เรื่องเด่น ทำนุบำรุงสุขภาพพระ / โดย พระพยอม กัลยาโณ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 10 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    On August 10, 2017



    0b8b3e0b8a3e0b8b8e0b887e0b8aae0b8b8e0b882e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b89ee0b8a3e0b8b0-e0b982e0b894e0b8a2.jpg


    คอลัมน์ : สำนักข่าวพระพยอม

    ผู้เขียน : พระพยอม กัลยาโณ

    รองผู้ว่า กทม. ทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ พูดถึงการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในพื้นที่กรุงเทพฯว่า วิถีการดำเนินชีวิตของพระในกรุงเทพฯ แตกต่างกับจังหวัดอื่นๆ เนื่องจากบิณฑบาตในพื้นที่ใกล้ๆ หรือยืนรอรับจุดใดจุดหนึ่ง ขณะที่พระต่างจังหวัดส่วนมากต้องเดินไปรับบิณฑบาตระยะทางไกลๆ ประกอบกับการบริโภคอาหารที่ไม่สามารถเลือกบริโภคได้ ต้องขึ้นกับผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย ซึ่งพบว่าอาหารส่วนมากเป็นแกงที่มีไขมันสูง ของทอดที่มีความเค็ม หรือขนมหวาน ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของพระทั้งสิ้น พระในกรุงเทพฯจึงมีภาวะอ้วนมากที่สุดในประเทศคือกว่า 48 เปอร์เซ็นต์ มีภาวะอ้วน และมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง

    กทม.จึงวางแผนจะดูแลสุขภาพพระให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคอ้วน โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสุขภาพของพระที่มีวัดทั้งสิ้น 452 แห่ง แนะนำการรับประทานอาหารและการบริหารร่างกายอย่างเหมาะสม โดยศูนย์สาธารณสุขกรุงเทพมหานครและอาสาสมัครสาธารณสุขจะให้ความรู้ประชาชนในการถวายอาหารที่ถูกหลักโภชนาการด้วย รวมทั้งร้านจำหน่ายอาหารใส่บาตร รวมถึงการสุ่มตรวจคุณภาพอาหารให้ปลอดภัย หรือวัดใดต้องการให้ตรวจสุขภาพพระ ก็สามารถติดต่อกทม.ให้ส่งแพทย์และเจ้าหน้าที่ไปตรวจได้

    งานนี้ถือว่ากทม.ทำให้ชาวพุทธช่วยดูแลสุขภาพพระด้วย พระในกรุงเทพฯเดินบิณฑบาตรสั้นกว่าในต่างจังหวัดมาก บางวัดก็ไม่ได้ทำอะไร แต่วัดที่มีการทำงานพัฒนาวัดก็เหมือนเป็นการออกกำลังกายไปด้วย สุขภาพร่างกายก็ดี โรคภัยไข้เจ็บก็น้อย

    เรื่องการตักบาตรไม่ใช่จะต้องถามพระว่าเป็นเบาหวาน เป็นโรคตับ โรคไตอะไรบ้าง พระก็ฉันท์ตามที่ชาวบ้านถวาย ส่วนชาวบ้านก็กลัวว่าใส่น้ำพริกผักจิ้มผักต้มแล้วจะเชย เลยใส่แต่ของดีๆ แต่กลับไม่ดีต่อสุขภาพ จึงต้องทำความเข้าใจเรื่องสุขภาพพระ พระจะได้แข็งแรงและปฏิบัติศาสนากิจได้ดี ไม่ขี้โรค

    ก็อยากญาติโยมให้ช่วยกันดูแลสุขภาพพระด้วย ทำบุญแล้วก็ได้ลาภอันประเสริฐด้วย ตามพุทธภาษิตที่ว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ การทำบุญให้เกิดความประเสริฐเป็นลาภทั้งพระทั้งผู้ใส่บาตร ใส่ฉลาด รอบรู้ ใคร่ครวญ วิจัย ก็จะตรงกับคำสอนที่ว่าการจะให้ทานต้องมีวิจัยบ้างว่าให้ไปแล้วเกิดคุณเกิดโทษอะไรหรือไม่

    ชาวพุทธจึงต้องฉลาดในการทำบุญด้วย หากทำบุญแต่ศรัทธา แต่ไร้ปัญญา ก็เป็นศรัทธาเลื่อนลอย ศรัทธาเลื่อนเปื้อน ไม่ใช่ศรัทธาเลื่อนระดับ ศรัทธาเลื่อนระดับต้องทำด้วยความรู้ความเข้าใจ บุญทานที่ให้ก็จะเป็นความอนุเคราะห์เกื้อกูล ทำนุบำรุงพระสงฆ์อย่างแท้จริง ไม่ใช่ทำนุบำรุงโรค จึงต้องช่วยๆกันให้ความรู้คนที่ทำบุญจะได้บุญเพิ่มขึ้น ก็หวังว่าจะทำบุญที่ฉลาดขึ้น

    เจริญพร




    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.lokwannee.com/web2013/?p=277747
     

แชร์หน้านี้

Loading...