ส่งการบ้าน สันถวรรค๑. อินทสมานโคตตชาดก-๕. นกุลชาดก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Siranya, 27 พฤษภาคม 2010.

  1. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    <center>๒. สันถวรรค
    </center><center>๑. อินทสมานโคตตชาดก
    </center><center>ว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ
    </center> [๑๗๑] บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมกับบุรุษชั่วช้า ท่านผู้เป็นอริยะ รู้ประโยชน์
    อยู่ ไม่พึงทำความสนิทสนมกับอนารยชน เพราะอนารยชนนั้น แม้อยู่
    ร่วมกันเป็นเวลานาน ก็ย่อมทำบาปกรรม ดุจช้างผู้ทำลายล้างดาบสชื่อ
    อินทสมานโคตร ฉะนั้น.
    [๑๗๒] บุคคลพึงรู้บุคคลใดว่า ผู้นี้เช่นเดียวกับเรา โดยศีล ปัญญา และสุตะ
    พึงทำไมตรีกับบุคคลนั้นนั่นแล เพราะการสมาคมกับสัตบุรุษนำมาซึ่ง
    ความสุขแท้.

    <center>
    จบ อินทสมานโคตตชาดกที่ ๑.



    <center>๒. สันถวชาดก
    </center><center>ว่าด้วยความสนิทสนม
    </center> [๑๗๓] สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนม
    กับบุรุษเลวทราม เป็นความชั่วช้า เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้วด้วย
    สัปปิและข้าวปายาส ยังไหม้บรรณศาลาที่เราทำได้ยากให้พินาศ.
    [๑๗๔] สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนม
    กับสัตบุรุษ เป็นความประเสริฐ สามามฤคีเลียปากราชสีห์ เสือโคร่ง
    และเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่สนิทสนมกัน.

    <center>
    จบ สันถวชาดกที่ ๒.



    <center>๓. สุสีมชาดก
    </center><center>ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะ
    </center> [๑๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่าสุสีมะ ช้างประมาณ ๑๐๐ เชือกเศษนี้
    ประดับด้วยข่ายทอง เป็นของพระองค์ พระองค์ทรงระลึกถึงการกระทำ
    แห่งพระบิดา และพระอัยยกาของพระองค์อยู่เนืองๆ ตรัสว่า เราจะให้
    ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็นความจริงหรือ พระเจ้าข้า?
    [๑๗๖] ดูกรพ่อมาณพ ช้างประมาณ ๑๐๐ เชือกเศษนี้ประดับด้วยข่ายทอง ซึ่ง
    เป็นของเรา เราระลึกถึงการกระทำแห่งพระบิดา และพระอัยยกาอยู่
    เนืองๆ พูดว่า เราจะให้ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็น
    ความจริง.
    <center>จบ สุสีมชาดกที่๓.


    </center>
    <center>๔. คิชฌชาดก
    </center><center>ว่าด้วยสายตาแร้ง
    </center> [๑๗๗] เออก็ (เขากล่าวกันว่า) แร้งย่อมเห็นซากศพทั้งหลายได้ถึงร้อยโยชน์
    เหตุไร ท่านมาถึงข่ายและบ่วงจึงไม่รู้เล่า?
    [๑๗๘] ความเสื่อมจะมีในเวลาใด สัตว์ใกล้จะสิ้นชีวิตในเวลาใด ในเวลานั้น
    ถึงจะมาใกล้ข่าย และบ่วงก็รู้ไม่ได้ ฯ

    <center>
    จบ คิชฌชาดกที่ ๔.


    <center>๕. นกุลชาดก
    </center><center>ว่าด้วยอย่าวางใจมิตร
    </center> [๑๗๙] ดูกรพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงูผู้เป็นศัตรูแล้ว ไฉนจึงยังนอน
    แยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก?
    [๑๘๐] บุคคลพึงระแวงในศัตรูไว้ แม้ในมิตรก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้ว
    จากมิตร ย่อมตัดมูลรากทั้งหลายเสีย.

    <center>
    จบ นกุลชาดกที่ ๕.



    </center></pre>
    </center></pre></center></pre>
    </center></pre>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.978939/[/MUSIC]

    [​IMG]

    ขออนุโมทนาค่ะ..สาธุ..
     
  3. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    <TABLE cellPadding=6 width=512><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    ส่งการบ้าน 6.อุปสาฬหกชาดก-10.กกัณฏกชาดก

    <center>๖. อุปสาฬหกชาดก
    </center><center>ว่าด้วยคุณธรรมที่ไม่ตายไปจากโลก
    </center> [๑๘๑] พราหมณ์ชื่อว่าอุปสาฬหกทั้งหลาย ถูกญาติทั้งหลายเผาเสียในประเทศนี้
    ประมาณหมื่นสี่พันชาติแล้ว สถานที่อันใครๆ ไม่เคยตายแล้ว ย่อม
    ไม่มีในโลก.
    [๑๘๒] สัจจะ ๑ ธรรม ๑ อหิงสา ๑ สัญญมะ ๑ ทมะ ๑ มีอยู่ในบุคคลใด
    พระอริยะทั้งหลายย่อมคบหาบุคคลนั้น คุณชาตินี้แลชื่อว่า ไม่ตายในโลก.

    <center>
    จบ อุปสาฬหกชาดกที่ ๖.


