หลวงพ่อเล่าเรื่องการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 20 สิงหาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD width=696 bgColor=#99ccff>
    </TD><TD vAlign=top align=middle width=50 bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=50></TD><TD width=696>

    เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติจากพระครรภ์พระมารดาแล้ว ในที่สุดองค์สมเด็จพระประทีปแก้วใกล้จะถึงวาระที่จะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงบำเพ็ญบารมีมาครบ ๔ อสงไขยกับแสนกัป ควรจะได้เป็นพระพุทธเจ้า
    ในวันหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ก็ทรงพบเด็กเกิดใหม่ วันต่อมาทรงพบคนแก่ คนป่วย แล้วก็คนตาย วันสุดท้ายทรงพบสมณะ
    ความจริงเวลานั้นพระที่แต่งตัวแบบนี้ ไม่มีในโลก แต่ว่าเทวทูตทั้ง ๕ ที่เรียกกว่า เทวทูต คือ เด็กก็ดี คนแก่ก็ดี คนป่วยก็ดี คนตายก็ดี พระก็ดี ที่ปรากฏกับสายพระเนตรขององค์สมเด็จพระชินสีห์ เมื่อยังเป็นสิทธัตถะราชกุมาร ท่านบอกว่า เวลานั้นเทวดาแสดงขึ้นให้ปรากฏ ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระบรมสุคตเห็นคนเกิดยังเด็กเล็ก แล้วต่อมาพบคนแก่ แล้วก็พบคนป่วย แล้วก็พบคนตาย น้ำพระทัยขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า
    "โลกนี้ทุกข์หนอ ไม่มีอะไรเป็นสุข หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้"
    ต่อมาวันสุดท้าย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงเห็นสมณะวิสัยก็เข้าใจว่าทางนิพพานมีอยู่ ทางนี้เป็นทางสิ้นทุกข์ เหตุฉะนั้นองค์สมเด็จพระบรมครูจึงได้ตัดสินพระทัยออกบวช นี่ขอเล่าลัดๆ นะ แต่ความจริงเรื่องนี้ยาวมาก ครั้นถึงวาระแล้ว องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยนายฉันนะ ทรงม้ากัณฐกะออกจากพระราชนิเวศน์แล้ว
    ต่อมาวันสุดท้ายเมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาประทับนั่งอยู่โคนต้นไทร เป็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๖ เป็นวันที่นางสุชาดาจะถวายข้าวมธุปายาสแด่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ
    ความจริงมันเป็นการบังเอิญอย่างยิ่งที่ยอดหญิงสุชาดา สมัยนั้นเธอไม่มีลูก มีสามีแต่หาลูกไม่ได้ จึงได้ไปบนรุกขเทวดาที่โคนต้นไทร ที่มีสาขาใหญ่ ว่าเธอมีลูกแล้วเธอจะแก้บนเทวดา ในกาลต่อมาเธอก็มีลูกสมความปรารถนา จึงตั้งใจว่าจะแก้บนเทวดา ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ จึงได้เอาโคที่เลี้ยงไว้ด้วยน้ำชะเอม คือเวลาน้ำที่โคจะกินน่ะ เลี้ยงด้วยน้ำชะเอม จะได้มีนม รสหวาน รีดนมจากโคกลุ่มนี้ไปให้กลุ่มนั้นกิน แล้วก็รีดนมจากโคกลุ่มนั้นอีกกลุ่มที่กินน้ำนมนั่นแหละ เอามาทำข้าวมธุปายาส เธอทำด้วยความปราณีต
    บรรดาเทพยดาและพรหมทั้งหมดทราบว่า นางสุชาดาจะถวายข้าวแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความจริงเธอถวายแก่รุกขเทวดา แต่ว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นั่น บรรดาเทวดาทั้งหมดก็มาช่วยงานทั้งหมด แม้แต่พระอินทร์เองก็มาช่วยใส่ไฟในเตาของนางสุชาดา
    นางสุชาดาเห็นบรรดาเทวดาทั้งหลายเอาเครื่องทิพย์มาโปรยปรายก็ดี มาช่วยกิจการงานทุกอย่างก็ดี ก็เกิดความอัศจรรย์ใจ เธอทั้งหายเหล่านี้ไม่เคยมีมาในกาลก่อน จึงให้นางบุญทาสีไปทำการปัดกวาดโคนต้นไทรให้สะอาด ว่าวันพรุ่งนี้ เราจะนำข้าวมธุปายาสไปถวายรุกขเทวดา นางบุญทาสีไปถึงแล้ว เห็นองค์สมเด็จพระประทีปแก้วเสด็จประทับอยู่โคนต้นไทร จึงเข้าใจว่าเป็นรุกขเทวดา จึงได้กลับมาบอกกับนางสุชาดาว่า
