ถ้าบารมี 10 มีความเข้มข้นมากเท่าไร สังโยชน์ 10 มันก็จะจางตัวไปมากเท่านั้น

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย jchai4, 7 ตุลาคม 2007.

  1. jchai4

    jchai4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    212
    ค่าพลัง:
    +1,075
    บารมี ๑๐ก็คือกำลังใจอย่างไรล่ะบรรดาพุทธบริษัท อย่าลืมว่าความดีในพระพุทธศาสนาขึ้นอยู่กับกำลังใจอย่างเดียว เพราะท่านทัง้หลายคงยังจำได้ว่า คนเราถ้าตายไปแล้ว ที่เขาบอกว่าไปตกนรก ไปขึ้นสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพาน เขาไม่ได้ไปกันอย่างอื่น เขาเอาใจกันไป เขาไปกันด้วยกำลังใจ
    ตัวที่ตั้งใจไว้ นี่เราจะต้องให้ทาน เพื่อเป็นการทำลายความโลภ ให้หมดไปจากใจ คือว่าเราจะให้ทาน เพื่อความอยู่เป็นสุขในชาติปัจจุบัน หรือเราจะให้ทาน เพื่อความปราถนาว่าผลของทานนี้นั้นสามารถจัส่งผลให้ไปสวรรค์ได้
    ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงกล่าวว่า "ทานัง สัคคโส ปานัง" ทานย่อมเป็นบันไดให้ไปสวรรค์ นี่เราตั้งจิตอฐิษฐานไว้ว่า คุณธรรมทั้ง 3 ประการ คือ
    1. เกิดเป็นมนุษย์ที่มีความร่ำรวย
    2. เกิดเป็นเทวา
    3. เข้าพระนิพพาน
    เราตั้งจิต อฐิษฐานไว้แล้ว เกิดมาชาตินี้ต้องจับเอาจุดนี้ให้ได้ จุดใดจุดหนึ่งที่เราต้องการ เมื่อจิตอธิษฐาน ตั้งใจไว้จริงๆ ปักหลักให้ตรงเป๋ง อย่างนี้มันจึงจะให้ทานได้
    ถ้ากำลังใจของเราไม่มี คือ ที่คิดแล้วมันมีความโลเล ไม่ตั้งจิตตรงไว้ในกาลก่อน ว่าปราถนาในการให้ทาน ผลของทานมันจึงกลายเป็นทานอะไรล่ะ เป็นศรัทธาหัวเต่า ผลุบเข้าผลุบออก ดึงออกมาแล้วกลับยึดเข้าไปใหม่
    สัจจบารมี เราตั้งใจไว้แล้วนี่ว่าเราจะให้ทาน เราทำกิจการงานทังหมดเพื่อรวบรวมทรัพย์สิน บริจาคทานเพื่อหวังพระนิพพาน เพื่อหวังสวรรค์ เพื่อหวังพรหม เพื่อความเป็นมนุษย์ที่ร่ำรวย เราก็ต้องให้จนได้ เราจะไม่ยอมเสียสัจจะความจริง
    วัตถุทานที่เราจะได้มา บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เราต้องหามาด้วยความเหนื่อยยาก เราหามาด้วยความลำบากยากยิ่ง กว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิงจะมีเงินจะมีทอง ต้องเหน็ดเหนื่อยด้วยประการทั้งปวง ถ้าไม่อดทนในการหาละก็เราก็ไม่มีวัตถุในการให้ทาน นี่เรื่องของทาน ขัติบารมีวิางเข้ามาอีกชั้นหนึ่ง
    ขันติ ความอดทนที่ต้องเสียทรัพย์สินที่หามาได้โดยยาก นี่มันมีความสำคัญมากบรรดาท่านพุทธบริษัท แต่ขาด ขันติบารมี แล้วหยิบอะไรไม่ได้คิดว่าแหมของสิ่งนี้ซื้อมาแพง กว่าเราจะมีเงินซื้อก็มีแต่ความลำบาก มีความยุ่งยากด้วยประการทั้งปวงจะให้เนาทำไมหมดหนอ ใจมันก็ไม่สบาย ตอนนี้ก็ต้องเอา ขันติ เข้าข่มใจ อดทน เข้าไว้ว่านี่เราอดเปรี้ยวเพื่อกินหวาน เราให้วัตถุทานเพื่อหวังพระนิพพานซึ่งเป็นที่มีความสุขในเบื้องหน้า
