หลวงพ่อโหน่งพบพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 22 กรกฎาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    [​IMG]
    [​IMG]
    ท่านไปนั่งกรรมฐานอยู่ในที่แห่งหนึ่ง คือว่าตรงนั้นมันใกล้ป่าช้าพอมีที่เตียนอยู่นิดหนึ่ง จะแล้วขนาดไหนก็ตามตอนนั้นมีแผ่นดินชุ่มอยู่เสมอ ผืนแผ่นดินที่ชุ่มมีบริเวณประมาณสัก 4 ตารางวา ไม่กว้างนัก ท่านบอก ท่านไปนั่งกรรมฐานอยู่ตรงนั้นตอนดึกวันหนึ่งปรากฏว่ามีพระสงฆ์องค์หนึ่งรูปร่างเรียกว่าสวยมาก มีลักษณะดี บอกว่าลักษณะเหมือนพระพุทธเจ้า มายืนอยู่ข้างหน้าบอกว่า โหน่ง ที่ตรงนั้นมีพระบรมสารีริกธาตุ ใต้ที่เธอนั่งลงไปน่ะมีขันทองคำขนาดใหญ่มีน้ำเต็ม และในขันทองคำนั้นมีเรือสำเภาทองคำ แล้วก็มีมณฑปทองคำ มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในนั้น เธอควรจะสร้างวิหารทับตรงนี้เข้าไว้ ชาวบ้านเขาจะได้ไม่เดินผ่าน คือ ไม่เดินเหยียบเดินย่ำไปบนพระบรมสารีริกธาตุ หลวงพ่อโหน่งท่านก็บอกกับพระองค์นั้นว่าท่านเพิ่งบวชได้ 2 พรรษา ยังไม่มีปัญญาจะสร้าง ไม่ทราบว่าใครเขาจะเชื่อถ้าบอกบุญเขา ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไรหรอกโหน่ง ตอนเช้าวันพระนะ วันนั้น เป็นวันโกนตอนเช้าเธอลงศาลาแล้วบอกกับญาติโยมเขา บอกว่าเธออยากจะสร้างวิหาร เท่านี้ละจะมีคนช่วยสร้างจนเสร็จ หลวงพ่อโหน่งท่านรับฟัง แล้วก็ถอนจากกรรมฐาน ตอนเช้าเป็นวันพระ เวลาฉันข้าวท่านก็พูดกับทายกว่า อยากจะสร้างวิหารตรงนั้นตรงที่ท่านเจริญพระกรรมฐาน ชาวบ้านพอเขารู้เข้าก็พร้อมใจกันช่วยกันสร้างวิหาร ภายในระยะ 1 ปี วิหารหลังนั้นก็โตนะ เดี๋ยวนี้วิหารหลังนั้นก็ยังอยู่ วิหารหลังนั้นไม่เล็ก ภายใน 1 ปีก็สร้างเสร็จ เมื่อสร้างเสร็จแล้วท่านก็นั่งกรรมฐานในพระวิวหารนั้น พระองค์นั้นก็บอกว่าให้สร้างพระประธาน คือว่าสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้ในวิหารสักองค์ หลวงพ่อโหน่งก็บอกไม่ทราบจะไปเอาช่างที่ไหน องค์นั้นกับก็บอกว่าตอนเช้าให้ออกธุดงค์ ๆ ไปที่เมืองกรุงเก่า ไปถึงหลังวัดประดู่ทรงธรรมละก็ให้ไปปักกลดตรงนั้น แล้วตอนเช้าจะมีคนมาใส่บาตร คนที่มาก่อนเพื่อน นุ่งชาวห่มขาวผมก็ขาวมีขันข้าวมาลูกเดียวไม่มีกับข้าว ถ้าคนนั้นมาละก็ให้พูดกับคนนั้นเขา เขาเป็นช่างเขาจะมาช่วยปั้นพระ หลวงพ่อโหน่งก็เชื่อ พอตอนเข้าท่านก็ออกธุดงค์ไป จังหวัดอยุธยาสมัยนั้นเขาเรียกกันว่าเมืองกรุงเก่า เพราะว่าเป็นเมืองหลวงเก่า ไปถึงหลังวัดประดู่ทรงธรรม