หลวงพ่อพระราชพรหมยานสอนการพิจารณาอสุภกัมมัฏฐาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 19 พฤศจิกายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>การพิจารณาอสุภ <HR SIZE=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>การพิจารณาอสุภทั้ง ๑๐ นี้ ท่านสอนให้พิจารณาเพื่อถือเอานิมิตโดยอาการ ๖ อย่างดังต่อไปนี้

    ๑. พิจารณาโดยสี คือให้กำหนดว่า ซากศพนี้เป็นร่างกายของคนดำหรือคนขาว หรือเป็นร่างกายของคนที่มีผิวด่างพร้อย คือผิวไม่เกลี้ยงเกลา

    ๒. พิจารณาโดยเพศอย่ากำหนดว่า ร่างกายนี้เป็นหญิงหรือชาย พึงพิจารณาว่า ซากศพนี้เป็นร่างกายของคนที่มีอายุน้อย มีอายุกลางคน หรือเป็นคนแก่

    ๓.กำหนดพิจารณาโดยสัณฐาน คือกำหนดพิจารณาว่า นี่เป็นคอ เป็นศีรษะ เป็นท้อง เป็นเอว เป็นขา เป็นเท้า เป็นแขน เป็นมือ ดังนี้เป็นต้น

    ๔.กำหนดโดยทิศ ทิศนี้ท่านหมายเอาสองทิศ คือ ทิศเบื้องบน ได้แก่ทางด้านศีรษะ ทิศเบื้องต่ำ ได้แก่ทางด้านปลายเท้าของซากศพ ท่านมิได้หมายถึงทิศเหนือทิศใต้ ตามที่นิยมกัน ท่านให้สังเกตว่า ที่เห็นอยู่นั้นเป็นทางด้านศีรษะ หรือด้านปลายเท้า

    ๕. กำหนดพิจารณาโดยที่ตั้ง ท่านให้พิจารณากำหนดจดจำว่า ซากศพนี้ศีรษะวางอยู่ที่ตรงนี้ มือวางอยู่ตรงนี้ เท้าวางอยู่ตรงนี้ ตัวเราเอง เวลาที่พิจารณาอสุภนี้ เรายืนอยู่ตรงนี้

    ๖. กำหนดพิจารณาโดยกำหนดรู้ หมายถึงการกำหนดรู้ว่า ร่างกายสัตว์ และมนุษย์นี้ มีอาการ ๓๒ เป็นที่สุด ไม่มีอะไรสวยสดงดงามจริง ตามที่ชาวโลกผู้มัวเมาไปด้วยกิเลสหลงใหลใฝ่ฝันอยู่ ความจริงแล้วก็เป็นของน่าเกลียดโสโครก มีกลิ่นเหม็นคลุ้งมีสภาพขึ้นอืดพอง มีน้ำเลือดน้ำหนองเต็มร่างกายที่พอจะมองเห็นว่าสวยสดงดงาม พอที่จะอวดได้ก็มีนิดเดียว คือหนังกำพร้าที่ปกปิดอวัยวะภายใน ทำให้มองไม่เห็นสิ่งโสโครก คือ น้ำเลือด น้ำหนอง ดี เสลด ไขมัน อุจจาระ ปัสสาวะ ที่ปรากฏอยู่ภายใน แต่ทว่า หนังกำพร้าใช่ว่าจะสวยสดงดงามจริงเสมอไปก็หาไม่ ถ้าไม่คอยขัดถูแล้วไ่ม่นาน เท่าใดคือไม่เกินสองวันที่ไม่ได้อาบน้ำชำระร่างกาย หนังที่สดใสก็กลายเป็นสิ่งโสโครกเหม็นสาบเหม็นสาง ตัวเองก็รังเกียจตัวเอง

    เมื่อมีชีวิตอยู่ก็เอาดีไม่ได้ พอตายแล้วยิ่งโสโครกใหญ่ ร่างกายที่เคยผ่องใส ก็เป็นซากศพที่ขึ้นอืดพอง น้ำเหลือไหลมีกลิ่นเหม็นตลบไปทั่วบริเวณ คนที่เคยรักกันปานจะกลืน พอสิ้นลมปราณลงไปในทันทีก็พลันเกลียดกัน แม้แต่จะเอามือเข้ามาแตะ ต้องก็ไม่ต้องการ บางรายแม้แต่มองก็ไม่อยากมอง มีความรังเกียจซากศพ ซ้ำร้ายกว่านั้น เมื่ออยู่รัก และหวงแหน จะไปสังคมสมาคมกับใครอื่นไม่ได้ ทราบเข้าเมื่อไรเป็นมีเรื่อง