    <center>๗. สมิทธิชาดก
    </center><center>ว่าด้วยการไม่รู้เวลาตาย
    </center> [๑๘๓] ดูกรภิกษุ ท่านยังไม่ทันได้บริโภคกามเลย มาเที่ยวภิกษาเสีย ท่าน
    จะบริโภคกามเสียก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาไม่ดีหรือ ดูกรภิกษุ ท่านจง
    บริโภคกามเสียก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาเถิด เวลาบริโภคกามอย่าล่วงเลย
    ท่านไปเสียเลย.
    [๑๘๔] เรารู้เวลาตายไม่ได้โดยแท้ เวลาตายยังปกปิดอยู่ หาปรากฏไม่ เพราะ
    เหตุนั้น เราจึงไม่บริโภคกามแล้วเที่ยวภิกษา เวลากระทำสมณธรรมอย่าล่วงเลยเราไปเสีย.
    </pre>​

    <center>
    จบ สมิทธิชาดกที่ ๗.


    <center>๘. สกุณัคฆิชาดก
    </center><center>ว่าด้วยเหยี่ยวนกเขา
    </center> [๑๘๕] เหยี่ยวนกเขาบินโผลงด้วยกำลัง หมายใจว่า จะเฉี่ยวเอานกมูลไถ ซึ่ง
    จับอยู่ที่ชายดงเพื่อหาเหยื่อ โดยฉับพลัน เพราะเหตุนั้น จึงถึงความตาย.
    [๑๘๖] เรานั้น เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุบาย ยินดีแล้วในโคจรอันเนื่องมาแต่บิดา
    เห็นอยู่ซึ่งประโยชน์ของตน จึงหลีกพ้นไปจากศัตรู ย่อมเบิกบานใจ.
    <center>จบ สกุณัคฆิชาดกที่ ๘.
    </center></pre>
    <center>๙. อรกชาดก
    </center><center>ว่าด้วยการแผ่เมตตา
    </center> [๑๘๗] ผู้ใดแล ย่อมอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง ด้วยจิตเมตตาหาประมาณ
    มิได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง โดยประการทั้งปวง.
    [๑๘๘] จิตเกื้อกูลหาประมาณมิได้ เป็นจิตบริบูรณ์อัน ผู้นั้นอบรมดีแล้ว
    กรรมใด ที่เขาทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้น จักไม่เหลืออยู่ในจิตนั้น.

    <center>
    จบ อรกชาดกที่ ๙.



    <center>๑๐. กกัณฏกชาดก
    </center><center>ว่าด้วยกิ้งก่าได้ทรัพย์
    </center> [๑๘๙] กิ้งก่าบนปลายเสาระเนียดนี้ ย่อมไม่อ่อนน้อมเหมือนเมื่อวันก่อน ดูกร
    มโหสถ ท่านจงรู้ว่า กิ้งก่ากระด้างเพราะเหตุไร?
    [๑๙๐] กิ้งก่ามันได้ทรัพย์กึ่งมาสกซึ่งมันไม่เคยได้ จึงได้ดูหมิ่นพระเจ้าวิเทหราช
    ผู้ครองเมืองมิถิลา.
    <center>จบ กกัณฏกชาดกที่ ๑๐.
    </center><center>จบ สันถวรรคที่ ๒.
    </center></pre>​

    </center></pre>
    </center></pre>
    </center></pre>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    <TABLE cellPadding=6 width=500><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    [*MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.983763/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มิถุนายน 2010
  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    ส่งการบ้านกัลยาณธรรมวรรค



    <center>๓. กัลยาณธรรมวรรค
    </center><center>๑. กัลยาณธรรมชาดก
    </center><center>ผู้มีกัลยาณธรรม
    </center> [๑๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน กาลใด บุคคลได้ธรรมสมยาในโลกว่า
    ผู้มีกัลยาณธรรม กาลนั้น นรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงทำตนให้เสื่อมจาก
    สมยานั้นเสีย สัตบุรุษทั้งหลายย่อมถือไว้ซึ่งธุระด้วยหิริและโอตตัปปะ.
    [๑๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน สมยาว่า ผู้มีกัลยาณธรรมในโลกนี้
    มาถึงข้าพระพุทธเจ้าแล้วในวันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าพิจารณาเห็นสมยาอัน
    นั้น จึงได้บวชเสียในคราวนี้ ความพอใจในการบริโภคกามในโลกนี้
    มิได้มีแก่ข้าพระพุทธเจ้าเลย.
    <center>จบ กัลยาณธรรมชาดกที่ ๑.


    <center>๒. ทัททรชาดก
    </center><center>ราชสีห์กับสุนัขจิ้งจอก
    </center> [๑๙๓] ข้าแต่คุณพ่อผู้ครอบงำมฤคชาติทั้งหลาย ใครหนอมีเสียงใหญ่โตจริง
    ย่อมทำทัททรบรรพตให้บันลือสนั่นยิ่งนัก ราชสีห์ทั้งหลาย ย่อมไม่อาจ
    บันลือโต้ตอบมันได้ นั่นเรียกว่า สัตว์อะไร?
    [๑๙๔] ลูกเอ๋ย นั่นคือสุนัขจิ้งจอก เป็นสัตว์เลวทรามต่ำช้ากว่ามฤคชาติทั้งหลาย
    มันหอนอยู่ ราชสีห์ทั้งหลายรังเกียจชาติของมัน จึงได้พากันนิ่งเฉยเสีย.
    <center>จบ ทัททรชาดกที่ ๒.

    <center>๓. มักกฏชาดก
    </center><center>ว่าด้วยลิง
    </center> [๑๙๕] คุณพ่อครับ มาณพนั่นมายืนพิงต้นตาลอยู่ อนึ่ง เรือนของเรานี้ก็มีอยู่
    ถ้ากระไร เราจะให้เรือนแก่มาณพนั้น.
    [๑๙๖] ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเรียกมันมาเลย มันเข้ามาแล้ว จะพึงประทุษร้ายเรือน
    ของเรา หน้าของพราหมณ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ หาเป็นเช่นนี้ไม่.
    <center>จบ มักกฏชาดกที่ ๓.

