696661922426.jpg
    ‘หลวงปู่ทอง’วัดสามปลื้ม
    อายุยืน102ปี-เกจิ5แผ่นดิน
    ทุกครั้งที่เอ่ยถึงวัดจักรวรรดิราชาวาส เขตสัมพันธวงศ์ กทม. หรือวัดสามปลื้มแล้ว บรรดานักเลงพระต่างนึกถึง พระพุฒาจารย์มา หรือ “ท่านเจ้ามา” อดีตพระคณาจารย์องค์สำคัญของพระอารามแห่งนี้ ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา และเป็นเจ้าตำรับการสร้างพระกริ่งไทยที่ถ่ายทอดไปสู่สมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสสฺเทวมหาเถร) วัดสุทัศน์ ในกาลต่อมา
    ส่วนยุคปัจจุบันที่รู้จักกันดีก็คือ “หลวงปู่ทอง” เกจิอาจารย์ดังที่มีอายุยืนยาวถึง 5 แผ่นดิน แต่น่าเสียดายที่ท่านถึงกาลมรณภาพไปเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 48 ที่ผ่านมา หลังจากประสบอุบัติเหตุหกล้มในห้องน้ำจนซี่โครงหักทะลุปอด กะโหลกร้าวและเข้ารับการรักษาตัวที่ ร.พ.จุฬาภรณ์ประมาณ 2 เดือน สิริอายุรวม 102ปี ซึ่งอีกเพียงไม่กี่วันก็จะครบวันคล้ายวันเกิดครบ 103ปีในวันที่ 20พ.ย. 48
    นับเป็นการสูญเสียพระดีแห่งเมืองกรุงไปอีกหนึ่งองค์ส่งท้ายปีระกา
    ชาติภูมิหลวงปู่ทองเป็นชาวบ้านกุดน้ำใส หมู่ที่ 2 อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เกิดในสกุล “จันทรศิริ” เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2447 ตรงกับขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 ปีมะโรง บุตรของนายจันทบาล และนางจ่อย
    อายุ 17 ปี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2464 ณ วัดสระกุดน้ำใส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด และอุปสมบทเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2468 ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส โดยมี พระมงคลเทพมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปั้น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสิทธิสมณการ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “โสณฺตฺตโร”
    ในช่วงที่เป็นพระหนุ่มนั้น ได้สนใจพระปริยัติธรรมบาลีโดยไปเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์จนมีความรู้แตกฉาน และเป็นครูสอนไปในตัวด้วยในหลายสำนักทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด โดยมีความก้าวหน้าในด้านวิทยฐานะตามลำดับคือ ปีพ.ศ.2466 สอบได้นักธรรมตรี ปีพ.ศ.2467 ได้นักธรรมโท ปีพ.ศ.2470 สอบได้ป.ธ.3 ปีพ.ศ.2471 สอบได้ป.ธ.4 ปีพ.ศ.2472 สอบได้ ป.ธ.5 ปีพ.ศ.2480 สอบได้ป.ธ.6 และปีพ.ศ.2480 สอบได้นักธรรมเอก
    นอกจากนั้น ยังได้รับการศึกษาพิเศษในด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีน ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญในการสอนภาษาบาลีด้วย
    ในด้านการปกครองได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆคือ ปีพ.ศ.2490 เป็นเจ้าคณะ 14 ปีพ.ศ.2500 เป็นเจ้าคณะ 5 ปีพ.ศ.2531 ได้รับพระบัญชาแต่ตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์
    ในด้านการศึกษานั้น หลวงปู่ทองได้ชื่อว่าเป็น “ครู”ของแผ่นดินที่ดีท่านหนึ่ง คือในปีพ.ศ.2470 เริ่มเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมประจำสำนักเรียน
    ระหว่างปีพ.ศ.2472-2474 ได้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมที่แผนกธรรมและบาลี สำนักเรียนคณะจังหวัดปราจีนบุรี แผนกธรรม ที่วัดใหม่กรงทอง อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี มีลูกศิษย์ ที่เป็นกำลังของพระพุทธศาสนา เป็นเจ้าคณะ พระสังฆาธิการระดับอำเภอ และจังหวัดหลายรูป อาทิ พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ (สวาส ป.ธ.6) วัดใหม่กรงทอง จ.ปราจีนบุรี ,พระราชธรรมภาณี (เอิบ ป.ธ.6) อดีตเจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี และพระปราจีนบุรี (วิรัช ป.ธ.5) วัดหลวงปรีชากุล อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
    ปีพ.ศ.2474 ไปเป็นครูสอนปริยัติธรรม ที่วัดเฉลิมพระเกียรติ อ.เมือง จ.นนทบุรี ปีพ.ศ.2482 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ประจำสำนักเรียนวัดจักรวรรดิ์
    ด้านงานเผยแผ่ ปีพ.ศ.2504 เป็นพระธรรมทูตสายที่ 6 รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้เป็นหัวหน้าจัดการแสดงพระธรรมเทศนา ในวันธรรมสวนะ 8 ค่ำ 15 ค่ำและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา,วันวิสาขบูชา,วันอาสาฬหบูชา และเป็นกรรมการจัดบวชชีพราหมณ์ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ปีพ.ศ.2516-2522 สมเด็จพระธีรญาณมุนี แม่กองงานพระธรรมทูต และหัวหน้าอำนวยการงานพระธรรมทูต สายที่ 6 มอบหมายให้ออกไปติดตามผลงาน และออกจาริกปฏิบัติงานในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 10 และภาค 11 เป็นประจำทุกปี
    ส่วนงานสาธารณูปการ ท่านได้ปฎิบัติมาอย่างสม่ำเสมอโดยปรากฏผลงานมากมาย อาทิ ปีพ.ศ.2489 เป็นประธานหาเงินสร้างเพิ่มเติมโบสถ์วัดสระกุดน้ำใส,ปีพ.ศ.2500 สร้างศาลาการเปรียญวัดสระกุดน้ำใส ปีพ.ศ.2529 ควบคุมดูแลการสร้างกุฎิคณะ 5 วัดจักรวรรดิ์ ปีพ.ศ.2533 ควบคุมดูแลการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ วัดจักรวรรดิ ปีพ.ศ.2534 ควบคุมดูแลการก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศล วัดจักรวรรดิ์
    แม้ขณะนั้นท่านจะสูงถึง 87 ปีแล้ว แต่ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม รวมทั้งร่วมกิจกรรมของวัดจักรวรรดิ์เสมอ ได้ช่วยเหลืองานวัดตลอดมา ลงทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นเป็นประจำมิได้ขาด เว้นแต่ออกไปปฏิบัติกิจนอกวัด ชาวบ้านในต่างจังหวัด ทั้งส่วนราชการบ้านเมืองและคณะสงฆ์ ได้ขอความอนุเคราะห์อุปถัมภ์ ท่านก็หยิบยื่นเมตตาให้อย่างเต็มที่
    ด้วยคุณงามความดีที่บำเพ็ญประโยชน์แก่ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนาจึงได้รับพระราชทานได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระมงคลวุฒิ”เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 72 พรรษา เมื่อวันที่ 12 ส.ค.47พร้อมกับพระมงคลสิทธิการ หรือหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกันอย่างมาก และมรณภาพไปก่อนหน้าเมื่อเดือนพ.ค. 48
    ก่อนหน้าที่จะละสังขาร หลวงปู่ทองยังคงรับกิจนิมนต์ไปร่วมงานพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องวัตถุมงคลอยู่เนืองๆ ล่าสุดก็คือ พระพุทธชินราชหมื่นยันต์ ที่ระลึกครบ 72 ปีพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ที่ร่วมพิธีมหาหัตถบาสพร้อมกับพระเกจิคณาจารย์รวม 139 รูป
    วัตถุมงคลทุกรุ่นที่ท่านอธิษฐานจิต เป็นที่กล่าวขานในหมู่ศิษย์ถึงเรื่องพุทธคุณ และประสบการณ์ ทั้งนี้ ก็เพราะเชื่อในพลังจิตอันบริสุทธิ์ และบารมีอันสูงส่งของท่านโดย


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูง


    พระสมเด็จวัดสามปลื้ม ให้บูชา
    100 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20231007_134758.jpg IMG_20231007_134812.jpg IMG_20231007_135034.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    FB_IMG_1696663518365.jpg
    ประวัติ หลวงพ่อพิสาร มงฺคโล เจ้าอาวาส
    องค์ปัจจุบัน แห่งวัดมหิงษาราม เดิมท่านเป็นคนกรุงเทพ
    โดยกำเหนิดมีพี่น้องร่วมสายเลือด 4 คน ท่านเป็น
    บุตรคนที่สาม และท่านเป็นบุตรชายคนเดียว
    ท่านบวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ท่านได้อุปสมบท
    ณ. วัดนุชจรินทร์ อ.หนองแค จ.สระบุรี จนปัจจุบันท่านเป็น
    เจ้าอาวาสแห่งวัดมหิงษารามนี้
    โดยขณะที่ท่านบวชเรียนและศึกษาทางด้านสรรพวิชาอาคมต่างๆโดยสายพระเวทย์หลักๆคือ สายวิทยาคมหลวงพ่อเดิมอย่างมีที่มาที่ไปชัดเจนที่สุดเพราะท่านศึกษาโดยตรงจาก
    หลวงพ่อสนม วัดพระปรางค์เหลือง นครสวรรค์ ผู้ที่ได้ศึกษาสรรพวิชาโดยตรงจากหลวงพ่อเดิม และหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว และได้ถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆให้ และยังมีอีกท่านในสายพระเวทย์หลวงพ่อเดิม ที่ท่านไม่ขอเปิดเผยนามเพราะท่านรับปากครูบาอาจารย์ท่านนี้ไว้ หลังจากนั้นท่านก็ได้ธุดงค์ไปทั่วตั้งแต่เหนือจดใต้ ครูบาอาจารย์ที่ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาและกรรมฐาน หลายองค์อาทิ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง
    หลวงปู่ดาบส สุมโน อาศมไผ่มรกต เชียงราย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(พุฒ) วัดสุวรรณาราม(วัดทอง) กทม. หลวงพ่อผัน วัดราษฎร์เจริญ(แปดอาร์) สระบุรี และอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าว ซึ่งโดยปกติท่านจะไม่ค่อยเล่าให้ศิษย์ได้รู้มาก เพราะท่านระลึกเสมอว่าถ้าสร้างวัตถุมงคลมาแล้วไม่ดีขึ้นมา เกรงว่าจะมีใครไปว่าถึงครูบาอาจารย์ได้ ท่านจึงไม่ให้ข้อมูลเรื่องนี้กับใคร ท่านเริ่มมีชื่อเสียงในเขตปทุมธานีคือเรื่องตะกรุดคู่ชีวิต
    ตะกรุดโสฬส ตะกรุดมหาระงับ ตะกรุดนเรศวรปราบหงสา ตะกรุดรัตนมาลา และเบี้ยแก้ มีดหมอ โดยในช่วงแรกๆ ผมได้ยินเสียงร่ำลือกับเรื่องราวของตะกรุดหยุดกระสุ่น ที่ในช่วงแรกๆท่านลงในแผ่นตะกั่วทองแดงม้วนแจกชาวบ้านที่มาทำบุญ โดยมีวัยรุ่นระแวกนั้น อยากรู้อยากลอง ได้นำไปทดลองยิง ผลคือ กระสุ่นด้านหมด ตะกรุดบางชนิดยิงจ่อๆกลับไม่โดน จนทำให้มีคนรู้จักท่านขึ้นมากพอสมควรในเขตปทุม ซึ่งเรื่องราวของท่านนั้นมีมากมาย ข้อมูลที่รวบรวมมานี่ ผม เบียร์บูรพา เป็นผู้สนทนากับหลวงพ่อพิสารโดยตรง นี่คือครั้งแรกที่ผมเอามาฝากพี่น้องภายใน เพจบารมีหลวงพ่อพิสาร วัดมหิงษาราม ส่วนประวัติวัดมหิงษารามนั้นมีข้อมูลดังนี้
    ประวัติวัดมหิงษาราม
    ตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
    โทรศัพท์ ๐๒ – ๙๕๒๙๒๑๔๔
    วัดมหิงษาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕ หมู่ที่ ๒ บ้านกร่าง ตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔ ไร่ ๘๒ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๑๗๓๘ ที่ธรณีสงฆ์ ๓ แปลง เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๒๙ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๑๘๐๗๘

