ธรรมะจากหลวงปู่ทิม วัดพระขาว

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thanan, 13 เมษายน 2005.

  1. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,212
    <b>"ตายแล้วไม่สูญ" และ "ตายแล้วไปไหน"</b> นี้ไม่น่าจะเป็น
    ที่ข้องใจของท่านเลย เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างละเอียด
    ว่า เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วทางที่ไปก็มี ๕ สาย คือ
    ๑)อบายภูมิ ได้แก่ เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย และ
    เป็นสัตว์เดรัจฉาน
    ๒)เกิดเป็นมนุษย์
    ๓)เกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้าอยู่บนสวรรค์
    ๔)เกิดเป็นพรหม
    ๕)ไปพระนิพพาน
    ท่านที่ตายแล้วจะไปเกิดที่ใด พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกเหตุ
    ที่จะไปเกิดไว้ครบถ้วนตามกฎของกรรม คือ การกระทำ ได้แก่
    ความประพฤติดีหรือชั่ว ในสมัยที่เกิดเป็นมนุษย์นี้เอง กฎของกรรม
    หรือความประพฤติดีหรือชั่วที่จะพาไปเกิดในที่ใดที่หนึ่งตามที่องค์
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ๕ ทางนั้น ท่านว่าไว้อย่างนี้


    <b> แดนเกิดสายที่หนึ่งที่เรียกว่า อบายภูมิ</b>

    แดนเกิดสายที่หนึ่ง ที่เรียกว่า อบายภูมิ มีนรกเป็นต้นนั้น
    เป็นผลจากความประพฤติชั่ว คือก่อกรรมทำเข็ญในสิ่งที่สร้าง
    ความเดือดร้อนให้แก่คนและสัตว์ ท่านจัดกฎใหญ่ไว้ ๕ ประการ
    ๑)เป็นคนที่ใจโหดร้าย ชอบข่มเหงรังแก เบียดเบียนคนและสัตว์ให้ได้รับความเดือดร้อน โดยเข้าใจผิดคิดว่า เป็นความดี หมายถึง ละเมิดศีลข้อที่ ๑
    ๒)มือไว ชอบลักขโมยของที่เจ้าของยังไม่อนุญาติ หรือฉ้อโกงเอาทรัพย์สินของคนอื่นด้วยเล่ห์กลโกง หมายถึง ละเมิดศีลข้อที่ ๒
    ๓)ใจเร็ว ได้แก่ มีจิตใจไม่เคารพในเคารพในความรักของคนอื่น ชอบลอบทำชู้ บุตร ภรรยา และธิดา สามีของคนอื่น ด้วยความมัวเมาในกามคุณ หมายถึง ละเมิดศีลข้อ ๓
    ๔)พูดปด ได้แก่ พูดไม่ตรงต่อความเป็นจริง เพื่อหวังทำลายประโยชน์ของผู้อื่นโดยเจตนา หมายถึง ละเมิดศีลข้อที่ ๔
    ๕)ชอบทำตนเป็นคนหมดสติ ด้วยการย้อมใจให้หมดความรู้สึกในการรับผิดชอบด้วยน้ำเมา หมายถึง การละเมิดศีลข้อที่ ๕

    กรรม คือ ความประพฤติในกฎ ๕ ประการนี้ ท่านว่า ตาย
    จากความเป็นคนแล้วไปสู่อบายภูมิ มีตกนรก เป็นต้น


