เรื่องเด่น ผลบุญ และ อานิสงส์กฐินทาน ( มหาสังฆทานในกาลจำกัดเฉพาะ)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 2 ตุลาคม 2020.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    ?temp_hash=ac34d94c1a8d7a76f11dc934c24668b3.jpg

    ผลบุญ และ อานิสงส์กฐินทาน ( มหาสังฆทานในกาลจำกัดเฉพาะ)


    ......ในครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอุบัติในโลก มีบุรุษเข็ญใจไร้ญาติพี่น้องทั้งทรัพย์สินเงินทองก็ขาดแคลนอาศัยเลี้ยงชีพอยู่ในเมืองพาราณสี ไปหาสิริธรรมมหาเศรษฐีมีทรัพย์๘๐ โกฏิ แล้ววิงวอนขออยู่เป็นลูกจ้าง ท่านเศรษฐีมีความสงสารจึงถามว่ามีความรู้อะไรบ้าง บุรุษเข็ญใจบอกว่า ข้าพเจ้าไม่มีความรู้อะไรเลย มีแต่กำลังกายเท่านั้นท่านเศรษฐีกล่าวว่าถ้าเช่นนั้นเจ้าจงไปรักษาหญ้าเราจะให้ข้าววันละหม้อ

    ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บุรุษก็รักษาหญ้าจนมีชื่อว่า ติณณปาละ อยู่มาวันหนึ่ง ติณณปาละมาคิดว่าตัวเรานี้ ในชาติปางก่อนคงจะไม่ได้ทำบุญกุศลอันใดไว้เลย มาถึงชาติ นี้เราจึงได้ลำบากยากแค้น แม้แต่อาหารจะรับประทานไปวันหนึ่งๆ ก็ทั้งยาก แต่นี้ต่อไปเราจะต้องขวนขวายให้ทานทุก ๆ วัน เมื่อมีความตั้งใจอย่างนี้แล้ว ก็แบ่งอาหารออกเป็น ๒ ส่วน ๆ หนึ่ง ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อีกส่วนหนึ่งไว้บริโภคเองทำอย่างนี้มาตลอดทุก ๆ วันมิได้ขาดด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ติณณปาละทำนั้น ก็ทราบไปถึงสิริธรรมเศรษฐีผู้เป็นนายจ้างจึงสั่งให้เพิ่มอาหารขึ้นอีกเป็น ๓ ส่วน
    ติณณปาละก็แบ่งออกไปอีกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งถวายภิกษุสามเณรอีกส่วนหนึ่งให้แก่ยาจก อีกส่วนตนเก็บไว้บริโภค ทำอยู่อย่างนี้เป็นลำดับมา

    จนถึงฤดูออกพรรษาประชาชนและท่านสิริธรรมเศรษฐีได้พากันทำกฐินทานเพื่อจะถวายแก่ภิกษุสงส์ ผู้อยู่จำพรรษาด้านไตรมาส สามเดือน ติณณปาละได้ทราบ ข่าวดังนี้แล้วก็เข้าไปหาสิริธรรมเศรษฐีถามถึง
    อานิสงส์ผลของกฐินทานว่าการถวายทานอย่างนี้ คงจะมี ผลเป็นอันมาก เพราะประชาชนไม่นิ่งนอนใจ ช่วยกันหลายคนเศรษฐีบอกถึงคุณานุภาพ ของกฐินทานโดยละเอียดจนติณณปาละเกิดศรัทธาแก่กล้า ก็ถามว่าอีกเมื่อไรจะถึงกำหนดถวาย เศรษฐีบอกว่าอีก ๗ วัน

    ติณณปาละก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตนก็คิดว่าจะนำของไปเห็นวัตถุทานก็ไม่มี เห็นอยู่แต่ผ้านุ่งผืน
    เดียวเท่านั้นที่จะนำเข้าเป็นส่วนกฐินทานได้ เมื่อจะเปลื้องผ้าออกทาน ตัวกิเลสคือความตระหนี่เหนียว
    แน่นก็มากั้นไว้ถ้าสละผ้าผืนนั้นแล้วเราจะไหนนุ่ง มีอยู่ผืนเดียวเท่านี้ ผลที่สุดก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่าเรา
    จะต้องถวายแน่ ก็เปลื้องผ้ามาทำการซักฟอกและย้อมด้วยน้ำฝาดตนเองก็เอาใบไม้มานุ่ง ป้องกันความ
    อายเท่านั้น แล้วรีบนำผ้าไปหาเศรษฐี มอบอนุโมทนาผ้านั้นเข้าเป็นส่วนบริวารของกฐินนั้น เศรษฐีก็รับ
    อนุโมทนานำผืนของติณณปาละเข้าเป็นส่วนผ้าบริวาร ซึ่งยังขาดอยู่ผืนหนึ่งแล้วนำไปถวายแก่พระภิกษุ
    สงฆ์

    เสียงโกลาหลก็บังเกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยเสียงสาธุการของเทวดาทั่วทั้งอากาศและปฐพี พระมหากษัตริย์ได้ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ก็ตกพระทัยกลัวว่าจะมีมรณภัยมาถึงพระองค์รับสั่งให้หาปุโรหิต
    แล้วตรัสถามถึงเหตุโกลาหลอื้ออึงนั้น ในครั้งนั้นมีเทวดาองค์หนึ่งที่รักษาอยู่เศวตฉัตรจึงกล่าวว่า ดูกร
    มหาบพิตรเสียงโกลาหลอื้ออึ้งนั้น มิใช่ว่าจะมีภัยมาถึงพระองค์นั้นเป็นเสียงของเทวดาทั้งหลายในหมื่น
    โลกธาตุได้สาธุการส่วนบุญของติณณปาละเป็นคนเข็ญใจ รักษาไร่หญ้าของเศรษฐี ได้เปลื้องผ้านุ่งของ
    ตนออกมาเข้าส่วนกฐินทาน พระองค์อย่าตกพระทัยไปเลย พระราชาทรงทราบเช่นนั้นก็ทรงปีติยินดี รับ
    สั่งให้หาติณณปาละพร้อมทั้งส่งผ้าสาฏกคูหนึ่ง ราคาผืนละหนึ่งแสนกหาปณะไปพระราชทาน นาย
    ติณณปาละก็นุ่งสาฎกเข้าเฝ้าพระราชา ครั้นพระราชาทรงขอซื้อส่วนกุศลด้วยทรัพย์มีประมาณพันหนึ่ง
    จนทวีขึ้นเป็นลำดับจนถึงแสนกหาปณะ ติณณปาละ ก็ไม่ขายให้ตามพระประสงค์ได้จึงกราบทูล จะ
    ทรงซื้อด้วยทรัพย์นั้นไม่ได้ พระเจ้าข้าถ้าหากพระองค์จะอนุโมทนาส่วนบุญนี้ได้อยู่
    พระเจ้าข้า พระราชามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งให้คนดีฆ้องร้องประกาศตลอดทั้งพระนครแล้วพระราช
    ทาน ช้าง ม้า โค กระบือ ข้าทาส ชายหญิงอย่างละหนึ่งร้อย บูชาแก่ติณณปาละเป็นอันมาก แล้วตั้งไว้
    ในตำแหน่งเศรษฐีส่วนพ่อค้าคฤหบดีเศรษฐี ก็พากันสละทรัพย์เป็นจำนวนมากออกบูชาคุณติณณปาละ
    เป็นสมบัติมากมาย ที่ติณณปาละได้แล้วก็ด้วยบุญกุศลเจตนาอันแรงกล้า จึงเป็นผลสำเร็จให้ผลทันตา
    เห็นในปัจจุบันชาติ ครั้นติณณปาละทำกิริยาตายแล้ว ก็ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์