    แต่พอตายจากกันวันเดียวก็มองเห็นคนที่แสนรักกลายเป็นศัตรู กลัววิญญาณคนตายจะมาหลอกหลอนเกรงคนที่แสนรักจะมาทำอันตราย ความเลวร้ายของสังขารร่างกายเป็นอย่างนี้ เมื่อพิจารณากำหนดทราบเห็นแล้ว ก็น้อมนึกถึงสิ่งที่ตนรัก คือคนที่รัก ที่ปรารถนา ที่เราเห็นว่าเขาสวยสดงดงาม เอาความจริงจากซากอสุภเข้าไปเปรียบเทียบ พิจารณาว่า คนที่เรารักแสนรัก ที่เห็นว่าเขาสวยสดงดงามนั้นเขากับซากศพนี้มีอะไรแตกต่างกันบ้าง

    เดิมซากศพนี้ก็มีชีวิตเหมือนเขา พูดได้ เดินได้ ทำงานได้ แสดงความรักได้ เอาอกเอาใจได้ แต่งตัวสวยสดงดงามได้ ทำอะไร ๆ ได้ทุกอย่าง ตามที่คนรักของเราทำ แต่บัดนี้เขาเป็นอย่างนี้ คนรักของเราก็เป็นอย่างเขาเราจะมานั่งหลอกตนเองว่า เขาสวย เขางาม น่ารัก น่าปรารถนาอยู่เพื่อเหตุใด แม้แต่ตัวเราเองสิ่งที่เรามัวเมากายมัวเมาชีวิต หลงใหลว่าร่างกายเราสวยสดงดงามวิไลไม่ว่าอะไรน่ารักน่าชมไปหมด ผิวที่เต็มไปด้วยเหงื่อไคลเราก็เอาน้ำมาล้าง เอาสบู่มาฟอก นำแป้งมาทา เอาน้ำหอมมาพรม

    แล้วก็เอาผ้าที่เต็มไปด้วยสีหุ้มห่อ เอาวัตถุมีสีต่างๆ มาห้อยมาคล้องมองดูคล้ายบ้าหอบฟางแล้วก็ชมตัวเองว่าสวยสดงดงาม ลืมคิดถึงสภาพความเป็นจริง ที่เราเองก็หอบเอาความโสโครกเข้าไว้พอแรง เราเองเรารู้ว่าในกายเราสะอาดหรือสกปรก ปากที่เราว่าปากสวย ในปากเต็มไปด้วยเสลดน้ำลาย น้ำลายของเราเองเมื่ออยู่ในปากอมได้ กลืนได้ แต่พอบ้วนออกมาแล้ว กลับรังเกียจไม่กล้าแม้แต่จะเอามือแตะ นี่เป็นสิ่งสกปรกที่เรามีหนึ่งอย่างละ

    ต่อไปก็อุจจาระ ปัสสาวะ เลือด น้ำเหลือง ที่หลั่งไหลอยู่ในร่างกาย พอไหลออกมานอกกายเราก็รังเกียจทั้งๆ ที่เป็นตัวของเราเอง นี้ก็เป็นสิ่งโสโครกที่เป็นสมบัติของเราเองอีก

    น้ำเลือดน้ำเหลืองของซากศพที่เรามองเห็นนั้น ซากศพนั้นมีสภาพอย่างไรเมื่อตายไปแล้วจากความเป็นคนหรือสัตว์ เราเรียกกันว่าผีตาย เขามีสภาพอย่างไร คือตายแล้วมีน้ำเลือดน้ำเหลือง หลั่งไหลออกจากร่างกายฉันใด เราแม้ยังไม่ตาย สิ่งเหล่านั้นก็มีครบแล้ว คนที่เราคิดว่าสวยสดงดงามตามที่นิยมกัน ก็เต็มไปด้วยความโสโครกที่น่ารังเกียจเหมือนกัน เอาอะไรมาเป็นของน่ารักน่าปรารถนา เรารักคนก็มีสภาพเท่ารักศพ ศพนี้น่าเกลียดน่าชังเพียงใด คนรักที่เรารักก็มีสภาพอย่างนั้น