    <center>๔. ทุพภิยมักกฏชาดก
    </center><center>ว่าด้วยการคบคนชั่ว
    </center> [๑๙๗] เราได้ให้น้ำเป็นอันมากแก่เจ้า ผู้ถูกความร้อนแผดเผา หิวกระหายอยู่
    บัดนี้ เจ้าได้ดื่มน้ำแล้ว ยังหลอกล้อเปล่งเสียงว่า กิกิ อยู่ได้ การคบหา
    กับคนชั่ว ไม่ประเสริฐเลย.
    [๑๙๘] ท่านได้ยิน หรือได้เห็นมาบ้างหรือว่า ลิงตัวไหนชื่อว่า เป็นสัตว์มีศีล
    เราจะถ่ายอุจจาระรดศีรษะท่านเดี๋ยวนี้แล้วจึงจะไป นี่เป็นธรรมดาของ
    พวกเรา.
    <center>จบ ทุพภิยมักกฏชาดกที่ ๔.

    <center>๕. อาทิจจุปัฏฐานชาดก
    </center><center>ว่าด้วยลิงไหว้พระอาทิตย์
    </center> [๑๙๙] ได้ยินว่า ในบรรดาสัตว์ทั้งปวง สัตว์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลมีอยู่ ท่านจง
    ดูลิงผู้ลามก ยืนไหว้พระอาทิตย์อยู่เถิด.
    [๒๐๐] ท่านทั้งหลาย ไม่รู้จักปกติของมัน เพราะเหตุไม่รู้จึงได้พากันสรรเสริญ
    ลิงตัวนี้มันเผาโรงไฟเสีย และทุบต่อยคณโฑน้ำเสียสองใบ.
    <center>จบ อาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ ๕.
    </center></pre>
    </center></pre>
    </center></pre>


    </center></pre>


    </center></pre>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    ส่งการบ้านกัลยาณธรรมวรรค27-176 - 180

    <center>๖. กฬายมุฏฐิชาดก
    </center><center>ว่าด้วยโลภมาก
    </center> [๒๐๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ลิงผู้เที่ยวหาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่
    เขลายิ่งนัก ปัญญาของมันก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำเสียหมดสิ้น แล้ว
    เที่ยวค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงยังพื้นดิน.
    [๒๐๒] ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่นที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้ง
    ของมากเพราะของน้อย เปรียบเหมือนวานรเสื่อมจากถั่วทั้งหมด เพราะ
    ถั่วเมล็ดเดียว ฉะนั้น.
    </pre><center>๗. ตินทุกชาดก </center><center>ว่าด้วยอุบาย </center> [๒๐๓] มนุษย์ทั้งหลายมีมือถือแล่งธนู ถือดาบอันคมแล้ว พากันมาแวดล้อม พวกเราไว้โดยรอบ ด้วยอุบายอย่างไร พวกเราจึงจะรอดพ้นไปได้. [๒๐๔] ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะพึงเกิดมีแก่มนุษย์ทั้งหลายผู้มีกิจมาก เป็นแน่ ยังมีเวลาพอที่จะเก็บเอาผลไม้มากินได้ ท่านทั้งหลาย จง พากันกินผลมะพลับเถิด. <center>จบ ตินทุกชาดกที่ ๗. </center>

    </pre><center>๘. กัจฉปชาดก </center><center>ว่าด้วยเต่า </center> [๒๐๕] เราเกิดที่นี่ เติบโตที่นี่ เพราะเหตุนี้ เราจึงได้อาศัยอยู่ที่เปือกตม เปือกตมกลับทับถมเราให้ทุรพล ดูกรท่านภัคควะ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ขอท่านจงฟังคำของข้าพเจ้าเถิด. [๒๐๖] บุคคลได้รับความสุขในที่ใด จะเป็นในบ้าน หรือในป่าก็ตาม ที่นั้นเป็น ที่เกิด เป็นที่เติบโตของบุรุษผู้รู้จักเหตุผล บุคคลพึงเป็นอยู่ได้ในที่ใด ก็พึงไปที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย. <center>จบ กัจฉปชาดกที่ ๘.

    <center>๙. สตธรรมชาดก
    </center><center>ว่าด้วยสตธรรมมาณพ
    </center> [๒๐๗] อาหารที่เราบริโภค น้อยด้วย เป็นเดนด้วย อนึ่ง เขาให้แก่เราโดย
    ยากเย็นเต็มที เราเป็นชาติพราหมณ์บริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น อาหารที่
    เราบริโภคเข้าไปแล้วจึงกลับออกมาอีก.
    [๒๐๘] ภิกษุใด ละทิ้งธรรมเสีย หาเลี้ยงชีพโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุนั้น ก็ย่อม
    ไม่เพลินด้วยลาภ แม้ที่ได้มาแล้ว เปรียบเหมือนสตธรรมมาณพ ฉะนั้น.
    <center>จบ สตธรรมชาดกที่ ๙.


