พระปิดตาหลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง จ.สมุทรปราการ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย guawn, 23 ตุลาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พระปิดตาหลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง จ.สมุทรปราการ

    คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง

    ราม วัชรประดิษฐ์



    [​IMG]พระดีจังหวัดสมุทรปราการที่ "พันธุ์แท้พระเครื่อง" นำมาแนะนำในฉบับนี้คือ "พระปิดตาหลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง"....ความจริงแล้วหลวงพ่อฉ่ำ อดีตเจ้าอาวาสวัดท้องคุ้ง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาอาคมสูง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและเคารพศรัทธาของชาวสมุทรปราการและใกล้เคียง วัตถุมงคลของท่านล้วนเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในสมัยนั้น อาทิ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2482 แต่ "พระปิดตาหลวงพ่อฉ่ำ" ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นพระที่แตกกรุออกมาหลังจากที่หลวงพ่อฉ่ำมรณภาพไปแล้วครับผม

    การแตกกรุในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากท่านพระครูวิบูลย์ปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดจะทำการพัฒนาวัด มีการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัด และสร้างถาวรวัตถุขึ้น จึงจำเป็นต้องขยับขยายบริเวณ ดังนั้นจึงลงมติให้เจาะพระปรางค์ 2 องค์บริเวณหน้าวัดซึ่งหลวงพ่อฉ่ำท่านสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2457 โดยมีอักษรจารึกหน้าพระปรางค์ว่า "หลวงพ่อฉ่ำ" เพื่อนำพระพุทธรูป พระเครื่อง ตลอดจนอัฐิของท่านที่บรรจุไว้ออกมาเก็บรักษา มีทั้งพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ พระแก้วใสวรรณะสีเขียวแบบมรกต และพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ มากมาย และในจำนวนนั้นก็ปรากฏ "พระปิดตาหลวงพ่อฉ่ำ" ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมและเล่นหากันในแวดวงนักนิยมสะสมอยู่แล้ว อีกทั้งชื่อเสียงขจรขจายในความเป็นเลิศทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี แสดงว่าในสมัยที่หลวงพ่อฉ่ำยังมีชีวิตอยู่ได้สร้าง "พระปิดตา" ขึ้นแล้วแบ่งส่วนหนึ่งเพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและอีกส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในกรุเพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนา การแตกกรุของ "พระปิดตาหลวงพ่อฉ่ำ" ในครั้งนี้ จึงค่อนข้างเป็นที่ฮือฮากันพอสมควรสำหรับนักสะสมทั้งหลาย

    พระปิดตาหลวงพ่อฉ่ำ ที่ปรากฏเป็นพระเนื้อผงใบลานคลุกด้วยดิน ว่าน และเกสร โดยมีรักเป็นตัวประสาน หรือที่เรียกกันว่า "เนื้อผงคลุกรัก" และเป็นพระที่ไม่ได้ผ่านการเผา ที่เรียกกันว่า "เนื้อดินดิบ" แต่จะมีความแกร่งพอสมควร สีเนื้อขององค์พระจะออกน้ำตาลปนดำ มีเนื้อละเอียดและหนึกนุ่มมาก แบ่งได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าบุ๋มและพิมพ์เข่าตัน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันที่พระชานุคือบุ๋มและตันตามชื่อพิมพ์นั่นเอง

    ลักษณะพิมพ์ทรงของ "พระปิดตาหลวงพ่อฉ่ำ" จะเป็นทรงชะลูด องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางสมาธิ ในอิริยาบถปิดพระเนตรทั้ง 2 ข้าง รายละเอียดต่างๆ ไม่มากนัก แต่แฝงไว้ซึ่งความเข้มขลังด้วยลักษณะพิเศษประการหนึ่งคือ ที่เหนือพระเศียรจะมีอักขระขอม 3 ตัว อ่านว่า "มะ อะ อุ" อันหมายถึงพระรัตนตรัย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ด้านหลังที่โค้งมนแบบหลังเบี้ยนั้น ภายในจะบรรจุ "เม็ดปรอทผสมตะกั่ว" หรือวงการพระเรียก "ลูกสะกด" ขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดเอาไว้ นี่แหละคุณวิเศษของแท้ เนื่องจากพระเกจิอาจารย์น้อยรูปนักที่จะสามารถสร้างลูกสะกดได้สำเร็จ เนื่องด้วยกรรมวิธีการสร้างยากและซับซ้อนและต้องเป็นยอดพระเกจิที่ทรงวิทยาอาคมเก่งกล้าจริงๆ และด้วยเหตุนี้เองทำให้ด้านหลังของ "พระปิดตาหลวงพ่อฉ่ำ" ส่วนใหญ่มักปรากฏ "รอยร้าว"

    พระดีน่าสะสมของจังหวัดสมุทรปราการ




    ที่มาhttp://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud09231049&day=2006/10/23
     

แชร์หน้านี้

Loading...