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>พยายามพิจารณาใคร่ครวญให้เห็นติดอกติดใจ จนกระทั่งเห็นสภาพของผู้ใดก็ตาม ที่เขานิยมกันว่า น่ารัก น่าชม นั้น เห็นแล้วมีความรู้สึกว่าเป็นซากศพทันที มีความรังเกียจสะอิดสะเอียนขึ้นมาทันทีทันใด เห็นคนหรือสัตว์มีสภาพเป็นซากศพไปหมด เต็มไปด้วยความรังเกียจที่จะสัมผัสถูกต้อง รังเกียจที่จะคิดว่าน่ารักน่าดู เพราะความสวยสดงดงาม เห็นผิวภายนอกก็มองเห็นภายใน คือเห็นเป็นสภาพถุงน้ำเลือด น้ำหนอง ถุงอุจจาระ ปัสสาวะ ที่เคลื่อนที่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พูดด้วยสนทนาด้วย ก็เห็นสภาพผู้ที่พูดจาสนทนาด้วย เป็นถุงอุจจาระ ปัสสาวะ และ ถุงน้ำเลือด น้ำหนอง มาพูดคุยด้วยคิดว่าขณะนี้เขามีสภาพเป็นถุง น้ำเลือด น้ำหนอง มาสนทนาปราศรัยกับเรา ต่อไปเขาก็จะกลายเป็นซากศพที่มีร่างกายอืดพอง น้ำเหลืองไหล ต่อไปกายก็จะขาดจากกันเป็นท่อนน้อย และท่อนใหญ่ สัตว์จะกัดกิน และในที่สุดก็จะเหลือแต่กระดูกกระจัดกระจายไป เขานี่เป็นผีตายชัดๆ เราก็เช่นเดียวกัน เขามีสภาพเช่นไร เราก็มีสภาพเช่นนั้น กายนี้ล้วนแต่เป็น อนิจจัง หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เลย

    แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่สะสมของโสโครกแล้ว แต่ถ้าจะยังยืนคู่ฟ้าคู่ดินก็ยังพอที่จะทนรักทนชอบได้บ้าง แต่เปล่าเลย ท่านหลงว่าสวยสดงดงามนั้นก็เป็นสิ่งหลอกลวง เต็มไปด้วยความโสโครกเท่านั้นยังไม่พอกลับหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้อีก ดิ้นรนกลับกลอกทรุดโทรมลงทุกวัน ทุกเวลา เคลื่อนเข้าไปหาความแก่ทุกวัน ทุกนาที ยิ่งมากวัน ความเสื่อมโทรมของร่างกายก็ทวีมากขึ้น จากความเป็นเด็กตัวเล็กๆ มาเป็นคนหนุ่ม คนสาว จากความเป็นคนหนุ่ม คนสาว มาเป็น คนแก่

    การเคลื่อนไปนั้นมิใช่เคลื่อนเปล่ายังนำเอาโรคภัยไข้เจ็บมาทับถมให้ไม่เว้นแต่ละวัน ปวดที่โน่น ปวดที่นี่ โรคแน่น โรคจุกเสียด ปวดร้าว มีตลอดเวลา อวัยวะที่เคยใช้คล่องแคล่วสมบรูณ์บริบรูณ์ด้วยกำลัง ก็ง่อนแง่นคลอนแคลน กำลังวังชาหมดไป ทำอะไรไม่ได้สะดวก หูก็หนัก ตาก็ฟาง ได้ยินเห็นอะไรไม่ถนัด เต็มไปด้วยทุกข์ จะห้ามปรามรักษาด้วยหมอวิเศษท่านใด ก็ไม่สามารถจะยับยั้งความเคลื่อน ความทรุดโทรมนี้ได้ ในที่สุดก็พังทลาย กลายเป็นซากศพ ที่ชาวโลกรังเกียจอย่างนี้

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>อัตภาพนี้เป็นสภาพโสโครกอย่างนี้ เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยงอย่างนี้ เป็น ทุกขัง ความทุกข์อันเกิดแต่ความเคลื่อนไปหาความเสื่อมอย่างนี้ เป็น อนัตตา เพราะเราจะบังคับบัญชาควบคุมไม่ให้เคลื่อนไปไม่ได้ ต้องเป็นไปตามกฏธรรมดา

    พิจารณาเห็นโทษทุกข์อันเกิดแต่ร่างกาย เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในร่างกายของตนเองและร่างกายของผู้อื่น เห็นสภาพร่างกายของตนเองและของผู้อื่นเป็นซากศพ หมดความพิสมัยรักใคร่ โดยเห็นว่าไม่มีอะไรสวยงาม เห็นเมื่อไรเบื่อหน่ายหมดความพอใจเมื่อนั้น เห็นคนมีสภาพเป็นศพทุกขณะที่เห็น อย่างนี้ท่านเรียกว่าได้อสุภกรรมฐานในส่วนของสมถภาวนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เห็นร่างกายเป็นซากศพ เบื่อในร่างกาย และเห็นว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยความไม่เที่ยง สกปรกโสมมแล้วยังหาความแน่นอนไม่ได้อีก เคลื่อนไปหาความแก่ตายทุกวันทุกเวลา ขณะที่เคลื่อนไปก็เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะต้องได้รับทุกข์จากโรค รับทุกข์จากการบริหารร่างกาย มีการประกอบการงานเป็นต้น ทุกข์เพราะ มีลาภ แล้ว ลาภหมดไป มียศ แล้ว ยศสิ้นไป มีสุข แล้ว ทุกข์ มาทับถม เดี๋ยวมีคำ สรรเสริญ มาป้อยอ แต่ไม่นานก็ถูก นินทา เป็นเหตุให้ใจเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะความเสื่อมโทรมของร่างกาย มีอวัยวะทุพพลภาพ หูหนัก ตาฟาง ฟันหัก ร่างกายร่วงโรย ความจำเสื่อม ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนของความทุกข์ทั้งสิ้น

