ตำนาน พระพุทธบาท 4 รอย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thanan, 11 เมษายน 2005.

  1. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,212
    <b>คำบูชาพระพุทธบาทสี่รอย</b>

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า 3 จบ)
    สาธุ สาธุ โกสัมพิยัง อะวิทูเร เวภาระ ปัพพะเต กกุสันโธ โกนาคะมะโน
    กัสสะโป โคตะโม ปาทะ เจติยัง ชินะธาตุ จะฐะ เปตวา อะหัง วันทามิ ทูระโต

    <b>คำแปล</b>

    สาธุ สาธุ ข้าพเจ้าขอวันทา นมัสการเจดีย์ คือรอยพระพุทธบาท และพระชินธาตุเจ้าทั้งหลาย
    ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า พระกกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป
    และพระสิทธัตถะ โคตะโม ที่ประดิษฐานตั้งไว้ ณ. ภูเขาเวภารบรรพตนี้ ตลอดกาลนานเทอญ

    <u>วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่</u>

    <b>ตำนานพระพุทธบาท 4 รอย</b>

    เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ ได้เสด็จจารึกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจัยตะประเทศ (ประเทศไทยในปัจจุบัน) จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศ ชื่อเขา เวภารบรรพต

    ซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก 500 องค์ และได้แวะฉันจังหันอยู่บนเขา เวภารบรรพตแห่งนี้ เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จ ขณะประทับอยู่ที่นั้น ก็ได้ทราบด้วยญาณสมาบัติว่า บนเทือกเขาแห่งนี้ ได้มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่บนก้อนหินก้อนใหญ่ คือ พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้ แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระพุทธบาทแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ , พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ , พระพุทธเจ้ากัสสปะ อันมีในที่นี้พุทธสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเป็นประธานเมื่อเห็นเช่นนี้ จึงทูลถามว่า พระพุทธองค์ทรงเล็งดูด้วยเหตุใด

    พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย สถานที่แห่งนี้แม้นว่าพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในอดีตกาล ก็มาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี่ทุกๆ พระองค์ และแม้นว่าพระศรีอริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี่ และจักประทับรอยพระบาท 4 รอยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ( คือประทับลบรอยทั้ง 4 ให้เหลือรอยเดียว ) เมื่อพุทธองค์ตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระทาบของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ จึงมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ จึงเกิดเป็นพระพุทธบาท 4 รอย เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นแล้วก็ทรงอธิษฐานว่าในเมื่อ (เรา) ตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนำเอาพระธาตุของตถาคต มาบรรจุไว้ที่รอยพระพุทธบาทที่นี่ ในเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว 2000 ปี พระพุทธบาท 4 รอยนี้ก็จักปรากฏแก่ปวงชนและเทวดาทั้งหลาย ก็จักได้มาไหว้และบูชา เมื่อทรงอธิษฐานและทำนายไว้ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จไปเชตุวันอารามอันมีในเมืองสาวัตถีนั้นแล เ

    มื่อพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็นำเอาพระธาตุของพระพุทธองค์มาบรรจุไว้ที่พระพุทธบาท 4 รอย เมื่อพระพุทธองค์นิพพานล่วงมาแล้วประมาณ 2000 วัสสา เทวดาทั้งหลายต้องการอยากให้พระพุทธบาท 4 รอย ปรากฏแก่คนทั้งหลายตามที่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานไว้ ก็จึงเนรมิตเป็นรุ้งตัวใหญ่ (เหยี่ยว) ก็บินลงจากภูเขาเวภารบรรพต อันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบันนี้เพื่อบินลงไปเอาลูกไก่ของชาวบ้าน ( คนป่า ) ที่อยู่ตีนเขาเวภารบรรพต แล้วก็บินกลับขึ้นไปสู่ยอดเขา มันก็โกรธมากจึงตามขึ้นไปคิดว่าจะยิงเสียให้ตาย มันก็คิดตามไปค้นหาดู แต่ก็ไม่เห็นรุ้งตัวนั้น แต่เห็นรอยพระพุทธบาท 4 รอยอันอยู่พื้นต้นไม้และเถาวัลย์ พรานป่าผู้นั้นก็ทำการสักการะบูชาเสร็จแล้วก็ลงจากภูเขา พอมาถึงหมู่บ้านก้เล่าบอกแก่ชาวบ้านทั้งหลายฟัง ข้อความอันนั้นก็ปรากฏสืบๆ กันไป

