พระผงหลวงปู่บุญวัดบ้านนาระยอง พระปิดตาลป.เจียง เนินหย่องระยอง.

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    วันนี้ จัดส่ง
    สงขลา และ แปดริ้ว
    ขอบคุณครับ
    1693985183289.jpg 1693985181051.jpg
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    พระผงรูปเหมือนนั่งพานหลังแผ่นเงิน 12 ราศีเกิดรุ่นเสาร์ 5 มงคลเกษมหลวงพ่อเกษมเขมโกสุสานไตรลักษณ์ลำปาง 30 เมษายน 2537
    หลัง๑๒ราศรีปีเกิดเสริมดวงเสริมบารมี
    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20230906_191013.jpg IMG_20230906_191026.jpg IMG_20230906_191042.jpg
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่คำพันธุ์ วัดธาตุมหาชัย
    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20230906_193640.jpg IMG_20230906_193701.jpg IMG_20230906_193556.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1694017465212.jpg FB_IMG_1694017460717.jpg FB_IMG_1694017457573.jpg FB_IMG_1694017394079.jpg FB_IMG_1694017479901.jpg FB_IMG_1694017383964.jpg FB_IMG_1694017383964.jpg FB_IMG_1694017391834.jpg FB_IMG_1694017301558.jpg FB_IMG_1694017306603.jpg FB_IMG_1694017274019.jpg FB_IMG_1694017270658.jpg

    พระผงสองสมเด็จ
    สมเด็จโตหลังสมเด็จหลวงปู่ทวด
    นิตยสารศักดิ์สิทธิ์สร้าง ปี 2538
    รายละเอียด
    ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 2 ปี
    ในการเดินทางเพื่อนิมนต์
    สุดยอดพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ
    จารอักขระมหายันต์
    ใบลานศักดิ์สิทธิ์ 999 แผ่น
    ว่านวิเศษ 108
    มวลสารผงวิเศษ 108
    อาทิเช่น
    - ข้าวก้นบาตรหลวงปู่เทสก์
    วัดหินหมากเป้ง
    - ก้นยาหลวงปู่ดูลย์ วัดบูรพาราม
    - ข้าวสารเทวดาครูบาธรรมชัย
    - เส้นเกศาหลวงปู่สิม
    - แป้งเสกหลวงปู่บุดดา
    - น้ำมันงาและผงวิเศษครูบาสุรินทร์
    วัดศรีเตี้ย
    - ก้นยาและยาเส้นหลวงพ่อคูณ
    วัดบ้านไร่ ฯลฯ
    พระอาจารย์นั่งที่ปรกปลุกเสก
    อาทิเช่น
    - ครูบาเจ้าเกษม เขมโก
    - หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร
    - หลวงปู่แพ เขมังกโร
    - หลวงพ่ออุตตมะ อุตตโม
    - หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
    - สมเด็จพระมหาธีราจารย์
    - พ่อท่านนอง ธัมภูโต วัดทรายขาว
    - หลวงปู่หยอด ชินวังโส
    - หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ
    - หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ
    - หลวงปู่คำ วัดหนองแก
    - หลวงปู่ทองเบิ้ม วัดวังยาว
    - หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
    - หลวงปู่เกตุ วัดเกาะหลัก
    - หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน
    - หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ
    - หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า
    - หลวงปู่ร่วง วัดศาลาโพธิ์
    - หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง
    - หลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
    - หลวงพ่อศรีเงิน วัดดอนศาลา
    - หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
    - พ่อท่านแดง วัดควนนางพิมพ์
    - หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง
    - หลวงปู่ดี วัดพระรูปครับ
    อีกหลายพิธีทั้งเสกเดี่ยว เสกหมู่ เหนือจรดใต้
    ให้บูชา200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20230906_185532.jpg IMG_20230906_185554.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    วัตถุมงคลหลากหลายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศครับค่าจัดส่งต่อครั้ง 30 บาทระบบflash หรือ J&T
    บัญชีธนาคาร กรุงไทย 125-00-89-239
    Supachai thu
    โอนแล้วแจ้งบอก ทางข้อความ พร้อมที่อยู่จัดส่ง ป้อง กัน การเอาข้อมูลจากมิจฉาชีพครับ
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1694338181724.jpg FB_IMG_1694337783585.jpg FB_IMG_1694337799397.jpg

    http://www.watthasung.com/wat/viewt...FqGICQLqWYDylMqOwF8Az3dd0N7H98ooJKrQRKBIO88bI
    คุณจักร ฯ กับ คุณศาสน์ ฯ


    เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระเดชพระคุณพระอริยสงฆ์ ที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านเรียกว่า พระสุปฏิปันโน มาหลายองค์แล้ว ชักจะเบื่อ ๆ ลองมาเปลี่ยนบรรยากาศติดตามเรื่องของฆราวาส ๒ ท่านดูบ้าง คือ เรื่องของ คุณจักร ฯ กับ คุณศาสน์ เดี๋ยวพอให้คลายหายง่วงหายเหงา แล้วค่อยกลับเรื่องไปคุยถึงหลวงพ่อ ฯ หลวงปู่องค์อื่น ๆ กันอีกก็แล้วกันนะครับ

    ในสมัยที่ผมได้มาพบกับหลวงพ่อ ฯ ของเรานั้น ผมมียศเป็นร้อยตำรวจเอก แต่ได้รับเกียรติยศเป็นอย่างสูง ให้ไปช่วยราชการอยู่ที่กองยุทธการ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า (ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า “ศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด”)

    ทั้งนี้ เป็นความกรุณาอย่างยิ่งของท่าน พล.อ. ทวนทอง สุวรรณทัต อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งในขณะนั้นมียศเป็น พ.อ. ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองยุทธการ ท่าน พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะนั้นมียศ พล.ท. ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการกองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า ท่าน พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหาร และท่าน พล.อ. ทำเนียบ ทับมณี รองประธานคณะเสนาธิการ กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ขณะนั้นยศ พ.ท. ดำรงตำแหน่งประจำกองยุทธการ

    ความจริงนอกจากผู้หลักผู้ใหญ่ทางฝ่ายทหารจะได้กรุณาผมดังกล่าวแล้ว ท่านผู้ใหญ่ทางตำรวจที่ให้ความกรุณาเป็นอย่างยิ่งกับผมในครั้งนั้นก็มี คือ ท่าน พล.ต.ท. ประเนตร ฤทธิ์ฤาชัย อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ขณะนั้นยศ พล.ต.ต. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจตระเวณชายแดน และท่าน พล.ต.อ. วสิฏฐ์ เดชกุญชร ณ อยุธยา อดีต รมช. กระทรวงมหาดไทย ขณะนั้นยศ พล.ต.ต. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจตระเวณชายแดน ได้ช่วยเหลือและชักชวนให้ผมไปช่วยราชการที่กองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดนเช่นเดียวกัน

    ผมจำได้ดีว่า ทั้งสองท่านยังได้กรุณาพาผมไปเลี้ยงอาหารที่ร้านแห่งหนึ่งแถวถนนพหลโยธิน แต่แล้วในที่สุด ด้วยความจำเป็นและความสะดวกสบายที่ได้รับมากกว่าจากทางกองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า ผมจึงจำเป็นต้องเลือกการไปช่วยราชการอยู่กับฝ่ายทหาร ทั้งๆ ที่ความผูกพันทางใจที่ลึกซึ้งนั้นอยู่กับตำรวจตระเวณชายแดนมากกว่า

    แต่ถ้าท่านเป็นผม ก็คงจะต้องเลือกเช่นเดียวกับที่ผมเลือกไปแล้ว ก็ลองคิดดูว่าจะให้ผมเลือกทางไหน ในเมื่อขณะนั้นผมยังเดินไม่ได้ ต้องใช้ไม้เหน็บรักแร้ค้ำยันเวลาเดิน และต้องไปรักษาพยาบาลที่ ร.พ. พระมงกุฎทุกวัน ผมและภรรยาเช่าบ้านอยู่ที่ท่าดินแดงฝั่งธนบุรี ผมจะไปทำงานที่กองบัญชาการตำรวจตระเวณชายแดน ซึ่งอยู่ตรงข้ามซอยสายลม พหลโยธินได้อย่างไร จะเบียดขึ้นรถประจำทางรึ ก็คงจะไปไม่รอด ครั้นจะขึ้นรถแท็กซี่อีกรึ ก็คงจะไม่มีปัญญา

    สำหรับทางฝ่ายทหารนั้นมีขีดความสามารถในการสนับสนุนและช่วยเหลือผมได้ดีกว่ามาก กล่าวคือ ได้จัดรถยนต์รับ-ส่ง พร้อมพลขับให้ อันเป็นการดูแลและอำนวยความสะดวกตลอดจนบรรเทาความเดือดร้อนในการเดินทาง ทั้งการไปทำงานและการไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ

    ดังนั้น ผมจึงจำเป็นต้องเลือกหนทางที่จะสามารถดำรงชีวิตได้เอาไว้ก่อน และในระหว่างที่ผมช่วยราชการอยู่ที่กองยุทธการ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้านี้นั่นเอง ผมก็ได้รับความกรุณาจากท่าน พล.อ. ทวนทอง สุวรรณทัต เป็นอย่างยิ่ง โดยท่านได้กรุณาสนใจและเอาใจใส่ ให้ความสนิทสนม ให้ความคุ้นเคยประดุจบิดาซึ่งกระทำต่อบุตร

    ท่านมักเข้ามาที่ห้องทำงานของผมบ่อย ๆ นอกจากจะเข้ามาคุยเฮฮาสัพเพเหระ หรือเข้ามาสอนเรื่องหน้าที่การงานต่าง ๆ แล้ว ยังสอบถามเกี่ยวกับสาระทุกข์สุขดิบไม่เคยขาด เพราะความดีมีน้ำใจอันสม่ำเสมอของท่านนี่เอง ทำให้ท่านได้เห็นหนังสือที่เกี่ยวกับหลวงพ่อของเรา (ประวัติหลวงพ่อปาน ฯ วัดบางนมโค) ที่ผมได้พยายามซ่อนเร้นแล้วบนโต๊ะทำงานของผม

    (ความจริงก็ไม่ได้ตั้งใจซ่อนให้จริงจังอะไร เพราะไม่ได้เป็นความผิดอะไร เพียงแต่อายนิดหน่อย กลัวท่านจะหาว่าบาดเจ็บแค่นี้ถึงกับเสียอกเสียใจจนต้องเข้าหาพระหาเจ้า จึงเอาหนังสือเล่มอื่นวางทับไว้ และด้วยเกรงว่าท่านจะหาว่าเอาเวลาราชการมาอ่านหนังสืออย่างหนึ่ง และงมงายอีกอย่างหนึ่ง)

    ต่อมาท่านก็คงจะสังเกตว่า เมื่อมีเวลาว่างคราใด ผมจะต้องหยิบหนังสือของหลวงพ่อ ฯ ขึ้นมาอ่านทุกที (ส่วนใหญ่เป็นเวลาหลังอาหารเที่ยง) ท่านจึงหยิบไปเปิดอ่านดูบ้าง พลิกไปพลิกมาแล้วก็คืน ผมเดาว่าท่านคงจะมีความสนใจ ดังนั้น ถ้าผมมีหนังสือเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับหลวงพ่อ ฯ ผมจะหามาเผื่อให้ท่านด้วยอีก ๑ ชุดเสมอ หลังจากนั้นเมื่อท่านพบผม ท่านถามทำนองหยั่งเชิงผมทันทีว่า

    “คุณว่าจริงเร๊อะ” (ท่านคงจะหมายถึง เรื่องราวต่าง ๆ ในหนังสือที่หลวงพ่อเขียนเล่าเอาไว้)

    ผมก็ได้แต่มองหน้าท่านแบบยิ้ม ๆ ไม่ตอบท่านตรง ๆ ในทันที (เพราะผมก็ยังไม่แน่ใจนั่นเอง) แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผมได้มีโอกาสศึกษาธรรมจากหลวงพ่อ ฯ และยังได้พบเห็นสิ่งแปลก ๆ ที่น่าอัศจรรย์ของหลวงพ่อ ฯ และเมื่อสังเกตว่าท่านมีเวลาว่างพอ ผมจึงได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับหลวงพ่อ ฯ ที่ผมได้ประสบพบมาให้ท่านฟัง ซึ่งท่านก็ฟังเรื่องที่ผมเล่าอย่างสนใจ แต่ก็ไม่ได้ข้อสรุปจากผมว่า จริงหรือไม่จริง

    ส่วนผมเองนั้นก็ไม่ทราบว่าท่านเชื่อหรือไม่เชื่อ (บุคคลในระดับนี้นั้น เด็กระดับผมชักจูงท่านไม่ได้หรอกครับ) เพราะภูมิปัญญาและความรู้ตลอดจนประสบการณ์ของท่าน สูงกว่าผมมากมายนัก

    เวลาล่วงเลยไปอีกระยะหนึ่ง ผมจึงได้ทราบว่า ท่านนั้นมีความเคารพเชื่อถือใน “หลวงปู่พล” เป็นอย่างยิ่ง สาเหตุนั้นมีอยู่ กล่าวคือ ท่าน พล.อ.ท. ลิขิต สุวรรณทัต (ยศ น.ท. สมัยนั้น) ญาติของท่านและภรรยา ได้ไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานกับ “หลวงปู่พล” อยู่เสมอ ๆ

    สมัยนั้นทราบว่า หลวงปู่พล ฯ ท่านมักจะมาสอนกรรมฐานอยู่ที่สำนักสงฆ์แห่งหนึ่งแถว ๆ บางแค ท่านลิขิต ฯ กับภริยาก็มักจะหาโอกาสไปฝึกเสมอ และได้นำบุตรชายของท่าน ๒ คนติดตามไปด้วย คือ คุณจักร ฯ กับ คุณศาสน์ ฯ ซึ่งเมื่อท่านบิดามารดากำลังฝึกกรรมฐาน คุณจักร ฯ กับ คุณศาสน์ ฯ ก็เล่นกันอยู่ข้างนอกตามประสาเด็ก

    ครั้นเล่นจนเหนื่อยอ่อนจึงมานั่งคอยบิดามารดา และได้ยินการสอนของ หลวงปู่พล ฯ ไปด้วยโดยบังเอิญ และก็ตามประสาเด็กอีกนั่นแหละ คุณจักร ฯ กับ คุณศาสน์ ฯ ก็ชวนกันเล่นนั่งสมาธิเลียนแบบผู้ใหญ่ตามที่ได้ยินคำสอนของ หลวงปู่พล ฯ นั้น

    ปรากฏว่า ทั้ง คุณจักร ฯ และ คุณศาสน์ ฯ นั้น พอจิตเป็นสมาธิก็ได้ทิพจักขุญาณทันที สามารถเห็นเทวดา เห็นพรหม เห็นพระ และไม่ใช่เพียงแต่เห็นอย่างเดียว ยังสามารถติดต่อพูดคุยด้วยได้อีก สิ่งของต่าง ๆ ที่บ้านใคร คุณจักร ฯ และ คุณศาสน์ ฯ บอกได้หมดว่าอะไรวางอยู่ตรงไหน ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยไปที่บ้านนั้นมาก่อน

