อธิศีลสิกขาในการเจริญพระกรรมฐาน โดยพระราชพรหมยานเถระ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 12 พฤศจิกายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    อธิศีลสิกขา
    [​IMG]
    ในระดับแรก ก่อนที่ท่านจะหวังผลในฌานโลกีย์ ซึ่งเป็นระดับของอธิจิตตสิกขานั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงสอนให้รักษาศีลให้เป็นอธิศีลเสียก่อน คำว่า อธิศีล แปลดังนี้ อธิ แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือล่วง เฉพาะคำว่า อธิ แปลได้สามอย่างดังนี้ ถึงแม้ว่าจะแปลได้เป็นสามนัยก็คงมีความหมายอย่างเดียวกัน คำว่า ยิ่ง ก็หมายถึงการปฏิบัติยิ่งกว่า หมายถึงการปฏิบัติเคร่งครัดกว่าปกติหรือรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิตนั่นเอง เกินหรือล่วงก็มีความหมายเหมือนกัน เกิน ก็หมายถึงปฏิบัติเกินกว่าที่ปฏิบัติกันตามปกติ ล่วง ก็หมายถึงการปฏิบัติล่วง คือ เกิน ที่กระทำกันตามปกติ ศัพท์สามคำนี้มีความหมาย
    อย่างเดียวกัน การปฏิบัติตามนี้จึงจะจัดเป็นอธิศีล การปฏิบัติเป็นอธิศีล ท่านแนะนำไว้ในอุทุมพริกสูตรดังนี้

    จะรักษาศีลไว้ด้วยดี มิให้ขาดมิให้ทำลาย แม้แต่ศีลจะมัวหมองก็มิยอมให้เป็น ด้วยมีวิธีรักษาดังนี้
    ๑. จะไม่ทำลายศีลให้ขาดเอง
    ๒. ไม่แนะนำให้คนอื่นทำลายศีล
    ๓. ไม่ยินดีต่อเมื่อเห็นผู้อื่นทำลายศีล

    การปฏิบัติพระกรรมฐาน ก่อนที่จะหวังให้ฌานสมาบัติอุบัติปรากฏแก่จิตใจนั้นต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน ถ้าศีลของท่านยังขาดตกบกพร่อง รักษาบ้างไม่รักษาบ้าง ยังเกรงใจความชั่ว คือสังคมที่มอมแมมด้วยความชั่วช้า ที่ต้องมีการดื่มของมึนเมาอวยพร ต้องกินเนื้อสัตว์ที่ยังมีชีวิตเพราะถ้าสัตว์ตายก่อนแล้วเนื้อมีรสไม่อร่อย ต้องพูดตลบตะแลงให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เกรงใจสังคมที่นิยมมีเมียเก็บ เมียอะไหล่ นิยมสะสมสมบัติที่ได้มาโดยมิชอบธรรม เฉพาะอย่างยิ่งการดื่ม ถึงแม้ว่าท่านจะละมาในวันอื่นๆ ทุกวัน แต่ถ้าวันใดมีการเลี้ยง ก็ต้องดื่มเพื่อสังคม แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าท่านไม่มีความบริสุทธิ์ ไม่มีศีล เป็นอธิศีล แม้แต่ปกติศีลก็ยังไม่จัดว่าท่านเป็นผู้มีศีล

    ทั้งนี้เพราะการบกพร่องในศีลเป็นความชั่ว จะด้วยกรณีใดก็ตาม ถ้าท่านล่วงศีลด้วยเจตนาแล้ว ท่านก็เป็นคนเลวสำหรับนักปฏิบัติในศีล ท่านจะอ้างว่าท่านล่วงเพื่อสังคมก็ไม่มีทางจะเอาตัวรอดได้ เพราะการที่ท่านต้องเกรงใจสังคมที่ชั่วช้าเลวทราม เพราะมุ่งที่จะทำลายความดี สิ่งที่ท่านทำไปนั้นมันเป็นเหตุของความชั่ว ขึ้นชื่อว่าความชั่ว แม้แต่นิดหนึ่งก็เป็นความชั่ว

    ของเหม็นที่มนุษย์รังเกียจ ร่างกายเราทั้งใหญ่ทั้งโต แต่พอสิ่งโสโครกที่มีกลิ่นเหม็นเพียงนิดเดียวมาติดกาย เราก็ต้องรีบล้างรีบชำระ เพราะรังเกียจในกลิ่นเหม็นที่เราไม่ยอมปล่อยด้วยคิดว่ามันมีจำนวนนิดเดียว ร่างกายเรายังว่างจากสิ่งโสโครกนั้นมากมาย เราไม่ปล่อยไว้ก็เพราะคิดว่า สิ่งโสโครกแม้แต่นิดเดียวก็สร้างความเดือดร้อนแก่จิตใจ

    ข้อนี้ฉันใด แม้ศีลที่ท่านรักษาเพื่อเป็นภาคพื้นของสมาธิสมาบัติก็เช่นเดียวกัน ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ เมื่อท่านรักษาศีลตามนัยที่กล่าวมาแล้วโดยมั่นคงจนถึงขั้นไม่ต้องระวัง หมายความว่าละเสียได้จนชินไม่มีการพลั้งเผลอแล้ว
    ที่มา http://www.geocities.com/4465/samadhi/samp5.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...