    คนที่จะให้ทานในระยะแรกๆ ที่มีบารมียังอ่อน ถ้าไม่มีความเพียรเข้าไปตัด มัจฉริยะ ความตระหนี่หรือความขี้เหนียว ความหวงแหนในทรัพย์สินของตน อันนี้อาตมารับรองผลเลย ถ้าไม่มีความเพียรตัดได้ตัวนี้ให้ทานไม่ได้ ต้องใช้ความเพียรเข้าไปตัด มัจฉริยะ คือความตระหนี่เหนียวแน่นให้สลายตัวไปไม่อย่างนั้นทำไม่ได้หรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท
    อีกประการหนึ่งคนที่ตั้งใจจะให้ทานหวังผลในทานบารมี ถ้าเราจะให้ทานด้วยวัตถุเราก็ต้องเพียรหาวัตถุเข้ามา นี่ วิริยะบารมี ก็ตามมา
    ถ้าหากว่าเราจะให้ทานเป็น อภัยทาน คือกำลังใจไม่ประกาศเป็นศัตรูกับใคร เราก็ต้องมีความเพียรตัดความโกรธ ตัดความพยาบาท นี่เป็นอันว่า การให้ทานครั้งเดียว วิริยะบารมี วิ่งตามเข้ามาอีกแล้ว
    การให้ทานเป็นการสงเคราะห์ เป็นการผูกมิตรทำจิตใจให้มีความสุข เราไปทางไหนก็ตาม ถ้าเรามีเพือนมาก มัคนเป็นที่รักมาก เราก็มีความสุข เพราะอันตรายมันมีน้อย กล่าวคือ ช่วยป้องกัน อันตรายได้ ทำใจให้เป็นสุข ให้มีความอยู่เป็นสุข เพราะการให้ทานก็ด้วยอำนาจ เมตตาบารมี เป็นต้น
    ถ้าขาดเมตตาบารมี นำแล้ว การให้ทานมีผลไม่ได้ ในเมื่อเรามีเมตตาจิต คนที่คิดประทุษร้ายก็น้อยเต็มที เว้นไว้แต่ผู้ร้ายขององค์สมเด็จพระชินสีห์ คือ พระเทวทัต หรือ เผ่าพันธุ์ของเขาเท่านั้น นี่ปล่อยเขาไป บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
    ทีนี้มีปัญญาสูงไปกว่านั้น เขาคิดว่าการให้ทานนี่เป็นการทำลายความโลภ เป็นการทำลายการเกิดที่จะมาสู่คนให้รับผลของความทุกข์ต่อไปนี้ คนที่มีปัญญาใหญ่เขาพิจารณาอย่างนี้
    ฉะนั้น การให้ทานสักที ก็ต้องอาศัย ปัญญาเป็นเครื่องประกอบ
    เนกขัมมบารมี คือการถือบวชมันก็ปรากฎเนกขัมมะ ที่เขาถือกันได้ในขั้นต้นก็ตัดนิวรณ์ 5 ประการ คือ
    1. ความรักด้วยอำนาจกามารมณ์
    2. ความโกรธ เรามีเมตตาเสียแล้วจะโกรธอย่างไรล่ะ
    3. ตัวง่วง เราไม่โกรธแล้วแล้วตั้งใจให้ทานมันจะง่วงตรงไหน
    4. อารมณ์จิตฟุ้งซ่าน เราตั้งใจไว้แล้วว่าเราทั้งรักทั้งสงสาร จิตมันตรงแน่ว มันจะฟุ้งซ่านไปไหน
    5. ความสงสัย มันไม่ปรากฎ เพราะเราเชื่ออค์สมเด็จพระบรมสุคตว่า การให้ทานเป็นการตัดความโลภ เป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน กำลังใจเรามันเต็มเสียแล้ว ถ้าเราสงสัยเราจะให้อย่างไร นี่เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตร
    เห็นไหมบรรดาท่านพุทธบริษัท การให้ทาน คราวเดียว เนกขัมมบารมี วิ่งเข้ามาชนอีก
    ทานบารมี นี้ ในเมื่อเราให้ทานเพราะอาศัยมี ความรัก มีความสงสารเป็นปัจจัย ถ้าเราเกลียดแล้ว เราก็ให้ไม่ได้ เวลานี้เรายังบำเพ็ญบารมีอยู่ จะไปเอากำลังใจเท่าองค์สมเด็จพระบรมครู หรือว่ากำลังใจเท่าพระอรหันต์นั้นเป็นไปไม่ได้
    ทีนี้ลองคิดกันดูว่า ถ้าเราเกรียดเราจะให้ได้ไหม ไม่ได้แน่บรรดาท่านพุทธบริษัท อย่างว่าแต่สละวัตถุเลย แม้แต่กำลังใจที่คิดจะให้มันก็ไม่มี
