สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 19 กันยายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    b982e0b8a5e0b881e0b897e0b8b5e0b9886-e0b8aae0b8a1e0b980e0b894e0b987e0b888e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89e.jpg

    “สมเด็จพระพุฒาจารย์” (โต พรหมรังสี) พระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 4-5

    ธรรมะและวัตรปฏิบัติของ สมเด็จโต วัดระฆังฯ ยังคงจับจิตตรึงใจผู้คนทุกยุคสมัย แม้กระทั่งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เป็นตำนานที่เล่ากี่ครั้งกี่หนก็บังเกิดแต่ความรู้สึกดี

    สมเด็จโต เป็นพระสงฆ์ที่คนรู้จักมากที่สุด พระชินบัญชรคาถา เป็นบทสวดภาวนาที่ได้รับความศรัทธาสูงสุด แต่ละบทกล่าวสรรเสริญ และอัญเชิญพระบารมีแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตลอดทั้ง พระอรหัตสาวกทั้งหลาย เพื่อการปกป้องคุ้มครองรักษาผู้สวด

    ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ของวันพฤหัสบดีที่ 17 เม.ย.2331 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก จุลศักราช 1150 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    บิดาไม่ปรากฏนาม มารดาชื่อ “เกศร์” หรือ “เกตุ” บางตำราว่าชื่อ “นางงุด” ดั้งเดิมเป็นชาวอุตรดิตถ์ ก่อนโยกย้ายมาให้ กำเนิดท่านที่บ้าน ต.ไก่จ้น อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

    บรรพชาที่วัดอินทรวิหาร พระบวรวิริยเถระ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพูบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นนาคหลวง สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์

    การศึกษาพระปริยัติธรรม เล่าเรียนจากสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ และเรียนต่อกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุฯ นอกจากนี้แล้วไม่มีบันทึกไว้ชัดเจน

    แต่ที่ทราบ คือ ครั้งเป็นสามเณรโต มักได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์ว่ามีความทรงจำดีเยี่ยม มีปฏิภาณเป็นยอด ยิ่งเมื่อเป็น พระภิกษุเต็มตัว ยิ่งทรงคุณ ทรงความรู้ ทรงภูมิธรรม มีสติปัญญาฉลาดหลักแหลม เฉลียวฉลาดแตกฉานในวิทยาการต่างๆ

    วิปัสสนาธุระ คันถธุระ และหรือคุณวุฒิเด่นๆ อย่าง โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ล้วนเป็นเลิศ

    [​IMG] [​IMG]

    กล่าวกันว่า ท่านชอบสร้างอะไรให้ใหญ่โตไว้เพื่อให้สมกับนามของท่าน งานประติมากรรมที่เป็นอนุสรณ์รู้จักกันดี อาทิ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา อนุสรณ์ว่าท่านได้เกิดที่นั่น, พระพุทธรูปยืน (พระศรีอาริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร กทม. อนุสรณ์ว่าท่านมาหัดเดินและเติบโต, พระเจดีย์นอน วัดลครทำ กรุงเทพฯ สร้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้เป็นพระธรรมเจดีย์บรรจุพระธรรม, พระพุทธรูปนั่ง วัดพิตเพียน (วัดกุฎีทอง) จ.พระนครศรีอยุธยา, พระพุทธรูปยืน วัดกลางคลองข่อย ฯลฯ

    นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน นอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิทยาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ถูกจัดเข้าใน พระเครื่องเบญจภาคี หรือ สุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย

    ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

    ท่านยังปรากฏเกียรติคุณความเป็นพระนักเทศน์ระดับชั้นธรรมกถึก ในอดีตพระเถระผู้ใหญ่ระดับชั้นพระราชาคณะ ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าสวดฉันจังหัน และแสดงธรรมเทศนาในพระบรมมหาราชวัง โดยมีในหลวงทรงเป็นประธาน

    สมเด็จโตเทศน์กัณฑ์มัทรีได้ไพเราะเพราะพริ้ง จนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดให้เป็นนาคหลวง และ รัชกาลที่ 2 พระราชทานเรือกราบกันยา หลังคากระแชง ซึ่งเป็นเรือทรงในพระองค์เจ้าให้ไว้ใช้ในกิจส่วนตัว

    รัชกาลที่ 4 ก็โปรดการเทศน์ของสมเด็จฯ เป็นอย่างมาก ขนาดตรัสว่า “ถ้าไม่ได้เห็นขรัวโตหลายๆ วันครั้งใด รู้สึกเหงาๆ ได้สนทนากับขรัวโตแล้วสบายใจดี”

    รัชกาลที่ 4 ทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็น พระราชาคณะที่ พระธรรมกิตติ

    ถัดมาอีก 2 ปี ทรงสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์รูปที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สืบแทนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศ

    ในปีที่ 5 แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จฯ ได้ไปดูการก่อสร้างพระโต วัดบางขุนพรหมใน เกิดอาพาธด้วยโรคชราภาพ และถึงแก่มรณภาพบนศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร) ตรงกับวันที่ 22 มิ.ย.2415 สิริอายุ 85 ปี พรรษา 65

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_1583116
     

แชร์หน้านี้

Loading...