    แม้สิ่งของบางอย่างที่เจ้าของลืมไปแล้วว่าสิ่งของในกล่องที่เก็บเอาไว้นั้นเป็นอะไร ก็สามารถบอกได้เลยว่าสิ่งของนั้นเป็นอะไร ทีนี้ท่าน พล.อ. ทวนทอง ฯ ซึ่งมีศักดิ์เป็นคุณตาท่านก็สนุกใหญ่ ท่านพา คุณจักร ฯ กับคุณศาสน์ ฯ ไปที่บ้านของท่าน พาไปที่ห้องเก็บของ แม่จ้าวโวย...สัพเพเหระ สิ่งของกองเป็นพะเนินอยู่ในห้อง อยู่ในกล่องก็มี ห่อเอาไว้ก็มี ขี้ฝุ่นหนาปึ้ก

    ท่านเจ้าของเองก็ลืมไปหมดแล้วว่า ภายในมีอะไรบ้าง แล้วคุณตาก็ถามคุณหลานว่าห่อนั้นห่อนี้มีอะไร คุณหลานก็บอก ซึ่งเมื่อแก้กล่องหรือห่อออกมาพิสูจน์ดู ก็ตรงตามที่คุณหลานบอกเอาไว้ไม่มีผิดพลาด คุณตากับคุณหลานก็มักจะเล่นทายสิ่งของที่หมกเอาไว้จนคุณตาลืมอยู่เป็นประจำ จนคุณหลานสุดแสนจะเบื่อหน่าย แต่คุณตาไม่เบื่อเลย (สมัยนั้น คุณจักร ฯ กับคุณศาสน์ ฯ อายุราว ๆ ๔-๕ ขวบ)

    คุณตาอยากเล่นแบบนี้ด้วยทุกวัน เพราะการทายสิ่งของดังกล่าวนี้ คุณตาสามารถท้าพิสูจน์กับใครก็ได้ว่าคุณหลานเห็นจริง ๆ นอกจากนั้น เรื่องที่ตลกและขำขันก็คือ คราวหนึ่ง คุณจักร ฯ กับคุณศาสน์ ฯ นึกสนุกอยากจะรู้ใจเจ้าสุนัขที่เลี้ยงเอาไว้ขึ้นมา จึงได้ผลัดกันหลอกถามเจ้าสุนัขน้อยนั้นว่า ระหว่าง คุณจักร ฯ กับคุณศาสน์ ฯ นั้น เจ้าหมาน้อยรักใครมากกว่า

    คำตอบของเจ้าหมาน้อยทำให้ คุณจักร ฯ กับคุณศาสน์ ฯ หัวเราะลั่นจนงอหาย ชอบอกชอบใจว่าสุนัขนั้นตอบถูกใจ แต่ก็ทำเอาคุณพ่อคุณแม่ตกอกตกใจคิดว่าเกิดอะไรขึ้นจึงได้มาสอบถาม และจึงพลอยได้รู้เรื่องนี้ไปด้วย

    ทั้งนี้ไม่ว่าใคร พอได้ทราบว่าเจ้าหมาน้อยตอบ คุณจักร ฯ กับคุณศาสน์ ฯ ว่าอย่างไรแล้ว ต่างก็หัวร่อกันงอหายเช่นเดียวกับ คุณจักร ฯ กับคุณศาสน์ ฯ ไปตาม ๆ กัน เพราะสำหรับสุนัขแล้ว คำตอบนี้แสดงให้เห็นว่าเจ้าสุนัขน้อยตัวนี้ นอกจากจะฉลาดแล้วยังมีปฎิภาณไหวพริบและ IQ ไม่เบา

    อยากรู้ไหมว่าเจ้าสุนัขตอบ คุณจักร ฯ กับคุณศาสน์ ฯ ว่าอย่างไร มันตอบว่า “รักเท่ากัน”

    ผมยังจำได้ดีในขณะที่ได้ฟังเรื่องนี้จากท่าน พล.อ. ทวนทอง ฯ ท่านจะเล่าไปหัวเราะไปขบขันขนาดน้ำหูน้ำตาไหล ท่านว่า “แหม...ไอ้หมาตัวนี้มันฉะหลาด (ฉลาด)” แล้วก็หัวร่อ
    ขอขอบคุณที่มาบทความข้อมูลอย่างสูงครับ
    แผ่นปั๊ม หลวงปู่พล หนองคณฑี
    ให้บูชา 500 บาท ค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20230910_163642.jpg IMG_20230910_163711.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2023
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    ครูบาสมจิต_จิตคุตโต.jpg
    ครูบาสมจิต จิตตคุตโต
    เกิดเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ.2484
    อุปสมบท : 14 มีนาคม พ.ศ.2506
    สภาณภาพ : มรณภาพ(เมื่อ 14 มกราคม พ.ศ.2560
    วัดสะแล่ง ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ เป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ อันเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นความภาคภูมิใจสืบทอดมาจนถึงคนรุ่นลูกรุ่นหลาน ปัจจุบัน เป็นสถานที่มีความสำคัญทางด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย ครูบาสมจิตทั้งนี้ ผู้ที่พลิกฟื้นสภาพวัดสะแล่ง จากเดิมที่มีความชำรุดทรุดโทรม เหมือนกับสถานที่ไร้คุณค่าจนกลายเป็นพระอารามที่มีความสำคัญทางด้านศิลป วัฒนธรรมล้านนาไทยและของจังหวัดแพร่ คือ "พระครูวิจิตรนวการโกศล" หรือที่ชาวบ้านเรียกขานว่า "ครูบาสมจิต จิตตคุตโต" สิริอายุ 68 ปี พรรษา 48 อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า สมจิต วงศ์แสนศรี เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม 2485 โยมบิดา-มารดา ชื่อนายชื่น และนางคำมูล วงศ์แสนศรี เกิดที่ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ เส้นทางสู่ ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ประมาณ 3 ปี ท่านได้เข้าพิธีบรรพชา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2505 ณ วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ มีพระครูเกษมรัตนคุณ เจ้าคณะอำเภอลอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2506 ณ วัดศรีดอนคำ ภายหลังอุปสมบท ได้ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาที่โรงเรียนพิริยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัดแพร่ในการพัฒนาชุมชน อีกทั้งยังได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ ในปี พ.ศ.2506 ครูบาสมจิต ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะอำเภอลอง ให้ไปดูแลฟื้นฟูวัดสะแล่ง จากผลงานที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติจนสำเร็จลุล่วง พ.ศ.2527 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะแล่ง พ.ศ.2528 เป็นเจ้าคณะตำบลห้วยอ้อ เขต 1 เป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอลอง ครูบาสมจิต ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณรและเยาวชน เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมและโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดสะแล่ง จัดตั้งมูลนิธิการศึกษามอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนยากจนที่มีผลการเรียนดี เป็นประจำทุกปี ผลงานด้านเผยแผ่และงานสาธารณูปการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 ครูบาสมจิต ได้ออกปฏิบัติธรรมอบรมสั่งสอน ทั้งในอำเภอลอง ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด ครูบาสมจิต ได้ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานตามรอยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากครูบาอาจารย์สายวิปัสสนาคอยชี้แนะ จนมีความชำนาญ นอกจากนี้ ยังให้การสนับสนุนช่วยเหลือวัดต่างๆ ในจังหวัดแพร่ เช่น สร้างเจดีย์หล่ออนุสาวรีย์ครูบามหาเถร วัดสูงเม่น หาทุนให้วัดศรีดอกสร้างอุโบสถหลังใหม่ สร้างบันไดนาคขึ้นวัดพระธาตุเขาน้อย จ.น่าน สร้างวิหารวัดต้าผามอก บูรณะพระธาตุพระพิมพ์วัดบางสนุก อ.วังชิ้น สร้างเจดีย์พระกัปป์ในหมู่บ้านกะเหรี่ยง สร้างอุโบสถวัดแม่ปาน อุโบสถวัดสร่างโศก อุโบสถวัดดอนชัย วัดศรีสุทธาราม วัดปากจอก จ.แพร่ อุโบสถวัดกลาง จ.ลำปาง ท่านยังจัดสร้างวัตถุมงคลในโอกาสต่างๆ เพื่อให้คณะศรัทธาได้สั่งจองเช่าบูชา เพื่อนำรายได้ไปสมทบทุนช่วย เหลือก่อสร้างสาธารณประโยชน์ วัตถุมงคลครูบาสมจิตแต่ละรุ่น ล้วนได้รับความนิยมจากบรรดาเซียนพระเครื่องและนักสะสมนิยมวัตถุมงคล อาทิ เม็ดหยกหัวแหวน พระพุทธรูปหยกห้อยคอ รูปเจ้าแม่กวนอิมหยก ตะกรุดมหานิยม ตะกรุดกันผี เงินท๊อก หนังเสือ (เงินตระกูลล้านนา) พระผงรูปเหมือนครูบาสมจิต วัตถุมงคลของครูบาสมจิต จะมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังแห่งภาคเหนือ เข้าร่วมพิธีปลุกเสกมากมาย อาทิ ครูบาพรหมมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า, หลวงพ่อแก้ว วัดเขื่อนคำลือ อ.สูงเม่น จ.แพร่, หลวงพ่อกุ วัดศรีชุม จ.แพร่ เป็นต้น ส่งให้วัตถุมงคลของครูบาสมจิต ได้รับความนิยมจากศิษยานุศิษย์ ด้วยมีพุทธคุณโดดเด่น เมตตามหานิยม มหาอุด แคล้วคลาดปลอดภัย รวมถึงเรื่องการสยบสิ่งอัปมงคล
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    หนังเสือไฟลงยันต์ครูบาสมจิตรวัดสะแล่ง จ.แพร่ ให้บูชา 4,500 บาทครับ บูชาเก่าเก็บมาร่วม 30 ปีขนาดประมาณกว้าง ยาว 1*1นิ้ว
    เปิดดูไฟล์ 6057503 เปิดดูไฟล์ 6057504
    IMG_20221031_035353 (1).jpg IMG_20221031_035407 (1).jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1666252551997.jpg
    พระครูเกษมศาสนกิจ (หลวงพ่อเที่ยง เขมิโย )
    อดีตเจ้าอาวาส
    วัดราษฎร์นิยมธรรม หรือ หนองผักชี
    หนึ่งในพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงกิตติคุณอีกรูปหนึ่ง โดยเฉพาะในเขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมือง ฯลฯ ต่างก็ทราบในความเข้มขลังและศีลจารวัตรอันบริสุทธิ์ของท่านเป็นอย่างดี
    หลวงพ่อเที่ยง วัดหนองผักชี
    1666252799925-jpg.jpg
    รูป๑๐๐ปีขึ้นวัดสามปลื้ม
    พระสิวลีออกปี 2521นับว่าเป็นสิวลีหนึ่งเดียวของหลวงปู่ที่ออกนอกวัดมีสว่นผสม ผงเกสรของหลวงปู่โต๊ะด้วยซึ่งหลวงปู่ให้มากดพิมพ์รอไว้ก่อนที่วัดหนองผ้กชีแถมดว้ยผงเก่าจากวัดสามปลื้ม ซึ่งหลวงพ่อเที่ยงเจ้าอาวาสในสมัยนั้นอยู่ที่วัดสามปลื้มมาก่อน จากนั้นทางการได้ส่งให้หลวงพ่อมาสอนหนังสือที่วัดหนองผักชีและดำลงตำแหน่งเจ้าอาวาสด้วยเมื่อหลวงพ่อเที่ยงจัดส้รางพระหลวงปู่โต๊ะจึงมาช่วยเพราะมีความสนิทกันตั้งแต่ตอนอยู่วัดสามปลื้ม
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสิวลีวัดหนองผักชีปี 2521 ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทระบบ flash หรือ j&t หรือเคอรี่
    img_20221020_144222-jpg.jpg img_20221020_144237-jpg.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1694424442954.jpg
    ชาติภูมิ พระพิพิธพัฒนาทร (สมชาย ฉันทสโร) เจ้าอาวาสวัดปริวาสราชสงคราม ชื่อเดิม สมชาย แซ่ห่าน เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๙๖ แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน ธนบุรี

    การศึกษา จบชั้นมัธยมปีที่ ๓ โรงเรียนไตรรัตน์ศึกษา ยานนาวา, พุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
    บรรพชา ที่วัดปริวาส เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๑๓ โดย พระครูขันตยาภิราม (หลวงพ่อวงษ์) เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๗ ณ วัดปริวาส โดย พระครูขันตยาภิราม (หลวงพ่อวงษ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นได้อยู่จำพรรษา ณ วัดปริวาส มาโดยตลอด

    จนถึง พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส และในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๒)

    พระอาจารย์สมชาย ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์มาตามลำดับขั้นตอน จนถึง พ.ศ.๒๕๔๙ ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะที่ "พระพิพิพิธพัฒนาทร"

    การศึกษาด้านวิทยาคม พระอาจารย์สมชายชอบศึกษาวิชาวิทยาคม ตั้งแต่สมัยเป็นเด็กนักเรียน โดยได้ศึกษากับหลวงพ่อเก็บ วัดสวนลำใย จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

    ต่อมาเมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อวงษ์ ตั้งแต่พรรษาแรก โดยได้รับการอบรมวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาสร้างและปลุกเสกเสือ รวมทั้งได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อวงษ์ให้ร่วมปลุกเสกเสือรุ่น ๕ และรุ่น ๖ อีกด้วย

    จากการที่หลวงพ่อวงษ์มีความไว้วางใจมาก จึงได้ให้ท่านรับหน้าที่สงเคราะห์ญาติโยมแทนหลวงพ่อมาตลอด นับเป็นศิษย์ก้นกุฏิเพียงรูปเดียวที่หลวงพ่อวงษ์ได้ถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ ให้จนหมดสิ้น

    ขณะเดียวกัน พระอาจารย์สมชายได้ไปศึกษาวิชากับหลวงพ่ออ่อน วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งท่านได้สำเร็จผงมหาราช

    เมื่อหลวงพ่อวงษ์มรณภาพ (พ.ศ.๒๕๒๓) พระอาจารย์สมชาย ได้ไปศึกษาวิชาต่างๆ กับอาจารย์ต่างๆ หลายท่าน อาทิ อาจารย์เทพ สาริกบุตร หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร แหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม

    หลวงพ่อสำเนียง ที่ อ.บางเลน และหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม (ศึกษาวิชาไหมเจ็ดสี ตะกรุดลูกอม ตะกรุดมหาปราบมหาระงับ) แลกเปลี่ยนวิชาการสร้างราหูอมจันทร์-อมสูรย์ กับ พระอาจารย์มานิตย์ เจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง วิชาการสร้างหนุมาน กับพระอาจารย์ต๊ะ วัดช้าง จ.นครนายก (ศิษย์หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา)

