ผู้นำที่ฉลาดย่อมนำพาลูกน้องและบริวารให้พ้นภัย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิทย์, 16 พฤศจิกายน 2008.

  1. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]อปัณณกชาดก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]สถานที่ตรัสชาดก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]เชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]สาเหตุที่ตรัสชาดก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]วันหนึ่ง อนาถบิณฑิกเศรษฐีและบริวารได้นำดอกไม้ธูปเทียน และสิ่งของควรแก่สมณะบริโภค ไปกราบถวายบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ณ เชตวันมหาวิหารตามปกติ ในวันนั้นมีสหายของท่านเศรษฐีอีก ๕๐๐ คน ซึ่งเป็นสาวกของ อัญญเดียรถีย์ ตามไปด้วย[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ครั้นฟังพระธรรมเทศนาจบแล้ว สหายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ๕๐๐ คนนั้น เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเปี่ยมล้น จึงละ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เลิกนับถือลัทธิอัญญเดียรถีย์ ประกาศตนเป็น พุทธมามกะ ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งตลอดไป นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ต่างก็ตั้งใจไปวัด ให้ทาน รักษาศิล เจริญภาวนา มิได้ขาด[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ต่อมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี ไปประทับ ณ กรุงราชคฤห์ พวก อุบาสก สาวกเก่า อัญญเดียรถีย์ทั้ง ๕๐๐ คน ก็เลิกไปวัด หันกลับไปนับถืออัญญเดียรถีย์ตามเดิมอีก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ครั้นอีก ๗-๘ เดือนต่อมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังเชตวันมหาวิหารตามเดิม อัญญเดียรถีย์ทั้ง ๕๐๐ คนนั้น ก็ตามอนาถบิณฑิกเศรษฐีไปวัดอีก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนสติ ด้วยการตรัส อานิสงส์ ของการบูชา พระรัตนตรัย ว่ามีอานิสงส์มาก คือ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๑. ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่ง ย่อมไม่ไปอบาย คือ ไม่ไปเกิดในนรก เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๒. ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่ง ย่อมไปบังเกิดในเทวโลก ได้เสวยทิพยสมบัติอย่างแน่นอน [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ฉะนั้น การที่อัญญเดียรถีย์ทั้ง ๕๐๐ คนนี้เป็นคนโลเลกลับกลอก รับไตรสรณคมน์แล้วละทิ้งเสีย ย่อมเป็นความผิดมหันต์ ไม่สมควรอย่างยิ่ง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระลึกชาติหนหลังของอัญญเดียรถีย์ทั้ง ๕๐๐ คนนี้ด้วย บุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสเป็นปริศนาธรรม ว่า[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]"แม้ในกาลก่อน มนุษย์ทั้งหลาย ถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่สรณะว่าเป็นสรณะ โดยการถือเอาด้วยการคาดคะเน โดยการถือเอาผิด ๆ จึงตกเป็นภักษาหารของยักษ์ในทางกันดาร ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ถือการยึดถือชอบธรรม คือ ยึดถือเหตุผล ยึดถือไม่ผิด ได้ถึงความสวัสดีในทางกันดาร"[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ครั้นตรัสแล้วก็นิ่งเสีย[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงกราบทูลอาราธนา พระพุทธองค์ จึงตรัสเล่า อปัณณกชาดก มีความโดยย่อว่า[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]เนื้อหาชาดก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ครั้งหนึ่ง ในอดีตกาล ณ เมืองพาราณสี มีพ่อค้าใหญ่ ๒ คนเป็นเพื่อนกัน ต่างนำสินค้าบรรทุกเกวียนไปขายยังต่างถิ่นเมืองไกลเป็นประจำ แต่นิสัยใจคอของพ่อค้าทั้งสองคนนี้แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]พ่อค้าคนหนึ่งเป็นคนเจ้าอารมณ์ หูเบา เชื่อคนง่าย และขาดความสังเกต จึงมักตัดสินใจผิดพลาดเป็นประจำ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ส่วนพ่อค้าอีกคนหนึ่งเป็นคนมีสติปัญญา มีความรู้ดี และช่างสังเกต ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่หูเบา ไม่เชื่อคนง่าย[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]พ่อค้าช่างสังเกตนี้มีหลักธรรมประจำใจที่เรียกว่า อปัณณกธรรม แปลว่า ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดพลาด ๓ ประการ คือ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๑. อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สำผัส ได้นึกคิด จึงมีสติมั่นไม่ยินดี ยินร้าย ไม่ประมาทว่าสิ่งเหล่านั้นมีโทษเพียงเล็กน้อย มีความตื่นตัว รู้จักระแวงภัยจากวัตถุและอารมณ์น่าใคร่ และรู้จักระวังป้องกันภัยที่จะมาถึง เสมือนกระต่ายขุดโพรงอาศัยอยู่เพียงโพรงเดียว แต่ขุดปล่องเตรียมทางหนีไว้หลายทาง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๒. โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๓. ชาคริยานุโยค คือ การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]พ่อค้าช่างสังเกตยังอบรมบริวารทั้ง ๕๐๐ คนของตน ให้ปฏิบัติตามอีกด้วย อยู่มาคราวหนึ่ง พ่อค้าทั้งสองคนต่างคิดจะเดินทางข้ามทะเลทรายซึ่งกันดารมาก ไปค้าขายยังเมืองเดียวกัน แต่ไม่อาจไปพร้อมกันได้ เพราะอาหาร น้ำ และหญ้าระหว่างทางจะขาดแคลนไม่พอเพียงสำหรับคนและโค[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]พ่อค้าหูเบาคิดว่าตนควรจะออกเดินทางไปก่อน ด้วยเหตุผลว่า[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๑. หนทางที่ขรุขระจะราบเรียบสม่ำเสมอ เพราะคนชุดก่อนถากถางไว้แล้ว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๒. หญ้าเลี้ยงโคก็จะงอกขั้นใหม่ อ่อนกำลังดี[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๓. พืชผักซึ่งคนชุดแรกเด็ดกินไป จะแตกยอดขึ้นมาใหม่ อ่อนกำลังน่ารับประทาน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๔. ในบริเวณไม่มีน้ำ คนชุกแรกก็จะต้องขุดบ่อน้ำเอาไว้แล้ว [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๕. การตั้งราคาสินค้าเป็นการยาก ถ้าหากขายสินค้าตามที่คนชุดแรกตั้งไว้ย่อมสะดวกกว่า[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]พ่อค้าหูเบานำบริวาร ๕๐๐ คน พร้อมด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม บรรทุกสินค้าไปเต็มที่ เตรียมน้ำใส่ตุ่มใหญ่ๆ บรรทุกเกวียนไปด้วย กะให้พออาบกินตลอดระยะทางกันดาร ๖๐ โยชน์ เดินทางไปจนเข้าเขตทะเลทราย จนถึงเขตแดนยักษ์กินคน พวกยักษ์กลุ่มหนึ่งประมาณ ๒๐ ตน จำแลงกายเป็นคนนั่งรถเทียมด้วยโคขาวปลอด ประดับประดาอย่างสวยงาม สวนทางมา โคลนติดล้อหนาเตอะเหมือนเพิ่งเดินทางฝ่าสายฝนที่ตกหนังมาใหม่ๆ แต่ละคนท่าทางแข็งกระด้างกำแหงหาญ ยืนบ้าง นั่งบ้างบนรถ เคี้ยวกินเหง้าบัวอย่างเอร็ดอร่อย แสดงว่าสองข้างทางที่พวกเขาผ่านมานั้น มีห้วยหนองคลองบึงเต็มไปหมด[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier][FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ยักษ์แปลงนั้นแสร้งพูดหลอกพ่อค้าหูเบาให้ตายใจว่า หนทางที่ผ่านมานั้นฝนตกหนัก น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องขนตุ่มน้ำไปให้หนักเปล่า แล้วขับเกวียนผ่านไป พอลับตาก็กลับเป็นยักษ์กินคนย้อนติดตามหลังขบวนเกวียนของพ่อค้า[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]พ่อค้าหูเบาเห็นแก่ความสะดวกสบาย ไม่คิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ สั่งบริวารให้เทน้ำในตุ่มทิ้งเสีย หวังจะได้น้ำบ่อหน้า แต่เดินทางไปตลอดวัน จะหาน้ำสักหยดก็ไม่พบ จึงรู้ว่าถูกหลอกเสียแล้ว ครั้นตกเย็น ก็อ่อนเปลี้ยเพลียแรง หิวโหย อดทั้งข้าวและน้ำ ทั้งคนและโคก็สลบไสล กลายเป็นอาหารอันโอชะของยักษ์กินคน ในค่ำคืนนั้นเอง เหลือไว้แต่เกวียนบรรทุกสินค้า จอดอยู่กลางทะเลทรายอันเวิ้งว่างเท่านั้น[/FONT]

    ต่อมาประมาณเดือนครึ่ง พ่อค้าช่างสังเกตก็ออกเดินทางพร้อมด้วยบริวาร ๕๐๐ คน ขับเกวียน ๕๐๐ เล่ม ตามมาอย่างระมัดระวัง ค่ำที่ไหนก็พักที่นั่น ก่อนนอนก็จัดขบวนเกวียนให้เรียบร้อยและตั้งเวรยาม คอยป้องกันรักษาสินค้าอย่างรัดกุม จนกระทั้งล่วงเข้าเขตทะเลทราย พ่อค้าช่างสังเกตก็เรียกประชุมบริวารทั้งหมด ให้โอวาทแก่คนเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ย้ำให้ถือปฏิบัติ อปัณณกธรรมทั้ง ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด แล้วตั้งกฎข้อบังคับขึ้นเป็นหลักปฏิบัติชั่วคราว ๓ ข้อ คือ
    ๑. ให้ทุกคนใช้น้ำอย่างประหยัด
    ๒. ห้ามรับประทานพืชผักผลไม้ประหลาด ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน (เป็นการป้องกันไม่ให้หลงกินพันธุ์ไม้มีพิษ)
    ๓. ให้ช่วยกันสังเกตธรรมชาติ และความเคลื่อนไหวผิดปกติต่างๆ ตลอดทาง ไม่เห็นแก่พักผ่อนหลับนอน
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]เมื่อเดินทางข้ามทะเลทรายมาได้ครึ่งทาง ยักษ์กินคนก็แสดงตนเป็นคนขับเกวียนสวนทางมา และทำอุบายเช่นเดิม พ่อค้าช่างสังเกตพอเห็นก็จับพิรุธได้ทันทีว่า[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๑. บุคคลเหล่านี้มีท่าทางแข็งกร้าว ห้าวหาญ ผิดมนุษย์ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๒. บุคคลเหล่านี้มีนัยตาแดง เหมือนคนโกรธจัด ผิดมนุษย์ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๓. บุคคลเหล่านี้ แม้ยืนอยู่ท่ามกลางแสงแดด