เสียงธรรม สุขอย่างมีคุณค่าโดย พระราชสุเมธาจารย์

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 26 มีนาคม 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    LpSumetho.jpg
    พระธรรมเทศนาโดย พระราชสุเมธาจารย์ ๑๖ ม ค

    JchaiJane
    Published on Mar 1, 2018

     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    อานาปานสติ
    พระราชสุเมธาจารย์ (พระอาจารย์โรเบิร์ต สุเมโธ)
    วัดอมราวดี กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
    นายแพทย์วิเชียร สืบแสง แปลจาก Now is the Knowing


    พวกเรามักจะมองข้ามสิ่งที่เป็นปกติธรรมดาไปเสีย
    ลมหายใจของเรานั้นจะรู้สึกก็ต่อเมื่อเรามีอาการผิดปกติ เช่น หืดหอบ หรือวิ่งจนเหนื่อย

    ในการทำอานาปานสตินั้น เราเอาลมหายใจปกติธรรมดาของเรานี้เป็นเครื่องกำหนด
    เราจะไม่พยายามไปทำให้มันยาวหรือสั้น หรือไปบังคับให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
    แต่จะอยู่กับลมหายใจเข้าออก ซึ่งเป็นปกติธรรมดาเท่านั้น

    ลมหายใจไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราจะสร้างหรือจินตนาการขึ้นมา
    มันเป็นไปตามธรรมชาติของร่างกายต่อเนื่องกันไปจนชีวิตจะหาไม่
    จึงเป็นสิ่งที่อยู่กับเราตลอดชีวิต จะกลับไปดูเมื่อไรก็ได้
    เราก็ไม่จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ
    หรือฉลาดล้ำเลิศแต่อย่างใด ในการที่จะเฝ้าดูลมหายใจของเรา

    เพียงแต่เราพอใจอยู่กับมัน ระลึกรู้อยู่ทุกลมหายใจเข้าออกก็เท่านั้น

    อันสติปัญญาหรือความเฉลียวฉลาดนั้น
    มิใช่จะได้มาจากการเรียนรู้ทฤษฎีหรือปรัชญาอันสูงส่ง
    แต่ได้จากการเฝ้าสังเกตสิ่งที่เป็นปกติธรรมดานี้เอง

    ลมหายใจไม่มีลักษณะที่ตื่นเต้นระทึกใจ
    จนทำให้เรากระสับกระส่ายหรือหงุดหงิดแต่ประการใด
    ใจของคนเรานั้นมักอยากจะได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอไป
    อยากจะได้สิ่งที่ตื่นเต้นเร้าใจโดยไม่ต้องออกแรง
    ถ้าเราได้ยินเสียงดนตรี เราคงไม่บอกกับตัวเราเองว่า
    ฉันจะตั้งอกตั้งใจฟังและจับจังหวะท่วงทำนองของเพลงนี้ให้จงได้

    เราจะปล่อยใจของเราไปตามเสียงดนตรี
    เพราะเสียงเพลงมันไพเราะเย้ายวนชวนให้เราตามมันไป
    ส่วนจังหวะของลมหายใจตามปกตินั้นไม่มีอะไรน่าจับใจเลย มันสงบราบเรียบ
    แต่คนเราไม่เคยชินกับความสงบ บางคนอาจจะบอกว่าชอบความสงบ
    แต่พอไปประสบเข้าจริงๆ แล้วกลับไม่พอใจ
    เพราะพวกเราชอบสิ่งที่ตื่นเต้นเย้ายวนใจมากกว่า

    ในอานาปานสตินั้น เราอยู่กับสิ่งที่เป็นกลางๆ
    จะไม่รู้สึกชอบหรือไม่ชอบลมหายใจ
    เวลาหายใจเข้า เราเพียงกำหนดรู้ต้นลม กลางลม และปลายลม
    หายใจออกก็เช่นเดียวกัน กำหนดรู้ต้นลม กลางลม และปลายลม
    จังหวะของลมหายใจเข้าออกเป็นไปอย่างเรียบๆ ช้าๆ
    ช้ากว่าจังหวะของความนึกคิด นำเราไปสู่ความสงบแล้วเราก็หยุดคิด

    เราจะไม่ตั้งความมุ่งมาดปรารถนาว่าจะได้อะไรจากการทำสมาธิภาวนา
    เช่น จะต้องได้ฌานขั้นนี้ขั้นนั้น เพราะถ้าจิตมุ่งจะให้บรรลุถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้ว
    จิตจะไม่น้อมลงอยู่กับลมหายใจ จะไม่สงบ แล้วเราจะมีแต่ความผิดหวัง
    ในขั้นต้นนั้น จิตของเราชอบเตร็ดเตร่เร่ร่อนไปตามเรื่องของมัน
    เมื่อเรารู้ตัวว่ามันเคลื่อนออกไปจากลมหายใจ เราก็ค่อยๆ ดึงมันกลับเข้ามา

