ทดลองอ่าน พระวืนัยเล่ม ๗ ปาติโมกขฐปนะขันธกะ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 5 มิถุนายน 2010.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    <CENTER>ปาติโมกขฐปนะขันธกะ

    </CENTER><CENTER>เรื่องพระอานนทเถระ</CENTER>[๔๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่ปราสาท
    ของมิคารมารดา ในบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นวันอุโบสถ
    ๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่ จึงท่านพระอานนท์
    เมื่อล่วงเข้าราตรี ปฐมยามผ่านไปแล้ว ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคอง
    อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้าราตรี ปฐม
    ยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระปาติ
    โมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระ
    ผู้มีพระภาคทรงนิ่งเสีย
    แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว
    ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบ
    ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้าราตรี มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นาน
    แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า
    แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่งเสีย
    แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว
    อรุณขึ้น ราตรีสว่างแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไป
    ทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้าราตรี ปัจฉิมยาม
    ผ่านไปแล้ว อรุณขึ้นราตรีสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระ
    ภาคทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์ ฯ
    [๔๔๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะคิดว่า พระผู้มีพระภาคตรัส
    อย่างนี้ว่า ดูกรอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์ ทรงหมายถึงบุคคลไรหนอ
    ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ มนสิการกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ทั้งหมด
    ด้วยจิต ได้เห็นบุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ
    ปิดบังการกระทำ ไม่ใช่สมณะปฏิญาณว่า เป็นสมณะมิใช่พรหมจารี ปฏิญาณว่าเป็น
    พรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมองนั้น นั่งอยู่ ณ ท่ามกลางภิกษุ
    สงฆ์ ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาบุคคลนั้น ได้กล่าวไว้ว่าลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มีพระภาค
    ทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย แม้ท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย
    แม้ครั้งที่สอง ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า ลุกขึ้น
    เถิดท่าน พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุ
    ทั้งหลาย
    แม้ครั้งที่สอง บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย
    แม้ครั้งที่สาม ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า ลุกขึ้น
    เถิดท่าน พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุ
    ทั้งหลาย
    แม้ครั้งที่สาม บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย
    ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจับบุคคลนั้นที่แขนให้ออกไปนอกซุ้ม
    ประตู ใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคล
    นั้นข้าพระองค์ให้ออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดง
    พระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า น่าอัศจรรย์ โมคคัลลานะ ไม่เคยมี โมคคัลลานะ
    ถึงกับต้องจับแขน โมฆบุรุษนั้นจึงมาได้ ฯ


    <CENTER>ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในมหาสมุทร ๘ ประการ
    </CENTER>[๔๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร ๘ อย่างนี้ ที่พวกอสูรพบเห็น
    แล้ว พากันชื่นชมอยู่ในมหาสมุทร ๘ อย่างเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ มิใช่ลึกมาแต่
    เดิมเลย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับมิใช่ลึกมา
    แต่เดิมเลย นี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทรเป็นข้อที่ ๑ ที่พวก
    อสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯ
    [๔๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรตั้งอยู่ตามธรรมดาไม่ล้นฝั่ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรตั้งอยู่ตามธรรมดาไม่ล้นฝั่ง แม้นี้เป็น
    เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทรเป็นข้อที่ ๒ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
    พากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯ
    [๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่ตายแล้ว
    ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตายแล้วนั้นไป
    สู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่ตายแล้ว ซากศพ
    ที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตายแล้วนั้นไปสู่ฝั่ง
    ซัดขึ้นบกโดยพลัน แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร เป็นข้อ
    ที่ ๓ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯ
    [๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำคงคา
    ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย
    ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา
    อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึง
    ซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในมหาสมุทรข้อ
    ที่ ๔ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯ
    [๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อม
    ไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็ม
    ของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยัง
    มหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของ
    มหาสมุทร ไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ใน
    มหาสมุทรเป็นข้อที่ ๕ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯ
    [๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคย
    มีในมหาสมุทรเป็นข้อที่ ๖ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯ
    [๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่
    ชนิดเดียว รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
    สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่ชนิดเดียว
    รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา
    ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีใน
    มหาสมุทร เป็นข้อที่ ๗ ที่พวกอสูรพบเข้าแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร ฯ
    [๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์
    ใหญ่ๆ สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลา
    ติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ อยู่ในมหาสมุทร มี
    ลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ก็มี สามร้อยโยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี
    ห้าร้อยโยชน์ก็มี
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใหญ่ๆ สัตว์
    ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ
    ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ อยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี
    ... ห้าร้อยโยชน์ก็มี แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในมหาสมุทร เป็นข้อที่
    ๘ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในมหาสมุทร ๘ อย่างนี้แล ที่
    พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมอยู่ในมหาสมุทร ฯ