    นอกจากนี้ยังศึกษาวิชาการสร้างผงยาจินดามณี (ผงยาวาสนา) สายวัดกลางบางแก้ว อีกด้วย
    และที่สำคัญ ได้ศึกษาวิชาการจัดพิธีปลุกเสก หล่อพระกริ่ง การผสมโลหะธาตุให้เป็นเนื้อต่างๆ จาก อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร (อดีตพระครูหนู) ศิษย์รับใช้ใกล้ชิด สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนฯ จนมีความชำนาญในการผสมโลหะให้เป็นเนื้อสัมฤทธิ์กลับดำสนิท และเป็นเนื้อสัมฤทธิ์สีต่างๆ ได้

    เมื่อมีความมั่นใจในวิชาต่างๆ แล้ว พระอาจารย์สมชายจึงเริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบต่างๆ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๖ เป็นต้นมา จนเป็นที่นิยมของศิษยานุศิษย์ ขอขอบคุณท่านเจ้าของบความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    1694422610815.jpg พระผงหลวงพ่อสุโขทัย พระประธานในโบสถ์วัดปริวาส หลวงพ่อสมชายวัดปริวาส เนื้อผงน้ำมันหลังพลอยเสกและเกษาหลวงพ่อสมชาย
    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับมี 5 องค์ครับ สวยเดิมๆ น่าบูชาครับ สวยทุกองค์เกษาเยอะมาก
    IMG_20230911_155029.jpg IMG_20230911_155049.jpg

    องค์ที่ ๒


    IMG_20230911_171434.jpg IMG_20230911_171501.jpg

    องค์ที่ ๓

    IMG_20230911_155029.jpg IMG_20230911_155049.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2023
  11. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,981
    ค่าพลัง:
    +6,889
    ขอจอง 1 องค์ครับ
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1607774998987.jpg

    หลวงปู่สำลี ปภาโส พระอริยสงฆ์ 5 แผ่นดิน เทพเจ้าแห่งผืนป่าดงพญาเย็นในตำนาน.ปฐมบท 1 ชาติภูมิกำเนิด หลวงปู่สำลี ปภาโส เกิดวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 7 ค่ำ ปี ชวด พ.ศ. 2417โยมบิดาชื่อรงค์ พื้นเพเดิมเป็นคนเมืองปราจีนบุรี เดินทางเข้าๆออกๆระหว่างไทยกับกัมพูชา สมัยก่อนนั้นประเทศกัมพูชายังมิได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ คนไทนคนกัมพูชาเข้าออกได้ ติดต่อทำมาค้าขายเพราะถือเสมือนเมืองพี่เมืองน้อง หลวงปู่เล่าว่า โยมบิดาเดินทางไปเที่ยวถึงเมืองพนมเปญ ได้พบกับโยมมารดารักไคร่และสู่ขอกัน ส่วนประเพณีก็เหมือนกับคนลาวมีการเซ่นไก่ไหว้ผี เมื่อเสร็จพิธีเซ่นไก่ไหว้ผีแล้วโยมบิดาของหลวงปู่ก็พาโยมมารดากลับมาเมืองไทยอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี หลวงปู่เกิดมาอายุได้ 4-5 ขวบ โยมบิดาก็ถึงแก่กรรม โยมมารดาของท่านจึงได้พาหลวงปู่กลับเมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา หลวงปู่เป็นกำพร้าบิดามาแต่เล็กแต่น้อย โยมมารดาก็พยายามกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูมาด้วยความทนุถนอม จนหลวงปู่อายุได้ 7-8 ขวบ โยมมารดาก็นำไปฝากกับเจ้าอาวาสวัดดาลาวัณ เพื่อให้ศึกษาหาความรู้ พอหลวงปู่อายุได้ 11 ขวบก็บวชเป็นสามเณร พอเรียนภาษาขอมได้คล่องแคล่วแล้วหลวงปู่ก็หันเข้าร่ำเรียนทางไสยเวทย์ ไสยศาสตร์ เมตตา มหา นิยม คงกระพันชาตรี เป่าเสกคาถาอาคม ผูกหุ่น กำบังกายหายตัว หมอยารักษาโรค และหมอดู พออายุของหลวงปู่ 16 ปีก็ขออนุญาตโยมมารดากลับเข้ามาเมืองไทย เพื่อสืบเสาะหาญาติข้างโยมบิดา ทางฝ่ายโยมมารดาก็อนุญาต ตอนที่ 2 เดิมทีนั้น หลวงปู่ชื่อกล่ำ ต่อมาผิวของท่านขาวผิดพ่อผิดแม่ โยมมารดาจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า สำลี เมื่อสามเณรสำลีได้รับอนุญาตจากโยมมารดาแล้ว ก็ออกเดินทางจากกรุงพนมเปญเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2433 ท่านเล่าว่าในสมัยนั้นการคมนาคมของกัมพูชายังไม่เจริญ จากกรุงพนมเปญมายังจังหวัดพระตะบองอำเถอปอยเปต ไม่มีรถยนต์ ต้องเดินบุกป่าฝ่าดง ถ้าหน้าฝนก็มีไข้ป่าชุกชุม การเดินทางลำบากมาก หลวงปู่เล่าว่า จากวัดดาลาวัณในนครพนมเปญ กว่าจะถึงอำเภอปอยเปตเขตแดนระหว่างไทยกัมพูชา นับเป็นเวลาเดือนเศษ เมื่อมาถึงปอยเปต ก็แจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่เฝ้าด่าน ผ่านข้ามสะพานคลองลึกเข้ามาด่านไทยอรัญประเทศ สมัยนั้นเข้าออกง่าย ยิ่งมาในลักษณะของชาว กัมพูชา เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยก็ไม่พิถีพิถันอะไรมากนัก สำคัญอยู่ที่ว่าภาษาพูดทำให้ลำบากใจมาก เพราะหลวงปู่ไปกับโยมมารดาตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบ จนถึงอายุ 16 ปี มีชีวิตเติบโตอยู่ในกัมพูชา แต่ท่านก็โชคดีมากได้พบกับสามเณรเชื้อชาติกัมพูขาสัญชาติไทย จึงได้ชวนมาเป็นเพื่อนเดินทางขึ้นรถไฟจากอรัญประเทศมาลงที่สถานีรถไฟปราจีนบุรี สองสามเณรหันเหไม่รู้จะไปถามใคร จึงพากันไปที่วัดแห่งหนึ่งใกล้ๆกับสถานีรถไฟ ขอพักอาศัยกับหลวงตาแก่ๆองค์หนึ่ง อยู่ที่วัดนั้นหลายวันภาษาก็ชักจะคุ้นหู หัดพูดกับเพื่อนสามเณรจากภาษากัมพูชาแปลเป็นไทย ในที่สุดหลวงปู่ก็พูดได้ สามเณรเพื่อนลากลับอรัญประเทศ หลวงปู่ยังคงอยู่ที่วัดนั้นต่อไป อาศัยว่าสามเณรสำลีมีวิชาทางพยากรณ์อยู่บ้างจึงมีญาติโยมเอื้อเอ็นดู มีประชาชนมาให้สามเณรสำลีดูโฉลกโชคชะตา สามเณรน้อยก็ทายได้อย่างแม่นยำ ในการต่อมาทำให้สามเณรสำลีรู้จักกับญาติโยมอย่างกว้างขวาง สามเณรน้อยก็พยายามสืบเสาะจนพบปู่ย่า เมื่อปู่ย่าได้ พบหลานในใส้ ต่างก็พากันร้องห่มร้องไห้ ได้ถามถึงโยมมารดา สามเณรได้เล่าให้ปู่ย่าฟังโดยตลอด ยิ่งเห็นสามเณรน้อยผู้เป็นหลานก็ทำให้ปู่ย่าคิดถึงลูกชายของแกเอง เพราะสามเณรหลานรูปร่างถอดแบบพ่อไว้ไม่มีผิด ระยะที่ท่านมาอยู่ประเทศไทยก็ไปๆมาๆอยู่เสมอ ทำให้ท่านพูดภาษาไทยได้คล่อง เมื่อพูดภาษาได้แล้ว ท่านก็เริ่มเรียนหนังสือไทย ประกอบกับหลวงปู่ท่านมีพรสวรรค์อยู่ในตัว ท่านจึงเขียนหนังสือไทยได้คล่องในระยะต่อมา ในขณะที่หลวงปู่เป็นสามเณรอยู่ในเมืองไทย ท่านได้ไปเที่ยวยังจังหวัดต่างๆ เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี อยุธยา สระบุรี และท่าน คิดจะไปอีกหลายจังหวัด แต่ขณะนั้นอายุท่านใกล้จะครบบวช ท่านจึงได้ลาปู่ย่า เดินทางกลับไปบวชในกรุงพนมเปญ อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของโยมมารดา ท่านกลับไปอยู่กรุงพนมเปญได้หนึ่งปีอายุท่านก็ครบบวชพอดี โยมมารดา-ยาย ญาติพี่น้องทางฝ่ายโยมมารดาก็พากันอนุโมทนา หลวงปู่บวชเมื่ออายุครบ 21 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2438 บวชที่วัดดาลาวัณ อยู่ที่ชานกรุงพนมเปญ ผู้เขียนเคยถามถึง พระอุปัชฌาย์ และคู่สวด หลวงปู่บอกว่า ลืมหมดแล้วมันเกือบร้อยปีมาแล้ว มีฉายาว่า “ปภาโส”
    ตอนที่ 3 ครั้นเมื่อหลวงปู่อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงปู่ก็ศึกษาธรรมวินัย อันเป็นธรรมปฏิบัติของพุทธวจนะ หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดดาลาวัณได้ 3 พรรษา ท่านก็คิดจะออกแสวงหาธรรม จึงได้ชวนสงฆ์กัมพูชาด้วยกันอีก 5 รูปด้วยกันเดินธุดงค์ จากวัดดาลาวัณ ณ เดือน 11 ขึ้น 1 ค่ำ พ.ศ. 2438 โดยเดินทางจากวัดดาลาวัณกรุงพนมเปญมาข้ามเข้าเขตประเทศไทย ทางด้านเขาพระวิหาร จังหวัดสุรินทร์ พอเข้าเขตประเทศไทย หลวงปู่กับพระสงฆ์ไทยอีก 5 รูป เลยชวนกันร่วมเดินทางไปด้วยกัน รวมเป็น 11 รูป ตกลงกันว่าจะไปไหนไปกัน โดยมีหลวงปู่สำลี ปภาโส เป็นหัวหน้าเป็นผู้นำจากเขาพระวิหารชายแดนที่พากันบุกป่าเขาลำเนาไพร ใกล้ค่ำที่ไหนก็ปักกลดที่นั่น หลวงปู่เล่าว่าเดินธุดงค์ในเมืองไทย เรายังดีในป่าในดงก็ยังมีบ้านมีช่อง เป็นระยะๆ เดินธุดงค์ในประเทศพม่าบางที 7 วันไม่เคยฉันข้าวเลยสักคำ หลวงปู่กับพระที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน ท่านอยู่ได้อย่างไร อดใจอ่านต่อไป ให้หลวงปู่ข้ามเข้าเมืองพม่าเสียก่อน แล้วท่านผู้อ่านจะทราบว่าหลวงปู่กับพระทั้ง 10 รุป ท่านมีชีวิตรอดอยู่ได้อย่างไร จากจังหวัดสุรินทร์ผ่านเข้าจังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น มาตามลำดับ ผู้เขียนถามหลวงปู่ว่า หลวงปู่ไม่พบกับพระอาจารย์ฝั้น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ดุลย์ หลวงพ่อผางบ้างหรือขอรับ พบทั้งนั้นแหละถามทำไม หลวงปู่ท่านย้อนถาม กระผมคิดว่าหลวงปู่จะไปขอเรียนวิชาจากพระเกจิอาจารย์ดังที่กล่าวบ้าง เขาเกิดทีหลังตั้งเยอะ กำลังบวชเป็นเณรบ้าง เพิ่งบวชพระใหม่ๆบ้าง มีแต่อาจารย์เหล่านั้นจะมาขอเรียนวิชาจากเรา เขาเห็นเราเป็นพระกัมพูชา แต่เราไม่มีเวลาสอนให้เขา เราจะต้องเดินให้ถึงประเทศพม่า ผู้เขียนถามต่อไปอีกว่า ในการเดินธุดงค์ของหลวงปู่ ผ่านอุปสรรคอะไรบ้างที่แปลกและมหัศจรรย์มาก อ้าว… ไม่ยักถามเมื่อก่อนเดินธุดงค์อยู่ในกัมพูชา (หลวงปู่พูด) ตอนนั้นธุดงองค์เดียว ได้ไปพบอาจารย์อายุ 100 กว่าปี อยู่ในถ้ำแขวงเมืองกำปงธบ อาจารย์ผู้เฒ่าองค์นั้นแนะนำว่า ท่านอยากจะมีอายุยืนและก็ โน่นไปบิณฑบาตทางโน้น พร้อมกับอาจารย์ผู้เฒ่าขี้มือ ไปทางทิศเหนือของประเทศ พอรุ่งขึ้นเช้าหลวงปู่สำลี ปภาโส ก็ออกไปบิณฑบาตตามทิศทางที่พระอาจารย์เฒ่าบอก หลวงปู่บอกว่า ได้พบหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีผู้คนมากพอสมควร แต่ละคนล้วนมีรูปร่างหน้าตาสวยงามทั้งนั้น แต่ไม่ยักเห็นผู้ชาย หรือเขาจะออกไปทำงานกันหมด มีผู้หญิงออกมาใส่บาตร ข้าวที่นำมาใส่บาตรเมล็ดสวยมีกลิ่นหอม กับข้าวมีเป็นของแห้งจำไม่ได้ว่าเป็นอะไร เมื่อบิณฑบาตเสร็จก็กลับไปที่ปักกลด ลงมือฉันข้าวทั้งหอมทั้งอร่อย พอรุ่งขึ้นอีกวันก็ไปบิณฑบาตร ที่เก่า แต่ปรากฏว่า หมู่บ้านที่ไปบิณฑบาตรเมื่อวันวาน ไม่มีบ้านสักหลัง ทั้งๆที่หมายตาไว้ไม่ผิดแน่นอน กลับมาหาพระอาจารย์ผู้เฒ่า เล่าเรื่องราวให้ท่านฟัง พระอาจารย์เฒ่าองค์นั้นบอกว่า นั่นแหละหมู่บ้านลับแล ใครมีบุญจริงๆ ๆจึงจะได้พบเห็น อาตมาก็ได้ฉันข้าทิพย์ของคนเมืองลับแล จึงได้มีอายุยืนมาถึงร้อยกว่าปี นี่คือข้อความที่หลวงปู่สำลี ปภาโส ได้กรุณาเล่าย้อนให้ผู้เขียนฟัง ตอนที่ 4 เรื่องราวของหลวงปู่สำลีอายุ 115 ปี ยังมีความเร้นลับน่าศึกษา และติดตามรอยเท้าของท่านต่อไป ณ ที่เขตบ้านแห่งหนึ่งท้องที่อำเภอเมืองมหาสารคาม หลวงปู่ปักกลดอยู่ 2-3 วัน ในฐานะหลวงปู่เป็นพระกัมพูชาผู้เรืองวิชา ก็ชอบที่ผู้ เรืองวิชาด้วยกันจะทดลองว่าวิชาใครจะเหนือกว่าใคร ในเช้าวันหนึ่ง เมื่อหลวงปู่กลับจากบิณฑบาตในหมู่บ้านแล้ว ได้มีผู้ที่เลื่อมใสในการบุญการกุศลได้นำเอาข้าวปลาอาหารมาถวายท่าน พระนั่งฉันวงละ 5 องค์ 1 วง วงละ 6 องค์อีก 1 วง ที่มี 6 องค์มีหลวงปู่ร่วมอยู่ด้วย ก่อนจะฉันส่งทุกองค์จะต้องถวายข้าวพระ พอถวายแล้ว มีพระองค์หนึ่งที่นั่งร่วมวง จะลงมือตักแกงเนื้อก่อน หลวงปู่ปัดมือห้ามไว้ พระร่วมวงฉันต่างก็มองหลวงปู่ หลวงปู่นั่งภาวนาคาถาอยู่ครู่หนึ่ง เอามือจับถ้วยแกงเนื้อ แกงเนื้อที่อยู่ในถ้วยก็เดือดพล่านขึ้น นายคนที่ลองวิชาของหลวงปู่ถึงกับตะลึง หลวงปู่พูดขึ้นว่า “เรามันเสือเหมือนกัน กินกันไม่ลงหรอก” นายคนที่ลองวิชาคลานเข้าไปกราบหลวงปู่ขอขมาอภัย แล้วก็พากันกลับไป ผู้เขียนถามหลวงปู่อีกว่า ในถ้วยแกงเนื้อมีอะไรขอรับ หลวงปู่บอกจะมีอะไรเสียอีกล่ะ ก็มีหนังควายทั้งแผ่นนะสิ เพราะเขาก็มีวิชาเหมือนกัน หนังควายขนาดเท่าฝ่ามือ เขามีวิชานั่งบริกรรมเป่าเสกให้หดเหลือเท่าชิ้นเนื้อแกง ถ้าใครไม่มีวิชาแก้ กินเข้าไปหนังควายก็จะคลายออกเท่าฝ่ามือเหมือนเดิม แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ตายลูกเดียว
    จากนั้นหลวงปู่ก็ได้เล่าถึงการเดินธุดงค์ของท่านต่อไป ออกจากจังหวัดมหาสารคาม เดินต่อไปทางจังหวัดขอนแก่น บางครั้งก็มีญาติโยมออกค่ารถให้บ้าง บางครั้งก็ต้องเดินป่าไปตลอด ผ่านเพชรบูรณ์ พิษณุโลก แวะเข้านมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อไปจังหวัดลำปาง เชียงใหม่ จุดหมายจะออกไปประเทศพม่า ด้านอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย เมื่อหลวงปู่สำลีกับพระที่ร่วมเดินธุดงค์อีก 10 องค์ ข้ามเข้าเขตประเทศพม่าแล้ว ก็เดินทางล่องไปทางใต้ หลวงปู่ หยุดปักกลดในเขตอำเภอเมียววดี หลวงปู่บอกว่า คนพม่าเขาก็ใจบุญ เห็นพระผ่านไปเขาก็ยกมือไหว้ พระธุดงค์ออกบิณฑบาตตามตลาดหรือตามบ้านเรือน เช้าก็จัดข้าวจะแกงมาใส่บาตร หลวงปู่ปักกลดอยู่ที่อำเภอเมียววดี 2-3 วัน ก็ออกเดินทางต่อไปยังเมืองทวาย ก่อนจะเข้าถึงเมืองทวาย ต้องผ่านภูเขาตะนาวศรี ทางข้ามเขาตะนาวศรี ลำบากมากเพราะเป็นดงหิน เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ก่อนที่หลวงปู่จะเดินทางข้ามเขตตะนาวศรี มีชาวพม่าบอกกับหลวงปู่ว่า มีทางเดียวที่จะข้ามเขาได้แต่ก็ต้องผ่านดงเสือดงช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ที่ดุร้ายมาก หลวงปู่ไม่ควรจะไป แต่หลวงปู่ก็ไม่ละความตั้งใจ คงพาพระที่ร่วมเดินทางทั้ง 10 องค์ เดินทางต่อไป และเย็นวันนั้นเอง หลวงปู่ก็ต้องปักกลดในกลางดงหิน เป็นที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับประชาชนคนธรรมดา แต่หลวงปู่เป็นพระสงฆ์ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม มีศิลาจารวัตรอันงดงาม ถ้าท่านผู้อ่านจะถามผู้เขียนว่า ศิลาจารวัตร และเมตตาธรรมจะหยุดยั้งความดุร้ายของเสือช้างได้ลงหรือ ท่านผู้อ่านครับ ถ้าท่านจะถามผู้เขียนอย่างนั้นก็ถามได้ตามสิทธิของท่าน แต่ท่านผู้อ่านอย่าลืมว่า หลวงปู่สำลี ปภาโส สัญชาติไทยแต่เชื้อสายกัมพูชาคงจะต้องมีวิชาพอตัว ไม่แค่นั้นคงไม่อาจหาญ บุกบั้นเข้าสู่ดงเสือดงช้างเป็นแน่ พอตะวันตกดินได้สักครู่ หลวงปู่ก็เสกก้อนดินเข้า 8 ก้อน พอเสกแล้วหลวงปู่ก็โยนไปทิศละก้อน แล้วก็บอกกับพระทั้งหมดว่า ถ้าท่านได้ยินเสียงอะไรก็ตาม อย่าได้ตกอกตกใจ และอย่าออกจากกลดโดยเด็ดขาด พระสงฆ์ทั้งหมดเข้ากลดสวดมนต์ แต่ก็ไม่วายที่จะระแวงภัย บางองค์ก็ผล็อยหลับไปเพราะความเพลีย บางองค์ก็ไม่ยอมหลับนั่งอยู่แต่ในกลด หูก็คอยสดับรับรู้ว่าจะมีอะไรผิดปกติ เวลาสาม ล่วงเข้ายามสองเห็นจะได้ สิ่งที่พม่าชาวป่าเตือนหลวงปู่ไม่ให้ผ่านเข้าไปปักกลด ก็ได้ปรากฏขึ้นทั้ง 4 ด้าน ได้ส่งเสียงร้องคำรณคำรามอย่างกึกก้อง มันเป็นเสียงของเจ้าป่า ทำให้พระที่อยู่ในกลดตลกตกใจแทบจะเผ่นไปหาหลวงปู่ แต่ก็ยังทำจำคำของหลวงปู่ได้ว่า ถ้ามีเสียงอะไรเกิดขึ้นก็ให้อยู่แต่ในกลด ส่วนหลวงปู่สำลีนั้น ท่านก็นั่งบริกรรมพระคาถาอยู่ในกลด เจ้าเสือโคร่ง 3-4 ตัว ก็เดินวนเวียนอยู่นอกเขตที่หลวงปู่โยนก้อนดินเสกทั้ง 8 ทิศ เจ้าเสือบางตัวก็ทำท่าจะกระโจนเข้า แต่ก็ต้องผงะออกไปเหมือนมีอะไรขวางกั้น เจ้าเสือร้าย 3-4 ตัว เดินวนเวียนอยู่ช่วงหุงข้าวหม้อสุก แล้วมันก็กระโจนเข้าป่าหายตัวไป ตอนที่ 5 พอรุ่งเช้า หลวงปู่ก็สั่งพระทั้งหมดเก็บกลดออกเดินทางต่อไป โดยไม่พูดจาอะไรทั้งสิ้น มุ่งหน้าเดินทางเข้าสู่เมืองทวาย จากเทือกเขาตะนาวศรีเดินบุกป่า ผ่านถ้ำผ่านเหว ครบ 7 วันจึงบรรลุถึงเมืองทวาย มีเจ้าหน้าที่ของเมืองพม่าเข้ามาไต่ถาม หลวงปู่ก็แจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
    ขอขอบคุณบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จหลวงปู่สำลีวัดซับบอนให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20230914_171310.jpg IMG_20230914_171333.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2023
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    10608490.jpg