    แรกแต่นั้น คนทั้งหลายที่ทราบก็พากันไปสักการะบูชามาก แต่นั้นมาจึงได้ชื่อว่า พระบาทรังรุ้ง (รังเหยี่ยว) ในสมัยนั้นมีพระยาคนหนึ่งชื่อว่า พระยาเม็งราย เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ ได้ทราบข่าวจึงมีพระราชศรัทธาอยากเสด็จขึ้นไปกราบบูชาพระพุทธบาท 4 รอย ก็นำเอาราชเทวีและเสนาพร้อมกับบริวารทั้งหลาย เมื่อพระยาเม็งรายกราบนมัสการเสร็จแล้ว ก็นำเอาบริวารของตนกลับสู่เมืองเชียงใหม่ ก็ตั้งอยู่เสวยราชสมบัติตราบเมี้ยนอายุขัย แล้วลูกหลายที่สืบราชสมบัติก็เจริญรอยตามและได้ขึ้นมากราบพระพุทธบาท 4 รอย ทุกๆ พระองค์ หลังจากนั้นมาพระบาทรังรุ้งหรือรังเหยี่ยวนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น พระพุทธบาทสี่รอย เพราะมีรอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึง 4 รอย

    มาในสมัยยุคหลังคนทั้งหลายจึงเรียกขานกันว่าพระพุทธบาทสี่รอย คือมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในภัทรกัลป์นี้ คือ

    1 รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ รอยแรก เป็นรอยใหญ่ยาว 12 ศอก
    2 รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ เป็นรอยที่ 2 ยาว 9 ศอก
    3 รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะ เป็นรอยที่ 3 ยาว 9 ศอก
    4 รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ (ศาสนาปัจจุบันนี้) เป็นรอยที่ 4 รอยเล็กสุดยาว 4 ศอก

    เมื่อมาถึงสมัยพระยาธรรมช้างเผือก ผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยบริวาร 500 คน ก็ขึ้นไปกราบสักการะบูชาพระพุทธบาท 4 รอย และได้สร้างพระวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ชั่วคราว

    โดยแต่เดิมถ้าใครจะดูรอยพระพุทธบาทบนยอดหินก้อนใหญ่ ต้องใช้บันไดพาดขึ้นไป หรือปืนขึ้นไปดู
    ซึ่งก็คงจะขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ดังนั้นพระยาธรรมช้างเผือกจึงตรัสสร้างแท่นยืนคล้ายๆนั่งร้านรอบๆ ก้อนหินที่มีพระพุทธบาท สี่ รอย เพื่อที่ผู้หญิงจะได้เห็นรอยพระพุทธบาทด้วย และได้สร้างหลังคาชั่วคราวมุงไว้ ต่อมาในสมัยพระชายาเจ้าดารารัศมีก็ได้ขึ้นไปกราบนมันสการพระพุทธบาท 4 รอย และได้มีพระราชศรัทธาก่อสร้างวิหาร เป็นการกราบบูชารอยพระพุทธบาทไว้ 1 หลัง หลักเล็ก ปัจจุบันได้บูรณะปฏิสังขรณ์แล้วทั้งหลัง จะเหลือไว้แค่ผนังวิหาร พื้นวิหารและแท่นพระซื่งยังเป็นของเดิมอยู่

    พอมาสมัยเมื่อปี พ.ศ. 2472 ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย และได้รื้อพระวิหารที่เจ้าพระยาธรรมช้างเผือกสร้างไว้ชั่วคราว และได้สร้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ใหม่และได้ลาบปูนครอบรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อรักษาให้อยู่ค้ำชูพุทธศาสนาไปตลอดกาลนาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2005
  2. ปราณยาม

    ปราณยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +2,638
    ผมเคยไปเมื่อ7ปีก่อนครับ ตอนนั้นขี่มอเตอร์ไซต์กับเพื่อน จะไปแม่ริมกันครับ เผอิญเห็นป้ายเลยคุยกับเพื่อนว่าอยากไปไหว้ครับ เลยเลี้ยวกลับปีนขึ้นเขากันเลยครับ แต่ว่ายิ่งไปยิ่งหลงทาง ผมเลยตั้งจิตขอไปกราบไหว้ เชื่อไหมครับผมเห็นคนนุ่งชุดขาวกวักมือเรียกในระยะ100เมตรตลอดทาง จำได้ว่าทางลำบากมาก มีผมที่เห็นคนเดียวครับ เมื่อไปถึงที่พระบาทเพื่อนผมถามเลยครับว่ารู้ได้ยังไงว่ามาทางนี้ ผมเลยต้องบอกว่าเดาเอาครับ จำได้ว่าสงบเงีบยมาก มีพระอาจารย์ท่านนึงจำพรรษาที่นั่น ท่านบอกว่าจบปริญญาโทเมืองนอกมาพอบวชแล้วชอบใจกับที่นี่เลยอยู่จำพรรษา ยังไงใครมีโอกาสก็ลองไปดูนะครับรู้สึกดีมากๆครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2005
  3. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    คงไร้บุญวาสนา ..
    ขอบคุณนะค่ะ
     
