เรื่องเด่น ฟังอย่างไรให้กิเลสขาดไปสู่นิพพาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 29 กันยายน 2021.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,215
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,820
    A.PNG

    การกำหนดรู้อิริยาบถเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทธิเถร ได้เทศน์เรื่อง “ได้ยินหนอ” ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งการฟังหรือการได้ยินเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน การกำหนดรู้ในขณะฟังหรือได้ยินก็เป็นอีกแนวทางการปฏิบัติที่น่าสนใจ ขอเชิญชวนกัลยาณมิตรทุกท่านอ่านบทความจากการถอดความบรรยายธรรมของ ท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทธิเถร ครับ _/\_

    B.PNG

    ... ญาติโยมเพื่อนธรรมมิตรผู้ใจบุญทั้งหลาย ตอนนี้เป็นการฟังเทศน์ปฏิบัติ เวลาฟังเทศน์ให้กำหนดไว้ที่หู เวลาได้ยินก็ “ได้ยินหนอ…ได้ยินหนอ…” พอนานเข้าให้ใช้ “ยินหนอ….ยินหนอ…” เขาว่าถ้าเราฟังมาเฉย ๆ อันนั้นเราฟังมามากแล้ว เขาเรียกว่าฟังเอาบุญ ได้บุญอยู่แต่ได้บุญน้อย ได้บุญไม่มาก กิเลสไม่ขาด เพียงแต่ได้ประคองไว้เฉย ๆ แต่เราฟังแล้วกำหนดรู้ตามไป ถ้าเราฟังไปเฉย ๆ มันก็ไม่ใช่การปฏิบัติ นั้นจึงได้บุญน้อยไป ถ้าจะฟังให้ได้ประโยชน์มาก หนึ่ง ต้องฟังธรรมให้เกิดประโยชน์ ประโยชน์ในทีนี้คือประโยชน์ที่จะถึงนิพพานให้กิเลสขาด เราต้องสนใจจริง ๆ และรวมจิตใจไว้เป็นศูนย์รวมที่หู คือให้จิตมันอยู่ที่หูนั่นแหละ ได้ยินหนอ…ได้ยินหนอ… กิเลสก็ขาด พอได้ยินหนอ…ได้ยินหนอ กิเลสมันก็ขาด แต่ถ้าเราฟังเฉย ๆ ก็จะเป็นบุญ บุญนี้เรียกว่า กามาวจรบุญ บุญนี้พาเที่ยวอยู่ในสวรรค์เท่านั้นไปนิพพานไม่ได้ กิเลสก็ไม่ขาด เราต้องไปให้ถึง โลกุตรบุญ คือบุญที่อยู่เหนือโลก ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก เวลาฟังเราจึงต้องกำหนดรู้…


    D.PNG

    สาธุชนญาติโยมผู้ใหญ่ทั้งหลาย วันนี้เป็นวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 พระสงฆ์องค์เจ้าเข้าพรรษามาแล้วได้หนึ่งเดือนเต็ม ชีวิตของเราผ่านไปไว เดี๋ยวก็หมดวัน หมดคืน แต่ถ้าคนขี้เกียจแล้วจะรู้สึกว่าวันคืนมันช้า รู้สึกเจ็บไข้ได้ป่วย เลยรู้สึกว่ามันช้า แต่สำหรับคนขยัน ทำการทำงาน ประเดี๋ยวก็รู้ว่าเวลามันหมด ไม่นานก็จะออกพรรษาเสียอีกแล้ว ใครที่เป็นคนขยัน คนที่ทำบุญทำกุศลจะรู้สึกอย่างนั้น เดี๋ยวหมดวัน เดี๋ยวมันคืน เราทั้งหลายขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ชีวิตของเราผ่านปีเก่ามา (พ.ศ. 2523) มาแล้วได้ 8 เดือนยังไม่เต็มดีนัก ทุกคนยังเห็นหน้าเห็นตากันอยู่อย่างนี้แสดงว่าบุญยังปกป้องคุ้มครองเราอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็สร้างบุญต่อ แล้วพากันประมาท พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบชีวิตของคนเราเหมือนกับเกวียนที่มันชำรุดแล้ว เอาไม้ไผ่มาซ่อมไปมันก็จะพังกันแล้ว ดังนั้นก็เตรียมตัวกันให้ตายไปพร้อม ท่านทั้งหลายอย่าพากันประมาท ปฏิบัติอย่างนี้เรียกว่าเราไม่ประมาท คนมีสติเรียกว่าคนไม่ประมาท เราทำถูกแล้ว…

