รูปถ่าย"นิโรธสมาบัติ" หลวงพ่อกัสสปมุนี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [​IMG]

    รูปถ่ายนั่งนิโรธสมาบัติรูปนี้นะท่านเองยังบอกด้วยตัว
    ท่านเองว่า "รูปนี้เก่งกว่าเหรียญเสียอีก"

    <!-- / message -->


    1. รูปถ่ายของหลวงพ่อกัสสปมุนีที่อินเดียมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ?

    ตอบ เมื่อปีพ.ศ. 2507 หลวงพ่อกัสสปมุนีได้เดินทางไปยังชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นนานถึง 5 เดือน ตลอดเวลาที่ท่านเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ท่านจะห่มดองหรือห่มลดไหล่ตลอด ในขณะที่พระเถระองค์อื่น ๆ จะห่มคลุมตามพระวินัยบัญญัติว่า เมื่อภิกษุออกนอกบริเวณวัด ต้องห่มคลุมให้เป็นปริมณฑลคือข้างบนจีวรต้องติดคอ ด้านล่างต้องคลุมครึ่งแข้งจึงถูกต้อง แต่การที่หลวงพ่อห่มดองตลอดรายการนั้น ท่านให้เหตุผลว่าชมพูทวีปเป็นดินแดนแห่งพระพุทธองค์ ทุกหนแห่งล้วนแต่เป็นแผ่นดินของพระองค์ที่ทรงจาริกไปแสดงธรรม จึงถือว่าเป็น ‘เขตพุทธาวาส’ ทั้งสิ้น ท่านจึงไม่ห่มคลุม

    และทุกแห่งที่ท่านไปนมัสการ ตามพุทธประวัติก็ดี ตามโบราณาจารย์กล่าวอ้างก็ดี ตามที่แขกอินเดียเล่าให้ฟังก็ดี ว่าสถานที่นี้พระพุทธเจ้าทรงกระทำพุทธกิจอย่างนั้นอย่างนี้ หลวงพ่อท่านยังไม่เชื่อทีเดียว หากท่านลงมือนั่งภาวนา ‘ตรวจสอบ’ ด้วยองค์ท่านเองในที่ทุกแห่ง

    กระทั่งจิตท่านเห็นชัดว่า ณ สถานที่นี้พระพุทธองค์ได้ทรงทำกิจดังกล่าวอ้างมาแล้วจริง ๆ ท่านจึงปลงใจเชื่อ และเป็นที่น่ายินดีว่าเมื่อท่าน ‘พิจารณา’ ด้วยอำนาจฌาน-ญาณ อันสูงยิ่งของท่านแล้ว ปรากฏว่าในทุกสถานที่ล้วนเป็นของจริงทั้งสิ้น ทุกแห่งแฝงเร้นด้วยพระพุทธบารมีที่ยังคงอบอวลแผ่รัศมีอยู่ทุก ๆ เวลา รอคอยผู้มีบุญญาธิการมานมัสการให้เกิดมหาบุณย์-มหากุศล
    ดังนั้นท่านใดที่คิดจะไปหรือไปมาแล้ว...

    ก็จงสบายใจและจงอิ่มบุญในใจให้เต็มที่เถิด

    ดังภาพถ่ายหน้าสถูปที่ถาม หลวงพ่อท่านกำลังนั่งภาวนาอยู่ที่ถ้ำอจันตา ขณะที่ใช้อำนาจจิต ‘ตรวจสอบ’ อยู่นั้น ก็มีฝรั่งคนหนึ่งผ่านมาเห็นท่านเข้า เวลานั้นท่านเปลื้องจีวรและสังฆาฏิออกแล้วคงเหลือเพียงสบงและอังสะ อีกทั้งยังพาดลูกประคำเส้นเบ้อเริ่ม ทำให้ฝรั่งนายนั้นนึกว่าท่านเป็นเณร จึงเกิดความเอ็นดูและทำการบันทึกภาพท่านไว้

    ภายหลังฝรั่งก็ได้นำรูปนั้นมาให้ท่านดู ปรากฏว่าท่านไม่พอใจมาก คงเพราะแอบถ่ายโดยไม่ขออนุญาตท่านก่อนประการหนึ่ง และคงเพราะท่านแต่งตัวไม่เรียบร้อยประการหนึ่ง ท่านจึงดุเขา(เพราะท่านพูดภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม)และยึดทั้งรูปทั้งฟิล์มกลับมา

    ครั้นกลับเมืองไทยแล้ว คณะศิษย์อยากได้ของที่ระลึกจากท่าน ท่านจึงให้นำฟิล์มนี้ไปอัดออกมาเป็นรูปใบน้อย และยังเมตตาเขียนยันต์วิเศษที่ชื่อว่า ‘ยันต์พุทธเกษตร’ มอบให้ด้วยลายมือท่านเอง (ท่านได้มาเมื่อครั้งไปเที่ยววิเวกภาวนาใน จ.ลพบุรี ยันต์พุทธเกษตรได้ปรากฏขึ้นในนิมิตท่าน ท่านบอกว่ายันต์นี้มีอานุภาพครอบจักรวาล ตามแต่ผู้ใช้จะอธิษฐานให้เป็นไปดังปรารถนา)
    ศิษย์ได้นำยันต์พุทธเกษตรลายมือท่านไปบันทึกเป็นภาพถ่ายใบน้อยออกมาอีก 1 ใบ จากนั้นก็นำรูปหลวงพ่อกับรูปยันต์พุทธเกษตรนี้ประกบเข้าด้วยกัน แล้วนำมาถวายให้ท่านอธิษฐานจิตแจกผู้ศรัทธาในราวปี พ.ศ. 2508 –2509

    ต่อมาเมื่อท่านประสงค์จะตอบแทนคุณของเสี่ยไซ โยมอุปการะเป็นที่ยิ่ง ท่านก็ดำริเข้า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ’ เป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2510 เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน

    และรูปนี้ก็อยู่ในวาระนิโรธสมาบัติด้วย

    หลวงพ่อเคยบอกว่า นิโรธสมาบัตินี้มีอานุภาพมากนัก มิใช่แต่กุฏิของท่านเท่านั้น แต่กำลังแห่งนิโรธยังครอบคลุมไปทั่วภูเขา ‘สุนทรีบรรพต’ อันเป็นที่ตั้งวัด อย่าว่าแต่ของในกุฏิท่านเลย แม้กรวดหินหน้าวัดหากจะหยิบขึ้นมาแล้วตั้งจิตระลึกถึงท่านก็ยังมีอานุภาพได้

    อะไรจะขนาดนั้น

    เชื่อท่านไหม ?

    ถ้าเชื่อ....! รูปใบน้อยและพระเครื่องต่าง ๆ ที่ผ่านการเข้านิโรธจากท่านมาตั้งแต่ปี 2510 กระทั่งท่านละสังขารจากไปในวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2531

    จะขลังเพียงไหน !?