    ที่นี้การให้ทาน เราต้องบวกอะไรเข้ามาบ้าง ก่อนจะหวังในการสงเคราะห์ หวังในการเกื้อกูล อาศัยความรัก ความสงสาร เป็นสำคัญ
    ความรักความสงสารเป็นอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เป็น เมตตาบารมี เห็นหรือยังนี่ นี่เราจะให้ทานแล้วเมตตามันเข้ามาค้ำจุนอยู่ เข้ามาประคับประคอง นี่เป็นสองบารมีที่เข้าควบกันแล้ว
    ที่นี้คนในเมื่อเมตตาบารมีปรากฏ มีเมตตาแล้ว อะไรมันตามมาอีก บรรดาท่านพุทธบริษัท ตัวเมตตาเกิดขึ้นแล้ว ศีล มันก็ปรากฏ เพราะศีลจะมีกับใครได้นั้นต้องมีเมตตาเป็นพื้นฐาน การให้ทานเรามีทั้งเมตตาทั้งกรุณา ทั้ง 2 ประการ คือรักและสงเคราะห์ในเขา ศีลก็วิ่งเข้ามาช่วยประคับประคองในทานเข้าไปอีกจุดหนึ่ง
    การจะไปนิพพานได้ ต้องขอให้บรรดาพุทธบริษัททุกท่านสนใจกับ บารมี 10
    บารมี 10 อย่างนี้ ควรจะจดเอาไว้ให้มองให้เห็นทุกวัน เช้าขึ้นมาเราก็นั่งไล่เบี้ย บารมี 10 ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อฐิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ว่าจิตใจของเรา บกพร่อง ในบารมีข้อไหนบ้าง เราทำข้อนั้นให้เต็ม
    แล้วก็ประการที่ 2 บรรดาท่านพุทธบริษัทต้องสนใจในสังโยชน์ 10
    สังโยชน์ 10 กับบารมี 10 นี่ต้องสนใจทำให้คล่อง
    สำหรับบารมี 10 ตั้งใจให้เกิดขึ้น
    สังโยชน์ 10 ตัดให้หมดไป
    ถ้าบารมี 10 มีความเข้มข้นมากเท่าไร สังโยชน์ 10 มันก็จะจางตัวไปมากเท่านั้น
    บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่อง คือ
    1. จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
    2. จิตพร้อมในการทรงศีล นี่ซิบรรดาพุทธบริษัท พร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ ไม่ใช่ปล่อยให้ศีลมันหล่นไป
    3. จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะก็แปลว่าการถือบวช บวชผมยาว บวชผมสั้น บวชโกนหัว ไม่โกนหัว ได้ทั้งนั้น
    4. จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารอุปาทานให้พินาศไป
    5. วิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
    6. ขันติ มีทั้งอดทั้งทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
    7. สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลาว่าเราจะจริงทุกอย่าง ไม่มีอะไรในคำว่าไม่จริงสำหรับใจเรา ในด้านของการทำความดี
    8. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
    9. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดีไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
    10. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว อย่างที่เธอเป็นวันนี้ อุเบกขาบารมีตัวนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า ตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันเป็นปกติว่า ช่างมัน ขันติบารมีนี่ก็เหมือนกันใช้คำว่าช่างมัน ตรงตัวดี