    "พระแม่เจ้า เวลานี้เทวดากำลังคอยอยู่ที่โคนต้นไทร เห็นจะดีใจที่พระแม่เจ้าตั้งใจจะนำของไปถวาย"
    นางสุชาดาก็เกิดความปลื้มใจ แล้ววันรุ่งขึ้นนางก็นำข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองไปถวาย องค์สมเด็จพระจอมไตรเวลานั้นบาตรหาย เพราะว่าเวลาเจริญทุกขเวทนาไม่ได้ใช้บาตร ไม่ได้ฉันข้าว เมื่อบาตรหายไม่มีอะไร
    เมื่อนางสุชาดาถวาย พระองค์ก็ทรงรับประเคน แล้วก็มองหน้านางสุชาดาเหมือนจะบอกว่า ฉันไม่มีอะไรจะถ่ายใส่ไว้จ้ะ นางสุชาดารู้ใจก็กราบทูลถวายว่า
    "หม่อมฉันถวายทั้งถาด ทั้งข้าวมธุปายาส เจ้าค่ะ"
    ความจริงนางไม่ได้คิดว่าเป็นคน คิดว่าเป็นรุกขเทวดา นางกลับมาแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้เสวยข้าวมธุปายาส หลังจากนั้นตอนเย็น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาจึงได้เสด็จไปยังริมแม่น้ำเนรัญชรา นำถาดทองของนางสุชาดาไปด้วย แล้วองค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงอธิฐาน เวลานั้นน้ำไหลเชี่ยวเป็นเวลาน้ำหลาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงอธิษฐานว่า
    "ถ้าหากข้าพเจ้าจะได้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้วไซร้ ขอให้ถาดทองนี้ จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลพอสมควร"
    เมื่อทรงอธิษฐานเสร็จแล้วก็ทรงวางถาดทองลงไปในแม่น้ำ ถาดทองก็สวนกระแสน้ำทวนขึ้นไป แล้วก็จมลง ถาดทองนี้ตามปฐมสมโพธิ ท่านบอกว่า ไปรวมกันที่วิมานของพระยากาลนาคราชที่บาดาล
    เมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเห็นอัศจรรย์แบบนั้น ก็ทรงปลื้มพระทัยเกิดธรรมปิติ จึงได้กลับมาใหม่ที่โคนต้นไทร เวลานั้นก็มีพราหมณ์คนหนึ่งเดินสวนทางมา เห็นสมเด็จพระบรมศาสดาก็เกิดความเลื่อมใส จึงได้ทูลถวายหญ้าคา ๘ กำ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงรับ รับแล้วก็ทรงเปลี่ยนที่นั่งใหม่ เพราะว่าโคนต้นไทรไม่เหมาะ พระองค์เห็นต้นไม้ต้นหนึ่งที่มีใบใหญ่ แล้วก็งวงใบยาว ที่เรียกว่า อัสสัตถพฤกษ์ หมายความว่า ไม้ที่มีหางยาวเหมือนหางม้า ต่อมาภายหลังเรียกกันว่า ต้นโพธิ์
    องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ปูหญ้าคา ๘ กำ เป็นอาสนะรองนั่ง หลังจากนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หันหลังให้ต้นโพธิ์ ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า
    "ถ้าเรายังไม่ได้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด เลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไปก็ตามที เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้"
    นี่น้ำพระทัยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตัดสินใจในวันนั้น ฉะนั้นการบำเพ็ญกุศลสร้างความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน อันดับแรกถ้าหวังผลเพื่อพระนิพพาน ถ้าจะทำอันใดเป็นกุศลเป็นเรื่องของกุศล ต้องตัดสินใจอย่างองค์สมเด็จพระทศพล คือ ไม่มีความห่วงกังวลในทรัพย์สิน และไม่มีความกังวลในชีวิตของตนเอง ชั่วเวลานั้นนะ
    ต่อมาหลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยแบบนั้นแล้ว ในยามต้นสมเด็จพระทศพลบรมศาสดาก็ทรงได้ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ การระลึกชาติได้ การระลึกชาติได้นี่เป็นประโยชน์ ก็เป็นโอกาสที่สมเด็จพระบรมโลกนาถถอยหลังชาติต่างๆ แต่ละชาติที่เกิดมาแล้ว ซึ่งองค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงทราบว่า มันเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
    และนอกจากนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังได้ทรงทราบว่า บางชาติที่สมเด็จพระบรมโลกนาถเกิด ก็พบพระพุทธเจ้าบ้าง พบพระอรหันต์บ้าง ท่านสอนว่าอย่างไร องค์สมเด็จพระจอมไตรก็สามารถทวนคำสอนนั้นได้ตามความประสงค์
    ต่อมาในยามที่สอง องค์สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงได้ทิพยจักขุญาณ หรือที่เรียกกันว่า จุตูปปาตญาณ ทิพยจักขุญาณนั้น ถ้ามีกำลังแข็งกล้าขึ้นมาเขาเรียก จุตูปปาตญาณ สามารถรู้วาระของคนว่าคนและสัตว์ที่เกิดมาในโลกนี้ทั้งหมด ก่อนจะเกิดมาจากไหน และเวลาตายแล้วเขาไปอยู่ที่ไหน
    เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงได้ญาณนี้รวม ๒ ญาณด้วยกัน สมเด็จพระทรงธรรม์ก็ทรงใช้เป็นเครื่องประกอบกับปัญญา
    เมื่อยามที่ ๓ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงได้ทรงระลึกได้ในด้านของ อริยสัจ ๔ เป็นปัญญาเกิดขึ้นมาใหม่ องค์สมเด็จพระชินวรทรงทราบด้วยกำลังของญาณ คือ ทิพยจักขุญาณและก็ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ว่าคนที่เกิดมาทั้งหลายในโลกนี้ประสบอะไรบ้าง นั่นก็คือ ทุกข์
    คำว่า ทุกข์ หมายความว่า สิ่งที่จำจะต้องทน ทุกสิ่งทุกอย่าง การประกอบอาชีพก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความป่วยก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์
    เมื่อทราบขอบข่ายของความทุกข์ว่า การเกิดอาศัยทุกข์เป็นเหตุ และการเกิดแล้วมีแต่ความทุกข์ ก็จะหาทางตัดทุกข์ เมื่อหาทางตัดทุกข์ ก็ต้องอาศัยอริยมรรคที่พระองค์มีอยู่แล้ว ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
    เมื่อมีศีล สมาธิ ปัญญา มีแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ทรงทราบว่า ถ้าจะตัดทุกข์ได้ต้องตัดเหตุเสียก่อน องค์สมเด็จพระชินวรทรงทราบว่า เหตุที่เกิดทุกข์ได้แต่ ตัณหา ๓ ประการ คือ
    กามตัณหา เจตนาอยากจะได้สิ่งที่ไม่มี อยากจะให้มีขึ้น
    ภวตัณหา สิ่งที่มีอยู่แล้วต้องการให้ทรงตัว
    วิภวตัณหา สิ่งใดก็ตามที่จะสลายตัวตามกำลังของกฎของกรรม ก็ไม่ต้องการให้เป็นอย่างนั้น
    ถ้าอารมณ์ใจของคนเป็นอย่างนี้ อารมณ์ใจมันเป็นทุกข์ สิ่งที่มันไม่มีตะเกียกตะกายอยากให้มันมีขึ้น ในเมื่อมันยังหาไม่ได้มันก็เป็นทุกข์ ใช้ความพยายามมากเกินไปก็เป็นทุกข์ กำลังใจมันเป็นทุกข์ อันนี้พระพุทธเจ้าว่าไม่ดี ที่ทุกข์มันจะมีได้เพราะเหตุนี้
    ประการที่สอง ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อเป็นสภาวะของโลก มันมีกฎธรรมดาบังคับก็คือ อนิจจัง ทุกอย่างในโลกนี้มีสภาพไม่เที่ยง ของใหม่ได้มาแล้วไม่ช้ามันก็เก่าแล้วมันก็แก่แล้วมันก็ทรุดโทรมไป ในที่สุดมันก็พัง
    คนที่เกิดมาเป็นเด็กก็ไม่ได้ทรงความเป็นเด็กอยู่ตลอด ก้าวเข้าไปหาความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเป็นหนุ่มเป็นสาว เราชอบเพราะร่างกายมันดี แข็งแรงดี แต่ไอ้ความแก่ความตายนี่เราไม่ชอบ แต่เราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อไม่ช้าไม่นานเท่าไรความแก่มันเข้ามาถึงแล้ว ความตายมันก็จะเข้ามาถึง ตอนนี้กำลังใจของคนไม่ดี
    สำหรับท่านที่ทรงตัณหา คือ ภวตัณหา ต้องการอย่างเดียวคือ ความทรงตัว ความผ่องใสและความเป็นหนุ่มเป็นสาว ไม่ต้องการความแก่ ไม่ต้องการความตาย เมื่อสภาวะของร่างกายมันเคลื่อนไปตามนี้ เมื่อความแก่มันเข้ามาถึง อารมณ์ใจมันก็เป็นทุกข์ ฝืนอารมณ์ใจของตนเอง นี่เป็นอันว่าเขาเรียกว่า พายเรือทวนน้ำ