    ผมยังเดาไม่ถูกเลย

    ดังนั้น ท่านจึงไม่ใคร่แจกรูปนี้ให้ใครง่าย ๆ แม้มีคนขอกันมาก ท่านก็ยังเลือกคนให้ ท่านบอกว่า ของดีต้องให้กับคนดีและนับถือเราจริงเท่านั้น

    หากจะมีคนขอเหรียญรุ่นแรกของท่านที่สร้างในปี พ.ศ. 2518 บางทีท่านก็มอบรูปนี้ให้ ครั้นคนนั้นบ่นว่าอยากได้เหรียญต่างหากเล่า ท่านจะบอกดุ ๆ ทันทีว่า

    “อะไร ให้ของดีแล้วยังไม่รู้จัก รูปนี่เก่งกว่าเหรียญอีกนะ”

    คือคนโบราณเมื่อจะกล่าวชมมงคลวัตถุใด ๆ ว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์เหลือกำลัง ท่านมักใช้วลีว่า ‘เก่ง’ ก็เป็นอันรู้กัน

    ฉะนั้น รูปนี้จึงเหลือตกค้างมาจนทุกวันนี้ และมีคนได้รับประสบการณ์มากมายยิ่งกว่าเหรียญเสียอีก ถ้าจะให้เล่า คงต้องนัดเจอกันดีกว่าเพราะยาวมากจนไม่อยากพิมพ์

    เล่ามาเสียยืดยาว หวังว่าทุกท่านคงเข้าใจ ใครที่มีอยู่แล้วก็รีบเอามาใส่ซะ คนที่ยังไม่มีก็ค้นคว้าหาเอาเถิด ของดีสุดยอดอย่างนี้ อย่าให้หลุดมือเลยครับ.

    <!-- / message -->
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    จดหมายเหตุ หลวงพ่อกัสสปมุนี

    หลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม อ.บ้ายค่าย จ.ระยอง เกิดที่กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อประจงวาส ต่อมาเปลี่ยนเป็นประยุทธิ วรวุธิ นามสกุลอาภรณ์สิริ บิดาท่านคือพระพาหิรรัชฏพิบูลย์(ประวัติ อาภรณ์สิริ) นามมารดาคือนางพาหิรรัชฏพิบูลย์ สมัยเป็นฆราวาส ท่านได้สมรสกับนางประชุมศรี อาภรณ์สิริ มีบุตรชาย2 คน บุตรหญิง 2 คน

    หลวงพ่อกัสสปมุนีเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ต่อมาจึงได้ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ โดยเลือกภาษาอังกฤษเป็นวิชาเลือก จนจบชั้นม.6

    เพราะเหตุที่ภาษาอังกฤษของหลวงพ่อกัสสปมุนีอยู่ในขั้นดีมาก เมื่อเรียนจบ ท่านจึงเข้าทำงานที่บริษัทวินเซอร์ของอังกฤษ แต่บิดาท่านให้ย้ายออกมาทำที่กรมสรรพากร ซึ่งท่านก็อนุโลมตามใจบิดาท่านด้วยแรงกตัญญู ซึ่งท่านก็ได้เจริญในหน้าที่การงานและทางโลกด้วยดียิ่งตลอดมา จนกระทั่งได้รับการโอนย้ายไปอยู่กระทรวงอุตสาหกรรม และได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบอันมีเกียรติยิ่ง แต่ท่านขอไม่รับ เพราะเริ่มมีดวงตาเห็นธรรมและเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย ท้ายสุด ท่านก็ได้ขอลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุถึง 3 ปี

    หลวงพ่อกัสสปมุนีท่านบวชเมื่ออายุ ๕๒ ปี สมัยที่ยังไม่บวชท่านทำงานอยู่ฝ่ายสรรพสามิต ท่านจะดื่มเหล้าเก่ง ตอนหลังท่านเห็นโทษของการดื่มเหล้า และเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงได้ลาออกจากราชการ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยได้โอนบ้านที่ดินและทรัพย์สินให้กับครอบครัวท่านจนหมดสิ้น จากนั้นท่านได้ไปฝากตัวอยู่กับสมเด็จ พระวันรัต (ต่อมาทรงได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดโพธิ์ ท่าเตียน) โดยเป็นอุบาสก นุ่งขาวห่มขาว ถือศีลอุโบสถอย่างเคร่งครัด ในที่สุดจึงได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ แม้บวชได้เพียงพรรษาเดียว หลวงพ่อกัสสปมุนี ได้ออกธุดงค์ ไปบำเพ็ญเพียรภาวนา อยู่บนยอดเขาภูกระดึง อันแสนจะหนาวเหน็บ (เดือน พ.ย. ๒๕๐๖) หลังจากนั้นถัดมาอีกเพียง พรรษาเดียว ท่านก็ได้จาริกแสวงบุญ ไปบำเพ็ญภาวนาในแดนไกล คือเมือง ฤาษีเกษ ประเทศอินเดีย เมืองนี้เป็นที่ชุมนุม ของโยคี ฤาษี มุนีไพร ผู้ทรงตบะและฤทธาอันแก่กล้ามากมาย ต้องเก่งจริงๆ ถึงจะอยู่ได้อย่างสันติอิสระ...
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    เมื่อหลวงพ่อกัสสปมุนีลากรถไฟขึ้นเขาด้วยพลังจิต

    [​IMG]


    เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อออกพรรษา ปวารณาปี พ.ศ. ๒๕๐๗ แล้ว หลวงพ่อฯ ก็ได้เดินทางไปยังประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ ๒๘ พ.ย. ๒๕๐๗ โดยสายการบิน ซี.พี.เอ. ร่วมกับคณะทัศนาจรแสวงบุญ ซึ่งมีทั้งพระ และฆราวาส อาทิเช่น ท่านเจ้าคุณราชปัญญาเมธี เจ้าคณะจังหวัดยะลา ท่านเจ้าคุณสิริสารโสภณ เจ้าคณะอำเภอยะลา หลวงพ่อทิม วัดช้างไห้ ผู้สร้างพระเครื่อง หลวงพ่อทวด อันลือลั่นไปทั่วประเทศ และท่านเจ้าคุณ ญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล ซอยปุณณวิถี พระโขนง ซึ่งเป็นศิษย์เอก พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฝ่ายฆราวาสก็มี นายเอื้อ บัวสรวง ธ.บ. และ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต นายน่วม นันทวิชัย นายกพุทธสมาคม สิงห์บุรี จุดมุ่งหมายของคณะจาริกแสวงบุญ คือจะพากันไปนมัสการ สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ด้วยความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธคุณ และ เพื่อปลงธรรมสังเวช หลวงพ่อกัสสปนั้น ต้องการจะเดินทางต่อไป เพื่อไปจำศีลภาวนาที่เมือง “ฤาษีเกษ” อันเป็นเมืองของนักพรต ฤาษีชีไพร นักบำเพ็ญตบะ พวกนุ่งลมห่มฟ้า (ฑิฆัมพร) และ นักบวชนิกายต่างๆ การเดินทางไปนมัสการต้นศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ไปชมเมืองราชคฤห์ หรือรัฐพิหารในปัจจุบัน ไปเมืองพาราณสี แล้วขึ้นรถไฟไปยังตำบลสารนาถ คือ ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน อันเป็นสถานที่ พระบรมศาสดาทรงแสดงปฐมเทศนา เสร็จสิ้นไปตามลำดับ ต่อจากนั้นก็ไปยังตำบลกุสินาราน์ สถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งหลวงพ่อกัสสปมุนี เล่าถึงตอนนี้ว่า