    คนที่มี บารมีต้น นี่นะ เขาเก่งแค่ทานกับศีลอย่างเก่ง ถ้าอุปบารมี ก็เก่งแค่ฌานสมาบัติ จิตใจพอใจมาก แต่พูดเรื่องนิพพานไม่เอาด้วย คนที่มีบารมีเข้าถึง ปรมัตถบารมีเท่านั้น จึงจะพอใจในนิพพาน
    (จากหนังสือพ่อรักลูก2)
     
  2. jchai4

    jchai4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    212
    ค่าพลัง:
    +1,075
    สำหรับวันนี้ก็ขอซ้ำอารมณ์เก่า ก็ขอซ้อมสังโยชน์ 10 หนักไปไหม เพราะว่า สังโยชน์ 10 ก็ได้แก่
    1.สักกายทิฏฐิ 2.วิจิกิจฉา 3.สีลัพพตปรามาส 4.กามราคะ 5.ปฏิฆะ 6.รูปราคะ 7.อรูปราคะ 8.มานะ 9.อุทธัจจะ 10.อวิชชา
    รู้เรื่องไหม สบาย ฟังแบบนี้สบาย คนพูดก็พูดไป คนนั่งก็นั่งหลับไป ใช่ไหม อันนี้เป็นภาษาบาลี นี่หมายความว่า การปฏิบัติพระกรรมฐานพระพุทธเจ้ามีความประสงค์ให้บรรดาท่านพุทธบริษัทตัดสังโยชน์ 10 ประการ ถ้าตัดสังโยชน์ได้ทั้ง 10 ประการก็เป็น พระอรหันต์
    จะไปนั่งเขียน 10 อย่าง แล้วตัดทีละนิด ๆ ไม่ได้นะ คือ ตัดที่ใจ คือว่าสังโยชน์ 10 ประการนี้มีตัวตัดตัวเดียว คือ ตัดสักกายทิฏฐิ เลยไม่ต้องรู้เรื่องกันเลย
    นี่พูดกันตามแบบก่อน สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า ให้รู้สึกในอารมณ์ของเราว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้ไม่มีในเรา ตามศัพท์ท่านเรียกว่าขันธ์ 5 นะ นั่นคือว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา
    ถ้าใช้ศัพท์แบบนี้ก็หัวหมุน เพราะอะไร ขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง รูป ได้แก่ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา คือ หนัง เนื้อ กระดูก ใช่ไหม แล้วก็นอกจากนั้นก็เป็น นามธรรม คือ เวทนา ได้แก่ การเสวยอารมณ์ ที่รู้จักหนาวรู้จักร้อน รู้จักหิวรู้จักกระหาย นั่งเมื่อยนั่งปวดอยู่นี่ อ้นนี้เป็นเวทนา สัญญา ได้แก่ ความจำ สังขาร ได้แก่ อารมณ์ที่ปรุงแต่งใจ ให้ดีบ้างชั่วบ้าง หรือไม่ดีไม่ชั่ว วิญญาณ ได้แก่ ความรู้สึก ที่เรียกกันว่า ประสาท ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า กาย เรียกว่ากายสบายกว่านะ
    ก็ขอรวมเรียกว่าร่างกายเรานี่เอง มันจะมีอะไรบ้างก็ช่างของมัน อันไหนจะเป็นรูป อันไหนจะเป็นนาม ไม่มีความสำคัญ ความสำคัญให้มีความเข้าใจง่าย ๆ ว่าร่างกายที่มันทรงอยู่นี้ เนื้อแท้จริง ๆ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา และเราก็ไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายไม่ใช่เรา เพราะว่า ร่างกายเกิดขึ้นมาได้ด้วยอำนาจของตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตัณหาคือความอยากได้แก่การหลงผิด คิดว่าการทำชั่วเป็นความดี เอาง่าย ๆ ก็ได้แก่
    การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมันเป็นของไม่ดี เราคิดว่าดี ใช่ไหมเอาง่าย ๆ นะ และก็
    การลัก การขโมย คดโกงเขา ความจริงเป็นของไม่ดี เราคิดว่าดี
    การยื้อแย่งความรักของคนอื่น มันเป็นของไม่ดี เราคิดว่าดี
    การพูดโกหกมดเท็จเป็นของไม่ดี เราไม่ชอบ แต่กระทำเพื่อคนอื่นเราคิดว่าดี
    การดื่มสุราเมรัยเป็นของไม่ดี เราคิดว่าดี
    ง่ายดีไหม ฟังง่ายนะ ฟังง่ายเพราะตัวนี้มันเป็นตัวใหญ่ ที่พูดอย่างนี้ก็เพราะว่าเพื่อความประสงค์ในมรรคต้นหรือผลต้น นั่นก็คือ พระโสดาบัน
