เสียงธรรม บทสวดจุลชัยปกรณ์

ในห้อง 'บทสวดมนต์' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 30 มีนาคม 2019.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2020
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    บทสวดจุลลชัยยปกรณ์(จุลลไชยยปกรณ์) (เพิ่มเติมใหม่) หรือ เรียกว่า จุลลชัยยมงคลคาถา หรือ จุลไชยมงคล ก็มี ชัยยมงคลคาถา ก็มี ส่วนมาก ในประเทศลาวและท้องถิ่นอีสานนิยมเรียกว่าสวดไชยน้อย หรือ ชัยน้อย ก็เรียก ว่ากันว่าบทสวดนี้ประพันธ์ในสมัยล้านช้างร่มขาว ประเทศลาว โดยพระมหาปาสมันตระมหาเถร ว่าด้วยชัยชนะของพุทธเจ้าต่อเทพพรหม ครุฑ นาค ปีสาจ ฯลฯ และอวมงคลทั้งหลาย นิยมสวดเป็นทำนองสำเนียงสองฝั่งโขง สมัยก่อนใช้เป็นบทสวดคุ้มครองประเทศในยามศึกสงคราม ให้ได้รับชัยชนะแคล้วคลาดจากข้าศึกศัตรู หรือใช้สวดในงานที่เป็นมงคลต่างๆ
    บทสวดนี้ เป็นบทสวดที่สร้างความสงบร่มเย็น เป็นมนต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความหมายที่ดีและเป็นมงคลให้ผู้สวดผ่านพ้นปัญหาต่างๆ หรืออาจช่วยขจัดปัดเป่าภยันอันตรายจากภัยภิบัติต่างๆได้ ถ้ามีความศรัทธาตั้งมั่นพอ
    SAM_0107.jpg

    SAM_0109.jpg





    ประวัติ อาณาจักรล้านช้างโบราณ http://th.wikipedia.org/wiki/อาณาจักรล้านช้าง (หมายเหตุ ฉบับนี้และที่สวดกันอยู่ในปัจจุบันนี้และที่มีเผยแพร่อยู่ทั่วไป ยังไม่ค่อยตรงตามบาลีเท่าไรมีผิดเพี้ยนบ้าง เนื่องจากการทรงจำสืบต่อกันมานานเข้าก็ย่อมมีการคลาดเคลื่อนกันเป็นธรรมดา และครูบาอาจารย์ก็พาสวดตามกันมาอย่างนี้ ถ้าไม่สวดตามท่านก็ยังไงอยู่ ถ้าไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับบาลีไวยากรณ์มาก่อน ก็ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่แต่ ถ้าเคยศึกษามาก็จะรู้ว่าคลาดเคลื่อนตรงใดบ้าง ถ้ามีเวลาหรือมีคนสนใจจะนำมาชี้แจงต่อไป ส่วนข้างล่างเป็นความหมายของบทสวดนี้เท่านั้นซึ่งมีเผยแพร่อยู่ทั่วไป แต่ยังไม่ได้แปลออกมาทั้งหมด เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่เคยมีใครหรืออาจมีแต่ก็น้อยนำมาแปลให้หมด ให้ทราบความหมายอย่างชัดเจนทุกตัว พระอาจารย์มหาคมกริช สิริจันโท ท่านกล่าวว่าได้ไปเจอบทสวดนี้ในใบลานที่เป็นตัวหนังสืออักษรธรรมโบราณ เป็นบาลีและก็แปลไปด้วย เป็นสำนวนล้านช้างโบราณ ที่ประเทศลาว ท่านก็เลยได้ทำการ แปลและคัดลอกจากตัวอักษรธรรมโบราณออกมาเป็นภาษาไทยอีกทีหนึ่ง ถ้ามีคนสนใจก็จะได้นำออกมาเผยแพร่ต่อไป เพราะไม่อยากให้บทสวดมนต์ที่มีความหมายดีๆเช่นนี้ศูนย์หายไป)