    ครั้นถึงพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัส ติณณปาละเทวบุตร ก็จะจุติลงมาอุบัติเป็นราชโอรส แห่งนครมัณฑาลวดี ครั้นต่อมาเสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดา อยู่ ๔ หมื่นปีแล้วออกบวชเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา สำเร็จพระอรหันต์องค์หนึ่งของพระศรีอริยเมตไตรย์ มีนามว่าติณณปาละเถระ ดังนี้เป็นต้น ตสฺมา สาธโว เมื่อสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายที่ทราบรู้เหตุรู้
    ผลของการถวายผ้ากฐินทานว่ามีอานิสงส์อย่างไรแล้วก็ขออย่าให้ท่านทั้งหลายจงอย่าเป็นผู้ประมาท ใน
    เมื่อถึงคราวกาลสมัยที่จะถวายก็ควรจะถวายก็ควรทำจะเป็น ของมากน้อยอย่างไรไม่สำคัญ สำคัญอยู่
    ว่าให้ทำและทำด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง แล้วตั้งความปรารถนาของตนไว้ด้วยดี มิใช่ว่าทำเห็นแต่หน้าหา
    ความศรัทธามิได้ ทรัพย์ที่เราสละไปก็จะไม่ได้ผลเต็มที่ ถ้าเราทำด้วยความเต็มใจแล้วถึงแม้จะน้อยก็
    ย่อมมีอานิสงส์มากดังเรื่องติณณปาละ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    08arnisong.jpg

    อานิสงส์ผู้ถวายกฐิน

    กฐินเป็นกาลทานที่มีระยะเวลาเพียงเดือนเดียว และวัดหนึ่งๆ จะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นพระบรมพุทธานุญาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระองค์เอง กฐินจึงมีอานิสงส์มาก ต้องมีการ เตรียมแจ้งข่าว แก่หมู่ญาติหรือสหสามัคคีร่วมกัน ผู้ถวายกฐินต้องรู้พระวินัย ต้องกระทำพิธีถวายผ้ากฐินในพระอุโบสถ โดยสงฆ์ทุกรูปต้องญัตติ ต้องตั้งเจตนาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปในวัดนั้น จึงจะได้อานิสงส์แก่ผู้ถวายโดยแท้จริง ดังเช่น
    ในสมัย พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้า ความว่า : มีเศรษฐี ๔ คน ที่เคยเกิดเป็นเทวดาและมนุษย์ เวียนเกิดสับเปลี่ยนกันไป มีรูปงาม ปัญญาดี มียศ มีบริวาร มีวิมานสีทองดั่งสีของจีวร ที่อาศัยสุขสบายเป็นสัปปายะ เศรษฐีทั้ง ๔ ได้แก่ ชฏิละเศรษฐี เมณฑกะเศรษฐี โชติกะเศรษฐี และปุณณะเศรษฐี ได้ทอดกฐินสม่ำเสมอ และหมั่นทำบุญกุศลไม่ขาดสาย พร้อมทั้งเจริญศีล ภาวนา เมื่อมาเกิดในสมัยของสมเด็จพระสมณโคดมพุทธเจ้า ท่านเศรษฐีได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    บุญกุศลอื่นๆ นอกจากการทอดกฐินแล้ว ท่านเศรษฐีได้เคยปฏิบัติ ดังนี้อย่างสม่ำเสมอ
    ชฏิละเศรษฐี ชอบทำบุญด้วยการสละทรัพย์มากมาย
    เมณฑกะเศรษฐี ทำถนนถวายวัด ให้ความสะดวกแก่สงฆ์
    โชติกะเศรษฐี ชอบสร้างวัด
    ปุณณะเศรษฐี ปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาในบริเวณอาราม

    นิทานกฐินครั้งโบราณกาล

    กฐินตามเรื่องของ โบราณจารย์ท่านกล่าวไว้ มีกฐินบูด กฐินเน่า กฐินเศร้าหมอง กฐินบริสุทธิ์ เป็นคำพูดของผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวมาปรัมปรา ท่านยกนิทานมาเล่าว่า มีมหาเศรษฐีคนหนึ่ง มีสมบัติมากมาย มีเงิน ๘๐ โกฏิ จะทอดกฐิน ขณะถวายกฐินได้ประกาศเชิญเทวดา ไม่ว่าจะเป็นอากาศเทวา หรือภุมเทวา ให้มาอนุโมทนากฐินของเขา วันนั้นมีเทวดาองค์หนึ่งมาอนุโมทนากฐิน พอมาจวนจะถึงวัด (วัตร) มีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง บังเอิญมีบุรุษผู้หนึ่งอยู่ใต้ต้นไทรนั้น ได้ยินเสียงเทวดาจรกล่าวชวนรุกขเทวดาที่ต้นไทรให้ไปอนุโมทนากฐินของมหาเศรษฐี แต่รุกขเทวดาที่ต้นไทรบอกให้เทวดานั้นไปก่อนเถิด เมื่อนุโมทนาแล้ว เป็นอย่างไรให้กลับมาเล่าให้ฟังด้วย ปรากฏว่า
    กฐินกองที่ ๑ เมื่อเทวดาไปอนุโมทนา ปรากฎว่า เจ้าของกฐินและคณะศรัทธา แจกสุรายาเมา ผู้มาร่วมงานเมามายส่งเสียงอึกทึกครึกโครมไม่เกิดความสงบสงัด ไม่ปฏิบัติตามธรรม พอถวายกฐินและอนุโมทนาแล้ว เทวดาจรกลับมา บุรุษผู้นั้นยองอยู่คอยฟังข่าวจากเทวดาจร รุกขเทวดาถามว่า กฐินของมหาเศรษฐี เป็นอย่างไรบ้าง เทวดาจรกล่าวว่าเป็น “ กฐินบูด ” ทำไมจึงบูด เพราะมีการดื่มเหล้าเมายาเอิกเกริก เฮฮา โกลาหล ไม่มีความสงบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม แล้วเทวดาก็จากไปบุรุษผู้นี้นำเรื่องนี้มาเล่าให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีเสียใจ ตั้งใจจะทำกฐินใหม่อีกครั้ง
    กฐินกองที่ ๒ คราวนี้ในงานกฐินไม่มีเหล้ายาเมามาเกี่ยวข้อง แต่มีการฆ่าวัว ฆ่าควาย ฆ่าหมู ฆ่าไก่ กันอย่างใหญ่โต เพื่อเลี้ยงดูผู้มาร่วมงานให้อิ่มหนำสำราญ โดยไม่คิดว่าการกระทำเช่นนั้น เป็นบาป เป็นกรรม เมื่อถึงคราวทอดกฐิน เศรษฐีให้รางวัลบุรุษคนนั้นให้ไปคอยดักฟังว่าเทวดาท่านจะกล่าวถึงงานกฐินครั้งนี้ว่าอย่างไร บุรุษผู้นั้นไปคอยดักฟังที่ต้นไทรต้นเก่า เมื่อถึงเวลาประกาศให้เทวดาไปอนุโมทนา รุกขเทวดาก็ไม่ไป แต่ขอให้เทวดาจรไปแล้วให้กลับมาเล่าให้ฟัง เทวดาจรกลับมาบอกว่า เป็น “ กฐินเน่า ” เพราะมีการฆ่าสัตว์ นำมาเลี้ยงกันมากมาย บุรุษผู้ดักฟังกลับไปเล่าให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีเสียใจอีก ก็จะทำกฐินอีกเพื่อแก้ไข เนื่องจากยังไม่พ้นเขตกฐินกาล
    กฐินกองที่ ๓ เศรษฐีรีบทำกฐินอย่างรีบด่วนเนื่องจากกลัวจะไม่ทันกับกาลสมัย คราวนี้เกิดอารมณ์โทสะ ดุด่าว่ากล่าวทาสกรรมกรต่างๆ นานา เนื่องจากไม่ทันใจ มีโทสะ ความโกรธอยู่ในจิต ใครทำอะไรให้ก็ไม่ถูกใจ เมื่อถึงเวลาทอดกฐิน แม้ไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่มีสุรายาเมา แต่มีเสียงดุด่าว่ากล่าวผู้อื่น เศรษฐีให้รางวัลบุรุษผู้นั้นให้ไปคอยดักฟังข่าวจากเทวดาว่าจะพูดเกี่ยวกับตนอย่างไรบ้าง เทวดาจรมาชวนรุกขเทวดาที่ต้นไทรอีก แต่รุกขเทวดาไม่ไป ขอให้เทวดาจรกลับมาเล่าข่าวให้ฟัง เมื่ออนุโมทนาแล้ว เทวดาจรกลับมาบอกว่า กฐินคราวนี้สมบูรณ์ทุกอย่าง แต่เสียอย่างเดียว เป็น “ กฐินเศร้าหมอง ” เพราะจิตใจของเศรษฐี เจ้าภาพกฐินไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมองด้วยความโกรธ บุรุษผู้นั้นไปบอกเศรษฐีตามที่ได้ยินมา เศรษฐีเสียใจยิ่ง เพราะทำกฐินมา ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่กฐินครั้งใดบริสุทธิ์เลย จึงกระทำกฐินอีกเป็นครั้งที่ ๔
    กฐินกองที่ ๔ เศรษฐีกระทำความดี มีอารมณ์สดชื่น แจ่มใส ไม่โกรธใคร ไม่นำสุรายาเมามาเกี่ยวข้อง ไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เมื่อถึงเวลาทอดกฐิน ก็ประกาศ เชิญเทวดามาอนุโมทนาอีก คราวนี้เทวดาจรกลับไปเล่าให้รุกขเทวดาฟังว่า คราวนี้ “ กฐินบริสุทธิ์ ” บุรุษผู้นั้นกลับมาเล่าให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีดีใจ มีความสุข ได้อานิสงส์ของการทำกฐินคราวนี้ สมบูรณ์เต็มที่ สมความปรารถนา ทุกประการ

    อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับอานิสงส์กฐิน คือ ในสมัยครั้งศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีบุรุษยาจกเข็ญใจไร้ที่พึ่งชาวเมืองพาราณสี ชื่อ “ ติณบาล ” อาศัยอยู่กับเศรษฐีผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์นับได้ ๘๐ โกฏิ โดยยอมตนเป็นคนรับใช้รักษาไร่หญ้าให้เศรษฐี เพื่อแลกกับอาหารที่หลับนอน เขามีความคิดว่า “ ตัวเราเป็นคนยากจนเช่นนี้ เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติปางก่อน มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่น ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย ” เมื่อคิดได้ดังนี้ เขาจึงแบ่งอาหารที่เศรษฐีให้ออกเป็นวันละ ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งถวายแก่พระภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับตนเอง ไว้บริโภค ด้วยเดชกุศลผลบุญนั้น ท่านเศรษฐีเกิดสงสาร จึงเพิ่มอาหารให้อีก ๒ ส่วน เขาได้แบ่งอาหารนั้นออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ส่วนที่สอง แจกทานแก่คนยากจน ส่วนที่ ๓ เอาไว้บริโภคเอง เขาทำอยู่เช่นนั้นเป็นเวลาช้านาน
    ต่อมาเป็นวันออกพรรษา เหล่าชนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต่างพากันทำบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีก็เตรียมการจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกันว่า สิริธรรมเศรษฐี จะได้ทำบุญกฐิน ติณบาลได้ยินเกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันทีว่า “ กฐินทานนี้แหละจะเป็นทานอันประเสริฐ ” เข้าไปถามเศรษฐีว่า กฐินทานมีอานิสงส์อย่างไร เศรษฐีตอบว่า “ กฐินทานมีอานิสงส์มากมายนัก สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสสรรเสริญว่าเป็นทานอันประเสริฐ ” ติณบาลได้ยินดังนั้นเกิดความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก จึงพูดกับเศรษฐีว่า “กระผมมีความประสงค์จะร่วมอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานครั้งนี้ด้วยท่านจะเริ่มงานเมื่อใด” เศรษฐีตอบว่า ” เราจะเริ่มงานเมื่อครบ ๗ วัน นับจากวันนี้ไป ”
    ติณบาลได้ฟังก็ดีใจยิ่งนัก เขามีความศรัทธายินดีเต็มใจที่จะร่วมทำบุญกฐินนี้ด้วย แต่ตนเองเป็นคนยากจน ไม่มีเงินทองข้าวของเครื่องใช้จะอนุโมทนากับเศรษฐี จะมีแต่ก็ผ้าผืนเดียวที่นุ่งอยู่ ในที่สุดก็ตัดสินใจ เปลื้องผ้าที่นุ่งอยู่ไปซักฟอกให้สะอาด เอาใบไม้มาเย็บนุ่งแทนผ้า แล้วเอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด ชาวตลาดพากันหัวเราะลั่น เมื่อเห็นอาการนั้น ติณบาลประกาศว่า “ ท่านทั้งหลายหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ายากจน ไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าจะนุ่งผ้าทิพย์ ” ในที่สุด เขาขายผ้านั้นได้ในราคา ๕ มาสก (๑ บาท) แล้วนำไปอนุโมทนากับเศรษฐี ก็พอดีกับบริวารกฐินทุกอย่างบริบูรณ์ เว้นแต่ขาดด้ายเย็บผ้าอย่างเดียวสำหรับเย็บไตรจีวร เศรษฐี ได้นำเงินนั้นซื้อด้ายเย็บไตรจีวร
    ในกาลครั้งนั้นเกิดโกลาหลไปทั่วในหมู่ชนตลอดจนเทพเทวาในสรวงสวรรค์ ต่างพากันแซ่ซ้องสรรเสริญ ทานของติณบาล เสียงสาธุการ ความเสียสละในทานของติณบาล ดังลั่นเข้าไปถึงพระราชวัง พระเจ้าพาราณสี ทรงทราบเหตุผล รับสั่งให้นำติณบาล ให้เข้าเฝ้า แต่ติณบาลไม่กล้าเข้ามาเพราะไม่มีผ้านุ่ง พระองค์ทรงตรัสถามความเป็นมาของเขาโดยตลอด ให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่ติณบาล นอกจากนั้นได้พระราชทานบ้านเมือง ทรัพย์สมบัติ ช้าง ม้า วัว ควาย ทาสี ทาสา เป็นอันมาก และโปรดให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐี ในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า “ ติณบาลเศรษฐี ” จำเดิมแต่นั้นเป็นต้นไป
    กาลต่อมา ติณบาลเศรษฐี เมื่อดำรงชีวิตอยู่พอสมควร แก่ อายุขัยแล้ว ก็จุติไปจากโลกมนุษย์ ไปปฏิสนธิเป็นเทพบุตรในดาวดึงส์สวรรค์เสวยทิพยสมบัติอยู่ในวิมานแก้ว สูง ๕ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร) มีนางเทพอัปสร หนึ่งหมื่นเป็นบริวาร ส่วนสิริธรรมเศรษฐี ครั้นจุติจากโลกมนุษย์แล้ว ไปปฏิสนธิในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร เช่นเดียวกับ ติณบาลเศรษฐี ดังนี้
    นี่คือ อานิสงส์ของกฐินทานที่ติณบาลได้ตั้งใจกระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ในทานมัยในเขตบุญของพระพุทธศาสนา
    กฐิน เป็นเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ โดยเฉพาะในเรื่องของทานมัยที่เป็นไปถูกต้องตามพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นการสร้างมหากุศลของจิตที่เป็น “ญาณ” รู้ถูกต้องตามพระพุทธธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า คำว่า “บุญ” หมายถึง มหากุศลตั้งแต่กามาวจรมหากุศล รูปาวจรมหากุศล อรูปาวจรมหากุศล โลกุตตรมหากุศล คำว่า “กิริยา” หมายถึง มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ คำว่า “วัตถุ” หมายถึง วัตถุธรรม ๗๒ ได้แก่ : จิต ๑ เจตสิก ๕๒ นิปผันนรูป ๑๘ นิพพาน ๑ วัตถุในภาษาโลก แปลว่า ที่ตั้ง หรือวัตถุสิ่งของ แต่ในภาษาธรรม หมายถึง บุคคลผู้มีจิต เจตสิก รูป (มนุษย์ เทวดา พรหม) ผู้สามารถสร้างบุญมหากุศลนี้ได้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลไปตามลำดับจนถึงพระอรหันต์ แม้สัตว์เดรัจฉานก็สามารถสร้างบุญมหากุศลได้ สร้างมหากุศลเก็บเป็นมหาวิบาก ส่งผลให้ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา การจะถึงกระแสโลกุตตระ ต้องเปลี่ยนภพภูมิเป็นมนุษย์หรือเทวดาเสียก่อน การจะพัฒนาไปสู่กระแสโลกุตตระได้นั้น จะต้องน้อมนำกระแสธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าสู่จิต แล้วจิตจะพัฒนาไปสู่กระแสโลกุตตระ โดยมีพระผู้มีพระภาคเจ้า (พระพุทธพจน์) เป็นผู้นำไป มิใช่เราจะปฏิบัติได้เอง หรือเราจะมีตัวรู้ผุดขึ้นมาเอง หรือปฏิบัติไปตามคำสอนของอาจารย์ที่มิได้นำพุทธธรรมมาสอน แล้วเราจะเข้าถึงธรรมได้อย่างไร การปฏิบัติโดยปราศจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ล้วนนำไปสู่อบายภูมิ ทั้งสิ้น
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
    มหาวรรค ภาค ๒
    [​IMG]
    กฐินขันธกะ
    ภิกษุปาไฐยรัฐเดินทางเข้าเฝ้า
    [๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณ-
    *ฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์
    บิณฑปาติกธุดงค์ และเตจีวริกธุดงค์เดินทางไปพระนครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อจวน
    ถึงวันเข้าพรรษา ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณ
    เมืองสาเกต ในระหว่างทาง ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
    ใกล้ๆ เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้าพระองค์ ครั้นล่วงไตรมาส ภิกษุ
    เหล่านั้นออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน
    มีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ ลำบากกาย เดินทางไปถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวัน อารามของอนาถบิณ-
    *ฑิกคหบดี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนั่นเป็น
    พุทธประเพณี.
    พุทธประเพณี
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังพอ
    ทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
    จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?
    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้
    พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน จำ
    พรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าในชุมนุมนี้
    เป็นภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อจวน
    ถึงวันเข้าพรรษา ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณ เมือง
    สาเกต ในระหว่างทาง พวกข้าพระพุทธเจ้านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มีพระภาคประทับ
    อยู่ใกล้ๆ เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นล่วง
    ไตรมาส พวกข้าพระพุทธเจ้าออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็ม
    ไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน มีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ ลำบากกาย เดินทางมา พระพุทธเจ้าข้า.
    พระพุทธานุญาตให้กรานกฐิน
    [๙๖] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
    เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย
    ผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ
    ๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
    ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
    ๓. ฉันคณะโภชน์ได้
    ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
    ๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว.
    วิธีกรานกฐิน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ
    ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
    กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง
    ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐิน
    ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบ
    แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
    ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
    ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็นอันกราน.
    กฐินไม่เป็นอันกราน
    [๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินไม่เป็นอันกราน คือ:-
    ๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย
    ๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า
    ๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า
    ๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า
    ๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า
    ๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บด้น
    ๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม
    ๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังดุม
    ๙. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต
    ๑๐. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า
    ๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า
    ๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่นเท่านั้น
    ๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำนิมิตได้มา
    ๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา
    ๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา
    ๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน
    ๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์
    ๑๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ
    ๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าสังฆาฏิเสีย
    ๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอุตราสงค์เสีย
    ๒๑. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอันตรวาสกเสีย
    ๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑล
    เสร็จในวันนั้น
    ๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากการกรานแห่งบุคคล
    ๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น แม้อย่างนี้
    กฐินก็ชื่อว่าไม่เป็นอันกราน.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินไม่เป็นอันกราน.
    กฐินเป็นอันกราน
    [๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันกราน คือ:-
    ๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่
    ๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่
    ๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า
    ๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล
    ๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ตกตามร้าน
    ๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา
    ๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา
    ๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา
    ๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน
    ๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เป็นนิสสัคคีย์
    ๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว
    ๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ
    ๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์
    ๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก
    ๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑลเสร็จ
    ในวันนั้น
    ๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะการแห่งบุคคล
    ๑๗. กฐินเป็นอันกราน ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น แม้อย่างนี้ กฐินก็ชื่อว่า
    เป็นอันกราน.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน.
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    อานิสงส์ของการทอดกฐิน