    เราต้องมีความพากเพียรและอดทนอย่างยิ่ง พร้อมเสมอที่จะตั้งต้นใหม่

    จิตของเรานั้นไม่เคยชินกับการถูกจับให้อยู่นิ่ง
    เคยแต่ถูกสอนให้เกี่ยวเกาะอยู่กับสิ่งต่างๆ เรื่อยมา
    เคยชินอยู่กับการใช้ความคิดที่ตัวนึกว่าจะฉลาดหลักแหลม
    แต่เมื่อไม่อาจจะทำอย่างนั้นได้ ก็จะเกิดความเครียด

    ในการทำอานาปานสติ เราจะพบกับอุปสรรคเช่นที่กล่าวนี้
    มันก็ไม่ต่างอะไรกับม้าป่า เมื่อถูกจับมาผูกและสวมบังเหียนครั้งแรก
    มันจะโกรธและพยศอย่างยิ่งทีเดียว เวลาจิตของเราเคลื่อนออกไป
    เราจะรู้สึกรำคาญ ท้อแท้ และเบื่อหน่ายไปหมด
    ในสภาวะเช่นนั้น ถ้าเราใช้วิธีบังคับข่มจิตให้สงบ
    มันจะสงบได้ชั่วครู่แล้วก็แส่ส่ายออกไปใหม่

    การทำอานาปานสติที่ถูกวิธี เราต้องใจเย็นและอดทนอย่างยิ่ง
    ถือเสียว่ามีเวลาถมไป ปล่อยวางภาระทุกอย่างทางบ้าน
    ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือทรัพย์สินเงินทอง
    ในช่วงเวลานั้นเราจะไม่ทำอะไรเลย นอกจากนั่งเฝ้าสังเกตลมหายใจเข้าออก
    ถ้าจิตของเราเคลื่อนไปในระยะลมเข้า ก็เพ่งที่ลมเข้าให้มากสักหน่อย
    ถ้าเคลื่อนไปในระยะลมออก ก็เพ่งตรงนั้นเช่นกัน
    แล้วดึงมันกลับเข้ามา พร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่เสมอไป

    ทำใจให้เหมือนนักเรียนใหม่ วางสิ่งเก่าๆ เสียให้หมด
    เวลาจิตของเราเคลื่อนออกไป แล้วเราดึงกลับเข้ามาใหม่
    ในช่วงนั้นแหละเป็นช่วงที่เรามีสติสัมปชัญญะ
    เราฝึกจิตของเรา (ให้เหมือน) กับแม่ที่ดีฝึกลูกน้อยของเธอ
    เด็กเล็กๆ ยังไม่รู้อะไร เดินสะเปะสะปะไปตามเรื่อง
    ถ้าแม่เอาแต่โมโหและเฆี่ยนตี เด็กจะกลัว แล้วกลายเป็นเด็กโรคประสาท

    แม่ที่ดีจะเฝ้ามอง ถ้าเห็นเด็กเดินออกนอกลู่นอกทาง แม่ก็จะอุ้มกลับเข้ามา
    เราต้องใจเย็นและอดทนอย่างนั้น อย่างไปโกรธเกลียด ลงโทษตนเอง
    เกลียดลมหายใจ หรือเกลียดไปหมดทุกคน จนเกิดความรำคาญ
    ถ้าเป็นอย่างนั้นเราจะไม่ได้ความสงบจากอานาปานสติ

    บางครั้งเราเครียดเกินไป ไม่ร่าเริงผ่องใส ไม่มีแม้อารมณ์ขัน
    คอยแต่จะกดทุกอย่างลงไป จงทำใจให้เบิกบาน
    แต้มรอยยิ้มลงบนใบหน้าของท่าน ผ่อนคลายและทำใจสบายๆ
    ปราศจากความกดดันที่จะต้องได้อะไรเป็นพิเศษ ไม่มีอะไรวิเศษพิสดารเลย

    ท่านไปคุยได้ไหมว่า วันนี้ท่านได้ทำอะไรบ้างที่พอจะคุ้มค่าข้าวที่รับประทานเข้าไป
    เพียงมีสติกำหนดรู้ลมหายใจเข้าเฮือกเดียวเท่านั้นหรือ ฟังแล้วมันน่าขำสิ้นดี

