หลวงพ่อพระราชพรหมยานยกตัวอย่างพระลูกชายนายช่างทองมีโมหะจริตฝึกกสิณ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 19 พฤศจิกายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    พระลูกชายนายช่างทอง
    [​IMG]
    ตัวอย่างพระลูกชายนายช่างทอง ในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ เวลานั้นอัครสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู คือ พระสารีบุตร มีกุลบุตรมาบวชด้วย เป็นลูกชายนายช่างทอง เป็นคนหนุ่มและเป็นคนรวย ท่านก็มาคิดว่า คนหนุ่มคนรวยก็ดี มักจะหนักไปในความเจ้าชู้ นี่พูดแบบภาษาไทยๆ ถ้าพูดแบบภาษาธรรมะก็่ว่าเป็นคนมีราคจริต เพราะในฐานะที่คุณเธอเป็นคนโสด ก็เลยคิดอย่างนั้น ในเมื่อท่านคิดแบบนี้แล้ว ท่านก็เลยให้กรรมฐานคืออสุภกรรมฐาน และกายคตานุสสติกรรมฐาน ให้เธอเจริญ เพื่อเป็นการทำลายราคจริตคือความรักสวยรักงาม เป็นอันว่าพรรษาหนึ่งทั้งพรรษา พระลูกชายนายช่างทองจะว่าไ่ม่ได้ก็ไม่ได้ นั่งหลับตาภาวนาพิจารณาไป แต่จิตใจไม่มีอะไรเป็นผล เมื่อถึงเวลาออกพรรษาแล้ว พระสารีบุตรก็คิดว่า กุลบุตรผู้นี้ไม่ใช่วิสัยของตนที่ควรจะฝึก ควรจะเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า

    ตอนนี้อาจจะไม่เข้าใจ ความจริงมีอยู่ว่า บุคคลบางคนเขาบำเพ็ญบารมีมาเพื่อพระพุทธเจ้าทรงฝึกโดยตรง อันนี้คนอื่นฝึกไม่มีผล บางคนบำเพ็ญมาให้ใครจะฝึกก็ได้ อันนี้พระสาวกฝึกได้ผล ในสมัยเวลานี้ก็เหมือนกัน คนที่มาคณะเราทุกคนจะให้เขาได้ผลเหมือนกันกับเราอย่างน้อยที่สุดเกิดสัทธาก็ไม่ได้เหมือนกัน ว่าโดยอัธยาศัยเดิม บารมีเดิมมาไม่มีมาเพื่อเราจะฝึกฝนได้ จะไปกะเกณฑ์ให้เขาได้มรรคได้ผลอันนี้ไม่ต้องพูดถึง หรือได้ฌานโลกีย์ก็ไม่ต้องพูดถึง แม้แต่ให้เขาเลื่อมใสสัทธามันก็ไม่มี นี่เรียกว่าไม่ใช่คนเป็นคู่ปรับกัน

    เมื่อพระสารีบุตรดำริดังนั้น ก็นำพระลูกชายนายช่างทองไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลให้ทรงทราบว่า อยู่กับท่านมา ๓ เดือน คือ ๑ พรรษา สอนอสุภกรรมฐาน กับกายคตานุสสติ ในฐานะที่เป็นคนหนุ่มให้ระงับความพอใจในความสวยสดงดงาม แล้วเธอไม่ได้อะไรเลย พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาแล้วได้ความทราบชัด คือพระพุทธเจ้าไม่ต้องนั่งเสียเวลาภาวนา เห็นเข้าก็รู้เลยว่าคนนี้ควรจะฝึกแบบไหนจึงได้ บอกพระสารีบุตร ดูก่อน สารีบุตร เธอกลับได้ กุลบุตรผู้มีสัทธาที่ตถาคตไม่สามารถจะสอนให้ได้มรรคผลนั้น ไม่มี