    “รถได้พาคณะเรามาถึงเมือง กุสินาราน์ เวลาประมาณ ๙.๐๐ น. ความใฝ่ฝันของอาตมาภาพแต่อดีต ที่ใคร่จะได้เห็นเมืองกุสินาราน์ และสถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานยิ่งนัก บัดนี้ความใฝ่ฝันนั้น ความปรารถนาอันแน่วแน่นั้น ก็ได้บรรลุผลแล้ว ใครจะเดินล่วงหน้าไปแล้วก็ตาม อาตมาภาพยังคงยืนเหลียวไปโดยรอบ เพื่อพินิจพิจารณา บริเวณสถานที่นั้นให้เต็มตา

    แต่อนิจจา ! อันว่าป่าสาลวัน อันเป็นสวนที่แวะพักของเหล่ามัลละกษัตริย์ และเป็นที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระบรมศาสดาของเรา คงมีเหลืออยู่แต่ชื่อ อันเป็นที่หมายรู้เท่านั้น เพราะบัดนี้มีสภาพเป็นที่โล่ง มีต้นไม้เบาบาง ปราศจากหมู่ และกลุ่มไม้ ต้นสาละ หรือต้นรังอินเดีย มีอยู่ไม่มากนัก แต่ทางการอินเดียเขาได้จัดรักษา และบำรุงอย่างดีมาก แม่น้ำหิรัญญวดี ที่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรก็มิได้มี นี้ก็เป็นอนุสสติให้ระลึกพิจารณา ถึงความแปรปรวนแห่งสังขาร เครื่องผสมปรุงแต่ง ว่าไม่เที่ยง ย่อมแปรผันเปลี่ยนไป อาตมาสลดใจจึงรีบเดินตามหมู่พวกไป เห็นพวกเรากำลังขึ้นบันได เข้าสู่อาคารหลังหนึ่ง ทำแบบวิหาร อาตมาภาพจึงตามติดเข้าไป ที่นี่เอง คือที่ตั้งพระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ปางอนุฏฐานไสยาสน์ (คือปางเสด็จบรรทม โดยไม่ลุกอีกต่อไป) นายช่างปฏิมากรรม เขาปั้นเป็นพระพุทธรูปนอนตะแคงขวา แต่ไม่หลับพระเนตร เลยกลายเป็น พระพุทธปฏิมานอนลืมพระเนตร ช่างปั้นคงไม่ได้คิดถึงข้อนี้ เพราะเป็นช่างแขกอินเดีย ซึ่งพิจารณาดูแล้ว เห็นว่าผิดความจริงอย่างยิ่ง แต่ก็ประหลาดอย่างยิ่งอีกเหมือนกัน เพราะขณะที่อาตมาภาพยืนอยู่นั้น รู้สึกเหมือนกับว่า ได้เข้ามาเฝ้าเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ ซึ่งผิดกับสถานที่อื่นๆ เช่น ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อันเป็นที่ตรัสรู้ และ ที่สารนาถที่แสดงปฐมเทศนา เอ๊ะ... นี่ยังไงกัน ? ที่นี่เหมือนมีแม่เหล็ก อาตมาจึงพิงไม้เท้าไว้ที่ประตู ปลดย่ามลงจากบ่า ทรุดตัวลงคุกเข่าพร้อมกับเพื่อนสพรหมจารี จุดธูปเทียนน้อมอภิวาทถวายนมัสการบูชา ด้วยหัวใจอันวังเวง ดูเหมือนว่ามีอะไรอบอุ่นวนเวียนอยู่ใกล้ๆ และมีอะไรเย็นๆ พรมไปตามตัว มิใยใครจะลุกไปแล้ว อาตมาภาพก็ยังคงคุกเข่า พนมมือหลับตา ใจจดใจจ่ออยู่อย่างนั้น ช่างอบอุ่นร่มเย็น และสงบแท้ นี่เป็นความรู้สึกขณะนั้น จนคณะพากันออกไปหมด อาตมาภาพจึงได้ลุกขึ้นเดินเวียนประทักษิณ แล้วจะเดินออกประตู เห็นหลวงพ่อทิมวัดช้างไห้ กำลังยืนพนมมืออยู่ข้างมุมประตู ตาลืมจ้องดูที่พระพุทธรูป อาตมาจึงเอื้อมมือจะไปหยิบไม้เท้าที่พิงอยู่ ข้างประตู

    ทันใดนั้น อัศจรรย์ยิ่ง อัศจรรย์จริงๆ มีเสียงหนึ่งกระซิบที่หูเบาๆ แต่ชัดเจนว่า

    “ทำไมไม่กราบพระบาท! ทำไมไม่กราบพระบาท!”

    อะไรกัน อาตมาหันขวับไปดูหลวงพ่อทิมวัดช้างไห้ ก็เห็นกำลังยืนอยู่ไม่ห่างในท่าเดิม แล้วเป็นเสียงใคร? อาตมาจึงหันมาจะหยิบไม้เท้าอีก ก็มีเสียงกระซิบอีกอย่างชัดเจน อ่อนน้อมว่า

    “ ทำไมไม่กราบพระบาท! ทำไมไม่กราบพระบาท! ”

    อาตมาชะงัก ฉุกคิดอะไรขึ้นมาได้บางอย่าง หันกลับเดินไป ทรุดคุกเข่าอยู่ที่ปลายพระบาทพระพุทธปฏิมาปางไสยาสน์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน กราบแล้วกราบอีก แล้วพนมมือน้อมระลึกถึง พระพุทธคุณ และพุทธานุภาพ ที่ได้ทรงปกแผ่ไปเป็นอนันตเขต แม้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนานแล้ว แต่พุทธเกษตรนี้ยังกระจ่าง อีกนานไกล อาตมาภาพพนมมือ ค้อมตัวลงปลงธรรมสังเวช

    เสียงหลวงพ่อทิม วัดช้างไห้ สะอื้นเบาๆ อยู่ทางเบื้องหลัง ไม่ทราบว่าหลวงพ่อทิม มายืนอยู่ตั้งแต่เมื่อไร อาตมาลุกขึ้น ถามท่านว่า

    “หลวงพ่อสะอื้นทำไม ?”

    “เห็นแล้วมันตื้นตันใจ บอกไม่ถูก”

    หลวงพ่อทิม ตอบเสียงสะอื้น เป็นคำตอบที่กลั่นออกมาจากหัวใจของพระสาวก ถึงแม้จะเกิดทีหลัง ห่างไกล นานถึงสองพันปีเศษก็ตาม ความผูกพันในพระพุทธบิดา ย่อมมีอยู่แก่สมณศากยบุตรพุทธชิโนรส ด้วยประการฉะนี้”

    วันเสาร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ คณะของหลวงพ่อกัสสป ฉันอาหารเช้าแล้ว ได้เวลา ๙.๐๐ น. จึงพาพวกอุบาสกและอุบาสิกาออกเดินทาง ไปยังสถานีเนาก้า เพื่อไปยังสวนป่าลุมพินีวันในแคว้นเนปาลอันเป็นสถานที่พระบรมศาสดาทรงประสูติ ถึงสถานีเนาก้าเวลา ๑๑.๐๐ น. แต่เจ้ากรรมแท้ๆ ... ที่พนักงานรถไฟแขกอินเดียมันมักง่าย ตัดรถตู้คณะของหลวงพ่อกัสสปมุนีออกปล่อยทิ้งไว้ อยู่ห่างจากตัวสถานีเกือบสามร้อยเมตร ตรงที่รถตู้ถูกตัดออกนี้เป็นที่ลาดต่ำกว่าที่ตั้งสถานี และห่างจากที่รถบัสจอดเกือบครึ่งกิโลเมตร