    E.PNG

    สอง จงมีสติ เราจงมีสติคือกำหนดได้ยินหนอ…ได้ยินหนอ คือการมีสติอยู่ มันถูกแล้ว ข้อที่สาม จงรักษาศีลให้ดี เราก็สมาทานแล้วเต็มที่แล้ว ข้อสี่ จิตของเราตั้งใจไว้ให้ดี ให้มันถูกธรรมะ ถูกสมาธิปัญญา อย่าไปคิดนอกเรื่อง ข้อที่ห้า จงตามรักษาจิตของตนให้รักษาอยู่ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เท่ากับว่าอยู่กับบุญและกุศล พระองค์ว่าถ้าผู้ใดปฏิบัติตามคุณธรรม 5 ข้อนี้ จะอยู่ด้วยความไม่ประมาท เราก็ขึ้นชื่อว่าปฏิบัติถูกต้องแล้ว ท่านทั้งหลายมนุษย์เราสำคัญอยู่ที่ใจ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมทั้งหลายมีสภาพเป็นใจที่ถึงก่อน มีใจเป็นประเสริฐที่สุด สำเร็จมาแต่ใจ หากคนเรามีใจที่โปร่งใส มีใจดี ใจเป็นบุญ เป็นกุศลแล้ว จะพูดก็ตาม จะทำก็ตาม ความสุขย่อมติดตามคนนั้นไป เหมือนกับฉายาว่าบุญกลายเป็นเงาตามเราไปทุกฝีก้าว นั้นแหละสำคัญคืออยู่ที่ใจ ที่จริงใจเป็นผู้นำไป คนจะดีขึ้นอยู่ที่ใจ ใจมีประโยชน์แท้ๆ เพราะสำเร็จนั้นขึ้นอยู่ที่ใจ ถ้าใจของใครที่ตั้งไว้ถูกแล้ว ใจของคนนั้นจะนำไปสู่ความประเสริฐยิ่งกว่าใครทั้งหมด ใครก็ทำให้ไม่ได้ ตรงกันข้ามใครตั้งใจไว้ไม่ดี ผู้นั้นย่อมเลวที่สุดไปจนนรกอเวจีก็ได้ ดั่งพระเทวทัต ทั้งที่จริงท่านก็เอามรรคเอาผลไปเยอะ แต่ทำไมท่านจึงเป็นอย่างนั้น เพราะท่านตั้งใจไว้ในที่ไม่ดี อยากจะเป็นใหญ่เป็นโต อยากจะเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตายไม่ง่ายก็ต้องฆ่า สุดท้ายพระเทวทัตถูกธรณีสูบตกอเวจีมหานรก


    จิตเป็นคนดึงคนลงไปหาฝ่ายต่ำ เพราะจิตของตนเองเป็นผู้นำไป นั้นคุณต้องฝึกใจของตนเองก็คือเอากิเลสออกนั่นเอง ชีวิตของเราเป็นชีวิตที่มีคุณค่า ต้องอาศัยความดีที่เราสร้าง ถ้าไม่สร้างความดีคุณค่าของเราก็น้อย ทุกคนเกิดมาเหมือนกัน แต่ต่างกันที่คุณค่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนเราจะดีได้ ไม่ได้ดีเพราะโคตรสายเทือกเขาเหล่ากอ ไม่ใช่เพราะเงิน เงินซื้อความดีไม่ได้ แล้วจะดีได้เพราะอะไร กรรม คือการกระทำของตนเอง เมื่อทำดีเราก็ดีได้ ดีได้เพราะการกระทำ เรียกว่า กรรม กรรมคือการกระทำ บุคคลนี้แหละเป็นการแยกบุคคลไปตามการกระทำต่างๆ กรรมเป็นผู้จำแนกคนให้เป็นไปตามกรรม สรรพสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตได้เพราะกรรมนี่แหละ กรรมจะจำแนกออกได้เพราะจิต เพราะกิเลสนั่นแหละ…

    C.PNG

    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
    อดีตอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์


    Credit: ขอขอบพระคุณที่มาจากการถอดความบางส่วนมาจาก เทศน์ปฏิบัติ ได้ยินหนอ ธรรมะ 37 ข้อ โดย ท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทธิเถร


     

แชร์หน้านี้

Loading...