    เมื่อพระสารีบุตรลุกไปแล้ว องค์สมเด็จพระชินสีห์ ทรงทราบว่าพระลูกชายนายช่างทองไม่ใช่เป็นคนมีราคจริต เป็นคนหนักไปในทางโทสะจริต คือเป็นคนโมโหง่าย ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงให้โลหิตกสิณแทนที่จะให้อสุภกรรมฐาน โดยทรงเนรมิตดอกบัวทองคำขึ้นมาดอกหนึ่ง มีสีแดง กสิณสีแดงนี่เขาเรียกโลหิตกสิณ แล้วก็สั่งให้พระลูกชายนายช่างทองไปนั่งที่กองทรายหน้าวิหาร เอาดอกบัวสีแดงไปปัก เอาก้านปักเข้ากับกองทราย ลืมตาจำภาพให้ได้ เวลาหลับตานึกถึงภาพแล้วนั่งภาวนาว่า สีแดงๆ ๆ ให้ภาวนาค้ำใจเข้าไว้ เกรงว่าใจมันยังจะกระสับกระส่าย คำภาวนาเป็นเครื่องโยงใจให้เข้าถึงจุด และถ้าหากว่าบังเอิญจิตใจมันฟุ้งซ่าน ภาพมันเลือนไปก็ลืมตาขึ้นมาดูใหม่ จำภาพได้แล้วภาวนา สีแดง ๆ ๆ
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=181>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>พระลูกชายนายช่างทองก็ไปปฏิบัติแบบนั้น คือเอาก้านปักลงไปกับทราย ทำเนินทรายขึ้น ลืมตาจำภาพดอกบัว จำภาพได้แล้วก็หลับตา นึกถึงภาพว่าสีแดงๆ พอภาพนั้นมันเลือนไปจากใจก็ลืมตาไปดูใหม่ ทำอย่างนี้ ๒ ถึง ๓ ครั้ง ปรากฏว่าเธอได้ฌาน ๔ ให้ดอกบัวนั้นเป็นสีแดง แต่ถ้าเวลาหลับตาไปภาวนาไปนึกถึงภาพดอกบัว ภาพของดอกบัวกลายจากสีแดง เป็นสีเหลือง จากสีเหลืองเป็นสีขาว กลายจากสีขาวเป็นสีประกายพรึกแพรวพราว จะบังคับให้ใหญ่ก็ได้ จะบังคับให้เล็กก็ได้ ให้สูงได้ ให้ต่ำได้ อยู่ข้างหน้าอยู่ข้างหลังก็ได้ จนคล่องแคล่วดีแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    องค์สมเด็จพระประทีปแก้วอยู่ ณ พระมหาวิหาร สมเด็จพระพิชิตมารจึงได้ดำริว่า เวลานี้พระลูกชายนายช่างทองได้ฌาน ๔ แล้ว ต่อไปเป็นตอนของวิปัสสนาญาณ ถ้าเราไม่ช่วยเธอๆ จะสามารถได้บรรลุมรรคผลไหม องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณว่า ถ้าเราไม่ช่วยไม่ได้มรรคผลแน่ เราต้องช่วย วิธีช่วยของพระองค์ พระลูกชายนายช่างทององค์นั้นกำลังเพลิน เพลิดเพลินมีความสุขใจ จิตเป็นอุเบกขารมณ์ก็ทรงสบาย ไม่ต้องลืมตาเลย เห็นภาพดอกบัวแพรวพราว สวยสดงดงาม บังคับให้อยู่ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง นึกไปอยู่ที่ไหนก็ได้ตามความประสงค์เกิดความชื่นใจ

    องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงทรงเนรมิตดอกบัวเดิมให้มีสีเศร้าหมองเหี่ยวแห้งลงไป พระลูกชายนายช่างทองเล่นฌานจนเพลิน มีความชุ่มชื่นดีแล้วก็ลืมตาขึ้นมาดูใหม่ ดูดอกบัวสีแดง คราวนี้ความสดใสของดอกบัวไม่ปรากฏ สีก็เศร้าหมอง กลีบก็เหี่ยว เกสรก็แห้ง เอ๊ะ นี่มันเป็นอย่างไรกันแน่ ท่านก็มานึกในใจว่ามันอย่างไรกันนี่ เมื่อกี้ยังดีๆ อยู่ เอาล่ะ มันจะเหี่ยวมันจะแห้งก็ช่างมัน ก็มานึกในใจว่า ชีวิตและร่างกายของคนกับดอกบัวนี่มันมีสภาพคล้ายคลึงกัน เมื่อมีความเกิดขึ้นแล้วก็มีความเปลี่ยนแปลงไป สึกหรอ ร่อยหรอ ลงไปแบบนี้ มันหาอะไรคงที่ไม่ได้ พิจารณาแบบนี้ไปจนชื่นใจ เห็นภาพก็คงเป็นไปตามเดิม สำหรับภาพเป็นประกายตามเดิม แต่ว่าดอกบัวจริงๆ เศร้าหมอง จิตใจก็คงที่ลดลงไปจากอำนาจกิเลส