    ในคณะแสวงบุญของหลวงพ่อ มีอุบาสิกาอยู่ในวัยชราหลายคนจะต้องเดินไกล ทั้งตัวรถตู้ก็สูง บันไดก็ยิ่งลอยสูงขึ้นไปด้วย เพราะรถถูกตัดทิ้งไว้ในที่ลาดต่ำ แม้แต่ผู้ชายที่แข็งแรงอย่างนายเอื้อ บัวสรวง ก็ยังต้องเกร็งข้อโหนตัวลอยขึ้นไป ยิ่งเป็นพระ เป็นผู้หญิงยิ่งทุลักทุเลใหญ่ ทำให้นายสุวรรณ เจามหาสุข ผู้อำนวยการเดินทางในครั้งนี้ และนายเอื้อ บัวสรวงโมโหมาก ปัญหาจึงมีอยู่ว่า จะทำอย่างไรจึงจะให้ตู้รถแล่นขึ้นไปจอดบนชานชาลาเหนือสถานีได้

    ในที่สุดปรึกษาตกลงกันได้ว่า ให้คณะแสวงบุญที่ขึ้นไปก่อนลงมาจากรถเพื่อให้รถเบาขึ้น แล้วจ้างพวกแขกสองสามคน และเด็กแถวนั้นให้ช่วยกันดันรถ แต่เมื่อทำดูแล้วรถไม่ได้ขยับเขยื้อนเลย เพราะตู้รถไฟใหญ่กว่าตู้รถไฟในบ้านเมืองเรามาก มีน้ำหนักเป็นตันๆ และจะต้องดันให้เคลื่อนขึ้นที่สูงเสียด้วย มันต้องใช้ช้างสารฉุดถึงจะเขยื้อนขึ้นไปได้

    ตอนนี้นายเอื้อ บัวสรวงเห็นหมดหนทางที่จะพึ่งแรงคน จึงคิดจะพึ่งแรงบารมีของพระเสียแล้ว จึงได้หันมาอาราธนาขอร้อง อาจารย์วิริยังค์ (ท่านเจ้าคุณญาณวิริยาจารย์) ช่วยให้รถเคลื่อนด้วยอานุภาพที่ท่านมีอยู่ เพราะมองไม่เห็นใครที่จะช่วยได้ ก็ต้องพึ่งพระกันบ้าง

    ท่านพระอาจารย์วิริยังค์ ได้เข้าไปยืนข้างตู้รถไฟภาวนาอยู่สักครู่ก็ทำท่าดัน แล้วบอกให้ทุกๆ คนช่วยกันดันรถ แต่ดันเท่าไหร่ๆ รถก็ไม่มีทีท่าจะเขยื้อน
    นายเอื้อจึงได้หันมาอาราธนาท่านเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดยะลา ท่านเจ้าคุณเจ้าคณะอำเภอยะลาและหลวงพ่อทิมวัดช่างไห้ ขอให้ช่วยแสดงอานุภาพทำให้ตู้รถไฟเคลื่อนที่ แต่ท่านทั้งสามองค์ก็ตอบตรงๆ ว่าไม่ได้ฝึกมาทางนี้ คือไม่ได้ฝึกทางอภิญญา สุดท้ายนายเอื้อ บัวสรวงหมดหนทางอับจนปัญญา จึงได้ขอร้องให้ หลวงพ่อกัสสปมุนี ช่วยด้วย

    “ยังเหลือแต่หลวงพ่อกัสสป องค์เดียวเท่านั้น ผมเชื่อว่าคงจะไม่สิ้นหวังเสียทั้งหมด”

    นายเอื้อ บัวสรวง พูดค่อนข้างเสียงดังเปิดเผย พลางพนมมือนอบน้อม หลวงพ่อกัสสป จึงเอ่ยว่า

    “ทำไมมาเจาะจงอาตมา ก็ท่านเหล่านั้นยังรับไม่ไหว แล้วอาตมาภาพจะรับได้ยังไง”

    นายเอื้อ บังสรวง ได้ยืนกรานว่า

    “ถึงอย่างนั้น ก็ขอให้หลวงพ่อเห็นแก่ญาติโยมผู้หญิง และคนแก่ เถอะครับ ที่จะต้องโหนตัวขึ้นรถ”ว่าแล้วก็ไหว้อีก หลวงพ่อกัสสปเห็นนายเอื้อมีความมั่นใจเช่นนั้น จึงจำเป็นต้องช่วยสงเคราะห์ จึงบอกเบาๆ ว่า

    “โยมบอกพวกนั้นให้ดันรถพร้อมๆ กัน พอเห็นอาตมาเดินขึ้นหน้ารถก็ดันเลย”

    นายเอื้อก็รับคำเตรียมอยู่ข้างตู้รถไฟ จากนั้นหลวงพ่อกัสสป ก็เดินขึ้นไปทางริมรั้วสถานี ครั้นพอถึงหน้ารถตู้ นายเอื้อก็ร้องบอกให้พวกนั้นดันรถ เสียงรถเคลื่อนดังครืด แล่นตามหลังหลวงพ่อกัสสปมาได้หน่อยหนึ่ง หลวงพ่อกัสสปจึงยื่นไม้เท้าให้นายเอื้อจับปลายไว้ นายเอื้อเอื้อมมือขวามาคว้าปลายไม้เท้าไว้ ส่วนมือซ้ายจับอยู่ที่ราวบันไดรถ หลวงพ่อจับหัวไม้เท้าไว้ข้างแล้วจูงนำหน้า เท่านั้นเอง ตู้รถไฟอันใหญ่โตหนักอึ้ง ก็แล่นปราดๆ ขึ้นไปตามรางสู่สถานีอย่างง่ายดายน่ามหัศจรรย์ สร้างความตะลึงงันให้แก่ญาติโยมอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่ได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวต่อหน้าต่อตา สุดที่จะกล่าวพรรณาเป็นอักษรภาษาใดๆได้...!!!!!!