    <center>๑๐. ทุทททชาดก
    </center><center>ว่าด้วยคติของคนดีคนชั่ว
    </center> [๒๐๙] เมื่อสัตบุรุษทั้งหลาย ให้สิ่งของที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก อสัตบุรุษ
    ทั้งหลาย ย่อมทำตามไม่ได้ ธรรมของสัตบุรุษรู้ได้ยาก.
    [๒๑๐] เพราะเหตุนั้น คติจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษจึงต่างกัน
    อสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมมีสวรรค์เป็นที่ไป ณ เบื้องหน้า.
    <center>จบ ทุทททชาดกที่ ๑๐.
    </center><center>จบ กัลยาณธรรมวรรคที่ ๓.
    </center></pre>
    </center></pre>
    </center>

    </pre>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    [*MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.984170/[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มิถุนายน 2010
  10. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    [*MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.984127/[/MUSIC]


    อนุโมทนาจ๊ะพี่วี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มิถุนายน 2010
  11. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    อสทิสวรรค...

    <center>๔. อสทิสวรรค
    </center><center>๑. อสทิสชาดก
    </center><center>ว่าด้วยอสทิสกุมาร
    </center> [๒๑๑] เจ้าชายพระนามว่าอสทิสกุมาร เป็นนักธนู มีกำลังมาก ยิงธนูให้ไป
    ตกในที่ไกลๆ ได้ ยิงไม่ค่อยพลาด สามารถทำลายของกองใหญ่ๆ ได้.
    [๒๑๒] พระองค์ทรงทำการรบให้ข้าศึกทั้งปวงหนีไป แต่มิได้เบียดเบียนใครๆ
    เลย ทรงทำพระกนิฏฐภาดาให้มีความสวัสดีแล้ว ก็เข้าถึงความสำรวม.
    <center>จบ อสทิสชาดกที่ ๑.

    <center>๒. สังคามาวจรชาดก
    </center><center>ว่าด้วยช้างเข้าสงคราม
    </center> [๒๑๓] ดูกรกุญชร ท่านปรากฏว่า เป็นผู้เคยเข้าสู่สงคราม มีความแกล้วกล้า
    มีกำลังมาก เข้ามาใกล้เขื่อนประตูแล้ว เหตุไรจึงถอยกลับเสียเล่า?
    [๒๑๔] ดูกรกุญชร ท่านจงหักล้างลิ่มกลอน ถอนเสาระเนียด และทำลาย
    เขื่อนทั้งหลายแล้ว เข้าประตูให้ได้โดยเร็วเถิด.
    <center>จบ สังคามาวจรชาดกที่ ๒.

    <center>๓. วาโลทกชาดก
    </center><center>ว่าด้วยน้ำหาง
    </center> [๒๑๕] (พระราชาตรัสถามว่า) ความเมาย่อมเกิดแก่ลาทั้งหลาย เพราะดื่มกิน
    น้ำหาง มีรสน้อย เป็นน้ำเลว แต่ความเมาย่อมไม่เกิดแก่ม้าสินธพ
    เพราะดื่มกินน้ำมีรสอร่อย ประณีต.
    [๒๑๖] (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน สัตว์ผู้มี
    ชาติอันเลวทราม ดื่มกินน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูกต้องแล้ว ย่อมเมา
    ส่วนสัตว์ผู้มีปกติทำธุระให้สำเร็จได้ เกิดในตระกูลสูง ดื่มกินรสอันเลิศ
    แล้ว ก็ไม่เมา.
    <center>จบ วาโลทกชาดกที่ ๓.

    <center>๔. คิริทัตตชาดก
    </center><center>ว่าด้วยการเอาอย่าง
    </center> [๒๑๗] (พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า) ม้าชื่อปัณฑวะของพระเจ้าสามะ
    ถูกนายควาญม้าชื่อคิริทัตต์ประทุษร้าย จึงละปกติเดิมของตน ศึกษา
    เอาอย่างนายควาญม้านั่นเอง.
    [๒๑๘] ถ้าบุรุษผู้บริบูรณ์ด้วยอาการอันงดงาม สมควรแก่ม้านั้น ตบแต่งร่าง
    กายงดงาม จับจูงม้านั้นที่บังเหียนพาเวียนไปรอบๆ สนามม้าไซร้ ไม่ช้า
    เท่าไร ม้านี้ก็จะละความเป็นกระจอกเสีย ศึกษาเอาอย่างบุรุษนั้นเทียว.
    <center>จบ คิริทัตตชาดกที่ ๔.

    <center>๕. อนภิรติชาดก
    </center><center>ว่าด้วยจิตขุ่นมัว-ไม่ขุ่นมัว
    </center> [๒๑๙] เมื่อน้ำขุ่นมัว ไม่ใส บุคคลย่อมไม่แลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด
    ทราย และฝูงปลา ฉันใด เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์
    ตน และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น.
    [๒๒๐] เมื่อน้ำไม่ขุ่นมัว ใสบริสุทธิ์ บุคคลย่อมแลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง
    กรวด ทราย และฝูงปลา ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็น
    ประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น.
    <center>จบ อนภิรติชาดกที่ ๕.

    :VO
    </center></pre>
    </center></pre>
    </center></pre>
    </center></pre>
    </center></pre>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    อสทิสวรรค๖-๑๐

    <center>๖. ทธิวาหนชาดก
    </center><center>ว่าด้วยพระเจ้าทธิวาหนะ
    </center> [๒๒๑] (พระเจ้าทธิวาหนะตรัสถามว่า) แต่ก่อนมา มะม่วงต้นนี้บริบูรณ์ด้วยสี
    กลิ่น และรส ได้รับการบำรุงอยู่เช่นเดิม เหตุไรจึงมีผลขื่นขมไปเล่า?
    [๒๒๒] (พระโพธิสัตว์ทูลว่า) ข้าแต่พระเจ้าทธิวาหนะ มะม่วงของพระองค์
    มีต้นสะเดาแวดล้อมอยู่ รากต่อรากเกี่ยวพันกัน กิ่งต่อกิ่งเกี่ยวประสาน
    กัน เหตุที่อยู่ร่วมกันกับต้นสะเดาที่มีรสขม มะม่วงจึงมีผลขมไปด้วย.
    <center>จบ ทธิวาหนชาดกที่ ๖.

