รบกวนพี่ nopphakan ตอบคำถามผมหน่อยครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย cola-boys, 6 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. cola-boys

    cola-boys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +51
    ผมฝึกเเนวทางของหลวงพ่อจรัญครับ
    1.ในกรณีที่ผมถึงณาน 4 ผมควรจะทำอย่างไรต่อไปครับพี่รบกวนพี่ช่วยชี้เเนะหน่อยครับ
    2.ซึ่งในกรณีที่ผมเจอนี้เมื่อเข้าระดับณานลึกหลวงพี่ที่วัดดังกล่าวนั้นบอกให้ผมพองยุบอย่างเดียวเป็นเช่นนั้นหรือไม่ครับรบกวนชี้เเนะกระผมหน่อยเพราะตอนนี้ผมมีความสงสัยลังเลเป็นอย่างมากครับ

    ขอบคุณครับ
     
  2. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ข้อสอง ข้อเถียงครับ พอจิตเป็นฌาน จิตกับปราสาทจะแยกจากกัน (ถ้าคุณปฎิบัติจริงตามที่พูดมาก็จะรู้เองว่า) ว่าแทบจะไม่ได้ยินเสียง (หรือไม่ได้ยินเสียงเลย)

    การหยุบหนอพองหนอ นี่ดีไม่หมด(ดีแต่ไม่หมด) เพราะต้องเอาจิตไปรู้ ตรงพุง (คือว่าฌานลึก จิตกับปราสาทมันแยกจากกัน แล้วจะเอาจิตไปจับพุให้ไม่เป็นฌานทําไมจริงไหม) จริงๆดูลมหายใจเข้าออกก็พอแล้ว แบบอานาปนุสติครับ (จริงไปศึกษาเอาครับ อานาปานุสติของหลวงพ่อฤาษีครับ) ท่านเทศน์ไว้ ว่าอารมณ์ฌาน1 จน ฌาน 4 เป็นไง เวปนี้มี หาดูครับ (ท่านปฎิบัติมาแล้วสอน)

    แต่ผมภาวนาพุทโธ(จริงภาวนาตามใจชอบครับ จะมีคําภาวนา หรือ ไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะคําภาวนา เชื่อมโยงสมาธิ) พอจิตเริ่มสุข เกิดปิติ ลืมภาวนา แล้วก็สุขมากๆครับ ต่อจากนั้น ผมก็หลุดจากฌานเลย เลยตอบได้แค่นี้ครับ

    ข้อแรก ผมไม่รู้ครับ ไม่เคยถึงฌาน4 เคย นั่งภาวนาแบบไม่ได้หวังอะไร ได้ฌาน1 แล้วเริ่มไม่ได้ยินเสียง แล้วก็ตกใจ เหมือนตกเหว (ไม่เคยภาวนามาก่อนเป็นแบบนี้ครับ) แก้ได้ด้วย สูดลมหายใจเข้าลึกๆก่อน สองสามที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2013
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ก่อนอื่นขออนุโมทนา ด้วยครับ.ที่ฝึกตามแนวของหลวงพ่อจรัญ..คาดคะเนว่า
    คุณ คงอ่านเรื่องราวต่างๆ.ที่เป็นประสบการณ์ส่วนตัวของท่านมาบ้าง.และคงจะ
    ชอบพอสมควร...และสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ อย่าถือเป็นคำแนะนำเลยนะครับ.
    ถือว่าเพียงแต่เล่าให้ฟังนะครับ...

    ข้อที่ ๑
    ถามว่า ในกรณีที่ผมถึงณาน ๔ ผมควรจะทำอย่างไรต่อไปครับพี่รบกวนพี่ช่วยชี้เเนะหน่อยครับ


    จะขอแบ่งเป็น ๒ ข้อดังต่อไปนี้
    ปกติการถึงอารมย์ฌาน ๔ กิริยาอย่างหนึ่งที่ทราบได้แน่ชัดก็คือ ร่างกายกับจิต จะแยกจากกันอย่างเด็ดขาดชั่วคราว ณ อารมย์นั้น
    การแยกจากกันมี ๒
    กรณีดังนี้..เพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น.และการเลือกที่จะปฏิบัติต่อ
    ไปในอนาคตให้ลองอ่านดูก่อนนะครับ..อาจจะยาวนิดหน่อย..


