ร่วมทำบุญบูชา สำเร็จครูประทับมหาสมาคมฟ้าสลับหัว(เคลียร์สะสางมหากาลไม่ทำร้าย) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    แจ้งการส่งEMS
    พี่วิชัย ER 5709 6386 6 TH
     
  2. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    ก็ราตรีสวัสดิ์นะครับ สวดมนต์ทำสมาธิแล้วอย่าลืมแผ่เมตตากันนะ สำคัญเลย;)
     
  3. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    พลังงานทางจิต

    อรุณสวัสดิ์นะครับ วันนี้ก็เอาบทความเรื่อพลังจิตมาลงไว้ให้ เพราะอ่านแล้วเห็นว่าน่่สนใจดี มีวิธีการฝึกด้วย ถ้าท่นไหนสนใจก็ลองศึกษาดูได้ไม่เสียหาย
    ;)

    การฝึกพลังจิต

    การฝึกใช้พลังจิตเล่นฤทธิมีมานานตั้งแต่อดีตนับพันปี เป็นเรื่องจริงที่ไม่ต้องสงสัยจากอดีตนักบวชฤาษีโยคีจนถึงปัจจุบันนักจิตวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ ศึกษาเรื่องพลังจิต โดยเฉพาะการนำพลังจิตมาใช้ บันทึกคัมภีร์ทางพุทธศาสนา่เขียนวิธีการฝึกจิตให้มีฤทธิ นึกคิดเป็นไปตามความต้องการ เรียกว่ามโนมยิทธิ อิทธิวิธี ดังเช่นตำราจิตตานุภาพ ,ทิพยอำนาจ,วิสุทธิมรรค,ไตรปิฎก อธิบาย วิธีการฝึกจิตอย่างละเอียดเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล

    จิตเป็นกระบวนการทำงานของสมอง ที่รับรู้สิ่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกร่างกาย มีกระบวนการ รู้ จำ คิด รู้สึก ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าขนาดต่ำ หรืออาจกล่าวได้ว่าจิตเป็นพลังงานนั้นเอง การฝึกจิตจึงเป็นกระบวนการฝึกใช้สมองควบคุมกระบวนการทำงานของสมอง พลังจิต เป็นพลังสมองที่ฝึกให้เกิดผลขึ้น เช่น การฝึกเพื่อมีพลังจิตคุ้มครองตนและสิ่งที่ต้องการ(วัตถุมงคล,บุคคล), การฝึกเพื่อสำแดงฤทธิผลาดแผลงสยบศัตรู และให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา,การสะกดจิตควบคุมความคิดบำบัดอาการและรักษาโรค

    พลังจิตที่สำคัญที่สุดคือการฝึกเพื่อให้เกิดความฉลาดรู้แจ้งเห็นจริง(ปัญญา:ญาณทัสนะ)รอบรู้ทุกสรรพสิ่งจนถึงขั้นพ้นความทุกข์อยู่เหนือโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดเป็นอมตะซึ่งจะเรียกว่าอยู่กับพระเจ้า หรือ นิพพาน สงบเย็นก็ได
    การใช้พลังจิตในทางที่ผิดจะก่อเภทภัยแก่ตนเอง การใช้พลังทำลายล้างก่อเวรกรรมดังเช่นผู้ใช้ไสยเวทในทางที่ผิดมักประสบเคราะห์กรรมไม่ตายดี ไสยเวทย์เป็นการใช้พลังจิตผ่านคาถาอาคมหรือเวทย์มนตร์ การท่องคาถานั้นจัดเป็นการรวบรวมพลังจิตเพื่อใช้ให้เกิดผลที่ตนต้องการมักเป็นไปในทางไม่ดีเนื่องจากไม่ทราบเหตุผลแห่งการกระทำที่แท้จริงจึงเรียกเวทมนต์ของผู้ไม่รู้หรือผู้หลับไหล ส่วนพุทธมนต์เป็นคำสอนของผู้รู้ผู้ตื่น บทสวดเพื่อท่องจำวิธีปฏิบัติและคำสอนที่ช่วยให้ผู้สวดเข้าใจวิธีปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์และสามารถถ่ายทอดยังคนรุ่นต่อไป ดังนั้นผู้ฝึกพลังจิตควรมีความปกติ(ศีล)ไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นเพื่อคุ้มครองตนและทำให้การฝึกจิตได้ง่ายหรือเกิดความฉลาดรอบรู้ วิธีการเอาชนะโดยไม่ใช้กำลังและการฆ่าฟันเบียดเบียนผู้อื่น รวมทั้งเข้าสู่ความเป็นอมตะเหนือการเวียนว่ายตายเกิด
    จิต(สมอง)ที่ฝึกแล้วมีพลังที่สามารถควบคุมทุกสรรพสิ่งทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ทั้งมวลสารและพลังงาน ควบคุมการ เปลี่ยนแปลงพลังงานและมวลสารตามความต้องการ เป็นได้ดังใจนึกคิด(มโนมยิทธิ) และสามารถแสดงฤทธิ (อิทธิวิธี)
    ความฉลาดรอบรู้ พ้นทุกข์
    ตาทิพย์เห็นอดีต อนาคต เหตุผล
    หูทิพย์
    อ่านใจคน
    ควบคุมสะกดจิตผู้อื่น
    ควบคุมเปลี่ยนแปลงวัตถุธาตุ มวลสารและพลังงาน
    เคลื่อนย้ายวัตถุ
    เหาะเหิรเดินอากาศ เดินบนน้ำ เดินผ่านวัตถุ หายตัว
    สื่อสารทางจิต