    นับว่าหลวงพ่อกัสสป ได้ฝังรากความมั่นใจให้แก่นายเอื้อ และญาติโยมในที่นั้นว่า อานุภาพของพุทธศาสนานั้น เป็นของมีจริง ที่พระสาวกของพระพุทธองค์ สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เมื่อถึงคราวจำเป็น หรือวาระอันสมควรจะพึงแสดง! คณะแสวงบุญทัศนาจร ได้ท่องเที่ยวไปชมสถานที่ สำคัญๆ นอกเหนือจากสังเวชนียสถานทั้งสี่แห่ง แล้วอีกหลายแห่ง จนฉ่ำชื่นใจสมปรารถนาทั่วหน้ากัน จากนั้นก็ได้ถึงวันเวลาที่จะต้องแยกทางจากกัน โดยหลวงพ่อกัสสปได้แยกทาง ลงที่เมืองปัตนะ (เมืองปาตลีบุตร ครั้งพุทธกาล) เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๗ เพื่อจะได้จาริกท่องเที่ยวไปตามลำพัง สององค์กับพระวิเวกนันทะ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25>หลวงพ่อกัสสปมุนีเคยว่า สกุล"กัสสปะ"สมัยพุทธองค์มี 7 ท่าน คือ
    1.มหากัสสปะ
    2.อุรุเวลกัสสปะ
    3.นทีกัสสปะ
    4.คยากัสสปะ
    5.กุมารกัสสปะ
    6.อเจลกัสสปะ
    7.จุลกัสสปะ
    ซึ่งเป็นที่รู้กัน"ภายใน"ก็คือ หลวงพ่อกัสสปมุนีนั้น ก็คือท่าน "จุลกัสสปะ"แต่กาลก่อนนั่นเอง มาในชาตินี้ สมเด็จพระอุปัชฌาย์(สังฆราชป๋า วัดโพธิ์) จึงประทานนามเป็นพิเศษว่า "กัสสปมุนี" แทนชื่อจริงด้วยประการฉะนี้


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อท่าน"จุลกัสสปะ" ได้สิ้นชีพจากชาตินั้นแล้ว ในชาติต่อมา ท่านก็ได้เกิดมาเป็นจักรพรรดิที่เมืองจีนเมื่อ2,000 กว่าปีก่อน ซึ่งมีพระนามว่า "เม่งตี่อ้วงตี่" (หลวงพ่อเล่าไว้เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2524) ซึ่ง"เม่งตี่ฮ่องเต้"นี้ ได้ทรงสร้างคุณูปการแก่บวรพระพุทธศาสนาไว้เป็นเอนกปริยาย <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25></TD></TR></TBODY></TABLE>ประวัติวัฒนธรรมจีนกล่าวถึงการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในแผ่นดินจีนว่า เริ่มขึ้นใน สมัยราชวงศ์ฮั่นรัชกาลของพระเจ้าเม่งตี่ แม้ก่อนหน้านี้จะเริ่มมีราชบัณฑิตได้เคยฟังเรื่องพระธรรม จากพวกทูตจากแคว้นกุสินบ้างแล้ว แต่พระพุทธศาสนาก็ยังมิได้แพร่ไปถึงประเทศจีน

    [​IMG][​IMG]ในสมัยกษัตริย์เม่งตี่นั้น จีนได้แผ่อิทธิพลทั่วไปทางภาคตะวันตกซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่พระพุทธศาสนาในอินเดียกำลังแพร่ขึ้นมาทางเหนือ พระเจ้าเม่งตี่โปรดให้อาราธนาพระสงฆ์พร้อมด้วยพระสูตรต่างๆ มายังประเทศจีน พร้อมด้วยพระสูตรต่าง ๆ มายังประเทศจีน พร้อมกับสร้างวัดม้าขาวให้เป็นที่พำนักใน พ.ศ. 610 ซึ่งถือว่าเป็นวัดพระพุทธศาสนาแห่งแรก หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็แพร่ไปทั่วประเทศและมีพระสงฆ์จากอินเดียเดินทางมามากขึ้นได้แปลพระสูตรไว้เป็นจำนวนมาก ภายหลังเมื่ออนุญาตให้ชาวจีนบวชเป็นพระสงฆ์ได้แล้ว
    [​IMG]พระภิกษุจีนได้ศรัทธาออกจาริกไปเสาะแสวงหาพระไตรปิฏกและท่องเที่ยวดินแดนพระพุทธภูมิหลายท่าน ทั้งนี้ได้เรียบเรียงบันทึกการเดินทางไว้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาทั้งในส่วนที่เป็นสาระที่เกี่ยวกับการพระศาสนา และสภาพบ้านเมืองดินแดนต่างๆ ที่อยู่ในเส้นทางอย่างน่าสนใจยิ่ง
    "...ที่จริงเซ็นมาก่อนแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าฮั่นเม่งตี่ ต้นตระกูลสามก๊ก อัญเชิญพระไตรปิฎก แล้วสร้างวัดม้าขาวเมื่อสองพันปีเศษ เป็นประวัติศาสตร์ที่ยอมรับกัน อันนั้นก็มีเซ็นปรากฏอยู่แล้ว และพวกฉันยังเชื่อว่าพุทธศาสนาเข้าสู่เมืองจีนตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าแล้ว ไปแบบพระธุดงค์ไม่เป็นทางการ มีประวัติศาสตร์อ้างอิงอยู่ อย่างในประวัติศาสตร์จีนสมัยเลียดก๊ก "เศ็กเกียม่อนี้ฮุดโจ้ว" นี้คือศากยมุนี สมัยเลียดก๊กทำไมถึงรู้จัก แสดงว่าชาติใหญ่มีความสัมพันธ์กันมาแต่โบราณ (ศาสนาพุทธ) จึงไปแบบพระธุดงค์ ไม่เป็นทางการ พระเจ้าฮั่นเม่งตี่อัญเชิญ (พระคัมภีร์) มาแปล เป็นเรื่องทางการ



    (ธีรทาส , พุทธทาสกับมหายาน)

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    บันทึกเก่า ระบุว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2524 มีศิษย์ท่านหนึ่งกราบเรียนถามหลวงพ่อกัสสปมุนีว่า ตอนที่หลวงพ่อใช้พลังจิต"ลากรถไฟขึ้นเขาที่อินเดีย"นั้น หลวงพ่อทำอย่างไร.???
    หลวงพ่อกัสสปมุนีตอบว่า
    "ใช้การรวมพลังเข้ามาเป็นหนึ่ง และออกเดินนำหน้าทันที ไม่เหลียวหลัง ไม่ใช่อิทธิวิธี หากเป็นการใช้"อาโลกสิน"(แสงสว่าง,ความว่าง) ดึงรถไฟขึ้นไป..!!?!" <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อกัสสปมุนีเคยสั่งศิษย์ใกล้ชิดไว้ว่า
    "เวลาจะทำอะไร ให้อาราธนาหลวงพ่อก่อนทุกครั้ง แล้วจะสำเร็จ"
    พอดีมีคนซึ่งมาใหม่คนหนึ่ง บังเอิญได้ยินคำสั่งของหลวงพ่อดังว่า จึงได้ถามกลับไปด้วยน้ำเสียงที่ไม่ค่อยจะเชื่อถือสักเท่าไรว่า
    "ถ้าอาราธนาแล้ว ผมอยู่ตั้งไกล แล้วหลวงพ่อจะได้ยินหรือ..??"
    เมื่อได้ฟัง หลวงพ่อกัสสปมุนีก็ย้อนตูมกลับมาทีเดียวว่า
    "ถ้าหลวงพ่อไม่ได้ยินแล้ว จะให้เรียกทำไม??!?" <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25></TD></TR></TBODY></TABLE>"ครูบาเหยียบศิลาเป็นรอย"(ครูบาเจ้าชัยวงศาพัฒนา) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน ผู้ยิ่งด้วยอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์เป็นที่ยิ่งซึ่งเป็นสหธรรมิกสนิทอีกองค์หนึ่งของหลวงพ่อกัสสปมุนี เคยรำพึงไว้เมื่อครั้งที่หลวงพ่อกัสสปมุนีละสังขารทีเดียวว่า
    "ต่อไปนี้ จะหาพระที่ฤทธิ์ดุจเดียวกับหลวงพ่อกัสสปมุนีไม่ได้อีกแล้ว!!?!" <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=1 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width=250 bgColor=#f4f4f4 align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25></TD></TR></TBODY></TABLE>ไปกราบสังขารท่านได้ที่ วัดปิปผลิวนาราม จังหวัดระยอง ครับผม.