    <b> แดนเกิดสายที่สอง คือเกิดเป็นมนุษย์</b>

    แดนเกิดสายที่สอง คือ เกิดเป็นมนุษย์ ท่านว่าคนที่ตายแล้วจะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ ต้องมีกรรมบถ ๑๐ หรือที่รู้กันง่ายๆก็คือ เป็นคนมีศีล ๕ ประจำ ได้แก่
    ๑)เป็นคนมีเมตตาปรานี ไม่รังแกข่มเหงทำร้ายใคร ไม่ว่าคนหรือสัตว์ มีความรัก เมตตาปรานีคนและสัตว์ เสมอด้วย รักคนเอง
    ๒)ไม่มือไว คือ เคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลอื่น ไม่ยอมถือเอาทรัพย์สินของใครมาเป็นของตน ในเมื่อเจ้าของไม่อนุญาตด้วยความเต็มใจ
    ๓)ไม่ใจเร็ว ละเมิดความรักในบุตร ธิดา ภรรยา สามี ของบุคคลอื่น
    ๔)ไม่เป็นคนไร้สัจจะ พูดแต่เรื่องที่เป็นสาระตรงต่อความเป็นจริง
    ๕)ทำตนให้คนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือ เป็นคนมีอารมณ์รับรู้ความดี ความชั่วตามกฎของกรรม ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยด้วยน้ำเมาต่างๆ

    ท่านที่ทรงความดี ๕ อย่างนี้ ท่านว่าตายจากความเป็นคนแล้ว มีสิทธิ์กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ได้


    <b> แดนเกิดที่สาม ได้แก่ สวรรค์</b>

    แดนเกิดสายที่สาม ได้แก่ สวรรค์ อาการที่ทำให้คนเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้าบนสวรรค์ ท่านบรรยายไว้มาก แต่เมื่อสรุปกล่าวโดยย่อมี ๒ อย่าง คือ

    ๑)เป็นคนมีความละอายต่อความชั่ว ไม่ยอมทำชั่วในทุกสถานที่
    ๒)เกรงผลของชั่ว จะทำให้เกิดความ้ดือดร้อน

    เหตุ ๒ ประการนี้ เป็นผลทำให้ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้า


    <b> แดนเกิดสายที่สี่ ได้แก่ พรหมโลก</b>

    แดนเกิดสายที่สี่ ได้แก่ พรหมโลก พรหมกับเทวดามีดินแดนที่เกิดเป็นคนละแดนกัน พรหมท่านว่าศักดิ์ศรีดีกว่าเทวดาและมีชั้นภูมิสูงกว่า มีอำนาจมากกว่า มีความสุขดีกว่า ความสวยสดงดงามดีกว่าเทวดา แต่พรหมไม่มีเพศ คือไม่มีเพศหญิงหรือเพศชาย ทั้งนี้เพราะพรหมไม่มีการครองคู่ ท่านว่ามีความสุขสงบสงัด ท่านที่จะเป็นพรหมได้ ท่านว่าต้องเป็นนักกรรมฐาน และมีอารมณ์จิตสุดท้ายก่อนตาย อารมณ์จิตเป็นฌานที่เรียกว่า เข้าฌานตาย


