ธรรมคติสอนใจ ตอน นักโทษคดีธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย tammathai, 16 ตุลาคม 2015.

  1. tammathai

    tammathai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2015
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +24
    โทษทัณฑ์คดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของมนุษย์ ถ้าจัดแบ่งเป็นประเภทแล้ว พอสรุปลงได้เป็นสองคือ คดีโลก และคดีธรรม ในทางคดีโลกนั้น ยึดกฎหมายหรือระเบียบของสังคมเป็นเครื่องตัดสิน ส่วนคดีธรรมมีผลกรรมเป็นเครื่องตัดสิน ในโทษทัณฑ์ทั้งสองอย่างนี้มีความกว้างแคบต่างกันคือ ถ้าทำผิดคดีโลก ก็จะต้องผิดคดีธรรมด้วย ในขณะที่ผิดคดีธรรมอาจไม่ผิดคดีโลกก็ได้ ในทางกลับกัน ทำถูกในทางคดีโลกอาจยังผิดคดีธรรมได้ แต่ถ้าทำถูกคดีธรรมแล้ว จะไม่ผิดคดีโลกเลย จึงไม่แปลกที่มีคำพูดว่า ถ้ามนุษย์ทุกคนมีศีลห้าบริบูรณ์ โรงพัก ศาลสถิตยุติธรรม และเรือนจำ ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป
    ในแง่ความศักดิ์สิทธิ์ กฎทางคดีโลกที่วางไว้อาจไม่เสมอภาคกันได้ เพราะผู้ทำผิดอาจหลบหนีหรือมีวิธีต่อสู้จนพ้นผิด หรือผู้บังคับใช้อาจย่อหย่อนเอนเอียง แต่กฎในคดีธรรมมีความเที่ยงตรงแน่นอน เพราะเป็นกฎแห่งกรรม ไม่มีการอภัยโทษ ไม่มีอายุความ และไม่มีที่ให้หลบซ่อน เรียกว่าหมดโอกาสลอยนวลจริง ๆ
    ดังนั้น ผู้หวังความมั่นคงปลอดภัยอย่างแท้จริง ควรระมัดระวังความผิดในคดีธรรมให้มากด้วย อย่างน้อยก็ควรมีศีลห้าเป็นเครื่องคุ้มครองตัวเอง เพราะเมื่อไม่ต้องโทษในคดีธรรมเสียแล้ว ก็จะไม่ต้องถูกพิพากษาให้เป็นผู้รับผิดในทุกคดีความ ... ธรรมะคติสอนใจ ตอน นักโทษคดีธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...