    ที่วัดปิปผลิวนาราม บรรยากาศดี ร่มรื่น เย็นสบายมากๆครับ เลยวัดหนองกรับ หลวงพ่อสาคร ศิษย์เอกหลวงปู่ทิม ไม่กี่กิโลครับ


    http://www.watbuddhaprommapanyo.com/board/showthread.php?t=7119
     
  5. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    กราบ กราบ กราบ ... สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ





    .
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    กราบสักการะนมัสการครับหลวงปู่ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    กราบนมัสการหลวงปู่ครับ...
     
  8. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ถ้าผมได้ไปสังเวชนียสถาน ผมก็น้ำตาไหลเหมือนกันแน่นอน แค่อ่านแค่คิดว่าได้ไปก็ตื้นตันแล้ว
    เข้าใจความรู้สึกหลวงปู่ทิมครับ

    กราบนมัสการพระอริยะสงฆ์ครับ. . .
     
  9. s_pong

    s_pong Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +32
    เข้ามากราบสักการะหลวงปู่ครับ
     
  10. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    อันที่จริง มีหนังสืออีกเล่ม ที่หลวงปู่ท่านเขียนเอาไว้
    "สภาวะสังขารธรรม" มีโอกาส ลองหาศึกษาอ่านกัน เป็นประโยชน์ มาก เคยศึกษาอ่านแล้ว บอกได้แค่ว่า โอ.. อ้า..

    เคยอ่านประวัติบางตอน ตอนที่ท่านไปอินเดีย เมืองฤาษี แล้วฤาษี ที่ฝึกกสินไฟลองดี ทดสอบท่าน หลวงปู่ท่านก็เลยต้องแสดง อภิญญาแก้ไข จนสุดท้าย ฤาษีกราบ อาราทนา ให้อยู่ จำพรรษาที่นั้น ซึ่งปรกติไม่ทำกัน แล้วยังฝากตัวเป็นศิษย์ ฤาษีที่ฝึกอภิญญาขนาดนั้น ปรกติไม่ยอมลงให้ผู้ใดง่าย แต่ กลับนับถือ หลวงปู่กัสสปะมาก
    พระกรรมฐาน ฐานอานาปานสติ อภิญญา ล้วน ๆ เป็นพระอีกองค์ ที่กราบได้อย่างสนิทใจมิมีกังขาใด ๆ

    กราบนมัสการ หลวงปู่
     
  11. Fluffy (New)

    Fluffy (New) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    287
    ค่าพลัง:
    +1,228
    ขอนอบน้อมกราบนมัสการหลวงปู่เจ้าค่ะ สาธุ
     
  12. Powernext

    Powernext เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +3,290
    กราบนมัสการหลวงปู่และอนุโมทนากับ จขกท..สาธุ..สาธุ..
     
  13. watchai

    watchai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +56
    กราบหลวงปู่ครับ
     
  14. ซาตานคลั่ง

    ซาตานคลั่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    496
    ค่าพลัง:
    +1,449
    เคยมีประสปการณ์กับรูปถ่ายรูปนี้ครับ

    คือตอนนั้นยังไม่รู้จักท่าน แต่เห็นในเว็บนี้และได้อ่านสรรพคุณของรูปถ่าย ก็เลยคิดในใจว่า รูปถ่าย มันก์คือรูปที่อัดมาจากฟิล์ม โดยใช้เครื่องมือสมัยใหม่ธรรมดาๆเหมือนการปริ๊นต์ภาพ

    ก็เลยปริ๊นต์ภาพนี้ออกมาเต็มกระดาษ A4 และปริ๊นต์ยันต์พุทธเกษตรไว้ด้านหลัง เอาไปเข้ากรอบเล่นๆสนุกๆแล้วก็ทิ้งไว้เฉยๆที่หัวเตียง

    คืนนั้นนอนไม่ได้ทั้งคืน เหมือนมีแรงดึงดูดจากรูปนี้โดยตรง เลยต้องหาที่แขวนและแขวนรูปนี้ไว้ข้างฝา

    จึงได้นอนหลับสบายได้ตามปกติ


    แรงเนอะ
     
  15. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    พระภิกษุวิเวกนันทะ มาจากวัดอุโมงค์ เชียงใหม่ ได้ศึกษาอยู่ในอินเดียถึงสิบปี ได้ปริญญา เอ็ม.เอ.ทางพุทธศาสตร์ ท่านวิเวกเป็นผู้กว้างขวางในประเทศอินเดีย และแว่นแคว้นใกล้เคียง เช่น เนปาล... สามารถพูดภาษาพื้นเมืองได้คล่อง เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นต่างๆ ในอินเดียได้อย่างดี ท่านเป็นพระที่เปี่ยมเมตตา เป็นที่รักใคร่นับถือจากชาวอินเดียทุกหนทุกแห่งที่ท่านย่างก้าวไปถึงเพื่อเผยแพร่ธรรมะ ท่านวิเวกนันทะ ไม่เคยรู้จักกับ หลวงพ่อกัสสปมาก่อนเลย เพิ่งมารู้จักกันคราวมาแสวงบุญที่อินเดียนี้เอง โดยท่านวิเวกได้รับการติดต่อจาก คุณสุวรรณ เจามหาสุข ผู้อำนวยการนำเที่ยวแสวงบุญ ให้ท่านวิเวกช่วยอำนวยความสะดวก พระสงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกา ในการแสวงบุญในครั้งนี้

    “ท่านวิเวกนันทะ กับอาตมา ดูเหมือนว่าชาติปางก่อนได้เคยเป็น ญาติมิตรอันสนิทยิ่งกันมา ยังงั้นแหละ มาชาตินี้จึงได้ถูกอัธยาศัยกันมาก คล้ายกับว่าเป็นเพื่อนร่วมตายกันมานาน ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย” หลวงพ่อกัสสปกล่าว

    [​IMG]

    ท่านวิเวกนันทะ ได้พาหลวงพ่อกัสสป ท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนทำความรู้จักกับพวกสวามีและมหาฤาษี สำคัญๆ ตามสำนักต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้กันในเรื่องธรรมะ และการฝึกจิตอย่างถึงแก่น

    ความเป็นอัจฉริยภาพ และพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของหลวงพ่อกัสสป ได้สร้างความประทับใจให้แก่มหาฤาษี และสวามีคุรุทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ภาษาอังกฤษอันคล่องแคล่วแตกฉานของหลวงพ่อในธรรมะทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ อย่างพระสงฆ์ที่รู้แจ้งเห็นจริงของหลวงพ่อนั่นเอง ทำให้บุคคลเหล่านั้นบังเกิดความเคารพศรัทธาในหลวงพ่อกัสสป ทุกหนทุกแห่งที่ย่างเหยียบไปในแผ่นดินชมพูทวีป พูดได้ว่า หลวงพ่อเป็นพระไทยองค์เดียว ที่ไปสร้างความประทับใจอย่างพิเศษพิสดาร ทั้งทางธรรม และอภิญญาให้แขกอินเดียชื่นชม และอัศจรรย์อย่างถึงใจยิ่งนัก

