หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระสรุปหัวข้อธรรมะศีล ๕ และ กรรมบถ ๑๐เพื่อหนีนรกไปพระนิพพาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 16 ตุลาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    [​IMG]
    ศีล ๕ และ กรรมบถ ๑๐

    <DD>ศีล ๕ ประการ มีตามนี้
    ๑. ปาณาติบาต ( ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) พระพุทธเจ้าบอกว่า ทรงให้เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทางที่ดีก็เว้นจากการทรมานสัตว์เสียด้วย
    ๒. อทินนาทาน ( อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) ไม่ถือเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นไม่ให้มาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม
    ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ( กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) ให้เว้นจากการละเมิดความรัก คือ เป็นสามีและภรรยาของบุคคลอื่น ยินดีเฉพาะสามีและภรรยาของตนเอง
    ๔. เว้นจากการมุสาวาท ( มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) คือ การพูดไม่ตรงตามความเป็นจริง เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้รับฟัง
    ๕. เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย ( สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ) ข้อนี้หนักมาก ถ้าเมาเมื่อไหร่แย่เมื่อนั้น จำอะไรไม่ได้ ดีไม่ดี เห็นว่าพ่อเป็นเพื่อนไปอีก แต่บางคนเห็นพ่อเป็นฟุตบอลไปก็มี เตะพ่อตีแม่ อย่างนี้ก็มี


    <DD>กรรมบถ ๑๐
    ๑. กายกรรม ทำทางกาย ๓ ประการ
    <DD>๑. ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นฆ่า และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นฆ่าสัตว์แล้ว
    <DD>๒. ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นถือเอา และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นถือเอาของเขาแล้ว
    <DD>๓. ไม่ละเมิดกามารมณ์ในบุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น ไม่ยุให้คนอื่นละเมิด และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นละเมิดแล้ว

    ๒. วจีกรรม กล่าวทางวาจา ๔ ประการ
    <DD>๑. ไม่พูดจากที่ไม่มีความจริง
    <DD>๒. ไม่พูดวาจาหยาบ ให้เป็นที่สะเทือนใจของผู้รับฟัง
    <DD>๓. ไม่พูดจาสอดเสียด ยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน หรือไม่นินทาคนอื่น
    <DD>๔. ไม่พูดวาจาที่ไม่มีประโยชน์ คือ วาจาใดที่พูดไปไร้ประโยชน์ จะไม่พูดวาจานั้น
    <DD>ทั้ง ๔ ประการนี้จะไม่พูดเองด้วย ไม่ยุให้คนอื่นพูดด้วย และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นพูดแล้วด้วย

    ๓. มโนกรรม คือการคิดทางใจ ๓ ประการ
    <DD>๑. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาตให้ด้วยความเต็มใจ คือไม่คิดลักขโมย ยื้อแย่ง คดโกง เป็นต้น
    <DD>๒. ไม่คิดจองล้างจองผลาญ จองเวรจองกรรมผู้ใด คือ ไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่นในทุก ๆ กรณีนั่นเอง
    <DD>๓. มีความเห็นตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่มีอารมณ์คัดค้านคำสอนของพระองค์และปฏิบัติตาม จนมีผลตามที่ต้องการ
    <DD>ความรู้สึกนึกคิดทางใจ ๓ ประการนี้ ไม่คิดเองด้วย ไม่ยุให้ผู้อื่นคิดด้วย และไม่ยินดีเมื่อมีผู้อื่นคิดแล้ว

    <CENTER>( ศีล ๕ คัดจากหนังสือ แนะวิธีหนีนรกแบบง่าย ๆ หน้า ๘๗ )
    ( กรรมบถ ๑๐ คัดจากหนังสือ หนีนรก หน้า ๑๖ )</CENTER></DD><DD><CENTER>ที่มา http://www.putthawutt.com/html/menu.html</CENTER></DD>
     

แชร์หน้านี้

Loading...