    แต่นั่นแหละ ท่านยังได้ทำมากกว่าที่คนอื่นเขาไปคุยโม้ว่าได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้เสียอีก
    เราไม่ต้องไปต่อสู้ฟาดฟันกับมารร้ายที่มาคอยผจญ

    ถ้าท่านรู้สึกเบื่อหน่ายการทำอานาปานสติ ก็จงกำหนดรู้ถึงความรู้สึกอันนั้นไว้ด้วย
    อย่าไปคิดว่าเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำ
    แต่จงให้มันเป็นเรื่องเพลิดเพลิน ทำด้วยความยินดีสนุกสนาน
    เมื่อท่านคิดว่าทำไม่ได้ ก็ให้กำหนดรู้ไว้ว่านั่นคือเครื่องกีดขวาง เป็นนิวรณ์
    เป็นความกลัวหรือความท้อแท้ กำหนดรู้แล้วก็ผ่อนคลายลงไป

    อย่าทำให้การฝึกนี้เป็นเรื่องยาก หรือถือว่าเป็นภาระหนัก
    เมื่ออาตมาบวชใหม่ๆ อาตมาเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง
    จนดูเหมือนกับท่อนไม้แห้งตายซากท่อนหนึ่ง ตกอยู่ในสภาพอันน่าทุเรศ
    เพราะไปคิดว่าจะต้องอย่างนั้นจะต้องอย่างนี้อยู่เรื่อยไป

    ต่อมา อาตมาก็เรียนรู้ที่จะหยิบยกเอาความสงบขึ้นมาพิจารณา
    เมื่อความสงสัยลังเลใจ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความไม่พอใจ ความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น
    อาตมาก็ยกเอาความสงบขึ้นมาพิจารณาท่องคำนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
    สะกดจิตของอาตมาให้ผ่อนคลายลงไป ความสงสัยตนเองเกิดขึ้นมาอีก เช่นว่า

    “นี่เรามาทำอะไรอยู่ ไม่เห็นไปถึงไหน ไม่เห็นได้อะไร
    เป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ จะต้องได้อะไรสักอย่างหนึ่งสิ” เป็นต้น

    แต่แล้วอาตมาก็อยู่กับความรู้สึกเช่นนั้นด้วยความสงบ
    นี้เป็นวิธีหนึ่งที่ท่านอาจจะลองนำไปปฏิบัติดู คือ
    เมื่อเราเครียด เราก็ผ่อนคลายลงเสีย แล้วเริ่มทำอานาปานสติต่อไปใหม่
    ตอนแรกๆ เราจะรู้สึกตัวว่างุ่มง่ามเหมือนกับเราเริ่มหัดดีดกีตาร์
    นิ้วมันแข็งทื่อเทอะทะสิ้นดี แต่พอเราฝึกไปเรื่อย เราก็ชำนาญขึ้น จนกลายเป็นเรื่องง่ายไป

    เราเรียนรู้ที่จะมองดูว่า กำลังมีอะไรเกิดขึ้นในจิตของเรา
    เมื่อมีความง่วงเหงา ความฟุ้งซ่านซัดส่าย หรือมีความเครียด
    เราก็กำหนดรู้ เพียงแต่รู้ไว้เฉยๆ ไม่ต้องไปยุ่งอะไร
    ให้มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ว่ามันเป็นของมันอย่างนั้น

    เราทำความเพียรอยู่กับลมเข้าลมออกไปเรื่อยๆ
    หากกำหนดไม่ได้ ตั้งแต่ต้นลมจนปลายลม ทำได้เพียงครึ่งเดียวก็ยังดี
    คือเราไม่มุ่งหวังจะให้มันถูกต้องครบถ้วนในทันทีทันใดนั้น
    เราค่อยๆ ทำไป ค่อยๆ แก้ไขไป ถ้าขณะที่จิตแส่ส่ายออกไป
    แล้วเราสามารถมีสติตามรู้ว่ามันไปที่ไหนบ้าง ขณะนั้นแหละเรียกว่าเรามีปัญญาเห็นแจ้ง

    ถ้าไปคิดว่าจิตไม่ควรจะเร่ร่อนออกไป เกิดชังตนเอง เกิดความท้อถอย
    ซึ่งก็มักจะเป็นกันเช่นนั้น นั่นแหละคือความโง่เขลา
    ถ้าเราจะฝึกโยคะ เราคงไม่เริ่มต้นด้วยท่าที่รุนแรงอย่างพวกหัตถโยคี
    ดังที่ท่านเคยเห็นในหนังสือ เช่น เอาขาขึ้นมาพันคอ เป็นต้น
    หากเราพยายามทำอย่างนั้น เขาคงต้องหามเราเข้าโรงพยาบาลเป็นแน่
    เราคงจะเริ่มด้วยวิธีง่ายๆ ไปก่อน ค่อยฝึกค่อยเรียนไปทีละขั้น