    คนสำคัญของอินเดียท่านหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึงคือ ดร.เมตตา เป็นนักปราชญ์ใหญ่ มีความรอบรู้แตกฉานในเรื่องศาสนาต่างๆ อย่างยอดเยี่ยมทางภาคทฤษฎี พักอยู่หอพักตึกห้าชั้นชื่อ เมย์แฟร์ในมหานครบอมเบย์ อันศิวิไลชั้นหนึ่งของอินเดีย ดร.เมตตา ประพฤติตนอย่างนักพรต นุ่งขาวห่มเฉียงบ่า รูปร่างบุคลิกลักษณะเป็นสง่า ไว้หนวดและเคราเป็นพุ่มงามสะอาด ภายในห้องรับรองบ้านพัก จัดเป็นห้องพระไปในตัว

    โต๊ะพระจัดดังนี้ คือ ตอนบนสุดมีเศียรพระพุทธรูปติดไว้กับผนัง เป็นเศียรผ่าครึ่งคล้ายหัวตุ๊กตาทำขาย ถัดลงมาเป็นรูปพระเยซู ยืนเต็มตัว ถัดลงมาอันดับที่สาม เป็นรูปปั้นพระศิวะ ท่านั่งสมาธิ มีกระถางธูป และที่เสียบดอกไม้ ทางด้านขวามือมีโต๊ะหมู่ตั้งพระพุทธปฏิมามหายาน แบบญี่ปุ่นอยู่ชิดกับผนัง ขณะที่หลวงพ่อกัสสปก้าวเข้าไปในห้องนี้นั้นมีแขกผู้มีเกียรติชั้นคหบดี อันเป็นเสมือนศิษย์ของ ดร.เมตตานั่งอยู่ ๒ คน และ หลานสาวสวยของ ดร.เมตตา ๑ คน และพระภิกษุไทยสามองค์ คือ ท่านวิเวกนันทะ พระมหาสุเทพ และพระมหาอุดม รวม ๘ คน

    หลวงพ่อกัสสปนุ่งห่มดองรัดประคตอกอย่างรัดกุม ผิดกับพระไทยทั้งสามองค์ที่นั่งอยู่ในนั้น (ห่มดองคือครองผ้าเหมือนพระบวชใหม่ในโบสถ์) แถมหลวงพ่อกัสสปยังถือไม้เท้ายาว สะพายย่าม จึงเป็นเป้าสายตาของ ดร.เมตตา และพรรคพวกเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เคยเห็นพระภิกษุไทยในอินเดียนุ่งห่มครองจีวรแบบนี้มาก่อน ดร.เมตตา เพ่งมองดูหลวงพ่อกัสสป ด้วยนัยน์ตาแหลมคมอย่างพินิจพิเคราะห์ พลางกล่าวเชิญให้นั่งแต่มิได้บอกว่าจะให้นั่งตรงไหน อาสนะที่จัดไว้ในห้องนั้นก็มีเรียงรายหลายที่ด้วยกัน หลวงพ่อกัสสปกล่าวขอบใจเบาๆ เดินช้าๆ ผ่านเข้าไปนั่งที่อาสนะตรงกลาง โดยนั่งขัดสมาธิ ตั้งตัวตรง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2010
  16. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    ดร.เมตตาได้ยกมือขึ้นไหว้ แล้วถามเรียบ ๆ ว่า

    “ท่านมาจากเมืองไทยตั้งแต่เมื่อไร มาประเทศอินเดียด้วยความมุ่งหมายอะไร ท่านมีหน้าที่อะไรในฝ่ายพุทธศาสนาในเมืองไทย ?”

    หลวงพ่อกัสสปมาทราบภายหลังจากท่านวิเวกนันทะ และพระมหาสุเทพว่า ดร.เมตตาผู้นี้ยังไม่เคยยกมือไหว้พระสงฆ์องค์ไหนเลย หลวงพ่อกัสสป ได้ตอบไปว่า

    “อาตมาภาพมาถึงอินเดียเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ปีก่อน ตั้งใจมาก็เพราะเพื่อต้องการให้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ด้วยตาตนเอง ตามที่ได้อ่าน และได้ศึกษามาทางพระพุทธศาสนาว่า สถานที่ต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรนั้น ยังจะคงมีอยู่จริงหรืออย่างไร และคนอินเดียในชมพูทวีปเป็นอย่างไร สำหรับหน้าที่กิจการงานทางฝ่ายศาสนานั้น อาตมาภาพไม่มีเพราะมุ่งไปทางปฏิบัติอย่างเดียว”

    ดร.วาสวาณี อายุ ๓๖ ปียังสาวโสด ใบหน้างาม เป็นหลานสาวของ ดร.เมตตา ดร.วาสวาณีเป็นผู้อำนวยการสำนักงานสถิติอุตสาหกรรม เธอไม่ยอมมีเรือน บอกว่ายุ่งยากใจ และไม่มีอิสระ เพราะประเพณีของชาวอินเดียกดและกีดกันผู้หญิงมาก เธอบอกว่าอยู่อย่างนี้ดีกว่า ทั้งที่พ่อแม่ของเธอก็อ้อนวอนให้แต่งงาน แต่เธอก็ไม่ยอมแต่ง ดร.วาสวาณี ได้ถามหลวงพ่อกัสสป เป็นเชิงขอความเห็นในเรื่องนี้ว่า “หรือท่านกัสสปเห็นอย่างไร ที่ดิฉันพูดนี้ ?”

    หลวงพ่อกัสสปตอบอย่างกลางๆ ว่า “อันการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้น ถ้าทำตัวให้เป็นไทแก่ตัวเองได้เท่าไร ก็ห่างจากทุกข์ได้เท่านั้น”

    ดร.วาสวาณีเม้มริมฝีปาก แล้วย้อนถามว่า “พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้นหรือ ?”

    “อาตมาภาพกล่าวตามพุทธวจนะ”

    ดร.วาสวาณีนิ่งคิด แล้วกล่าวว่า “จริงอย่างท่านกัสสปว่า ดิฉันเห็นด้วย”

    ตั้งแต่วันนั้นมา ดร.วาสวาณี ได้ให้ความสนิทสนมเลื่อมใสมากขึ้น ทำให้หลวงพ่อกัสสป ต้องระวังตัวยิ่งขึ้นเช่นกัน หวนรำลึกถึงพระโอวาทของพระพุทธองค์บรมศาสดาเจ้าที่ประทานไว้ว่า

    “จะพูดกับมาตุคามต้องถึงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ”

    หมายความว่า สมณะนักบวชในพระพุทธศาสนา หากจะพูดคุยกับสตรีเพศ พึงมีสติสัมปชัญญะ ควบคุมใจตัวเองไว้ให้มั่นคง เราส่วนเรา เขาส่วนเขา อย่าเอาเรา และเขามาปนกัน แล้วความปลอดภัยจักมีด้วยประการฉะนี้

    ดร.เมตตาได้ถามวิธีปฏิบัติทางจิตกับหลวงพ่อกัสสป และถามต่อไปว่า หลวงพ่อกัสสปได้กำลังจิตขั้นไหนแล้ว ? มีความสามารถอย่างไร ? ศิษย์ทางเมืองไทยมีมากเท่าใด?

