เรื่องเด่น ตำนานเล่าขาน ตอน พระสุนทรีวาณี เทพนารีจากสมาธินิมิต

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 25 มิถุนายน 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ตำนานเล่าขาน ตอน พระสุนทรีวาณี เทพนารีจากสมาธินิมิต

    19429624_444761025880349_7664129529447896805_n.jpg
    อันที่จริงที่กล่าวว่าสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ วัดสุทัศนเทพวราราม (พ.ศ.๒๔๒๐- ๒๔๔๓) ท่านถอดคาถานี้เป็นองค์เทพนารีนั้น ยังคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง แต่ในความเป็นจริงแล้วท่านเจริญพระคาถานี้ดังกล่าวข้างต้นจนกระทั่งวันหนึ่งท่านนิมิตในฝัน ครั้นตื่นจำวัดแล้วจึงเชิญจิตรกรหลวงมาเขียนภาพนี้ ดังความหมายข้างต้นในภาควิชาการและชะรอยว่าจิตรกรผู้จำลองเขียนความฝันของท่านจะเป็นจิตกรซึ่งมีเชื้อสายจีนที่เขียนภาพจิตรกรรมปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ พระรูปแห่งพระสุนทรีวาณีจึงออกมาในลักษณะแบบกึ่งจีน-กึ่งไทย สังเกตได้จากเครื่องสักการะที่เทวาและพระพรหมบูชาโดยถือโคมจีนอันสื่อว่าเป็นเครื่องบูชาชั้นสูงของจีน

    ในบันทึกหอสมุดแห่งชาติ ข้าพเจ้าได้รับมาจากการถ่ายไมโครฟิล์ม เล่าเอาไว้ว่า คราวครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จไปเจริญสัมพันธไมตรียังต่างประเทศ (ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าประเทศใด เพราะเอกสารกร่อนสลายไปแล้ว จึงควรที่จะสืบสวนค้นคว้ากันมาประดับความรู้) ด้วยความที่พระองค์มีพระราชศรัทธาในสมเด็จพระวันรัต (แดง) อย่างยิ่งทั้งโดยศีลาจารวัตร ความเชี่ยวชาญในด้านศาสนา ความสามารถในการบริหารการศึกษา และความเชี่ยวชาญเรื่องการบูรณะพระอาราม จนถึงวางพระราชหฤทัยให้ดูแลงานช่างในการที่ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม จึงเสด็จไปกราบสมเด็จพระวันรัต (แดง) แล้วออกพระโอษฐ์ ว่า... “โยมจะไปเจริญสัมพันธไมตรีต่างประเทศ มิเช่นนั้นชาวต่างชาติจะล่าอาณานิคม โยมมีความกังวลใจ ๒ เรื่อง คือ การฝ่าอันตรายในการเดินทาง และเกรงว่าการเจริญสัมพันธไมตรีจักไม่สำเร็จ พระคุณท่านมีอะไรให้โยมติดตัวไปบ้าง” (ขอวิจารณ์เพิ่มเล็กน้อยว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง คงได้ศึกษาเรื่องเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) สมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ใช้อาคมแสดง
    ฤทธิ์จนฝรั่งเศสใช้อาวุธยิงแทงแล้วไม่เป็นอันตราย ฝรั่งเศสจึงยอมเจริญสัมพันธไมตรีด้วย เรื่องนี้ควรศึกษาบันทึกพงศาวดารเอง ข้าพเจ้าเป็นเพียงจำได้คร่าวๆ)



    เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงตรัสอย่างนี้แล้ว สมเด็จพระวันรัต (แดง) เข้ากุฏิแล้วเขียนพระคาถาสุนทรีวาณีถวาย ทั้งได้ถวายพระพรว่า “ถ้ามหาบพิตรเกิดความกังวลพระทัยในสองประการ ขอจงจำเริญบริกรรมคาถาด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ก็จะเกิดองค์ฌาน สมาบัติ พระราชกิจจะสำเร็จดังพระราชหฤทัย”
    เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับสยามประเทศ ได้เสด็จไปนมัสการสมเด็จพระวันรัต (แดง) แล้วตรัสเล่าว่า “พระคาถาสุนทรีวาณีนี้ศักดิ์สิทธิ์ โยมบริกรรม เวลาเหยียบเรือรบฝรั่งขนาดใหญ่ ก็บริกรรม พอเท้าแตะเรือรบ เกิดสะเทือนยาบยวบทั้งลำเรือ พวกฝรั่งตกใจมาก ต่อมาฝรั่งเอาม้าเทศมาให้ขี่ รู้ทีเดียวว่าม้ากับคนไม่คุ้นกันก็จะพยศและสะบัด ฝรั่งจะทำให้อับอายขายหน้า โยมจึงขอหญ้าหนึ่งกำมือ บริกรรมคาถาแล้วให้ม้ากิน ม้ามันเชื่อง บังคับง่าย เป็นที่อัศจรรย์ใจของฝรั่ง (ม้าตัวนั้นก็คือม้าตัวที่ทรงที่บรมราชานุสาวรีย์ หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เอง จึงเป็นม้าที่ยืนด้วยความเชื่อง มิใช่เลียนอนุสาวรีย์แบบฝรั่งสร้างทั่วไป)
    เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงตรัสแล้ว จึงถามประวัติพระคาถา สมเด็จพระวันรัต (แดง) ถวายพระพรเล่าที่มาแล้ว จึงอัญเชิญเสด็จเข้าในกุฏิให้ทอดพระเนตรภาพจิตรกรรมพระสุนทรีวาณี พระพุทธเจ้าหลวงทรงเลื่อมใสยิ่ง จึงออกพระโอษฐ์ยืมไปบูชาเป็นเวลา ๕ ปี กาลต่อมาเมื่อสมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธใกล้มรณภาพ พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมอาการที่วัดโพธินิมิตสถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้ถวายพระพรขอคืนภาพพระสุนทรีวาณีแก่วัด ซึ่งก็ได้โปรดฯให้อัญเชิญคืนวัด
    พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของพระสุนทรีวาณี เมื่อทรงโปรดให้สร้างโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร จึงให้ออกแบบพระสุนทรีวาณี เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อให้ครูอาจารย์นักเรียนได้บริกรรมคาถานี้ ซึ่งสามารถสืบค้นได้จากประวัติวัดเบญจมฯ และประวัติโรงเรียน แต่ปัจจุบันนี้ไม่ทราบว่าท่านผู้บริหารจะให้ความสำคัญหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบนั้นถอดจากจิตรกรรมมาเป็นประติมากรรม ซึ่งข้าพเจ้าเสียดายยิ่งนักที่ไม่มีผู้ใดถอดสร้างรูปเหมือนและเหรียญเพื่อแจกครูอาจารย์ และนักเรียนให้บริกรรม กราบไหว้และห้อยคอ
    ข้าพเจ้ามาพบความอัศจรรย์แห่งพระคาถานี้ตอนเมื่ออายุ ๒๗-๒๘ ปี ซึ่งมีความอัศจรรย์มากมายและตั้งใจว่าจะเล่าบันทึกเก็บไว้เป็นตำนาน แต่จะขอบอกเล่าเพิ่มเติมจากประวัติข้างต้นว่า เฉพาะพระสงฆ์ที่บริกรรมพระคาถานี้ในยุครัตนโกสินทร์ คือสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เสกข้าวให้ไก่ป่ากินไก่ป่ายังเชื่อง สมเด็จพระวันรัต (แดง) สมเด็จพระสังฆราช (แพ) สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศฯ พระวิสุทธาธิบดี (ไสว) วัดไตรมิตรวิทยาราม พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดไร่ขิง ท่านเขียนจิตรกรรมไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง) เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี รูข้าพเจ้าเคยเดินทางไปที่จังหวัดสงขลา ไปพบวัดหนึ่งอดีตเจ้าอาวาสชื่อหลวงพ่อทอง (ตอนนั้นท่านมรณภาพแล้ว) ท่านเขียนปั้นพระสุนทรีวาณีไว้ที่หน้าบันอุโบสถ ข้าพเจ้าจึงไม่สงสัยว่าทำไมท่านจึงขลัง
    หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี ท่านเล่าเป็นบันทึกของวัดว่า ท่านบริกรรมคาถาพระสุนทรีวาณี เสกพระปิดตาของท่าน อีกทั้งหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านก็เสกพระปิดตาและวัตถุมงคลของท่านด้วยพระคาถาสุนทรีวาณี
    พระคณาจารย์สายวัดสุทัศน์ฯ เมื่อจะเข้าสู่การบริกรรมเสกวัตถุมงคลและลงอักขระ เลขยันต์ ก็บริกรรมคาถาพระสุนทรีวาณี ทุกรูปไป