    หลวงปู่เปลื้อง ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรบริสุทธิ์งดงามองค์หนึ่ง แห่งจังหวัดพัทลุง
    ท่านเป็นพระที่สงบเสงี่ยม รักสันโดษ ภาวนาอยู่เป็นนิจ ไม่ชอบเข้าหมู่พลุกพล่าน จิตใจท่านนั้น ทรงไว้ด้วยพรหมวิหารธรรมเสมอ
    หลวงปู่เปลื้อง ท่านบวชเข้ามาในบวรพุทธศาสนา เมื่ออายุมากแล้วก็จริง แต่สมัยเป็นฆราวาส ท่านได้สร้างศีล ๘ รักษาสัจจะวาจา คือพูดจริง ทําจริง เป็นปีๆ เพื่อพิสูจน์จิตใจของท่าน ซึ่งท่านหลวงปู่เปลื้องกล่าวว่า..
    ในครั้งแรกๆ นี้ มันไม่ใช่ของง่าย แต่ก็ถือหลักที่ว่า เกิดมาเป็นคนในชาติหนึ่งและได้พบพระพุทธศาสนา อันวิเศษเลิศล้ำในโลก เมื่อจะทําความดีสู้กิเลส ที่มันคอยดึงลงไม่ได้ ก็ขอให้มันตายไปเสียเลย เพราะเสียชาติเกิด สู้สัตว์เดรัจฉานไม่ได้ เพราะดูวัว-ควาย ที่เป็นสัตว์อันต่ำต้อย ขณะมันมีชีวิตอยู่ มันยังรู้จักทํางาน เมื่อมันตายไปแล้ว ยังเอาเนื้อ กระดูก หนัง มาทําประโยชน์ได้สารพัดประโยชน์
    แต่คนเรา ขณะมีชีวิตอยู่ ทําความดีก็ไม่ได้ ตายไปเขาก็นำไปฝังหรือเผาทิ้ง หมดคุณค่า น่าสงสาร
    หลวงปู่เปลื้อง ท่านมีความมานะพยายามในการปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา เคร่งครัดต่อข้อวัตรปฏิบัติ และพยายามรักษาพระธรรมวินัย อย่างชนิดเอาชีวิตเป็น ประกัน เดิมพันเปลี่ยนจิตใจ เพื่อแลกกับความดีและมีความมั่นใจว่า ขอเกิดในชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ท่านหวังการหลุดพ้นจากอวิชชา
    อวิชชา ความโง่เขลาเบาปัญญา ปิดทางคุณงามความดี มันทําให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย หาความสิ้นสุดลงได้ไม่ เหมือนกับเส้นโซ่ไม่มีปลาย เวียนวนชาติภพอยู่ หารู้หนทาง ดังนั้น เมื่อเรารู้ว่าโลกมันเป็นอย่างนี้ ทําไฉนจึงจะตัดโซ่นั้นได้
    ความจริงข้อนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนอยู่แล้ว แม้ผู้ที่มีสติปัญญา ได้ออกศึกษาหาทางตัดโลกตัดภพ ก็ต้องสละกาย วาจา ใจ ออกบําเพ็ญเพียร มุ่งหาทางหลุดพ้นเสียซึ่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ด้วยปัญญาบารมีธรรมดังนี้
    หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ตรงกับ วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๔๗ ณ อําเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง
    ภายหลังโยมบิดาของท่าน ได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านโตนด ตําบลนาปะขอ อําเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ต่อมาโยมบิดาของท่านเสียชีวิตลง ท่านได้อยู่ช่วยมารดาทําการงานทุกอย่าง ประกอบด้วยท่านเป็นคนขี้โรค เจ็บป่วยบ่อยที่สุด แต่น่าอัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่งคือ..
    เวลาท่านป่วย จะมีเทวดา (ผู้ไม่ปรากฏนามมาเข้าฝัน) ในความฝันนั้น ท่านบอกตัวยาให้ เมื่อเทวดาบอกยา แล้วทํายาที่เทวดาบอกให้กิน ก็หายจากเจ็บป่วย
    ความทุกข์ยากของมนุษย์ ย่อมมีด้วยกันทุกรูป-นาม แต่ความทุกข์นั้น อาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นชื่อว่า “ทุกข์” คําเดียวกัน ไม่ผิดจากนี้เลย…
    ต่อมาอายุได้ ๑๘ ปี มารดาได้นําไปฝากวัด เพื่อขอบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโตนด อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
    ในพรรษาที่เป็นสามเณร ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย หาความรู้ สู้จิตใจตนเอง แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก
    ต่อมาอายุ ๒๐ ปี ท่านจึงเข้าอุปสมบทต่อไป เพราะการศึกษาที่ตนมีอยู่ ยังไม่เข้าใจดีนัก จึงขอบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ เรียนวิชาต่อให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
    ท่านได้อุปสมบท ณ วัดโตนด แห่งเดิม คราวนี้ท่านบวชอยู่ ๒ พรรษา แล้วได้ลาสึกออกมาใช้ชีวิตฆราวาส ท่านได้แต่งงานมีครอบครัว มีบุตร ๕ คน
    แต่การเป็นฆราวาสของท่านนั้น ได้รักษาศีล ๘ อยู่เสมอๆ ท่านมองเห็นชีวิตฆราวาส น่าเบื่อหน่าย ไม่มีแก่นสารอันใดเลย มองดูแล้วล้วนแต่มีทุกข์ภัย วน ตายวนเกิดอยู่ ไม่รู้ทาง ท่านจึง เห็นความไม่แน่นอนนี้ นํามาพิจารณาด้วยสติปัญญา
    ในที่สุด ท่านได้สละชีวิตฆราวาสและครอบครัว ออกบวชอีกครั้งเป็นครั้งที่ ๒ เมื่ออายุ ท่านได้ ๖๐ ปี (ท่านบวชเมื่อแก่เฒ่า) ตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๖
    ณ พัทธสีมาวัดท่ามะเดื่อ ทั้งนี้ท่านได้รับความเมตตา จากท่านเจ้าคุณพระพิศิษฐธรรมภาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูอดิสัยศีลวัฒน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปญฺญวนฺโต”บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านได้ดําเนินจิต บําเพ็ญเพียรสมณธรรม ถือธุดงควัตร ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนั้นมา คือ ท่านถืออิริยาบถ ๓ ตลอดชีวิต เช่น ยืน เดิน นั่ง ข้อวัตรพิเศษ ที่ท่านดําเนินมา ด้วยความมานะพยายามยิ่ง คือ ไม่นอน “เนสัชชิก” ตั้งแต่วันเริ่มบวช จนกระทั่งมรณภาพ
    หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต ท่านบวชเข้ามาโดยถือปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดเฉพาะ คือ ถือ ธุดงควัตร ๖ ข้อ
    ๑. ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๒. ฉันหนเดียวเป็นวัตร
    ๓. ฉันในบาตรเป็นวัตร
    ๔. ห้ามภัตอันนํามาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร
    ๕. การอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร
    ๖. การนั่งเป็นวัตร คือ ไม่ นอนเลย ไม่ว่ากลางวัน หรือกลางคืน
    นอกจากนั้นถือโดยปกติ หลวงปู่เปลื้อง ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติ ที่ไม่ยอมอยู่นิ่ง ท่านออกเดินธุดงค์ไปในถิ่นต่างๆ ทุกภาคในเมืองไทย และได้เข้านมัสการครูบาอาจารย์ ที่เลิศล้ำด้วยคุณธรรมต่าง ๆ ในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อยู่เสมอๆ อาทิเช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี , หลวงปู่หลุย จันทสาโร , หลวงปู่หล้า เขมปัตโต , หลวงปู่สิม พุทธาจาโร เป็นต้น
    ◎ เมื่อหลวงปู่หลุยนิมิตเห็นหลวงปู่เปลื้อง
    หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้รับกิจนิมนต์เกิดทางไปปักษ์ใต้พันที่วัดปะกิม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้นิมิตเห็นหลวงปู่เปลื้องฯ ได้บอกให้ญาติโยมไปตามหาหลวงปู่ “พระไม่นอน” ให้ได้ถ้าไม่ได้พบ ท่านจะไม่กลับกรุงเทพฯ พวกญาติโยมไม่มีใครรู้จักหลวงปู่สักคน เที่ยวสืบถามก็ได้ทราบว่าพระไม่นอน คือหลวงปู่เปลื้อง ซึ่งหลวงปู่ก็ได้รับกิจนิมนต์ไปพักที่วัดปะกิมเหมือนกัน หลวงปู่หลุย จึงได้พบกับหลวงปู่ตามที่ต้องการเมื่อนางศิริพร ลูกสาวคนโตของหลวงปู่ตามไปใส่บาตรถวายอาหารที่หลวงปู่สัปปายะ มีข้าวกล้อง ผักผลไม้ ดอกไม้กินได้ หลวงปู่ได้บอกให้นางศิริพร ไปกราบนมัสการหลวงปู่หลุย หลวงปู่หลุยบอกว่า มีบุญที่ได้เกิดเป็นลูกสาวหลวงปู่เปลื้อง ต่อมาทั้งสององค์ได้รับกิจนิมนต์ให้ไปพักที่วัดควนเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา หลวงปู่หลุยได้ขอทดสอบหลวงปู่ ๓ คืน กลางคืนหลวงปู่หลุยพักอยู่ห้องหนึ่ง หลวงปู่แยกพักอยู่อีกห้องหนึ่งหลังจากนั้นหลวงปู่หลุยบอกหลวงปู่ว่า “หลวงปู่เป็นทหารเอกของพระพุทธเจ้า” สัจจะแรง ชาติก่อนเป็นฤาษี เกศาศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่บอกว่า “เกศาศักดิ์สิทธิ์จริงไม่จริงไม่รู้แต่สัจจะแรงจริง และขอบฉันพืช ผัก ผลไม้ และเป็นคนพูดจริงทำจริงมาตั้งแต่เด็กๆ
    logo
    ประวัติพระเกจิ
    พระธาตุศักดิ์สิทธิ์
    พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
    ปาฏิหาริย์พระเครื่อง
    ฆราวาสจอมขมังเวทย์
    ธรรมะพระอริยสงฆ์
    วัดที่สําคัญ
    ค้นหา
    หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต วัดบางแก้วผดุงธรรม อ.บางแก้ว จ.พัทลุง
    ประวัติพระเกจิ
    29 ธ.ค. 2020 7227
    share tweet share
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต
    วัดบางแก้วผดุงธรรม
    อ.บางแก้ว จ.พัทลุง
    พระครูวิจิตรกิตติคุณ (หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต) วัดบางแก้วผดุงธรรม
    พระครูวิจิตรกิตติคุณ (หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต) วัดบางแก้วผดุงธรรม
    หลวงปู่เปลื้อง ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรบริสุทธิ์งดงามองค์หนึ่ง แห่งจังหวัดพัทลุง
    ท่านเป็นพระที่สงบเสงี่ยม รักสันโดษ ภาวนาอยู่เป็นนิจ ไม่ชอบเข้าหมู่พลุกพล่าน จิตใจท่านนั้น ทรงไว้ด้วยพรหมวิหารธรรมเสมอ
    หลวงปู่เปลื้อง ท่านบวชเข้ามาในบวรพุทธศาสนา เมื่ออายุมากแล้วก็จริง แต่สมัยเป็นฆราวาส ท่านได้สร้างศีล ๘ รักษาสัจจะวาจา คือพูดจริง ทําจริง เป็นปีๆ เพื่อพิสูจน์จิตใจของท่าน ซึ่งท่านหลวงปู่เปลื้องกล่าวว่า..
    ในครั้งแรกๆ นี้ มันไม่ใช่ของง่าย แต่ก็ถือหลักที่ว่า เกิดมาเป็นคนในชาติหนึ่งและได้พบพระพุทธศาสนา อันวิเศษเลิศล้ำในโลก เมื่อจะทําความดีสู้กิเลส ที่มันคอยดึงลงไม่ได้ ก็ขอให้มันตายไปเสียเลย เพราะเสียชาติเกิด สู้สัตว์เดรัจฉานไม่ได้ เพราะดูวัว-ควาย ที่เป็นสัตว์อันต่ำต้อย ขณะมันมีชีวิตอยู่ มันยังรู้จักทํางาน เมื่อมันตายไปแล้ว ยังเอาเนื้อ กระดูก หนัง มาทําประโยชน์ได้สารพัดประโยชน์
    แต่คนเรา ขณะมีชีวิตอยู่ ทําความดีก็ไม่ได้ ตายไปเขาก็นำไปฝังหรือเผาทิ้ง หมดคุณค่า น่าสงสาร
    หลวงปู่เปลื้อง ท่านมีความมานะพยายามในการปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา เคร่งครัดต่อข้อวัตรปฏิบัติ และพยายามรักษาพระธรรมวินัย อย่างชนิดเอาชีวิตเป็น ประกัน เดิมพันเปลี่ยนจิตใจ เพื่อแลกกับความดีและมีความมั่นใจว่า ขอเกิดในชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ท่านหวังการหลุดพ้นจากอวิชชา
    อวิชชา ความโง่เขลาเบาปัญญา ปิดทางคุณงามความดี มันทําให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย หาความสิ้นสุดลงได้ไม่ เหมือนกับเส้นโซ่ไม่มีปลาย เวียนวนชาติภพอยู่ หารู้หนทาง ดังนั้น เมื่อเรารู้ว่าโลกมันเป็นอย่างนี้ ทําไฉนจึงจะตัดโซ่นั้นได้
    ความจริงข้อนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนอยู่แล้ว แม้ผู้ที่มีสติปัญญา ได้ออกศึกษาหาทางตัดโลกตัดภพ ก็ต้องสละกาย วาจา ใจ ออกบําเพ็ญเพียร มุ่งหาทางหลุดพ้นเสียซึ่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ด้วยปัญญาบารมีธรรมดังนี้
    หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ตรงกับ วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๔๗ ณ อําเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง
    ภายหลังโยมบิดาของท่าน ได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านโตนด ตําบลนาปะขอ อําเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ต่อมาโยมบิดาของท่านเสียชีวิตลง ท่านได้อยู่ช่วยมารดาทําการงานทุกอย่าง ประกอบด้วยท่านเป็นคนขี้โรค เจ็บป่วยบ่อยที่สุด แต่น่าอัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่งคือ..
    เวลาท่านป่วย จะมีเทวดา (ผู้ไม่ปรากฏนามมาเข้าฝัน) ในความฝันนั้น ท่านบอกตัวยาให้ เมื่อเทวดาบอกยา แล้วทํายาที่เทวดาบอกให้กิน ก็หายจากเจ็บป่วย
    ความทุกข์ยากของมนุษย์ ย่อมมีด้วยกันทุกรูป-นาม แต่ความทุกข์นั้น อาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นชื่อว่า “ทุกข์” คําเดียวกัน ไม่ผิดจากนี้เลย…
    ต่อมาอายุได้ ๑๘ ปี มารดาได้นําไปฝากวัด เพื่อขอบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโตนด อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
    ในพรรษาที่เป็นสามเณร ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย หาความรู้ สู้จิตใจตนเอง แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก
    ต่อมาอายุ ๒๐ ปี ท่านจึงเข้าอุปสมบทต่อไป เพราะการศึกษาที่ตนมีอยู่ ยังไม่เข้าใจดีนัก จึงขอบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ เรียนวิชาต่อให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
    ท่านได้อุปสมบท ณ วัดโตนด แห่งเดิม คราวนี้ท่านบวชอยู่ ๒ พรรษา แล้วได้ลาสึกออกมาใช้ชีวิตฆราวาส ท่านได้แต่งงานมีครอบครัว มีบุตร ๕ คน
    แต่การเป็นฆราวาสของท่านนั้น ได้รักษาศีล ๘ อยู่เสมอๆ ท่านมองเห็นชีวิตฆราวาส น่าเบื่อหน่าย ไม่มีแก่นสารอันใดเลย มองดูแล้วล้วนแต่มีทุกข์ภัย วน ตายวนเกิดอยู่ ไม่รู้ทาง ท่านจึง เห็นความไม่แน่นอนนี้ นํามาพิจารณาด้วยสติปัญญา
    ในที่สุด ท่านได้สละชีวิตฆราวาสและครอบครัว ออกบวชอีกครั้งเป็นครั้งที่ ๒ เมื่ออายุ ท่านได้ ๖๐ ปี (ท่านบวชเมื่อแก่เฒ่า) ตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๖
    ณ พัทธสีมาวัดท่ามะเดื่อ ทั้งนี้ท่านได้รับความเมตตา จากท่านเจ้าคุณพระพิศิษฐธรรมภาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูอดิสัยศีลวัฒน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปญฺญวนฺโต”
    พระครูวิจิตรกิตติคุณ (หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต) วัดบางแก้วผดุงธรรม
    พระครูวิจิตรกิตติคุณ (หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต) วัดบางแก้วผดุงธรรม
    บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านได้ดําเนินจิต บําเพ็ญเพียรสมณธรรม ถือธุดงควัตร ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนั้นมา คือ ท่านถืออิริยาบถ ๓ ตลอดชีวิต เช่น ยืน เดิน นั่ง ข้อวัตรพิเศษ ที่ท่านดําเนินมา ด้วยความมานะพยายามยิ่ง คือ ไม่นอน “เนสัชชิก” ตั้งแต่วันเริ่มบวช จนกระทั่งมรณภาพ
    หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต ท่านบวชเข้ามาโดยถือปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดเฉพาะ คือ ถือ ธุดงควัตร ๖ ข้อ
    ๑. ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๒. ฉันหนเดียวเป็นวัตร
    ๓. ฉันในบาตรเป็นวัตร
    ๔. ห้ามภัตอันนํามาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร
    ๕. การอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร
    ๖. การนั่งเป็นวัตร คือ ไม่ นอนเลย ไม่ว่ากลางวัน หรือกลางคืน
    พระครูวิจิตรกิตติคุณ (หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต) วัดบางแก้วผดุงธรรม
    พระครูวิจิตรกิตติคุณ (หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต) วัดบางแก้วผดุงธรรม
    นอกจากนั้นถือโดยปกติ หลวงปู่เปลื้อง ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติ ที่ไม่ยอมอยู่นิ่ง ท่านออกเดินธุดงค์ไปในถิ่นต่างๆ ทุกภาคในเมืองไทย และได้เข้านมัสการครูบาอาจารย์ ที่เลิศล้ำด้วยคุณธรรมต่าง ๆ ในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    การปฏิบัติธรรม ท่านถือเนสัชชิก ไม่นอนเลย ท่านสามารถ เอาชนะความง่วงได้
    หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต ท่านเล่าว่า “เป็นปกติเสียแล้ว ไม่ง่วง ไม่เมื่อย ไม่ปวดอันใด”
    หลวงปู่เปลื้อง ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์แท้องค์หนึ่ง และยากจนที่สุด คือไม่มีสมบัติเงินทองเกินหนึ่งบาท นอกจากสมบัติ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติอนุญาตให้ คือ ผ้าสามผืน บาตร กลด และบริขารที่จําเป็นเล็กน้อย ใส่ไว้ในบาตร เที่ยวเดินธุดงค์ มุ่งแสวงหาความเป็นจริงในธรรมะ เพื่อดําเนินจิตเข้าสู่แดนเกษม
    ปัจจุบัน หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต วัดบางแก้วผดุงธรรม อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ รวมอายุได้ ๙๔ ปี พรรษา ๓๔
    ◎ โอวาทธรรม หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต
    “..ชีวิต ที่ดีงาม ตามคำสอน
    จงสังวร ระวังจิต ไม่ผิดศีล
    ถือขันติ โสรัจจะ เป็นอาจิณ
    หมดราคิน ความราคี มีราคา..”
    “..ง่ายที่สุด การปฏิบัติธรรม
    ยากที่สุด การเอากิเลสออก..”
    “..ชาวโลกนั้น “โลภ” ชาวธรรมนั้น “ละ” อะไรจะเขียนให้เป็นพระขึ้นมาได้ ถ้าไม่มี พ (พอ) กับ ระ (ละ) ถ้าเรายังไม่ “พอ” มันก็ยังไม่ “ละ” ฉะนั้นพระจะต้อง “พอ” ต้อง “ละ” ..”
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงปู่เปลื้องสร้างที่ว่าการอำเภอ สวยเดิมๆผิวรุ้ง
    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20230914_174033.jpg IMG_20230914_174054.jpg IMG_20230914_175131.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2023
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    c_oc=AQmdo0k1MtSJlqA81l3XrbwrdG8yrmW_8uZWOLOIET5zhxQFaj6r8kSdVlIzhRKKJCQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ในชาติที่ท่านเกิดเป็นฤาษี ที่เมืองยอน ประเทศพม่า หลวงปู่ชอบ