    <center>๗. จตุมัฏฐชาดก
    </center><center>ผู้เลวทราม ๔ อย่าง
    </center> [๒๒๓] ท่านทั้งสองพากันขึ้นไปบนค่าคบไม้อันสูง อยู่ในที่ลับแล้วปรึกษากัน
    เชิญท่านลงมาปรึกษากันในที่ต่ำเถิด พระยาเนื้อจักได้ฟังบ้าง.
    [๒๒๔] สุบรรณกับสุบรรณเขาปรึกษากัน เทวดากับเทวดาเขาพูดกันในเรื่องนี้
    จะมีประโยชน์อะไรแก่สุนัขจิ้งจอกเลวทราม ๔ อย่าง (สรีระ ๑ ชาติ ๑
    เสียง ๑ คุณ ๑) เล่า แน่ะสุนัขจิ้งจอกตัวชาติชั่ว เจ้าจงเข้าไปสู่
    ปล่องเถิด.
    <center>จบ จตุมัฏฐชาดกที่ ๗.
    </center>
    <center>๘. สีหโกตถุกชาดก
    </center><center>ตัวเหมือนราชสีห์แต่เสียงไม่เหมือน
    </center> [๒๒๕] ราชสีห์ตัวนั้น นิ้วก็นิ้วราชสีห์ เล็บก็เล็บราชสีห์ ยืนก็ยืนด้วยเท้าราชสีห์
    มีอยู่ตัวเดียวในหมู่ราชสีห์ ย่อมบันลือด้วยเสียงอีกอย่างหนึ่ง.
    [๒๒๖] ดูกรเจ้าเป็นบุตรแห่งราชสีห์ เจ้าอย่าบันลือเสียงอีกเลย จงมีเสียง
    เบาๆ อยู่ในป่า เขาทั้งหลายพึงรู้จักเจ้าด้วยเสียงนั่นแหละ เพราะเสียง
    ของเจ้า ไม่เหมือนกับเสียงราชสีห์ผู้เป็นบิดา.
    <center>จบ สีหโกตถุกชาดกที่ ๘.

    <center>๙. สีหจัมมชาดก
    </center><center>ลาปลอมเป็นราชสีห์
    </center> [๒๒๗] นี่ไม่ใช่เสียงบันลือของราชสีห์ ไม่ใช่เสียงบันลือของเสือโคร่ง ไม่
    ใช่เสียงบันลือของเสือเหลือง ลาผู้ลามกคลุมตัวด้วยหนังราชสีห์บัน
    ลือเสียง.
    [๒๒๘] ลาเอาหนังราชสีห์คลุมตัว เที่ยวกินข้าวกล้านานมาแล้ว ร้องให้เขารู้
    ว่า เป็นตัวลา ได้ประทุษร้ายตนเองแล้ว.
    <center>จบ สีหจัมมชาดกที่ ๙.

    <center>๑๐. สีลานิสังสชาดก
    </center><center>ว่าด้วยอานิสงส์ศีล
    </center> [๒๒๙] จงดูผลของศรัทธา ศีล และจาคะ นี้เถิด พระยานาคนิรมิตเพศเป็น
    เรือ พาอุบาสกผู้มีศรัทธาไป.
    [๒๓๐] บุคคลพึงสมาคมกับสัตบุรุษทั้งหลายเถิด พึงทำความสนิทสนมกับ
    สัตบุรุษทั้งหลายเถิด ด้วยว่าช่างกัลบกถึงความสวัสดีได้ ก็เพราะการ
    อยู่ร่วมกับสัตบุรุษทั้งหลาย.
    <center>จบ สีลานิสังสชาดกที่ ๑๐.
    </center><center>จบ อสทิสวรรคที่ ๔.

    </center>
    </center>
    </center></center>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2010
  13. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    [​IMG]


    [*MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.984741/[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มิถุนายน 2010
  14. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    <TABLE cellPadding=6 width=556><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [*MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.984771/[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มิถุนายน 2010
  16. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    รุหกวรรค27-191 - 195

    <center>๕. รุหกวรรค
    </center><center>๑. รุหกชาดก
    </center> [๒๓๑] ดูกรพ่อรุหกะ สายธนูถึงขาดแล้วก็ยังต่อกันได้อีก ท่านจงคืนดีกันเสีย
    กับภรรยาเก่าเถิด อย่าลุอำนาจแก่ความโกรธเลย.
    [๒๓๒] เมื่อป่านยังมีอยู่ ช่างทำก็ยังมีอยู่ ข้าพระบาทจักกระทำสายอื่นใหม่ พอ
    กันทีสำหรับสายเก่า.
    <center>จบ รุหกชาดกที่ ๑.

    <center>๒. สิริกาฬกัณณิชาดก
    </center><center>ว่าด้วยสิริกับกาฬกรรณี
    </center> [๒๓๓] หญิงที่มีรูปงาม ทั้งมีศีลาจารวัตร บุรุษไม่พึงปรารถนาหญิงนั้น ท่านเชื่อ
    ไหม มโหสถ?
    [๒๓๔] ข้าแต่มหาราชะ ข้าพระบาทเชื่อ บุรุษคงเป็นคนต่ำต้อย สิริกับกาฬกรรณี
    ย่อมไม่สมกันเลยไม่ว่าในกาลไหนๆ.
    <center>จบ สิริกาฬกัณณิชาดกที่ ๒.