    ๑.๑ แบบที่จิตแยกออกจากกาย
    พูดง่ายๆก็เหมือนกับการถอดจิตได้ชั่วคราวนั้นเอง เพียงแต่ว่าคุณจะมองไม่เห็นตัวเอง.
    แต่เหมือนกับว่าคุณไปส่องดูสิ่งที่เห็นเฉยๆ.
    ไม่มีส่วนร่วมในสิ่งที่เห็น ได้แต่ดูอย่างเดียว..
    หากครั้งแรก คุณนั่งถึงอารมย์ฌาน ๔ ดวงจิตจะหลุด
    ออกไปนอกกาย ณ บริเวณหรือสถานที่ใกล้ๆกับที่คุณนั่งสมาธิ

    โดยที่คุณ จะไม่สามารถบังคับดวงจิต..
    ให้อยู่ในร่างกายได้เพราะดวงจิตไป
    แบบอัตโนมัติ.
    และต่อมาคุณ จะพบกิริยาของจิต.ที่เป็นลูกกลมๆ หมุนได้ ขนาดเท่ากับกำปั้นของตัวเอง..ที่จะวิ่งจากกลางลิ้นปี่
    ขึ้นมาตรงๆไปยังบริเวณศรีษะ..ซึ่งลูกกลมหรือดวงจิตนี้
    สามารถเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่า
    ระดับสมาธิจะไม่ลึกก็ตาม..ถ้าคุณดับดวงจิตนี้.คุณจะเห็นดวงจิตใน
    ขณะที่กำลังก่อตัวเป็นวงกลมได้
    .และต่อมาจะเห็นดวงจิตในขณะที่จะเริ่มขึ้นมาก่อตัวได้..
    และต่อมาจะเห็นฐานของดวงจิตได้
    และสามารถเห็นความคิดที่ขึ้นมาจากจิต
    ว่าความคิดตัวนี้ขึ้นมาจากจิตได้ในลักษณะอย่างไร
    และตำแหน่งไหน..และทราบได้ทันทีว่าอะไร..เป็นกิริยาของจิตแบบต่างๆ อะไรเป็นความคิดที่เกิดจากจิต. แต่ถ้าหากคุณไม่ดับดวงกลมๆที่ว่ามานี้.
    การถึงอารมย์ฌาน ๔ ของคุณจะเป็นดังกรณีที่


    ๑.๒ แบบที่กายละเอียดแยกออกจากกาย
    กรณีนี้จะเกิดได้หากไม่ดับดวงจิตที่เป็นวงกลมหมุนได้ที่กล่าวมาในกรณีที่ ๑.๑ และทั้งสองกรณีนี้
    ..ยังสามารถเกิดขึ้นได้สำหรับบุคคลที่นั่งสมาธิสะสมกำลังมาพอสมควร หรือ ยังสามารถเกิดขึ้นได้เองแบบไม่ต้องฝึกสมาธิ
    ในกรณีที่บุคคลนั้นมีของเก่าติดตัว
    มาจากอดีตชาติหรือที่เรียกว่า จิตถึงอารมย์นี้ได้แบบบังเอิญ.
    เนื่องจากว่า จิตดวงที่อยู่กับร่างกายนี้..ตอนที่อยู่กับอีกร่างกายหนึ่งในอดีตชาติ
    เคยฝึกถึงขั้นนี้มาก่อน..


    มาเข้าเรื่องต่อ..พอกายละเอียดออกจากร่างกาย ก็จะมองเห็นร่างกายที่หลุดออกมาได้..และก็จะเห็นตัวเองนั่งอยู่ หรือนอนอยู่หากว่าหลุดได้โดยบังเอิญ
    แต่สิ่งที่เหมือนกันถ้าถึงอารมย์นี้ครั้งแรก
    คือ ไปไหนได้ไม่ไกลนั่นเอง หรือ อาจเห็นตัวเองเดินไปเดินมาบริเวณสถานที่ใกล้ๆกับร่างกาย..
    ประเด็นคำถามอยู่ที่ว่าควรจะทำอย่างไรต่อ..

    .แบ่งเป็น ๒ ข้อย่อยได้ดังนี้
    ข้อที่ ๑.ทั้งสองกรณี ควรต้องมาฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวันให้ได้ต่อเนื่องจนกระทั่งเป็น
    อัตโนมัติในเวลาปกติ ยกเว้นเวลาทำงานก็ตั้งใจทำงานให้เต็มที่.
    .เพี่อที่จะสร้างสติทางธรรม ที่จะคอยมาควบคุมจิตหรือควบคุมกายละเอียด เพื่อไม่ให้หลง
    ไม่ให้ยึด..ในสิ่งที่เห็นในสิ่งที่ทำได้.ป้องกันการเป็นมิจฉาทิฐิแบบไม่รู้ตัว
    เพราะถ้าไม่สร้างสติทางธรรมตัวนี้.