  4. mahingsa

    mahingsa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2005
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +18
    อยากถามผู้ทรงความรู้ในที่นี้ครับว่า การกราบไว้รอยพระพุทธบาทนี้ มีส่วนอย่างไรต่อการนิพพานของเรา

    และเป้าหมายของการกราบไหว้มีขึ้นเพื่ออะไร พระพุทธองค์ตรัสรู้ และ ปฎิบัติตามความรู้ที่ตรัสรู้แล้ว โดยไม่ได้กราบไหว้สิ่งเหล่านี้

    ฝากผู้รู้ช่วยยกหลักฐานในพระไตรปิฎก อธิบายด้วยครับ

    ควายน้อยอยากรู้
     
  5. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,212
    "คุณเคยกราบเท้าผู้มีพระคุณมั้ยครับ"

    ผมขอเขียนไว้สั้น ๆ แค่นี้นะครับ ประโยค ๆ นี้ไม่มีในพระไตรปิฎกหรอก
    แต่ผมขอให้คุณไปถามตัวเองและตอบคำถามให้ตัวเอง เอาเท่านี้พอ
     
  6. mikky

    mikky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    892
    ค่าพลัง:
    +577
    เห็นด้วยกับคุณ Thanan ครับ

    แต่ถ้าถามว่ามีส่วนต่อการนิพพานไหม ตอบว่ามีครับ การนิพพานคือการหลุดพ้นด้วยจิต ไม่ได้ติดกับวัตถุได้ ๆ ก็จริง แต่มีความเชื่อมโยงกับบุญตามหลักบุญและยังเกี่ยวข้องกับการอธิษฐานด้วย เช่นคนมีกำลังไปนิพพานได้ แต่อธิษฐานขอเจอพระศรีอาริย์ อย่างนี้ไม่ได้นิพพาน แต่คนที่อฐิษฐานขอนิพพานชาตินี้ ไปนิพพานกันมากแล้ว ตามที่หลวงพ่อได้สอนไว้

    บุญอะไรก็ตามที่เราทำ จะเป็นกุศล หนุ่นส่งเราให้ไปภพภูมิที่ดี ไปลดกำลังของอกุศล ช่วยให้เราคิดดีทำดี ขจัดปัดเป่าอุปสรรคต่าง ๆ มีใจเป็นสัมมาทิฐิโดยง่าย และท้ายที่สุด เราก็สามารถตัดสังโยชน์ได้ง่ายขึ้น เพราะบุญเข้ามาหนุ่น แม้เป็นโดยทางอ้อมก็ต้องยอมรับว่ามีส่วน เพราะโดยหลักแล้ว คนทุกคนมีศักยภาพ ที่จะไปนิพพานได้หมด แต่เราติดกับสังโยชน์ไปไม่ได้ เพราะมันมีเหตุมาจาก ราคะ โทสะ โมหะ และ อวิชชา ซื่งโดยรวม ๆ แล้วทั้งสี่อย่างนี้เราเดินออกจากมันยากเพราะ อยู่กับมันมานาน การสร้างบุญมาก ๆ จะค่อย ๆ ไปลดกำลังกิเลสลงเรือย ๆ บวกกับการอฐิษฐานที่ถูกต้อง (อฐิษฐานบารมี เป็นหนึ่งในบารมี 10 ทัศ) จะทำให้เราเข้านิพพานได้โดยง่ายขึ้น เพราะนิพพานคือการหมดจากกิเลสทั้งปวง การตัดกิเลสได้จากการวิปัสนา (สร้างปัญญา) ก่อนมีปัญญา ต้องมีสมาธิ (สมถะ) ก่อนมีสมาธิต้องมีศีล ถ้าเป็นคนที่ทีแต่อกุศลหนุ่นส่งก็จะไม่สามรถรักษาศีล อกุศลน้อยหย่อย อาจรักษาศิลได้ แต่ไม่มีสมาธิ บางคนแม้ทำสมาธิดีแล้วก็จ้องผจญกับมาร "บุญ" ช่วยให้เราสามารถลดกำลังอกุศล และเป็นแรงสนับสนุนให้การปฏิบัติของเราเป็นผมได้เร็วขึ้น