    <center>๓. จุลลปทุมชาดก
    </center><center>ว่าด้วยการลงโทษหญิงชายทำชู้กัน
    </center> [๒๓๕] หญิงคนนี้แหละ คือหญิงคนนั้น ถึงเราก็คือบุรุษคนนั้น ไม่ใช่คนอื่น
    บุรุษคนนี้แหละที่หญิงคนนี้อ้างว่า เป็นผัวของเรามาตั้งแต่เป็นเด็ก ก็คือ
    บุรุษที่ถูกตัดมือ หาใช่คนอื่นไม่ ขึ้นชื่อว่า หญิงทั้งหลายควรฆ่าเสียให้
    หมดเลย ความสัตย์ไม่มีในหญิงทั้งหลาย.
    [๒๓๖] ท่านทั้งหลายจงฆ่าบุรุษผู้ชั่วช้าลามกราวกับซากผี มักทำชู้กับภรรยาผู้อื่น
    คนนี้ เสียด้วยสาก จงตัดหู ตัดจมูก ของหญิงผู้ทำร้ายผัวชั่วช้าลามกคนนี้
    เสียทั้งเป็นๆ เถิด.
    <center>จบ จุลลปทุมชาดกที่ ๓.

    <center>๔. มณิโจรชาดก
    </center><center>ว่าด้วยพระเจ้าอธรรมิกราช
    </center> [๒๓๗] เทวดาทั้งหลาย (ผู้ดูแลรักษาชนผู้มีศีลและคอยกีดกันคนชั่ว) ย่อมไม่มี
    อยู่ในโลกเป็นแน่ หรือเมื่อกิจเห็นปานนี้เกิดขึ้น ย่อมพากันไปค้างแรม
    เสียเป็นแน่ อนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหลายอันเขาสมมติว่า เป็นผู้รักษา
    โลก ไม่มีอยู่ในโลกนี้เป็นแน่ เมื่อชนทุศีลทั้งหลายกระทำกรรมอันสาหัส
    บุคคลผู้ห้ามปรามไม่มีอยู่เป็นแน่?
    [๒๓๘] ในรัชสมัยของพระเจ้าอธรรมิกราช ฝนย่อมตกในเวลาอันไม่ควรจะตก
    ในเวลาที่ควรจะตกก็ไม่ตก พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมจุติจาก
    ฐานะคือสวรรค์ พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น ใช่ว่าจะได้รับความ
    ยากเข็ญด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้นก็ไม่.
    <center>จบ มณิโจรชาดกที่ ๔.
    </center>
    <center>๕. ปัพพตูปัตถรชาดก
    </center><center>ว่าด้วยสระที่เชิงเขาลาด
    </center> [๒๓๙] สระโบกขรณีอันเกษม เกิดอยู่ที่เชิงเขาลาด น่ารื่นรมย์ สุนัขจิ้งจอกรู้ว่า
    สระนั้นอันราชสีห์รักษาอยู่ กล้าลงไปดื่มน้ำได้.
    [๒๔๐] ข้าแต่มหาราชะ ถ้าสัตว์ทั้งหลายที่มีเท้า ย่อมพากันดื่มน้ำในแม่น้ำใหญ่
    ไซร้ แม่น้ำจะกลายเป็นไม่ใช่แม่น้ำเพราะเหตุนั้นก็หาไม่ ถ้าบุคคลทั้ง
    สองนั้น เป็นที่รักของพระองค์ไซร้ พระองค์ก็ทรงงดโทษเสีย.
    <center>จบ ปัพพตูปัตถรชาดกที่ ๕.


    </center></center>
    </center>
    </center>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2010
  17. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    รุหกวรรค27-196-200

    <center>๖. วลาหกัสสชาดก
    </center><center>ว่าด้วยความสวัสดี
    </center> [๒๔๑] นรชนเหล่าใด ไม่ทำตามโอวาทอันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชน
    เหล่านั้นจักต้องถึงความพินาศ เปรียบเหมือนพ่อค้าทั้งหลายถูกนางผีเสื้อ
    หลอกลวงให้อยู่ในอำนาจ ฉะนั้น.
    [๒๔๒] นรชนเหล่าใด ทำตามโอวาทอันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชน
    เหล่านั้น จักถึงฝั่งสวัสดี ดุจพ่อค้าทั้งหลายทำตามถ้อยคำอันม้าวลาหก
    กล่าวแล้ว ฉะนั้น.
    <center>จบ วลาหกัสสชาดกที่ ๖.

    <center>๗. มิตตามิตตชาดก
    </center><center>อาการของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร
    </center> [๒๔๓] ศัตรูเห็นเข้าแล้วไม่ยิ้มแย้ม ไม่แสดงความยินดีตอบ สบตากันแล้ว
    เบือนหน้าหนี ไม่แลดู ประพฤติตรงกันข้ามเสมอ.
    [๒๔๔] อาการเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในศัตรู เป็นเครื่องให้บัณฑิตเห็น และได้ฟัง
    แล้ว พึงรู้ได้ว่า เป็นศัตรู.
    <center>จบ มิตตามิตตชาดกที่ ๗.