    พื้นที่ตั้งวัด
    ด้านทางทิศเหนือ ติดต่อกับที่ดินและบ้านของชาวบ้าน
    ด้านทิศใต้ ติดต่อกับที่ดินและบ้านของชาวบ้าน
    ด้านทิศตะวันออก ติดต่อกับที่ทำกินของชาวบ้าน
    ด้านทิศตะวันตก ติดต่อกับที่นาของชาวบ้าน
    สภาพของวัด
    เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ มีถนนตัดผ่านจึงทำให้วัดแบ่งออกเป็น ๒ ฝั่ง คือด้านหนึ่งเป็นฝั่งที่ตั้งวัด และอีกด้านหนึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งปัจจุบันได้ให้ชาวบ้านเช่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
    ประวัติวัด
    เดิมวัดมหิงษาราม เป็นวัดร้าง ชาวบ้านทั่วไปจึงพากันเรียกวัดร้างบ้าง วัดนอกบ้าง ตามสภาพที่เห็นและเป็นอยู่ในขณะนั้น จากการสันนิษฐานตามโบราณวัตถุที่ยังพอเหลืออยู่ วัดนี้น่าจะสร้างมา ตั้งแต่สมัย อยุธยาตอนต้น จะด้วยเหตุใดไม่มีใครทราบ จึงทำให้วัดขาดการดูแลรักษาจึงกลายเป็นวัดร้าง และต่อมาเมื่อมี ภิกษุและชาวบ้านได้เห็นความสำคัญของสถานที่และเพื่อเป็นการป้องการบุกรุกจากพวกชาวบ้านบางกลุ่ม จึงได้ดำเนินการตามกฎระเบียบขอยกจากวัดร้างเป็นวัดที่มีภิกษุจำพรรษา และได้ประกาศจากกรมศาสนา ในขณะนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา
    การศึกษา
    พระภิกษุที่จำพรรษาส่วนใหญ่จะเป็นพระผู้มีพรรษามากและมีความรู้ตั้งแต่ น.ธ.ตรี – น.ธ.เอก และมีภิกษุผู้ทรงปาฏิโมกข์ไว้เป็นผู้ตรวจทานพระธรรมวินัยอยู่เสมอ ถ้าปีใดมีภิกษุผู้บวชใหม่ ทางวัดจะจัดให้มีการเรียนการสอนเองภายในวัด ซึ่งจะมีทั้ง น.ธ. และกัมมัฏฐาน
    ถาวรวัตถุ
    วัดนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดไปแล้ว คือ ศาลาการเปรียญ ซึ่งแต่เดิมนั้น มีเพียงชั้นล่างชั้นเดียว แต่ได้ต่อเติมให้เป็น ๒ ชั้น ๑ หลัง ฌาปนสถาน ๑ หลัง ศาลาธรรมสังเวช ๑ หลัง ห้องน้ำ – ห้องสุขา ต่อเติมอาสนสงฆ์ทั้งชั้นล่าง – บน ซ่อมแซมอุโบสถเก่าบางส่วน วิหารรูปเคารพ ๓ หลัง กุฏิสงฆ์คอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ๙x๙ เมตร ๑ หลัง ห้องเก็บของครัว และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณ ทั้งหมด
    ปูชนียวัตถุ
    วัดนี้มีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ อุโบสถหลังเก่า ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมาก ศาลฤๅษีซึ่งชาวบ้านทั่วไปให้ความเคารพนับถือมาก บ่อน้ำทิพย์ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณ และเป็นความเชื่อของชาวบ้าน
    รายนามเจ้าอาวาส
    ตั้งแต่สร้างวัดมาจนถึงปัจจุบัน คือ
    ๑. พระอธิการทวีป จนฺทสโร (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๖)
    ๒. พระอธิการพิสาร มงฺคลโล (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๗ – ปัจจุบัน)
    หมายเหตุ สำรวจเมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระปิดตาหลวงพ่อพิศาลให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20231007_143011.jpg IMG_20231007_143101.jpg IMG_20231007_142948.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    วันนี้ จัดส่ง ขอบคุณครับ
    1696668306127.jpg
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    พระสมเด็จสุคโต พ่อท่านห้วง วัดสระโพธิ์ เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ปี 2517
    มวลสารวัดระฆังฯ (ปิดทองกรรมการ)
    เป็นพระที่ได้นำมวลสารจากวัดระฆังโฆสิตาราม และมวลสารของหลวงพ่อโตที่ทางวัด(พ่อท่านห้วง)ได้เก็บรวบรวมไว้ โดยหลวงปู่นาคเป็นผู้มอบผงเก่านำมาให้เป็นส่วนผสมจัดสร้างไว้เป็นจำนวนมาก
    พระสมเด็จวัดสระโพธิ์ ซึ่งสร้าง ปี พ.ศ. 2517 โดย ท่านเจ้าอาวาสพ่อท่านห้วง ท่านมีลูกศิษย์อยู่ที่กรุงเทพฯและลูกศิษย์คนนั้นก็มาร่วมในงานฝังลูกนิมิต และได้เห็นอำนาจพุทธคุณของพระสมเด็จรุ่นนี้(มีการนำพระสมเด็จหลังจากเสร็จพิธีเอาไปลองยิงแต่ปืนยิงไม่ออก) และได้เช่าพระไปเป็นจำนวนมาก แล้วนำกลับกรุงเทพฯ จากนั้นได้นำมาแจกให้คนกรุงเทพฯได้บูชากัน ซึ่งพระสมเด็จชุดนี้ มวลสารเป็นของพระสมเด็จหลวงปู่โต วัดระฆังฯทั้งหมด ซึ่งหลวงปู่นาค วัดระฆังฯ ท่านได้เก็บมวลสารของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)ไว้มากพอควรได้มอบให้ท่านพ่อห้วงไว้เป็นเวลานานแล้ว
    จึงกล่าวได้ว่า พระสมเด็จชุดนี้ มวลสารเป็นของพระสมเด็จวัดระฆังฯชำรุดมากมาย กับผงพระสมเด็จวัดระฆังฯซึ่งตกทอดต่อกันมา เท่ากับว่ามวลสารขององค์พระ เป็นของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ทั้งสิ้น
    ในเรื่องของพิธีพุทธาภิเษกพระสมเด็จชุดนี้ ถือว่ามีความเป็น “สุดยอด” อีกเรื่องคือ เป็นพระรุ่นแรกและรุ่นเดียว ที่พ่อท่านเขียว วัดหรงบล ยอมออกจากวัดเพื่อมา “ปลุกเสก” พระสมเด็จชุดนี้ (เป็นครั้งแรก) ปกติท่านจะไม่ออกไปปลุกเสกนอกวัดหรงบล ซึ่งพ่อท่านเขียวรูปนี้เอง เคยมาเสกพระให้หลวงปู่เพิ่ม วัดบางกลางแก้ว จังหวัดนครปฐม(ออกจากวัด มาพิธีปลุกเสกถือเป็นครั้งที่ 2) ซึ่งหลวงปู่เพิ่มท่าน “ยกย่อง” ให้พ่อท่านเขียว วัดหรงบล เป็น “สุดยอด” พระเกจิฯ แห่งสายใต้ ปัจจุบันทางวัดยังเก็บสรีระพ่อท่านเขียวท่านไว้
    FB_IMG_1696433285095.jpg
    พ่อท่านเขียวแห่งวัดหรงบลท่านเป็นพระเกจิฯ ที่มีความสามารถใน “ปลุกเสก” วัตถุมงคลที่ไม่ธรรมดา เพราะพ่อท่านเขียวท่านเป็นอริยสงฆ์ที่ถือวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเป็นพระสุปฏิปันโนที่กราบไหว้ได้สนิทใจ แต่ที่น่าแปลกคือครั้งนี้ท่านยอมออกจากวัดเพื่อมา “ปลุกเสก” วัตถุมงคลชุดนี้ และมีเกจิที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษกอีก ได้แก่
    -หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    -หลวงปู่จันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
    -หลวงปู่ขาว วัดปากแพรก ล้วนเป็น “สุดยอด” พระเกจิฯ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
    เรื่องที่เล่าขานกันในเวลานั้น คือ เมื่อพิธีพุทธภิเษกพระชุดนี้ผ่านไปแล้ว ได้มีการ “ทดสอบ” อำนาจพุทธคุณของพระสมเด็จ โดยการทดลองยิงด้วยปืนยัดพรต (ปืนแก๊ป) ปรากฏว่ายิงไม่ออก ทำให้พระสมเด็จชุดนี้เป็นที่เลื่องลือในสมัยนั้น
    พิมพ์พระสมเด็จของพ่อท่านห้วง วัดสระโพธิ์ มีดังนี้
    1. พิมพ์ฐานตรง
    2. พิมพ์สุคโต
    3. พิมพ์ทรงเสือคู่ (สวย)
    4. พิมพ์ปรกโพธิ์ (หายาก)
    5. พิมพ์ระฆังทอง ฐานตรง (นิยม)
    6. พิมพ์ระฆังทอง สุคโต (นิยม)
    นับว่าเป็นวัตถุมงคลทีเด็ดอีกรุ่นหนึ่งในวงการ ราคาเบา และรวมสุดยอดเกจิอาจารย์ทางภาคใต้มาร่วมปลุกเสกไว้มากมาย พ่อท่านห้วง ท่านเป็นพระเกจิสายใต้ ที่ไม่ยึดติดอะไร วัตถุมงคลท่าน ล้วนมีประสบการณ์มากมาย ด้านคงกระพัน ซึ่งในวงการพระ นานๆจะพบเห็นสักองค์
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างส่งครับ

