พุทธและฮินดู ไทยและอินเดีย พระพิฆเนศและสมองคน ไหว้แบบไทยดีที่สุด

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย pmsale, 4 กันยายน 2022.

  1. pmsale

    pmsale สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2017
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +28
    ฮินดูกับพุทธ สัมพันธ์กันอย่างไร ?
    เอกภพหรือจักรวาลนี้มีผู้ก่อกำเนิดสร้างโดย 3 ไตรภาคี พรหมสร้าง-วิษณุรักษา-ศิวะทำลาย (GOD) ก่อกำเนิดวัฎจักรชีวิตและห่วงโซ่ธรรมชาติ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ชาวฮินดูที่ศรัทธาและทำความดีนั้นจะกลับไปหาผู้สร้างหรือพระพรหมที่โมกษะ(Moksha) ซึ่งเชื่อว่าจะไม่กลับมาเกิดอีกหรืออยู่กับพระพรหมไปตลอดกาล ในทางพุทธถือว่านั่นคือชั้นพรหมโลก แต่พระพรหมจะสร้างจักรวาลไปเรื่อยๆไม่รู้จบและจะมีการทำลายล้างโดยพระศิวะตามไปด้วย นั่นคือจักรวาลและโลกมนุษย์นี้จะถูกสร้างและถูกทำลายวนไปตลอด คือมีสุขและทุกข์คู่กันไปตลอดเสมอ ชาวพรหมบางส่วนอาจลงมาเกิดเวียนว่ายใหม่ การหลุดจากระบบวัฎจักรของพระพรหมนี้คือนิพพาน นี้คือเหตุแห่งการเกิดของพระพุทธเจ้า
    5530596-c176d3b202979ef30cde79fa177888ea.png

    ประเทศไทยอดีตเรียกว่า "สยาม" แผนที่สยามในอดีตมีรูปร่างเหมือนหัวช้าง
    ส่วนประเทศอินเดียก็มีลักษณะเหมือนหัวช้าง ที่ดวงตาช้างคือจุดที่เกิดพุทธศาสนาหรือหมายถึงผู้รู้แจ้งดวงตาเห็นธรรม และสติปัญญาที่มากเหมือนช้างที่มีสมองใหญ่ ไทยและอินเดียและช้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างมากๆ ช้างก็เป็นสัตว์ประจำชาติสยามหรือไทย พระพิฆเนศเทพผู้มีหัวเป็นช้าง เมื่อเทียบกับสมองมนุษย์จะมีความคล้ายกันมากสมองมนุษย์ใช้คิดจินตนาการสร้างสรรค์งานศิลปะต่าง ๆ โดยเหตุนี้การบูชาพระพิฆเนศมักได้รับพรมากกว่าเทพใด ๆ โดยเฉพาะด้านศิลปะการสร้างสรรค์ต่าง ๆ ความสำเร็จมาจากปัญญา
    5525356-c4245fd3c3c6199b3900a16c8ca35d1e.jpg

    การไหว้แบบพุทธหรือฮินดู หรือการไหว้ของคนไทยให้ผลต่อการอธิษฐานรับพลังงานบวกจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ดีที่สุดและป้องกันพลังงานร้ายหรือลบได้ดีที่สุด วิธีที่ดีคือเอานิ้วหัวแม่มือมาจรดกลางหน้าผากระหว่างคิ้วหรือบริเวณที่เรียกว่าตาที่สาม
    5525357-e8576ed456654ff1839a0474ff6cc072.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Namaskar4.png
      Namaskar4.png
      ขนาดไฟล์:
      870 KB
      เปิดดู:
      62
    • Ganesha3.jpg
      Ganesha3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.7 KB
      เปิดดู:
      57
    • h4.png
      h4.png
      ขนาดไฟล์:
      776.9 KB
      เปิดดู:
      80
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...