    ขั้นตอนการฝึก
    1.ควบคุมความคิดให้สงบจากเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจที่ไม่หยุดนิ่ง มีสติรู้เท่าทันต่อความคิดต่างๆที่เกิดขึ้น หยุดการคิดปรุงแต่งที่ต้องใช้พลังงาน ด้วยการนั่ง นอนหรืออิริยาบถที่สะดวก ฝึกในสถานที่สงบเหมาะสมกับตนเอง การฝึกสมาธิ(Meditation)มีสติรู้สึกตัว รู้ว่าคิดเรื่องอะไรหรือไม่คิด
    2.ทำจิต(สมอง)ให้ปรอดโปร่งจากสิ่งดึงรั้งคืออารมณ์ต่างๆที่ไม่น่าปราถนา
    แก้ไขอารมณ์ที่ทำให้สูญเสียพลังไปกับการคิดต่างๆที่ไม่เกิดประโยชน์ โดยคิดในทางตรงข้าม
    แก้ความโกรธด้วยความรัก
    แก้ความสงสัยด้วยศรัทธาความเชื่อที่ดีและถูกต้อง
    แก้ราคะสุภะด้วยวิราคะ อสุภะ
    แก้ความง่วงด้วยการตื่น(เพ่งแสงสว่าง)
    แก้ความฟุ้งซ่านด้วยความสงบ
    สรรพสิ่งมีสองด้านหากด้านใดมากไปก็แก้โดยเพิ่มด้านตรงข้าม เพื่อเข้าสู่สมดุลสภาวะปกติที่จิตสงบปรอดโปร่ง เย็นสบาย ไม่ร้อนรนด้วยสิ่งผูกรัดดังกล่าว จึงสามารถใช้จิตสร้างพลังงานที่ก่อให้เกิดฤทธิต่างๆได้โดยง่าย
    3.รวบรวมพลังจิต เมื่อทำจิตให้เกิดสมาธินิ่งสงบจากความคิดต่างๆสร้างภาพในใจ(มโนภาพ)โดย
    กำหนดให้จิตคิดติดอยู่กับฐานที่กำหนด :ลมหายใจ ร่างกาย หรือวัตถุ
    เพ่ง วัตถุธาติ ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ ,สีเขียวแดงเหลืองขาว ,อากาศ ,ความสว่าง
    4.สร้างพลังจิตให้แรงกล้า ด้วยการฝึกดังกล่าวจนมีสมาธิโดยไม่ต้องนั่งหลับตา มีจิตสงบนิ่งเข้มแข็งในทุกอิริยาบถของการเคลื่อนไหว ร่างกายเคลื่อนไหวแต่จิตหยุดนิ่งอยู่กับมโนภาพ(วัตถุ รูป)ที่เพ่ง เช่น เพ่งจนไม่ต้องเพ่งวัตถุอีกต่อไป ก็สามารถกำหนด ให้เห็นดิน น้ำ ลม ไฟ สีต่าง อากาศ แสงสว่าง แม้ในเวลาหลับตาหรือลืมตาทุกอิริยาบถ การเพ่งกสิณ ทำให้เล่นฤทธิต่างๆ เช่น กำหนดให้เกิดน้ำ ฝนตกมีสีแดง(ฝนโบกขรณี) เกิดจากการเพ่งน้ำและสีแดง จนมีพลังควบคุมวัตถุธาตุให้เกิดน้ำสีแดงในอากาศ ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้ญาติเกิดศรัทธาจากการเล่นฤทธิ
    5.การใช้พลังจิต(สำแดงฤทธิ) พลังจิต(การใช้พลังไฟฟ้าสมอง)กำหนดและควบคุมสรรพสิ่งให้เป็นไปตามที่ต้องการ การปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้าจากสมองผ่านหน้าผากสุ่ภายนอกเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการ เช่น