    พระสมเด็จพิมพ์กรรมการปิดทองเดิมจากวัด ให้บูชา 900 บาทครับ

    IMG_20231011_174837.jpg IMG_20231011_174925.jpg IMG_20231011_174947.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    รูปหลวงปู่ครูบาอิน.jpg

    “พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง-ฟ้าลั่น” อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า
    “ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม บ้านบ้านเเค ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
    “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ (ป่าช้าศาลาดำ) ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
    “จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี
    “ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
    “หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
    “ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ฯลฯ


    หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท ถือเป็นพระเถระสำคัญผู้เจริญด้วยพรรษาสูงแห่งเชียงใหม่
    อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรม
    ที่มีให้แก่ผู้เคารพนับถือตราบวาระสุดท้ายของชีวิต
    อันเป็นเหตุให้สมควรนำเถรประวัติและคำสอนของท่าน
    มาเผยแพร่เป็นสังฆบูชาสืบต่อไป

    หลังจากหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท ได้ย้ายกลับมาอยู่ที่วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ซึ่งเป็นวัดเก่าที่หลวงปู่เคยจำพรรษา ก่อนที่จะได้รับนิมนต์ไปสร้างโรงเรียนฟ้าหลั่งและบูรณะวัดฟ้าหลั่ง จนทำให้หลวงปู่ต้องอยู่เป็นสมภารเจ้าวัดฟ้าหลั่งอยู่เป็นเวลากว่า ๔๐ ปี จนกระทั่งท่านได้กลับมาวัดทุ่งปุย เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๓ (วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ)
    เมื่อหลวงปู่กลับมาอยู่วัดทุ่งปุยแล้ว คณะลูกศิษย์ลูกหา ศรัทธาสาธุชนก็ตามมากราบขอพร มาทำบุญ และขอเมตตาบารมีหลวงปู่ที่วัดทุ่งปุยอยู่ไม่ขาด ซึ่งแต่ละคนก็จะได้รับวัตถุมงคลแจกไปกันถ้วนหน้า เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง วัตถุมงคลที่หลวงปู่นำมาจากวัดฟ้าหลั่งก็หมดลง หลวงปู่จึงได้ปรารภกับพระครูสุคนธ์บุญญากร (พระอาจารย์พรชัย) เจ้าอาวาสวัดทุ่งปุยซึ่งได้อุปัฏฐากหลวงปู่อยู่ในขณะนั้นว่า ท่านอยากสร้างวัตถุมงคลไว้สำหรับแจกให้กับผู้มากราบนมัสการ
    อีกทั้งทางวัดคันธาวาสก็มีโครงการที่จะสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้นแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์พรชัยจึงได้ออกแบบเหรียญนั่งพานรุ่นนี้ขึ้นมา และดำเนินการจัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำเพียงอย่างเดียว จำนวนประมาณ ๕,๐๐๐ เหรียญ ให้หลวงปู่อธิษฐานจิต ปลุกเสกเดี่ยว ก่อนที่หลวงปู่จะแจกให้กับผู้มาร่วมทำบุญ นับว่าเหรียญนี้เป็นเหรียญหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท “รุ่นแรก” ที่ออกที่วัดทุ่งปุย เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมทำบุญสร้างศาลาการเปรียญ ๑๐๐ ปี ส่วนหนึ่งสำหรับแจก และส่วนหนึ่งออกให้เช่าบูชา
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    https://palungjit.org/threads/วรวุฒิคุณอนุสรณ์-ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่ครูบาอิน-อินโท-ครูบาฟ้าหลั่ง.169758/

    เหรียญนั่งพานครูบาอินวัดทุ่งปุยสภาพสวยเดิมๆภาพประกวดให้บูชา 450 บาทจะส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20231015_222928.jpg IMG_20231015_222954.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2023
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    หลวงพ่อตาบ-อตตฺกาโม-วัดมะขามเรียง.jpg

    หลวงพ่อตาบ อตตฺกาโม (พระครูเวชคามคณารักษ์)
    หน้าแรก
    ข้อมูลพระเกจิอาจารย์
    หลวงพ่อตาบ อตตฺกาโม (พระครูเวชคามคณารักษ์)
    หลวงพ่อตาบ อตตฺกาโม (พระครูเวชคามคณารักษ์)
    เกิดเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2454
    อุปสมบท : 05 พฤษภาคม พ.ศ.2476
    สภาณภาพ : มรณภาพ(เมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ.2532
    หลวงพ่อตาบ อัตตกาโม หรือ "พระครูเวชคามคณารักษ์" วัดมะขามเรียง จ.สระบุรี ตาม ประวัติหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ได้ศึกษาด้านวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายท่าน "พระครูเวชคามคณารักษ์" หรือ หลวงพ่อตาบ อัตตกาโม แห่งวัดมะขามเรียง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เป็นพระเกจิดังชื่อดังที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีเมตตาธรรมสูง มีชื่อเสียงโด่งดังในเขตจังหวัดสระบุรี วัตถุมงคลของหลวงพ่อตาบ ท่านเป็น ที่เสาะแสวงหาของบรรดาเซียนพระ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ รูปเหมือน พระกริ่ง พระเนื้อผง โดยเฉพาะพระชัยวัฒน์เวชคามมะขามเรียง พระกริ่งเวชคามมะขามเรียง ประวัติหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง (พระครูเวชคามคณารักษ์) อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า ตาบ คชรินทร์ เกิดวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๔ ณ บ้านกระโดน ต.ไผ่ขวาง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายโป๋และนางฟัก คชรินทร์ ท่านเป็นบุตรชายคนเดียวของครอบครัวเมื่อ หลวงพ่อตาบ เติบโตได้สมควรก็เรียนรู้ภาษาไทยพออ่านออกเขียนได้กับบิดา ก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดศักดิ์ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓กลับมาช่วยบิดา-มารดา ทำงาน ระหว่างนี้ คุณตาแจ้ง ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านอักขระ ด้านเลขยันต์ เวทมนตร์พุทธอาคม ได้สอนฝึก จนพอมีความสามารถด้านพุทธคมแต่เยาว์วัย ครั้นอายุครบ ๒๑ ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมะขามเรียง เมื่อวันที่ ๕พฤษภาคม ๒๔๗๖ มี พระครูศรีคณาภิบาล (โฉม) วัดดอนพุด เป็นอุปัชฌาย์, พระอธิการแซ วัดบ้านร่อม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการปลั่ง เจ้าอาวาสวัดมะขามเรียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาในเพศบรรพชิตว่า อตฺตกาโม หลังจากอุปสมบทแล้วก็จำพรรษา ณ วัดมะขามเรียงกับพระอนุสาวณาจารย์ คือพระอธิการปลั่ง หลวงพ่อตาบ ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดมะขามเรียง ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม พ.ศ.๒๔๘๐ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก นอกจากนี้ หลวงพ่อตาบ ยังได้ศึกษาวิชานักเทศน์กับครูพรหม พระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงแห่งวัดสามง่าม กรุงเทพฯ จนสามารถเทศน์ได้ดีเยี่ยม ท่วงทำนองลีลาแบบลมพัดชายเขา หรือ คลื่นกระทบฝั่ง เป็นที่ประทับใจแก่ญาติโยม แต่สุดท้าย ท่านได้หันกลับไปศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน พ.ศ.๒๔๙๗ ท่านเดินทางไปศึกษากับพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ได้ฝึกฝนจนมีความชำนาญ จึงได้กลับมายังวัดมะขามเรียง ตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดมะขามเรียง มีลูกศิษย์มากมายมาขอฝึกปฏิบัติกับหลวงพ่อเป็นจำนวนมาก ด้านวิทยาคม หลวงพ่อตาบ ได้ศึกษากับน้าชาย คือ พระครูประสาธน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ พระเกจิชื่อดังด้านตะกรุดหน้าผากเสือ อีกทั้งได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, หลวงพ่อพิณ วัดมะขามโพรง, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ พ.ศ.๒๔๘๙ คณะสงฆ์ได้แต่งตั้งหลวงพ่อตาบ เป็นเจ้าอาวาสวัดมะขามเรียง จากนั้น หลวงพ่อตาบ ได้ร่วมกับชาวบ้าน สร้างโบสถ์ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ร่วมกันพัฒนาวัดมะขามเรียงบนเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๓ งาม ๑๔ ตารางวา เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ พ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.๒๕๑๐ หลวงพ่อตาบ สร้างตะกรุด แจกจ่ายแก่คณะศิษย์ พ.ศ.๒๕๑๕ได้สร้างเหรียญรุ่นแรกจำนวน ๖,๐๐๐ เหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ เนื้ออัลปาก้า พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ พระครูอัตถจริยนุกูล พ.ศ.๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูเจ้าคณะอำเภอบ้านหม้อ ที่ พระครูเวชคามคณารักษ์ พุทธาคมหลวงพ่อตาบ หลวงพ่อตาบ กับพุทธาคมของหลวงพ่อ ตามประวัติเบื้องต้นที่ได้กล่าวมาแล้วว่า หลวงพ่อตาบ มีความรู้พื้นฐานด้านพุทธาคมมาตั้งแต่เยาว์วัยโดยได้ศึกษากับคุณตา ผู้มีความเป็นเลิศทางด้านเวทย์มนต์คาถา ครั้นมาอุปสมบทหลวงพ่อก็เริ่มศึกษาทางธรรมตลอดจนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นับได้ว่ารากฐานทางด้านพลังจิต อำนาจบารมีทางใจของหลวงพ่อแข็งแกร่งขึ้น กล่าวกันว่า วิชาพุทธาคมและเวทย์มนต์นั้นเป็นเพียงแผนที่ แต่จิตใจเป็นกำลังที่พาให้เดินไปตามแผนที่ เมื่อมีอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวย่อมไม่สามารถกระทำได้สัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ หากมีสองสิ่งสองประการครบถ้วน ปฏิบัติการทางพุทธาคมย่อมประสบผลอย่างแน่แท้ เช่นเดียวกับหลวงพ่อตาบ หลังจากท่านได้ฝึกฝนปฏิบัติการทางจิตใจโดยวิปัสสนากรรมฐานอย่างชำนิชำนาญจนจัดว่าเป็นนายของใจได้แล้ว การปฏิบัติทางพุทธาคมและคาถาอาคมของหลวงพ่อตาบจึงมิต้องสงสัยเลยว่าจะทำได้ดีเยี่ยมขนาดไหน นอกจากหลวงพ่อตาบ จะศึกษาพุทธาคมกับคุณตาแล้ว ท่านยังได้ศึกษากับน้าชาย ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังในครั้งอดีต คือ พระครูประสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา ผู้กระฉ่อนชื่อด้านตะกรุดหน้าผากเสือ โดยหลวงพ่อได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ มามากมาย และที่แน่นอนที่สุดก็คือ วิชาตะกรุดหน้าผากเสือ ซึ่งหลวงพ่อตาบทำได้ขลังไม่แพ้ของอาจารย์ทีเดียว นอกจากหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือแล้ว หลวงพ่อยังได้ศึกษาวิชาบางประการกับ หลวงพ่อพิณ วัดมะขามโพรง และเคยเดินทางไปศึกษากับ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ซึ่งหลวงพ่อก็ทำมีดหมอได้ขลังมากเช่นกัน สำหรับ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นั้น ดูเหมือนหลวงพ่อจะสนิทสนมกัน เพราะเคยเดินทางไปมาหาสู่อยู่บ่อย ๆ ได้สนทนาธรรมและวิชาความรู้ต่าง ๆ มากมาย นับได้ว่าหลวงพ่อมีความสนใจทางพุทธาคมอยู่มาก และเพียรพยายามติดตามศึกษาอย่างเจนจบ พระเครื่อง วัตถุมงคล หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวง พ่อตาบ ที่จัดสร้าง อาทิ ตะกรุดโทน ตะกรุดสามพี่น้อง ตะกรุดนวโลกุตระ (๙ ดอก) ตะกรุดหน้าผากเสือ เหรียญรุ่นต่างๆ เหรียญหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง รุ่นแรก พระชัยวัฒน์ พระกริ่งเวชคาม รูปเหมือนกริ่ง มีดหมอ พระผงต่างๆ ผ้ายันต์ เหรียญหลวงพ่อตาบ รุ่นทูลเกล้า ๒๕๓๑ แหวนถักด้วยเชือกและจีวร เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์กับผู้ที่พกพาพระเครื่องและวัตถุมงคลของท่าน ไม่ว่าจะด้านเมตตาค้าขาย โชคลาภ คงกระพัน มหาอุด ก็พบเห็นกันบ่อยๆ โดยเฉพาะตะกรุดหน้าผากเสือ ของหลวงพ่อตาบ ที่ใครหลายคนต้องการ พุทธคุณไม่แพ้ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ เลยทีเดียว วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๒ หลวงพ่อตาบ ได้ละสังขารลง สิริอายุ ๗๘ ปี แต่ร่างกายสังขารของท่าน ไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์จึงนำสังขารร่างของท่านใส่ไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้
    https://palungjit.org/threads/ท่านใดมีประสบการณ์ในวัตถุมงคลของหลวงพ่อตาบวัดมะขามเรียงกันบ้างครับ.179001/