    ที่กล่าวมาทั้งหมด เพราะว่าการการาบไหว้รอยพะพุทธบาท ด้วยใจเคารพนั้น สิ่งที่ได้คือ "บุญ" พระพุทธเจ้าตรัสด้วยพระองค์เอว่าการนุกถึงพระพุทธองค์เพียงชั่วลัดนิ้งมือเดียว ก็เป็นบุญมากมายมหาศาล นอกจากนั้นการแสดงความมีจิตใตอ่อนโยน มห้ความเคารพบุคคลควรเคารพ ก็เป็นบุณอย่างหนึ่งในหลักบุญกริยาวัตถุ 10 และยังเป็นพุทธานุสติอักด้วย
     
  7. mahingsa

    mahingsa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2005
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +18
    การกราบไหว้พ่อแม่นั้น รวมถึงการตอบแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ

    ท่านเอาตรงใหนมาอ้างครับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้สอน

    ควายน้อยอยากรู้
     
  8. mahingsa

    mahingsa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2005
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +18
    สิ่งที่พระพุทธเจ้าให้เรากราบไหว้ และ ระลึกถึงก็คือธรรม
    ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า มันไม่ควรจะเป็นรอยพระพุทธบาท
     
  9. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,212
    คุณเป็นคนเขียนออกมาเองนะ ว่า

    -การกราบไหว้พ่อแม่นั้น รวมถึงการตอบแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ-

    ผมถามหน่อยเถอะว่าพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ผู้มีพระคุณหรือยังไง ถ้าตอบว่าไม่ ก็ ok จบกัน

    พระพุทธเจ้าท่านบำเพ็ญบารมีมาถึง 20 อสงไขย เศษแสนมหากัป ฝ่าฟันความเจ็บปวด ฝ่าฟันทุกข์ภัย เสียเลือดเสียเนื้อ ลำบากยากเย็นเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะมาสั่งสอนให้เวไนยสัตว์ให้มีดวงตาเห็นธรรม ได้บรรลุธรรม แล้วยังงี้คุณคิดว่าท่านคือผู้มีพระคุณสมควรกับความกราบไหว้หรือยังครับ

    สมมติคุณเดินผ่านรอยพระพุทธบาท แล้วไม่ยกมือไหว้ นอบน้อมในใจก็ไม่ทำ คุณอย่านึกนะว่า คุณแบกพระไตรปิฏกเอาไว้แล้ว ฉันมีพระไตรปิฏกแล้ว ฉันสบายแล้ว ฉันพ้นนรกแล้ว
    คนที่ขาดความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนั้น ทำอะไรก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ไม่ประสบความสำเร็จ

    ตรงกันข้าม คนที่ไม่เคยศึกษาพระไตรปิฎกเลยแม้แต่หน้าเดียว แต่เคารพในพระพุทธเจ้า สามารถไปสวรรค์ได้มามากมายเป็นโกฐิแล้ว

    หรือแม้แต่คนที่ศึกษาพระไตรปิฏกมาเพียงหน้าเดียว และมีความเคารพในพระพุทธเจ้า สามารถไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพาน ท่านเหล่านี้ไปได้

    แต่ถ้าไร้ความกตัญญูต่อองค์ศาสดา เห็นว่ารอยพระพุทธบาทของท่านไร้ความสำคัญ ไม่ควรกราบไหว้ เป็นมนุษย์ยกมือกราบไหว้ได้แต่ไม่ทำ ผมก็ไม่รู้จะพูดอะไร ได้แต่แสดงความเสียใจกับคุณด้วย
     
  10. mahingsa

    mahingsa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2005
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +18
    สิ่งที่คุณ Thanan กำลังจะชี้ให้เราเห็น กับ ในความเป็นจริงแล้วไม่ตรงกันครับ ผมอยากอธิบายให้ทราบดังนี้

    1. การตอบแทนบุญคุณ ในพระผู้มีภาคเจ้า ก็คือการปฎิบัติตามแนวทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้สอนเรา

