ลักษณะของ ผ้าไตรจีวร สีพระราชนิยม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 19 มกราคม 2021.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +53
    llEjx8.jpg
    ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าจีวร 3 ผืน เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ ผ้าจีวร และผ้าสบง แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร ส่วนในการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรจะมีอยู่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อบรรพชาอุปสมบท หรือ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ อันดับแรกเมื่อเรารู้จุดประสงค์ของการซื้อผ้าไตรจีวรแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ สีของผ้าไตรจีวร ก่อนที่จะซื้อเราต้องสอบถามทางวัดก่อนว่าทางวัดใช้ผ้าไตรจีวรสีอะไร เพราะแต่ละวัดจะใช้สีไม่เหมือนกัน เมื่อเรารู้ทั้งจุดประสงค์ แล้วก็สีของไตรจีวรแล้ว เราจะมาดูส่วนของผ้าไตรจีวรกันว่ามีกี่แบบแต่ละแบบมีอะไรบ้าง

    ผ้าไตรจีวร โดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
    1. ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย

    – จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม

    – สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง

    – อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม

    – สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร แต่พระเอามาใช้พาดบ่า

    – ผ้ารัดอก : ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย

    – รัดประคต : คือเชือกไว้รัดสบง หมีหน้าที่เสมือนข็มขัดของพระ

    – ผ้าประเคน : เป็นผ้าที่ใช้รับสิ่งของ

    2. ไตรอาศัย(ใช้ในชีวิตประจำวัน) ประกอบด้วย

    – จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม

    – สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง

    – อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม

    สีของผ้าไตรจีวร

    ผ้าไตรจีวร ในปัจจุบันมีหลายสีด้วยกัน แต่ละวัดก็ใช้สีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละวัด ปัจจุบันสีที่นิยม และพบได้มาก ประกอบก้วย 6 สี ได้แก่

    1. สีทอง หรือ สีเหลือส้ม ปัจจุบันเป็นสีเนื้อผ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ตามวัดต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
    2. สีพระราชทาน หรือ สีพระราชนิยม ส่วนมากเป็นสีที่พบมากและส่วนมากพระจะนิยมครองผ้าสีนี้ในงานพิธีต่างๆ
    3. สีแก่นบวช เป็นสีที่พบมากเช่นเดียวกันในหมุ๋ซํโ)ษ?ฒ๊๕ซษฒฌ๕ณ๋.๕ณํโ
    4. สีแก่นขนุน เป็นสีที่พบในวัดสำคัญๆ เช่น วัดบวร วัดสังฆทาน วัดหนองป่าพง และสายวัดป่า เป็นต้น
    5. สีกรัก หรือสีอันโกโซน/สีน้ำหมาก ซึ่งพบเห็นได้ตามวัดป่า พระที่ครองสีนี้ เช่น ฟลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร เจ้าอาวาสวัดศรีนวลธรรมวิมล เป็นต้น
    6. สีกวักพิเศษ หรือสีครูบา เป็นสีที่สามารถพบเห็นได้น้อย และใชช้กันแฉพาะบางวัดเท่านั้น โดยส่วนมากแล้ว
    ถ้าจำเป็นจะต้องไปถวายวัดป่า หรือวัดที่ใช้สีเนื้อผ้าที่แตกต่างกับสีผ้าทั่วไปนั้น เราจะนิยมถวายเนื้อผ้าสีขาว โดยพระท่านจะนำผ้าเหล่านั้นไปย้อมเป็นสีต่างๆ เอง เพื่อให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้

    ทั้งนี้ ไม่ได้กล่าวไว้แน่นอน แต่มีการกำหนดห้ามในสีต่างๆ ที่แวววาว เช่น สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ แต่มีคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุทรงเมื่อครั้งพระสงฆ์มาประชุมกันเป็นจำนวนมารกว่า “ภิกษุเหล่านี้ ดูช่างงดงามราวกับผ้ากัมพล (ผ้าสักหลาดหรือผ้าขนสัตว์) ที่มีสีเพียงดีงสีใบไม้แห้ง (ปัณฑปลาโส ใบไม้แห้ง)”

    ไตรครองผืนนี้มีให้พระสงฆ์ท่านอย่างครบพร้อมสำหรับทั้งฤดูหนาวฤดูร้อน และชุดนี้ยังรวมทั้งไตรครอง ไตรอาศัยเข้าไว้ด้วยกัน และยังมีทุกผ้าตามพระวินัยระบุแม้ราคาจะสูงแต่ถ้าได้ถวายท่านแล้วย่อมเกิดประโยชน์ในการใช้งานสูงสุดอย่างแน่นอน

    ข้อดี เหมาะกับถวายทั่วไปและเมื่อเพิ่งบวช เนื้อผ้าดี ถูกพระวินัย ข้อเสีย ความยาวอาจยังไม่เหมาะกับทุกส่วนสูง
     

แชร์หน้านี้

Loading...