    ต่อมา องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงเห็นจิตของเธอหดเหี่ยวลงไปเล็กน้อยแล้ว ชักจะหมดกำลังแล้ว เห็นว่าร่างกายมันไ่ม่เที่ยงมันเป็นทุกข์แบบนี้ มันหาอะไรทรงตัวไม่ได้ องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้เนรมิตดอกบัวให้มีกลีบหล่น เกสรหล่น ความเหี่ยวแห้งปรากฏ ก้านค้อมลงไปจนทนไม่ไหว เรียกว่าหมดสภาพของความเป็นดอกบัว เธอพิจารณาตามปกติพอสบายใจลืมตามาดูดอกบัวใหม่ เอาแล้ว เมื่อกี้แค่เหี่ยวเท่านั้น เวลานี้กลีบก็หล่นหมดแล้วหรือนี่ เกสรก็ร่วง มันงอหงิกเหี่ยวจะตายอยู่แล้ว มันแห้งไปเสียหมดแล้ว ก็เลยหลับตาใหม่ มานั่งนึกถึงชีวิตของตัว โอหนอ ร่างกายของเรานี้ไม่ต่างกับพืชพรรณธัญญาหาร ถึงดอกบัวนี้เดิมก็ดีเป็นสาระเป็นแก่นสาร มีความแข็งแรงมาก เป็นดอกบัวทองคำ แล้วอยู่ๆ ต่อมาก็เหี่ยวแห้งลงไป เวลานี้กลีบดอกบัวทั้งหลายก็หล่นหมด เกสรก็ร่วงหมด ความแห้งปรากฏมาก ก้านที่เหี่ยวแห้งลงไป ไม่สามารถจะต้านทานแม้แต่ฝักเล็กๆ ที่เป็นของเดิมภายในก็หักลงไป

    แล้วมานั่งพิจารณา่ว่าชีวิตและร่างกายของเรานี้ก็เหมือนกับดอกบัว มันไม่มีอะไรเป็นของจีรังยั่งยืน ไม่มีอะไรคงที่ ทั้งนี้ก็เพราะว่ามันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ขณะที่ทรงตัวก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ดอกบัวเหี่ยว ดอกบัวไม่รู้ตัวว่ามันจะทุกข์ เพราะมันไม่มีจิตใจ แต่เราเป็นคนที่มีจิตใจ ใจจับอยู่ในกาย ไปยึดถือว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา มันก็มีความทุกข์เพราะว่าร่างกายนี้เป็นของธรรมดา มันมีความทรุดโทรมเป็นของธรรมดา เป็นเรื่องต่อไปข้างหน้า อันนี้เป็นความจริงแท้ นี่ดอกบัวกับเรามีสภาพอย่างนั้น ในเมื่อทรุดโทรมลงไปแล้ว ในที่สุดมันก็สลายตัวลงไปหมดสภาพฉันใด แม้ชีวิตและร่างกายเราก็มีสภาพเช่นนั้น คือว่ามันเกิดแล้วไม่ช้า มันก็สลาย มันก็พังลงไป

    ตอนนี้ละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ท่านก็เลยหมดอาลัยในชีวิต หมดอาลัยในร่างกาย คิดอยู่ว่านี่เรามาหลงร่างกายว่ามันเป็นเรามันเป็นของเรามันมีสภาพคงที่ แต่เนื้อแท้ที่จริง เวลาที่เราเกิดใหม่ๆ มันเกิดเป็นเด็ก เวลานี้มันโตเป็นผู้ใหญ่ มันมีการเจริญขึ้นเหมือนกับดอกบัว ที่เกิดมาใหม่ๆ มันก็เล็กเป็นตุ่มน้อย ต่อมามันก็ขยายตัว มีความเจริญถึงบานเต็มที่ บานเต็มที่แล้วก็ในที่สุดดอกบัวก็คลายตัวมาถึงความเหี่ยวแห้ง แล้วก็สลายตัว ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ร่างกายของเราก็จะมีสภาพเหมือนดอกบัวอย่างนี้ ในที่สุดก็จะล้มทับบนพื้นปฐพี เรียกว่าตาย มีประโยชน์อะไร เป็นอันว่าร่างกายของเรานี้มีสภาพใช้ไม่ได้ ไม่ควรคบ คือมันมีสภาพกลับกลอกไม่คงที่ จะบำรุงบำเรออย่างไรก็ตามที มันก็ไม่หยุดยั้งในการเสื่อมเพื่อจะสลายตัว

    เมื่อท่านมาพิจารณาแบบนี้แล้วก็คิดว่า ถ้าร่างกายเกิดขึ้นมามันไม่มีประโยชน์ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างนี้คิดว่าไม่ควรจะมีกับเราอีก เพราะอาศัยอารมณ์ที่จับอยู่ในฌาน ๔ เกิดปัญญา มันเกิดมาก ความแหลมคมมาก กำลังใจมีกำลังสูง ชั่วครู่เดียวเธอก็สำเร็จอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
    จบกสิณ ๑๐ แต่เพียงเท่านี้
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    ที่มาhttp://www.geocities.com/4465/samadhi/kama401.htm
     
  2. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาบุญจากการให้ธรรมทานของท่านผู้ตั้งกระทู้ นะครับ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...