ก็ไม่มีเงาปรากฏ ผิดมนุษย์[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]พ่อค้าช่างสังเกตเชื่อว่า กลุ่มบุคคลประหลาดที่สวนทางมานี้ ต้องไม่ใช่มนุษย์แน่นอน คงจะเป็นยักษ์จำแลงมาทำอุบายหลอกลวง จึงประชุมให้โอวาทแก่บริวารทั้ง ๕๐๐ คน ชี้แจงให้ทราบถึงธรรมชาติของฝนตกว่า[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๑. เมื่อฝนตก ลมฝนอันเย็นชุ่มชื่นจะต้องพัดครอบคลุมไปเป็นระยะทาง ๓ โยชน์ แต่พวกตนมาใกล้บริเวณที่ว่าฝนตกแล้ว ก็ยังมิได้ต้องลมนั้นเลย [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๒. เมื่อฝนตก ฟ้าย่อมแลบแปลบปลาบ แลเห็นได้ในระยะทาง ๕ - ๖ โยชน์ แต่ก็ยังไม่เคยเห็นสายฟ้าแลบสักแปลบเดียว [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๓. เมื่อฝนตก เมฆฝนดำครื้มย่อมปรากฎให้เห็นได้ในระยะทาง ๓ โยชน์ แต่ก็ยังไม่เคยเห็นเมฆแม้แต่ก้อนเดียว [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]๔. เมื่อฝนตก ฟ้าย่อมร้องคลืน ๆ ไปไกลได้ยินในระยะทาง ๒ โยชน์ แต่ก็ยังไม่เคยได้ยินเสียงฟ้าร้องสักครืนเดียว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]พ่อค้าช่างสังเกตฝึกปฏิบัติอปัณณกธรรมมาเป็นปกติวิสัย จึงไม่หวาดหวั่นครันคร้าม กุมสติได้อย่างดี สั่งให้บริวารปลดเกวียนออก ตั้งกองค่ายเกวียนเป็นวงรอบทั้งคนและโค แล้วพักกินอาหารเย็น ท่ามกลางกองเกวียนนั้น ตกค่ำก็จัดคนแข็งแรง มีอาวุธครบมือผลัดกันอยู่เวรยามตลอดคืน ยักษ์จึงไม่กล้าเข้ามากล้ำกราย [/FONT]

    รุ่งเช้าก็สั่งบริวารให้รีบทำกิจส่วนตัว ให้โคกินหญ้า แล้วเลือกเอาแต่เกวียนที่แข็งแรงแน่นหนาไว้ คัดเอาสินค้ามีค่าของพ่อค้าหูเบาตามใจชอบ แล้วออกเดินทางไปยังเมืองที่ตนปรารถนาขายสินค้าเหล่านั้นทั้งหมด ได้กำไรงามกว่าที่คิดไว้ถึง ๒-๓ เท่าตัว และกลับสู่เมืองพาราณสีโดยสวัสดิภาพ
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]นับแต่ครั้นนั้นเป็นต้นมา พ่อค้าและบริวารทั้ง ๕๐๐ คน ล้วนซาบซึ้งถึงอานิสงส์อันประเสริฐของอปัณณกธรรม ว่าเป็นธรรมสำหรับคุ้มครองชีวิต และป้องกันความผิดผลาดได้ดีเลิศ ต่างคนต่างปฏิบัติอปัณณกธรรมเต็มที่ตามกำลังความสามารถของตน ทำให้เป็นผู้มีสติ มีเหตุผล รู้คุณและโทษ รู้ความเจริญและความเสื่อมรู้ประโยชน์และมิใช่ประโยขน์ รู้ฐานะและมิใช่ฐานะ แล้วถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้ ไม่ถือเอาโดยการคาดคะเน เป็นผู้มีปัญญาปฏิบัติตรงตามหนทางของบัณฑิตตลอดอายุขัย ครั้นละโลกแล้วก็ไปสู่สุคติ โลกสวรรค์ สมแก่กรรมดีที่ตนทำไว้โดยทั่วหน้า[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]ท้ายที่สุดแห่งชาดก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสุภาษิตว่า[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Arial, Courier]"การถือเอาโดยการคาดคะเนเป็นประมาณ จัดเป็นการถือที่ผิด การถือตามเหตุผลซึ่งเป็นจริง จัดเป็นการถือที่ถูก สิ่งใดที่ไม่ผิด ผู้เป็นบัณฑิตย่อมถือสิ่งนั้น"[/FONT]

    ที่มา:
    http://www.geocities.com/Heartland/Fields/9416/article/jataka0201.html
    [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...