    <b> แดนเกิดสายที่ห้า ได้แก่ พระนิพพาน</b>

    แดนเกิดสายที่ห้า ได้แก่ พระนิพพาน แดนนี้เป็นเขตที่รู้เรื่องกันยากมาก เพราะนักปราชญ์สมัยนี้ถือว่า "นิพพานสูญ" กันเป็นประเพณีไปแล้ว ขอบอกไว้ย่อๆ ว่า คนที่จะถึงพระนิพพานได้นั้น ต้องมีความบริสุทธิ์ ๑๐ อย่าง คือ
    ๑)ไม่เมาในตนเองหรือวัตถุต่างๆ ที่คิดว่าเป็นสมบัติของ
    คน รู้เสมอว่าจะต้องตายและพลัดพรากจากของรักของชอบแน่นอน
    ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามความตายและความพลัดพลากได้ทำจิตใจ
    เป็นปกติเมื่อความตายมาถึงหรือเมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก
    ๒)ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนตาม
    ความเป็นจริง ทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่าสิ่งที่มีชีวิตต้องทำลายตนเอง
    ลงไปในเมื่อกาลเวลามาถึง ไม่มีอะไรทรงสภาพเป็นปกติอยู่ได้ ใคร
    ทำความดี ความดีก็คุ้มครองให้มีความสุขใจ ใครทำความชั่ว ความชั่ว
    จะบันดาลความเดือดร้อนให้ แม่ผู้อื่นยังไม่ลงโทษ ตนเองก็มี
    ความหวาดสะดุ้งเป็นปกติ
    ๓)รักษาศีลมั่นคง ดำรงจิตอยู่ในศีลเป็นปกติ
    ๔)ทำลายความใคร่ในกามารมณ์ให้สิ้นไปจากใจ ด้วย
    อำนาจความรู้ถึงความจริง รู้ว่าความรักเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์
    ภัยอันตรายที่มีขึ้นแก่ตน เพราะอาศัยความรักเป็นเหตุ
    ๕)มีจิตใจเต็มไปด้วยความเมตตาปรานี ไม่โกรธ ไม่จอง
    ล้างจองผลาญ คิดทำอันตรายใคร ไม่ว่าใครจะแสดงอาการอย่างไร
    จิตก็ไม่คลายจากความเมตตา
    ๖)ไม่มัวเมาในรูปฌาน โดยคิดว่าการที่ตนทรงรูปฌาน
    ได้นี้ เป็นผู้ถึงที่สุดของความดี เมาฌานจนไม่สนใจความดีที่ตนยังไม่ได้
    ๗)ไม่มัวเมาในอรูปฌาน โดยคิดว่าความดีเพียงเท่านี้ ยังไม่เป็นทาง
    สิ้นทุกข์
    ๘)มีอารมณ์เป้นปกติ ไม่คิดถึงเรื่องอารมณ์เหลวไหล มี
    จิตใจเต็มไปด้วยความหวังดี ไม่ว่าต่อคนหรือสัตว์ ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่
    ๙)ไม่ถือตน ทะนงตน ว่าดีเลิศประเสริฐกว่าใคร มี
    อารมณ์ใจเป็นปกติ เห็นคน สัตว์ ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของ
    ธรรมดาที่จะต้องตาย จะต้องสลายไป และมีอารมณ์ไม่หวั่นไหว
    เมื่อเข้าสังคมสมาคมใดๆ มีอาการเป็นเสมือนว่าสังคมนั้น
    สมาคมนั้นๆ เป็นกลุ่มของคนที่ต้องตาย ไม่ทำตัวใหญ่หรือเล็ก
    จนน่าเกลียด ทำตนพอเหมาะพอสมควรแก่สมาคมนั้นๆเรื่องของ
    เขา เขาจะดีจะชั่วก็ตัวของเขา เราช่วยได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็เฉยไว้
    ไม่สนใจที่จะไปเบ่งบารมีทับใคร
    ๑๐)ตัดความรัก ความพอใจในโลกีย์วิสัยให้หมด
    งดอารมณ์อยากดีอยากเด่น ทำอารมณ์เป็นพระพุทธในพระ
    อุโบสถ พระพุทธท่านยิ้มเสมอ ท่านที่จะถึงพระนิพพานต้องยิ้ม
    ได้อย่างพระพุทธ ใครจะดีจะชั่วก็ยิ้ม เพราะเห็นเป็นของธรรมดา
    มันหนีไม่ได้ไล่ไม่พ้น


    เมื่อยังมีตัวตนเป็นคนมันก็ต้องพบอาการอย่างนี้ อยู่
    ก็สบายใจ ความตายจะมาถึงก็ไม่สะดุ้งหวาดกลัวเพราะรู้ตัวอยู่
    เสมอว่าจะต้องตาย มีอารมณ์ในปกติ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่ผูกพัน
    ทรัพย์สินหรือสัตว์ หรือบุคคลอื่น เท่านี้ก็ไปพระนิพพานได้

    ทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ที่ไม่ทำความชั่วเลยน่ะไม่มี ดังนั้น
    ถ้าเราจะชดใช้บาปก็คงชดใช้กันไม่ไหว มีทางเดียวในกิจของ
    พระพุทธศาสนา คือ หนีบาป ด้วยการปฏิบัติดังนี้
    ๑)การคิดถึงคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ
    และพระอริยสงฆ์คุณ
    ๒)ทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์
    ๓)มีพรหมวิหาร ๔ ให้ครบถ้วน
    ๔)มีอิทธิบาท ๔ ทรงตัว
    ๕)มีการภาวนาจิตให้ทรงตัว
    ๖)พยายามรวบรวมบารมี ๑๐ ประการ ให้มีในจิตให้ครบถ้วน
    ๗)พยายามตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการให้หมด
    ๘)จรณะ ๑๕ ปฏิบัติให้ครบถ้วน


    <b>สรุปหัวข้อบารมี ๑๐</b>

    ๑.ทานบารมี พอใจในการให้ทานอยู่เสมอ เป็นการตัดโลภะ ความโลภ
    ๒.ศีลบารมี พยายามรักษาศีลให้ครบถ้วน เป็นการป้องกันอบายภูมิ
    ๓.เนกขัมมะบารมีพยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้นตัดสังโยชน์ไปเสียเป็นเรื่องสุดท้าย ป้องกันความวุ่นวายของชีวิต
    ๔.ปัญญาบารมี ทรงปัญญาไว้ให้ดี ยอมรับนับถือกฎของความจริง คือการตัดอารมณ์กลุ้ม
    ๕.วิริยะบารมี มีความพากเพียรต่อสู้กับกิเลสและอารมณ์ของความชั่วเป็นการค่อยๆ ทำลายความชั่วให้พินาศไป
    ๖.ขันติบารมี ต้องมีความอดทนใจ เพราะกำลังใจของเราคบกับกิเลสมานาน ถ้าจะห่ำหั่นมันก็ต้องมีการต่อสู้ ต้องอดทน
    ๗.สัจจะบารมี ความตั้งใจจริง เราตั้งใจว่าจะทำอะไรก็ทำอย่างนั้นอย่าท้อถอย ไม่ยอมละ
    ๘.อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ดีว่า มนุษยโลก เทวโลกและพรหมโลกเป็นทุกข์ ตั้งใจไว้เฉพาะว่าจะไปนิพพาน
    ๙.เมตตาบารมี ทำจิตใจของเราให้ดี มีความแช่มชื่นเห็นคนและสัตว์ทั้งโลกเป็นที่รักของเราทั้งหมด เราไม่มีเวร ไม่มีภัยกับใครแล้ว
    ๑๐.อุเบกขาบารมี อดทนต่อความอดกลั้นทั้งหลายต่ออุปสรรคทั้งหมดวางเฉย ไม่ต่อสู้ ไม่รุกราน ไม่หวั่นไหว สร้างกำลังใจไว้โดยเฉพาะในเรื่องร่างกาย ร่างจะเป็นทุกข์ขนาดไหนถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของมัน


    <b>สรุปหัวข้อสังโยชน์ ๑๐ ต้องตัดให้หมด</b>

    ๑.สังกายทิฐิ มีความรู้สึกว่ากายนี้ต้องไม่ตาย และร่างกาย
    นี้เป็นเรา เป็นของเรา
    ตัด สังกายทิฐิ ให้คิดว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีร่างกายนี้
    ร่างกายนี้ไม่มีในเรา
    ๒.วิจิกิจฉา สงสัยคำสอนของพระพุทธเจ้า พระธรรม
    พระอริยสงฆ์
    ตัด วิจิกิจฉา เชื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
    พระธรรม พระอริยสงฆ์
    ๓.สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีล ไม่รักษาศีลจริงจัง
    ตัด สีลัพพตปรามาส รักษาศีลอย่างจริงจัง
    ๔.กามฉันทะ พอใจในกามคุณ
    ตัด กามฉันทะ ตัดความพอใจในกามคุณ
    ๕.ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ
    ตัด ปฏิฆะ ตัดอารมณ์ที่มากระทบใจ จิตมีเมตตาปราณี
    ๖.รูปราคะ หลงในรูปฌาน
    ตัด รูปราคะ ไม่หลงในรูปฌาน
    ๗.อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน
    ตัด อรูปราคะ ไม่หลงในอรูปฌาน
    ๘.มานะ มีการถือตัวถือตน
    ตัด มานะ ไม่ถือตัวว่าดีกว่าคนอื่น วิเศษกว่าคนอื่น
    ๙.อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
    ตัด อุทธัจจะ ตัดอารมณ์ฟุ้งซ่าน
    ๑๐.อวิชชา ไม่รู้ตามความเป็นจริงเรื่องนิพพาน
    ตัด อวิชชา เข้าใจตามความเป็นจริงเรื่องพระนิพพาน

    <b>อิทธิบาท ๔</b>

    ๑.ฉันทะ คือความพอใจในกิจที่จะพึงทำ
    ๒.วิริยะ คือ ความเพียรในการต่อต้านอุปสรรค
    ๓.จิตตะ คือ เอาจิตใจจดจ่ออยู่เสมอในกิจที่เราจะพึงทำไม่ละเลย
    ไม่เอาจิตให้ห่างเหิน ไม่เผลอ ให้จดจ่ออยู่แต่สิ่งที่เราจะทำให้ได้
    ๔.วิมังสา คือ ก่อนที่จะทำอะไรทั้งหมด ให้พิจารณาใช้
    ปัญญาใคร่ครวญดูให้ดีเสียก่อนว่าในสิ่งที่เราจะพึงทำนี้ว่าจะมี
    ผลดี ผลเสียอย่างไร เลือกเอาในส่วนเฉพาะที่มีผลดี ไม่เลือกเอา
    ในส่วนที่มีผลชั่ว

    ถ้ามีอิทธิบาท ๔ ครบถ้วนแล้ว จรณะ ๑๕ ก็จะมีครบถ้วน
    ด้วย และสามารถจะควบคุมบารมีทั้ง ๑๐ ประการให้คงตัว
    อาการทั้ง ๓ อย่างนี้จงทรงอารมณ์ให้ครบ อย่าให้ขาด ถ้าอารมณ์
    ๓ อย่างบกพร่อง ความสำเร็จที่ต้องการจะไม่เป็นผลเลย ต้อง
    พยายามควบคุมอารมณ์ให้ทรงตัว


    <b>พรหมวิหาร ๔</b>

    ๑.มีความรัก รักในคนในสัตว์ เสมอด้วยตัวเรา
    ๒.สงสารเห็นใจคนและสัตว์ มีความสงสาร เสมอด้วยตัว
    เราเอง
    ๓.มีจิตใจอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นใครได้ดีพลอยดีใจ
    ยินดีด้วย และปฏิบัติดีตามเขา ดูเหตุของความดีว่าทำไมเขาจึงดี
    เราทำตามนั้นบ้าง มันก็ดี ไม่ใช่แข่งขันกับเขา
    ๔.อุเบกขา การวางเฉย เห็นใครเพลี่ยงพล้ำ จิตพร้อม
    จะช่วยอยู่เสมอถ้ามีโอกาส

