ทำความรู้จัก “สมณศักดิ์” พระสงฆ์ของไทยตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการปกครองสงฆ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 6 กันยายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    เมื่อกล่าวถึง สมณศักดิ์ คงทำให้เรานึกถึงตำแหน่งของพระสงฆ์ที่ พระมหากษัตริย์หรือรัฐถวายให้ เพื่อเป็นการยกย่องสนับสนุนในการบำเพ็ญศาสนกิจ อีกทั้งยังมีความเกี่ยวโยงกับตำแหน่งในด้านการบริหาร เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ในทำนองเดียวกับบรรดาศักดิ์ ของขุนนาง สําหรับประเทศไทยระบบสมณศักดิ์และพัดยศของพระสงฆ์ไทยจึงน่าจะได้รับ แบบอย่างมาจากประเทศศรีลังกา


    0b8a1e0b8a3e0b8b9e0b989e0b888e0b8b1e0b881-e0b8aae0b8a1e0b893e0b8a8e0b8b1e0b881e0b894e0b8b4e0b98c.jpg

    ส่วนความหมายของ “สมณศักดิ์” ในปัจจุบัน หมายถึงฐานันดรหรือยศของพระสงฆ์ซึ่งเป็นตําแหน่ง ในด้านเกียรติยศซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานให้พร้อมราชทินนามและพัดยศประกอบสมณศักดิ์ เทียบได้กับบรรดาศักดิ์หรือยศของขุนนางหรือข้าราชการในฝ่ายบ้านเมือง

    ตามประวัติที่ค้นเจอ สมณศักดิ์ ในประเทศไทยเริ่มปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัยสมัยพ่อขุน รามคําแหง ซึ่งพระองค์ทรงแต่งตั้งสมณศักดิ์ให้แก่พระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานพระศาสนา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระบบสมณศักดิ์ได้รับการปรับเปลี่ยนมาโดยตลอด และพัฒนาเป็นระบบที่ชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 6 ระบบสมณศักดิ์ในปัจจุบันได้มีส่วนช่วยสนับสนุนงานพระศาสนาด้านการปกครองคณะสงฆ์


    ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้มีการแบ่งการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็น 8 ระดับคือ
    1. สมเด็จพระสังฆราช
    2. มหาเถรสมาคม
    3. เจ้าคณะใหญ่
    4. เจ้าคณะภาค
    5. เจ้าคณะจังหวัด
    6. เจ้าคณะอําเภอ
    7. เจ้าคณะตําบล
    8. เจ้าอาวาส

    ขณะเดียวกันการแบ่งตำแหน่ง การปกครองของพระสงฆ์ยังสามารถ แบ่งย่อยออกเป็นรองเจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะอําเภอ รองเจ้าคณะตําบล รอง เจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระสงฆ์ผู้มีตําแหน่งด้านการปกครองหรือทําหน้าที่บริหารคณะ สงฆ์ในระดับต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า “พระสังฆาธิการ”

    สำหรับการจัดลำดับชั้นของสมณศักดิ์ นอกจากจะแบ่งตามประเภทฐานันดรและประเภทตําแหน่ง แล้วยังสามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท
    1. สมณศักดิ์ เกี่ยวกับความรู้ คือสมณศักดิ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งถวายพระภิกษุรวมทั้ง สามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรมตั้งแต่ 3 ถึง 9 ประโยค โดยแต่ละประโยคมีพัดยศกํากับ
    2. สมณศักดิ์เกี่ยวกับผลงาน คือสมณศักดิ์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากการพิจารณาผลงาน ด้านต่างๆ มีสาธารณูปการและการศึกษาเป็นต้น ได้แก่ สมณศักดิ์ชั้นพระครูประทวน พระ

    8a1e0b8a3e0b8b9e0b989e0b888e0b8b1e0b881-e0b8aae0b8a1e0b893e0b8a8e0b8b1e0b881e0b894e0b8b4e0b98c-1.jpg