    อานาปานสติก็เช่นกัน บัดนี้เรารู้วิธีบ้างแล้ว เราก็เริ่มตรงนั้น
    และค่อยๆ ทำความเพียรไปเรื่อยๆ แล้วเราจะเข้าใจว่าสมาธิเป็นอย่างไร
    เมื่อท่านไม่ใช่ซุปเปอร์แมนก็อย่าทำตัวเป็นซุปเปอร์แมน
    อย่าไปพูดว่า “ฉันจะนั่งตรงนี้ และเฝ้าดูลมหายใจของฉันตลอดทั้งคืน”
    ถ้าพูดอย่างนั้นแล้วเกิดทำไม่ได้ ท่านจะขัดเคืองใจ

    กะเวลาเท่าที่ท่านพอจะทำได้ ค่อยๆ ฝึกไป
    จนท่านรู้ได้เองว่าจะทำความเพียรไปแค่ไหน และเมื่อไรจึงจะหยุดพักผ่อน
    คนเราจะเดินได้ก็ต้องหกล้มหกลุกมาก่อน
    ดูเด็กสิ อาตมายังไม่เคยเห็นเด็กตัวน้อยๆ คนใดที่อยู่ๆ ก็ลุกขึ้นเดินได้ทันที
    เด็กจะหัดคลานก่อนและเกาะโน่นเกาะนี่ พยุงตัวขึ้นมา ล้มลงไปแล้วก็พยุงตัวขึ้นมาใหม่
    จิตภาวนาก็เป็นเช่นนั้น เราจะฉลาดขึ้นมาได้ก็ด้วยสังเกตดูความโง่เขลา
    ดูความผิดพลาดที่ได้เคยทำไป นำมาพิจารณาทบทวน
    แต่อย่าไปคิดถึงมันให้มากจนเกินไป เพราะจะกลายเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์

    ถ้าเด็กคิดมากเกินไปก็คงหัดเดินไม่ได้ เราจะไม่คิดอะไรมาก เพียงแต่ทำความเพียรไปเรื่อยๆ
    ในขณะที่เรากำลังมีความกระตือรือร้นและศรัทธาอย่างแรงกล้า
    ในตัวท่านอาจารย์และคำสอนของท่าน ขณะนั้นอะไรๆ ดูมันง่ายไปหมด
    แต่ความกระตือรือร้นอย่างแรงกล้านั้นมันไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง
    แล้วจะนำไปสู่ความเบื่อหน่าย และเมื่อเราเบื่อ เราก็ผละไปหาสิ่งที่ตื่นเต้นเร้าใจแทน

    จะเกิดปัญญาหรือความเห็นแจ้งได้ เราต้องมานะอดทน ปลดเปลื้องความเห็นผิดออกไป
    วิธีนี้วิธีเดียวเท่านั้นที่จะสามารถจะระงับความคิดตามนิสัยเดิมของเรา
    และทำให้เราได้รู้ ได้สัมผัสกับความเงียบสงบและความว่างแห่งจิต
    ถ้าไปอ่านหนังสือที่ว่าด้วยเรื่อง ปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นไปเองตามธรรมชาติของมัน
    โดยไม่ต้องไปพยายามดิ้นรนขวนขวายแต่อย่างใด แล้วเราก็มาคำนึงว่าเราไม่ต้องทำอะไรเลย
    นอนเอกเขนกขี้เกียจไปตามเรื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะตกอยู่ในสภาพที่เซื่องซึมเฉื่อยชา

    ในการปฏิบัติของอาตมา เมื่อใดที่รู้สึกตัวว่าเซื่องซึมไป
    อาตมาจะหันมาให้ความสำคัญในการเปลี่ยนอิริยาบถเสียใหม่
    คือจะยืดตัวให้ตรง เชิดอกขึ้น และเพิ่มพลังในท่านั่ง
    แม้จะทำได้ในระยะสั้นเพียงไม่กี่นาที ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
    ยิ่งเราเลือกเอาทางที่ไม่มีอุปสรรคหรือเอาแต่ของง่ายๆ มากเท่าใด
    เราจะยิ่งตามอารมณ์ ตามตัณหาของเรามากเท่านั้น