    นี่คือ ลักษณะของพรหมวิหาร มี ๔ อย่างแบบนี้ ได้บอกไว้แล้ว
    คนที่จะให้ทานต้องมี พรหมวิหาร ๔ เมื่อพรหมวิการ ๔มีแล้ว ศีลก็มีได้
    เมตตาความรักก็มี กรุณาความสงสารก็มี จิตใจ อ่อนโยนก็มี อุเบกขา
    การเฉยก็มี เฉยเพราะอย่างสัตว์พอที่จะฆ่าได้เราก็ไม่ฆ่า ปล่อยไป จัดเป็น
    อภัยทาน เห็นของพอที่จะขโมยได้ เราก็ไม่ขโมย อุเบกขาก็เฉย เห็นคนที่
    น่ารักพอที่จะยื้อแย่งความรักเข้าได้เราก็ไม่ทำ คนพอที่จะโกหกได้
    เราก็ไม่โกหก เฉยหรือว่า ดื่มสุราเมรัย มันล่ออยู่ข้างหน้า เราก็ไม่ดื่ม เฉย
    อย่างนี้ก็ได้ หรือมีความรักเสียอย่างหนึ่ง โกรธเขาไม่ได้ ทรมานเขาไม่
    ได้ มีความรักเสียอย่างหนึ่ง คดโกงไม่ได้ ขโมยเขาไม่ได้ มันทำไม่ได้
    มีความรักเสียอย่างหนึ่ง แย่งความรักเขาไม่ได้ โกหกมดเท็จ ก็ไม่ได้
    คนรักกันจะโกหกอย่างไร นี้คือลักษณะของคนที่มีพรหมวิหาร ๔ ดีอย่างนี้

    ฉะนั้นการรักษาศีลก็เป็นการรักษาไม่ยาก ถ้ามีพรหมวิหาร ๔
    ศีลไม่ยาก อยู่กับตัวแน่นอน หากขาดพรหมวิหาร ๔ ประการนี้แล้ว ก็เป็น
    ว่า ท่านหาความดีอะไรไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าความชั่วมันจะ
    หลั่งไหลเข้ามาสู่ใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ทั้งปัจจุบันและ สัมปรายภพ


    <b>ทาน</b>

    การบริจาค เป็นการกำจัด โลภะ ความโลภของจิต แล้วคนที่จะ
    ให้ทานได้ ก็ต้องประกอบไปด้วยความเมตตากรุณา ตกอยู่ในอำนาจของ
    พรหมวิหาร ๔ ถ้าคนใด จิตจับอยู่ในอำนาจของพรหมวิหาร ๔ วันหนึ่ง
    สักชั่วขณะจิตเดียว พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "หน้าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ที่ไม่วาง
    จากฌาน"แล้วคนใดที่มีเมตตาจิตอยู่แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้ว
    กล่าวว่า เขาผู้นั้นเป็นผู้มีอภัยทาน มีอานิสงส์มาก ตกนรกไม่เป็น


    <b>"สูงสุดคือวิหารทาน"</b>

    ทำทานกับคนไม่มีศีล ๑๐๐ ครั้ง

    มีอานิสงส์ไม่เท่ากับทำทานกับคนมีศีล ๑ ครั้ง

    ทำทานกับคนมีศีล ๑๐๐ ครั้ง

    มีอานิสงส์ไม่เท่ากับถวายทานแด่พระมีศีล ๑ ครั้ง

    การถวายทานแด่พระมีศีล ๑๐๐ ครั้ง

    มีอานิสงส์ไม่เท่ากับการถวายทานแด่พระอรหันต์ ๑ ครั้ง

    การถวายทานแด่พระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้ง

    มีอานิสงส์ไม่เท่ากับการถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ครั้ง

    การถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง

    ก็มีอานิสงส์ไม่เท่ากับการถวายทาน แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ครั้ง

    การถวายทาน แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง

    ก็มีอานิสงส์ไม่เท่ากับการถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง


    <b>มีอานิสงส์มาก</b>

    เป็นอันว่า วัตถุทานจริงๆ ที่มีอานิสงฆ์ คือการถวายสังฆทาน แต่

    วัตถุทานอีกอย่างหนึ่งก็คือ

    ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับการถวายวิหารทาน ๑

    ครั้ง ก็รวมความว่า วัตถุทานอันดับ ๒ คือสังฆทาน วิหารทาน

    เป็นอันดับ ๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.jpg
      0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.4 KB
      เปิดดู:
      496
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2005

แชร์หน้านี้

Loading...