    อานิสงส์ ของการถวายกฐินแท้จริงแล้ว ก็เหมือนกับการถวายสังฆทานนั่นแล เพียงแต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น จำกัดกาล (ปีหนึ่งถวายได้หนเดียว) จำกัดเวลา (ต้องถวายภายใน ๑ เดือนหลังออกพรรษา) เป็นต้น เรียกว่า ใช้กำลังใจสูงกว่าการถวายผ้าป่าที่ถวายได้ตลอดปี หรือสังฆทานธรรมดานั่นเอง เลยมีอานิสงส์พิเศษ

    คำว่า “อานิสงส์กฐิน” ที่อยู่ตอนต้น ก็ควรเขียนว่า “อานิสงส์การถวายกฐิน” ครับ เพราะอานิสงส์กฐินแท้จริงนั้น เกิดแก่พระภิกษุ ดังนี้
    ๑. เที่ยวไปโดยไม่บอกลา (ออกพรรษา อนุโมทนากฐินแล้ว เที่ยวไม่ยั้งครับ)
    ๒. จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบชุด (ปกติพระไปไหนต้องพกสังฆาฏิใส่ย่ามไปด้วยครับ)
    ๓. ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ (อันนี้แปลคร่าว ๆ ว่า ฉันเป็นหมู่คณะได้)
    ๔. เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา
    ๕. จีวรอันเกิดในที่นั้น (ที่ที่จำพรรษา) เธอมีสิทธิที่จะกรานกฐินและได้รับอานิสงส์ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ และจะได้รับสิทธิพิเศษนี้ไปอีก ๔ เดือน
    การทอดกฐินเป็นการถวายผ้าจีวรแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน งานบุญนี้มีระยะเวลาทำตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 มูลเหตุที่มีการทำบุญกฐินนั้น มีเรื่องเล่าว่า มีพระภิกษุจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ระหว่างการเดินทางนั้นยังเป็นช่วงหน้าฝนและระยะทางไกลจึงทำให้ผ้าจีวรของพระภิกษุเหล่านั้นเปียกน้ำเปรอะเปื้อนโคลนไม่สามารถหาผ้าผลัดเปลี่ยนได้ พระพุทธเจ้าได้เห็นถึงความยากลำบากนั้น จึงมีพุทธบัญญัติให้ภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้เป็นเวลาหนึ่งเดือนหลังออกพรรษา ชาวบ้านจึงได้จัดผ้าจีวรนำมาถวายพระภิกษุในช่วงเวลาดังกล่าว จนกลายเป็นประเพณีทำบุญกฐินมาจวบจนปัจจุบัน


    ต่อไปนี้ จะพูดถึงอานิสงส์กฐิน เอาย่อๆนะ อานิสงส์ในการถวายกฐิน หรือว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายถวายสังฆทาน สังฆทานวันนี้เป็นสังฆทานของกฐิน การถวายสังฆทานทุกอย่างมีผลควบกับกฐิน เพราะเป็นวันของกฐิน ความจริงการทอดกฐิน ไม่ใช่ประเพณีนิยม เป็นพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ผ้ากฐินทาน จะรับได้ก็ต่อเมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 หลังจากนั้น จะทอดขนาดไหนก็ตาม จะไม่เป็นกฐิน ฉะนั้น กฐินมีเวลากาลจำกัดตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ในสมัยพระองค์เกิดเป็น”มหาทุคคตะ” ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “พระปทุมมุตระ” เวลานั้น พระพุทธเจ้าของเรา เกิดเป็นคนจนอย่างยิ่ง เป็นทาสของคหบดี เวลานั้น ถอยหลังจากนี้ไป 92 กัป
    ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า”พระปทุมมุตระ” วันหนึ่ง มหาทุคคตะ ไปดูงานทอดกฐิน เมื่อเขาทอดกฐินเสร็จ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า บุคคลใด เคยทอดกฐินแล้วในชีวิตหนึ่ง ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพกฐินก็ดี และเป็นบริวารกฐินก็ดี (แต่ว่ากฐินนี้ไม่มีบริวาร มีแต่เจ้าภาพ เพราะเป็นกฐินสามัคคี) จะทำบุญน้อย จะทำบุญมาก มีอานิสงส์เสมอกัน แต่ทว่าปริมาณอาจจะแตกต่างกัน
    และอานิสงส์กฐินนี่ เวลานั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “โภ ปุริสะ ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลใดเคยทอดกฐินไว้ในพระพุทธศาสนา แม้ครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าตายจากความเป็นคน ยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ท่านผู้นั้น จะไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้า 500 ชาติ”
    นั่นหมายความว่า ถ้าหมดอายุเทวดา หรือ นางฟ้า จุติแล้วก็เกิดทันที 500 ครั้ง เมื่อบุญหย่อนลงมานิดหน่อย เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นนางฟ้าไม่ได้ ลงมาเป็นมนุษย์ จะเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลก 500 ชาติ แล้วบุญก็หย่อนลงมา ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 500 ชาติ แล้วบุญก็หย่อนลงมา ก็จะเป็นพระมหากษัตริย์ 500 ชาติ หลังจากนั้น จะเป็นมหาเศรษฐี 500 ชาติ คำว่า”มหาเศรษฐี”นี่ มีเงินตั้งแต่ 80 โกฏิขึ้นไป เขาเรียกว่า “มหาเศรษฐี” ถ้ามีเงินต่ำกว่า 80 โกฏิ แต่ว่าตั้งแต่ 40 โกฏิขึ้นไป เขาเรียกว่า “อนุเศรษฐี” เมื่อเป็นมหาเศรษฐี 500 ชาติแล้ว ก็เป็นอนุเศรษฐี 500 ชาติ หลังจากเป็นอนุเศรษฐี 500 ชาติแล้ว ก็เป็นคหบดี 500 ชาติ
    ก็รวมความว่า การทอดกฐินครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า นอกจากจะเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีแล้ว บุคคลที่ทอดกฐินครั้งหนึ่งในชีวิต จะปรารถนาพระโพธิญาณก็ย่อมได้ นั่นก็หมายความว่า จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นมหาสาวกก็ได้ จะปรารถนานิพพานเป็นพระอรหันต์ปกติก็ได้
    ฉะนั้น การทอดกฐินแต่ละคราว ขอบรรดาท่านพุทธบริษัท โปรดทราบถึงอานิสงส์ คนที่เคยทอดกฐินแล้วแต่ละครั้ง รวมความว่า ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด คำว่ายากจนเข็ญใจ จะไม่มีแก่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกชาติสำหรับวันนี้ การทอดกฐินมันมี 3 อย่าง ความจริงอานิสงส์กฐินก็ย่อมเป็นอานิสงส์กฐิน แต่ในปัจจุบัน จัดกฐินเป็น 3 อย่าง คือ
    (1) จุลกฐิน
    (2) ปกติกฐิน
    (3) มหากฐิน
    กฐิน 3 อย่าง ย่อมเป็นเทวดานางฟ้าเหมือนกัน แต่ทว่าจะมีทรัพย์สมบัติมากกว่ากัน
    คำว่า”จุลกฐิน” เวลานี้แปลงไป คงจำของพระพุทธเจ้าไม่ได้ คำว่า”จุลกฐิน” ก็หมายความว่า ที่เขาถวายผ้าโดยเฉพาะชิ้นเดียว คือ ผ้ากฐิน จะเป็นผ้าสังฆาฏิตัวหนึ่งก็ได้ จะเป็นผ้าจีวรตัวหนึ่งก็ได้ สบงตัวหนึ่งก็ได้ ถ้าเราไม่มีทั้งไตร ถวายผ้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งก็เป็นกฐิน
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    H6uOk39SdeZNoqG7-nw8NnvV0eTUWgTKzw8cp4M4f_iq&_nc_ohc=EYI9U0POCxwAX_oowUr&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    อานิสงส์พิเศษของบุญกฐิน
    ถาม :
    ..................
    ตอบ : ช่วงนี้เป็นช่วงของกาลกฐิน คำว่ากาลนั้น กาละ แปลว่า เวลา เวลาของกฐิน กฐินจริง ๆ ความหมายก็คือ ผ้าสะดึง ผ้าที่ขึง เครื่องขึงที่ยึดผ้าให้ตึง จะได้ประกอบให้เป็นสิ่งโน้นสิ่งนี้ได้ ไม่ว่าจะเย็บปักถักร้อยอะไรก็ทำได้ง่าย