    ๑.เกิดความฉลาดรู้แจ้งทุกสรรพสิ่ง ฝึกคิดอย่างมีเหตุผล แก้ไขปัญหาคือความไม่รู้ด้วยการแสวงหาความรู้จริง เมื่อฝึกคิดมากขึ้นจะเกิดความชำนาญในการใช้ความคิดแก้ปัญหาเกิดความรอบรู้
    ๒.ควบคุมความคิด สะกดจิต การฝึกเริ่มจากมีสติระลึกรู้เรื่องที่คิด การเปลี่ยนแปลงของการคิดของตนเอง ฝึกสะกดจิตตนเองหรือควบคุมความคิดตนเองให้ได้ เช่นฝึกการคิดในเรื่องที่ต้องการ การเปลี่ยนความคิด การหยุดคิด ฝึกสะกดจิตตนเองให้หลับและตื่นในเวลาที่กำหนด เมื่อฝึกจนชำนาญจะมีสติดีและความคิดที่ดีขึ้นรวมทั้งพลังที่จะควบคุมความคิดตนเอง เมื่อสะกดจิตตนเองได้จึงฝึกสะกดจิตผู้อื่น หัดอ่านใจและสะกดจิตควบคุมความคิดผู้อื่นให้กระทำหรือคิดในสิ่งที่เราต้องการ การฝึกอ่านใจและสะกดจิตนำไปสู่การสื่อสารทางจิตซึ่งไม่ต้องใช้ภาษาพูดสื่อสารโดยตรงสู่สมอง
    ๓.อ่านจิตรู้ใจคน การฝึกเริ่มจากการหัดอ่านใจตนเอง ดูใจตนเอง หรือรู้ว่าตนคิดเรื่องใด เมื่อมีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นเช่น รัก เศร้า เสียใจ โกรธ ดีใจ เป็นต้น และหัดอ่านภาษากายเมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ต่างๆเมื่อฝึกอ่านใจดูใจตนเองเป็นชำนาญแล้ว จึงเริ่มฝึกอ่านใจดูใจผู้อื่น ทดลองทายใจผู้อื่นว่าคิดอะไร จะพูดหรือทำอะไรและทำสิ่งนั้นจริงดังที่เราทายใจหรืออ่านใจหรือไม่ เมื่อฝึกบ่อยๆจะเกิดความชำนาญและมีพลังจิตที่สูงขึ้น
    ๔.ควบคุมมวลสาร,พลังงาน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทำให้เกิด ดิน น้ำ ลม ไฟ สี แสงสว่าง อากาศ จากพลังจิตซึ่งเป็นพลังของคลื่นไฟฟ้าในสมองเหนี่ยวนำการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กและพลังงานระดับอะตอมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของธาตุต่างๆก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นลุกโซ่ต่อเนื่องจนเกิดการแปรเปลี่ยนของสิ่งแวดล้อมและวัตถุธาตุ การจะควบคุมได้ต้องเข้าใจความจริงการแปรเปลี่ยนของสรรพสิ่งอย่างมีเหตุและผล เมื่อมีพลังงาน ไฟเกิดขึ้นจะเกิดการเคลื่อนของลม เมื่อมีลมเกิดขึ้นจะเกิดการเคลื่อนของน้ำ เมื่อน้ำเคลื่อนจะเกิดการเคลื่อนไหวของดิน (โลกนี้แผ่นดินลอยอยู่บนของเหลว) พลังความร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมวลสารอากาศ น้ำ ดินต่อเนื่องกัน นอกจากนี้การใช้พลังจิตก่อให้เกิดการเปลี่ยนสภาพของสสารต่างๆโดยตรงเมื่อพลังจิตมากเพียงพอ ฝึกสร้างภาพในใจ(มโนภาพ)ถึงสิ่งที่ต้องการ สร้างมโนภาพให้เด่นชัดและต่อเนื่องจากภายในใจสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก เพื่อควบคุมสรรพสิ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนเกิดขึ้นจริงจากมโนภาพนั้น
    มโนภาพของแสงสว่างในใจทำให้เกิดแสงสว่างในความมืดมองเห็นในที่มืด มโนภาพของลมทำให้วัตถุเคลื่อนไหวเช่นกิ่งไม้,ธงไหวทำให้เกิดลมพัด เคลื่อนย้ายวัตุถุและคน เกิดการเหาะลอยไปในอากาศ, มโนภาพของไฟที่ทำให้เกิดเปลวไฟเกิดเพลิงไหม้,มโนภาพของน้ำที่ทำให้เกิดน้ำหรือฝนตก มโนภาพของดินที่ทำให้น้ำหรืออากาศแข็งตัวเป็นแผ่นดิน เดินบนน้ำหรืออากาศได้, มโนภาพของอากาศช่องว่างที่ทำให้วัตถุทึบกลายเป็นช่องว่างเดินทะลุผ่านกำแพง , มโนภาพของร่างกาย ทำให้การแปลงกายเปลี่ยนรูปร่างให้เป็นไปตามใจนึก การฝึกเริ่มจากง่ายไปหายาก จากการเพ่งภาพขณะลืมตาจนเกิดภาพในใจเด่นชัดและต่อมาฝึกให้เห็นภาพนั้นเมื่อหลับตาฝึกจนชำนาญสามารถเห็นภาพได้ทุกเวลาที่ต้องการในทุกอิริยาบถ เมื่อพลังจิตเข้มแข็งสร้างมโนภาพเปลี่ยนโลกให้เป็นไปตามมโนภาพที่กำหนด เกิดดิน น้ำ ลม ไฟ สี แสง ตามต้องการ จึงฝึกการเปลี่ยนธาตุหรือทำให้เป็นไปตามมโนภาพที่ต้องการ มโนภาพนั้นย่อมปกครองโลก
    ๕.ตาทิพย์มองเห็นอดีต หรืออนาคต การฝึกระลึกอดีตในปัจจุบันนึกย้อนกลับไปเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี เพื่อระลึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆในอดีตซึ่งเป็นการฝึกการฟื้นความทรงจำ เมื่อมีกำลังมากขึ้นจะย้อนระลึกถึงชาติก่อนได้ การฝึกให้เห็นอนาคตเริ่มจากปัจจุบัน มองไปถึงสิ่งที่กำหนดจะทำและทำให้เกิดขึ้นจริงในอนาคตที่กำหนดไว้จากวัน เดือน ปี ชาติต่อๆไป บางท่านเรียกการนั่งทางในเป็นการทำสมาธิสงบถึงระดับที่พอเหมาะและเห็นภาพในใจไม่ใช่ใช้ตาเนื้อเห็น
    ๖.หูทิพย์รู้และเข้าใจทุกภาษาแม้แต่ภาษาสัตว์หรือได้ยินเสียงระยะไกล ฝึกหัดจิตให้เข้าใจภาษากาย ที่แสดงอารมณ์และการสื่อสารต่างๆของคนและสัตว์ ฝึกให้ละเอียดจนคล้ายการอ่านใจ หัดฟังเสียงค่อยระยะใกล้ถึงระยะไกล ฝึกให้หูไวต่อเสียง และได้ยินเสียงจากระยะไกลออกไป(Telepathy)
    การจะยึดตำรานั้นไม่ดีเท่ากับการฝึกจริงดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิสูจน์ด้วยตนเอง
    ผู้มีความฉลาดจะสามารถฝึกสำเร็จ ค้นพบ ความมหัศจรรย์ทางจิตตามแนวศาสนาที่มีมาก่อนวิทยาศาสตร์และอยู่เหนือข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์สิ่งที่มีอยู่จริงแต่จับต้องไม่ได้ ท้าทายความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่จะทำเรื่องดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้เช่นเดียวนักบวชในอดีต พลังจิตมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนแต่จะรู้จักควบคุมและนำออกมาใช้หรือไม่
    การฝึกจิตทำให้เข้าใจธรรมชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติควบคุมและเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติได้ดั่งใจนึก
    พลังจิตใช้เพื่อป้องกันตน ปรับสภาพให้อยู่สบาย ฝึกกำลังจิตให้เข้มแข็งเช่นเดียวกับการออกกำลังกาย เป็นการออกกำลังจิตหรือออกกำลังสมอง และควรเข้าใจว่าผู้มีพลังจิตยังคงต้องประสบโลกธรรมเกิดแก่เจ็บตาย ฤทธิที่ดีและง่ายที่สุดที่ควรฝึกเป็นการฝึกให้เกิดความฉลาดรู้วิธีทางพ้นทุกข์