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อตาบวัดมะขามเรียงให้บูชา 2 เหรียญคู่กัน
    220 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20231015_224926.jpg IMG_20231015_224950.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    หลวงปู่พระมหาโส-กัสสโป-วัดป่าคำแคนเหนือ-อ.-มัญจาคีรี.-จ-ขอนแก่น-0-1180x1536.jpg หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป นามสกุลเดิม ดีเลิศ เกิดเมื่อวันที่ วันจันทร์ ที่ ๘ พ.ย. ๒๔๕๘ เวลาตี ๒ (ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๑๒ ปีเถาะ)
    สถานที่เกิด : เกิดที่ บ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี (บ้านเดียวกับพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม และหลวงปู่พระมหาสีทน กาญจโน) โยมบิดาชื่อ เคน โยมมาดาชื่อ ค้ำ มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน
    ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ เมื่อมีอายุ ๑๙ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรกับหลวงปู่อุปัชฌาย์อ่อน ที่วัดบ้านก่อ (บ้านเกิดท่าน) เป็นการบวชหน้าไฟให้โยมมารดาซึ่งถึงแก่กรรมลง ตั้งใจจะบวชเพียง ๑ พรรษา แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ครบกำหนดแล้ว ก็ทำความรู้ในพระธรรมวินัยด้านปริยัติจนแตกฉาน สอบได้ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ติดต่อกันมาทุกปี จนทำให้มีศรัทธาบวชต่อ
    อุปสมบท
    ถึงปี พ.ศ.๒๔๗๘ อายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์อ่อน เป็นพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์สุ่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น เป็นเวลา ๓ พรรษา
    ญัตติเป็นธรรมยุติ
    ล่วงเข้าปี พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์อ่อนออกเดินทางติดตามพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน (ซึ่งเป็นญาติกันด้วย) โดยมีจุดหมายปลายทางที่ จ.อุดรธานี เมื่อเดินทางถึง จ.อุดรธานี หลวงปู่พระมหาสีทนได้นำท่านไปญัตติเป็นพระธรรมยุต ในวันที่ ๑๗ ก.ค.๒๔๘๐ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อญัตติแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ๑ พรรษา ซึ่งท่านตั้งใจไว้ว่าหากการไปในครั้งนี้ไปแล้วได้กำลังใจดีในการปฏิบัติธรรมจะขอบวชตลอดชีวิต
    เป็นมหาเปรียญ
    หลวงปู่พระมหาโส เป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดามาโดยตลอด ท่านแสวงธรรมทั้งในด้าน ปริยัติ (แสวงหาความรู้) ปฏิบัติ (แสวงธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า) ปฏิเวธ (แสวงหาธรรมด้วยปัญญาของตนเองเพื่อแสวงหาวิโมกติสุข) ถึงเวลาต่อมาในพรรษาที่ ๑๒ ท่านก็ได้แตกฉานบาลี จนสอบเปรียญธรรมสนามหลวงเป็น "พระมหา" ได้สำเร็จ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีหมากหญ้า อ.เมือง จ.อุดรธานีด้วย
    แต่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้เพียง ๔ ปี หลวงปู่มหาโส ก็สละตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกธุดงค์ต่อเพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า "พ้นจากวัฏสงสาร" อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาต่อไป
    ประวัติอื่นๆหลวงปู่พระมหาโส กัสสโป เป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ผู้คนส่วนใหญ่จะคิดว่าท่านเป็นศิษย์หรือสหธรรมิกของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต แต่ที่จริงไม่ใช่เพราะถ้านับพรรษาหลวงปู่มหาโสพรรษามากกว่าหลวงปู่ผางถึง ๑๐ ปี เพราะหลวงปู่ผางท่านอุปสมบทตอนอายุ ๔๐ ปี) ในขณะที่หลวงปู่ผางมีชื่อเสียง ผู้คนรู้จักนั้น หลวงปู่มหาโสยังคงธุดงธ์แสวงวิเวกอยู่ในป่าอยู่
    ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่งชึ่งผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าใด เพราะปฏิปทาท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตในป่ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นับตั้งแต่อายุ ๗๐ ปี หลวงปู่พระมหาโสก็ไม่เคยออกจากวัดป่าคำแคนเหนือสู่สังคมทางโลกอีกเลยตราบจนมรณภาพ
    สมัยก่อนท่านธุดงค์บำเพ็ญเพียรที่หุบเขาต่างๆ เช่น ภูพาน ภูผาแดง ภูเม็งฯลฯ และตั้งสำนักสงฆ์ที่หุบเขาภูเม็ง แต่ด้วยอุบาสกอุบาสิกาที่ไปถือศีลเป็นไข้ป่า ท่านจึงตัดสินใจย้ายลงมาอยู่ที่เชิงเขาภูเม็ง ท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น และอยู่จำพรรษามาจนมรณภาพ
    หลวงปู่มหาโส กัสสโป แห่งวัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ไม่เคยพบกับหลวงปู่มั่นโดยตรง แต่ก็มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม) วัดป่าโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน และเป็นพระอุปัชฌาย์ผู้ญัตติเป็นธรรมยุตให้หลวงปู่ด้วย และท่านก็ยังมีท่านพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระวิปัสสนากรรมฐานผู้เป็นเสาหลักใหญ่ของจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น คอยสอนกรรมฐานให้หลวงปู่มหาโส เมื่อครั้งพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พาหมู่คณะพระกรรมฐานมาจำพรรษาเพื่อเผยแผ่ธรรมะในจังหวัดขอนแก่น ระยะประมาณ พ.ศ.๒๔๗๒ -๒๔๗๕ พระอาจารย์มหาสีทน ก็ได้ฝากหลวงปู่มหาโส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปุญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) อดีตเจ้าคณะ จ.อุบลฯ เป็นศิษย์พระอาจารย์สิงห์ด้วย
    หลวงปู่มหาโส เป็นพระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น มีพระฝากตัวเป็นศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาจากท่านมากมาย เช่น หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น , เจ้าคุณพระธรรมดิลก (หลวงพ่อสมาน สุเมโธ) เจ้าคณะภาค ๙ ธรรมยุติ วัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร , หลวงพ่อนงค์ ปคุโณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น , หลวงปู่สมาน ถาวโร เจ้าคณะ อ.มัญจาคีรี (ธรรมยุต) วัดป่าโนนสำนัก จ.ขอนแก่น ฯลฯ
    หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป มรณภาพ ที่กุฏิวัดป่าคำแคนเหนือ หมู่ ๒ ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ด้วยอาการชราภาพ เมื่อเวลา ๑๒.๒๐ น.ของวันที่ ๑๖ ก.พ.๒๕๕๙ สิริอายุ ๑๐๐ ปี ๓ เดือน ๘ วัน
    https://palungjit.org/threads/ประวัติย่อ-หลวงปู่พระมหาโส-กัสสโป-วัดป่าคำแคนเหนือ-อ-มัญจาคีรี-จ-ขอนแก่น.178371/