    19420886_1885995601659552_2997189135811758836_n.jpg
    เรื่องการสร้างพระสุนทรีวาณีในรูปแบบต่างๆ เช่น พระบูชาครอบน้ำพระพุทธมนต์ (ขันน้ำมนต์) ก็มักจะหล่อพระสุนทรีวาณีประดิษฐานยอดครบน้ำมนต์ จวบจนถึงท่านเจ้าคุณพระพิพัฒน์สังวรคุณ (เจ้าคุณถนอม) ซึ่งเป็นศิษย์สืบสายตรงจากเจ้าคุณพระศรีสัจจญาณเถระ (เจ้าคุณประหยัด) เจ้าคุณประหยัดเป็นศิษย์สายตรงสมเด็จพระสังฆราช (แพ) รุ่นน้องของเจ้าคุณพระมงคลราชมุนี (เจ้าคุณศรีฯ สนธิ์) ที่หน้าบันพระวิหารวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) สะพานพุทธก็มีรูปปั้นพระสุนทรีวาณี
    ข้าพเจ้าเมื่อได้รับพระคาถานี้บริกรรมจึงพบความอัศจรรย์ว่า “ผู้ใดปัญญาดี จะสามารถเรียนวิชาทุกประการ และจำได้แม่นยำ ผู้ใดปัญญาไม่ดีนัก บริกรรมแล้วจะเป็นวาสนามหานิยม” ข้าพเจ้าซึ่งนำมาเป็นต้นบทพระกัมมัฏฐานให้ญาติโยมวัดสุทัศน์ และนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชาลัยได้บริกรรมก่อนเข้ากัมมัฏฐาน
    เรื่องการพิมพ์ภาพพระสุนทรีวาณี เพื่อแจกในบทต้นนั้นเนื่องจากคงเกรงไปว่ารูปพระสุนทรีวาณีตามแบบเดิม มีภูษาพัสตราภรณ์น้อยไป พิมพ์ครั้งที่ ๒ จึงเพิ่มภูษาพัสตราภรณ์ลงไป แต่พระพักตร์ออกจะดูดุๆ อยู่บ้าง
    ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้พระครูธรรมธร (สุภาพ) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพระเลขานุการดำเนินการพิจารณาแบบ ปั้นหล่อขนาดเกือบเท่าตัวคนและขอให้มีรูปพัสตราภรณ์ เพื่อจะได้ประดับเพชรพลอย ยุคแรกสร้าง ๙ องค์ ยุคที่ ๒ อีก ๙ องค์ อัญเชิญไว้วัดสุทัศน์ฯ ๒ องค์ วัดบ้านเกิดข้าพเจ้า ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๓ องค์ วัดพรหมสุวรรณฯ อำเภอตาพระยา ๑ องค์ และทางภาคใต้ รวมทั้งถวายวัดไร่ขิง ๑ องค์ ส่วน ๙ องค์ ที่สร้างใหม่นี้ได้ขอให้ประชาชนเขียนแผ่นชะตาลงในยันต์มหาพิชัยสงคราม แล้วนำแผ่นยันต์มาหล่อ เพื่อประมวลกระแสจิตของคนเป็นหมื่นเป็นแสน กับทั้งลงยันต์ตามตำรับพระกริ่งวัดสุทัศน์ อย่างสมบูรณ์

    ข้าพเจ้าได้จำลองภาพพระสุนทรีวาณีไว้ที่วัดคลองเตยใน กรุงเทพฯ จำลองฉากลับแลไว้ศาลาลอยวัดสุทัศน์ สร้างพระผง พระเหรียญนับเป็นสิบรุ่น เป็นพระของขวัญปีใหม่สลับกับพระศรีศากยมุนี เซเว่น-อีเลฟเว่น สร้างพระสุนทรีวาณีลอยองค์มอบแก่ผู้สวดมนต์ตามแบบที่ท่านพระครูธรรมธร (สุภาพ จิตฺตสุโภ) ย่อจากองค์บูชาหน้ารถได้ เลี่ยมห้อยคอได้
    อนึ่ง ข้าพเจ้าได้ขอให้อาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์ ซึ่งเป็นจิตรกรเขียนภาพพุทธประวัติ ๓ มิติ (พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ธรรมสภา) ได้บริกรรมคาถาพระสุนทรีวาณีแล้วเขียนภาพโดยยึดแบบดั้งเดิมของสมเด็จพระวันรัต (แดง) แต่ขอให้จัดสัดส่วนตามลักษณะงานปั้นซึ่งก็สำเร็จแล้ว จึงขอนำภาพพระสุนทรีวาณีทั้ง ๓ แบบมาแสดงเป็นหลักฐานไว้
    ข้าพเจ้าดีใจปีติเป็นอย่างยิ่ง ที่โรงเรียนสาธิตประสานมิตรมัธยม (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) โดยผู้อำนวยการและคณะครูอาจารย์ กรรมการสถานศึกษา และศิษย์เก่า จะปรารภสร้าง โดยกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จเพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จในพิธีการหล่อและพุทธาภิเษกจัดเป็นตำนานที่บันทึก และโดยพระบารมีอันเปี่ยมล้นด้วยพรหมวิหารธรรมของพระองค์ จะเป็นกระแสแห่งเมตตา ปัญญา วาสนา บารมี ทุกประการ
    ท้ายนี้ ต้องขอประทานอภัยที่การเขียนเล่าเรื่องนี้ มีคำว่า “ข้าพเจ้า” แทนคำว่า “อาตมา” อาจจะดูไม่สุภาพนักหรืออาจดูว่าเป็นคำเขื่อง แต่เพราะเป็นเรื่องเล่า จึงขออนุญาตและขออภัยที่ใช้ คำว่า “ข้าพเจ้า” มา ณ โอกาสนี้
    พระคาถาสุนทรีวาณี
    มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
    ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ

    “ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฎก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ท้องประทุมชาติ คือพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย มะนัง ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในสันดานของข้าพเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดให้สิ้นไปเสื่อมไป ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่ทำให้ลำบากแก่สังขาร”
    เว็บ กะทิธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มิถุนายน 2017
  2. mp5_decode

    mp5_decode Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +88
    image-DBD6_5951C027.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...