    .การถึงอารมย์ฌาน ๔ และออกจากร่างกายได้.โดยไม่มีสติตัวนี้.ความคิดที่เกิดขึ้นในอารมย์นี้จะกลาย
    เป็นนิวรณ์ทันทีและจะหลุดจากอารมย์นี้กลับมาอยู่ที่ร่างกายอัตโนมัติ..
    และก็จริงอยู่ว่าการถึงอารมย์นี้และถอดจิตได้ถอดกายละเอียดได้..
    มันดูเหมือนไม่ยึด ไม่ติด แต่ว่าเป็นกิเลสธรรมตัวหนึ่ง..และจะทำให้คุณ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น

    หรือยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลที่แตกต่างกับเราได้ยาก เป็นคนมีทิฐิมานะ ว่าตัว
    ว่าตนแบบที่คุณเองอาจไม่ทราบว่าตัวเองก็เป็นแบบนี้ได้.จึงมีความสำคัญมากสำหรับสติทางธรรมที่ได้กล่ามาแล้ว.
    และที่กล่าวมาเป็นประเด็นแรก..

    และข้อที่ ๒. เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อที่ ๑. เมื่อสร้างสติทางธรรมได้แล้วในระดับหนึ่ง..ตัวสติที่ว่านี้จะสามารถบังคับให้
    ดวงจิตสามารถ อยู่ในร่างกายโดยที่ไม่ออกไปภายนองร่างกายได้.
    และถึงแม้ว่าจะออกไป
    เที่ยวนอกร่างกายสติตัวนี้ก็จะตามติดดวงจิตไปทุกที่ชนิดที่ว่าไปไหนไป
    ด้วยซึ่งคุณจะสามารถมองเห็นได้

    และในกรณีที่เป็นกายละเอียดตัวสติที่ว่านี้ จะอยู่ในกายละเอียดแต่ไม่สามารถมองเห็นได้
    ..สติตัวนี้จะทำหน้าที่.คอยควบคุมว่าอะไรควร ไม่ควร อะไรเป็นกุศล หรืออกุศล เป็นคล้ายๆความคิดแต่เป็นความคิดที่ไม่ใช่นิวรณ์
    ที่ทำให้หลุดจากอารมย์ ฌาน ในขณะที่จิตหรือกายละเอียด ออกนอกร่างกายนั่นเอง..และมีประโยชน์อย่างไรในขณะที่ใช้ชีวิต
    ประจำวันแบบปกติ.หรือในขณะที่ลืมตา.


    สติทางธรรม ตัวนี้ก็คือ ตัวที่จะควบคุมจิตให้คลาย ออกจากความคิดที่เกิดจากจิต ให้คลายออกจากความคิด
    ที่เกิดจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม(ความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ) โดยขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมนี้จะสามารถมองเห็นได้ หากว่าสติทางธรรมตัวนี้ บังคับให้จิตอยู่ร่างกาย.
    ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง คุณจะสามารถมองเห็นได้เองและ
    กรณีที่ถึงอารมย์ฌาน ๔ แบบกายละเอียดจะไม่สามารถมองเห็นได้แต่จะสามารถทราบ
    ได้ว่าอะไรเป็น

    ขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม..หากมา วิปัสสนาต่อ.ในลักษณะตัดร่างกาย ให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา..ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่เรา การเกิดเป็นทุกข์
    ไม่ว่าพรหมโลก เทวโลก มนุษย์โลก อบายภูมิทั้ง ๔ และอรูปพรหมจะไม่มีในเรา.
    ชาตินี้เราขอนิพพานอย่างเดียว(คงพอคุ้นๆนะครับ).
    .แต่ก็ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังไม่ประเด็นหลักตามแนวของ หลวงพ่อจรัญ ที่ท่านได้สอนไว้จริงๆ
    ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า


    หลังจากสร้างกำลังสติทางธรรมจนสามารถบังคับจิตให้อยู่ในอารมย์นี้
    ได้แล้วมาวิปัสสนาต่อนั่นเอง..ซึ่งระดับวิปัสสนาของท่าน.เรียกว่า
    เป็นวิปัสสนาแบบอารมย์ลึก..ที่ต้องเน้นเรื่องการสร้างสติทางธรรมให้ก่อน
    นั้น..ก็เพราะว่ามีโอกาสที่จะไปติดเรื่องของความสามารถพิเศษ ไปติดเรื่องฤิทธิ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างทาง..
    หรือแม้กระทั่งติดในการสัมผัสเกี่ยวกับภพภูมิต่างๆที่จะเข้ามา.
    รวมทั้งการไปติดในอารมย์ของฌานสมาบัติ..
    ทำให้เสียเวลาหรือออกนอกทางได้จนลืมเป้าหมาย
    ที่แท้จริงเป็นเหตุให้ลืมเรื่องการวิปัสสนาหรือเดินปัญญา เพื่อลด.. ละ..และคลายกิเลสออกจากจิตได้ในภายหลัง..