    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ล็อกเก็ตหลวงปู่มหาโสวัดป่าคำแคนเหนือให้บูชา
    150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20231015_230830.jpg IMG_20231015_230849.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2023
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    %E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2-3-jpg.jpg
    หลวงพ่อสนิท ยสินฺทโร วัดลำบัวลอย พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังผู้สร้างตำนานจระเข้โทนอันดับหนึ่งของเมืองไทย จ.นครนายก
    ◉ ชาติภูมิ
    หลวงพ่อสนิท ยสินฺทโร วัดลำบัวลอย นามเดิมชื่อ “สนิท มีพงษ์” เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๘ ณ บ้านบางกุ้ง ต.บางกุ้ง อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี บิดาชื่อ “นายบุญ มีพงษ์” และมารดาชื่อ “นางเรือง มีพงษ์” มีพี่น้อง จำนวน ๗ คน ท่านเป็นบุตร คนที่ ๔
    ๑.นางบุญเรือน
    ๒.นางทองชุบ
    ๓.นางละม้าย
    ๔.พระครูวรเวทย์นิวิฐ (หลวงพ่อสนิท)
    ๕.นางจิต
    ๖.นางลำจวน
    ๗.นางเตี้ย
    หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย ท่านกำพร้ามารดาเมื่อยังเยาว์วัย ต่อมาบิดา ถึงแก่กรรมได้ย้ายมาอยู่กับพี่สาวที่ บ้านลำบัวลอย ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
    ◉ อุปสมบท
    เมื่อครบอายุบวชท่านได้อุปสมบทที่วัดท่าเรือ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๑ โดยมี พระครูอุทัยธรรมธารี (หลวงพ่อตี่ สุริยวงศ์สวัสดี) วัดท้าวอู่ทอง จ.ปราจีนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจรูญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทองพูนเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ยสินฺทโร”
    และได้จำพรรษา อยู่ที่วัดลำบัวลอยซึ่งวัดนี้ตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๐ ยังเป็นวัดเล็กๆตั้งอยู่กลางทุ่งนา ระหว่างวัดเกาะกา ( ตั้งอยู่บ้านเกาะกา หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าเรือ อำเภอบางพลี จังหวัดนครนายก ) ขณะนั้นวัดลำบัวลอย ยังอยู่ในถิ่นทุรกันดาร และ การคมนาคม ก็ยังไม่สะดวกสบาย เหมือนดังทุกวันนี้ เพราะเพิ่งเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ และ สงครามมหาเอเซียบูรพา
    ด้วยความอุตสาหะสนใจในการศึกษาของหลวงพ่อ ต้องเดินทางด้วยเท้าเป็นเวลานานไปร่ำเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณกับพระอุปัชฌาย์ของท่าน รวมถึงเรียนวิชาอาคมกับ หลวงพ่อดํา วัดกุฏิ (ที่สร้างพระปิดตาพิมพ์ปักเป้าอันโด่งดัง) และยังได้เรียนวิชาการ สร้างจระเข้โทนจากพระอาจารย์เส็ง วัดสันทรีย์ (เป็นลุงแท้ๆ ของหลวงพ่อ) จนท่านมีความเชี่ยวชาญในวิชาอาคมแขนงต่างๆ และได้ออกธุดงค์เพื่อฝึกจิตใจและได้เรียนวิชาเพิ่มเติมจากอีกหลายๆ พระเกจิอาจารย์
    ◉ การศึกษาด้านวิทยาคม
    หลวงพ่อสนิท มีความสนใจทางโหราศาสตร์ และทางไสยศาสตร์ จึงได้เสาะหาอาจารย์ เพื่อร่ำเรียน คัมภีร์เลขยันต์ คาถาอาคม สรรพวิทยาคุณต่างๆ และ แพทย์แผนโบราณ จนแตกฉาน ชำนิ ชำนาญ ในการแก้คุณไสย การถูกกระทำย่ำยีจากศัตรู รอบรู้การแก้ สรรพพิษ ยาเบื่อ ยาเมา ยาสั่ง ตลอดจนคนที่มีอาการผิดปกติ ทางประสาท ท่านก็เมตตารักษา โดยท่าน ไปขอร่ำเรียนจากครูบาอาจารย์ดังต่อไปนี้
    ๑. พระอาจารย์เส็ง ซื่อสัตย์ วัดสันทรีย์ วิชาจระเข้
    ๒. พระครูอุทัยธรรมธารี (หลวงพ่อตี่ สุริยวงศ์สวัสดี) วัดท้าวอู่ทอง จ.ปราจีนบุรี วิชาแพทยแผนโบราณ
    ๓.หลวงพ่อทองดำ วัดโคกหม้อ จ.นครสวรรค์ เรียนวิชาวิทยาคม และ ตำรายาไทย การสูญฝี และ การรักษาโรคต่างๆ
    ๔.หลวงพ่อดำ วัดกุฎิ หรือ วัดศรีมงคล ชื่อเดิม คือ วัดกฎิศรีธรรม จ.ปราจีนบุรี เจ้าตำหรับ การสร้างพระปิดตา ตะกั่วดำ พิมพ์ปักเป้า อันลือเลื่อง การป้องกันยาสั่ง และ คงกระพันชาตรี
    ตลอดเวลาท่านจะกลับมาพัฒนาวัดลําบัวลอยจนมีความเจริญรุ่งเรือง มีลูกศิษย์ให้ความเคารพนับถือ ช่วงที่ได้ปกครองวัดจะมีชาวบ้านเดินทางมาหาให้ท่านช่วยในสิ่งเดือดร้อนต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการดูดวงชะตา และรดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ของท่านเข้มขลังยิ่งนัก รวมถึงวัตถุมงคลที่ช่วยในเรื่องการค้าขายจะมีลูกศิษย์เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปหาท่านบ่อยๆ และท่านมักจะรู้จิตใจของผู้ที่ไปหาว่าต้องการมาพบให้ช่วยเรื่องใด สร้างความแปลกใจให้กับผู้ที่เดินทางไปหา และหลวงพ่อก็ช่วยเหลือสงเคราะห์ให้จนบอกกล่าวต่อๆ กันไปทําให้ท่านมีผู้คนเคารพนับถือเป็นจํานวนมาก และได้เดินทางมาร่วมทําบุญกับหลวงพ่อ ทําให้ท่านบูรณะวัดลําบัวลอย และวัดใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี
    ด้วยคุณงามความดีของท่านเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระครูวรเวทย์นิวิฐ” และได้ตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์รวมถึงเป็นเจ้าคณะตําบลท่าเรือตามลําดับ
    มรณภาพ
    หลวงพ่อสนิท ยสินฺทโร วัดลำบัวลอย นับเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเมตตากรุณาต่อลูกศิษย์เป็นอย่างยิ่งโดยไม่เลือกว่าผู้ที่มาหาจะยากดีมีจนอย่างไร จนเมื่อถึงปี พ.ศ.๒๕๔๒ วันที่ ๑๔ มีนาคม ท่านมรณภาพอย่างสงบรวมสิริอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๑
    หลังจากนั้นอีกสองปีได้มีงานพระราชทานเพลิงศพที่วัดลําบัวลอย ในวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔
    ด้านวัตถุมงคล
    ในบรรดาเครื่องรางที่หลวงพ่อสนิท ได้จัดสร้าง ซึ่งมีทั้ง จระเข้ พญาเต่าเรือน นกสาริกา สะดือหนุมาน และ ฯลฯ ต่างมีอภินิหาร เป็นที่ประจักษ์มากมาย มี IMG_20231018_163242.jpg ประสบการณ์เล่ากันมาคือเรื่องของพญาเต่าเรือน พญาเต่าเรือนของหลวงปู่สนิท จะแตกต่างจากของที่อื่น กล่าวคือท่านใช้หินแกะเป็นพญาเต่า ซึ่งท่านได้สร้างมาเรื่อยๆ มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดห้อยคอจนกระทั่งถึงขนาด ๓-๔ คนยก รุ่นที่ไม่ใช่หินแกะจะมีพญาเต่าเรือนกริ่งขนาดห้อยคอ และพญาเต่าเรือนขนาดบูชารุ่นสุดท้ายที่สร้างจากเนื้อโลหะ พญาเต่าเรือนนี้หลวงปู่จะสร้างอย่างพิถีพิถัน ตามตำนานโบราณ สมัยพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาเต่าเรือน ปลุกเศกกระทั่งมีชีวิตจริงจึงถือว่าเสร็จพิธี ด้วยพลังจิตอันเข้มแข็งที่อัญเชิญพระพุทธบารมีลงมาประดิษฐานในพญาเต่าเรือน ทำให้เกิดอัศจรรย์แก่ศรัทธาญาติโยมที่นำไปบูชาเป็นอันมาก เช่นการทำมาค้าขายมีสภาพคล่อง มีลูกค้าและยอดขายเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และปาฏิหาริย์ที่ข้าพเจ้าและอีกหลายๆ คนได้ประจักษ์และเกิดปิติก็คือ การมีพระธาตุเสด็จมาเกาะที่กระดองพญาเต่าเรือน และการที่พญาเต่าเรือนหันเปลี่ยนทิศทางได้เองเป็นประจำ ในเรื่องของพระธาตุปาฏิหาริย์นอกจากจะเกิดที่พญาเต่าเรือนแล้ว ยังเกิดกับวัตถุมงคลที่ท่านสร้างอย่างอื่นๆ ด้วย เช่นที่ จระเข้จันทร์เพ็ญ และพระบูชาปางเปิดโลก เป็นต้นฯลฯ
    จากใบปลิวที่ทางวัดจัดสร้างแจกพร้อมตัวจรเข้โทน บอกสรรพคุณการบูชาเอาไว้ว่า
    มีมหาอํานาจ คุ้มครองป้องกัน แคล้วคลาดภยันตรายต่างๆ คุ้มครองป้องกัน ภูติผีปีศาจเกรงกลัว แก้กันเสนียดจัญไร ถอดถอนเสน่ห์ยาแผดต่างๆ โดยการอาราธนาแช่ลงในน้ำ แล้วเอาน้ำนั้นมารับประทานและอาบ มีอํานาจทั้งทางสัตว์น้ำ และสัตว์บก ทางเมตตา ค้าขาย
    ◉ คาถาอาราธนาจรเข้โทน หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
    “อมปลุกพญากุมภา ลุกแล้วอย่าไปที่อื่น ตื่นแล้วจงมารักษาค้า คุ้มครองกายาทั่วสารพังกาย พุทธัง สะระณังเมสิทธิ ธัมมังสะระณังเมสิทธิ สังฆังสะระณังเมสิทธิ พุทธังเอหิมาเรโส ธัมมังเอหิมาเรโส สังฆังเอหิมาเรโส พุทธังกุมภีโรโจรังคงคังปิติอิ ธัมมังกุมภีโรโจรังคงดังปิติอิ สังฆังกุมภีโรโจรังคงคังปิติอิ”
    ปลุกคาถา ๓ คาบ ๗ คาบ หรือจะใช้อย่างย่อก็ได้คือ “อิสวาสุ” ท่องเป็นประจําจะได้ผลดี
    จระเข้โทน หลวงพ่อสนิท นับเป็นเครื่องรางที่น่าบูชาติวตัวเป็นที่สุด ด้วยพกพาง่ายใส่กระเป๋ากางเกง หรือสุภาพสตรีใส่กระเป๋าสะพายติดตัวเอาไว้เป็นดี เดินทางไปไหนปลอดภัยมั่นใจได้ ปัจจุบันรุ่นสองและรุ่นสามราคายังไม่แรงน่าสะสมเป็นยิ่งนัก
    ด้วย หลวงพ่อสนิท วัดลําบัวลอย ได้รับการยกย่องว่าท่านมีวิชาอาคมสูง ปลุกเสกเครื่องรางได้ขลังยิ่ง เป็นที่กล่าวขานถึงผู้ที่ได้บูชาเครื่องรางของท่านว่าดีจริงเห็นผลได้จริง จึงเป็นหนึ่งในเครื่องรางที่อยากนําเสนอให้ทุกท่านหามาบูชาติดตัวแล้วจะรู้ว่าทําไมนักสะสมที่มีชื่อเสียง หรือ เซียนพระชื่อดังมีเครื่องรางของขลังราคาแพงหลายๆ ท่านยังไม่พลาดบูชาของขลังของหลวงพ่อสนิทด้วยความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ 108 พระเกจิ