    <CENTER>ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัย ๘ ประการ
    </CENTER>[๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ มี
    ๘ อย่างเหมือนกันแล ที่พวกภิกษุพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ๘ อย่าง
    เป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ
    มิใช่ลึกมาแต่เดิมเลย สิกขาตามลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ ใน
    ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มิใช่แทงตลอดอรหัตผลมาแต่เดิมเลย ข้อที่สิกขาตาม
    ลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ ในธรรมวินัยนี้ มิใช่แทงตลอดอรหัตผล
    มาแต่เดิมเลย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๑ ที่ภิกษุ
    ทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ
    [๔๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่ตามธรรมดา
    ไม่ล้นฝั่ง สาวกทั้งหลายของเราก็เหมือนกัน ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติ
    แล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วง
    ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต แม้นี้
    ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๒ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น
    แล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ
    [๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่
    ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตาย
    แล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน บุคคลนั้นใดเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก มี
    ความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะปฏิญาณว่า
    เป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วย
    กิเลส ผู้เศร้าหมอง ก็เหมือนกัน สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกัน
    ยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอ
    ชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ ข้อที่บุคคลนั้นใด เป็นผู้ทุศีล มีธรรม
    ลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่สมณะ
    ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่ม
    ด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสีย
    โดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกล
    จากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้
    เป็นข้อที่ ๓ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ
    [๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำ
    คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย
    ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์
    ศูทร ก็เหมือนกัน ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ
    แล้ว ย่อมละชื่อและตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่า สมณะเชื้อสายพระ
    ศากยบุตรทีเดียว ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจาก
    เรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและตระกูล
    เดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่าสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว แม้นี้ก็เป็นความ
    อัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๔ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากัน
    ชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ
    [๔๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป
    ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความ
    เต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้า
    แม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพาน
    ธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วย
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ
    เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่
    ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ
    [๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว
    ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีวิมุตติรส รสเดียว ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีวิมุตติรส รสเดียว
    แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๖ ที่ภิกษุทั้งหลายพบ
    เห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ
    [๔๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มี
    รัตนะมิใช่ชนิดเดียว รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
    แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ธรรมวินัย
    นี้ก็เหมือนกัน มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรมวินัยนั้นเหล่านี้
    คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
    อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ธรรมวินัยนี้ มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะ
    ในธรรมวินัยนั้นเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ... อริยมรรคมีองค์ ๘ แม้นี้ก็เป็น
    ความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๗ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว
    พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ
    [๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของ
    สัตว์ใหญ่ๆ สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ... อสูร นาค
    คนธรรพ์ มีอยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ก็มี สามร้อย
    โยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี ห้าร้อยโยชน์ก็มี ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เป็นที่อยู่
    อาศัยของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในธรรมวินัยนั้นเหล่านี้ คือ โสดาบัน ผู้ปฏิบัติเพื่อ
    ทำให้แจ้งซึงโสดาปัตติผล สกิทาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกิทาคามิผล
    อนาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล อรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็น
    อรหันต์ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่อาศัยของคนใหญ่ๆ คนใหญ่ๆ ในธรรมวินัย
    นั้นเหล่านี้ คือ โสดาบัน ... ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์
    ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๘ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมใน
    ธรรมวินัยนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ ๘ ประการนี้แล
    ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ
    [๔๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทาน
    ในเวลานั้น ว่าดังนี้


    <CENTER>อุทานคาถา
    </CENTER>สิ่งที่ปิดไว้ ย่อมรั่วได้ สิ่งที่เปิด ย่อมไม่รั่ว เพราะฉะนั้น
    จงเปิดสิ่งที่ปิด เช่นนี้ สิ่งที่เปิดนั้นจักไม่รั่ว ฯ
    [๔๖๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาติโมกข์ ตั้งแต่บัดนี้ไป
    พวกเธอพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ตถาคตจะพึงทำ
    อุโบสถ แสดงปาติโมกข์ในบริษัทผู้ไม่บริสุทธิ์ นั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุมีอาบัติ ไม่พึงฟังปาติโมกข์ รูปใดฟัง ต้องอาบัติทุกกฏ
    เราอนุญาตให้งดปาติโมกข์ แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวฟังปาติโมกข์


    <CENTER></CENTER>


    <CENTER>วิธีงดปาติโมกข์
    </CENTER>ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงงดอย่างนี้ เมื่อถึงวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ
    เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีอาบัติติดตัว ข้าพเจ้า
    งดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้
    ปาติโมกข์เป็นอันงดแล้ว ฯ

    ที่มาเนื้อหา http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=5360&Z=5403&pagebreak=0

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.992046/[/MUSIC]

    ที่มาไฟล์เสียง http://palungjit.org/threads/ทดลองอ่าน-พระไตรปิฎกเล่มที่-๗-พระวินัยปิฎกเล่มที่-๗.3970/page-2#post33684
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • playlist2.txt
      ขนาดไฟล์:
      400 bytes
      เปิดดู:
      170
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...