    2. ผมกำลังอยากแยก ระหว่างการตอบแทนบุญคุณ กับ ความงมงาย ออกจากกัน

    มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่นิยมใส่พระ และ เขาอาจจะไม่เคยระลึกถึงธรรมเลย
    ทั้งๆ ที่จุดมุ่งหมายที่แท้จริง ก็คือการเตือนสติ เรา ให้เราระลึกในธรรม

    ผมไม่ได้กราบไหว้รอยพระพุทธบาท แบบที่คนทั่วไป กราบไหว้ เพราะต้องการที่แยกระหว่าง
    การปฎิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า กับ ความงมงาย ที่เกาะกินสังคมเรามานาน

    ผมมักรู้สึกไม่ดี เวลาที่ใครห้อยพระแล้วเขามักพูดว่า สิ่งนี้สามารถ ป้องกันนั่นนี่ได้ และ หาซื้อมาใส่กัน เพื่อสิ่งนั้น

    ด้วยเคารพคุณ Thanan
    ควายน้อย อยากรู้
     
  11. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,668
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,212
    เขียนตอบมาได้ดีนี่ครับ

    อันนี้ที่คุณเขียนมา<b>
    มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่นิยมใส่พระ และ เขาอาจจะไม่เคยระลึกถึงธรรมเลย ทั้งๆ ที่จุดมุ่งหมายที่แท้จริง ก็คือการเตือนสติ เรา ให้เราระลึกในธรรม</b>

    อันนี้ถูก ไม่แย้ง ไม่ค้าน
    <b>
    ผมมักรู้สึกไม่ดี เวลาที่ใครห้อยพระแล้วเขามักพูดว่า สิ่งนี้สามารถ ป้องกันนั่นนี่ได้ และ หาซื้อมาใส่กัน เพื่อสิ่งนั้น
    </b>
    อันนี้ก็เห็นด้วย
    อธิบายมาแบบนี้ตั้งแต่แรก ก็จบ ตอนแรกเกือบคิดว่าคุณจะเป็นมิจฉาทิฐฐิไปซะแล้ว

    เอาล่ะ จะไหว้หรือไม่ไหว้ยังไง ก็เป็นเรื่องของความศรัทธาของแต่ละบุคคล

    แต่คนที่บารมีไม่ถึงที่ปฏิบัติจนบรรลุธรรมตามแนวทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้สอนเรานั้น เค้าเหล่านั้นไม่เห็นทุกข์ ทั้ง ๆ ที่ทุกข์ก็ผูกบ่วงคล้องไว้ที่คออยู่ เค้าไม่สนใจนิพพาน เค้าไม่สนใจการบรรลุธรรม เค้าสนใจในรูป อันนี้เป็นสิ่งที่เค้ายึดเหนี่ยวไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปพระพุทธเจ้าที่นำมาทำเป็นพระเครื่อง รูปรอยพระพุทธบาทที่ได้กราบไหว้ และรูปสิ่งศักสิทธิ์อื่น ๆ ถ้าจะถามว่าเค้าเหล่านั้นยึดถือในรูปมากกว่าจะยึดถือในธรรมนั้น ผิดมั้ย ก็ไม่ผิดอีกแหล่ะ อันนี้มันเป็นสิทธิ์ของเค้า เราไปบังคับไม่ได้

    แต่ถ้าจะถามว่าเค้าเหล่านั้นงมงายมั้ย ถ้าจะงมงายก็เป็นการงมงายบนความดี ดีกว่าไปงมงายในเรื่องที่ไม่ดี คุณว่าจริงมั้ย ในพระไตรปิฎกมีเรื่องของมัฏฐกุณฑลี ที่ก่อนตายได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พอสิ้นลมหายใจก็ได้ไปจุติบนสววรค์

    การปฎิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น คุณทำถูก ที่ยึดมั่นแบบตัวเป็นเกลียว แต่อย่าลืมนะว่าพระโสดาบันท่านเห็นรูปพระพุทธเจ้าหรือรอยพระพุทธบาท ท่านไหว้หรือนอบน้อมในใจ ท่านไม่ได้เห็นว่า นี่ไม่ใช่หลักธรรม คนไหว้กำลังงมงาย ท่านไม่คิดอย่างนี้นะ แต่ก็อย่าเหมาว่าผมเป็นพระโสดาบัน พระโซดาบันล่ะก็พอเป็นได้ พระอริยบุคคลที่สูง ๆ ขึ้นไปก็เช่นกัน ท่านเห็นรูปพระพุทธเจ้าหรือรอยพระพุทธบาทท่านก็ไหว้ ท่านถือว่าเป็นการนอบน้อมต่อพระพุทธองค์ เพราะถ้าไม่มีพระพุทธองค์ ก็คงจะไม่ผู้ที่บอกทางไปนิพพาน บอกทางบรรลุธรรม ว่าต้องทำยังไง และถ้าไม่มีพระพุทธองค์ก็คงจะไม่มีพระไตรปิฎกที่คุณและบุคคลอื่นกำลังถือเป็นแบบฉบับอยู่ในทุกวันนี้