    กาลกฐินเป็นเรื่องกำหนดตามระเบียบพิธีของสงฆ์ โดยเฉพาะพระภิกษุที่จำพรรษาแล้วเป็นเวลาครบถ้วน ๓ เดือน สมัยก่อนนั้นพระพุทธเจ้าท่านอนุญาตให้เปลี่ยนจีวรได้ คราวนี้ว่าการเปลี่ยนจีวรนี้ต้องสมเหตุสมผล คือว่าเป็นผู้ที่จีวรเก่าจริง ๆ ชนิดที่เรียกว่าหมดสภาพแล้ว ก็อนุญาตให้เปลี่ยนได้ ท่านให้เสาะหาผ้าที่จะมาทำจีวร

    ภายหลังการเสาะหาผ้าเต็มไปด้วยความยากลำบาก นางวิสาขาก็ดี อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ดี จึงทูลขอให้รับคหปติจีวร คือจีวรที่มีผู้น้อมมาถวายได้ คราวนี้พอจำพรรษาแล้วครบสามเดือนแล้วมีสิทธิรับกฐินได้ กาลกฐิน คือ เวลาของการรับกฐิน เริ่มตั้งแต่แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปสิ้นสุดเอากลางเดือนสิบสอง เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม

    ช่วงระยะนี้วัดไหนก็ตามที่มีเจ้าภาพ ตั้งใจว่าจะถวายกฐิน ก็จะจัดให้ถวายกฐินขึ้นมา คราวนี้กฐินเป็นงานบุญพิเศษ ความจริงกฐินเป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่ว่าจำกัดด้วยเวลา คือ ทำได้แค่เดือนเดียวเท่านั้นในหนึ่งปี ก็เลยจะมีอานิสงส์พิเศษ

    หลวงพ่อวัดท่าซุงเคยบอกเอาไว้ว่า ถ้าเรารู้จักสังเกตตัวเอง ใครก็ตามที่ได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพทำบุญกฐิน คำว่าเจ้าภาพไม่ได้หมายความว่า จะต้องเจาะจงว่าตัวเองเป็นประธาน หรือว่าหาสิ่งของทั้งหมดมา เราร่วมเป็นเจ้าภาพด้วย จะเล็กน้อยอย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นเจ้าภาพเหมือนกัน ท่านบอกว่า บุคคลที่ตั้งใจเป็นเจ้าภาพกฐิน ติดต่อกันได้ถึงสามปี ให้สังเกตความเป็นอยู่ของตัวเอง ความเป็นอยู่จะคล่องตัวกว่าคนอื่นเขา จะมีความสะดวกกว่า เพราะฉะนั้น..ขอให้พวกเราตั้งใจลักษณะนี้

    ตัวอาตมาเองตั้งใจตั้งแต่ก่อนบวช จนกระทั่งถึงบวชแล้ว แต่ละปีจะทำบุญกฐินปีละมาก ๆ หลาย ๆ วัด สมัยที่ก่อนบวช ถึงเวลาหน้ากฐินก็เตรียมซองไว้เลย ซองละพัน ๆ เจอเขาทำที่ไหนก็ถวายร่วมกับเขาที่นั่น พอเป็นพระมาก็ใช้วิธีจัดแบบนี้ คือว่านิมนต์พระที่ท่านไม่มีกฐิน หรือว่าพระที่เป็นมิตรสหายคุ้นเคยกันมา มารับกฐินที่วัดของอาตมา หรือว่าอย่างระยะหลัง ๆ ไปเป็นประธานทอดให้เขาด้วย หรือว่าทางวัดอื่นเขาเรียกร้องมา เห็นว่าสมควรก็ต้องไปให้เขา

    อานิสงส์ที่ชัดที่สุด ก็คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา สมัยที่ท่านเกิดเป็นมหาทุคตะ คือ คนที่จนมาก ท่านเป็นคนรับใช้คนอื่นเขา ในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านเป็นคนใช้เขา เจ้านายจะทอดกฐิน ก็สั่งให้มหาทุคตะจัดการให้ทุกอย่าง มหาทุคตะก็บอกว่า "ข้าแต่นาย..ข้าพเจ้าขอร่วมมีส่วนในกฐินนี้ได้หรือไม่ ?" นายก็บอกว่าได้ แล้วท่านมีอะไรจะมาร่วมกองกฐินบ้าง ? มหาทุคตะบอกว่า ขอไปเสาะหาก่อน

    คราวนี้เขามีแต่ผ้านุ่งอยู่ผืนเดียว แขกเขาจะมีผ้านุ่งอยู่ผืนหนึ่ง แล้วก็ผ้าห่มผืนหนึ่ง แต่มหาทุคตะจนมาก มีผ้านุ่งผืนเดียว ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดี ก็เลยเข้าไปในป่า เอาใบไม้มาเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่มแทน แล้วเอาผ้าผืนนั้นไปที่ตลาด ไปถามกับพ่อค้าว่า ผ้าผืนนี้สามารถแลกของอะไรได้บ้าง เขาถามว่า "เธอจะเอาไปทำอะไร ผ้าก็เก่าเต็มที จะแลกของอะไรได้นักหนาเชียว ?"

    เขาก็บอกว่า นายของเราจัดกฐินขึ้นมา เพื่อทอดถวายพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เราก็อยากทำบุญด้วย พ่อค้าบอกว่า ถ้าอย่างนั้นจะให้เข็มไปเล่มหนึ่ง แล้วก็ด้ายอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะว่าผ้าเนื้อหยาบ เก่ามากและมีค่าน้อยมาก

    ท่านก็เอาเข็มกับด้ายนั้น เข้าไปร่วมในกองกฐิน แล้วตั้งใจอธิษฐานว่า ผลบุญที่ได้ทำบุญกฐินครั้งนี้ ขอให้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณในอนาคตกาลดังที่ปรารถนาด้วยเถิด เมื่อมาถึงชาติปัจจุบันนี้ พระองค์ท่านก็บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณจริง ๆ

    หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านเคยเทศน์ถึงอานิสงส์กฐิน ท่านบอกว่า บุคคลที่ตั้งใจทำบุญกฐิน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้แต่ทิพจักษุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเลิศที่สุดแล้ว ยังมองไม่เห็นเลยว่า อานิสงส์นั้นจะไปสิ้นสุดตรงไหน
    ส่วนใหญ่ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เกิดแล้วเกิดอีกอยู่ในระดับของความดีนี้ตลอด ยังไม่ทันสิ้นสุดของอานิสงส์กฐินก็จะเข้าพระนิพพานเสียก่อน ฟังดูแล้วน่าทำไหม ? ร่วมทำกับเขาบ่อย ๆ ก็ดีนะ

    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
    www.watthakhanun.com
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    ?temp_hash=a935d252cc9accd6c825d91095a5e1ed.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    ?temp_hash=83c7ad3a4b746f12a5484275b93a77d5.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    8pu9vXZHEK8gJckRmVOSoA7wt0vTiEsBDpCUlTu8AHf4&_nc_ohc=aYZqPO22Y84AX8qm6cQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    ในส่วนของงานกฐินนั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือผู้ครองผ้ากฐิน ถ้าว่ากันโดยพระธรรมวินัยแล้ว ท่านให้บุคคลที่มีจีวรเก่าที่สุดในวัดได้ผ้านั้นไป แต่ว่าระยะหลัง ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสมักจะเป็นผู้ครองผ้ากฐิน

    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ บางท่านถือว่าผู้ครองกฐินจึงมีสิทธิ์ที่จะรับบริวารกฐินทั้งหมด ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์รับ เจ้าอาวาสก็เลยมักจะครองกฐินเสียเอง แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าบางวัดมีพระไม่ครบ ๕ รูป ไม่สามารถที่จะรับกฐินได้ ต้องไปยืมพระวัดอื่นมา