    6.ฝึกจิต(สมอง)พิจารณาความจริงทางธรรมชาติเกิดปัญญาความฉลาด พิจารณาวัตถุธาตุทั้ง4,กาย รูปนาม(วัตถุ,พลังงาน),ไตรลักษณ์(อนิจจัง,ทุกขัง,อนัตตา)สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงเสมอ โลกหมุนทุกวันทุกสิ่งไม่หยุดนิ่งเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา,เกิดความรู้เพื่อละสังโยชน์ตัดเครื่องผูกมัดจิตไว้ในโลก (ละความคิดต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องราวทางโลก) เข้าสู่นิพพาน นิพพานอยู่ที่จิต (พลังจิตเป็็นพลังงานเช่นเดียวกับพลังงานที่มีในธรรมชาติ) นิพพานอยู่ทุกที่เมื่อใดจิตไม่อยากอยู่กับโลกก็จะเข้าสู่นิพพาน (พลังงานที่ไม่เปลี่ยนสภาพอีกต่อไป)

    การพัฒนาพลังจิตเพื่อเกิดประโยชน์เป็นสิ่งที่ต้องฝึกอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จ กระบวนการคิดและปฏิบัติดังกล่าวตั้งอยู่บนความจริงของเหตุและผลที่สามารถพิสูจน์ด้วยตนเอง หลักการทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็เป็นเช่นเดียวกับพุทธศาสตร์ที่มีวิธีการอธิบายสิ่งต่างๆอย่างมีเหตุผล จากเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนทำให้เข้าใจได้อย่างง่ายและนำไปใช้ได้จริง

    296fdde1cd55120c40233d6fb1e12327_d25vj52.jpg
     
  4. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    วันนี้ใครจะถามอะไรก็ PM ไว้ได้เลยนะครับ
     
  5. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    วันนี้จะออนไลน์ไว้ตลอดอยู่ตอบคำถามถึงตอนเย็นนะครับ ถ้าใครจะฝากคำถามอะไรก็ PM เข้ามได้เลย;)
     
  6. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    มหาเมตตาใหญ่

    ก็พอดีได้คุยเกี่ยวกับเรื่องแผ่เมตตากับพี่คนนึงเราก็เล่าว่าเราสวดมหาเมตตาใหญ่ปกติทุกเที่ยงคืน ก็อยากให้สวดกันเพราะบทนี้ดีจริงๆ ครอบคลุมหมดเลย วันนี้ก็เลยนำมาโพสต์ไว้ให้อีกรอบนึง วันไหนเหนื่อยๆสวดเสร็จแล้วเราจะง่วงพอดี;)

    เอวัมเมสุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ

    ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโตปัจจัสโสสุงฯ
    ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ

    วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะสุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ
    (๑) สุขังสุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (๔) มะนุสสานัง ปิโยโหติ(๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วาวิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ(๙) มุขะวัณโณวิปปะสีทะติ (๑๐) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโตพรหมมะโลกูปะโค โหติฯ

    เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะพะหุลีกะตายะ

    ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะอิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ

    อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

    อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

    อัตถิ ทิสา ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติ?

    กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติ?

    กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติ?

    ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณาเมตตาเจโตวิมุติฯ

    สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติฯ

    ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติ

    (๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

    อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติฯ
    (๑) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตูติ

    อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะสัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพอุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะอะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗)สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะสัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐)สัพเพอุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะอะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘)สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒)สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะอะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะอะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะอัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะอะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะอะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะอัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒)สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆาสุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวราอัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะอะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌาอานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโยอะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะอะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวราอัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒)สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะอะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖)สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔)สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะอะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘)สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒)สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะอะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะอะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะอะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖)สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆาสุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะเทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพอุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔)สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะอะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะวินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพอุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะวินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะวินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพเหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌาอะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ
    อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณาเมตตาเจโตวิมุตติ
    สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
    อะปีฬานะยะอุปะฆาตัง วัชเชตวา
    อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
    อะสันตาเปนะปะริยาทานัง วัชเชตวา
    อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
    อะวิเหสายะสัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุมา
    ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตังธัมมัง เจตะยะตีติ
    เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะเจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนานิฏฐิตา.
     