    ท่านบอกภัทรกัปป์หน้าจะมีพระพุทธเจ้า ๑๐ พระองค์ หลวงพ่อไพบูลย์ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๘ ในภัทรกัปป์หน้า”
    น้อมกราบบูชา และขอโมทนาบุญบารมี แห่งท่านพ่อไพบูลย์ ด้วยเศียรเกล้าครับ.. สาธุ ๆ

    ที่มา FB: เพจ หลวงปู่แว่น ธนปาโล- ลูกศิษย์
    เหรียญ พระพุทธหลังปู่ชีวก พระนางพญา หลวงพ่อไพบูลย์ ให้บูชา 2 องค์ 200 บาท ค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20230914_175857.jpg IMG_20230914_175918.jpg IMG_20230914_175942.jpg IMG_20230914_180023.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2023
  15. chomkamon

    chomkamon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    405
    ค่าพลัง:
    +357
    จองครับ
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    วันนี้ จัดส่ง
    1694760151967.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    _10_952.jpg

    พระสมเด็จนาคปรกหลังรูปเหมือนหลวงปู่บุดดา ปิดทองเดิมจากวัด และพระผงรูปเหมือนหลวงปู่บุดดา
    ให้บูชา 2 องค์คู่กัน ค่าจะส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20230915_172719.jpg IMG_20230915_172537.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2024
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    หลวงพ่อถม-ธัมมทีโป.jpg