    การจะนั่งลงแล้วคิดโน่นคิดนี่ตลอดเวลานั้น มันง่ายกว่านั่งลงแล้วไม่คิด
    เพราะเราติดนิสัยอย่างนั้นมานานแล้ว แม้ความคิดที่ว่า “จะไม่คิด”
    มันก็ยังเป็นความคิดอย่างหนึ่งอยู่ดี ถ้าจะไม่คิดเราต้องมีสติ
    แล้วเพียงเฝ้าสังเกตและฟังการเคลื่อนของจิต แทนที่จะคิดเรื่องจิต
    เราจะเฝ้าดูมัน และแทนที่จะไปติดอยู่กับความคิดความฝัน เราจะรู้ทันมัน
    ความคิดเป็นการเคลื่อนไหว เป็นพลังผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่เที่ยง
    เราเพียงแต่รู้ไว้ว่า ความคิดก็เป็นเพียงความคิด โดยไม่ต้องไปประเมินคุณค่า
    หรือแยกแยะแต่ประการใด แล้วมันจะเบาบางลงไป และจะระงับไปในที่สุด

    นี้ไม่ได้หมายความว่า จงใจไปประหัตประหารมัน แต่ยอมให้ระงับไปเอง
    เป็นลักษณะของความเมตตา นิสัยที่ชอบคิดจะเหือดหายไป
    ความว่างอันไพศาลชนิดที่ไม่เคยประสบมาก่อนก็จะปรากฏแก่ท่าน

    การที่เราสำรวมจิต โดยมีสติกำหนดที่ลมหายใจเข้าออกตามธรรมชาตินั้น
    เรียกว่า “สมถะ” หรือความสงบ จิตจะหายพยศไม่แข็งกระด้างอ่อนละมุนดัดง่าย
    และลมหายใจก็จะละเอียดประณีตเข้าทุกขณะ
    เราจะให้สมถกรรมฐานของเราอยู่ในขั้นที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่)
    ไม่พยายามมุ่งเข้าสู่สมาธิในขั้นฌาน ในขณะนั้นเรายังมีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่
    จิตที่วุ่นวายเร่าร้อนจะระงับลงไป แต่เรายังใช้สติปัญญาได้
    เราใช้สติปัญญาที่มีอยู่พิจารณามองให้เห็นธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงที่เราประสบมา
    ให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง ทนได้ยาก ไม่มีตัวตน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เรามองเห็นได้
    เราพิจารณาต้นลมและปลายลม เฝ้าดูที่ต้นลม อย่าไปคิดอะไร เพียงแต่เฝ้าดูเฉยๆ
    ทำความรู้อยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก ร่างกายมีการหายใจซึ่งเป็นไปเอง
    ลมเข้าทำให้มีลมออก และลมออกทำให้มีลมเข้า เราควบคุมมันไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติ
    ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเรา เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้เรียกว่า เราเจริญวิปัสสนา

    ความรู้ที่เราได้จากการเจริญจิตภาวนาตามพุทธวิธีนั้น เป็นความรู้ชนิดอ่อนน้อมถ่อมตน
    ท่านอาจารย์ชามักเรียกว่า เป็นความรู้ของไส้เดือน คือไม่ทำให้ท่านหยิ่งผยองพองขน
    ไม่ทำให้รู้สึกว่าได้อะไรหรือบรรลุอะไร ในทางโลกนั้นการฝึกชนิดนี้ดูจะไม่สำคัญหรือจำเป็น
    ไม่มีใครไปพาดหัวข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า
    “เวลาสองทุ่มเมื่อคืนนี้ ท่านสุเมโธได้ลมหายใจเข้าไปเฮือกหนึ่ง”
    หลายคนชอบนั่งคิดว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาโลกได้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
    ทำอย่างไรจึงจะช่วยประชาชนในโลกที่สามได้ ทำอย่างไรจะให้โลกนี้มันดีมันถูกต้อง
    เมื่อเราเอาสิ่งเหล่านี้มาเทียบกันดูแล้ว การเฝ้าสังเกตลมหายใจของเราไม่น่าจะสำคัญแต่อย่างใดเลย

    บางคนคิดว่าไปเสียเวลาทำไม มีคนมาพูดกับอาตมาในเรื่องนี้ว่า

    “พระพวกนี้มานั่งทำอะไรกัน ได้ทำอะไรในทางช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์บ้าง
    พวกท่านเห็นแก่ตัว คอยแต่จะให้คนเอาอาหารมาให้กิน
    ส่วนท่านเอาแต่นั่งเฝ้าดูลมหายใจ ท่านหนีหน้าจากโลกอันแท้จริง”

    แต่แล้วโลกอันแท้จริงที่ว่านั้นคืออะไรกันแน่ จริงๆ แล้วใครเป็นคนหนีและหนีจากอะไร
    และอะไรล่ะคือสิ่งที่เราจะต้องสู้หน้า เราพบว่าโลกอันแท้จริงที่เขาว่านั้นคือ
    โลกแห่งความเชื่อของเขา โลกที่เขาถูกผูกตรึงอยู่ หรือโลกที่เขารู้จักคุ้นเคย
    แต่โลกอย่างนั้นเป็นสภาวะอย่างหนึ่งของจิต