  7. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    อรุณสวัสดิ์ครับ เดี๋ยววันนี้สายๆมาพูดคุยกัน ติดตามนะ;)
     
  8. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    เห็นมีหลายคนถามถึงเกมส์เดือนนี้ ก็ติดตามกันนะครับ เอาใกล้ๆเลย พรุ่งนี้เราจะมีเกมส์ให้เล่น อย่าพลาดก็แล้วกัน;)
     
  9. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    ข้อดีของการสวดมนต์

    การสวดมนต์นั้นก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติ หรือจะเริ่มไปแล้วก็ตาม เรียกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะทิ้ง เราก็มาดูกันว่าการสวดมนต์นั้นมีข้อดีอะไรบ้าง ซึ่งพิจารณาตามไปก็เป็นจริงอยู่หลายส่วน รู้เช่นนี้แล้วก็เริ่มที่จะสวดมนต์กันนะครับ อย่าละทิ้ง


    การสวดมนต์ภาวนาเป็นการสร้างบุญที่ได้อานิสงส์สูง เพราะจิตใจจะสงบตั้งอยู่ได้นาน ทำให้เกิดฌาณ จิตวิญญาณรวมทั้งสิ่งที่มองไม่เห็นจะได้มาร่วมอนุโมทนาบุญและเป็นการแผ่เมตตาจิต มิตรไมตรีให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการรวมจิตให้สงบนิ่งก่อนทำสมาธิวิปัสสนาต่อไป

    " สวดมนต์-ภาวนา-สมาทานศีล-ขอและให้อโหสิกรรม-แผ่เมตตา-อุทิศบุญ พลิกได้ทุกวิกฤตชีวิต เปลี่ยนโชคชะตาจากร้ายให้กลายเป็นดี ทำให้ที่ดีอยู่แล้ว ยิ่งดียิ่งๆ ขึ้นไป.."

    สวดมนต์ ปลุกญาน เกิดฌาน
    คนสวดมนต์บ่อยๆ หากทำประจำ จนเป็นนิสัย รับรองได้ว่า...ชีวิตจะไม่มีทางล้มเหลว เขาจะอยู่ถูกที่ถูกเวลา จะเจอคนดี สม่ำเสมอ สามารถคว้าโอกาสที่ดีได้ทันท่วงทีทุกครั้ง เขาจะมองเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะจิตเขานิ่งจนเกิดพลังสั่นสะเทือน เป็นคลื่นความถี่ออกไปเชื่อมโยงกับข้อมูลดีดีที่มีอยู่ในจักรวาล ในคลื่นความถี่นั้นจะมีฌานรู้พุ่งออกไปพร้อมๆ กัน

    คนที่จิตนิ่ง ลางสังหรณ์จะแม่นยำ ตัดสินใจทำอะไรย่อมไม่มีวันล้มเหลว การสวดมนต์เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้จิตนิ่งและมีพลัง ขณะกำลังสวดมนต์ พลังสั่นสะเทือนของเสียงที่เปล่งออกมาจะกระทบกับประสาทของเรา สามารถเปลี่ยนอารมณ์ให้สงบและเกิดความศรัทธา ทำให้ฌานรู้ในตัวตนตื่นขึ้นมา( การบริกรรม คือการปลุกจิตใต้สำนึกนั้นเอง )

    นอกจากนี้พลังแห่งเสียงสวดมนต์ ยังทำให้เซลล์ร่างกายส่วนต่างๆ ตื่นตัว มีชีวิตชีวา ยังส่งผลให้ผู้สวดมีผิวพรรณสดใส อ่อนเยาว์ ดูเปล่งปลั่ง เราจะสังเกตเห็นได้ไม่ยากว่า คนสวดมนต์บ่อยๆหน้าจะเด็กกว่าอายุจริง ยิ่งสวดมนต์มากเท่าใด ผลลัพธ์ที่ว่ายิ่งเด่นชัดมากขึ้นเท่านั้น
    (ไม่จำเป็นต้องเตือนว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการเชื่อ เพราะคนไม่เคยเห็นพลังของมนตรา ไม่เคยเชื่ออยู่แล้วแต่คนที่สวดมนต์เป็นประจำ จะไม่มีความคลางแคลงสงสัยใดใดเลย)

    การสวดมนต์เปล่งเสียงดังๆ จะก่อให้เกิดญาณรู้ หรือทำให้จิตเป็นสมาธิถึงระดับฌานได้อย่างไร?

    วิธีที่ดีสุด เพื่อให้ได้คำตอบชัดเจนถูกต้องที่สุดคือ “การฝึกด้วยตนเอง” ไม่ต้องกังวลว่าจะเสียเวลาเปล่า เพียงแค่..นั่งสวดมนต์แล้วจิตไม่เป็นสมาธิไม่ทำให้คุณขาดทุนหรอก แต่หากคุณมีศรัทธาเต็มหัวใจ คุณจะเห็นด้วยตนเองว่า... หลังจากคุณสวดมนต์ด้วยน้ำเสียงกังวาน เมื่อผ่านไปพักใหญ่ ให้คุณลองนั่งสมาธิดู คุณจะพบว่าจิตจะเป็นสมาธิเร็วมากความจริงแล้ว...อะไรๆ ก็ไม่สำคัญเท่าจิตเป็นสมาธิ เขาเรียกว่า จิตเตรียมพร้อมที่จะทำงาน

    การสวดมนต์นานๆ ทำบ่อยๆ นับเป็นการจูงจิตที่ดีวิธีหนึ่ง เมื่อไหร่ก็ตามที่เราจดจ่ออยู่กับถ้อยคำมนตราพลังงานแห่งการท่องมนต์ ก็จะก่อรูปร่างอันแข็งแกร่ง แม้เรามองไม่เห็น แต่มันมีอยู่จริง จิตที่จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์ เป็นจิตที่มีสมาธิอยู่ในตัวเอง เมื่อสมาธินิ่งเป็นจุดเดียว..ผลก็คือ จิต หรือ ความคิด ย่อมมีฤทธิ์แน่นอนกล่าวคือ จิตที่มีฤทธิ์ ย่อมก่อให้เกิดสติปัญญาที่ไร้ขอบเขต จะทำการงานสิ่งใดก็คิดหนทางที่พิเศษกว่าใครๆออกก่อนเสมอ ไม่มีอะไรมาขัดขวางคนที่มีดวงจิตเป็นสมาธิได้