    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี – พระครูโสภณธรรมรัต หรือ หลวงพ่อถม ธัมมทีโป อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี พระเถระนักพัฒนาชื่อดังในอดีต ที่ชาวลพบุรีต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธา
    มีนามเดิมว่า ถม สงวนวงษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด เวลาประมาณ 04.00 น. ที่บ้านโพธิ์ผีไห้ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี บิดาเป็นกำนัน ชื่อ นายลอย สงวนวงษ์ และมารดาชื่อ เนย ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา
    เริ่มการศึกษาครั้งแรกกับโยมบิดาตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ ต่อมาใน พ.ศ.2462 บิดาได้นำตัวมาฝากไว้กับอา ชื่อ สามเณรแถม ที่วัดเชิงท่า

    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    คอลัมน์พระเครื่อง

    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    28 ส.ค. 2562
    -
    11:12 น.
    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี – พระครูโสภณธรรมรัต หรือ หลวงพ่อถม ธัมมทีโป อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี พระเถระนักพัฒนาชื่อดังในอดีต ที่ชาวลพบุรีต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธา
    มีนามเดิมว่า ถม สงวนวงษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด เวลาประมาณ 04.00 น. ที่บ้านโพธิ์ผีไห้ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี บิดาเป็นกำนัน ชื่อ นายลอย สงวนวงษ์ และมารดาชื่อ เนย ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา
    เริ่มการศึกษาครั้งแรกกับโยมบิดาตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ ต่อมาใน พ.ศ.2462 บิดาได้นำตัวมาฝากไว้กับอา ชื่อ สามเณรแถม ที่วัดเชิงท่า
    เรียนหนังสือแบบเรียนเร็ว หนังสือมูลบทบรรพกิจ รวมทั้งหัดอ่านตัวขอมจากหนังสือพระมาลัย
    จนถึง พ.ศ.2464 บิดานำตัวไปฝากเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี ในครั้งนั้นอยู่ ที่บ้านวิชาเยนทร์ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
    พ.ศ.2465 ย้ายไปอยู่กับพระครูธรรมรักขิต ผู้เป็นอาที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ได้ศึกษาที่โรงเรียนของวัดสุทัศน์ จนจบชั้นประถมศึกษา และจบประถมช่างไม้ จากนั้นเรียนภาษาบาลีเพิ่มเติม พออายุ 15 ปี ตรงกับ พ.ศ.2470 กลับบ้านมาช่วยครอบครัวทำนา
    จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทตามประเพณีไทย ที่พัทธสีมาวัดโคกหม้อ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 15 ก.ค.2475 โดยมีพระครูโวทานสมณคุต ผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดกวิศรารามฯ เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า และเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการบุญ เจ้าอาวาสโคกหม้อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ฉาย วัดเชิงท่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    พ.ศ.2479 ย้ายมาอยู่วัดเชิงท่า เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ด้วยความมุ่งมั่น พ.ศ.2481 สอบได้นักธรรม
    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2482 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า พ.ศ.2504 เป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า
    พ.ศ.2505 เป็นเจ้าคณะตำบลพรหมาสตร์และตำบลบางขันหมาก จ.ลพบุรี พ.ศ.2508 เป็นพระธรรมทูตของกองอำนวยการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลลพบุรี
    พ.ศ.2516 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2519 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี
    พ.ศ.2543 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี
    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2493 เป็นพระครูใบฎีกา ตำแหน่งฐานานุกรมของพระกิตติญาณมุนี (พระพุทธวรญาณ)
    พ.ศ.2513 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูโสภณธรรมรัต พ.ศ.2525 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    มีบทบาทในการทำนุส่งเสริมพระพุทธศาสนา เป็นครูสอน พระปริยัติธรรม ณ สำนักวัดเชิงท่า ตั้งแต่ พ.ศ.2482 จนถึง พ.ศ.2535 ได้นิพนธ์งานส่งเสริมศีลธรรมอันดีตามหลักพระพุทธศาสนาให้กับปวงชน และพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ
    ยังมีหน้าที่บริหารคณะสงฆ์อำเภอเมืองลพบุรี รวมทั้งได้อบรมพระภิกษุสามเณรร่วมกับเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรีเป็นประจำ
    จัดสร้างพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ เพื่อรวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุอันมีค่า ในการศึกษามรดกวัฒนธรรมไทยให้ได้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ
    เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2545 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรวบรวมสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่งในศิลปวัฒนธรรม
    ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็น “ปูชนียบุคคล” ของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพราะท่านมีความเป็นอยู่ด้วยความสงบ ตามสมณวิสัย ซึ่งหาได้อย่างยากยิ่งในปัจจุบัน
    ต่อมาย้ายมาอยู่วัดเชิงท่าตั้งแต่ พ.ศ.2479 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2504
    วันที่ 14 ก.พ.2552 หลวงพ่อถม ล้มป่วยอาพาธด้วยโรคชรา และโรคไต คณะศิษยานุศิษย์นำตัวหลวงพ่อถม ส่งโรงพยาบาลเมืองนารายณ์ ให้แพทย์วินิจฉัยทำการรักษา จนถึงวันที่ 9 มี.ค.2552 ได้ย้ายมารักษาต่อที่โรงพยาบาลลพบุรี
    กระทั่งเมื่อเวลา 15.07 น. วันที่ 15 มี.ค.2552 มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุ 9
    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี – พระครูโสภณธรรมรัต หรือ หลวงพ่อถม ธัมมทีโป อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี พระเถระนักพัฒนาชื่อดังในอดีต ที่ชาวลพบุรีต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธา
    มีนามเดิมว่า ถม สงวนวงษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด เวลาประมาณ 04.00 น. ที่บ้านโพธิ์ผีไห้ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี บิดาเป็นกำนัน ชื่อ นายลอย สงวนวงษ์ และมารดาชื่อ เนย ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา
    เริ่มการศึกษาครั้งแรกกับโยมบิดาตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ ต่อมาใน พ.ศ.2462 บิดาได้นำตัวมาฝากไว้กับอา ชื่อ สามเณรแถม ที่วัดเชิงท่า

    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    คอลัมน์พระเครื่อง

    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    28 ส.ค. 2562
    -
    11:12 น.
    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
    หลวงพ่อถม ธัมมทีโป วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี – พระครูโสภณธรรมรัต หรือ หลวงพ่อถม ธัมมทีโป อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี พระเถระนักพัฒนาชื่อดังในอดีต ที่ชาวลพบุรีต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธา
    มีนามเดิมว่า ถม สงวนวงษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด เวลาประมาณ 04.00 น. ที่บ้านโพธิ์ผีไห้ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี บิดาเป็นกำนัน ชื่อ นายลอย สงวนวงษ์ และมารดาชื่อ เนย ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา
    เริ่มการศึกษาครั้งแรกกับโยมบิดาตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ ต่อมาใน พ.ศ.2462 บิดาได้นำตัวมาฝากไว้กับอา ชื่อ สามเณรแถม ที่วัดเชิงท่า
    เรียนหนังสือแบบเรียนเร็ว หนังสือมูลบทบรรพกิจ รวมทั้งหัดอ่านตัวขอมจากหนังสือพระมาลัย
    จนถึง พ.ศ.2464 บิดานำตัวไปฝากเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี ในครั้งนั้นอยู่ ที่บ้านวิชาเยนทร์ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
    พ.ศ.2465 ย้ายไปอยู่กับพระครูธรรมรักขิต ผู้เป็นอาที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ได้ศึกษาที่โรงเรียนของวัดสุทัศน์ จนจบชั้นประถมศึกษา และจบประถมช่างไม้ จากนั้นเรียนภาษาบาลีเพิ่มเติม พออายุ 15 ปี ตรงกับ พ.ศ.2470 กลับบ้านมาช่วยครอบครัวทำนา
    จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทตามประเพณีไทย ที่พัทธสีมาวัดโคกหม้อ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 15 ก.ค.2475 โดยมีพระครูโวทานสมณคุต ผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดกวิศรารามฯ เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า และเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการบุญ เจ้าอาวาสโคกหม้อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ฉาย วัดเชิงท่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    พ.ศ.2479 ย้ายมาอยู่วัดเชิงท่า เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ด้วยความมุ่งมั่น พ.ศ.2481 สอบได้นักธรรม
    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2482 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า พ.ศ.2504 เป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า
    พ.ศ.2505 เป็นเจ้าคณะตำบลพรหมาสตร์และตำบลบางขันหมาก จ.ลพบุรี พ.ศ.2508 เป็นพระธรรมทูตของกองอำนวยการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลลพบุรี
    พ.ศ.2516 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2519 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี
    พ.ศ.2543 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี
    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2493 เป็นพระครูใบฎีกา ตำแหน่งฐานานุกรมของพระกิตติญาณมุนี (พระพุทธวรญาณ)
    พ.ศ.2513 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูโสภณธรรมรัต พ.ศ.2525 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    มีบทบาทในการทำนุส่งเสริมพระพุทธศาสนา เป็นครูสอน พระปริยัติธรรม ณ สำนักวัดเชิงท่า ตั้งแต่ พ.ศ.2482 จนถึง พ.ศ.2535 ได้นิพนธ์งานส่งเสริมศีลธรรมอันดีตามหลักพระพุทธศาสนาให้กับปวงชน และพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ
    ยังมีหน้าที่บริหารคณะสงฆ์อำเภอเมืองลพบุรี รวมทั้งได้อบรมพระภิกษุสามเณรร่วมกับเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรีเป็นประจำ
    จัดสร้างพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ เพื่อรวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุอันมีค่า ในการศึกษามรดกวัฒนธรรมไทยให้ได้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ
    เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2545 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรวบรวมสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่งในศิลปวัฒนธรรม
    ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็น “ปูชนียบุคคล” ของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพราะท่านมีความเป็นอยู่ด้วยความสงบ ตามสมณวิสัย ซึ่งหาได้อย่างยากยิ่งในปัจจุบัน
    ต่อมาย้ายมาอยู่วัดเชิงท่าตั้งแต่ พ.ศ.2479 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2504
    วันที่ 14 ก.พ.2552 หลวงพ่อถม ล้มป่วยอาพาธด้วยโรคชรา และโรคไต คณะศิษยานุศิษย์นำตัวหลวงพ่อถม ส่งโรงพยาบาลเมืองนารายณ์ ให้แพทย์วินิจฉัยทำการรักษา จนถึงวันที่ 9 มี.ค.2552 ได้ย้ายมารักษาต่อที่โรงพยาบาลลพบุรี
    กระทั่งเมื่อเวลา 15.07 น. วันที่ 15 มี.ค.2552 มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุ 96 ปี พรรษา 77
    ครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ข่าวสด
    พระพิมพ์หลวงพ่อโตบางกระทิงเนื้อดินเผาหลวงปู่ถมวัดเชิงท่าให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20230915_181035.jpg IMG_20230915_181057.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2023
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    index.jpeg