    เขียนมาค่อนข้างยาวแล้ว ขอจบการตอบแต่เพียงเท่านี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2005
  12. kung

    kung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +770
    ไม่ได้เข้ามาชมเสียนาน

    ขอบพระคุณคุณ Thanan ครับ
     
  13. Karz

    Karz Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +96
    ผมคิดว่ามีผลเป็นพุทธานุสติกรรมฐานครับ กรรมฐานที่เห็นผลเร็วกองหนึ่ง
    คนเราเมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ย่อมระลึกถึงพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ครับ มีผลเป็นธรรมานุสติ เป็นกรรมฐานอีกกองหนึ่ง อันนี้ผมไม่ทราบว่าอยู่ในบทไหนเล่มไหนของพระไตรฯ แต่คิดว่ามีครับ

    ในสมัยก่อน ยังไม่มีการสร้างพุทธประฏิมากรครับ เพิ่งมามีการสร้างกันภายหลังเสด็จปรินิพพานแล้ว จุดประสงค์เดียวกันคือเพื่อระลึกถึงคุณพระพุทธและพระธรรม การสวดมนต์ก็เหมือนกันครับ (อะระหังสัมมาสัมพุทโธภะคะวาฯ, สวากขาโตภะคะวะตาธัมโมฯ)

    คนในสมัยก่อน เวลาคิดถึงกันจะให้ของไว้ดูต่างหน้าครับ เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีพอที่จะบันทึกภาพและเสียงเก็บไว้ได้ พอดูของต่างหน้าชิ้นนั้นแล้วก้อจะรู้ว่านี่เป็นของคนนี้ ให้ไว้เมื่อตอนนั้น สื่อความหมายถึงกัน แม้คืนวันผันผ่านไป แต่พระพุทธเจ้าคงไม่สามารถให้สิ่งของใครได้ครับ เพราะพระองค์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก สิ่งที่ทำได้คือพระพุทธบาท, พระพุทธฉาย และพระบรมสารีริกธาตุครับ

    เมื่อพระองค์เดินทางเผยแผ่พระธรรมไปในที่ต่างๆ ประชาชนทั้งหลายในที่ต่างๆนั้น ต่างรักและศรัทธาในพระองค์และไม่อยากให้พระองค์จากไป พระองค์ยังปริวิตกว่ายังมีสัตว์อีกมากมายที่ยังไม่เคยเห็นพระองค์และปรารถณาจะเดินทางมาเพียงเพื่อให้ได้เห็นก็มี หากพระองค์ปรินิพพานแล้ว ก็จะไม่มีพระวรกายให้เหล่าสัตว์เห็นอีกต่อไป ด้วยความเมตตา ในบางครั้งพระองค์จึงอธิฐานประทับรอยพระพุทธบาท รอยพระพุทธฉาย แม้ในเวลาก่อนปรินิพพาน ยังอธิฐานให้อัฐฐิของพระองค์เล็กประดุจเมล็ดข้าวสาร เพื่อจะได้มีปริมาณมากๆ เพื่อให้เหล่าสัตว์ในรุ่นหลังได้มีโอกาสเห็นและบูชาอย่างทั่วถึงครับ

    เวลาอยู่ต่อหน้าพระพุทธฉาย พระบรมสารีริกธาตุ ผมจะระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม และนึกละอายคุณธรรมในตัวเอง ทำให้เพียรปฏิบัติมากกว่าเดิมครับ สิ่งนี้ผมคิดว่ามีผลมีส่วนต่อการ (ถ้าจะ) นิพพานของผมครับ

    ผมคนนึงที่มั่นใจว่าตัวเองไม่งมงายแน่นอน ผมไม่กราบไหว้บูชาเจ้าพ่อ เจ้าแม่อะไรทั้งนั้น แต่กราบไหว้บูชาพระพุทธฉาย พระพุทธบาท และพระบรมสารีริกธาตุครับ ในใจมีแต่พระรัตนไตรยเท่านั้น

    พุทธบูชา มหาเตชะวันโต ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2005

แชร์หน้านี้

Loading...