    อะไรที่เราคิด พูด หรือ ทำ บ่อยๆ จะส่งผลต่อรูปร่างโครงสร้างการเชื่อมต่อ และจำนวนเส้นประสาทในสมองของเรายิ่งเราใช้สมองส่วนใดมาก สมองส่วนนั้นจะยิ่งเติบโตจนแข็งแรงมากขึ้น และยิ่งเราคิดถึงเรื่องใดบ่อยๆ เส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับความคิดนั้นจะยิ่งเชื่อมต่อกันจนแข็งแกร่งกว่าเดิม ไม่ต่างจากกล้ามเนื้อเลย"การสวดมนต์ ควรทำให้บ่อยทำให้ต่อเนื่องทำให้ซ้ำซาก ทำให้จำเจ ทำจนขึ้นใจ แล้วบทสวดมนต์จะศักดิ์สิทธิ์เองโดยไม่รู้ตัวจนกลายมาเป็นเวทมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในที่สุด

    "เพียงแค่สวดมนต์ ก็เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนโชคชะตาได้" สวดมนต์ทุกวัน-เพิ่มบุญลดกรรม-นำพาสติ-ก่อเกิดปัญญา จะพบความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรมจะสมปรารถนาทุกสิ่งอันเป็นบุญ..

    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมกรรมดีมากชีวิตก็ดีมาก กรรมชั่วมาก ชีวิตก็ทุกข์ทรมาน ผิดหวังยากจน ไม่มีความสุข กรรมเก่า แก้ไม่ได้ บางทีก็จำไม่ได้ ทำปัจจุบันให้ดี เพื่อเพิ่มกรรมดีเมื่อปัจจุบันดีจะส่งผลให้อนาคตดีแน่นอน ด้วยเหตุนั้นดี ผลย่อมดีทุกประการ

    การสวดมนต์มีอานิสงส์มากมาย มีอานุภาพแห่งพลังบุญบริสุทธิ์ สวดเองก็ได้อานิสงส์บุญยิ่งใหญ่พระพุทธองค์จึงสอนว่า..
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชนาติ
    การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
    296fdde1cd55120c40233d6fb1e12327_d25vj52.jpg
     
  10. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    วันนี้ตอบ PM ครบนะครับ พรุ่งนี้ติดตามเล่นเกมส์กัน
     
  11. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    อรุณสวัสดิ์ครับ

    ก็พอดีมีพี่ท่านหนึ่ง PM มาเล่าประสบการณ์เลยก้อปมาให้อ่านกัน ยังยืนยันเหมือนเดิม บูชาเครื่องมงคลแล้วสวดมนต์หมั่นเจริญสติ อะไรๆก็ดีขึ้นครับ
    ;)
    หลังจากช่วงบูชาพระเจ้าสัวสายฟ้า และ พระเพชร ไปใหม่ๆแล้วมีสาวๆมาคุยด้วยเยอะครับ ผมเลยอธิษฐานขอเรื่องโชคลาภและสวดมนต์ก่อนนอน ปรากฎว่า มีบริษัทใหม่โทรมาชวนไปทำงานด้วยครับ ปกตินานๆ จะเจอโทรมาแบบนี้สักที ถ้าผมได้งานใหม่นี้และประสบความสำเร็จกับงานใหม่ ก็น่าจะพลิกชีวิตได้เลยครับ ผมเลยยิ่งเชื่อมั่นกับการสวดมนต์มากขึ้นครับ
     
  12. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,104
    ค่าพลัง:
    +16,527
    ร่วมเล่นเกมส์ บูชาตะกรุดชัยยะมหาปราบชมพู

    ในสมัยพุทธกาล มีพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจพระองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองเมืองปัญจาลราษฐ พระนามว่า "พญาชมพูบดี" กล่าวกันว่า พร้อม ๆ กับการประสูติของพญาชมพูบดี ขุมทองในที่ต่างๆ ก็ผุดขึ้นมากมายอันแสดงถึงบุญญาธิการของพระองค์ ประชาชนในเมืองนี้จึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์

    พญาชมพูบดี ทรงมีอาวุธวิเศษ 2 อย่าง คือ

    ฉลองพระบาทแก้ว ซึ่งเมื่อสวมเข้าไปแล้วก็จะพาพระองค์เหาะไปในที่ต่างๆ ได้ ทั้งยังใช้อธิษฐานแปลงเป็นนาคราชเข้าประหัตประหารศัตรูได้อีกด้วย

    อาวุธวิเศษอย่างที่สอง คือ วิษศร ซึ่งเป็นศรวิเศษใช้ต่างราชทูต หากกษัตริย์เมืองใดไม่มาอ่อนน้อมขึ้นต่อพระองค์ วิษศรนี้ก็จะไปร้อยพระกรรณพาตัวเข้าเฝ้าพระองค์จนได้ ทำให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันยำเกรงในพระเดชานุภาพแห่งพญาชมพูบดี

    ด้วยอาวุธคู่พระวรกาย พญาชมพูบดีได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั้งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า พญาชมพูบดีส่งอาวุธวิเศษของพระองค์ ไปทำอันตรายต่อพระเจ้าพิมพิสาร แต่ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ ด้วยอาศัยพระพุทธานุภาพ ทำให้พญาชมพูบดีแค้นพระทัยมาก แม้ส่งอาวุธวิเศษอย่างใดไป ก็พ่ายแพ้แก่พระพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้ และมีทิฏฐิมานะเบาบางลง ประกอบด้วยกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดีว่าสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดีมาเข้าเฝ้า ส่วนพระองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงมงกุฎ พร้อมเครื่องราชาภรณ์ แต่ล้วนงดงาม ส่วนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์สาวก ก็เนรมิตกายเป็นเสนาอำมาตย์ใหญ่น้อย ล้วนแล้วแต่น่าเกรงขาม ทั้งเนรมิตเวฬุวัน (ป่าไผ่) ให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง 7 ชั้น และมีพุทธฎีกาตรัสสั่งให้เทวดา พรหม ทั้งหลาย ร่วมเนรมิตเป็นตลาดน้ำ ตลาดบก