    การไปยืมพระวัดอื่นมานั้น พระวัดอื่นที่มานั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกฐินนั้นทั้งสิ้น ให้เฉพาะบุคคลที่จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ดังนั้น...จึงมีการเข้าใจผิดกันว่า ถ้าไม่ครองกฐินแล้วจะไม่มีโอกาสได้รับบริวารกฐิน ซึ่งก็คือไม่มีสิทธิ์รับเงิน ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกเสียใหม่

    สำหรับวัดท่าขนุนของเรานั้น ครองกฐินกันไปตามอายุพรรษา ก็คือถ้าปีนี้ไปถึงใคร ปีหน้าท่านถัดไปก็จะรู้เองว่าถึงคิวของตนเองครองกฐินแล้ว สำหรับผู้ครองกฐินนั้นต้องรับภาระหนัก เพราะว่าต้องเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด ในเมื่อเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด บุคคลที่ได้อานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ พูดง่าย ๆ ก็คือ ละเว้นให้ไม่ต้องรักษาศีลหลายข้อ

    อย่างเช่นว่าการเที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา ซึ่งปกติแล้ววัดท่าขนุนของเราไม่ยอมให้ไปโดยไม่ต้องบอกลา ออกจากวัดไปไหนจะต้องลาทุกคน อานิสงส์กฐินข้อนี้จึงไม่มีประโยชน์สำหรับพระวัดท่าขนุน

    สามารถฉันคณะโภชนาได้ ก็คือโดยปกติแล้ว ถ้าญาติโยมบอกว่านำอาหารอะไรมาถวายพระ พระไม่สามารถที่จะฉันรวมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปได้ เพราะว่าเป็นการผิดพระวินัย สาเหตุมาจากสมัยพุทธกาล เมื่อมหาเศรษฐีท่านบอกว่าจะถวายภัตตาหารอะไร พอเป็นอาหารที่ประณีต มีรสดี บรรดาพระก็แห่กันไปจนเขาเลี้ยงไม่ไหว พระพุทธเจ้าจึงต้องตรัสห้ามไว้ว่า ถ้าเป็นอาหารที่เจ้าภาพออกชื่อ ให้ฉันได้ไม่เกิน ๓ รูปเท่านั้น ถ้าถึงรูปที่ ๔ ขึ้นไปเรียกว่าคณะ ถ้าฉันคณะโภชนาแบบนั้น โดนปรับอาบัติทุกคำที่กลืนลงไป ก็แปลว่าศีลขาดทุกคำที่กลืน แต่หากว่ารับกฐินแล้วสามารถฉันคณะโภชนาได้

    ลำดับต่อไป คือ ฉันปรัมปรโภชนาได้ คำว่า ปรัมประ ก็คือฉันจากที่หนึ่งแล้วไปฉันอีกที่หนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะเกรงว่าจะฉันได้น้อย บางทีเจ้าภาพเขาก็เสียใจ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องมาใช้กับอาตมา เพราะว่าฉันน้อยเป็นปกติอยู่แล้ว

    ข้อต่อไปท่านบอกว่า ไปไหนไม่ต้องเอาจีวรไปครบสำรับ เพราะว่ามีผู้ครองกฐินรักษาผ้าแทนเราแล้ว

    ข้อสุดท้าย ก็คือ จีวรที่เกิดขึ้นไม่ต้องทำวิกัปเป็น ๒ เจ้าของ สามารถที่จะใช้เป็นของตนเองได้เลย

    ในเมื่ออานิสงส์กฐินสามารถผ่อนคลายสิกขาบทได้หลายข้อ แต่ผู้ที่ครองกฐินจะไม่ได้อานิสงส์นี้ เพราะว่าต้องรักษาผ้ากฐินแทนผู้อื่นทั้งวัด ถ้าทำผ้าขาดครองก็ทำให้ขาดอานิสงส์กฐินทั้งวัดเหมือนกัน

    ดังนั้น...ในส่วนของผู้ครองกฐินจึงสำคัญมาก เพราะว่าห้ามเผลออย่างเด็ดขาด และอานิสงส์กฐินนี้จะมีแค่กลางเดือน ๔ เท่านั้น ถ้าท่านจำพรรษาแล้วไม่ได้รับกฐิน ได้รับอานิสงส์ ๑ เดือน ก็คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าจำพรรษาแล้วได้รับกฐิน ท่านขยายเวลาให้ถึงกลางเดือน ๔ ก็คือเพิ่มขึ้นมาอีก ๔ เดือน แต่อาตมาไม่เคยใช้อานิสงส์กฐิน เพราะว่าอานิสงส์กฐินนั้น ถ้าเผลอเราจะมักง่าย ไปไหนเอาจีวรไปครบไตรก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสจนเกินไป จีวรชุดหนึ่งก็ใช้ได้หลายปี

    ขณะเดียวกันเรื่องของคณะโภชนา ปรัมปรโภชนานั้น ถ้าเราเผลอตัวเมื่อไร เกินกลางเดือน ๔ ไปก็จะโดนอาบัติ การไปไหนปกติก็ต้องบอกอยู่แล้วว่าไปไหน เพื่อที่เจ้าอาวาสหรือเพื่อนฝูงจะได้รู้ มีอะไรเร่งด่วนจะได้ตามตัวกันได้

    เมื่อเป็นเช่นนั้น อาตมาบวชมา ๓๐ กว่าปีไม่เคยใช้อานิสงส์กฐินเลย พูดง่าย ๆ ว่าไม่ต้องรอให้กฐินเดาะ แต่เป็นคนเดาะกฐินเสียเอง แต่ว่าในส่วนอื่น บุคคลอื่น โดยเฉพาะพระอื่น ๆ ในวัดท่าขนุน อาตมาไม่ได้บังคับ ใครจะใช้อานิสงส์กฐินก็อย่าเผลอ ถ้าใครไม่ใช้อานิสงส์กฐินก็ขออนุโมทนาด้วย เนื่องเพราะว่าในเรื่องของศีลพระนั้น ไม่มีอะไรน่าหนักใจ ๒๒๗ ข้อก็สามารถรักษาได้ ทำไมต้องไปผ่อนใน ๔ - ๕ ข้อเหล่านั้น

    ในเรื่องของการขอกฐิน วัดท่าขนุนจะไม่มีเรื่องนี้ เนื่องเพราะว่าอาตมาจะตั้งกองกฐินขึ้นมาเอง หลังจากนั้นญาติโยมก็มาสมทบ ร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคีเท่านั้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ถ้ามีวัดใดมาขอกฐิน ญาติโยมจะเป็นเจ้าภาพจะเป็นอะไรก็ตาม ให้รู้ว่าบุญกฐินนั้นโยมได้ไปเต็ม ๆ แต่อานิสงส์กฐินสำหรับพระไม่มีใครได้เลย เพราะว่าในพระวินัยท่านห้ามขอกฐิน

    ญาติโยมที่อยากจะเป็นเจ้าภาพกฐิน ให้ไปปวารณาตนแจ้งต่อเจ้าอาวาสวัดใดวัดหนึ่งที่เราจะเอากฐินไปทอด ว่าเราขอเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ถ้าอย่างนั้นพระในวัดท่านถึงจะได้อานิสงส์กฐินไปเต็ม ๆ