    ทีนี้คำว่า ตัณหา ที่พูดเมื่อกี้นี้เพราะความอยาก อยากจะฆ่าเขา อยากจะตีเขา อยากจะขโมยเขา อยากจะแย่งคนรักของเขา อยากจะโกหก อยากจะดื่มสุราเมรัย อารมณ์อยากประเภทนี้เป็นปัจจัยให้เราเกิด คือว่า เราเป็นทาสของตัณหา ตัณหามีอำนาจบังคับจิตให้มีความอยากในทางที่ผิด มันจึงเกิด นี่ว่ากันง่าย ๆ ถ้าว่าในหลักปัจจยาการ เดี๋ยวก็หลับ หลับแล้วก็ฝัน ฝันเดี๋ยวก็ยุ่ง
    ในเมื่อเราจิตเราหลงผิดคิดว่าความชั่วเป็นความดี กรรมที่เป็นอกุศล จึงบันดาลให้เราต้องมาเกิด คือเกิดเป็นคนมันก็บุญตัวเต็มทีแล้วนะ เกิดเป็นคนเราเห็นว่าเป็นทุกข์ ถ้าเราเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คงจะมีความสุขกว่านี้ เพราะว่าไม่ต้องเสียภาษีอากรหรือไง? ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง นี่ถ้าเกิดเป็นอสุรกายมันก็หนักไปกว่านี้ อสุรกาย ต้องกินของบูดของเน่า ต้องคอยหลบมนุษย์ ที่เขาว่าผีหลอกนั่นไม่จริง อสุรกายนี่เขาเรียกว่าผี อสุรกาย แปลว่า เป็นผู้มีกายไม่กล้า คือไม่อยากจะพบใคร ไม่อยากต้องการให้ใครเห็น แต่มีทุกข์เพราะว่าความหิวกระหายเป็นสำคัญ แต่ยังกินของบูดของเน่าได้ ถ้าถอยหลังไปเป็นเปรตเลยไม่ต้องกินอะไรเลย มีแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียว มีไฟเผาตัว มีเครื่องสรรพาวุธสับฟันถ้าถอยหลังไปถึงนรกก็จะไปกันใหญ่
    นี่อำนาจของตัณหาเป็นปัจจัยให้เราเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน แล้วก็มาเป็นมนุษย์เพราะเศษกรรมเหลือน้อย ในเมื่อเราเป็นมนุษย์เพราะอาศัยเศษกรรมชั่วเป็นปัจจัยให้เรามีความทุกข์ ความทุกข์จะเกิดด้วยอะไรก็ตามทุกอย่าง นี่ขอให้ทราบว่าเป็นผลมาจากรรมชั่วของอดีต เมื่อกรรมชั่วในอดีตติดมาแล้วมาสมัยชาตินี้เราก็มี อวิชชา เข้ามาบังหน้า คือ ความรู้ไม่จริง นี่เราหลงผิดอีกก็สร้างความชั่วต่อ เลยไม่ต้องไปไหนกันล่ะ ตายไปแล้วก็วนไปตั้งต้นนรกใหม่ ดีไหม..? ดี ตอนหนุ่มก็เอาเรื่อย บอกว่าไม่ดีได้ยังไง
    อันนี้จัดว่าเป็นอำนาจของ ตัณหา คือร่างกายเราถือไว้ ทำไม พระพุทธเจ้าจึงทรงเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราก็ต้องมาคิดกันว่าเวลาที่เราตายไปแล้วเราไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นคนใหม่และร่างกายนี้เอาไปด้วยหรือเปล่า เราเกิดเอาร่างกายเก่ามาหรือเปล่า? ทำไมไม่แบกมาด้วย พ่อเขาสร้างเกือบตาย ฮึ! พ่อเลี้ยงลูกมาแต่ละคน ไอ้ลูกระยำเกิดที่ไหนก็ไม่เอาไปด้วย ต้องสร้างกันใหม่เรื่อย ใช่ไหม
    นี่เป็นอันว่าเราจะเห็นได้ว่าร่างกายนี้เวลาที่เราตาย สภาพของเราไปสู่ภพอื่น แต่ทว่ากายเนื้อนี้ไม่ได้ไปด้วย ใช่ไหม มันก็มีสภาพเป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว ถ้าพูดโดยสรุปมันก็ยากนิด ตามนัยมหาสติปัฎฐานสูตร คือว่ามหาสติปัฎฐานสูตรทุกข้อ ใครทำข้อใดข้อหนึ่งก็เป็นอรหันต์ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องทำทุกข้อนะ และทุกข้อท่านจะลงท้ายว่า
    ในที่สุดเธอทั้งหลาย จงอย่าสนใจในกายของตัวเองในร่างกายของตัวเอง และก็จะอย่าในใจกายภายนอกคือกายของคนอื่น และก็จงอย่าสนใจในวัตถุใด ๆ ทั้งหมด สิ่งทั้ง 3 ประนี้นี้ เราไม่ยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา เราไม่ยึดถือว่าสิ่งทั้งหลายนั้นทั้งหมดเป็นสมบัติของเรา ถ้าจิตของบุคคลทั้งหมดมีอารมณ์คิดอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นพระอรหันต์

    จากหนังสือสังโยชน์10
     

แชร์หน้านี้

Loading...