    ประวัติวัดสนามชัย
    เรื่องราววัดสนามชัยในครั้งก่อน คนเก่าเล่าไว้ไม่แน่นอน จะตัดตอนเสริมต่อพอเข้าใจ
    วัดสนามชัยเป็นวัดเก่าแก่พอสมควรมีพระนอน ปางไสยาสน์ เก่าแก่อยู่กลางแจ้ง 1 องค์ ไม่มีมณฑปครอบ คำว่า สนามชัย คงหมายถึง สนามแข่งขันในสมัยก่อนนานมาแล้ว วัดสนามชัย ยังมีอีกวัดหนึ่ง เป็นวัดที่ สุรพล สมบัติเจริญนำไปร้องเพลง วัดสนามชัยนี้อยู่ห่างที่วัดหลวงพ่อกวย ประมาณ 5 กิโลเมตร ปัจจุบันรอบๆ วัด ชาวบ้านจะมีอาชีพทำนาและทำสวนส้มขาวแตงกวา ที่มีรสหวานยิ่งนัก สรุปคือไม่ได้ที่มาที่ไปที่แน่นอนจากคนเก่าเลย ประกอบกับในสมัยของท่าน ในสรรคบุรีมีเกจีอาจารย์ถึง 2 รูป คือ หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ กับหลวงพ่อกวย ซึ่งเปรียบเสมือนอาจารย์องค์หนึ่งของท่าน ท่านจึงไม่จำเป็นต้องสร้างวัตถุมงคลอะไรขึ้นมาเพื่อความดังหรือเพื่อลาภสักการะ สมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง ครั้งใดที่ท่านดำริก่อสร้างอะไรท่านจะจุดธูปบอกเล่า หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เจ้าอาวาสองค์ก่อน แม้ในใบบอกบุญทอดผ้าป่าท่านก็ให้หลวงพ่อโตเป็นประธาน ท่านสามารถสร้างเมรุ, สะพานแขวน โดยให้หลวงพ่อโตเป็นประธาน และหลวงพ่อโตก็เป็นจริงมรณภาพไปแล้ว ยังสามารถดลจิตคลใจคนให้นำผ้าป่ามาทอดโดยไม่บอกมาก่อน ทั้งเมรุและสะพานแขวนข้ามแม่น้ำน้อย ทำได้สำเร็จ
    ประวัติหลวงพ่อพิมพ์
    ท่านเกิดที่บ้านวังขรณ์ ต.โพธิ์ชนไก่ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน 2458 เป็นบุตรของ พ่อขวัญ-แม่พัว อินทอง ที่บ้านวังขรณ์นี้อยู่ไม่ไกลจากวัดสนามชัย แต่อยู่คนละฝั่งแม่น้ำ ชีวิตวัยเรียนจบชั้นประถม 4 ซึ่งถือว่าสมบูรณ์และสูงสุดแล้ว ในวัยหนุ่มท่านเป็นคนใจร้อน พูดน้อย ไม่เกรงกลัวผู้ใด รูปร่างล่ำป้อม ผิวสีค้อนข้างดำ แข็งแรง ทำจริงชอบยิงกระสุน (คล้ายธนู) และเรียนกระบี่กระบองจนจบ พูดจริง ทำจริง และไม่เคยข้องแวะกับสตรีเพศเลย จนกระทั่งบวช มีชื่อเล่นว่า นายพลุ เพราะเป็นคนจริง ลงถ้าโมโหแล้วจะไม่เกรงกลัวผู้ใดเลย นายพิมพ์ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์หอม ต. เชิงกลัด อ. บางระจัน จ. สิงบุรี เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2479 โดยมีท่านพระครูศรีวิริยะโสภิต (หลวงพ่อสี) วัดพระปรางค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีอาจารย์พัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมหากราด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เป็นพระภิกษุสงฆ์ เวลา 15.00 น. ได้รับฉายาว่า สุวณ۪โณและได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์
    หอม 1 พรรษา เพื่อหัด
    ศึกษาวิชาอาคม
    หลังจากพรรษาที่ 1 ผ่านไป ท่ามเริ่มที่จะศึกษาวิชาอาคมวิปัสสนากรรมฐาน โดยไม่ทิ้งเวลาให้สูญเปล่า ท่านได้เดินทางมาเรียนวิชากับหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค เพราะท่านเคยเป็นลูกศิษย์หาบสำรับให้หลวงพ่อกวย ตอนที่หลวงพ่อกวยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมถึง 7 ปี (แต่พักจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย) เมื่อพระพิมพ์แจ้งความจำนงว่าจะขอเรียนวิปัสสนาและวิชาอาคม หลวงพ่อกวยได้ตอบปฏิเสธ โดยบอกว่าให้ไปเรียนกับอาจารย์ของท่านโดยตรงเลยคือ หลวงพ่อสีวัดพระปรางค์ หลวงพ่อสีองค์นี้แก่กล้าอาคมยิ่งนัก สร้างเหรียญไว้ 1 รุ่น ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เต็มองค์ สวยงามยิ่งนักสนนราคาแพง มีลูกศิษย์หลายองค์ล้วนแต่แก่กล้าอาคม เช่น หลวงพ่อบัว วัดแสวงหา อาจารย์ดำรง วัดเขาขึ้น หลวงพ่อฟุ้ง หลวงพ่อเฟื่อง วัดแหลมคาง หลวงพ่อหร่ำ วัดวังจิก หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์ ที่โด่งดังทะลุฟ้า คือ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง และที่เก่งและรักลูกศิษย์เหมือนหลวงพ่อรักลูก ก็หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค (ติดอันดับ 1 ใน 9 ยอดเกจิอาจารย์รัตนโกสินทร์ยุค 4) ขอเงินหมื่นให้เงินหมื่น ขอเงินแสนให้เงินแสน ขอเงินล้านให้เงินล้าน ฯลฯ อันตัวท่านหลวงพ่อสีนี้ สร้างโบสถ์โดยไม่ได้เรื่อไรใคร ท่านสามารถเรียกทรัพย์แผ่นดินได้ เป็นเหรียญเงินเก่าสมัย ร.5, ร.6 โดยไปตักเอาในบ่อเล็กๆ ในวันฌาปนกิจศพท่าน ดาวได้ขึ้นเวลากลางวันซึ่งอัศจรรย์มาก
    หลังจากที่หลวงพ่อพิมพ์ได้ศึกษาอาคมจากหลวงพ่อสีระยะหนึ่ง ท่านก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ได้พักอยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญแต่ท่านไม่ได้เรียนวิชาธรรมกาย คงยึดมั่นในการปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อสีอยู่เหมือนเดิม ท่านมาอยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ 8 ปี ท่านได้เรียนทางปฏิบัติ คือ นักธรรมตรี, โท และเอก แล้วท่านก็กลับมาวัดสนามชัย การกลับมาครั้งนี้ของท่านปรากฏว่าหลวงพ่อพ่อสี วัดพระปรางค์ องค์อาจารย์ได้มรณภาพแล้ว การกลับมาครั้งนี้ท่านได้ปฏิบัติทางจิตอย่างจริงจัง หลังจากฉันเช้าแล้ว ท่านก็เข้าไปนั่งสมาธิในป่าช้า จนมืดค่ำดึกดื่น จะว่าท่านเรียนวิปัสสนากรรมฐานได้ช้า ไม่เหมือนศิษย์พี่ คือ หลวงพ่อกวย ก็ไม่เชิง เพราะหลวงพ่อกวยมีหลักฐานว่าเรียนวิปัสสนากรรมฐานเพียงปีเดียวสำเร็จ โดยพักที่วัดหนองตาแก้ว ได้ขุดสระศักดิ์สิทธิ์เอาไว้และปลูกต้นสมอเอาไว้ ใครอาบน้ำในสระโดยไม่ตัดไปอาบจะเป็นขี้กลาก ใครปัสสาวะที่ต้นสมอจะชักดิ้นชักงอ แต่หลวงปู่พิมพ์ท่านกลับฝึกทางจิต โดยนั่งสมาธิถ้ามีเวลาว่าง ท่านปฏิบัติทางจิตจนกระทั่งบั้นปลายของชีวิต ในบั้นปลายของชีวิตของท่าน ท่านก็คงแข็งแรง ไม่กินหยุบกินยา ล่ำป้อมดำเหมือนเดิม ถามผมว่า หลวงพ่อกวยสอนมึงอย่างนั้นหรือ ผมบอกว่าเปล่า แต่คาถาของหลวงพ่อกวยกล่าวไว้ว่า พุทโธ คือลมหายใจเข้า -ออกของพระพุทธเจ้า แล้วท่านก็ถามผมต่อ แล้วใครสอนมึง ผมตอบว่า อาจารย์ชา วัดหนองป่า
    เป็นอุปัชฌาย์
    หลวงปู่พิมพ์ ท่านไม่สนใจลาภยศ ชอบสงบ ชอบปฏิบัติทางจิต แต่พอพรรษาที่ 9 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระปลัด พอพรรษาที่ 10 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ ชื่อ พระครูสรรคภารวิชิตโดยได้รับคำสั่งจากเจ้าคณะภาคกรุงเทพฯ ท่านถึงกลับนิ่งอึ้งไป เพราะท่านไม่ได้ยินดีในลาภยศตำแหน่งใดๆ การได้มาซึ่งตำแหน่งยิ่งทำให้ท่านทำตัวสมถะ และเพื่อเห็นแก่ศาสนาท่านจึงรับไว้ ท่านปกครองพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอสรรคบุรีอย่างจริงจัง ถ้าท่านได้ยินข่าวว่าพระภิกษุยุ่งเกี่ยวกับสีกา ท่านจะเรียกมาพบ โดยมากพระภิกษุที่มีเรื่องแบบนี้ท่านมักจะมีสตางค์ ท่านจะเอาปัจจัยข้าวของมาถวายท่านมากมาย แต่ท่านหลับพูดว่า ท่านเอาของของท่านกลับไปซะ แล้วไปหาที่อยู่ไกลๆ ให้พ้นจากเขตปกครองของจ้า ไม่อย่างนั้นจะหาว่าข้าไม่ดีไม่ได้นะ รีบๆ ไปซะไปให้ไวๆ ไปให้ไกลๆ ด้วย เนื่องจากตบะแล้วความแกกล้าอาคม ความสันโดษ ความไม่เกรงกลัวใครนี่เอง ลูกศิษย์ที่ท่านได้บวชให้ไปได้อนุญาตท่านเปลี่ยนนามสกุล จากนามสกุลเดิม “สรรคภารวิชิต” ได้ขอเปลี่ยนหลายคน
    ของคู่บุญ
    หลวงพ่อพิมพ์ ท่านชอบปฏิบัติทางจิต แต่ไม่ชอบเรียนวิชา แม้ศิษย์พี่คือหลวงพ่อกวย จะอยู่ไม่ไกล (ตอนที่ท่านเป็นอุปัชฌาย์ ท่านต้องไปจำพรรษาอยู่วัดวิหารทอง ซึ่งอยู่ติดที่ว่าการอำเภอ) แต่มีสิ่งหนึ่งที่ท่านชอบคือคันกระสุน(คล้ายธนู) ใช้ลูกดินยิง คือ ท่านเคยเรียนกระบี่กระบองมาก่อน ท่านได้สั่งศิษย์หาไม่ไผ่ป่าที่ล้มอยู่มีโขลงช้างข้ามและมีผีตายทับ ถ้าได้ช่วยทำให้ท่านสัก 1 อัน อยู่ต่อมาลูกศิษย์ของท่านได้ไปดูเขายิงเสือ (คน) นอนตายทับลำไม้ไผ่เมื่อดูไปดูมา ได้เห็นรอยเท้าของโขลงช้างเดินข้ามไปมานานแล้ว ลูกศิษย์ของท่านเลยตัดเองมา แม้ว่าจะทำได้ 2 อันแต่ลูกศิษย์ของท่านกลับทำเพียงอันเดียว เพื่อให้เป็นของหนึ่งเดียว คันกระสุนนี่ยาวกว่าของหลวงพ่อกวยเกือบ 1 ฟุต แต่ของหลวงพ่อกวยไม้แก่กว่า ไม้แก่มากเกือบเป็นสีแดง แต่ท่านจะยิงกระสุนวิถีคดได้แบบหลวงพ่อกวยหรือเปล่าไม่รู้เพราะครั้งหนึ่งศิษย์รุ่นเก่าไปกราบท่าน เห็นท่านถือคันกระสุนอยู่ จึงแกล้งแหย่ท่านว่า หลวงปู่หันหน้าไปทางโน้น แล้วยิงให้โดนหัวผมที ท่านนิ่งเฉย ท่านพูดว่า กูไม่ใช่หลวงพ่อกวยนี่หว่า ภายหลังคันกระสุนนี้ได้ตกมาอยู่กับศิษย์ใกล้ชิดท่านนึง ปัจจุบันได้มอบให้พิพิธภัณหลวงพ่อกวยไปแล้ว
    ผู้สืบทอดอาจารย์ธรรมโชติ
    ที่อำเภอสรรค์บุรีนี้ ถ้าพระองค์ใดเป็นเจ้าคณะอำเภอจะต้องจำพรรษา หรือเป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้ที่ว่าการอำเภอ ท่านพระครูพิมพ์ก็เช่นกัน เดิมก็เป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง อยู่ๆ ท่านไม่ชอบใจกรรมการวัด ท่านก็มาจำพรรษาที่วัดสนามชัย บ้านเกิดของท่าน เหตุการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นมา 3 ครั้ง ตั้งแต่พระครูปัตร, พระครูปุ่น ซึ่งสืบเชื้อสายเป็นญาติพี่น้องกันมาทั้ง 3 องค์ ได้มีการจดบันทึกเอาไว้ว่า สืบเชื้อสายมาจากขุนสรรค์ แต่ตัวพระครูพิมพ์นั้นกลับมีปฏิปทา เหมือนหนึ่งเป็นหน่อของท่านอาจารย์ธรรมโชติ คือใครเดือดร้อนของเหรียญรูปท่าน ท่านก็ให้ไป แต้ถ้าเป็นทหาร เป็น ตชด. ท่านต้องแจกตะกรุด เหรียญหันหลังชนกันกับขันสรรค์ ผ้ายันต์ ผ้ายันต์นี้แม้ไม่มีก็จะเขียนให้ จะค้างคือที่วัดก็จะเขียนให้ แม้ผืนขนาดใหญ่ ผู้พันให้ลูกน้องมาขอ เขียนด้วยปลุกด้วย 3 วัน 3 คืน เอาไว้ป้องกันบังเกอร์ก็เขียนให้ เงินไม่สำคัญ ทหารกินข้าววัด
    เป็นผู้มีเชื้อสายของคนจริง และเทพสังหาร
    พระครูพิมพ์ มีชื่อเล่นว่า นายพลุ มีศักดิ์เป็นน้องปู่ฉุ่น อดีตครูใหญ่คนแรกวัดสนามชัย ภายหลังได้ลาออกและโดนกักบริเวณที่บางขวางเป็นสิบปี และเป็นน้องของสางฉาว สางฉาวนี้ คำว่า สาง หมายถึงคนที่ตายไปแล้วจะเรียกว่าเสือฉาวก็ได้ เป็นที่ไม่กลัวคน ไม่ว่ามีดหรือปืน จะเดี๋ยวหรอหมู่ก็ได้ เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค หนังเหนียว ปืนยิงไม่ออก แถมล่ำป้อมแบบพระครูพิมพ์ เป็นเสือบุกเดี่ยว แต่ไม่ปล้นชิงบริเวณบ้าน เคยติดคุกที่บางขวาง ที่เกาะตะรุเตา ก็หนีมาได้ ตอนนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังได้รับจ้างทหารญี่ปุ่นซ่อมสะพานพุทธยอดฟ้าฯ ครั้งสุดท้ายติดคุกที่ชัยนาท พัศดีสั่งตีตัวแดง (สั่งตาย) โดยทั้งไม้ทั้งปืน ยังแหกคุกที่มีลวดไฟฟ้าออกมาได้ ท่านมีหลาน – เหลน อยู่คนสองคน คนแรกเป็นกำนัน ชื่อกำนันใส กำนันใสนี้ถ้าลูกบ้านทะเลาะกันอย่างรุนแรงท่านก็จะเตียน ถ้าเตียนไม่ฟัง แกจะฆ่าคนผิด โดยไม่คิดสตางค์ และไม่แย้มให้ใครรู้เลย
    จอมคน
    ในสมัยเสือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นเสือปล้น เสือที่โด่งดังที่สุดที่ขนาดตั้งเป็นชุมเสือได้คือ เสือฝ้าย โดยมากก็จะมีของดี ทราบว่าเสือที่มีของดีและมีคุณธรรมคือ เสือมเหศวร ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ อยู่บ้านไพรนกยูง อ.หันคา จ.ชัยนาท ครั้งหนึ่งเสือฝ้ายได้มาตั้งชุมเสือที่บ้านล่องใหญ่ บ้านเดิมบางนางบวง สุพรรณบุรี ได้รู้ข่าวว่า บ้านนายยอด เดชมา (พ่อหมอเฉลียว เดชมา) มีปืน ร.ศ.ปืนพระราม อยู่ 5 กระบอก จึงได้ให้ลูกน้องมาเอาปืนที่บ้านโยมยอดโยมยอดได้มาบอกหลวงพ่อกวยให้ช่วย แต่หลวงพ่อกวยได้ไปเรียนวิชาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ โยมยอดเลยวิ่งแจ้นไปบอกพระครูพิมพ์ พระครูพิมพ์ท่านก็รับกิจนิมนต์ทันที ท่ารนเดินลัดตัดทุ่งไปทันทีที่หมู่บ้านสามเอก (ดงเสือ) ขณะที่ชุมเสือฝ้ายได้ตั้งชุมอยู่ ไม่รู้ว่าท่านพูดอย่างไร แล้วท่านก็สะพายปืนยาวรุ่นเก่า 5 กระบอก มาหน้าตาเฉย เรื่องนี้ท่านไม่ยอมเล่าให้ใครฟังถึงที่ไปที่มา ยังมีลูกหลานที่ทำนิสัยแบบนี้อีก คนคนนี้เป็นคนบ้าบิ่น (โหล่) ชื่อเชน (ปิ๊ด) ฉายาแหวนแขนเรดาร์ บ้านเดิมอยู่หัวเด่น ขณะบวชอยู่กับหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค ปรากฏว่ามีพวกเสือได้วิ่งไล่จะปล้ำคุณยายม่าย (เป็นคนจีนเตี่ยเอามาขาย 2 คนพี่น้อง) ยายม่ายได้วิ่งมาหวังพึ่งหลวงพ่อกวย พอดีเจอพระเชนพอดี พระเชนโดดเหน็บมีดหมอหลวงพ่อกวย ห่มผ้าไปส่งยายม่าย พระเชนได้พูดว่า “ถ้ามันกล้าปล้ำผู้หญิงต่อหน้ากู กูก็ขาดจากพระวันนี้แหละวะ”
    เกียรติคุณปรากฏ
    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามได้มีเสือตั้งชุมปล้นสะดมทรัพย์สิน วัวควาย ฯลฯ เอาไปเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านสนามชัยได้รวมตัวกันเข้าไปกราบพระครูพิมพ์ เล่าเรื่องให้ฟัง ท่านได้ถามว่า แล้วพวกมึงจะยอมเขาหรือจะสู้เขา