    แล้วในที่สุดวิภวตัณหา เมื่อแก่เฒ่าก็ไม่เป็นไร อย่าเพิ่งตายเลย ใจมันว่าอย่างนั้น แต่ในที่สุดความตายมันก็เข้ามาถึงอีก เราห้ามไม่ได้ การไม่อยากตายใจมันก็เป็นทุกข์
    ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า ถ้าเราตัดทุกข์เพื่อพระนิพพานจริงๆ ต้องตัดที่ตัณหา คือ ความทะยาน อยากทั้ง ๓ ประการ
    กามตัณหา อยากตะเกียกตะกายเกินไป การทำมาหากินด้วยสัมมาอาชีวะ เราไม่เรียกกันว่าเป็นตัณหา รับราชการ เป็นลูกจ้าง เป็นชาวนา เป็นชาวไร่ ทำการค้าขายประกอบด้วยอาชีพสุจริต เขาเรียกว่า สัมมาอาชีวะ อย่างนี้ไม่เรียกตัณหา ใจมันสบายๆ ทำไปด้วยความดี ตามความสามารถให้เต็มที่ ไม่คดโกงใคร อย่างนี้องค์สมเด็จพระจอมไตร กล่าวว่า เป็นการเลี่ยงตัณหาข้อต้น คือ กามตัณหา
    ต่อมากำลังใจของบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน เพื่อจะรักษากำลังใจให้เป็นสุข เมื่อตอนกลางเข้ามา ทุกสิ่งทุกอย่างทรงตัว ทรัพย์สินเรามีร่างกายเราดี บ้านเรือนเราทรงตัว ก็จะมีความรู้สึกว่าทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านี้ มันเกิดขึ้นมาได้ มันก็สลายตัวได้ ถ้าเราไม่ใช้มัน ถ้าผลจากอทินนาทานมันเกิด ไฟมันก็ไหม้ ขโมยมันก็ลัก น้ำมันก็ท่วม แล้วก็ลมพัดให้พัง
    ต้องทำกำลังใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนี้มันมีเกิดขึ้นมาได้ มันก็สลายตัวได้ แม้แต่ร่างกายของเราเองก็ดี คนที่เรารักก็ดี เราเคารพ เราบูชาก็ดี ก็ต้องถือว่าท่านทั้งหมดนี้ไม่สามารถจะพ้นกฎของธรรมดาไปได้ ทำกำลังใจพร้อมไว้ว่า สิ่งใดที่เรารักหรือว่าคนที่เรารัก คนที่เราเคารพ คิดว่าสักวันหนึ่งข้างหน้า ท่านกับเราก็ต้องจากกัน ถ้าเราไม่จากไปเสียก่อน ท่านก็ต้องจากก่อน ทำใจไว้อย่างนี้ เมื่อของก็ดี บุคคลก็ดี จะต้องพลัดพรากจากกัน ใจมันก็เป็นสุข อย่างนี้ชื่อว่าหลบภวตัณหา
    แล้วตอนสุดท้าย การหลบวิภวตัณหา ก็ต้องตั้งกำลังใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนี่มันมีการเสื่อมได้ มันไม่ใช่แค่เสื่อมอย่างเดียว ในที่สุดมันก็ต้องพัง อาการพังมันปรากฏเมื่อไร ใจเรามันก็เฉยๆ ที่เรียกกันว่า สังขารุเปกขาญาณ เป็นอันว่าเมื่อยามที่สาม องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาทรงได้ญาณนี้ สมเด็จพระมหามุนีจึงได้ตัดสิน พระทัยตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน จัดว่าเป็นพระอรหันต์องค์แรกของโลก ประกาศตนเป็นพระพุทธเจ้า นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท การคุยกันในวันนี้ถ้าจะเล่าความเป็นมาโดยละเอียด บรรดาท่านพุทธบริษัทก็ทราบดีเพราะการที่องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณด้วยน้ำพระทัยอย่างไร อันนี้มีความสำคัญ สวัสดี

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=50></TD></TR><TR>
    <CENTER></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD width="100%">

    </TD></TR><TR><TD width="100%"></TD></TR><TR><TD width="100%">อ้างอิง
    • คัดลอกจากหนังสือ " อริยสัจ " โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    • http://www.banfun.com/buddha/enlightenment.html
    • ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง little buddha www.ljplus.ru/.../<WBR>little_buddha.jpg
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...