หนังสือ อุปปาตะสันติ (มหาสันติงหลวง) แปลไทย

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย oat0813472244, 19 กรกฎาคม 2019.

  1. oat0813472244

    oat0813472244 ศูนย์เผยแพร่พระพุทธศาสนาไตรลักษณ์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2019
    โพสต์:
    374
    ค่าพลัง:
    +61
    คัมภีร์ อุปปาตะสันติ (มหาสันติงหลวง) แปลไทย
    ขนาด 14.5*21 cm จำนวน 80 หน้า
    ขนาด A5 (ครึ่งนึงของ A4)
    กระดาษ ปอนด์สีขาว ไสกาว เคลือบ เงา อย่างดี


    e_1504831.jpg

    สารบัญ
    - คำนำ
    - ประวัติคัมภีร์อุปปาตะสันติ
    - ข้อแนะนำการอ่านบาลี อักษรไทย
    - บทสวด อุปปาตะสันติ...บทสวดสงบเหตุร้าย
    พร้อมคำแปล ทุกบท // ทุกวรรค // จำนวน ๒๗๑ พระคาถา


    ข้อความบางตอนจากหนังสือ
    อุปปาตะสันติ
    แปลว่า
    บทสวดเพื่อสงบเคราะห์กรรม สวดเพื่อสงบเหตุร้าย และสวดเพื่อสงบ
    สิ่งที่กระทบกระเทือน
    เนื้อความ อุปปาตะสันติ สรุปได้ว่า
    เป็นธรรมที่กระทำความสงบอันยิ่งใหญ่
    เป็นธรรมเครื่องสงบเหตุร้ายทั้งปวง
    เป็นธรรมเครื่องป้องกันอมนุษย์ และยักษ์
    เป็นธรรมเครื่องพ้นจากความตายก่อนกำหนดเวลา
    เป็นธรรมเครื่องย่ำยีกำลังของข้าศึก
    เป็นธรรมเครื่องจำเริญชัยชนะแด่พระราชา
    เป็นธรรมเครื่องนำสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาทั้งปวงออกไป...

    ...................................................................................


    p_1052473.jpg e_1460752.jpg
    e_1460753.jpg

    คัมภีร์อุปปาตะสันติภาษาบาลีนี้ มีคำชี้แจงเพื่อทราบประวัติย่อต่อไปนี้

    ๑. อุปปาตะสันติ
    แยกเป็น ๒ คำ คือ อุปปาตะ คำ ๑ และ สันติ คำ ๑ อุปปาตะ แปลว่า
    เคราะห์กรรม, เหตุร้าย, อันตราย
    และแปลว่าสิ่งกระทบกระเทือน อุปปาตะสันติ แปลว่า
    บทสวดสงบเคราะห์กรรม แปลว่าบทสวดสงบอันตราย
    แปลว่าบทสวดสงบเหตุร้าย
    และแปลว่าบทสวดสงบสิ่งกระทบกระเทือน

    ๒. คัมภีร์อุปปาตะสันติ เป็นวรรณคดีบาลีลานนาไทย
    พระสีลวังสะมหาเถระ แต่งที่เชียงใหม่ สมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง
    พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง พ.ศ. ๒๐๑๐ เป็นคาถาล้วนจำนวน ๒๗๑ คาถา
    จัดเข้าในหนังสือประเภท “เชียงใหม่คันถะ”

    คือ คัมภีร์เชียงใหม่มีอายุประมาณ ๖๐๐ ปีเศษแล้ว
    มีคำเล่าว่า สมัยแต่งอุปปาตะสันตินั้น ที่เมืองเชียงใหม่นั้นมีโจรผู้ร้ายและ
    คนอัทธพาลชุกชุมมากผิดปกติมีเหตุร้าย
    และสิ่งกระทบกระเทือนอยูเสมอ พระสีลวังสะ จึงให้พระสงฆ์
    สามเณรและประชาชนพากันสวดและฟังอุปปาตะสันติ
    เพื่อกลับร้ายให้กลายเป็นดี มีผู้เลื่อมใสคัมภีร์นี้มาก
    และถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์