    เหรียญพระพุทธชัยมงคลมารวิชัย หรือเหรียญ 9 จุด เนื้อกะไหล่ทอง หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาวัดลำบัวลอย เมื่อปี 2533 เหรียญฝังลูกนิมิต ๙ จุด ปริศนาธรรม ๙ จุด และ หัวใจแก้วสามประการ (พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ)
    ให้บูชา
    300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20231018_163242.jpg IMG_20231018_163306.jpg

    พระกลีบบัวประทานพรซุ้มจระเข้หลวงพ่อสนิทวัดลำบัวลอยให้บูชา
    300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาท

    IMG_20231018_163856.jpg IMG_20231018_163919.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2023
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    1934762_1220395924655982_4507988873218024095_n.jpg
    พระครูสัจจานุรักษ์"หลวงพ่อเที่ยง ปภังกโร"
    วัดพระพุทธบาทเขากระโดง. อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
    "พระครูสัจจานุรักษ์" หรือ "หลวงพ่อเที่ยง ปภังกโร" พระเกจิชื่อดังและพระนักพัฒนา ที่ชาวอีสานใต้ให้ความเลื่อมใสศรัทธา เนื่องจากเป็นพระเถระที่มีเมตตา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
    ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
    มีนามเดิม เที่ยง อารมณ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ม.ค. 2484 ที่บ้านเลขที่ 108 หมู่ที่ 12 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
    ในวัยเด็กมีความขยันหมั่นเพียร กตัญญูต่อบิดามารดา ช่วยกิจการงานทุกอย่าง ทำนา หว่านกล้า เก็บเกี่ยวข้าว ด้วยความอุตสาหะอดทน
    จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนในหมู่บ้าน จากนั้นก็ช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนามาตลอด กระทั่งอายุ 29 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่ วัดอิสาณ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2513 มีพระเมธีธรรมาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อจำรัส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานาม ปภังกโร
    หลังอุปสมบท ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทเขากระโดง ตั้งใจขยันหมั่นเพียรศึกษาพระปริยัติธรรม ด้วยเป็นผู้มีความวิริยะสูง จดท่องแม่นยำยิ่งนัก ทั้งฝักใฝ่หาความรู้ เพียรหาครูบาอาจารย์อย่างไม่ลดละแม้จะไกลไปยาก ก็อุตส่าห์ดั้นด้นเดินทางไป
    ศึกษาวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อบุญมาอยู่หลายปี จนมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งหลวงพ่อบุญมาได้แนะนำว่า "ถ้าจะบรรลุถึงธรรมปฏิบัติที่แท้จริงแล้วจะต้องออกธุดงค์ เพื่อหาความวิเวกฝึกจิตสมาธิให้กล้าแข็ง"
    ท่านจึงออกเดินธุดงค์จาริกหาความวิเวกไปตามป่าดงดิบทั้งไทย พม่า และเขมร ต่อมาหลวงพ่อบุญมาถึงแก่มรณภาพ ท่านเดินทางกลับมาเพื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับศพหลวงพ่อบุญมา กระทั่งพระอธิการบุญเย็น พระอาวุโสในวัดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา
    หลังจากนั้น หลวงพ่อเที่ยงออกท่องธุดงค์อีก คราวนี้ขึ้นไปทางเหนือ จุดหมายปลายทาง คือ ฝั่งเมียวดี ประเทศพม่า ผ่านทางแม่สอด จ.ตาก แล้วข้ามฟากมุ่งสู่ยอดดอยลิ้นกี่ ฝั่งเมียวดี เข้ากัมมัฏฐานรักษาศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั่นเป็นเวลาเกือบปี
    วันหนึ่ง ท่านได้พบกับพระภิกษุชาวลาวรูปหนึ่งชื่อว่า หลวงพ่อมหาตันอ่อน เป็นพระเถระจากเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเชี่ยวชาญในวิทยาคม ท่านทั้งสองได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้กัน และความรู้ด้านปฏิบัติสมถะสำหรับในด้านวิทยาคม
    ครั้นพอออกพรรษา หลวงพ่อเที่ยงแบกกลดคู่ชีพธุดงค์มุ่งหน้าสู่เขาพระวิหาร เพื่อบำเพ็ญเพียร และได้พบกับพระเถระเขมรระดับเกจิหลายรูปด้วยกัน และฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาด้านวิชาอาคม
    หลวงพ่อเที่ยงธุดงค์เข้าไปในเขมรพร้อมกับพระอาจารย์อุทัยเพื่อนสหธรรมิก พบกับพระเกจิอาจารย์ขมังเวทชาวเขมรได้รับความเมตตาสั่งสอนถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ อย่างไม่ปิดบังสำหรับวัดพระพุทธบาทเขากระโดง ตั้งอยู่เชิงเขากระโดง ซึ่งเป็นวนอุทยาน ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
    เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2498 โดยหลวงพ่อบุญมา อาจารย์สอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในที่ดิน 5 ไร่
    หลวงพ่อบุญมาชักชวนประชาชนพระภิกษุ-สามเณรร่วมกันพัฒนาบนยอดเขาและทางขึ้นเขา
    หลังหลวงพ่อบุญมามรณภาพ ต่อมา วัดพระพุทธบาทเขากระโดง ได้รับประกาศตั้งเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อปี พ.ศ.2521 ส่วนหลวงพ่อเที่ยงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูสัจจานุรักษ์
    สานต่อภารกิจสร้างอุโบสถต่อจากหลวงพ่อบุญมาจนแล้วเสร็จ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมายาว 29 เมตร พร้อมกับได้สร้างและพัฒนาถาวรวัตถุต่างๆ ภายในบริเวณวัด ทำให้วัดได้เจริญขึ้นมาตามลำดับ
    ด้านการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเที่ยง ไม่ได้จัดสร้างบ่อยนัก นานครั้งในวาระพิเศษ จึงจะมีการจัดสร้างสักครั้งหนึ่ง ท่านจะเน้นคำสอนให้ลูกศิษย์นำไปปฏิบัติมากกว่า แต่จะอนุญาตให้ศิษย์ใกล้ชิดสร้างขึ้นเป็นพิเศษ ทำให้วัตถุมงคลของท่านมีจำนวนไม่มากนัก แต่ปรากฏว่าได้รับความนิยมไม่แพ้กัน
    หลวงพ่อเที่ยงมีอุปนิสัยส่วนตัวสมถะเรียบง่าย รักสันโดษ ชอบอยู่ตามป่าเขา
    ด้วยมีจิตใจตั้งมั่น ปฏิบัติธรรมตามแนวทางแห่งองค์พระศาสดา ดำเนินชีวิตไปสู่ความถูกต้องดีงามเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติส่วนรวม
    ช่วงบั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อเที่ยง มีอาการอาพาธบ่อยครั้ง ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมานานหลายปี ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำกระทั่งเมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 3 มี.ค. น้องสาวของหลวงพ่อเที่ยงและหลานเข้ามาอุปัฏฐากที่กุฏิ เพื่อทำภัตตาหารถวายหลวงพ่อทุกเช้า ตะโกนเรียกหลวงพ่อหลายครั้ง แต่ไม่มีเสียงตอบรับ จึงงัดประตูกุฏิเข้าไป พบร่างหลวงพ่อมีอาการชักเกร็ง น้ำลายฟูมปาก และหมดสติ
    จึงเรียกรถพยาบาล นำร่างหลวงพ่อส่งโรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์ คณะแพทย์รับหลวงพ่อรักษาในห้องไอซียู จนเวลา 02.46 น. คืนวันที่ 7 มี.ค. 2559 จึงมรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 75 ปี 2 เดือน 7 วัน พรรษา 46
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระกริ่งสัมฤทธิ์หลวงพ่อเที่ยงเขากระโดงให้บูชา 120 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20231018_164005.jpg IMG_20231018_164036.jpg IMG_20231018_163940.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2023
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    50411777032746__Copy_.jpg
    หลวงพ่อเฉลิม เขมทัสสี
    วัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    กรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา มีพระเกจิอาจารย์เรืองนามหลายรูป พระโบราณคณิสสร หรือ หลวงพ่อเฉลิม เขมทัสสี แห่งวัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ก็เป็นหนึ่งในนั้น
    กล่าวได้ว่าเป็นพระเกจิชั้นแนวหน้าอีกรูปของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นศิษย์เอกหลวงพ่ออั้น คันธาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระญาติ
    เล่าเรียนตำรับตำราในสายหลวงพ่อกลั่นจนหมดสิ้น ดังนั้น เวลามีงานพุทธาภิเษกปลุกเสกพระเครื่องรุ่นต่างๆ ส่วนใหญ่จะต้องนิมนต์หลวงพ่อเฉลิม ร่วมพิธีปลุกเสกพระเครื่องเป็นประจำอย่างขาดมิได้
    ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม และเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิหลวงพ่อกลั่น-หลวงพ่ออั้น 2 อดีตพระเถระและพระเกจิชื่อดังวัดพระญาติการาม
    มีนามเดิม เฉลิม ตรีภาค เกิดวันจันทร์ แรมแปดค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 21 ต.ค.2467 อยู่บ้านที่ ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา บิดา-มารดา ชื่อ นายช้อยและนางเชย ตรีภาค
    อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2487 ที่พัทธสีมาวัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา มีพระครูศีลกิตติคุณเมื่อครั้งพระอธิการอั้น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์เภา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เจิม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายา เขมทัสสี
    มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2487 สอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.2489 สอบได้นักธรรมชั้นโท
    เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูปในเมืองกรุงเก่า และติดอันดับต้นๆ ของประเทศ ที่สันโดษมักน้อย ไม่หวังลาภยศ เคารพบูชาครูบาอาจารย์เหนือสิ่งอื่นใดเป็นที่สุด
    นอกจากนี้ ยังเป็นศิษย์เอกหลวงพ่ออั้นได้รับการเล่าเรียนและตำรับตำราในสายหลวงพ่อกลั่นจนหมดสิ้น รวมถึงวิชาเอกของสำนัก คือ วิชาชาตรีและยันต์จักรพรรดิตราธิราช
    ยังเป็นสหธรรมิกร่วมปฏิบัติวิปัสสนากับหลวงพ่อสาย อดีตเจ้าอาวาสวัดขนอนใต้อีกด้วย
    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2495 เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ.2514 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม, เจ้าคณะตำบลหันตรา และเป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ.2535 เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์เจ้าคณะตำบลหันตรา
    พ.ศ.2509 เป็นพระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรมในพระราชโมลี (นิยม ฐานิสสโร) วัดชนะสงคราม
    วันที่ 5 ธ.ค.2559 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโบราณคณิสสร
    นำวิชาต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียน สงเคราะห์ญาติโยมที่มากราบหรือมาพึ่งบารมี ช่วยขจัด ปัดเป่าให้บรรเทาเบาบางลงไป ด้วยความเป็นพระที่เมตตา เข้าถึงง่าย จึงเป็นที่เคารพและศรัทธาของคนในพื้นที่และใกล้เคียงมากพอสมควร
    ท่านนับเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวเมืองกรุงเก่ารู้จักกันดี มีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก
    ท่านมีหลักธรรมคำสอนง่าย ด้วยการใช้เมตตาธรรมในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ และเน้นความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่าใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติบ้านเมืองที่สามารถดำรงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
    ตลอดระยะเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัด จัดระเบียบการปกครองวัดอย่างเข้มงวด พระภิกษุ-สามเณรทุกรูป ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ตลอดกฎ และประกาศมหาเถรสมาคมอย่างเคร่งครัด
    งานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประกอบพิธีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนร่วมกับข้าราชการ พุทธศาสนิกชน จัดทำบุญในวันสำคัญต่างๆ
    สร้างคุณูปการไว้ในพระพุทธศาสนาและชุมชนอย่างมากมาย อาทิ ในปี พ.ศ.2558 ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษา ชื่อ มูลนิธิหลวงพ่อกลั่น-หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม โดยจดทะเบียนยกเป็นมูลนิธิเริ่มแรก 100 ล้านบาท
    ปัจจุบันมีนิสิตนักศึกษาอยู่ในทุนมูลนิธิที่จดทะเบียนกว่า 300 คน อีกทั้งด้านการพัฒนาวัดและชุมชน ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยปลูกฝังทางด้านการศึกษา
    เป็นผู้หาทุนทรัพย์นำมาร่วมสร้างสถานีอนามัย (ปัจจุบันยกขึ้นเป็นโรงพยาบาลชุมชน) โรงเรียน ศาลาการเปรียญ วิหาร และทุนการศึกษา
    ล่วงเข้าปัจฉิมวัย ด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร อาพาธบ่อยครั้ง
    สุดท้าย ช่วงกลางดึกเวลา 01.00 น. วันอาทิตย์ที่ 16 พ.ค.2564 หลวงพ่อเฉลิมละสังขารอย่างสงบ ด้วยโรคชราภาพ ที่โรงพยาบาลราชธานี
    สิริอายุ 96 ปี 6 เดือน 26 วัน พรรษา 76
    ท่ามกลางความอาลัยของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ


    สมเด็จหลังยันต์เฑาะว์ วัดพระญาติการาม (วัดพระญาติ) รุ่นไตรมาส ปี พ.ศ. 2543 อธิฐานจิต โดย หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม อยุธยา ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญของ จ.อยุธยา สืบทอดวิชา 9 เฮ วิทยาคมสายหลวงปู่กลั่น และ วิชาสายวัดประดู่ทรงธรรม ที่นับถือว่าเป็นเหมือนตักศิลาของอยุธยา วัตถุมงคลที่ท่านได้อธิฐานจิตก็ศักดิ์สิทธิ์ไม่ยิ่งหย่อนจากพระอาจารย์ท่าน สมเด็จหลังยันต์เฑาะว์ นี้ ออกจากวัดพระญาติการาม ปี 2543 พร้อมกล่องเดิมๆจากวัดครับ

    ถือเป็นพระสมเด็จรุ่นแรก
    ให้บูชา
    400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20231018_164302.jpg IMG_20231018_164331.jpg IMG_20231018_164231.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    FB_IMG_1697627750137.jpg
    #เรื่องเก่าเล่าใหม่ประวัติหลวงปู่นิล วัดครบุรี
    เกจิสมถะ-พระหมอยา
    อดีตพระเกจิอาจารย์แห่งภาคอีสาน ที่มีวิทยาคมเข้มขลังและมีวาจาศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ยอมรับของสาธุชนทั่วไปเมื่อราว 10 ปีที่ผ่านมา ปรากฏนามของ “หลวงปู่นิล อิสสริโก” วัดครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชีสมา อยู่ในลำดับต้นๆ
    ท่านเก่งทางแพทย์แผนโบราณ เชี่ยวชาญในตำรายารักษาชาวบ้านผู้เจ็บไข้ จนมีชื่อเสียงโด่งดังและถูกยกย่องให้เป็น “เทพเจ้าแห่งครบุรี”

    **************************
    หลวงปู่เป็นชาวเมืองโคราชโดยกำเนิด เกิดที่หมู่บ้านครบุรี ชาติกำเนิดมีพี่น้อง7คน
    หลวงพ่อครบุรี (นิล) หรือพระครูนครธรรมโฆสิต ผู้เปรียยประดุจบิดาของชาวบ้านทั้งหลายนี้บิดาของท่านชื่อสี แหวนครบุรี มารดาชื่อทิม แหวนครบุรี ท่านเกิด ๔ ๑๕ ๓ ปีขาล หรือ ตรงกับวันที่๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๕ ณ บ้านครบุรี ในสมัยนั้นขึ้นอยู่กับอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
    ตระกูลของท่านเป็นชาวนาอันบริสุทธิ์มาแต่กำเนิดชีวิตหลวงปู่ในปฐมวัยจึงเหมือนกับลูกชาวนาทั้งหลายที่ต้องช่วยเหลือผู้บังเกิดเกล้าทำไร่ไถ่นาตามแบบอย่างโบราณ ที่ทำต่อๆกันมา
    ลำดับญาติพี่น้องของหลวงปู่ และตัวหลวงปู่เองเป็นบุตรอันดับที่ ๖ โดยท่านมีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน ๗ คนดังนี้
    ๑.นางขำ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๒.นายกา (เสียชีวิตแล้ว)
    ๓.นางแก้ว (เสียชีวิตแล้ว)
    ๔.นายวาว (เสียชีวิตแล้ว
    ๕. นายบุญ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๖.พระครูนครธรรมโฆสิต(นิล)
    ๗.นายอูบ (เสียชีวิตแล้ว)