    จิตภาวนาเป็นการเผชิญหน้ากับโลกที่แท้จริง
    คือรู้จักและยอมรับตามที่มันเป็นจริง
    ไม่ใช่ไปเชื่อหรืออ้างเหตุผลต่างๆ นานา

    โลกที่แท้จริงนั้นดำเนินไปตามรูปแบบของการเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป
    เช่นเดียวกับลมหายใจ เราไม่ได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งปวง
    หรือไปคว้าเอาทรรศนะทางปรัชญาจากที่อื่นมาอ้างเป็นเหตุผล
    แต่ดูความเป็นไปของธรรมชาติได้โดยการเฝ้าดูลมหายใจของเรา
    เมื่อเราเฝ้าดูลมหายใจก็เท่ากับเฝ้าดูธรรมชาติ
    และเมื่อเราเข้าใจธรรมชาติของลมหายใจ เราก็เข้าใจธรรมชาติของสังขารทั้งหลาย

    ถ้าเราจะพยายามทำความเข้าใจกับสภาวะที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง
    ในแง่มุมอันหลากหลายแล้วละก็ จะเป็นเรื่องยุ่งยากยิ่งเกินกำลังที่จิตของเราจะทำได้
    เราจึงเรียนรู้จากของง่ายๆ อย่างนี้ ด้วยจิตที่สงบ
    เราจะรู้ถึงลักษณะที่เป็นวงจร คือเราเห็นว่ามีเกิด ก็มีดับ
    วงจรนี้เรียกว่า “สังสาระ” หรือเวียนเกิดเวียนตาย
    เราสังเกตเห็นสังสารวัฏของลมหายใจ เราหายใจเข้าแล้วหายใจออก
    จะหายใจเข้าหรือออกแต่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะมันอิงกันอยู่
    มันคงน่าขันสิ้นดีถ้าไปคิดว่า “ฉันต้องการแต่ลมหายใจเข้าอย่างเดียว
    ไม่เอาลมหายใจออก ชีวิตของฉันจะอยู่กับลมหายใจเข้าอย่างเดียวเท่านั้น”

    ถ้าอาตมาพูดอย่างนี้กับท่าน ท่านคงคิดว่าอาตมาเป็นบ้าไปแล้ว
    แต่คนส่วนใหญ่เขาทำอยู่อย่างนั้น ดูเถอะว่าพวกเราโง่เขลาเพียงใด
    ในเมื่อเขาต้องการเกาะติดอยู่กับความตื่นเต้นเร้าใจ
    ความเพลิดเพลินสนุกสนาน ความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความสวยความงาม
    ความแข็งแรงกระฉับกระเฉงแต่เพียงด้านเดียว มันเป็นความบ้าบอ
    แบบเดียวกับที่ท่านได้ยินอาตมาพูดข้างต้นว่า ต้องการแต่ลมหายใจเข้าอย่างเดียว

    เมื่อเราได้เห็นแล้วว่า การยึดมั่นอยู่กับความสวยงาม ความลุ่มหลง
    ความเพลิดเพลินในกามคุณ จะนำเราไปสู่ความผิดหวังในที่สุดเช่นนี้แล้ว
    ท่าทีของเราก็คือไม่ยึดมั่นถือมั่น ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจงใจจะประหัตประหาร
    แต่จะปล่อยวางไปเฉยๆ ไม่เกี่ยวเกาะอีกต่อไป ไม่เสาะแสวงหาความครบถ้วนสมบูรณ์
    ในส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจร แต่มองให้เห็นว่าความครบถ้วนสมบูรณ์นั้น
    อยู่ในวงจรทั้งวงจร ซึ่งมีชรา พยาธิ มรณะอยู่ในนั้นด้วย

    อะไรก็ตามที่เกิดมาจากความว่าง เมื่อขึ้นสู่สุดยอดแล้ว จะตกกลับมายังความว่างนั้นอีก
    และนี่คือความครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อเราเริ่มเห็นสังขารทั้งหลายมีลักษณะเกิดดับ
    เกิดดับ อยู่เช่นนั้น เราก็จะตั้งต้นก้าวไปสู่สภาพที่ปราศจากการปรุงแต่ง
    คือความสงบแห่งจิตและความเงียบ เราจะเริ่มสัมผัสกับสุญญตาหรือความว่าง
    ซึ่งมิได้หมายความว่าไม่มีอะไรเลย แต่เป็นความใสสว่างและความเงียบที่ก้องกังวาน
    แทนที่จะหันไปสู่สภาพที่เกิดจากการปรุงแต่งของลมหายใจและจิต
    เราจะหันไปสู่ความว่าง เราจะมองเห็นซึ้งถึงสภาวะเหล่านั้น
    และจะไม่ตามืดหลงไปมีปฏิกิริยาตอบโต้กับมันอีกต่อไป