พอถึงตอนเช้าก็เป็นไปตามนั้น คนที่มาก่อนเพื่อเป็นคนที่นุ่งขาวห่มขาวผมขาวมีขันข้าวขันเดียวและไม่มีกับมาถึงก็มานั่งใกล้ท่าน คนอื่นมาทีหลัง หลวงพ่อโหน่งก็ปรารภเรื่องปั้นพระประธาน ตาคนนั้นก็บอกว่าแกเป็นช่างแกรับรองจะปั้นให้ ตกลงกันว่าแกจะไปปั้นให้ แต่ว่าหบวงพ่อโหน่งลืมบอกวัดลืมบอกว่าท่านอยู่วัดไหนนี่ท่านไม่ได้บอก เมื่อฉันข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้วแกก็บอกว่าแกจะตามไป ให้หลบวงพ่อโหน่งไปก่อน หลวงพ่อโหน่งก็ถอนกลดเดินกลับวัด แต่พอมาถึงวัดแล้วก็มา นึกขั้นได้ว่า อ้าวตาย เราไม่ได้บอกกับนายช่างเขานี่ว่าเราอยู่วัดไหน แล้วก็นายช่างเขาจะมาถูกหรือไม่ถูกก็ไม่รู้ แต่ว่าวันนั้นมันก็บายเสียแล้ว ก็คิดว่าถ้านายช่างไม่มาภายใน 3 วัน หลวงพ่อโหน่งก็จะต้องกลับไปอยุธยาใหม่ ไปปักกลดตรงนั้นอีกแหละ ไปบอกเขาว่าอยู่วัดไหน ในเมื่อพอวันรุ่งขึ้นก็ปรากฏว่านายช่างมาถึง ไม่ได้บอกวัดก็มาถูกเหมือนกัน มาถึงก็ลงมือปั้นพระ พระองค์นั้นรู้สึกว่าปั้นได้สวยมาก มองดูลักษณะน่าดู เมื่อปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ปรากฏว่าช่างหายไป หลวงพ่อโหน่งก็ตกใจว่า เอ๊ะ นี่เรามาใช้ให้เขาปั้นพระนี่ควรให้ค่าจ้างเขา นี่ค่าจ้างก็ยังไม่ทันให้ แล้วช่างก็มาหายไปเฉย ๆ มาหนีไปเสีย ไม่ได้รับค่าจ้าง มันก็จะเป็นการใช้กันฟรีเกินไป ท่านจะหาที่ไหนก็ไม่พบ ในที่สุดก็ไปใหม่ ออกธุดงค์ไปอีก ไปปักลดที่หลังวัดประดู่ทรงธรรม ทีนี้พวกชาวบ้านเขาก็มาใส่บาตรกัน แต่ปรากฏว่านายช่างไม่มา ก็ถามชาวบ้านว่ารู้จักตมช่างคนนั้นไหม ชาวบ้านเขาก็บอกว่าไม่รู้จัก เมื่อปีที่แล้วนี้ที่ฉันมาปักกลด มีคนนุ่งขาวห่มขาวมีผมยาว ๆ ถือขันข้าวขันเดียวไม่มีกับ แล้วฉันให้เขาไปปั้นพระ เขาไปปั้นแล้วยังไม่ทันให้ค่าจ้างก็ปรากฏว่าเขาหายมา เข้าใจว่าเขามาบ้าน คนแถวนั้นก็เลยพากันบอกว่า คนนั้นไม่ใช่คนที่นี่ เป็นคนที่อื่น เขาเองเขาก็ไม่รู้จักเหมือนกัน ไม่ทราบว่าเป็นคนที่ไหนมา ก็เห็นเขาวันนั้นวันเดียว วันอื่นก็ไม่เคยเห็น เป็นอันว่าหลวงพ่อโหน่งไม่ได้จ่ายค่าจ้าง ช่างคนนั้นเป็นใคร ตอนนี้ก็เห็นจะไม่พยากรณ์นะ แต่ว่าหลวงพ่อปานท่านบอกว่า ช่างคนนั้นไม่ใช่คน แล้วจะเป็นใครก็ตามใจซิ เขาไม่บอกวันก็ไปถูก ปั้นแล้วก็ไม่เอาสตางค์ หนีเจ้าของงานเปิดฉับ ไม่เหมือนช่างสมัยนี้นี่รับเงินไปมากกว่างาน หนีเจ้าของงาน ตาช่างคนนั้นไม่ได้รับเงินแต่ว่าหนีเจ้าของงานแปลกกันนะ แปลกกันหน่วย แปลกกันตรงนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...