    เห็นร่างกายเป็นทุกข์แล้วก็เห็นความดื้อด้านของสังขารร่างกายที่บังคับบัญชาไม่ได้ คือเห็นว่าความเสื่อมโทรมอย่างนี้เราไม่ต้องการ ก็บังคับไม่ได้ ไม่ต้องการให้ปวดเจ็บเมื่อยล้า แต่มันก็จะเป็น ไม่มีใครห้ามได้ ไม่ต้องการให้ระบบประสาทเสื่อมมันก็จะเสื่อมใครก็ห้ามไม่ได้ ไม่ต้องการตาย มันก็ตาย ไม่มีใครห้ามได้ สิ่งที่ห้ามไม่ได้นี้ ท่านเรียกว่า อนัตตา แปลว่าเป็นสิ่งเหลือวิสัยที่จะบังคับ ที่ท่านแปลอนัตตาว่า ไม่ใช่ตัวตนนั่นเอง เพราะถ้าเป็นตัวตนของเราจริงแล้ว เราก็บังคับได้ ถ้าบังคับไม่ได้ก็ไม่ใช่ตัวตนของเราแน่

    อารมณ์ที่เห็นว่าร่างกายนอกจากจะโสโครกน่าสะอิดสะเอียนเป็นซากศพแล้ว ยังไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความเบื่อหน่ายในการทรงสังขารร่างกาย เบื่อที่จะเกิดต่อไป เพราะถ้าเกิดมีร่างกายในภพใด ร่างกายก็จะมีสภาพโสโครกสกปรกเป็นซากศพและไม่เที่ยง เป็นทุกข์บังคับบัญชาไม่ได้อย่างนี้อีก ความเบื่อหน่ายในร่างกาย เบื่อในการเกิด เป็นนิพพิทาญาณในวิปัสสนาญาณ ถ้าท่านคิดใคร่ครวญ ในรูปสมถะให้เห็นซากศพอยู่เสมอ และใคร่ครวญหากฎธรรมดาควบคู่กันไป

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>คือเมื่อเกิดความทุกข์อันเกิดแต่การป่วยไข้ หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจ หรือความแก่เฒ่าเข้ารบกวน ท่านก็วางใจเฉยเสียไม่ดิ้นรนกระเสือกกระสน โดยคิดว่านี่เป็นเรื่องของธรรมดา เกิดมามันก็ต้องเจ็บไข้ไม่สบาย มีลาภแล้วลาภมันก็เสื่อมได้ มียศแล้วยศมันก็สิ้นได้ มีสุขแล้วทุกข์มันก็มีได้ มีคนสรรเสริญแล้วคนนินทาก็มีได้ เกิดแล้วก็ต้องตายได้ ทุกอย่างมันธรรมดาแท้ๆ จนจิตชินต่ออารมณ์ มีอะไรที่เป็นทุกข์เกิดขึ้น ก็รู้สึกว่าเป็นปกติ ไม่ดิ้นรนหวั่นไหวอย่างนี้ ท่านเรียกว่าได้สังขารุเปกขาญาณในวิปัสสนาญาณ เป็นคุณธรรมที่ใกล้ความเป็นผู้บรรลุพระโสดาบันแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    หมั่นคิดนึกไปเสมอๆ ถึงร่างกายที่มีสภาพเป็นซากศพ ร่างกายที่ไม่มีอะไรแน่นอน จนจิตคิดเป็นปกติว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ไม่หวั่นไหวต่อมรณภัย มีจิตใจศรัทธาเชื่อมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จิตว่างจากกรรมชั่วครู่ คือรักษาศีล ๕ ได้เป็นปกติ มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นปกติ คือใคร่ครวญปรารถนาแต่พระนิพพาน ไม่ต้องการความเกิดต่อไปอีก อย่างนี้ท่านว่าทรงคุณได้ในระดับพระโสดาบัน

    ฉะนั้น ขอให้นักปฏิบัติที่ปฏิบัติในอสุภกรรมฐาน จงอุตส่าห์พยายามกำหนดพิจารณาให้ขึ้นใจ จนได้ปฏิภาคนิมิตในที่สุด แล้วรักษานิมิตนั้นไว้อย่าให้เสื่อม ต่อไปก็ยกเอานิมิตนั้นขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ท่านจะเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ภายในไม่ช้าเลย การพิจารณาอย่างนี้ เรียกว่าพิจารณากำหนดรู้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www.geocities.com/4465/samadhi/kama402.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...