    ส่วนการวิปัสสนา
    ในกรณีนี้ที่จะพูดนี้ก็คือ..การเน้นไปที่กำลังฌาน ๔ ไม่ใช่การถึงจุุดนี้มาแบบที่ผ่านเวทนามานะครับ..


    วิธีการคือ
    วิธีแรกคือ การให้จิตวิ่งดูอวัยะภายในร่างกายจนจิตเห็นการเกิดดับ..

    วิธีที่ ๒ นึกเรื่องที่จะพิจารณาไว้ก่อนในเบื้องต้น..แล้วให้ลืมและไม่สนใจเรื่่องนั้น
    ไปเลย.เพื่อเป็นการรักษาอารมย์.พอถึงกำลังฌาน ๔ เรื่องที่รักษาอารมย์ไว้จะผุดขึ้นมาได้
    และจะไม่กลายเป็นนิวรณ์ หากไม่สร้างสติและรักษาอารมย์ไว้ที่กล่าวมา..
    จะไม่สามารถนึกอะไรออกได้และถ้านึกได้ก็จะเป็นนิวรณ์ทำให้หลุดอารมย์ ณ จุดนั้นทันที และหากสามารถพิจารณาได้..จะสามารถคลายกิเลสในเรื่องนั้นๆ
    ได้เร็วกว่าวิธีการอื่นๆในแบบลืมตาซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังสติ ณ เวลานั้นๆด้วย
    สำหรับการรักษาอารมย์ไว้ให้เพียงพอสำหรับการวิปัสสนา.


    .หรือถ้าในครั้งต่อไปหากกำลังไม่ถึงฌาน ๔ จิตก็จะสามารถ
    ลดกำลังลงมาสุ่ช่วงที่จิตเป็นทิพย์หรืออารมย์อุปจารสมาธิได้ง่าย
    .แต่ต้องตัดเรื่องการท่องเที่ยวหรือตัดเรื่องภพภูมิที่เข้ามาทุกกรณี.และใช้
    หลักการรักษาอารมย์แบบเดียวกัน.ก็จะสามารถขึ้นวิปัสสนาได้เช่นกัน..
    แต่ผลจะไม่เท่ากับกำลังฌาน ๔ เท่านั้นเอง..


    และสิ่งที่คุณจะต้องทราบคือ ตามแนวของหลวงพ่อจรัญ ความสามารถพิเศษ
    ต่างๆหรือความสามารถในการรับรู้ต่างๆที่จะเกิดขึ้น..จะขึ้นอยู่กับระดับของการ
    คลายกิเลสที่เกาะติดที่จิตเป็นเกณฑ์ และความสม่ำเสมอในการทำสมาธิและการสร้างกำลังสติทางธรรมเพื่อ
    สะสมกำลังไปใช้ในขั้นของการวิปัสสนา...

    จะไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนการฝึกแบบสายอื่นๆที่เน้นความสามารถพิเศษเน้นอภิญญา
    .เพื่อนำกำลังสมาธิสะสมที่จะ
    ได้ในระหว่างการฝึกอภิญญานั้น ไปเป็นฐานในการขึ้นวิปัสสนา
    สำหรับ ลด ละ คลายกิเลส ในทำนองเดียวกันเหมือนที่ได้เล่าให้คุณฟังก่อนหน้านี้มา
    ซึ่งทั้ง ๒ วิธีการมีปลายทาง
    อย่างเดียวกันคือการไม่ต้องกลับมาเกิด..ที่เล่าให้ฟังนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะชอบ
    แบบไหนเท่านั้นเอง....


    และคำถามข้อที่ ๒ ของคุณ ขอตอบสั้นๆนะครับ..
    การที่ฝึกภาวนาแบบยุบหนอ พองหนอ เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการทำให้ระบบหายใจ ครบได้ทั้ง ๓ ฐาน.เป็นระบบการหายใจที่ละเอียด..เป็นการหายใจปกติของ
    บุคคลหรือระดับพระอริยะในชีวิตปกติ.สังเกตุได้เวลาหายใจหน้าอกจะ
    ไม่ขยับ
    .เพราะปกติการหายใจทั่วๆไป
    ของบุคคลจะแค่ ๒ ฐานคือลมหายใจลงถึงระดับหน้าอก หากไม่ได้ทำสมาธิ..
    ซึ่งถือว่าดีไม่มีอะไรเสียหาย..