    เยาว์วัยเป็นเด็กเรียบร้อย ชอบช่วยเหลือญาติพี่น้อง พออายุ 11 ปีได้ไปเป็นศิษย์วัดไทรโยง เรียนหนังสือเบื้องต้น ก่อนที่จะไปเรียนภาษาบาลีและขอม ที่สำนักเรียนวัดครบุรี โดยมีหลวงปู่สี วัดเชียงสา เป็นพระอาจารย์ รวมทั้งสอนคาถาอาคมต่างๆให้ด้วย
    ทั้งนี้ ได้ทำนายดวงชะตาของท่านไว้ว่า “วันข้างหน้าจะได้เป็นใหญ่ในหมู่คณะ” นอกจากนี้ ยังมีพระอาจารย์ชุก หลวงปู่ดอน และหลวงปู่เชย มาช่วยสอนวิชาการต่างๆเพิ่มเติม
    อายุ 21 ปี ได้เข้าอุปสมบทที่วัดนกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา โดยมีหลวงปู่กลิ่น วัดนกออก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่พรม วัดป่าเลไลย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่แก้ว วัดนกออก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ได้รับฉายาธรรมว่า “อิสฺสริโก” แปลว่า “ผู้มีความยิ่งใหญ่”
    บวชแล้วได้ไปจำพรรษาที่วัดครบุรี และสามารถสอบนักธรรมตรีได้ในพรรษาแรก หลวงปู่น้อย เจ้าอาวาสวัดหนองแวง (บ้านไผ่) เห็นท่านมีลายมือสวยงาม แตกฉานในภาษาขอม จึงขอให้ไปช่วยจารคาถาพันเป็นภาษาขอมเรื่องพระเวสสันดร
    รวมทั้งให้ช่วยซ่อมแซมสมุดข่อย สมุดใบลานที่บรรจุพระคาถา อาคม ไสยเวท อักขระเลขยันต์วิทยาการต่างๆ ทำให้ท่านได้ศึกษาจดจำไปด้วย
    หลวงปู่โต วัดปอแดง เป็นอาจารย์สอนทำเครื่องรางของขลัง ปลุกเสกด้วยพระเวทย์อันศักดิ์สิทธิ์ มีทั้งอยู่ยงคงกระพันและลุกตั้งได้ ดิ้นได้ ด้วยการฝึกพลังจิตให้เข้มแข็ง เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงมีผู้กล่าวว่า หลวงปู่นิลสำเร็จวิชา “ธาตุกรรมบาน” หรือได้ “กสิณทั้ง 4 “(ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ) แล้วตั้งแต่อายุยังน้อย
    นอกจากนี้ ท่านยังได้รับการสอนให้รู้จักยาสมุนไพรต่างๆ พร้อมทั้งวิธีรักษาโรคตามตำรับแพทย์แผนโบราณ
    ตำแหน่งหน้าที่และสมณศักดิ์ที่ได้รับ พ.ศ.2474 เป็นเจ้าคณะตำบลครบุรี (สะแกราช)) พ.ศ.2481 เป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ.2496 รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นตรี ที่ “พระครูนครธรรมโฆสิต “ พ.ศ.2507 เป็นเจ้าอาวาสวัดครบุรี พ.ศ.2513 เป็นพระครูชั้นโทในราชทินนามเดิม พ.ศ.2519 เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม
    **************************
    หลวงปู่นิลท่านมีจิตใจใฝ่ธรรมะมาตั้งแต่ท่านยังเยาว์วัย ครั้งเมื่อได้อุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากพระอาจารย์ของท่าน จนมีสมาธิแก่กล้า สำเร็จวิชา “พระธาตุกัมมัฏฐาน” หรือ “กสิญจ์” ท่านมีคาถาอาคมแก่กล้าจนเป็นที่เลื่องลือทั่วภาคอีสาน มีเมตตาธรรมเปี่ยมล้นยากจะหาพระเถราจารย์รูปใดเสมอเหมือนในยุคปัจจุบัน วิทยาคมเข้มขลังและมีวาจาศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่ยอมรับของสาธุชนทั่วไป แต่ละวันจะมีประชาชนพากันหลั่งไหลไปกราบไหว้ท่านมิได้ขาด จนมีชื่อเสียงโด่งดังชาวบ้านยกย่องท่านเป็น “เทพเจ้าแห่งครบุรี”
    ครั้งหนึ่งเมื่อท่านนั่งวิปัสสนากรรมฐานอยู่หน้าพระประธาน ภายในพระอุโบสถ ได้มีลูกศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่งทราบว่าท่านอยู่ในโบสถ์เปิดประตูเข้าไปกลับพบแต่ความว่างเปล่า มีแต่ธูปปักอยู่ในกระถางเท่านั้น มองหาตัวหลวงปู่ไม่เห็น ลูกศิษย์คนนั้นจึงเอะใจ กลับไปถามพระลูกวัดว่า หลวงปู่นิลท่านอยู่ในโบสถ์แน่หรือ เปิดประตูเข้าไปทำไมจึงไม่เห็นท่าน เพื่อความแน่ใจเมื่อกลับมาดูอีกครั้ง พบหลวงปู่นิลท่านนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่ภายในโบสถ์นั่นเอง จึงมั่นใจว่าหลวงปู่นิลท่านแสดงปาฏิหาริย์หายตัวได้แน่นอน
    มีอยู่วันหนึ่งชายหาปลาได้เห็นแสงนวลขาวพุ่งเป็นเส้นเหนือยอดโบสถ์วัดครบุรี ด้วยความอยากรู้ว่าเกิดจากอะไรจึงเข้าไปแอบดู ตรงรอยแตกหน้าต่างพบหลวงปู่นิลนั่งกัมมัฏฐานด้านพระประธานโดยมีแสงนวลขาวหมุนม้วนตัว เป็นเกลียวรอบร่างท่าน รุ่งเช้าข่าวนี้ก็กระจายทั่วหมู่บ้านมีชาวบ้านมากราบเรียนถามท่านถึงแสงนวลดังกล่าวแต่ท่านก็มิได้ให้ความกระจ่างอันใดเพราะ หลวงปู่นิลไม่ใช่พระอวดโอ้สรรพคุณ จนได้รับคำบอกเล่าจากพระอาจารย์กลั่น เขมจาโร ว่าแสงที่พบนั้นคือ ดวงธาตุ ซึ่งประกอบด้วย นะมะพะทะ ได้แก่ ดินน้ำลมไฟ เป็นวิชาที่หลวงปู่นิลท่านใช้หนุนไสยศาสตร์ระหว่างปลุกเสกให้ของขลังอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยมยิ่งขึ้น ท่านร่ำเรียนวิชานี้เป็นเวลากว่าสี่สิบปี จนสำเร็จบรรลุซึ่งวิชาพระธาตุกัมมัฏฐานนี้ ในปัจจุบันนี้มีพระผู้สำเร็จเพียงสองสามองค์เท่านั้น เพราะเป็นวิชาที่เรียนยากที่สุด
    หลวงปู่นิลท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ถือสมถะไม่โอ้อวดถือตนว่าเก่งกาจ ใครไปมาหาท่านจะได้รับแต่ความเมตตาจากท่านโดยทั่วกัน ท่านมีตำรายาแพทย์แผนโบราณ ซึ่งท่านเคยได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์ฆราวาสคนหนึ่งชื่อ “หมอแดง” เมื่อครั้งท่านยังเป็นพระภิกษุหนุ่ม จนมีความเชี่ยวชาญรักษาชาวบ้านผู้เจ็บไข้ได้ป่วยมาขอยาท่านไปกินเป็นประจำมิได้ขาด ไม่ว่าจะดึกดื่นเที่ยงคืนเพียงใดเรียกท่านได้ทุกเวลา และยาแผนโบราณหลวงปู่นิลนั้นสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ผลหายไอย่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้นท่านจึงเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในละแวกนั้น ไม่ว่าใกล้หรือไกลต่างให้ความเคารพนับถือท่านอย่างจริงใจกันทุกคน
    หลวงปู่นิลได้สร้างวัตถุมงคลครั้งแรกเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๑๖ คือเหรียญรูปไข่ “พระครูนครธรรมโฆสิต” ครบ ๖ รอบ ในปลายปีเดียวกัน ได้สร้างเหรียญ “ที่ระลึกในงานทำบุญ อายุครบ ๗๒ ปี ๒๕๑๖ ขึ้นอีกแต่เป็นเหรียญใบเสมา ทั้ง ๒ เหรียญได้รับความนิยมสูงและหายากมากนอกจากเหรียญยอดนิยมดังกล่าวแล้ว หลวงปู่นิลได้จัดทำสีผึ้งเมตตามหานิยมแจกประชาชนที่ท่านเห็นสมควรด้วย ปรากฏประสบการณ์มากมายว่าผู้ที่ได้รับสีผึ้งจากหลวงปู่นิลแล้วนำไปทาริมฝีปากจะส่งผลให้เกิดเมตตามหานิยมสูง เจรจาขอความช่วยเหลือจากผู้ใดมักจะได้รับความสำเร็จเสมอ
    ในปี ๒๕๒๓ คณะกรรมการวัดครบุรีไดสร้างพระกริ่งรูปเหมือนหลวงปู่นิล อันเป็นรุ่นฉลองครบอายุ ๗๘ ปี และเหรียญรูปเหมือนชินตะกั่ว หลังจากอักขระยันต์ ในการสร้างเหรียญรูปเหมือนชินตะกั่วนี้หลวงปู่นิลท่านกดแม่พิมพ์ด้วยมือของท่านเองและจารอักขระบนเหรียญด้านหลังพร้อมกับบริกรรมคาถากำกับลงไปทีละองค์ จนกว่าจะแล้วเสร็จซึ่งการจารอักขระนี้หลวงปู่นิลได้ทำในโบสถ์เพียงองค์เดียว จากนั้นท่านจึงนำพระกริ่งรูปเหมือน รุ่นครบรอบ ๗๘ ปี กับเหรียญชินตะกั่ว เข้าพิธีปลุกเสกเดี่ยวในโบสถ์นานที่สุด ก่อนนำออกแจกจ่ายให้ญาติโยมที่มาร่วมทำบุญกับท่านนำไปบูชา ผู้ที่ได้รับไปต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าดีทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพัน พระกริ่งรูปเหมือนและเหรียญรูปเหมือนชินตะกั่วรุ่นนี้ ได้แสดงปาฏิหาริย์มาแล้วหลายครั้ง จากปากต่อปากว่า ดีเด่นในทุกด้านชาวบ้านเมื่อทราบถึงกฤตยาคมอิทธิวัตถุมงคลรุ่นนี้ต่างเหมารถมาขอเช่าบูชาจากวัดมิได้ขาด แต่เป็นที่น่าเสียดาย พระกริ่งรุ่นนี้สร้างมาเพียงจำนวนน้อยมาก จึงไม่พอเพียงกับความต้องการของสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาอยากได้ไว้บูชา


    บั้นปลายชีวิตท่านอาพาธด้วยโรคชรา เข้ารักษาที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2536 และมรณภาพด้วยอาการอันสงบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2537 เวลา 03.55น. รวมสิริมายุได้ 92 ปี 6 เดือน 72 พรรษา พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ก.พ. 2545
    หลวงปู่นิลนั้นท่านเก่งทางพ่นน้ำหมาก เสกน้ำมนต์ จารใบพลู เขียนผ้ายันต์ ผูกด้ายสายสิญจน์ ลงตะกรุด ลงกระหม่อม หุงสีผึ้งเมตตา ดูฤกษ์ยาม ปรุงยาสมุนไพร ฯลฯ โดยสงเคราะห์ชาวบ้านในละแวกวัดมาตั้งแต่บวชได้ 2 พรรษาแรก
    แม้จะมีดีเพียงใด แต่ท่านดำรงตนอย่างสมถะ ไม่โอ้อวดถือตนว่าเก่งกาจ ใครไปมาหาท่านจะได้รับความเมตตาโดยทั่วกัน
    วัตถุมงคลของท่านแบ่งได้เป็น 5 ยุคคือ
    1.ยุคต้นก่อนพ.ศ.2512 สร้างเฉพาะเครื่องรางของขลัง อาทิ ตะกรุดไม้รวก,สีผึ้ง
    2.ยุคแรก พ.ศ.2513-2520 สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆเป็นรุ่นแรก อาทิ รูปถ่ายขาว-ดำ หลังยันต์หมึกซึมพ.ศ.2514 ,เหรียญรูปไข่,เหรียญเสมา,รูปหล่อโบราณ ปี2516 ฯลฯ
    3.ยุคบรรจุกรุ พ.ศ.2523 มีเหรียญรูปไข่,เหรียญซุ้มนาคราช ,พระกริ่ง-ชัยวัฒน์ ฯลฯ
    4.ยุคโบสถ์เก่า พ.ศ.2524-2533 มีเหรียญรูปไข่ทองแดงรมดำ ที่ระลึก 80 ปี,เหรียญหยดน้ำ,เหรียญที่ระลึกฉลองมณฑป,เหรียญสี่เหลี่ยมพัดยศ ฯลฯ
    5.ยุคสร้างโบสถ์ใหม่ พ.ศ.2534-2537 มีเหรียญหยดน้ำข้างลายกนก-เหรียญพระปางลีลา สมทบทุนสร้างโบสถ์ใหม่,เหรียญรูปไข่ยันต์ข้างและเหรียญอาร์มทองแดงลงยา ฯลฯ
    ส่วนพระปิดตามี เนื้อชานหมากรุ่นแรก ปี2523,พระปิดตาเล็บมือยันต์ข้าง,พระปิดตาสี่ทิศ,พระปิดตาจัมโบ้ ฝังตะกรุด,เหรียญพระปิดตานั่งบัว พิมพ์หยดน้ำ เนื้อตะกั่วเถื่อน ฯลฯ
    ด้านพุทธคุณนั้น กล่าวขานกันว่าไม่เป็นสองรองพระเกจิอาจารย์องค์ไหน ไม่ว่าจะด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน

    https://palungjit.org/threads/ประสบการณ์และวัตถุมงคล-หลวงปู่นิล-อิสริโก-วัดครบุรี-นครราชสีมา.272927/
    https://mgronline.com/local/detail/9660000076015

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนนั่งพานปลดหนี้หลวงปู่นิลอิสริโกวัดครบุรีให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20231018_164111.jpg
    IMG_20231018_164156.jpg
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,805
    ค่าพลัง:
    +21,351
    2h.jpg

    หลวงพ่อหว่าง หรือพระครูสุกิจธรรมสร เป็น ศิษย์สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกและหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม เป็นอาจราย์ของหลวงปู่แผ้ว วัดกำแพงแสนอีกด้วย

    หลวงปู่แผ้ว เคยบอกไว้ว่า คาถาที่ใช้บริกรรมระหว่างนั่งปรกปลุกเสก วัตถุมงคลเป็นคาถาของหลวงพ่อหว่าง อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพงแสน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก อีกทอด ในช่วงที่หลวงปู่หว่างเป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านเก่งเรื่องหมอยา วัตถุมงคลของท่านก็เข้มขลังเป็นที่นิยม ทั้งนี้ได้ศึกษาอยู่กับท่านจนกระทั่งมรณภาพ เมื่อได้รับกิจนิมนต์นั่งปรกจึงนำวิชาของหลวงพ่อหว่างใช้รวมกับวิชาวิปัสนากรรมฐานที่ได้เรียนจากวัดมหาธาตุฯ สนามหลวง

    พระนารายณ์ทรงปืนหลวงพ่อหว่าง เนื้อดินเผา ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20231018_235950.jpg IMG_20231019_000022.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...