    ในส่วนของการที่พระไปขอจากญาติโยม ก็คาดว่าเกิดจาก ๒ สาเหตุด้วยกัน
    สาเหตุแรก ก็คือ ไม่รู้ว่าในพระบาลีท่านห้ามขอกฐิน

    อย่างที่ ๒ ก็คือ แกล้งไม่รู้ เพราะว่าอยากได้กฐิน เนื่องจากว่าเจ้าภาพหลายรายมาปวารณากฐินกับอาตมาแล้วถามว่า ต้องการยอดปัจจัยเท่าไร ซึ่งถ้าเป็นวัดอื่น ๆ ก็อาจจะมีการบอกว่าเท่านั้นแสน เท่านี้ล้าน แต่สำหรับวัดท่าขนุน มีโยมถามอยู่ ๒ ปี ปีแรกที่ถาม อาตมาบอกว่าเอามา ๑๖ บาท เป็นเลขมงคลโสฬสสวยดี ปีถัดมาถามอีก บอกว่าเอามา ๙ บาทก็แล้วกัน ก็เป็นอันว่าจบกันแค่นั้น เนื่องจากว่ากฐินอยู่ที่ศรัทธาของโยม ไม่ใช่ว่าพระไปตั้งยอด แล้วให้โยมตะเกียกตะกายหามาด้วยความยากลำบาก

    เรื่องของพระธรรมวินัยแล้ว ส่วนใหญ่พระเณรสมัยนี้ไม่ค่อยที่จะเข้มงวดกัน อาจจะเป็นเพราะว่าพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านไม่ได้สั่งสอนไว้ ไม่ได้อบรมไว้ หรือไม่ก็ความที่อยากได้ยอดปัจจัยกฐินมาก ๆ ก็เลยต้องไปเที่ยวขอกฐินจากญาติโยมหลาย ๆ คน เพื่อให้มารวมกันทอด

    ในส่วนของกฐิน ขอย้ำอีกครั้งว่า อานิสงส์กฐิน สำคัญที่สุดตรงผ้าไตร จะเป็นผืนเดียว หรือครบไตรก็ตาม ถ้าไม่มีผ้าไตรก็ไม่เป็นกฐิน ถ้ามีผ้าไตรแล้วบริวารกฐินอื่นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

    เมื่อญาติโยมทราบแล้วจะได้รู้ว่า ในเรื่องของกฐินแต่โบราณมานั้น เขาเน้นกันเรื่องผ้าไตรครองสำหรับพระ แต่ปัจจุบันนี้ผิดเพี้ยนไป กลายเป็นว่าวัดไหนทำยอดเงินได้มาก ก็ถือว่าได้บุญมาก อย่าลืมว่าเงินเป็นแค่บริวารกฐินเท่านั้น ตัวบุญกฐินเต็ม ๆ อยู่ที่ผ้าไตรต่างหาก

    เมื่อญาติโยมได้ทราบในเรื่องของกฐิน ตลอดกระทั่งแบบธรรมเนียมในการปวารณาเป็นเจ้าภาพกฐิน หรือว่าในการถวายกฐินแล้ว ต่อไปก็จะได้ปฏิบัติกันได้ถูกต้อง
    ...........................................
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    ผู้ก่อตั้งสำนักสงฆ์เกาะพระฤๅษี
    1f496.png 1f496.png 1f496.png 1f496.png 1f496.png 1f496.png
    กำหนดการทอดกฐินสามัคคีสำนักสงฆ์เกาะพระฤๅษี
    วันเสาร์ที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๓
    เวลา ๘.๒๙ น. พิธีบวงสรวง
    เวลา ๑๐.๑๙ น. พิธีทอดกฐิน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1f496.png
      1f496.png
      ขนาดไฟล์:
      1.4 KB
      เปิดดู:
      109
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    #บริวารกฐิน
    ..............
    พระพุทธานุญาตให้กรานกฐิน
    [๙๖] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ
    ๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
    ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
    ๓. ฉันคณะโภชน์ได้
    ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
    ๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว.
    วิธีกรานกฐิน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
    กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
    ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
    ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
    …………
    ข้อความบางตอนใน กฐินขันธกะ พระวินัยปิฎก มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕
    https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=5&A=2648
    ว่าด้วยผู้ได้กรานกฐิน
    วินิจฉัยในคำว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว กฐินํ อตฺถริตพฺพํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
    ในมหาปัจจรีแก้ว่า ถามว่า ใครได้กรานกฐิน ใครไม่ได้?
    ตอบว่า ว่าด้วยอำนาจแห่งจำนวนก่อน. ภิกษุ ๕ รูปเป็นอย่างต่ำย่อมได้กราน, อย่างสูงแม้แสนก็ได้. หย่อน ๕ รูป ไม่ได้.
    ว่าด้วยอำนาจภิกษุผู้จำพรรษา. ภิกษุผู้จำพรรษาในปุริมพรรษา ปวารณาในวันปฐมปวารณาแล้ว ย่อมได้, ภิกษุผู้มีพรรษาขาดหรือจำพรรษาในปัจฉิมพรรษา ย่อมไม่ได้. แม้ภิกษุที่จำพรรษาในวัดอื่นก็ไม่ได้. และภิกษุทั้งปวงผู้จำพรรษาหลัง เป็นคณปูรกะของภิกษุผู้จำพรรษาต้นก็ได้, แต่พวกเธอไม่ได้อานิสงส์ ; อานิสงส์ย่อมสำเร็จแก่พวกภิกษุนอกนี้เท่านั้น.
    ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้นมี ๔ รูปหรือ ๓ รูปหรือ ๒ รูปหรือรูปเดียว, พึงนิมนต์ภิกษุผู้จำพรรษาหลังมาเพิ่มให้ครบคณะแล้ว กรานกฐินเถิด. ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้นมี ๔ รูป, มีสามเณรอายุครบอยู่รูปหนึ่ง, หากสามเณรนั้นอุปสมบทในพรรษาหลัง, เธอเป็นคณปูรกะได้ ทั้งได้อานิสงส์ด้วย.
    แม้ในข้อว่า มีภิกษุ ๓ สามเณร ๒, มีภิกษุ ๒ สามเณร ๓, มีภิกษุรูปเดียว สามเณร ๔ นี้ ก็มีนัยอย่างนี้แล. ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้น ไม่เข้าใจในการกรานกฐิน, พึงหาพระเถระผู้กล่าวคัมภีร์ขันธกะ ซึ่งเข้าใจในการกรานกฐิน นิมนต์มา : ท่านสอนให้สวดกรรมวาจา ให้กรานกฐิน แล้วรับทานแล้วจักไป. ส่วนอานิสงส์ย่อมสำเร็จแก่ภิกษุนอกนี้เท่านั้น.
    ...................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากฐินขันธกะ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=95
    หมายเหตุ ในอรรถกถากฐินขันธกะ คำว่า “รับทาน” ในข้อความว่า “ให้กรานกฐิน แล้วรับทานแล้วจักไป” หมายถึง ธรรมเนียมปฏิบัติของพระสงฆ์ ให้ถวายผ้าบริวาร หรือสิ่งอื่นๆแก่ท่านไป
    obxYthB2csxzN2HbCiWgrWeDveRH-pETgoE2XzY1gfCk&_nc_ohc=IQb3wdIE4ZAAX_uc8S8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,509
    ju6TzvJq6Oy4JeJQlwQr-HW_5uMeCGV4tVSmjyKlC-HLHW5czO8t7AXQFR5fjWXYadydkxUb&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...