    มันมีอยู่อย่างนี้ คือสภาพที่เกิดจากการปรุงแต่ง สภาพที่ปราศจากการปรุงแต่ง
    และความรู้แจ้ง ที่ว่าความรู้แจ้งนั้นคืออะไร เป็นความทรงจำใช่ไหม
    เป็นความรู้สึกตัวใช่ไหม หรือว่าเป็นเรา อาตมาหาคำตอบให้ไม่ได้ แต่อาตมารู้จักได้

    ในการปฏิบัติจิตภาวนาทางพุทธศาสนานั้น เราอยู่กับความรู้อันนี้
    รู้อยู่ ตื่นอยู่ เบิกบานอยู่ เป็นพุทธะอยู่ในปัจจุบันนั้น รู้ว่ามีเกิดก็มีดับ ไม่มีตัวตน
    เรานำความรู้แจ้งนี้มาใช้กับทุกๆ สิ่ง ทั้งที่เกิดจากการปรุงแต่ง และที่ไม่มีการปรุงแต่ง
    มันเป็นเรื่องนอกเหตุเหนือผล เหนือพ้นความเข้าใจ เราตื่นอยู่ ไม่หลีกหนีไปไหน
    และทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาสามัญนี่เอง เรามีอิริยาบถสี่ คือ นั่ง ยืน เดิน นอน
    ไม่ต้องไปใช้ท่าเอาก้นชี้ฟ้า หรือหกคะเมนตีลังกา
    เราใช้อิริยาบถทั้งสี่นี้กับลมหายใจเข้าออกธรรมดานี่เอง
    เพราะเรากำลังเคลื่อนไปสู่สิ่งที่เป็นธรรมดาสามัญ ไม่มีการปรุงแต่ง
    สภาพที่เกิดจากการปรุงแต่งมันผิดธรรมดา มันพิเศษออกไป
    แต่ความสงบแห่งจิตนั้นไม่มีการปรุงแต่ง เป็นของธรรมดาๆ
    จนคนไม่อาจสังเกตได้ มันมีของมันอยู่แล้วตลอดเวลา

    ที่เราไม่อาจสังเกตได้ ก็เพราะเราไปเกาะเกี่ยวเหนี่ยวหน่วงอยู่กับสิ่งที่ลึกลับ
    และน่าตื่นเต้นเร้าใจ บัดนี้ด้วยความรู้แจ้งเช่นนั้น เรากลับไปสู่จุดเดิมในจิตภาวนา
    คือความสงบระงับ เราเข้าใจได้ว่า โลกนี้มันก็เป็นของมันอย่างนั้น
    เราจะไม่ถูกหลอกให้หลงอีกต่อไป ความประจักษ์แจ้งในสังสารวัฏนำไปสู่ความเห็นแจ้งในนิพพาน

    ความรู้แจ้งของพระพุทธเจ้ามีอยู่สองอย่าง คือ
    รู้แจ้งในสภาพที่เกิดจากการปรุงแต่ง และที่ปราศจากการปรุงแต่ง
    รู้ถึงความเป็นไปของสรรพสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ปราศจากอุปาทาน
    ในขณะนี้เองเรารู้สภาพของจิต รู้สึกขณะเราได้เห็น ได้ยิน ได้รู้รส ได้กลิ่น และได้นึกคิด
    ตลอดจนรับรู้ความว่างแห่งจิต ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นเป็นคำสอนที่ตรง
    การฝึกปฏิบัติของเรามิได้มีความมุ่งหมายที่จะให้สำเร็จบรรลุมรรคผลอันใด
    แต่เพื่อให้รู้แจ้งในปัจจุบันขณะเท่านั้น


    ที่มาของข้อมูล Home Main Page
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    งานปฎิบัติธรรม พระราชสุเมธาจารย์....สังขารเป็นทุกข์

    BWPP
    Published on Jan 9, 2017

    งานปฎิบัติธรรม, ปิดทองลูกนิมิตและผูกพัทธสีมา ณ วัดเขาวันชัยนวรัตน์ - พระธรรมเทศนาโดย พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) วันที่ ๒ ม.ค.๒๕๖๐ ช่วงเช้า
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    หลวงพ่อสุเมโธ002 ฝึกภาวนากับหลวงปู่ชา ณ วัดหนองป่าพง ปี 2552