    แต่การที่ดึงอารมย์ให้มาอยู่กับคำภาวนาหรือการยุบหนอพองหนอนั้น.
    .เป็นการลดระดับกำลังสมาธิลงมาให้อยู่ในระดับฌาน ๑ อาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้ที่แนะนำ..
    แม้ว่ากำลังสมาธิในระดับฌาน ๑ จะเหมาะสำหรับการอุทิศส่วนกุศล หรือว่าเดินปัญญาแต่ก็ยังช้า

    กว่าในระดับกำลังฌาน ๔ หรือช่วงที่จิตเป็นทิพย์
    เหมือนคนขับจักรยานกับคนขับรถยนต์ขึ้นภูเขานั่นหละครับ..ปลายทางคือ
    ยอดเขาเหมือนกัน..แต่คนขับจักรยานก็มีสิทธิ์ไปถึงยอดเขาได้ก่อน
    หากมีความสม่ำเสมอในการปั่นและไม่มัวแต่คอยหยุดพัก..และถ้าหาก.
    คนขับรถยนต์มัวแต่พักชมวิว(เปรียบได้คือ ติดในฤิทธิ์ในความสามารถพิเศษแล้วไม่วิปัสสนา)
    ก็มีโอกาสที่จะไปถึงยอดเขาช้ากว่าคนที่ปั่นจักรยานก็เป็นได้ครับ
    กรณีที่เล่าให้ฟังนี้เป็นกรณีที่เน้นไปที่กำลังฌาน ๔ และเน้นช่วงที่จิตเป็นทิพย์เท่านั้นนะครับ.ยังมีการเดินปัญญาแบบใน
    ชีวิตระหว่างวันสำหรับบุคคลที่ไม่ชอบทำสมาธิแบบพิธีการ
    และการเดินปัญญาในขณะทำสมาธิแล้วทำอารมย์ให้ลึกไม่ได้
    เนื่องจากมีความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจมารบกวน..ซึ่งทุกวิธีการมีปลายทางเหมือนกันแตกต่างกันที่ สิ่งที่มองเห็น
    ผลที่เกิดในระหว่างทาง มีระยะเวลา เทคนิค วิธีการแตกต่างกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละบุคคลนั้นๆด้วยครับ​
     
  4. apichayo

    apichayo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,936
    เข้าไปอ่านฌาน๔ เพิ่มเติมดูนะครับ..http://www.larnbuddhism.com/grammathan/meditation3.html
     
  5. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    มีแต่ ฌาน กระจอกๆอีกและ
     
  6. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    ฝึกฌาน4ได้เสร็จ ก็ต้องต่อไปอรูปฌานอีก4ถึงจะครบรอบฌาน และทำให้เป็นวสีทำให้แจ้งหายข้อสงสัยในญาน ฌาน แม้พระอรหันต์ทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้วในรูปฌานและอรูปฌาน

    ฝึกแบบผม2ทิตย์ก็ได้แล้วฌาน8 http://palungjit.org/threads/เข้าฌาน-แล้วระลึกชาติ.363781/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2013
  7. cola-boys

    cola-boys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +51
    ท่านก็อย่าออกตัวเเรงนักเลยท่านทำของท่านดีเเ้ล้วในเเนวทางของท่านก็ทำต่อไปเถอะ อันนี้เป็นเเนวทางของผมซึ่งผมให้ความเคารพดีสำหรับผมนะครับ

    อ่านตัวออก บอกตัวได้ จะได้ใช้ตัวเป็น จะได้เห็นตัวตาย จะได้คลายฐิถิ
    จะได้ดำริชอบ จะได้ประกอบกุศล จะได้ผลอนันต์ เป็นหลักฐานสำคัญ
    เอาตราชุูขึ้นมาดู เอาตราชูขึ้นมาชั่ง พิจราณาด้วเถอะมนุษย์
     
  8. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    พองยุบดีไม่หมดยังไงเหรอคับ พระท่านทำจนถึงวิชา3เตวิโช ผมทำ2ทิตย์ได้ฌาน8 ทำต่ออีก2เดือนได้บุฟเพนิวาสานุสติ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดจริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...