    ต่อมาชาวพม่ามีความเลื่อมใส
    นำคัมภีร์นี้เข้าไปในประเทศพม่า เข้าใจว่านำเข้าไป
    ที่เมืองอังวะก่อนแล้วแพร่หลายไป
    ทั่วประเทศพม่าสมัย ๕๐๐ ปีที่ล่วงแล้ว
    ชาวพม่าทั้งพระสงฆ์และประชาชนถือว่า
    คัมภีร์อุปปาตะสันติ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก นิยมท่อง
    นิยมสวดและนิยมฟังอย่างกว้างขวาง
    มีคำเล่ากันว่า สมัยหนึ่งพวกจีนมาตีเมืองอ้งวะ
    ประเทศพม่า ชาวพม่าทั้งพระสงฆ์ ข้าราชการ
    และประชาชนพากันสวดคัมภีร์อุปปาตะสันติ
    พวกจีนได้ฟังอุปปาตะสันติโฆษณาคือ
    เสียงกึกก้องของอุปปาตะสันติ ก็มีความกลัวแล้วพากันหนีกลับไป

    ๓. บุคคลและสภาวะที่อ้างถึง
    ในคัมภีร์อุปปาตะสันติมี ๑๓ ประเภทคือ

    ๓.๑ พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตถึงปัจจุบัน (เน้นที่ ๒๘ พระองค์)

    ๓.๒ พระปัจเจกพุทธเจ้า

    ๓.๓ พระพุทธเจ้าในอนาคต ๑ พระองค์ คือ พระเมตไตรย

    ๓.๔ โลกุตตรธรรม ๙ และพระปริยัติธรรม ๑ ๓.๕ พระสังฆรัตนะ

    ๓.๖ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ๑๐๘ รูป

    ๓.๗ พระเถรีชั้นผู้ใหญ่ ๑๓ รูป

    ๓.๘ พยานาค

    ๓.๙ เปรตบางพวก

    ๓.๑๐ อสูร

    ๓.๑๑ เทวดา

    ๓.๑๒ พรหม

    ๓.๑๓ บุคคลประเภทรวม เช่น เทวดา ยักษ์ ปีศาจ

    คือผีที่ทำสิ่งใดๆ อย่างโลดโผน

    และวิชชาธรหรือพิทยาธร(สันสกฤตเรียกวิทยาธร)

    44444.jpg
    ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเรียกพวกเซอเร่อ คือ พ่อมด แม่มด หรือผู้วิเศษ พวกวิชชาธร
    เป็นพวกรอบรู้เรื่องเครื่องรางและเสน่ห์ต่างๆ สามารถไปทางอากาศได้
    เรื่องราวเย็นอกเย็นใจที่สังคมมุ่งหวังและเสาะแสวงหา
    ที่กล่าวถึง ในคัมภีร์อุปปาตะสันติ
    มีประการที่สำคัญ ๓ อย่างคือ

    ก. สันติหรือมหาสันติ ความสงบ ความราบรื่น ความเยือกเย็น ความไม่มีคลื่น
    ข. โสตถิ ความสวัสดี ความปลอดภัย ความเป็นอยู่เรียบร้อย หรือตู้นิรภัย
    ค. อาโรคยะ ความไม่มีสิ่งเป็นเชื้อโรค ความไม่มีโรคหรือความมีสุขภาพสมบูรณ์

    คัมภีร์อุปปาตะสันติ มีข้อความขอความช่วยเหลือ ขอให้พระรัตนตรัยและบุคคล
    พร้อมทั้งสิ่งทรงอิทธิพลในจักรวาลรวม ๑๓ ประเภทดังกล่าวมาแล้วช่วยสร้างสันติ
    หรือมหาสันติ ช่่วยสร้างโสตถิและอาโรคยะ ช่วยปรุงแต่งสันติและอาโรคยะ
    ขอให้ช่วยรวมสันติ รวมโสตถิและรวมอาโรคยะ และขอให้ช่วยเป็นตู้นิรภัยคุ้มครองและ
    กำจัดเหตุร้ายอันตรายหรือสิ่งกระทบกระเทือนต่างๆ อย่าให้เกิดมีในตน ในครอบครัว
    ในหมู่คณะ หรือในวงงานของตน และในวงงานของคนอื่นทั่วไป

    ๔. อานิสงฆ์การสวดและการฟังอุปปาตะสันติ
    มีคุณประโยชน์ตามที่กล่าวไว้ ในท้ายคัมภีร์ มีดังนี้


    ๔.๑ ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ ย่อมชนะเหตุร้ายทั้งปวงได้ และมีวุฒิภาวะคือ
    ความเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ

    ๔.๒ ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ ย่อมได้ประโยชน์ที่ตนต้องการ คือ
    ผู้ประสงค์ความปลอดภัยย่อมได้ความปลอดภัย คนอยากสบายย่อมได้ความสุข
    คนอยากมีอายุยืน ย่อมได้อายุยืน คนอยากมีลูก ย่อมได้ลูกสมประสงค์

    ๔.๓ ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ ย่อมไม่มีโรคลมเป็นต้นมาเบียดเบียน
    ไม่มีอกาละมรณะคือตายก่อนอายุขัย ทุนนิมิตรคือลางร้ายต่างๆมลายหายไป

    ๔.๔ ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ เมื่อเข้าสนามรบย่อมชนะข้าศึก
    ทั้งปวงและแคล้วคลาดจากอาวุธทั้งปวง

    ๕. เดชของอุปปาตะสันติ
    การสวดอุปปาตะสันติเป็นประจำ ย่อมมีเดชดังนี้

    ๕.๑ อุปปาตะ คือเหตุร้ายหรือสิ่งกระทบกระเทือน
    อันเกิดจากแผ่นดินไหวเป็นต้น ย่อมพินาศไป (ปะถะพะยาปาทิสัญชาตา)

    ๕.๒ อุปปาตะ คือ คือเหตุร้ายหรือสิ่งกระทบกระเทือน
    อันเกิดจากลูกไฟที่ตกจากอากาศหรือสะเก็ดดาว ย่อมพินาศไป (อุปปาตะจันตะลิกขะชา)

    ๕.๓ อุปปาตะ คือ คือเหตุร้ายหรือสิ่งกระทบกระเทือน
    อันเกิดจากการเิกิดจันทรุปราคาหรือสุริยุปราคา เป็นต้น ย่อมพินาศไป (อินทาทิชะนิตุปปาตา)

    ๖. คัมภีร์อุปปาตะสันติ
    เป็นคัมภีร์ไทย แต่ต้นฉบับได้จากเมืองไทย
    ไปอยู่เมืองพม่าเสียนาน จนแทบกล่าวได้ว่า
    คนไทยสมัยหลังไม่มีใครรู้จัก ไม่เคยได้ยินแม้แต่ชื่อ
    ข้าพเจ้าจึงชำระและจัดพิมพ์เป็นอักษรไทย
    ด้วยวิธีเขียนให้คนอ่านคำบาลีทั่วไป สำหรับต้นฉบับนั้น
    ข้าพเจ้ามีแต่ฉบับเมืองพม่า และเป็นอักษรพม่า
    โดยท่านอาจารย์ธรรมานันทะธัมมาจริยะ ครูพระไตรปิฏก
    ประจำวักโพธาราม ได้กรุณาถวาย ข้าพเจ้าจึงขอขอบคุณอย่างยิ่งไว้ในที่นี้

    การที่ข้าพเจ้าได้ชำระและจัดพิมพ์อุปปาตะสันติ
    เป็นอักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรกนี้
    ข้าพเจ้าถือว่าเป็นการนำคัมภีร์ไทยโบราณกลับคืนสู่เมืองไทย เพื่อให้คนไทยได้รู้จัก
    ได้ศึกษา ได้สวด และได้ฟังให้เกิดประโยชน์ทางสันติ ทางโสตถิและทางอาโรคยะ
    สืบไป ในที่สุดนี้ข้าพเจ้าขอถือโอกาสเชิญชวนมวลพุทธศาสนิกชนชาวไทย
    พร้อมกันยกมือสาธุแสดงความชื่นชมโสมนัสต่อการกลับมา
    โดยสวัสดีของคัมภีร์อุปปาตะสันติ
    โดยทั่วกันทุกท่านเทอญ

    พระเทพเมธาจารย์ ๗ สิงหาคม ๒๕๐๕ วัดโพธาราม จ.นครสวรรค์
     
  2. oat0813472244

    oat0813472244 ศูนย์เผยแพร่พระพุทธศาสนาไตรลักษณ์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2019
    โพสต์:
    374
    ค่าพลัง:
    +61
    e_1581118.jpg p_2030716.jpg