    JchaiJane
    Published on Aug 21, 2013
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    หลวงพ่อสุเมโธ 12FEB54 ฟ้าสางฯ

    ห้องธรรมะใจสว่าง เชียงดาว
    Published on Dec 5, 2011
    +++ตอนนี้เป็นวีดีโอ"ปฏิปทาหลวงพ่อปัญญากับพุทธศาสนาไทยในอนาคต" โดย พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) : วัดอมรวดี ประเทศอังกฤษแสดงธรรมบรรยาย
    +++ในงาน ฟ้าสางที่กลางอุโมงค์ วันที่12 กุมภาพันธ์ 2554
    +++โครงการอาจาริยบูชาวาระ๑๐๐ปีชาตกาลหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุฟ้าสางที่กลางอุโมงค์ วันเสาร์ที่๑๒-๑๓กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๕๕๔
    +++ไตเติ้ลจะยาวหน่อยนะคะ เพราะอยากให้ รำลึกถึงหลวงพ่อปัญญาค่ะ สาธุๆๆ
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ประวัติหลวงพ่อสุเมโธ

    JchaiJane
    Published on Nov 20, 2017

    หลวงพ่อสุเมโธ พระราชสุเมธาจารย์ ลูกศิษย์ชาวต่างชาติองค์แรกของหลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    หลวงพ่อสุเมโธ010 ณ วัดป่าอัมพวัน วันที่ ๑๐ ก พ ๕๔

    JchaiJane
    Published on Sep 1, 2013
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    หลวงพ่อสุเมโธ006 Teht tie WPN Wan Pra chao)4มค2554

    หลวงพ่อสุเมโธ007 Sammodaniyakatha WPN 9มค2554

    หลวงพ่อสุเมโธ011 แสดงธรรมเมื่อ6มค2548

    JchaiJane
    Published on Sep 5, 2013
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    หลวงพ่อสุเมโธ005 Teht tie WPN Wan Pra chao)29ธค2553

    JchaiJane
    Published on Aug 25, 2013
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    มุทิตาสักการะ80ปีพระราชสุเมธาจารย์หลวงพ่อสุเมโธ

    Young Buddhists Association of Thailand
    Published on Oct 3, 2014
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ชีวิตไม่สิ้นหวัง9มีค57

    Manoonthum Thachai
    Published on Mar 8, 2014
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    คำแนะนำจากหลวงปู่ชา - หลวงพ่อสุเมโธ

    The Noble Path
    Published on Nov 27, 2015
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    พระราชสุเมธาจารย์ วัดอมราวดี กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็น พระเทพญาณวิเทศ
    พระราชสุเมธาจารย์ - ธรระเพื่อความเจริญในชีวิต (5/10/2557)

    Young Buddhists Association of Thailand
    Published on Dec 11, 2018
    งานมุทิตาสักการะอายุวัฒนะมงคล 80 ปี พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ) วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2557
    ณ ห้องจวงจันทร์ สิงหเสนี อาคารสิริ กรินชัย ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    เลขที่ 4 เพชรเกษม 54 แยก 6 บางด้วน กรุงเทพมหานคร 10160



     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    เทคนิคการสอนพระธรรมจากหลวงปู่ชา โดย หลวงพ่อสุเมโธ

    ตามรอยพระอรหันต์
    Published on Oct 27, 2018
    พระราชสุเมธาจารย์ "ตอบปัญหาธรรม" (31 ม.ค.2552)

    Young Buddhists Association of Thailand
    Published on May 21, 2018โครงการจิตใส ใจสบาย ปี 2552 วันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2552 โดย พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)(เจ้าอาวาสวัดอมราวดี กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร) ณ ชั้น 4 อาคารธรรมนิเวศ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 4 เพชรเกษม 54 แยก 6 บางด้วน กรุงเทพมหานคร 10160
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    อาจารย์ยอด : พระฝรั่งองค์แรก พระราชสุเมธาจารย์ 1 [พระ] new

    อาจารย์ยอด : พระฝรั่งองค์แรก พระราชสุเมธาจารย์ 2 [พระ] new

    อาจารย์ยอด
    Jan 18, 2020
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    “กระจกหกด้านบานใหม่” ชุด “เส้นทางสู่...อมราวดี ตอน 1. ทุกข์”

    “กระจกหกด้านบานใหม่” ชุด “เส้นทางสู่...อมราวดี ตอน 2. อริยสัจ”

    krajokhokdan
    Oct 13, 2016
     

แชร์หน้านี้

Loading...