    นอกจากสมณศักดิ์จะสามารถแบ่งเป็นสมณศักดิ์ประเภทฐานันดรและประเภทตําแหน่งคือ หน้าที่ดังที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว ยังสามารถแบ่งประเภทในแบบอื่นได้อีก ถ้าแบ่งตาม สาเหตุหรือเหตุผลที่ใช้ในการตั้งสมณศักดิ์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    1. สมณศักดิ์เกี่ยวกับความรู้ คือสมณศักดิ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งถวายพระภิกษุรวมทั้ง สามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรมตั้งแต่ 3 ถึง 9 ประโยค โดยแต่ละประโยคมีพัดยศกํากับ
    2. สมณศักดิ์เกี่ยวกับผลงาน คือสมณศักดิ์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากการพิจารณาผลงาน ด้านต่างๆ มีสาธารณูปการและการศึกษาเป็นต้น ได้แก่ สมณศักดิ์ชั้นพระครูประทวน พระฐานานุกรม พระครูสัญญาบัตร และพระราชาคณะ

    ถ้าแบ่งตามลําดับชั้นและชนิดของสมณศักดิ์ที่สามารถจําแนกเป็นกลุ่มๆ ได้ สมณศักดิ์มีอยู่ 5 ประเภท คือ
    1. พระราชาคณะ คือสมณศักดิ์ระดับสูงที่เรียกพระสงฆ์ผู้ได้ตําแหน่งระดับนี้ว่า “เจ้าคุณ” สามารถแบ่งย่อยตามลําดับจากสูงสุดลงไปเป็น 7 ระดับ ดังนี้
    1.1) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถ้าเป็นพระ ราชวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    1.2) สมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ
    1.3) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ (รองสมเด็จพระราชาคณะ)
    1.4) พระราชาคณะชั้นธรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
    (1) พระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (2) พระราชคณะชั้นธรรม ที่มีราชทินนามเฉพาะและมีพัดยศประจําราชทินนนาม
    (3) พระราชาคณะชั้นธรรม
    1.5) พระราชาคณะชั้นเทพ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    (1) พระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (2) พระราชาคณะชั้นเทพ
    1.6) พระราชาคณะชั้นราช แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    (1) พระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (2) พระราชาคณะชั้นราช
    1.7) พระราชาคณะชั้นสามัญ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
    (1) พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (2) พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ
    (3) พระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (4) พระราชาคณะชั้นสามัญยก

    8a1e0b8a3e0b8b9e0b989e0b888e0b8b1e0b881-e0b8aae0b8a1e0b893e0b8a8e0b8b1e0b881e0b894e0b8b4e0b98c-2.jpg


    2. พระครูสัญญาบัตร คือสมณศักดิ์ที่มีราชทินนามขึ้นต้นด้วยคําว่า “พระครู” ซึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพร้อมกับพระราชทานสัญญาบัตรและพัดยศเป็นสมณศักดิ์ที่มีหลาย กลุ่มและหลายระดับ ดังนี้
    2.1) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะปกครองระดับจังหวัด แบ่งเป็น
    (1) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด
    (2) พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด
    2.2) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอําเภอ แบ่งเป็น
    (1) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอําเภอ ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (2) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอําเภอ ชั้นพิเศษ
    (3) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอําเภอ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (4) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอําเภอ ชั้นเอก
    (5) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอําเภอ ชั้นโท
    2.3) พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอําเภอแบ่งเป็น
    (1) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (2) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นพิเศษ
    (3) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (4) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นเอก
    (5) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นโท
    (6) พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอําเภอ ชั้นเอก
    (7) พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอําเภอ ชั้นโท
    2.4)พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตําบล แบ่งเป็น
    (1) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (2) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นพิเศษ
    (3) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (4) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นเอก
    (5) พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอําเภอ ชั้นโท
    (6) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตําบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (7) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตําบล ชั้นเอก
    (8) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตําบล ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (9) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตําบล ชั้นโท
    (10) พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตําบล ชั้นตรี
    2.5) พระครูสัญญาบัตร พระอารามหลวง แบ่งเป็น
    ก. เจ้าอาวาสพระอารามหลวง
    (1) พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก
    (2) พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท
    (3) พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นตรี
    ข. รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
    (1) พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก
    (2) พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท
    (3) พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี
    ค. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
    (1) พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (2) พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ
    (3) พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (4) พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก
    (5) พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท
    2.6) พระครูสัญญาบัตร วัดราษฎร์ แบ่งเป็น
    ก. เจ้าอาวาสวัดราษฎร์
    (1) พระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (2) พระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ
    (3) พระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (4) พระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก
    (5) พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (6) พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก
    (7) พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    (8) พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท
    (9) พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี
    ข. รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์
    (1) พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์
    (2) พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์