    ผู้สืบทอดอาจารย์ธรรมโชติ
    ที่อำเภอสรรค์บุรีนี้ ถ้าพระองค์ใดเป็นเจ้าคณะอำเภอจะต้องจำพรรษา หรือเป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้ที่ว่าการอำเภอ ท่านพระครูพิมพ์ก็เช่นกัน เดิมก็เป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง อยู่ๆ ท่านไม่ชอบใจกรรมการวัด ท่านก็มาจำพรรษาที่วัดสนามชัย บ้านเกิดของท่าน เหตุการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นมา 3 ครั้ง ตั้งแต่พระครูปัตร, พระครูปุ่น ซึ่งสืบเชื้อสายเป็นญาติพี่น้องกันมาทั้ง 3 องค์ ได้มีการจดบันทึกเอาไว้ว่า สืบเชื้อสายมาจากขุนสรรค์ แต่ตัวพระครูพิมพ์นั้นกลับมีปฏิปทา เหมือนหนึ่งเป็นหน่อของท่านอาจารย์ธรรมโชติ คือใครเดือดร้อนของเหรียญรูปท่าน ท่านก็ให้ไป แต้ถ้าเป็นทหาร เป็น ตชด. ท่านต้องแจกตะกรุด เหรียญหันหลังชนกันกับขันสรรค์ ผ้ายันต์ ผ้ายันต์นี้แม้ไม่มีก็จะเขียนให้ จะค้างคือที่วัดก็จะเขียนให้ แม้ผืนขนาดใหญ่ ผู้พันให้ลูกน้องมาขอ เขียนด้วยปลุกด้วย 3 วัน 3 คืน เอาไว้ป้องกันบังเกอร์ก็เขียนให้ เงินไม่สำคัญ ทหารกินข้าววัด

    เป็นผู้มีเชื้อสายของคนจริง และเทพสังหาร
    พระครูพิมพ์ มีชื่อเล่นว่า นายพลุ มีศักดิ์เป็นน้องปู่ฉุ่น อดีตครูใหญ่คนแรกวัดสนามชัย ภายหลังได้ลาออกและโดนกักบริเวณที่บางขวางเป็นสิบปี และเป็นน้องของสางฉาว สางฉาวนี้ คำว่า สาง หมายถึงคนที่ตายไปแล้วจะเรียกว่าเสือฉาวก็ได้ เป็นที่ไม่กลัวคน ไม่ว่ามีดหรือปืน จะเดี๋ยวหรอหมู่ก็ได้ เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค หนังเหนียว ปืนยิงไม่ออก แถมล่ำป้อมแบบพระครูพิมพ์ เป็นเสือบุกเดี่ยว แต่ไม่ปล้นชิงบริเวณบ้าน เคยติดคุกที่บางขวาง ที่เกาะตะรุเตา ก็หนีมาได้ ตอนนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังได้รับจ้างทหารญี่ปุ่นซ่อมสะพานพุทธยอดฟ้าฯ ครั้งสุดท้ายติดคุกที่ชัยนาท พัศดีสั่งตีตัวแดง (สั่งตาย) โดยทั้งไม้ทั้งปืน ยังแหกคุกที่มีลวดไฟฟ้าออกมาได้ ท่านมีหลาน – เหลน อยู่คนสองคน คนแรกเป็นกำนัน ชื่อกำนันใส กำนันใสนี้ถ้าลูกบ้านทะเลาะกันอย่างรุนแรงท่านก็จะเตียน ถ้าเตียนไม่ฟัง แกจะฆ่าคนผิด โดยไม่คิดสตางค์ และไม่แย้มให้ใครรู้เลย

    จอมคน
    ในสมัยเสือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นเสือปล้น เสือที่โด่งดังที่สุดที่ขนาดตั้งเป็นชุมเสือได้คือ เสือฝ้าย โดยมากก็จะมีของดี ทราบว่าเสือที่มีของดีและมีคุณธรรมคือ เสือมเหศวร ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ อยู่บ้านไพรนกยูง อ.หันคา จ.ชัยนาท ครั้งหนึ่งเสือฝ้ายได้มาตั้งชุมเสือที่บ้านล่องใหญ่ บ้านเดิมบางนางบวง สุพรรณบุรี ได้รู้ข่าวว่า บ้านนายยอด เดชมา (พ่อหมอเฉลียว เดชมา) มีปืน ร.ศ.ปืนพระราม อยู่ 5 กระบอก จึงได้ให้ลูกน้องมาเอาปืนที่บ้านโยมยอดโยมยอดได้มาบอกหลวงพ่อกวยให้ช่วย แต่หลวงพ่อกวยได้ไปเรียนวิชาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ โยมยอดเลยวิ่งแจ้นไปบอกพระครูพิมพ์ พระครูพิมพ์ท่านก็รับกิจนิมนต์ทันที ท่ารนเดินลัดตัดทุ่งไปทันทีที่หมู่บ้านสามเอก (ดงเสือ) ขณะที่ชุมเสือฝ้ายได้ตั้งชุมอยู่ ไม่รู้ว่าท่านพูดอย่างไร แล้วท่านก็สะพายปืนยาวรุ่นเก่า 5 กระบอก มาหน้าตาเฉย เรื่องนี้ท่านไม่ยอมเล่าให้ใครฟังถึงที่ไปที่มา ยังมีลูกหลานที่ทำนิสัยแบบนี้อีก คนคนนี้เป็นคนบ้าบิ่น (โหล่) ชื่อเชน (ปิ๊ด) ฉายาแหวนแขนเรดาร์ บ้านเดิมอยู่หัวเด่น ขณะบวชอยู่กับหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค ปรากฏว่ามีพวกเสือได้วิ่งไล่จะปล้ำคุณยายม่าย (เป็นคนจีนเตี่ยเอามาขาย 2 คนพี่น้อง) ยายม่ายได้วิ่งมาหวังพึ่งหลวงพ่อกวย พอดีเจอพระเชนพอดี พระเชนโดดเหน็บมีดหมอหลวงพ่อกวย ห่มผ้าไปส่งยายม่าย พระเชนได้พูดว่า “ถ้ามันกล้าปล้ำผู้หญิงต่อหน้ากู กูก็ขาดจากพระวันนี้แหละวะ”

    เกียรติคุณปรากฏ
    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามได้มีเสือตั้งชุมปล้นสะดมทรัพย์สิน วัวควาย ฯลฯ เอาไปเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านสนามชัยได้รวมตัวกันเข้าไปกราบพระครูพิมพ์ เล่าเรื่องให้ฟัง ท่านได้ถามว่า แล้วพวกมึงจะยอมเขาหรือจะสู้เขา ชาวบ้านสนามชัยได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าสู้ พอท่านได้ยินคำว่าสู้ ท่านก็ไปขุดหัวว้านขมิ้นอ้อย ที่ท่านปลูกเอาไว้ เอามาล้างน้ำ เสกและจารโดยฝานตรงยอกบนออก แล้วท่านก็ฝานเป็นแว่นๆ ให้กับชาวบ้านอมใส่ปากไว้ ชาวบ้านสนามชัยมีแค่ปืนแก๊ป ปืนลูกซอง ปืนไทยประดิษฐ์ (เมดอินไทยแลนด์) พร้า ดาบ ฯลฯ แล้วท่านก็ยังสั่งว่า เมื่อตามไปทันให้โห่ร้อง แล้วสู้ประจัญบานกับมัน ผลคือผู้นำชาวบ้านคือนายพวง โดนเสือเล็กยิงแต่ยิงไม่ถูก นายพวงได้ยิงมัน โดนเสือเล็กตัดขั้วหัวใจตายเลย ผลการสู้รบในวันนั้น เสือโดยการนำของเสือเล็กบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ชาวบ้านสนามชัยแค่บาดเจ็บเล็กน้อย เรื่องนี้โด่งดังมาก เพราะปืนที่ต่อสู้กันเป็นปืนคนละชนิดและพระครูพิมพ์ก็เพิ่งจะอายุไม่มาก อายุประมาณ 30 ปีเศษ เรื่องนี้ผู้เขียนเรื่องราวของหลวงพ่อพิมพ์ คือ คุณสมจิต เทียนวัน หรือคุณเฒ่า สุพรรณ ได้รับคำบอกเล่าและการสั่งเสียจากปู่ฉุน ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายของพระครูพิมพ์ ปู่ได้พูด 2-3 ครั้งว่าเมื่โตขึ้น อย่าลืมไปหาพระครูพิมพ์ ไปขอเรียนวิชาขมิ้นจากท่านให้ได้ ตอนนั้นคุณสมจิตยังเรียนอยู่ประถม 4 และย่าฉวนได้นำไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อกวยแล้ว ได้รดน้ำมนแล้ว คุณสมจิตได้แต่คิดในใจว่าพระลงเรียนทั้งมหาเปรียญและเรียนอาคมด้วย เป็นพระครูแบบนี้ถึงจะเก่งอย่างไร คิดว่าก็ไม่เท่าไรหรอก ขณะนั้น ครั้งหนึ่งคุณสมจิตไปกราบท่านที่วัดสนามชัย เตรียมขมิ้นอ้อยไปด้วย กะจะไปขอเรียนวิชาตามที่ปู่สั่ง เมื่อท่านเสกให้เสร็จ ได้อ่านดูภาษาขอม ที่ท่านจาร อ่านได้ว่า “นะโมพุทธายะ” จึงถามท่านว่า หลวงปู่ไปเรียนวิชาขมิ้นนี้มาจากไหน ท่านตอบว่า แลกเปลี่ยนวิชากัน ตอนไปอยู่รับใช้หลวงพ่อกวย ตอนที่หลวงพ่อกวยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม คุณสมจิตได้เรียนถามว่า หลวงปู่แลกเปลี่ยนวิชากับใคร ท่านตอบว่า “ท่านอินทร์ วัดเกาะหงษ์”

    ผลงานสำคัญ
    หลวงพ่อพระครูพิมพ์ เป็นพระที่สมถะ มักน้อย สันโดษ ฉันอาหารมื้อเดียว ชอบภาวนา ไม่ชอบการสร้างวัตถุมงคลเพื่อหวังเงินทอง อายุประมาณ 30 พรรษา ได้สร้างอุโบสถร่วมกับหลวงพ่อเชื้อ น้องชายหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ โดยได้ทำแหวนนิ้วตามตำราของหลวงพ่อสี วัดพระปรางค์ เพื่อสมนาคุณให้กับผู้ทำบุญพระอุโบสถหลังนี้คือ พระอุโบสถวัดวังขรณ์ ซึ่งที่วัดวังขรณ์นี้เดิมเป็นโรงเรียนปริยัติธรรม แหวนนิ้วที่เหลือนี้ยังได้ฝังไว้ที่วัดวังขรณ์ จำนวน 2 ไห ใต้ท้องวงเขียนว่า “อิ ติ” เป็นภาษาขอม นอกจากอุโบสถที่วัดวังขรณ์แล้ว ที่วัดวิหารทอง ท่านก็สร้างเมรุเผาศพ แลพสะพานแขวน ราคาหลายล้านบาท ภายหลังท่านมาอยู่วัดสนามชัย ท่านก็สร้างกุฏิกรรมฐาน

    มรณภาพ
    หลวงพ่อพิมพ์ เป็นพระที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน คนในตระกูลนี้ตั้งแต่ ชวด, ปู่ชวด ถ้าเป็นผู้ชายเวลาตายจะตายง่ายๆ เช่น เป็นลมตาย นอนตายเฉยๆ หลวงพ่อพิมพ์ท่านได้ถึงแก่มรณภาพตอนเช้า เวลา 08.00 น. ของวันที่ 4 กรกฎาคม 2536 ก่อนที่ท่านจะไปบาชนาคที่ ต.หัวกรด โดยก่อนไปท่านได้เขียนจดหมายทิ้งไว้บนโต๊ะ ถึงสมุห์แจ่ม เจ้าอาวาส โดยเขียนเป็นทำนอง ให้อยู่ดูแลวัดต่อไป มีงานอะไรก็ให้เร่งทำ เวลาของชีวิตเรานั้นไม่ยาวนัก แล้วท่านก็เอาหินทับไว้ ขณะที่ท่านนั่งรถมาถึงหน้าวัดสกุณาราม ห่างจากวัดสนามชัย ประมาณ 7 กิโลเมตร ศีรษะของท่านก็งุ้มลงไปข้างหน้าผิดสังเกต หลวงพ่อประเทืองซึ่งนั่งรถไปด้วยกับท่านก็ตกใจบอกให้รถหยุด มาจับดูตัวเองจึงได้รู้ว่าท่านมรณภาพ หลวงพ่อประเทืองจึงให้รถวิ่งกลับวัด ได้ตะระฆังบอกให้พระ-เณรและชาวบ้านรู้ แล้วให้คนไปนิมนต์พระอุปัชฌาย์เบิ้ม วัดสระไม้แดง ให้เป็นอุปัชฌาย์บวชแทนหลวงพ่อพิมพ์ จากนั้นก็เก็บศพไว้ 1 ปี จึงได้ขอพระราชทานเพลิงศพ สิริรวมอายุ 78 ปี พรรษา 58 นับเป็นการสูญเสียเกจิอาจารย์เมืองสรรค์ที่เป็นของจริง อาจเป็นองค์สุดท้ายของเมืองสรรค์ก็ได้

    อัฐิเป็นพระธาตุ
    เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว ทางวัดได้อาบน้ำศพและเปลี่ยนผ้าให้ใหม่ ได้เก็บศพไว้ 1 ปี แต่พอจะขอพระราชทานเพลิงศพก็ได้เปลี่ยนผ้าให้ใหม่ โดยเก็บผ้าที่ท่านครองอยู่ในโลงพับเอาไว้และได้นำไปเผาด้วย ก่อนเผา ท่านอาจารย์สมาน ได้ให้ทางญาติสนิทหักโยกฟันเอาไว้บูชา ผลปรากฏว่า ไม่มีใครโยกหักฟันของท่านได้เลย มีแต่อาจารย์สมาน (เจ้าอาวาสวัดหัวเด่น มีศักดิ์เป็นหลานห่างๆ) ได้โยกฟันมาได้ 2 ซี่ คือ ฟันเขี้ยว 1 ซี่ อีกซี่หนึ่งเล็กมาก ท่านอาจารย์สมานได้กินซี่เล็ก เหลือแต่ฟันเขี้ยวแก้ว (ปัจจุบันเป็นของ คุณศิริชัย ชีรวณิชย์กุล) เมื่อพระราชทานเพลิงศพแล้ว จึงเปิดดูอัฐิของท่าน ผลคือ ผ้าจีวรที่ท่านครองอยู่แล้วนำไปเผาด้วยไม่ไหม้ไฟ เมื่อหยิบดูปรากฏว่าสะเก็ดของอัฐิเป็นเม็ดสีขาว เมื่อส่องดูให้ละเอียดจะเป็นเม็ดใสสีขาวเต็มไปหมด บางท่านว่าเป็นพระธาตุ นับว่าอัศจรรย์มาก

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับเว็บวัดโฆสิตาราม
    เหรียญรุ่น๓ และ พระผงรูปเหมือน เนื้อดินเผา สมัยอยู่วัดวิหารทอง
    ให้บูชา 2 องค์
    300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20230915_174351.jpg IMG_20230915_174413.jpg IMG_20230915_174310.jpg IMG_20230915_174330.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2023

แชร์หน้านี้

Loading...