    คัมภีร์พระอภิธรรม มัตถสังคหะอรรถ แปล ฉบับหลวง
    อภิธรรม7คัมภีร์ แบบพกพา
    รูปแบบ : แผ่นพับ : กระดาษ
    25.5 x 11 เซนติเมตร
    เนื้อในตัวอักษร สีน้ำเงิน ตัวอักษรขนาดใหญ่ อ่านง่ายสบายตา
    มีสวดพุทธาภิเศก - สวดมอญ - สวดลาว บรรจุภาพวาดประกอบ
    200 ภาพ ประกอบบทสวด เป็นฉบับถาวรนิยมที่สุดแห่งประเทศไทย

    หัวข้อสารบัญของพระคัมภีร์ นี้ คือ
    - บทสวดปณามคาถาพระอภิธัมมัตถสังคหะ
    (ปริจเฉท ที่ 1-9 ครบทุกบท)
    - สัพพี อรรถแปล
    - อทาสิเม อรรถแปล
    - ภวตุสัพ อรรถแปล
    - พระมาลัยสังเขป
    ทำนองหญิง
    ทำนองเดินดง
    ทำนวงสีนวน
    ทำนองสีนวนชมดง
    ทำนองกบเต้น
    ทำนองตลิงท่อมติง
    ทำนองลูกท้อ
    ทำนองก่ำมณี
    ทำนองร้องโอย
    ทำนองเดินราบ
    ทำนองทะยอยแขก
    ทำนองทะยอยมอญ
    ทำนองตลุงทะยอย
    ทำนองแขกแก่
    - สวดมอญหรือรามัญ
    - ปณิณณกถาคาแปล


    -โมกขูปายคาถา สวดรับเทศน์
    -สวดแจงหรือสังคายนา
    - พระอภิธรรม 7 คัมภีร์
    - เมตตาพรหมวิหารคาถาภาวนา สวดต่อท้ายพุทธาภิเศก
    ฯลฯ


    ในแผ่นพับสำหรับท่านที่จะซื้อไปเพื่อถวายพระ
    จะมีคำจารึกและคำอุทิศถวายกุศลของผู้สร้าง
    สามารถเขียน คำอุทิศส่วนบุญกุศลให้แด่ผู้วายชนม์ได้อีกด้วย

    e_1581120.jpg
    e_1580442.jpg

    หนังสือสวดมนต์สังคหะอรรถแปล เล่มนี้ ได้พิมพ์จำหน่ายอย่างแพร่หลาย
    จนได้รับความนิยมเป็นอันมาก จากพระนักสวดทั่วประเทศ จนหมดสิ้นลง
    ทั้งนี้ เพราะมีคำสวดพรักพร้อม เลือกสวดเลือกใช้ได้ตามความต้องการ
    ยิ่งในการพิมพ์ครั้งนี้ เป็นครั้งสมบูรณ์ที่สุด เพราะพิมพ์บทสวดต่างๆ เพิ่มเติม
    ขึ้นอีกมาก จึงเป็นฉบับอมตะมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

    อย่างไรก็ดี สำหรับการสวดทุกประเภท ทุกทำนอง สวดทำนองใดๆ ก็ได้ ฟังเพราะทุกทำนอง
    แต่หลักการสวดมีอยู่ว่า ต้องซ้อมเพื่อออกเสียงอักขระให้พร้อมเพรียงกันดี ประการหนึ่ง
    และอีกประการหนึ่งต้องต้องประกอบเสียงสวดให้กลมกล่อมเข้ากันตามเสียงสูงเสียงต่ำ
    และการเอื้อแห่งทำนองนั้นๆ ผู้ฟังจะเสนาะโสต และนิยมยกย่องว่าสวดดี
    ในที่สุดนี้ จึงหวังว่า การพิมพ์สังคหะอรรถแปลฉบับหลวงครั้งนี้ คงจักได้รับเมตตาอุปภัมภ์
    จากท่านที่เคารพโดยทั่วกัน.

    e_1581119.jpg
    e_1580437.jpg
    e_1580438.jpg
    e_1580439.jpg
    e_1580435.jpg
    e_1581121.jpg
    e_1580440.jpg
    e_1580441.jpg
    e_1580436.jpg
    e_1580434.jpg
     
  3. oat0813472244

    oat0813472244 ศูนย์เผยแพร่พระพุทธศาสนาไตรลักษณ์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2019
    โพสต์:
    374
    ค่าพลัง:
    +61
     

แชร์หน้านี้

Loading...