    <center>๘. ราธชาดก
    </center><center>ว่าด้วยเรื่องจริงเก่าไม่ดีไม่ควรพูด
    </center> [๒๔๕] ลูกรัก พ่อกลับมาจากที่ค้างแรม กลับมาเดี๋ยวนี้เอง ไม่นานเท่าไรนัก
    แม่ของเจ้าไม่ไปคบหาบุรุษอื่นดอกหรือ?
    [๒๔๖] ธรรมดาบัณฑิต ไม่พูดวาจาที่ประกอบด้วยความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะ
    ต้องนอนอยู่ ดุจนกแขกเต้าชื่อว่าโปฏฐปาทะถูกเผานอนจมอยู่ในเตาไฟ
    ฉะนั้น.
    <center>จบ ราธชาดกที่ ๘.
    </center>
    <center>๙. คหปติชาดก
    </center><center>ว่าด้วยการทวงในเวลายังไม่ถึงกำหนด
    </center> [๒๔๗] กรรมทั้งสองไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ ก็หญิงคนนี้ลงไปในฉางข้าว
    แล้วพูดว่า เรายังใช้หนี้ให้ไม่ได้.
    [๒๔๘] ดูกรนายบ้าน เพราะเหตุนั้น เราจึงพูดกะท่าน ท่านมาทวงค่าเนื้อวัวแก่
    ซูบผอม ซึ่งเราได้ทำสัญญาผลัดไว้ถึงสองเดือน ในคราวเมื่อชีวิตของ
    เราน้อย ลำบากยากเข็ญ ในกาลยังไม่ทันถึงกำหนดสัญญา กรรมทั้งสอง
    นั้น ไม่ถูกใจเราเสียเลย.
    <center>จบ คหปติชาดกที่ ๙.

    <center>๑๐. สาธุสีลชาดก
    </center><center>ว่าด้วยเลือกเอาผู้มีศีล
    </center> [๒๔๙] เราขอถามท่านพราหมณ์ว่า ๑. คนมีรูปงาม ๒. คนอายุมาก ๓. คน
    มีชาติสูง ๔. คนมีศีลดี ๔ คนนั้น ท่านจะเลือกเอาคนไหน?
    [๒๕๐] ประโยชน์ในร่างกายก็มีอยู่ ข้าพเจ้าขอทำความนอบน้อมแก่ท่านผู้เจริญวัย
    ประโยชน์ในบุรุษผู้มีชีวิตดีก็มีอยู่ ศีลแล พวกเราชอบใจ.
    <center>จบ สาธุสีลชาดกที่ ๑๐.
    </center><center>จบ รุหกวรรคที่ ๕.


    </center>
    </center></center>
    </center>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2010
  18. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    นตังทัฬหวรรค27-201-205

    <center>๖. นตังทัฬหวรรค
    </center><center>๑. พันธนาคารชาดก
    </center><center>ว่าด้วยเครื่องผูก
    </center> [๒๕๑] เครื่องผูกอันใด ที่ทำด้วยเหล็กก็ดี ทำด้วยไม้ก็ดี ทำด้วยหญ้าปล้องก็ดี
    นักปราชญ์ไม่กล่าวเครื่องผูกนั้นว่า เป็นเครื่องผูกอันมั่นคง ความกำหนัด
    ยินดีในแก้วมณีและกุณฑลก็ดี ความห่วงใยในบุตรและภรรยาก็ดี.
    [๒๕๒] นักปราชญ์กล่าวเครื่องผูกนั้นว่า เป็นเครื่องผูกอันมั่นคง ทำให้สัตว์ตกต่ำ
    หย่อน แก้ได้ยาก แม้เครื่องผูกนั้น นักปราชญ์ก็ตัดได้ ไม่มีความห่วงใย
    ละกามสุข หลีกออกไปได้.
    <center>จบ พันธนาคารชาดกที่ ๑.

    <center>๒. เกฬิสีลชาดก
    </center><center>ว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
    </center> [๒๕๓] หงส์ก็ดี นกกระเรียนก็ดี นกยูงก็ดี ช้างก็ดี ฟานก็ดี ย่อมกลัวราชสีห์
    ทั้งนั้น จะถือเอาร่างกายเป็นประมาณไม่ได้ ฉันใด.
    [๒๕๔] ในหมู่มนุษย์ ก็ฉันนั้น ถ้าแม้เด็กมีปัญญา ก็เป็นผู้ใหญ่ได้ คนโง่ถึง
    ร่างกายจะใหญ่โต ก็เป็นผู้ใหญ่ไม่ได้.
    <center>จบ เกฬิสีลชาดกที่ ๒.

    <center>๓. ขันธปริตตชาดก
    </center><center>ว่าด้วยพระปริตต์ป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ
    </center> [๒๕๕] ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพระยางูชื่อว่า วิรูปักขะ ขอไมตรีจิต
    ของเราจงมีกับตระกูลพระยางูชื่อว่า เอราปถะ ขอไมตรีจิตของเราจงมี
    กับตระกูลพระยางูชื่อว่า ฉัพยาปุตตะ (และ) ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับ
    ตระกูลพระยางูชื่อว่า กัณหาโคตมกะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์
    ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามากขอสัตว์ที่
    ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามากอย่าได้
    เบียดเบียนเราเลย ขอสัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ที่มีลมปราณ สัตว์ผู้เกิดแล้ว
    หมดทั้งสิ้นด้วยกัน จงประสบพบแต่ความเจริญทั่วกัน ความทุกข์
    อันชั่วช้า อย่าได้มาถึงสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย.
    [๒๕๖] พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณหาประมาณมิได้ บรรดาสัตว์
    เลื้อยคลาน คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก และหนู
    เป็นสัตว์ประมาณได้ เราได้ทำการรักษาตัวแล้ว ป้องกันตัวแล้ว ขอ
    สัตว์ทั้งหลายจงพากันหลีกไป ข้าพเจ้านั่นขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระ-
    ภาค ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์.
    <center>จบ ขันธปริตตชาดกที่ ๓.
    </center>
    <center>๔. วีรกชาดก
    </center><center>ว่าด้วยโทษการเอาอย่างผู้อื่น
    </center> [๒๕๗] ข้าแต่ท่านวีรกะ ท่านเห็นนกที่ร้องเสียงเพราะ มีสีเสมอด้วยสร้อยคอ
    แห่งนกยูง ตัวเป็นผัวของฉันชื่อว่า สวิฏฐกะบ้างไหม?
    [๒๕๘] นกสวิฏฐกะ เมื่อทำตามภรรยาของปักษีตัวผู้เที่ยวไปได้ทั้งทางน้ำ และ
    ทางบก บริโภคปลาสดเป็นนิจนั้น ถูกสาหร่ายพันคอตายเสียแล้ว.
    <center>จบ วีรกชาดกที่ ๔.