    คำถามนี้ทำให้ทุกคนในห้อง พากันนิ่งฟังนิ่งเงียบ หลวงพ่อกัสสปนิ่งพิจารณา แล้วจึงตอบว่า

    “คำถามที่ท่าน ดร.ถามนี้ ถ้าเป็นคำถามที่ต้องการรู้ด้วยความจริงใจแล้ว อาตมาภาพก็จะตอบให้ฟัง แต่ถ้าถามเป็นเชิงลองเปรียบเทียบแล้ว ก็ขอให้พักไว้ก่อน เพราะทิฐิความเชื่อของบุคคลนั้น ไม่เหมือนกัน”

    ดร.เมตตา มองหน้าหลวงพ่อกัสสปอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงพูดว่า

    “ท่านกัสสปทราบได้อย่างไรว่า ข้าพเจ้าจะถามเพื่อเป็นเชิงลองเปรียบเทียบ ?”

    “แล้วจริงหรือไม่เล่า ที่ท่านคิดเช่นนั้น ?” หลวงพ่อย้อนถาม

    ดร.เมตตาถอนใจยาว เส้นหนวดปลิว พยักหน้าช้า ๆ หลวงพ่อจึงกล่าวต่อไปว่า “ นั่นเป็นคำตอบของอาตมาที่ได้ตอบคำถามข้อที่สองของท่านแล้ว ”

    “ ข้อที่สองอะไรที่ข้าพเจ้าถาม ? ”

    “ ก็ที่ท่านถามว่า อาตมาได้กำลังจิตถึงขั้นไหนแล้ว นั่นยังไง ” หลวงพ่อตอบ
     
  17. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    ดร.เมตตายกมือพนม แขกผู้มีเกียรติอีก ๒-๓ คนในห้องชาวอินเดียก็ยกมือพนมเช่นเดียวกัน ส่วนดร.วาสวาณี คงนั่งขัดสมาธิ ประสานมือฟังด้วยความตั้งใจ

    ดร.เมตตากล่าวอย่างปลื้มปิติว่า “ข้าพเจ้าพอใจอย่างยิ่ง ที่ได้พบกับท่านกัสสป ซึ่งข้าพเจ้ายังไม่พบภิกษุใดในพุทธศาสนา ตอบข้าพเจ้าอย่างนี้เลย จดหมายของวิเวกนันทะ ได้พูดถึงท่านหลายอย่าง”

    “และอาตมาก็ยังไม่เคยพบบุคคลใด ที่มีคำถามอันทรงปัญญาอย่างท่าน” หลวงพ่อกัสสป กล่าวอย่างสำรวมฉันท์เมตตาจิต ทำให้ดร.นักบุญชาวภารตะ ต้องเอื้อมมือมาบีบมือหลวงพ่อกัสสป ด้วยความนับถืออันสนิท แล้วพูดต่อไปอย่างเบิกบานใจว่า

    “ก่อนที่ท่านกัสสปจะจากไป ยังจะมีอะไร ให้เป็นความรู้ในทางจิตแก่ข้าพเจ้า แม้เพียงเล็กน้อยก็จะเป็นบุญอย่างยิ่ง”

    หลวงพ่อกัสสป บีบมือแกตอบ ใบหน้าแกแจ่มใส

    หลวงพ่อตอบว่า “ ท่านดร. อายุของท่านมากแล้ว จงพยายามอย่าทำจิตให้ฟุ้งซ่านเกินไป จงอยู่คนเดียวในที่สงัดให้มากที่สุด พูดแต่น้อย กินพอประมาณ อย่าเห็นแก่นอน ตัดอารมณ์เครื่องครุ่นคิดทั้งหมด แล้วทำใจให้แจ่มกระจ่างผ่องใส นี้แหละคือทางที่จะพาเราไปสู่ความล่วงทุกข์ ได้โดยหมดจด ไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า นี่เป็นธรรมที่อาตมาได้ศึกษา ฝึกฝนมา แม้จนบัดนี้ ”

    ดร.เมตตา ได้ฟังแล้ว จึงพูดว่า “ท่านกัสสป ข้าพเจ้ายังมีธุระที่จะต้องทำอีกมาก ยังต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอีกมาก... ถึงอย่างนั้นก็จะพยายาม”

    “นั่นแหละท่าน ดร. แม้ข้อนี้ เราก็พึงสังวรระวัง ตราบใดเรายังมีธุระมาก ยังเกี่ยวข้องกับบุคคลอีกมาก ตราบนั้นเรายังไม่ใช่คนพิเศษเหนือคน ยังมีความเป็นอยู่เหมือนๆ เขาอยู่ แล้วเราก็ยังสอนเขาไม่ได้เต็มที่ ขอจงจำข้อนี้ไว้ให้ดี” หลวงพ่อกัสสปกล่าว

    แขกผู้มีเกียรติของ ดร.เมตตา จำนวน ๒-๓ คนที่นั่งฟังอยู่ที่นั้น มีความพอใจมาก ที่ได้ฟังหลวงพ่อพูดโต้ตอบกับ ดร.เมตตามาทั้งหมด ต่างก็พนมมือ

    คนหนึ่งสูงอายุพูดขึ้นว่า “ข้าพเจ้ายังไม่เคยได้ยิน นักบวชคนใดพูดอย่างนี้เลย”

    ดร.เมตตาได้ขอนิมนต์หลวงพ่อกัสสปว่า พรุ่งนี้เขาขอจัดอาหารเพลถวายด้วยฝีมือตนเอง เป็นการเลี้ยงส่ง ใคร่ขอนิมนต์หลวงพ่อให้มาฉันในห้องรับรองภายในบ้านของเขาด้วย ซึ่งหลวงพ่อรับทราบด้วยอาการดุษณี

    ท่านวิเวกนันทะ และ พระมหาสุเทพ บอกในภายหลังว่า “ยังไม่เคยเห็น ดร.เมตตาให้เกียรติใครอย่างนี้”


    จาก http://www.vimokkhadhamma.com/dhamma/l_gasapa/book01-2.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2010
  18. ลูกเกต

    ลูกเกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +104
    อนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ

    ขอท่านผู้รู้ บอกบุญ ที่ gate061313@hotmail.com

    บุญของข้าพเจ้าสำเร็จเพียงใด ขอท่านจงสำเร็จเช่นนั้นด้วยเถิด


    ----------------------------------------------------------
    ลูกศิษย์ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2010
  19. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    สาธุ ดูจากใบหน้าแล้วอ่านอารมณ์ลักษณะนี้ ขนลุกเลยครับ


    ขออนุโมทนาด้วยครับ สาธุ
     
  20. passakorner

    passakorner เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    284
    ค่าพลัง:
    +1,034
    ถ้าผมเก็บรูปท่าน จะเป็นศิริมงคลไหมครับ

    ผมเลื่อมใส ใน การเข้านิโรธสามบัติ ของท่านมาก เพราะมีแต่พระอรหันต์ เท่านั้นที่ทำ ผมเซฟรูปท่านไปน่ะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...