    SAM_0110.jpg
    นะโม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา
    เตชะ ประสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมสุรา
    สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา
    สะมุทา ภูตุง คังกา จะ สะพรัหมา ชัยยะ ประสิทธิ ภะวันตุ เต
    ชัยยะ ชัยยะ ธรณี ธรณี อุทะธิ อุทะธิ นะทิ นะที
    ชัยยะ ชัยยะ คะคน ละตน ละนิสัย นิรัย สัยเสน นะ เมรุราช ชะพล นระชี
    ชัยยะ ชัยยะ คัมภี ระ โสมภี นาเคน ทะนาคี ปิ ศาจ จะ ภู ตะกาลี
    ชัยยะ ชัยยะ ทุน นิมิต ตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา นะมุขะชา
    ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัม ปาทินา คะ กุละคัณโถ
    ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุ ชง สีหะ เพียคฆะ ทีปา
    ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชิตะ ชิตะ เสน นารี ปุนะสุทธิ นระดี
    ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยา
    ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สาน ติน สะทา
    ชัยยะ ชัยยะ มังกะ ราชรัญญา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข
    ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหมเมณ ทะคะณา
    ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชชัย ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพพัง
    ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจ กะพุทธะสาวัง ชัยยะ ชัยยะ มะเห สุโร หะโร หะริน เทวา
    ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬหะโก วิรูปักโข จัน ทิมา ระวิ
    อินโท จะ เวนะ เตยโย จะกุเว โร วะรุโณ ปิ จะ
    อัคคิ วาโย จะ ปา ชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฏะโก
    อัฏฐา ระสะ มะหา เทวา สิทธิตา ปะสะอา ทะโย
    อิสิ โน สา วะกา สัพ พา ชัย ยะ ราโม ภะวันตุ เต
    ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะ กัง
    เอเตนะ ชัยยะ เต เชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ เต
    เอเตนะ พุทธะเตเชนะ โหตุ เต ชัยยะมัง คะลัง


    ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
    อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยะตะทา พรัหมะคะนา มะเหสิโน


    ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
    อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัย ยะตะทา อินทะ คะณา มะเห สิโน


    ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
    อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา เทวะ คะณา มะเห สิโน


    ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
    อุคโฆ สะยัม โพธิ มันเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา สุปัณณะ คะนา มะเหสิโน


    ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มา รัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
    อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา นาคะ คะณา มะเหสิโน


    ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
    อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตาชัยยะตะทา สะพรัหมะคะณา มะเหสิโน


    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักกะยานัง นันทิวัฑฒะโน
    เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมัง คะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปก ขะเร
    อะภิเสเก สัพ พะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโม ทะติ
    สุนักขัตตัง สุมัง คะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
    สุขะโน สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
    ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา
    ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภัณตัตเถ ปะทักขิเณ
    เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
    อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ
    สุณันตุ โภนโต เยเทวา อัสมิง ฐาเน อะธิคะตา
    ทีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา
    รักขันตุ สัพพะสัต ตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง
    ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
    ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
    โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพพะทา
    กายะสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง ฯ
    อิติ จุลละชัยยะสิทธิมังคะลัง สะมันตัง
    SAM_0121.jpg
    ความหมายโดยย่อ
    บทสวดพรรณนาชัยชนะของพระพุทธเจ้า เหนือหมู่มารทั้งปวง

    ทั้งล่วงพ้นอำนาจท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ และเป็นชัยชนะเหนือเทวดาทุกๆ ชั้น

    ทั้งเป็นชัยชนะอมนุษย์ ยักษ์ ภูติผีปีศาจ อาวุธทั้งหลายก็ทำอันตรายไม่ได้

    ทั้งชัยชนะพญานาคราช ทั้งพระจันทร์ พระอาทิตย์ พระอินทร์ พระพรหม

    ทั้งลม และไฟ ก็ทำอันตรายไม่ได้

    ขอเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ๑๘ พระองค์ จงมารักษา

    ทั้งพระฤาษี พระสาวก พระธรรม พระสงฆ์ จงมาอวยชัย

    ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระรัตนตรัย

    ในครั้งนั้น มารผู้ชั่วช้าได้พ่ายแพ้ต่อพระรัศมีของพระพุทธเจ้า

    ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ

    พระพรหม พระอินทร์ เทวดาทั้งหลาย ผู้มีเดชานุภาพมาก

    ทั้งหมู่พญานาค หมู่พญาครุฑผู้มีศักดายิ่งใหญ่

    ต่างชื่นชมชอบใจในชัยชนะของพระพุทธเจ้า ต่อหมู่มาร ณ โพธิบัลลังก์

    เป็นชัยชนะที่เป็นอุดมมงคล ทั้งเป็นฤกษ์ดียามดี

    และขณะดีที่ได้ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ขององค์สม เด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ขอความสวัสดีมีชัย จงมีแก่ท่านด้วยเดชแห่งคุณพระรัตนตรัย

    ขอให้ท่านจงได้รับประโยชน์และความสุข

    ทั้งเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ขอให้มีอายุยืนยาว

    ปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใด ขอให้ได้ดังใจประสงค์

    และปราศจากโรคภัยทั้งหลายทั้งปวง ทั้งห่างไกลความทุกข์

    ขอให้ประสบสุขทั้งกายและใจ
    ขอบคุณที่มา :- http://siricando.blogspot.com/2011/08/blog-post_7871.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...