    <center>๕. คังเคยยชาดก
    </center><center>ว่าด้วยผู้ชอบโอ้อวด
    </center> [๒๕๙] ปลาชื่อคังเคยยะก็งาม และปลาชื่อยมุนาก็งาม แต่สัตว์ ๔ เท้า มีปริ-
    มณฑลเพียงดังต้นไทร มีคอยาวหน่อยหนึ่ง ตัวนี้ ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่า
    ใครทั้งหมด.
    [๒๖๐] ท่านไม่บอกเหตุที่เราถาม เราถามอย่างหนึ่ง ท่านบอกเสียอย่างหนึ่ง คน
    สรรเสริญตนเองนี้ ไม่ชอบใจเราเลย.
    <center>จบ คังเคยยชาดกที่ ๕.
    </center>
    </center></center>
    </center>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2010
  19. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    นตังทัฬหวรรค27-206-210

    <center>๖. กุรุงคมิคชาดก
    </center><center>ว่าด้วยการร่วมมือกัน
    </center> [๒๖๑] ดูกรเต่า เราขอเตือน ท่านจงกัดบ่วงอันมีเกลียวแข็งด้วยฟัน เราจัก
    ทำอุบายไม่ให้นายพรานมาถึงเร็วได้.
    [๒๖๒] เต่าก็ลงน้ำไป กวางก็เข้าป่าไป นกสตปัตตะไปถึงต้นไม้แล้ว ก็พาลูกๆ
    ไปอยู่ในที่ห่างไกล.
    <center>จบ กุรุงคมิคชาดกที่ ๖.

    <center>๗. อัสสกชาดก
    </center><center>ไม่รู้ของจริงเพราะมีสิ่งใหม่ๆ ปิดไว้
    </center> [๒๖๓] ประเทศนี้ เราผู้มีความจงรัก ได้เที่ยวเล่นอยู่กับพระเจ้าอัสสกะ ผู้เป็น
    พระสวามีที่รัก.

    [๒๖๔] ความสุขและความทุกข์เก่า ถูกความสุขและความทุกข์ใหม่ปกปิดไว้
    เพราะฉะนั้น หนอนจึงเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าพระเจ้าอัสสกะอีก.
    <center>จบ อัสสกชาดกที่ ๗.

    <center>๘. สุงสุมารชาดก
    </center><center>ว่าด้วยผู้มีปัญญาไม่สมกับตัว
    </center> [๒๖๕] เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลหว้า และผลขนุนทั้งหลายที่ท่านเห็น
    ฝั่งสมุทร มะเดื่อของเราต้นนี้ดีกว่า.
    [๒๖๖] ร่างกายของท่านใหญ่โตก็จริง แต่ปัญญาหาสมควรแก่ร่างกายนั้นไม่ ดูกร
    จระเข้ ท่านถูกเราลวงเสียแล้ว บัดนี้ ท่านจงไปตามสบายเถิด.
    <center>จบ สุงสุมารชาดกที่ ๘.

    <center>๙. กักกรชาดก
    </center><center>ว่าด้วยผู้ฉลาดเอาตัวรอดได้
    </center> [๒๖๗] ต้นหูกวางและสมอพิเภกทั้งหลายในป่า เราเคยเห็นแล้ว ต้นไม้เหล่านั้น
    ย่อมเดินไปเหมือนกับท่านไม่ได้.
    [๒๖๘] ไก่ตัวเก่าที่แหกกรงหนีมานี้ เป็นไก่ฉลาดในบ่วงขนสัตว์ ย่อมหลีกไป
    และยังขันเย้ยเสียด้วย.
    <center>จบ กักกรชาดกที่ ๙.

    <center>๑๐. กันทคลกชาดก
    </center><center>นกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น
    </center> [๒๖๙] ดูกรผู้เจริญ ต้นไม้ที่มีใบละเอียดมีหนามนี้เป็นต้นไม้อะไร เราเจาะเพียง
    ครั้งเดียว ทำให้สมองศีรษะแตกได้?
    [๒๗๐] นกหัวขวานตัวนี้ เมื่อเจาะหมู่ไม้อยู่ในป่า ได้เคยเที่ยวเจาะแต่ไม้แห้ง
    ที่ไม่มีแก่น ภายหลังมาพบเอาต้นกฐินซึ่งมีกำเนิดเป็นไม้แก่นอันเป็นที่
    ทำลายสมองศีรษะ.
    <center>จบ กันทคลกชาดกที่ ๑๐.
    </center><center>จบ นตังทัฬหวรรคที่ ๖.
    </center>
    </center>
    </center>
    </center>
    </center>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2010
  20. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.985562/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...