    8a1e0b8a3e0b8b9e0b989e0b888e0b8b1e0b881-e0b8aae0b8a1e0b893e0b8a8e0b8b1e0b881e0b894e0b8b4e0b98c-3.jpg

    3. พระฐานานุกรม คือสมณศักดินอกทําเนียบที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรม ราชานุญาตให้พระราชาคณะตั้งพระสงฆ์ด้วยกันเป็นพระฐานานุกรมเพื่อประดับเกียรติยศได้ตาม ฐานานุศักดิ์ของพระราชาคณะแต่ละชั้น เช่น
    1) พระราชาคณะชั้นสามัญ ปลัดซ้ายและปลัดขวา ของสมเด็จพระสังฆราช
    2) พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ
    3) พระครูปลัดของพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ
    4) พระครูปลัดของพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นสุพรรณบัฏ
    5) พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระสังฆราช
    6) พระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นธรรม
    7) พระครูฐานานุกรมชั้นโทของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริตร)
    8) พระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นเทพ
    9) พระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นราช
    10) พระครูวินัยธร
    11) พระครูธรรมธร
    12) พระครูคู่สวด
    13) พระปลัดของพระราชาคณะชั้นสามัญ
    14) พระครูสังฆรักษ์
    15) พระครูสมุห์
    16) พระครูใบฎีกา
    17) พระสมุห์
    18) พระใบฎีกา


    4. พระเปรียญ คือสมณศักดิ์ของพระภิกษุผู้สอบได้เปรียญธรรมตั้งแต่ 3 – 9 ประโยค โดย ในแต่ละประโยคหรือแต่ละชั้นจะมีพัดยศเปรียญประกอบสมณศักดิ์ เป็นสมณศักดิ์ฝ่ายคันถธุระคือ ฝ่ายการศึกษา ไม่เกี่ยวกับการปกครอง ซึ่งในอดีตไม่นับเป็นสมณศักดิ์ ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณ เจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงปรับปรุงลําดับสมณศักดิ์โดยจัดเปรียญเข้าในสมณศักดิ์ด้วย

    5. พระครูประทวน คือตําแหน่งประทวนสมณศักดิ์อันเป็นตําแหน่งพระครูที่สมเด็จ พระสังฆราชทรงแต่งตั้งแก่พระสงฆ์ผู้เป็นกรรมการศึกษาและอุปการะโรงเรียนทั้งฝ่ายพระปริยัติ ธรรมและโรงเรียนของรัฐ พระครูชั้นนี้ไม่มีราชทินนาม มีแต่คําว่า “พระครู” นําหน้าชื่อตัว เช่น พระภิกษุบุญธรรม ได้รับแต่งแต่งเป็นพระครูประทวน จะมีนามว่า “พระครูบุญธรรม”

    ลำดับชั้นสมณศักดิ์ที่ไล่มานี้ยังไม่ครอบคลุมทุกตำแหน่ง เพราะยังมีบางสมณศักดิ์ ที่ไม่ได้จัดเข้าในประเภทต่างๆและการแบ่งลําดับชั้นเมื่อเรียงตามลําดับพัดยศสมณศักดิ์ก็มีความซ้อนเหลื่อมกันในแต่ละ ประเภทโดยเฉพาะระดับที่ต่ำกว่าพระราชาคณะลงมา เช่น ตําแหน่งพระเปรียญธรรม 9 ประโยค จะ ต่ำกว่าพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอําเภอชั้นพิเศษ และพระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ แต่สูง กว่าพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท และพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอําเภอชั้น


    อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพ

    – กรมการศานา

    – รายงานการวิจัยเรื่อง สมณศักดิ์ : ข้อดีและปัญหา

    – พัดยศ สรมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย


    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/155750
     

แชร์หน้านี้

Loading...