    เมื่อพระอินทร์ซึ่งเนรมิตกายเป็นราชทูต ไปถึงเมืองปัญจาลราษฐ เห็นพญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ยังถือดี จึงแสดงฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ พญาชมพูบดีไม่อาจแข็งขืนจำยอม ต้องยกพลเดินทัพเพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า

    เมื่อพญาชมพูบดี เดินทางเข้าเขตพระนคร ก็ตกตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิต แม้แต่เหล่าแม่ค้าริมทาง ก็ยังงดงามกว่าพระอัครมเหสีของพญาชมพู จนชวนให้รู้สึกขวยเขินก้าวเดินไม่ตรงทาง และเมื่อผ่านทางยังกำแพงพระนครแต่ละชั้น ทอดพระเนตรเห็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่รักษาพระนคร พระทัยก็ประหวั่นพรั่นกลัวพระเสโทไหลโทรมทั่วพระสกลกาย ถึงกำแพงชั้นในซึ่งเป็นแก้ว ก็ทำท่าจูงกระเบนเหน็บรั้ง ด้วยเข้าพระทัยผิดคิดว่ามีเสียงนางในร้องเย้ยเยาะว่ากษัตริย์บ้านนอก กระทำเชยๆ พญาชมพูบดีก็รู้สึกได้รับความอัปยศอย่างยิ่ง

    เมื่อพญาชมพูบดีมาถึงต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระบรมศาสดา ซึ่งเนรมิตกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่หมดทิฏฐิมานะ พระพุทธองค์ทรงเชื้อเชิญให้แสดงฤทธิ์เดชอำนาจและของวิเศษทุกสิ่งทุกอย่างออกมา เมื่อพญาชมพูบดีทรงแสดงแล้ว ก็ต้องได้รับความอัปยศยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีคลายทิฏฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากมายให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฏสงสาร ทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่างรู้สึกปีติ โสมนัส จึงปลดมงกุฎและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งองค์พระสัมพัญญูบรมศาสนา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูน จากนั้นจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์

    จากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้าบรมครู พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เทวดา พรหม ก็คล้ายฤทธานุภาพกลับสู่สภาพเดิม (เป็นป่าไผ่และสภาพทั้งหลายตามความเป็นจริง) สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบถแก่พญาชมพูบดี พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์ มีรูป เป็นต้นว่า อุปมาดั่งพยับแดด หาสาระตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้ และแสดงเทศนาต่างๆ เป็นอเนกปริยาย พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็ดื่มดำในพระอมตธรรมสลัดเสียซึ่ง ตัณหา อุปาทาน จิตของท่านก็เข้าอรหันตผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา

    สืบเนื่องจากพ่ออาจารย์ท่านเล็งเห็นความลำบากในองค์รวมของการทำมาหากินปัญหาปากท้องของคน ตลอดจนชีวิตคนส่วนใหญ่ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนที่มีอำนาจมากกว่า ท่านจึงได้นำหัวใจวิชามหาปราบ มหากันหลวง มาลงจารตะกรุดแล้วเชิญพระบารมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อโปรดท้าวพญามหาชมพูบดีมาสำเร็จตะกรุด ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกสวดใส่ญาณครูเจริญวิชา ปลุกฤทธิ์ ปลุกอานุภาพตะกรุดนี้เสมอท่านว่าของสำคัญ เพราะมีฤทธิ์มาก ช่วยได้มาก ยิ่งกว่าวิชาสายจักรพรรดิ์ใดๆจะประมาทมิได้เลย ท่านทำตะกรุดนี้ด้วยหวังใจว่าจะช่วยบรรเทาทุกข์ ช่วยเหลือคนทุกข์ใจให้คลายคืน บรรเทาทุกข์โศกทั้งหลาย

    พ่ออาจารย์ท่านเล่าว่าตัวตะกรุดชัยยะมหาปราบชมพูนี้เป็นของที่มีอานุภาพเลิศอยู่หลายส่วนยิ่งกว่ามหาปราบทั้งหลาย เพราะสำเร็จด้วยบารมีของพระพุทธเจ้าในกาลโอกาศที่พระพุทธองค์เนรมิตพระกายเป็นเจ้าพระยามหาจักรพรรดิ์ ซึ่งเปี่ยมด้วยบุญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์ยิ่งกว่ากษัตริย์และพระเจ้าจักรพรรดิ์ทั้งปวง แม้ศัตรูขึ้นชื่อว่าเก่งหรือเปี่ยมบุญบารมีมาจากไหนก็ไม่สามารถราวีได้ เป็นของสำคัญนักท่านว่าขอให้เชื่อในพระรัตนตรัย เชื่อในพระพุทธเจ้า เป็นมหาปราบ มหากันอย่างวิเศษ ยิ่งเจริญสติถือศีลไม่บกพร่องชีวิตยิ่งมีแต่ดีและเจริญขึ้นไปเรื่อยๆ

    จากที่กล่าวข้างต้นก็เลยจะมีกิจกรรมให้เล่นเกมส์กัน ซึ่งก็เป็นเกมส์ง่ายๆให้พิมพ์บทแผ่เมตตาที่เราใช้กันประจำ ใครแผ่เมตตาบทไหนก็พิมพ์หรือก้อปมาวางก็ได้ อันที่จริงตัวบทแผ่เมตตานี้ก้มีหลายบทนะ นอกจากบทสัพเพสัตตา แล้วแต่ว่าครูบาอาจารย์แต่ละสายจะแนะนำหรือสอนกันยังไง หรือใจเราไปชอบไปยึดติดแบบไหน ก็ถือว่าร่วมเล่นเกมส์ แชร์กันไว้เป็นประโยชน์ เป็นทานบารมี ได้ทำเรื่องดีๆ ให้คนอ่านคนศึกษา

