หลวงพ่อพระราชพรหมยานอธิบายเรื่องจิตระดับฌานในกสิณ ๑๐

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 16 พฤศจิกายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>จิตระดับฌานในกสิณ ๑๐ </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]
    เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐ อย่าง นั้นมีอารมณ์ดังนี้ ฌานในกสิณนี้ท่านเรียก ฌาน ๔ บ้าง ฌาน ๕ บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าใจผิด ขออธิบายฌาน ๔ และฌาน ๕ ให้เขาใจเสียก่อน
    ฌาน ๔
    ฌาน ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน ท่านถืออารมณ์อย่างนี้
    ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือละ วิตก และวิจารณ์เสียได้ คงดำรงอยู่ในองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือละ วิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ดำรงอยู่ใน สุข กับ เอกัคคตา
    ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือละ วิตก วิตาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ใน เอกัคคตา กับเพิ่ม อุเบกขา เข้ามาอีก ๑

    ฌาน ๔ หรือที่เรียกว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๔ ท่านจัดไว้อย่างนี้ สำหรับในที่บางแห่งท่านว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๕ ท่านจัดไว้ดังต่อไปนี้
    ฌาน ๕
    ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ คือละ วิตก เสียได้ คงทรง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๓ คือละ วิตก วิจาร เสียได้ คงทรง ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือละ วิตก วิจาร ปีติ เสียได้ คงทรง สุข กับ เอกัคคตา
    ๕. ปัญจมฌาน หรือที่เรียกว่าฌาน ๕ มีองค์เหมือนกันคือ ละ วิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ใน เอกัคคตา และเพิ่ม อุเบกขา เข้ามาอีก ๑
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=130>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>เมื่อพิจารณาดูแล้วฌาน ๔ กับฌาน ๕ ก็มีสภาพอารมณ์เหมือนกัน ผิดกันนิดหน่อยที่ฌาน ๒ ละองค์เดียว ฌาน ๓ ละ ๒ องค์ ฌาน ๔ ละ ๓ องค์ มาถึงฌาน ๕ ก็มีสภาพเหมือนฌาน ๔ ตามนัยนั่นเอง อารมณ์ฌานมีอาการเหมือนกันในตอนสุดท้าย กสิณนี้ถ้าท่านผู้ปฏิบัติทำให้ถึงฌาน ๔ หรือฌาน ๕ ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญในกสิณนั้นเอง

    เมื่อได้แล้วก็ต้องฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่องแคล่ว กำหนดเวลาเข้า เวลาออกให้ได้ตามกำหนด จนเกิดความชำนาญ เมื่อออกเมื่อไร ได้ตามใจนึก การเช้าฌานต้องคล่อง ไม่ใช่เนิ่นช้าเสียเวลาแม้แต่ครึ่งนาที พอดิดว่าเราจะเข้าฌานละ ก็เข้าได้ทันที ต้องยึดฌาน ๔ หรือฌาน ๕ คือ เอาฌานที่สุดเป็นสำคัญ เมื่อเข้า ฌานคล่องแล้ว ต้องฝึก นิรมิต ตามอำนาจกสิณให้ได้คล่องแคล่วว่องไว จึงชื่อว่าได้กสิณกองนั้น ๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ถ้ายังทำไม่ได้ถึงไม่ควรย้ายไปปฏิบัติในกสิณกองอื่น การทำอย่างนั้นแทนที่จะได้ผลเร็วกลับเสียผล คือของเก่าไม่ทันได้ ทำใหม่ เก่าก็หาย ใหม่ก็ไม่ปรากฏผล ถ้าชำนาญช่ำชองคล่องแคล่วในการนิรมิต อธิษฐาน แล้วเพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกัน ต่างกันแต่สีเท่านั้น จะเสียเวลาฝึกกองต่อ ๆ ไปไม่เกินกองละ ๗ วัน หรือ ๑๕ วัน เป็นอย่างสูง จะนิรมิตอธิษฐานได้สมตามที่ตั้งใจของนักปฏิบัติ จงอย่าใจร้อน พยายามฝึกฝน จนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อน จึงค่อยย้ายกองต่อไป
    ที่มา http://www.geocities.com/4465/samadhi/kama401.htm



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาบุญจากการให้ธรรมทานของท่านผู้ตั้งกระทู้
    และอนุโมทนาบุญจากการร่วมสนทนาธรรมของทุกๆท่านนะครับ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...