    ก็กำหนดให้เล่นเกมส์สองวัน หมดเวลาร่วมสนุกวันพรุ่งนี้ รายละเอียดต่างๆก็เหมือนเดิมนะครับ
    1293466942.jpg 20080823_172359.jpg
    619172_img_1339390725_1.jpg
     
  13. นิติทอง

    นิติทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +585
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ
    ผมใช้บทของหลวงปู่ดู่ สั้นง่ายครับ

    คำอธิษฐานแผ่เมตตา

    ให้ตั้งใจเจริญพรหมวิหาร ๔ แล้ววกล่าวคำอธิษฐานว่า

    “พุทธัง อะนันตัง

    ธัมมัง จักกะวาฬัง

    สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ ”
     
  14. Jantarat59

    Jantarat59 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2016
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +122
    ร่วมเล่นเกมส์ค่ะ
    ที่ใช้สวดบ่อยๆ
    คาถาแผ่เมตตาตนเอง
    อะหัง สุขิโต โหมิ
    อะหัง นิททุกโข โหมิ
    อะหัง อะเวโร โหมิ
    อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
    ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
    ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
    ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
    ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
    คาถาแผ่เมตตาแผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
    สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
    อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
    อะนีฆา โหนตุ
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
    จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
     
  15. danaitorn

    danaitorn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2015
    โพสต์:
    328
    ค่าพลัง:
    +252
    ก่อนนอนสวดมนต์แผ่เมตตาหลายบทหนึ่งในนั้นก็คือ
    พุทโธคุณัง อรหัง เมตตา
     
  16. mariza23

    mariza23 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +20
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ.
    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งหมดทั่งสิ้น
    อะเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพยาปัชฌาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อะนีฆาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
     
  17. mobiusradius

    mobiusradius สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +6
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ
    บทสวดมนต์ แผ่เมตตาแก่ตนเอง
    อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
    อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
    อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
    อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์การทุกข์ใจ
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด
    บทสวดมนต์ แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
     
  18. kwangpha

    kwangpha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +448
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ

    นะโมพระพุทธสิกขีพระพุทธเจ้า ขอได้โปรดดลบันดาลให้สรรพสัตว์ทั้งสามโลก ได้หลุดพ้นจากภัยพิบัติวัฏฏะสงสารโดยสิ้นเชิง ด้วยพระบารมีมิอาจประมาณ ลูกขอนอบน้อมนมัสการด้วยจิตใจ ขอให้ลูกมีจิตสะอาดสว่างใส หลุดพ้นไซ้ร์สู่บ้านนิพพานเทอญ สัมปะจิตฉามิ
     
  19. อรหโตพุทโธ

    อรหโตพุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    498
    ค่าพลัง:
    +1,017
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ

    เมตตาพรัหมะวิหาระภาวนา (แบบย่อ)
    เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ
    เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู
    อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง
    ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา
    อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ
    อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา
    ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ
    (๑) สุขัง สุปะติ
    (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ
    (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ
    (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ
    (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ
    (๖) เทวะตา รักขันติ
    (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ
    (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ
    (๙) มุขะวัณโณ วิปปะสี ทะติ
    (๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ
    (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรัหมะโลกูปะโค โหติฯ

    เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ
    พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ
    ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ
    อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    กะตีหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ


    (๑) สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา สัพเพ ปุคคะลา
    สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

    (๒) สัพพา อิตถิโย สัพเพ ปุริสา สัพเพ อะริยา สัพเพ อะนะริยา
    สัพเพ จาตุมมหาราชิกาเทวา สัพเพ ตาวะติงสาเทวา
    สัพเพ ยามาเทวา สัพเพ ตุสิตาเทวา สัพเพ นิมมานะระตีเทวา
    สัพเพ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา สัพเพ อินทา สัพเพ พรหมา สัพเพ จตุโลกะปาลา สัพเพ ยมมะราชา สัพเพ ยะมะปาลา
    สัพเพ สิริคุตตะระอะมัจจา สาสะนัง อนุรักขันตุ
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

    (๓) สัพเพ ยักขา สัพเพ กุมภัณฑา สัพเพ ครุทธา สัพเพ กินนรา
    สัพพา กินนะรี สัพเพ นาคา สัพพา นาคี สัพเพ มะนุสสา
    สัพเพ อะมะนุสสา สัพเพ วิริยะปะติกา สัพเพ มิตตา
    สัพเพ อมิตตา สัพเพ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

    (๔) สัพเพ ติรัฉฉา สัพเพ เปติกา สัพเพ เปตา สัพเพ อะสุระกายา
    สัพเพ เปตาวัตถุโย สัพเพ เปตวิเสยยา สัพเพ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

    อิมัสมิง จะอาราเม สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    อิมัสสมิง ชมภูทีเป สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    อิมัสสมิง มังคลาจักกะวาเฬ สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    ทะสาสุทิสาสุรัฐธิตายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
    อะนุปะฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
    อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา

    อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา
    ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตาตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ
    เจโต สัพพะพยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ วิมุตติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
    เมตตาพรัหมะวิหาระภาวนานิฏฐิตา
     
  20. techapunyo

    techapunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    896
    ค่าพลัง:
    +1,730
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ
    บทสวดมนต์ แผ่เมตตาแก่ตนเอง

    อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
    อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
    อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
    อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์การทุกข์ใจ
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด

    บทสวดมนต์ แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
     

แชร์หน้านี้

Loading...